Archive

Posts Tagged ‘นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ’

ค.ร.ม.เห็นชอบนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ก.ไอซีที พร้อมเดินหน้า

November 9th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยความคืบหน้าเกี่ยวกับ (ร่าง) ว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณา (ร่าง) ตามที่กระทรวงไอซีที นำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2553 โดยมีมติเห็นควรให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติภายใต้ กทสช.ขึ้น เพื่อจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาบรอดแบนด์ ของประเทศ ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธาน รวมทั้งมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย

“คณะ อนุกรรมการฯ ได้จัดทำ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยได้ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้พิจารณาจากทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นพื้นฐาน พร้อมกันนี้ยังได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย บรอดแบนด์ของประเทศจากผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือ Stakeholders ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ก่อนนำมาจัดทำเป็น (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เสนอให้คณะรัฐมนตรี รับทราบ” นายจุติ กล่าว

สำหรับ สาระสำคัญของ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติฉบับนี้ คือ 1. ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการ บรอดแบนด์ ให้เป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของ ประชาชน โดยให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม 2. ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 3. ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน 4 . ใน การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้มีบริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

5.ใน เรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว และ 6. รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

“(ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่กระทรวงฯ ได้จัดทำขึ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2563 รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ในความเร็วที่ไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี 2563 ด้วย” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ยังมีเป้าหมายให้ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดยภายในปี 2558 ได้ตั้งเป้าหมายให้โรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่มี คุณภาพ รวมทั้งให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่ง สามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือ เทียบเท่า ตลอดจนให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งสามารถให้บริการระบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่าย บรอดแบนด์ ได้ภายในปีเดียวกัน พร้อมกันนั้นยังตั้งเป้าที่จะให้มีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีอีกด้วย

ส่วน ในภาคธุรกิจได้ตั้งเป้าหมายให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่าย บรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเช่นกัน รวมทั้งได้วางเป้าหมายที่จะลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการบรอดแบนด์ ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน รวมถึงลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการลดต่ำลง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความ สามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี การพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากลด้วย

“สำหรับ แนวทางการดำเนินการเพื่อให้นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติบรรลุเป้าหมายนั้น ได้กำหนดให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดย รวม รวมทั้งการบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล โดยกระทรวงไอซีที ได้นำเสนอนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบรวมทั้งให้ความเห็นชอบในหลักการในการประชุมวันนี้ (9 พ.ย.) แล้ว และจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะใช้เป็นเครื่องมือในการนำนโยบายดังกล่าว ไปสู่การปฏิบัติต่อไป” นายจุติ กล่าว

View :1483

นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ววันนี้

November 9th, 2010 No comments



๑. ความเป็นมา

รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ ได้กำหนดให้รัฐดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึง การจัดทำและการให้บริการสาธารณะ ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง เท่าเทียมกันทั่วประเทศ และรัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าจะพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาส ในการเข้าถึงบริการของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓) หรือ ICT 2020 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งกำหนดเป้าหมายการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ มีคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ ภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริการของรัฐ การรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนช่วยส่งผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้อย่างต่อ เนื่อง ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบริการบรอดแบนด์ของประเทศ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยมีประชากรที่ใช้บริการบรอดแบนด์เพียงร้อยละ ๓.๕ ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตนครหลวงและเมืองใหญ่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนในเขต เมืองและชนบท รวมทั้งเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

ใน การนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบการดำเนินการและขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่หลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย และตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนการให้มีและการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ โดยมีองค์กรกำกับดูแลที่เป็นอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบ ประกอบกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

๒. นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

๒.๑ ภาครัฐมีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ อันถือเป็นบริการที่มีความสำคัญเทียบเท่าบริการที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้น ฐานของประชาชน ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม ภายใต้การแข่งขันเสรีและเป็นธรรม

๒.๒ ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างทางดิจิทัล ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเชิงกลุ่มประชากร สามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

