Archive

Posts Tagged ‘มัลลิกา บุญมีตระกูล’

แถลงการณ์ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ โดย มัลลิกา บุญมีตระกูล

March 14th, 2011 No comments

โดย
ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ข้อเท็จจริงหนึ่งในประเทศนี้คือถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะได้ใช้เทคโนโลยี 3G และ ถึงเวลาแล้วไหมที่องค์กรรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมประเทศนี้จะไม่ใช่แค่เสือ นอนกิน แล้วถ้าคุณเป็นผู้บริหารองค์กรด้านนี้ของประเทศนี้จะมีวิธีรับมือกับโลกแห่ง การแข่งขันด้านเทคโนโลยีอย่างไร ถึงเวลาแล้วไหมที่คุณต้องปรับตัวและนี่น่าจะเป็นที่มาของการจัดการเปรียบ เทียบความคุ้มค่าระหว่างการเปลี่ยนโครงข่ายจาก CDMA เป็น HSPA วิเคราะห์ ข้อดีและข้อเสียศึกษาและคิดหาทางรอดของกสท องค์กรที่สร้างรายได้ให้แก่รัฐมหาศาลเมื่อเวลาผ่านและโลกปัจจุบันและอนาคตมี เทคโนโลยีมากำหนดให้เดินเพื่อการแข่งขัน แล้วจะชนะเขาได้อย่างไร แล้วจะอยู่รอดได้อย่างไร แล้วจะเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมที่ทัดเทียมนานาประเทศได้อย่างไร ดังนั้นการต้องหยุดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กสท น่าจะเป็นทางรอดที่หนึ่งหรือไม่แล้วทางเลือกอื่นๆจะต้องตามมา

นโยบาย รัฐที่ผ่านมาทำให้รัฐวิสากิจด้านการสื่อสารโทรคนาคมของประเทศไม่เติบโต ถ้าหันไปรอบตัวจะเห็นว่าเพื่อนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นลาวเทเลคอมของประเทศลาว มาเลเซียเทเลคอมของประเทมาเลเซีย สิงเทล ของประเทศสิงคโปร์ ไชน่ามายของประเทศจีน เอ็นทีทีของประเทศญี่ปุ่น เอสเคเทเลคอมของประเทศเกาหลี หรือฟรานซ์เทเลคอมของประเทศฝรั่งเศส ประเทศต่างๆล้วนกำหนดทิศทางเดินให้กับการสื่อสารด้านโทรคมนาคมประเทศตัวเอง ประเทศต่างๆนั้นองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านนี้ยิ่งใหญ่มีศักดิ์ศรี แต่บ้านเรานั้นบริษัทเอกชนด้านโทรคมนาคมกลายเป็นผู้มีอิธิพลชี้นำทิศทางมาจน เคยตัว เพราะก่อนหน้านี้คนประเทศเราอาจตื่นตัวด้านเทคโนโลยีน้อยเกินไปไม่คิดถึงว่า แท้จริงคลื่นที่มีอยู่ในอากาศมันมีมูลค่ามหาศาล รัฐวิสากิจทั้งทีโอทีกับกสท จะทำอะไรต้องขออนุมัติแผนการลงทุน ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผ่านแผนการกู้เงิน ดังนั้นผู้มีเงินเท่านั้นจึงจะทำธุรกิจด้านนี้ได้

ทีโอทีกับกสท สองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเทศนี้มีใบอนุญาติ 3G ใช้ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้วซึ่งเป็นครั้งแรกๆที่โลกนี้มีเทคโนโลยี 3G แต่ตอนนั้นรัฐบาลกลับไม่ทำ ลองนึกภาพดูว่าถ้าประเทศเรามี 3G ใช้กันตั้งแต่ตอนนั้น ถ้าทั้งทีโอทีกับกสท ดำเนินการตั้งแต่ยุคนั้นอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย เพราะประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G มันจะสร้างมูลค่ามหาศาลต่อวงการการศึกษา สาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ วันนี้ทุกคนมาลงที่รัฐวิสาหกิจหาว่าไปเอื้อเอกชนแต่หารู้ไม่ว่าที่ผ่านมาและ แม้บัดนี้เอกชนก็ไม่เคยมองทีโอทีหรือกสท เลย จริงๆคือเอกชนหวังจะทำเองแต่พอประมูลไม่ได้ก็จะมาใช้รัฐวิสาหกิจนี้เป็น เครื่องมือ

เอ ไอเอสกับทีโอทีเป็นพันธมิตรกัน ทรูกับกสทเป็นพันธมิตรกัน ดีแทคก็มีคลื่นของตัวเองที่พอจะดำเนินกิจการด้วยตัวเองได้ แต่สิ่งที่เอกชนคิดคือทั้งหมดเอาประโยชน์ตัวเองมาก่อนทั้งนั้นนั่นคือที่ ผ่านมา จึงมีคดีความทั้งที่มีคำพิพากษาแล้ว คดีที่เรียกเก็บสมบัติชาติคืน การปรับ หรือเรื่องที่ต้องไปตกลงกันที่อนุญาโตตุลาการมากมาย

แต่ รัฐบาลนี้ไม่ใช่ รัฐบาลนี้คิดเอาประโยชน์ของประชาชนมาก่อน รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เป็นรัฐบาลแรกที่ก่อตั้งกระทรวงเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ตั้งมาเพื่อจัดการเรื่องภาษีโทรคมนาคมเมื่อเสร็จกิจแล้วก็ไม่ใยดี ตอนตั้งรัฐมนตรีว่าการคนแรกของกระทรวงไอซีทีนั้น ใหม่ๆก็โม้ว่ากระทรวงนี้จะมี 5 E ประกอบด้วย E-Government, E-Commerce,E-Health,E-Education,E-Logistics, สุดท้ายได้แค่ E- เพิ้ง ทำอะไรก็ไม่ได้

