Archive

Posts Tagged ‘ซิป้า’

ซิป้าพร้อมหนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย แนะใช้เทคโนโลยีคลาว์ดขยายศักยภาพและโอกาส

December 19th, 2012 No comments

กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2555 : สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมยกระดับภาพรวมและขยายรายได้การท่องเที่ยวไทย ด้วยโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions โดยเดินสายแนะนำซอฟต์แวร์โซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวใน 9 เมืองด้านท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ เกิดมูลค่าทางธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท นับเป็นมิติใหม่ในการรวมตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มภาคธุรกิจด้านท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ขยายศักยภาพการแข่งขัน โดย Tourism เป็นหนึ่งใน 6 อุตสาหกรรมหลักที่ซิป้าส่งเสริมพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Services) อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ยอมรับว่าซอฟต์แวร์มีบทบาทอย่างมากกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยซิป้าได้วางเป้าหมายที่จะพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและการให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อรองรับ 6 อุตสาหกรรมหลัก คือ Tourism, Logistics, Food & Agriculture, Healthcare, Education และ Jewelry อันเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้แก่ประเทศหรือเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ปี พ.ศ. 2554 – 2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) ซิป้าจึงร่วมกับสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จัดกิจกรรม Road Show ภายในประเทศ ภายใต้ชื่อโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions ด้วยแนวคิด ขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยด้วยคลาว์ด” เป็นการนำซอฟต์แวร์ด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยและให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตไปเผยแพร่และแนะนำให้เป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท บริษัททัวร์ สปา ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว รถเช่า ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวม 9 เมือง ได้แก่ พัทยา เชียงใหม่ เขาใหญ่ ภูเก็ต หัวหิน เกาะสมุย กาญจนบุรี อุดรธานี และกรุงเทพฯ โดยที่จุดเด่นของการให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีคือผู้ใช้ไม่ต้องจัดหาระบบซอฟต์แวร์เอง เพียงแต่ขอใช้ในลักษณะเป็นบริการและจ่ายเงินตามปริมาณการใช้งาน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไม่ต้องลงทุนมาก ขณะนี้ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดี และเกิดมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 100 ล้านบาท”

“กิจกรรม Road Show ภายในประเทศ Cloud Studio: Tourism Solutions เป็นหนึ่งในกิจกรรมเชิงรุกด้านการตลาดของซิป้าที่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยการจัดงานแต่ละครั้งจะประกอบด้วยสัมมนาสำหรับผู้บริหารและด้านเทคนิค การแสดงโซลูชั่นด้านการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย การ Networking การสาธิตการใช้ซอฟต์แวร์ (Demonstration) และการเข้าพบสมาคม หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างการรับรู้ของตลาดด้านเทคโนโลยีคลาว์ดแก่ธุรกิจท่องเที่ยวแล้ว ซิป้ายังมีบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและขยายโอกาสด้านการตลาด” นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว กล่าวเพิ่มเติม

ดร.พีรสันต์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวถึงการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า “สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ร่วมดำเนินโครงการ Cloud Studio: Tourism Solutions กับซิป้า โดยนำซอฟต์แวร์ไทยด้านการท่องเที่ยวที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยไปร่วมแสดงในการจัดงานแต่ละครั้ง และแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ Hotel Solutions, Travelling, Spa & Restaurant และ Mobility and Digital Marketing เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนในโซลูชั่นที่สนใจ โดยได้รับผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจ และเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ความสนใจด้านโซลูชั่นและแนวทางการตลาดจึงแตกต่างกันไป กิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะทำให้พบกับกลุ่มผู้ซื้อแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยได้เห็นช่องทางการตลาดและภาพรวมของพื้นที่แต่ละแห่งชัดเจนขึ้น” ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายมีลูกค้าให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ในปี 2555 ซิป้าได้นำผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยร่วมแสดงโซลูชั่นภายในงานด้านการท่องเที่ยวและด้านเทคโนโลยีคลาว์ดในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 4 งาน ได้แก่ งาน 3rd Cloud Computing Expo ณ ประเทศญี่ปุ่น งาน Malaysian International Tourism Exchange ณ ประเทศมาเลเซีย งาน JATA Tourism Forum &Travel Showcase ณ ประเทศญี่ปุ่น และงาน ITB ณ ประเทศสิงคโปร์ และเป็นที่น่าสนใจว่าซอฟต์แวร์โซลูชั่นของไทยเป็นที่รู้จักและเกิดการยอมรับในตลาดต่างประเทศโดยเกิดมูลค่าซื้อขายทางธุรกิจ ประมาณ 328 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับมูลค่าส่วนตลาดในประเทศ มูลค่ารวมของตลาดของซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมมีมากกว่า 428 ล้านบาท