๒.๓ ภาครัฐและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน
๒.๔ ในการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ รัฐจะบริหารจัดการทรัพย์สินด้านโทรคมนาคมที่รัฐได้ลงทุนไปแล้วและอาจจะลงทุน เพิ่มเติม เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายอย่างเสมอภาค โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และรัฐจะไม่ผูกขาดที่จะเป็นผู้ลงทุนในการจัดให้ม บริการต่าง ๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกรายที่พึงประสงค์และมีศักยภาพที่จะลงทุน เพื่อให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายบรอดแบนด์ทั่วประเทศ โดยให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมในการให้บริการ

๒.๕ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเขตอำนาจอธิปไตยของชาติ เช่น ตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม จุดขึ้นฝั่งของเคเบิลใต้น้ำ หรือจุดเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดน ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติและเป็นสิทธิหรือทรัพยากร ที่รัฐจะส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศ และการนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการที่จะพัฒนาความร่วมมือและ การค้าระหว่างประเทศรัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินการ ตามนโยบาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนจัดให้มีบริการดัง กล่าว

๒.๖ รัฐจะส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมส่วนปลายทางทั้งแบบใช้สายและ ไร้สาย ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ และผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

๓. เป้าหมาย

๓.๑ พัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประชากร ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ภายในปี ๒๕๕๘ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ภายในปี ๒๕๖๓ โดยมีคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานและมีอัตราค่าบริการที่ เหมาะสม รวมทั้งให้มีบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงในเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 Mbps ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒ ประชาชนสามารถได้รับบริการผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และบริการสาธารณะอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ โดย

๓.๒.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนในระดับตำบลสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพ ภายในปี ๒๕๕๘ และโรงเรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ภายในปี ๒๕๖๓

๓.๒.๒ ขยายบริการสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัยทุกแห่งสามารถเข้าถึงบริการ บรอดแบนด์ที่มีคุณภาพเดียวกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและให้บริการระบบประกันสุขภาพและประกันสังคมผ่านโครง ข่ายบรอดแบนด์ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๓ ขยายการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งของประเทศสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ที่ มีคุณภาพในระดับเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน่วยงานของรัฐในส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนในทุกตำบลสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่จะมีในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลาภายในปี ๒๕๕๘

๓.๒.๔ ให้ประเทศมีระบบการเฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

๓.๓ ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงข่ายบรอดแบนด์ได้อย่างทั่ว ถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างสมดุลและต่อเนื่อง รวมทั้งให้โครงข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม โดย

๓.๓.๑ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีโดยรวมให้อยู่ในกลุ่ม Top 25% ของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในการจัดลำดับ World Competitiveness Rankings

๓.๓.๒ เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่ใช้การสร้างสรรค์ การออกแบบ และบริการใหม่ ๆ ที่ดำเนินการได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทยผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังพื้นที่ที่ มิใช่เขตเมือง

๓.๓.๓ สัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๘

๓.๔ ลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร โดยใช้การสื่อสารหรือเข้าถึงข้อมูลร่วมกันผ่านบริการ บรอดแบนด์ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะส่งผลในการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาวะโลกร้อน

๓.๕ ลดต้นทุนการให้บริการบรอดแบนด์โดยรวม โดยเฉพาะด้านการเชื่อมต่อวงจรออกต่างประเทศและการนำบรอดแบนด์เข้าถึงผู้ใช้ บริการ เพื่อให้อัตราค่าใช้บริการบรอดแบนด์ลดต่ำลง ประชาชนผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

๓.๖ เกิดการพัฒนาเนื้อหาสาระ ( Content) และโปรแกรมประยุกต์ ( Application) ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการดำรงชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น

๓.๗ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคุณค่า และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เร่งตัวเร็วขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ รวมถึงมีความรู้และทักษะในการใช้งานบรอดแบนด์อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์

๓.๘ อุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนา เกิดการขยายตัว และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไปสู่ระดับสากล

๔. แนวทางดำเนินการ

๔.๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการบรอดแบนด์

๔.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในธุรกิจบริการบรอดแบนด์ บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ซึ่งจะไม่มีการผูกขาด รวมถึงการเปิดกว้างทางเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและขยายการให้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม

๔.๑.๒ สนับสนุนให้มีการขยายบริการบรอดแบนด์ไปสู่พื้นที่ชนบทห่างไกล ภายใต้หลักการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม

๔.๑.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ในทุกระดับ ให้มีปริมาณเพียงพอ คุณภาพได้มาตรฐานสากล และมีต้นทุนต่ำ ด้วยการลงทุนของภาคเอกชนหรือภาครัฐร่วมเอกชน และส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน ทั้งนี้ เพื่อให้
ผู้ประกอบธุรกิจบริการสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการกำกับดูแลด้วยกติกาการแข่ง ขันเสรีเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดหรือการใช้อำนาจเหนือตลาดที่กีดกันการแข่งขัน

๔.๑.๔ สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรกำกับดูแลในการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อกิจการโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

๔.๑.๕ สนับสนุนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีทางเลือกและวิธี การสื่อสารที่เหมาะสมที่มีการลงทุนไม่สูงมาก เพื่อสร้าง เชื่อมต่อ และให้บริการโครงข่ายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๑.๖ ปรับโครงสร้างและบทบาทของรัฐวิสาหกิจสาขาโทรคมนาคม กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ในการให้บริการโครงข่ายให้เอื้อต่อการให้บริการบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมของผู้ประกอบการทุกราย

๔.๑.๗ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้อยู่ภายใต้ระบบใบอนุญาตและมีการแข่งขัน บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโครงข่ายหลักที่จำเป็นต่อ การจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง

๔.๑.๘ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านโครงข่ายและบริการบรอดแบนด์ที่ทันสมัยให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการ บรอดแบนด์แก่ประชาชน ลดการพึ่งการนำเข้า และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม กิจการ กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์

๔.๒ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์

๔.๒.๑ สนับสนุนให้มีการใช้งานบรอดแบนด์อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายตลาดและฐานผู้ใช้งาน โดยส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ( Applications) และเนื้อหา ( Content) ที่หลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตประจำวันของ ประชาชน รวมทั้ง เชื่อมโยงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นของภาครัฐ ผ่านบริการบรอดแบนด์ เพื่อสร้างอุปสงค์ในบริการบรอดแบนด์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องระมัดระวังมิให้ส่งผลกระทบหรือเกิดการบิดเบือนของกลไกตลาด

๔.๒.๒ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT Literacy) และการรู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอย่างสร้างสรรค์ ( Information literacy) ของประชาชน ชุมชนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( SMEs) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการบรอดแบนด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และใช้เป็นโอกาสในการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะประชาชนในชนบท กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๔.๒.๓ ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอด แบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

๔.๒.๔ กำหนดมาตรการสนับสนุนและจูงใจในการใช้บรอดแบนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากร ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

๔.๓ การประกันความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายบรอดแบนด์และความปลอดภัยของสังคมโดยรวม

๔.๓.๑ พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครงข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

๔.๓.๒ มีการสร้างโครงข่ายทางเลือกหลายเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงประเทศไทยไปสู่ประเทศ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลพื้นดิน หรือดาวเทียม และจะเปิดกว้างให้มีการลงทุนในลักษณะดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรือการร่วมลงทุน

๔.๓.๓ กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

๔.๓.๔ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบ และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ จราจร หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ เหตุฉุกเฉิน ผ่านโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และเชื่อถือได้ รวมทั้งมีแผนฉุกเฉิน รองรับในกรณีที่โครงข่ายบรอดแบนด์นี้ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว

๔.๓.๕ สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศถึง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ

๔.๔ การบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายและการประสานการกำกับดูแล

๔.๔.๑ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ บูรณาการคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ (๑) จัดทำกรอบแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติ (๒) กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบาย (๓) เสนอองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนปฏิบัติการข้างต้น (๔) จัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามนโยบายฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสาธารณะเป็นระยะ ๆ

๔.๔.๒ จัดให้มีการประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันการให้บริการ ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้ง บูรณาการเป้าหมายและแผนงาน ทรัพยากรโทรคมนาคม และทรัพยากรการลงทุนของประเทศในภาพรวม เพื่อจัดให้มีบริการบรอดแบนด์อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาประเทศและการยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชน

๔.๔.๓ การดำเนินงานตามนโยบายนี้ จะได้รับการสนับสนุนจากการลงทุนโดยมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ หรือผู้ประกอบการทุกราย หรือจากกองทุนตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….

