Archive

Posts Tagged ‘ซีพีเอฟ’

สวทช.ร่วมกับ ซีพีเอฟ วิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์

March 22nd, 2012 No comments

และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กับบริษัท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)เพื่อวิจัยพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสำหรับควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ และแนวทางลดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหาร สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร ที่จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ ประชาชนเข้าถึงอาหารได้ตลอดเวลา และอาหารนั้นต้องมีคุณภาพ ความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีสุขภาพแข็งแรง ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงดังกล่าว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ราคาของพลังงาน การใช้พื้นที่ปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหาร โรคและแมลงศัตรูพืช โรคระบาดสัตว์ รวมถึงข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ เป็นต้น ในฐานะที่ สวทช. เป็นองค์กรที่มีพันธะกิจในการสร้างความสามารถ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ จึงกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา “คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร” ขึ้น โดยเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย และสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในส่วนของการผลิตพืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันและความยั่งยืนด้านเกษตรและอาหารของประเทศ

ในการดำเนินงานของคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร จะอาศัยกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยที่ชัดเจน ร่วมสนับสนุนการวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง

นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เห็นชอบและยินดีร่วมมือกับ สวทช. ในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหาร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของงานวิจัยต่างๆ ที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกันวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ การศึกษาแหล่งที่มา การแพร่กระจายและประเมินความเสี่ยงของเชื้อก่อโรคในอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตร และอาหารในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตหมายที่ดีในการช่วยยกระดับการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป

ด้านนายวีรชัย รัตนบานชื่น ประธานคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจด้านเกษตรอุตสาหกรรมด้านการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์ การแปรรูปเนื้อสัตว์ จนกระทั่งมีการผลิตอาหารสำเร็จรูป โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก คือ 1.ธุรกิจสัตว์บก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข เป็ดและสุกรครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร 2.ธุรกิจสัตว์น้ำ : กุ้งและปลา ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์และธุรกิจอาหาร

ในความร่วมมือกันครั้งนี้ทางบริษัทโดยสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก จะเน้นงานด้านการตรวจวินิจฉัยและการชันสูตรเป็นหลัก และทางบริษัทก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยกันยกระดับงานวิจัยและพัฒนาให้เข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค รวมถึงขยายผลของโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล ตลอดจนการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้งสองฝ่าย

ที่มาของความร่วมมือ
สวทช. ได้ประสานงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตสัตว์และสุขภาพสัตว์ ผ่านสำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เสนอให้การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างหน่วยงาน คือ ซีพีเอฟ และ สวทช. เป็นกรอบความร่วมมือด้านวิชาการวิจัยและพัฒนาด้านเกษตรและอาหารในภาพรวม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ที่สำคัญ รวมถึงการขยายผลของโครงการวิจัยด้านเกษตรและอาหารที่มีศักยภาพสู่การปรับใช้อย่างได้ผล โดยครอบคลุมไปถึงความร่วมมือทางด้านวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้ความสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรทั้งสองฝ่าย อีกทั้งจะทำให้การประสานความร่วมมือในรายละเอียดโครงการย่อยต่างๆ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันเกิดโครงการร่วมวิจัยและพัฒนาร่วมกันที่สอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนี้

Ÿในส่วนของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด : เกิดการวิจัยการนำเวกเตอร์ของไวรัสที่ไม่มีรายงานการติดเชื้อในสัตว์ และมีรายงานการนำมาทดสอบใช้เป็นวัคซีนแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพสูง ในการคุ้มโรค มาทดลองโดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมทำให้อ่อนเชื้อและแทรกยีนของโปรตีนเป้าหมายที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมกับการสร้างอนุภาคไวรัสโดยเทคนิครีเวอร์สเจเนติกส์ สำหรับพัฒนาวัคซีนทางเลือกในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในการผลิตสัตว์

Ÿในส่วนของการความปลอดภัยอาหารและการจัดการฟาร์ม : เกิดความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเชื้อก่อโรคในอาหาร 2 โครงการด้วยกัน คือ

1.การประเมินความเสี่ยงของเชื้อซัลโมเนลลาในพ่อแม่พันธุ์ไก่เนื้อ โรงฟักไข่ไก่ ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อและหลังการผลิตสู่ผู้บริโภค เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนของ เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อไก่สดแช่เย็น ตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่โรงฟัก ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค

2.การศึกษาสำรวจข้อมูลการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) เพื่อให้สามารถระบุถึงแหล่งที่มาและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ ในกระบวนการผลิตไก่ตลอดห่วงโซ่การผลิต และสุดท้ายเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อในเนื้อไก่ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมากำหนดแนวทางการจัดการและการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนและลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนของเชื้อในอุตสาหกรรมการผลิตไก่ได้

View :1782