View :1585

ซิป้าและเอทีซีไอหนุนนักพัฒนาซอฟท์แวร์ไทย คว้าชัย 4 รางวัลระดับเอเชียแปซิฟิก

December 18th, 2012 No comments

3 นักพัฒนาซอฟท์แวร์ตัวแทนประเทศไทย บ.อีคาร์ทสตูดิโอ บ.อรุณสวัสดิ์ดอทคอม ร.ร.เซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์ คว้าชัย 2 รางวัลชนะเลิศ และ 2 รางวัลรองชนะเลิศ ในการประกวดซอฟท์แวร์ในระดับเอเชียแปซิฟิก

รางวัลชนะเลิศ คือ หมวด Financial Industry Application เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด


สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI) เผยถึงการส่งตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประกวดซอฟท์แวร์ระดับเอเชียแปซิฟิก ในงาน Asia Pacific ICT Awards 2012 เมื่อวันที่ 2 – 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน ว่า การประกวดในครั้งนี้ ทีมผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทย ได้รับรางวัลมากถึง 4 รางวัล โดยรางวัลที่ได้รับ ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล คือ หมวด Tools & Infrastructure เป็นผลงานของ บริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จำกัด ชื่อผลงานที่ชนะเลิศ คือ Location Based Information System (LBIS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลบนระบบแผนที่ออนไลน์เพื่อช่วยสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารโดยสามารถวิเคราะห์ช้อมูล นำเสนอภาพรวมและดูรายละเอียดแต่ละจุดได้ถูกต้อง สามารถรองรับการทำงานระบบ Cloud ของ Microsoft ช่วยให้ขยายธุรกิจสู่ Global Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอีก 1 รางวัลชนะเลิศ คือ หมวด Financial Industry Application เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด ชื่อผลงานชนะเลิศ I lert u anywhere to claim เป็นระบบงานที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 2003 เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในธุรกิจประกันภัย ปัจจุบันเป็น version 4.0 สามารถรองรับ Cloud Computing ได้

รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่ หมวด Secondary Student Projects ชื่อเป็นผลงานจาก โรงเรียนเซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์ ชื่อผลงาน The Rescue เป็นเกมส์ที่ใช้ภาพกราฟฟิค และ Animation ที่สวยงาม สดใส และน่าสนใจ ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เมตตากรุณา จิตอาสา ความอดทน และความพยายามในการแก้ปัญหา เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย และ หมวด e-Inclusion เป็นผลงานของ บริษัท อรุณสวัสดิ์ดอทคอม จำกัด ชื่อผลงานได้รับรางวัล I lert u 1st Thailand Mobile SOS ที่เป็น Social Mobile Locationสำหรับประชาชนทุกคน ใช้คุ้มกันและป้องกันการดูแลประชาชน เป็นระบบเตือนภัย และขอความช่วยเหลือ สามารถเชื่อมโยงกับ Facebook, Twitter และ Social Network ต่างๆ และสามารถเชื่อมโยงศูนย์การช่วยเหลือต่างๆ เข้ากับระบบ Mobile Application และเชื่อมโยงกับบริษัทประกันภัยและโรงพยาบาล