View :1429

ก.ไอซีที เดินหน้าจัดทำโครงการสนองนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

September 30th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบาย บรอดแบนด์แห่งชาติ ว่า ในส่วนของกระทรวงไอซีที ได้นำเสนอ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบไปแล้วตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2553 โดยนโยบายบรอดแบนด์ แห่งชาติจะเป็นนโยบายหลักในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศทั่วประเทศสามารถรองรับบริการในระดับบรอดแบนด์ ซึ่จะช่วยให้เกิดการ พัฒนาแบบองค์รวม ทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย ตลอดจนทำให้เกิดการเข้าถึงบริการบนบรอดแบนด์ รวมทั้งผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

“ในการดำเนินโครงการระดับชาตินี้ จำเป็นต้องวางแผนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้น เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่า และลดปัญหาการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โครงการนี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างโอกาส ความเสมอภาค คุณภาพชีวิตที่ดี และอนาคตใหม่ๆ แก่คนไทยทุกคน ตลอดจนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมสู่การแข่งขันระดับสากลใน ศตวรรษที่ 20

สำหรับการดำเนินงานนั้น นอกจากกระทรวงฯ จะได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติแล้ว ในส่วนของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงฯ ก็ได้รับมอบนโยบายให้ดำเนินโครงการถนนไร้สาย หรือ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตให้กระจายเข้าถึงในทุกตำบล หรือขยายไปให้ถึงทุกหมู่บ้าน โดยมอบหมายให้บมจ.กสท โทรคมนาคม และบมจ.ทีโอที รับผิดชอบในการดำเนินงาน เพื่อให้ประชาชนทุกคนทุกพื้นที่มีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ต รวมถึงข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดิจิทัลของประชาชน” นายจุติ กล่าว

ในส่วนของ บมจ.ทีโอที ได้วางแผนที่จะดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับตำบลทั้งหมด 7,409 ตำบลทั่วประเทศไทย โดย ทีโอที มีแผนที่จะขยายพื้นที่ในข่ายสายตามแผนการดำเนินงานโครงการ TOT 3 G จำนวน 2,207 ตำบล ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 5,202 ตำบล แบ่งเป็นในข่ายสาย 2,737 ตำบล และนอกข่ายสาย 2,465 ตำบล ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบผสมผสานตามสภาพของพื้นที่ คือเทคโนโลยี IPStar/WiFi ADSL/WiFi Wi-MAX และ TOT 3 G ที่ระดับความเร็ว 2 Mbps โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี นับจากโครงการได้รับอนุมัติ

นอกจากนั้น ทีโอที ยังได้ดำเนินการโครงการให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ( FTTx) เพื่อให้บริการบรอดแบนด์บนความเร็วสูงตั้งแต่ 10 Mbps ถึง 100 Mbps ซึ่ง จะเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนมีการขยายและเติบโต โดยในปี 2553 นี้ ได้ดำเนินการติดตั้งและให้บริการแล้วจำนวน 6,368 ports แบ่งเป็นจังหวัดภูเก็ต จำนวน 3,200 ports นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก คือ อมตะนคร มาบตาพุด เวลโกรว์ จำนวน 2,144 ports เกาะสมุย จำนวน 1,024 ports และมีโครงการแผนงานที่จะขยายโครงข่ายในปี 2554-2556 อีกจำนวน 511,040 ports โดยในอนาคต ทีโอที ได้กำหนดแผนโครงการ broadband wireless access ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำศักยภาพโครงข่ายที่ ทีโอที มีอยู่ มาให้บริการโดยทั่วถึงในทุกจุด โดยการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายทั้ง 3 G /WiMAX / Wi-Fi

