Archive

Posts Tagged ‘ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี’

กระทรวงวิทย์ฯ ทุ่มกว่า 300 ล้าน ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี หวังเป็นผู้นำด้านสินค้านาโนในอีก 10 ปีข้างหน้า

August 29th, 2012 No comments

29 สิงหาคม 2555 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือการจัดตั้งและดำเนินงาน ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี และร่วมปาฐกถาเรื่อง“นโยบาย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดยพิธีลงนามดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ()โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ/นาโนเทค ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จัดตั้ง”โครงการศูนย์ ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี”เพื่อสนับสนุน กลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางในการทำวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี ที่มีหัวข้อวิจัยสอดคล้องกับแผนที่นำทางด้านเทคโนโลยี (Technology Road Map : TRM) หรือการวิจัยแบบมุ่งเป้าของศูนย์นาโนเทค โดยเป็นการสร้างกลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง สามารถ นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของ ประเทศได้ในลักษณะ พันธมิตรระหว่างศูนย์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัย เป็นโครงการในระยะเวลา 5 ปี งบประมาณขั้นต้นในเฟสแรก 300 ล้านบาท

ดร.ปลอดประสพฯ รมว.วท. กล่าวว่า “โครงการ จัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี การดำเนินการครั้งนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการผนึก กำลังความร่วมมือของหน่วยงานที่ทำ งานด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ซึ่งทุกท่านคง ตระหนักดีว่า ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูง เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากสำหรับภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรม และเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยได้นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม สิ่ง ทอ อาหารและการเกษตร เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ พราะฉะนั้นความร่วมมือของ 9 หน่วยงานเพื่อการทำงานวิจัยและพัฒนา ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการทำงานวิจัยและ พัฒนาที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับนโยบายการ พัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำงานการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีไปในทิศ ทางเดียวกัน และอีกทั้งให้เกิดความสอดคล้องของการดำเนิน งานตามแผนที่กำหนดไว้ ในอีก 10 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ดังนั้น คาดหวังว่าโครงการนี้ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มของความร่วมมือของหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อภาคการศึกษา และยังจะมีโอกาสขยายผลความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ภาคเอกชน,ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ อันจะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างรวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ในหลายมิติ และหวังว่าโครงการนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของชาติ สร้างสรรงานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง นำมาพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก”

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “สวทช.โดยศูนย์นาโน เทคในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีจึงจัดทำโครงการ ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการ ศึกษา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสถาบันภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการผลิตผลงานและบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยีบน พื้นฐานของแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโน เทคโนโลยีเพื่อนำประโยชน์มา สู่ประเทศไทย เล็งเห็นว่า ในแต่ละมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนญในการดำเนินงานวิจัยที่ หลากหลาย การสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มวิจัยเพื่อให้มีเป้าหมาย และทิศทางของงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ของประเทศ

ซึ่งโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วม วิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งสวทช.โดยศูนย์นาโนเทคร่วมดำเนินการกับศูนย์ความเป็นเลิศด้าน นาโนเทคโนโลยี ทั้ง 8 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ การวินิจฉัย และรักษามะเร็ง,ด้าน อาหารและการเกษตร,ด้านระบบนำส่งยา,ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน,ด้านวัสดุนาโนเพื่อสมบัติเฉพาะทางขั้นสูง,ด้านวัสดุและระบบอัจฉริยะ,ด้าน วัสดุนาโนไฮบริดสำหรับพลังงานทางเลือก,ด้าน นาโนเทคโลยีสีเขียว และด้านอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้กรอบความร่วมมือมีระยะเวลา 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิจัยขนาด ใหญ่ที่มีผลงานวิจัยพื้นฐานเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบปรับประยุกต์ที่ตอบสนองภาคการผลิตของประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพสูงสุดทางงานวิจัยและพัฒนาต่อการพัฒนาศักยภาพและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป”

สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่ง มั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้ง ในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัย ต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

View :1694