ประชาธิปัตย์มาดูแลกระทรวงไอซีทีครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส . ส . ประชาธิปัตย์มานั่งเป็นรัฐมนตรีในรอบ 8 ปีที่มีกระทรวงแห่งนี้เป็นรัฐมนตรีคนที่ 8 ท่ามกลางกับดักระเบิดเวลาที่รอวันปะทุมากมาย แต่ 6 เดือนแรกก็ผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์ ทำอินเทอเน็ตความเร็วสูงผ่านเคเบิลใยแก้ว ระบบไร้สายผ่านดาวเทียม เพิ่มเส้นทางส่งถ่ายข้อมูลผ่านเคเบิลใต้น้ำเพื่อรองรับข้อมูลผ่านอินเทอเน็ต ที่นับวันจะมากขึ้น และลดความเสี่ยงของภัยธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น ปราบเว็บไซต์ผิดกฎหมายก็ปราบอย่างจริงจังผลงาน 25 เท่าขอรัฐบาลพลังประชาชน

รัฐมนตรีไอซีทีคนแรกที่นายกรัฐมนตรีทักษิณมอบหมายให้มาทำ E-Government, E-Commerce และโม้ไปอีกหลาย E ซึ่ง 8 ปีก็ทำไม่สำเร็จ แต่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มอบหมายมา 8 เดือน วันนี้ทั้งสอง E ได้ตั้งเป็นองค์การมหาชนเรียบร้อยแล้ว และวันนี้เศรษฐกิจไทยรอวันโตแบบก้าวกระโดด เพราะถ้า E-Government, E-Commerce,E-Logistics ประสบความสำเร็จ การส่งออกซึ่งได้ปีละเป็นล้านล้านบาท การส่งออกจะกระชับ เร็วขึ้น เพราะต้นทุนถูกลง ลดคอขวดกระบวนการส่งออกที่มี แล้วการส่งออกจะดีขึ้นมหาศาล ก็ลองนึกภาพว่าเพราะเทคโนโลยีใช่หรือไม่ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายสินค้าออนไลน์ของต่างประเทศแค่ 3 บริษัท คือ อาลีบาบา อีเบย์ และอาเมซอน ก็มีรายรับมากกว่ารายรับภาษีของประเทศไทยเราทั้งปี ยังไม่นับลูกหลานไทยที่สามารถมีครูติวหนังสือผ่านคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอเน็ต จะสอนกี่ครั้งกดติวกี่ครั้งก็ได้เอาจนเก่ง อนามัยอีกกว่า 15000 แห่งที่รอมาเข้าระบบ E-Health ของรัฐบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิต โรคภัยอันตรายใดอยู่ที่ไหนก็สามารถรักษากับแพทย์เชี่ยวชาญได้ผ่านระบบเหล่านี้

3G คือ ส่วนหนึ่งของนโยบายบรอดแบนด์จะมารองรับแผนงานแห่งชาติ สร้างโอกาสการพัฒนาประชากรพัฒนาประเทศไทย ลดช่องว่างความเจริญระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท กระตุ้นเศรษฐกิจหรือ GDP เพิ่มให้ประเทศในอัตรา 1.38% หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทจากการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์ต่ออินเทอเน็ตในทุก 10% ซึ่ง จะมีผลดีในการสร้างงานใหม่ให้คนรุ่นใหม่อย่างมหาศาลแก่ระบบเศรษฐกิจประเทศ ไทยทุกภาคส่วนและยกระดับความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น อย่างยั่งยืน

แน่นอนว่าก่อนจะมี 3G ต้อง ผ่านเส้นกติกาแห่งความถูกต้องเสียก่อน ความถูกต้องแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ความถูกต้องและโปร่งใสในแผนงานธุรกิจ ลดความเสี่ยง หยุดความเสียหาย ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วประเทศ การทำให้องค์กรรัฐวิสาหกิจไม่เสียเปรียบดังเช่นที่เคยผ่านมาและพนักงานของ องค์กรสามหมื่นกว่าครอบครัวก็อยู่รอดด้วย ทั้งหมดมีคำตอบพร้อมองค์ประกอบแห่งความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม ตามกติกาที่ประเทศนี้สังคมนี้กำหนดไว้ เราจะไม่เดินมาไกลเพื่อมาทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทุกกติกามีไว้เพื่อใช้กับรัฐมนตรีทุกพรรคทุกรัฐบาลแบบเดียวกัน

และ 15-18 มีนาคม 2554 รัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายจุติ ไกรฤกษ์ ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจพร้อมถูกยื่นถอดถอน ถ้าถามรัฐมนตรีว่ากลัวไหมเหตุผลข้างต้นคงประเมินได้ว่าควรกลัวหรือไม่กลัว ที่สำคัญกว่ากลัวถูกถอดถอนคือ “ กลัว จะไม่ถูกอภิปรายบางประเด็นที่โฆษณาไว้เพราะเห็นว่ามีพวกตะโกนดังๆแล้วได้ เปลี่ยนกระเป๋าใบใหม่ ก็อย่าเอาพ่อมาล่อเหยื่อแล้วจากไปเฉยๆ เพราะพ่อจะพูดให้หมดไม่อภิปรายก็ต้องพูดให้ฟังเพราะพาดพิงมาตั้งหลายเดือน ”

มัลลิกา บุญมีตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
E mail mstations@gmail.com

View :1459