โดยก่อนหน้านี้ซิป้าและเอทีซีไอได้เปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยแสดงความสามารถในเวทีแข่งขันระดับประเทศ Thailand ICT Awards 2012 หรือ TICTA 2012 เฟ้นหาและรวบรวมผลงานสุดยอดซอฟท์แวร์ที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้จริง นำมาต่อยอดด้วยการสนับสนุนเข้าแข่งขันต่อในระดับเอเชียแปซิฟิกในงาน APICTA Awards 2012 ซึ่งเป็นเวทีที่ถือได้ว่าเป็นการการันตีศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย

รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่ หมวด Secondary Student Projects ชื่อเป็นผลงานจาก โรงเรียนเซนต์ฟรังส์ซิสเวียร์


การจัดเวทีประกวด TICTA 2012 เปรียบเสมือนเวทีระดับประเทศสำหรับกลุ่มนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย เพื่อแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ ซึ่งเวทีแข่งขัน TICTA Award จะเป็นเวทีแรกที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยได้มีโอกาสในการแสดงผลงาน และภายหลังจากได้รับการคัดเลือกจากเวทีแข่งขันระดับประเทศแล้ว ซิป้าและเอทีซีไอได้มีการต่อยอด ส่งเสริมนักคิด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยให้ก้าวต่อไป โดยการส่งเข้าประกวดในเวทีการแข่งขันระดับเอเซียแปซิฟิก APICTA Awards 2012 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่รวบรวมผลงานสุดยอดซอฟต์แวร์จากประเทศสมาชิก มาร่วมประกวดระดับนานาชาติ และยังเป็นการแข่งขันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 – 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน

ซิป้าและเอทีซีไอเชื่อมั่นว่า หากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ได้รับการสนับสนุนและผลักดันด้านต่างๆ จะเป็นส่วนสำคัญที่ประกาศศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ให้ได้รับการยอมรับในเวทีสากล

View :2082

ซิป้า ร่วมกับเลอโนโว อินเทล จัดประกวดผลงานซอฟต์แวร์โครงการ “Open House for Young Talents”

April 5th, 2012 No comments

ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหาร นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาผู้ประกอบการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือซิป้า นายปวิณ วรพฤกษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด และนายศุภลักษณ์ สัปตตั้งตระกูล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย จํากัด มอบทุนสนับสนุน ประกาศนียบัตร โล่ห์เกียรติยศ รวมมูลค่ากว่า 1,500,000 บาท ให้ผลงานดีเด่น Senior Project ของนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยรวม 150 รางวัล พร้อมมอบคอมพิวเตอร์เลอโนโวออล-อิน-วัล C200 ให้กับผลงานยอดเยี่ยมแต่ละประเภทในการคัดสรรผลงานซอฟต์แวร์ โดยแบ่งป็น 4 หมวด ได้แก่ Digital Media, Mobile, Enterprise และ Embedded System เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาไทยสามารถแสดงศักยภาพและพัฒนาความรู้ความสามารถนำอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ


จากซ้ายไปขวา
1. นายกีรดิษ สายพัทลุง นายอิทธิพัทธ์ ลาวัง นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภท Embedded System จากผลงาน “การประยุกต์ใช้โครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายในการติดตามเด็กพลัดหลง”
2. นายณฐพล ผ่องแผ้ว นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภทซอฟต์แวร์ Enterprise จากผลงาน “ระบบบริหารจัดการอพาร์ทเม้นต์ (Apartment Management System)”
3. นายศุภลักษณ์ สัปตตั้งตระกูล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็คทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
4. นายปวิณ วรพฤกษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด
5. นายเกียรติคุณ ชัยมูลนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัลผลงานผลงานยอดเยี่ยมประเภท Digital Media จากผลงาน “O2 Boy”
6. นายกมลวิชย์ สิริธนนนท์สกุล นายภานุวัชร ลาภาภิวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภท Mobile จากผลงาน “ศึก 3 ยุค บุคพิทักษ์อนุรักษ์ธรรมชาติ”

ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า มอบเงินสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศไทย โดยแต่ละผลงานดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกมีมูลค่า 10,000 บาท


นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาผู้ประกอบการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือซิป้า นายปวิณ วรพฤกษ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนสนับสนุน ประกาศนียบัตร โล่ห์เกียรติยศ พร้อมมอบคอมพิวเตอร์เลอโนโวออล-อิน-วัล C200 ให้กับนายกมลวิชย์ สิริธนนนท์สกุล นายภานุวัชร ลาภาภิวัฒน์ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภท Mobile จากผลงาน “ศึก 3 ยุค บุคพิทักษ์อนุรักษ์ธรรมชาติ”

นายปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาผู้ประกอบการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือซิป้า นายศุภลักษณ์ สัปตตั้งตระกูล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนา บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย ร่วมมอบทุนสนับสนุน ประกาศนียบัตร โล่ห์เกียรติยศ พร้อมมอบคอมพิวเตอร์เลอโนโวออล-อิน-วัล C200 ให้กับนายณฐพล ผ่องแผ้ว นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับรางวัลผลงานยอดเยี่ยมประเภทซอฟต์แวร์ Enterprise จากผลงาน “ระบบบริหารจัดการอพาร์ทเม้นต์ (Apartment Management System)”

View :1740

เนคเทค ผนึกกำลัง ซิป้า สกว. มูลนิธิสยามกัมมาจล และอินเทล เฟ้นหาเยาวชนนักวิทย์ฯ ในมหกรรม Thailand ICT Contest Festival 2012

March 17th, 2012 No comments

ครั้งที่ ๑๑ เฟ้นหาสุดยอดผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการสร้างสรรค์ผลงานจากวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สัมผัสพลังความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก และพบกับสุดยอดนวัตกรรมต้นแบบ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร ไอที และซอฟต์แวร์ จากแนวคิดของเยาวชนทั่วประเทศ ผลงานที่ได้รับรางวัลทางมูลนิธิสยามกัมมาจลพร้อมจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เจ้าของผลงานพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่การนำไปใช้ได้จริงในอนาคต พร้อมเดินหน้าผลักดันผลงานที่ชนะเลิศ สู่การแข่งขันเวทีระดับนานาชาติ โชว์ศักยภาพเด็กไทยต่อไป โดยงานมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคมศกนี้ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้เยาวชนไทยและผู้ที่สนใจเข้าชมผลงานได้ฟรี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน () สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย () และ บริษัท ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ความสามารถของเยาวชนไทย ให้สามารถพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีศักยภาพ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยังเป็นการบ่มเพาะต้นทุนแห่งทรัพยากรมนุษย์ สู่การพัฒนารากฐานสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมเชิงสร้างสรรค์

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑ ถือเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่สำหรับการแสดงออกถึงความสามารถของเยาวชน โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงถึงพลังของความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเยาวชนไทยมีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่น ดังจะเห็นได้จากผลงานของเยาวชนไทยที่สามารถคว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชื่อว่า หากมีการสนับสนุนด้วยดีจากทั้งภาครัฐและเอกชน ความสามารถในด้านดังกล่าวจะมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และในอนาคตประเทศไทยจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องพึ่งต่างชาติ อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์สู่การเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่มีความพิเศษเป็นอย่างยิ่ง ทางเนคเทคได้มีความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น นอกจากซิป้าและบริษัท อินเทล ที่ได้ร่วมผลักดันการสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิสยามกัมมาจล ก็ได้มาร่วมมือกันสร้างเข้มแข็งให้กับผลงานของเยาวชนผลักดันไปสู่กลุ่มผู้ใช้งานจริงทั้งด้านเกษตรกรรม ชุมชน และสังคมต่อไป”

