Archive

Posts Tagged ‘ม.ขอนแก่น’

สวทช. ม.สงขลาฯ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีสุรนารี เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค

February 2nd, 2012 No comments

รวมพลัง 3 มหาวิทยาลัยชื่อดัง เปิดหน้าร้านร่วมบริการเทคโนโลยีสู่ภูมิภาคด้วยกัน เน้นนโยบายเชิงรุกปลุกสร้างอุตสาหกรรมปลายน้ำจากวัตถุดิบหลักในพื้นที่ เผยลดขั้นตอนการสนับสนุนพร้อมตอบโจทย์ธุรกิจท้องถิ่นได้ถูกต้อง

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช.ได้ร่วมลงนามกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีฐานการวิจัยและมีความพร้อม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อจัดตั้ง หน่วยงานเครือข่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สวทช. – หน่วยงานเครือข่าย โดยแต่ละหน่วยงานภายใต้ ความร่วมมือในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ ประกอบการโดยใช้กลไกบริการสนับสนุนผู้ ประกอบการด้านต่างๆ ทั้งสวทช. และหน่วยงานเครือข่ายได้อย่างครบวงจรสิ่งที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะได้รับจากความร่วมมือครั้งนี้คือ เข้าถึงผลงานวิจัยพัฒนาการสนับสนุน ด้านการเงินจากโครงการสนับสนุนด้านสิน เชื่อดอกเบี้ยต่ำ (CD) ศูนย์ลงทุน (NIC) การให้บริการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPS) โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอรับการรับรองจาก สวทช. เพื่อขอยกเว้นภาษี 200% (RDC) หรือแม้แต่การสนับสนุนส่วนอื่นๆ อีกมากมายตามแต่ที่โจทย์ ของภาคธุรกิจในพื้นที่จะร้องขอ

“มหาวิทยาลัยทั้ง 3 นั้น แต่ละแห่งมีความโดดเด่นทางด้านงานวิจัย และฐานของธุรกิจที่รองรับ ถือ เป็นการผนึกกำลังกับภาคการศึกษาที่มีความพร้อม ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อ ประโยชน์และเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในพื้นที่” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

การรวมพลังในครั้งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของสวทช. ที่เน้นความร่วมมือกับพันธมิตรเครือ ข่ายกระจายบริการลงสู่ภูมิภาคอย่างเป็น ระบบ สวทช. จะบูรณาการการทำงานร่วมกันกับเครือ ข่ายส่งเสริมเทคโนโลยีสู่ผู้ประกอบการแบบ ครบวงจรเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้มูลค่าเพิ่มจากการคิด ค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ ที่มีขีดความสามารถในการแข่ง ขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการกระตุ้น เศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบการ มีโอกาสเข้าถึงกลไกบริการและองค์ ความรู้ต่างๆ ผ่านเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถส่งต่อโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย และสวทช. และหาแนวทางเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการให้ได้รับ ประโยชน์สูงสุด ในการนำเทคโนโลยีไปต่อยอดธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจให้ประสบ ความสำเร็จ ในขณะ เดียวกันยังเป็นการลดขั้นตอนการประสานงานต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับภาพใหญ่ของสวทช. ส่วนหนึ่งจะเน้นการสนับสนุนให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ใน กลุ่มผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง และยางพารา ในปีนี้นั้นการร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายดังกล่าว ถือว่าสอดคล้องกับแผนนี้อย่างมาก โดยภาคอีสานจะมีความโดดเด่นในด้านข้าว และมันสำปะหลัง ส่วนในภาคใต้ก็โดดเด่นในด้านยางพาราการที่สวทช.ได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งสามด้านนี้ เพื่อต้องการขับเคลื่อนให้เกิดการ นำเทคโนโลยีไปสร้างมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากสวทช.มีงานวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุน แต่ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจยังไม่ได้รับข้อมูลและการผลักดันในระดับพื้นที่มา ก่อน ทำให้สถานะของการใช้เทคโนโลยีด้านนี้ยังน้อยอยู่ และเกิดอุตสาหกรรมปลายน้ำไม่มากนัก ซึ่งหากบทบาทของหน่วยงานเครือข่ายส่ง เสริมเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริงผลที่ เกิดขึ้นคือจะเกิดภาคธุรกิจเกิดใหม่ขึ้นจำนวนมากที่ใช้วัตถุดิบหลัก เหล่านี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้ภาคการผลิตของไทยพัฒนามากขึ้น และลดการนำเข้าสินค้าจากต่าง ประเทศไปได้อย่างมาก จนในที่สุดเกิดความแข็งแกร่งจนกลายเป็นจุดแข็ง เพราะมีตั้งแต่กระบวน การต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร

รศ. ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า แนวทางและดำเนินการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมของมอ.ในพื้นที่ภาคใต้มี หลาก หลายรูปแบบมาเป็นเวลานาน ทั้งในส่วนที่ม.อ.ดำเนินการเอง และร่วมกับหน่วยงานภายนอก อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสวทช. และเพื่อให้ชัดเจนในการดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะการพัฒนาด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ. จึงจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือนี้ และยังจัดตั้งสำนัก งานความร่วมมืออุตสาหกรรม หรือ “OIL” (Office of Industrial Liaison) ภายใน อุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อดำเนินการและประสานงานความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ในการพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความ สามารถเพิ่มมากขึ้น สอด คล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและพัฒนากับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นอุตสาหกรรมในภาคใต้จะขึ้นอยู่กับฐานวัตถุดิบในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งอันดับหนึ่งก็คือยางพารา ส่วนที่ กำลังมาแรงในขณะนี้ก็คือปาล์ม จากการให้ความสำคัญขององค์ความรู้ทางด้านการผลิตเกี่ยวกับ ยางพารา จะทำให้ สวทช. กับ ม.อ. ซึ่งมีองค์ความรู้และผลงานวิจัยจำนวนมากจะร่วมมือกันเข้า ไปส่งเสริมและสนับ สนุนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้กับธุรกิจในภาคใต้เติบโตขึ้นได้ถึง 30%

ในระยะเวลาอันสั้นต่อจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคใต้จะเข้ามาใช้บริการต่างๆ ของ สวทช. และ ของ ม.อ.มากขี้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาโดยเฉพาะทางด้าน เทคโนโลยี สามารถดึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับยางพาราและอื่นๆ ตามที่ผู้ประกอบการสนใจมาใช้ในเชิง พาณิชย์ได้อย่างง่ายดาย และลดขั้นตอนการเข้าถึงและใช้บริการ มีแผนสนับสนุนทางการตลาดที่จะ ผลักดันงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ และการตลาดที่จะเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นจนถึงการจับคู่ทาง ธุรกิจของผู้ ประกอบการ เกิดโรงงานใหม่ในภาคการผลิตระดับปลายน้ำมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มระยะยาวของการผลิตน้ำยางพารา

ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น ม.อ.และ สวทช.จะร่วมกันนำเทคโนโลยีจากการค้นคว้าวิจัยจากทั้งสอง หน่วยงาน เข้ามา Matching หรือจับคู่ เพื่อทำให้ระดับการวิจัยมีความเท่าเที่ยมกัน จนสามารถ เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดไปได้ กระบวนการดำเนินการในเบื้องต้นต่อจากนี้ ทาง ม.อ.กับสวทช.จะร่วมกันหารือเพื่อกำหนดขอบข่ายของการให้บริการร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย และ สร้างทิศทางในการสนับสนุน ทั้งนี้ทางสวทช. จะอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของ ม.อ. เพื่อให้ใช้ บริการที่มีอยู่ของสวทช.อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเป็นการลดขั้นตอนในการเข้ามาใช้บริการอย่างมาก และ ต่อไปก็จะทำให้หน่วยงานในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถนำแหล่งทุนและเทคโนโลยีมาสนับสนุนผู้ ประกอบการท้องถิ่นได้อย่างสะดวก ในอนาคต

รศ. ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เปิดเผย ว่า การที่สวทช. ร่วมกับ มทส. จัดตั้งศูนย์เครือข่ายในพื้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจะได้รับ ประโยชน์จากการ ให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. มากขึ้นตั้งแต่ การมีพื้นที่วิจัยที่อยู่ใกล้กับ นักวิจัย มทส. ซึ่งจะทำให้การดำเนินการวิจัยร่วมกันได้เสร็จเร็ว สะดวกขึ้น ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนาน้อยลง ด้วยการบริการแบบ One Stop Service ของอุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. และ การเดินทางที่ไม่ไกล ได้รับการให้บริการด้านธุรกิจและบริการด้านอื่นๆ ของ อุทยานวิทยาศาสตร์ มทส. ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ได้รับความสะดวกในการหาข้อมูลนักวิจัย และข้อมูล เทคโนโลยี เมื่อต้องการวิจัย ได้รับข้อมูลและการสนับสนุนช่วยเหลือของภาครัฐอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นและ ครบถ้วนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากความร่วมมือคือ สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์และความสามารถการแข่งขันให้สูง ขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ เกิดการ จ้างงานในท้องถิ่นทำให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำมาหากินที่อื่น เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันของ คนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาในระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืนต่อไป มทส. จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

View :1527