ส่วนการให้บริการบรอดแบนด์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ทีโอที ได้ดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ โครงการ TOT IT School เป็น โครงการที่ให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนได้มีโอกาสในการใช้ไอที เพื่อการศึกษา จำนวน 80 โรงเรียนทั่วประเทศ นอกจากนี้ ทีโอที ยังได้ร่วมกับ กทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.) จัดทำโครงการศูนย์ทางไกลเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาชนบทในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ โดยจะมีการจัดทำศูนย์ทางไกลในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 โรงเรียน และ ทีโอที จะเข้าไปดำเนินการปรับปรุงติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1-2 Mbit/sec โดยใช้ข่ายสื่อสาร ADSL Wi MAX หรือข่ายสื่อสารดาวเทียม IP Star ตามความเหมาะสม

สำหรับการดำเนินโครงการโครงข่ายบรอดแบนด์ของ บมจ.กสท โทรคมนาคม นั้น แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. แบบ Wireline ได้ขยายการให้บริการ Broadband Internet (ADSL) เพิ่มขึ้น 20 % ทั่วประเทศ โดยเน้นติดตั้ง Node ในพื้นที่เขตตะวันออก และเขตตะวันตก รวมทั้งได้ดำเนินการขยายพื้นที่การให้บริการ Broadband Internet ผ่านโครงข่ายเคเบิลทีวี ( CAT Cable Broadband ) จำนวน 300 Node ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2553 จะติดตั้งได้ 100 Node โดยจะติดตั้ง Node ผ่านผู้ประกอบการเคเบิลทีวีเพิ่ม พร้อมกันนี้ยังจะขยายพื้นที่การให้บริการผ่านโครงการ Fiber ( FTTX ) ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ชลบุรี(พัทยา) ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์(หัวหิน) นครราชสีมา สงขลา(หาดใหญ่) อุดรธานี อุบลราชธานี ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี(เกาะสมุย) รวมถึงจัดการให้บริการ CAT – TeleHouse โดยคาดว่า CAT จะเป็น Carrier – neutral Data Center Service ราย แรกของประเทศ นอกจากนี้ยังจะมีการขยายโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำอ่าวไทย โดยจัดสร้างเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำในพื้นที่อ่าวไทยเชื่อมโยงจากจังหวัด ชลบุรี ไปยังจังหวัดสงขลา โดยใช้เทคโนโลยี DWDM และดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่าย IP เพื่อให้รองรับการใช้งานรับส่งข้อมูลความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนรูปแบบที่ 2. Wireless กสทฯ ได้ให้บริการ CAT WiFi ทั่วประเทศ จำนวน 35,000 จุด รวมทั้งขยายโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการอย่างน้อย 90% ของประชากรและขยายความจุ ( Capacity) ทั้งด้านเสียงและข้อมูล รวมถึงจัดทำโครงการ Telemedicine System เพื่อดูแลผู้ป่วยวิกฤติ การช่วยฟื้นคืนชีพ และการส่งสัญญาณชีพผู้ป่วยในรถพยาบาลโดยผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ CAT CDMA ซึ่ง โครงการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และช่วยพัฒนาการสื่อสารระหว่างรถพยาบาลและโรงพยาบาลมากขึ้น โดยปัจจุบันได้ให้บริการในรพ.จังหวัดอุบลราชธานี รพ.จังหวัดยโสธร และจังหวัดใกล้เคียง

รูปแบบที่ 3 เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม โดย กสทฯ ได้ดำเนินโครงการ “ สื่อสาร เรียนรู้ สู่ชุมชน ” เพื่อเพิ่มศักยภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใน 76 โรงเรียน 76 จังหวัดในปีแรก และจะขยายโครงการต่อไปทุกอำเภอทั่วประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้โรงเรียนและชุมชนได้ใช้เทคโนโลยี และพัฒนาศักยภาพทางการศึกษา เปิดโอกาสความเท่าเทียมด้านการศึกษาของเยาวชนไทย นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการ Telehealth ซึ่ง เป็นโครงการสาธารณสุขสู่ถิ่นทุรกันดาร โดยได้ร่วมมือกับมูลนิธิแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์ผ่านบริการบรอดแบนด์ไร้สายจากมือ 3G และโครงข่าย CAT CDMA

View :1530