ด้าน ดร.นิรชราภา ทองธรรมชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ องค์การมหาชน
(ซิป้า) กล่าวว่า “ในมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารครั้งที่ ๑๑ จะได้เห็นการตื่นตัวและพัฒนาการของเยาวชนไทยในความรู้ ความสามารถทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งพบว่ามีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว เยาวชนคนไทยสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยสำนักงานฯ ในฐานะที่มีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จะมีมาตราการสำหรับให้ผู้สนใจพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ผู้ประกอบการที่เข้มแข็งในอุตสาหกรรมต่อไป”

ด้านนางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า “มูลนิธิสยามกัมมาจล ดำเนินงานด้านการพัฒนาเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรพัฒนาเยาวชนให้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพเพื่อประโยชน์ของตนเองและร่วมแบ่งปันความสามารถกับชุมชน ซึ่งจะเป็นผลให้คนรุ่นใหม่ เป็นพลเมืองที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนของสังคมไทย สำหรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านไอที มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนการต่อยอดโครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย โดยปีนี้เป็นปีแรกที่สนับสนุนให้ผลงานของเยาวชนที่มีศักยภาพได้พัฒนาต่อไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมทั้งสนับสนุนการรวมตัวกันของเครือข่ายเยาวชนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาความสามารถร่วมกัน ตลอดจนขยายผลให้เกิดเครือข่ายครู อาจารย์ ที่มีบทบาทสนับสนุนเยาวชนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้สามารถสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ด้านไอที ที่มีคุณภาพและมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการกำลังคนที่สามารถนำความก้าวหน้าทางไอทีไปสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาประเทศต่อไป”

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งผู้สนับสนุนโครงการ “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 กล่าวว่า “เนื่องจากเยาวชนคือกำลังสำคัญที่จะผลักดัน และพัฒนาศักยภาพโดยรวมทั้งระดับประเทศ และโลกต่อไป ดังนั้น การมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงทักษะการคิดในเชิงวิเคราะห์ รู้จักการทำงานร่วมกัน ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราเดินไปสู่ความสำเร็จ การสนับสนุนที่อินเทลมีให้กับเนคเทคกว่าสิบปีที่ผ่านมา และร่วมส่งเสริมให้เด็กไทยได้ก้าวขึ้นไปประชันผลงานกันในเวทีระดับโลกอย่างงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ที่ประเทศสหรัฐฯ ภายหลังจากที่ได้ผู้ชนะจากเวทีระดับประเทศแล้วนั้น นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยสร้างสรรค์ผลงานการคิดค้นกันอย่างเต็มที่ โดยจะเป็นการช่วยยกระดับความรู้ ความสามารถของเยาวชนไทยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลมากขึ้น”

ทั้งนี้ “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครั้งที่ ๑๑” หรือ Thailand ICT Contest Festival 2012 มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเสนอผลงาน ๑๓๑ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ อาทิ โปรแกรมเกม โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (CAI) โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ โปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งาน Web Contest และ Mobile Application ในการแข่งขันโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๔ (The Fourteenth National Software Contest: NSC 2012)

ชมการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ ๑๔ (Young Scientist Competition: YSC 2012) สรรหาสุดยอดตัวแทนประเทศไทยชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ เมืองพิตส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ร่วมให้กำลังใจนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จาก ทั่วประเทศในการแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ ๑๑ ( Youth’s Electronics Circuit Contest: YECC 2012) เพื่อชิงชัยในการประดิษฐ์และสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์สำหรับเตรียมรับมือภัยพิบัติ เพื่อค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์

ชมการแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๒ ( National Linux Competition: NLC 2012) ระดับนักเรียนและประชาชนทั่วไปในการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อใช้โปรแกรมต่างๆในลินุกซ์ทะเลและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมและให้บริการเครือข่ายโดยใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการตามแนวทาง Open Source ที่ช่วยให้ท่านประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

พร้อมกันนี้ ในการจัดงาน ทั้ง ๓ วัน ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบนเวที เช่นการพูดคุยกับแขกรับเชิญ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับครู-อาจารย์ และกิจกรรมสัมมนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในประเด็นที่เป็นประโยชน์อีกมากมาย รวมถึงการรับฟังเทคนิคและเคล็ดลับในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสร้างแรงบันดันดาลใจให้กับเยาวชนไทยที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. ๐๒ ๕๖๔๖๙๐๐ ต่อ ๒๓๔๕ หรือ ๒๓๘๘ – ๙ หรือทางเว็บไซต์ www.nectec.or.th/fic/

View :1717

ซิป้า ย้ำเร่งหาแหล่งเงินทุน และสนับสนุนความสามารถของเด็กไทย เพื่อพัฒนาวงการซอฟต์แวร์

June 22nd, 2011 No comments

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จัดงานพบปะพูดคุยกับสื่อมวลชนในบรรยากาศเป็นกันเองในงาน “จิบน้ำชายามบ่ายกับ ดร.ศุภชัย ครั้งที่ 2” เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม เรอเนซองส์ ราชประสงค์ โดยมี ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ประธานกรรมการบริหารซิป้า เป็นผู้ให้รายละเอียดโครงการและตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน

สำหรับโครงการแรก ดร.ศุภชัยฯ ได้กล่าวถึงโครงการ “SME สินเชื่อเพื่อกิจการซอฟต์แวร์ไทย” ว่า “ซิป้าได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการพัฒนาวงการซอฟต์แวร์ไทยว่ามีอยู่หลายปัจจัย และหนึ่งในนั้นคือปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน ซิป้าจึงได้ร่วมมือกับ จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์หรือดิจิทัลคอนเทนท์ให้สามารถขอกู้เงินได้ง่ายขึ้น โดย

ซิป้าจะเป็นผู้กลั่นกรองความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค และการตลาดในขั้นต้นเพื่อทำให้ธนาคารมีความมั่นใจและปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น” โดยมี นายยิ่งยง อธิศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารเงิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า “โครงการนี้เป็นการปล่อยสินเชื่อรายย่อยวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาทโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน มีระยะเวลา (Term Loan) สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ในอัตราดอกเบี้ยที่ MLR+1 หรือ MLR ต่อปีเมื่อผู้ขอกู้ผ่านการอบรมในโครงการต่างๆของซิป้า” สำหรับโครงการนี้ซิป้าชื่อว่าจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ขยายธุรกิจของตนเองให้เติบโตขึ้น

โครงการที่สอง ดร.ศุภชัยฯ ได้กล่าวถึงการแข่งขัน “” (Association Computing Machinery – International Collegiate Programming Contest) ซึ่งเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงและใหญ่ที่สุด โดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 88 ประเทศ ซึ่งการแข่งขั้นนี้จะจัดแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Local Contest, Regional Contest และ World Contest ซึ่งในระดับ World Contest นี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน นายวีระกิจ โล่ทองเพชร ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ บริษัท IBM ประเทศไทย จำกัด ผู้ร่วมสนับสนุน กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบการแข่งขันจะเป็นแบบ “Battle of the Brains” ซึ่งใน 1 ทีมจะประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขันจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน 3 คน เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาภายในเวลา 5 ชั่วโมงโดยใช้ Computer 1 เครื่อง ทีมที่แก้โจทย์ปัญหาได้เยอะที่สุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

สุดท้าย ดร.ศุภชัยฯ ยังพูดถึงโครงการอื่นๆที่เน้นการเตรียมความพร้อมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่เพื่อก้าวสู่วงซอฟต์แวร์ เช่น โครงการ e-Learning และ โครงการ Open House Young Talent ส่วนรายละเอียดของทั้ง 2 โครงการนั้นสามารถติดตามได้ในงาน จิบน้ำชายามบ่าย ในครั้งต่อไป

View :1652