Archive

Posts Tagged ‘ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ’

ก.ไอซีที สรุปบทเรียนการบริหารจัดการน้ำ และเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกชุมชนในจังหวัดนครนายก

February 26th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัยและการเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้าน/ชุมชนจังหวัดนครนายก ว่า เหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 ได้ส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศไทยประมาณร้อยละ 3 และประเทศยังต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมากในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งเมื่อรวมกับมูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้น และงบประมาณที่จะต้องนำมาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่มีมูลค่ามากมายมหาศาลแล้ว ได้ส่งผลโดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

การบริหารจัดการกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ การรู้ล่วงหน้า การหลีกเลี่ยง การเตรียมตัวที่จะเผชิญกับภัย และการบรรเทาภัยในกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยการเตรียมความพร้อมเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบหลักของความสำเร็จในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงระบบการทำงาน และลักษณะของความพร้อมให้เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการศึกษาและวิเคราะห์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ความสำคัญในการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย เพื่อเรียนรู้สาเหตุ ปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้อง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเกิดภัย จนกระทั่งการฟื้นฟูเยียวยาภายหลังการเกิดอุทกภัย โดยกระทรวงฯ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกับจังหวัดนครนายก จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย และการเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จังหวัดนครนายกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์อุทกภัยในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงสรุปแนวโน้มของการเกิดภัยและความรุนแรง เพื่อให้แต่ละหน่วยงานได้ทบทวนแผนงานของตน แล้วนำเอาส่วนที่เกี่ยวกับการเตือนภัยมาหา
รือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนร่วมแสดงความคิดเห็นในด้าน “ความพร้อม” ภายใต้ภารกิจที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ

นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการประสานงานในบทบาทของหน่วยงานตามขั้นตอนของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อจัดระบบบริหารการดำเนินงานเผชิญสถานการณ์ในภาพรวม (Unified Command) ให้กระชับ รวมทั้งเพื่อให้ชุมชน/หมู่บ้าน มีการเตรียมความพร้อม และมีแผนปฏิบัติเมื่อเกิดภัย ตามนัยแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้กรอบนโยบายการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความสามารถในการเตรียมพร้อมป้องกันภัย มีแผนเผชิญเหตุสาธารณภัยภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน และยังเป็นการสร้างกิจกรรมและเชื่อมโยงให้ชุมชนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ในด้านการเตรียมความพร้อมป้องกันภัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนในการเตรียมพร้อมป้องกันภัย และพัฒนาสู่การพึ่งพาตนเองในการบริหารจัดการภัยพิบัติด้วยชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติ ชาวไทย นักท่องเที่ยว และประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติอีกด้วย

สำหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ได้มีการจัดเป็น 2 กิจกรรม คือ การสรุปบทเรียน และการเตรียมพร้อมป้องกันภัย โดยกิจกรรมที่ 1 การจัดทำสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในบริบทของการเตือนภัย เป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคราชการ ภาคเอกชน มูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน มาจัดทำเป็นสรุปบทเรียนฯ เพื่อนำข้อบกพร่องในการบริหารจัดการน้ำช่วงที่ผ่านมา มาใช้เป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหา และกำหนดเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ส่วนกิจกรรมที่ 2 การเตรียมพร้อมป้องกันภัยทุกหมู่บ้านทุกชุมชนของจังหวัดนครนายก จะเป็นการนำสรุปเหตุการณ์อุทกภัยและดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้น ในปี 2554 มาเป็นกรณีศึกษา และเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชุมชนที่จะต้องมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสาธารณภัยในเบื้องต้น ตลอดจนมีการจัดทำแผนชุมชนในการเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ และการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยตามหลักสากล คือ หลักการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (Community Based Disaster Risk Management : CBDRM) อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการจัดการภัยพิบัติ

ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกิจกรรมที่ 1 คือ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน และมูลนิธิต่าง ๆ กิจกรรมที่ 2 คือ ผู้แทนหน่วยงานในจังหวัดนครนายก ทั้ง หน่วยงานราชการ ทหาร อบจ./นายอำเภอ/ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน/หมู่บ้าน อาสาสมัคร มูลนิธิ ซึ่งรวมผู้เข้ารับการสัมมนาทั้งหมดประมาณ 1,500 คน

“กระทรวงฯ หวังว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้จะทำให้ได้ข้อสรุปที่จะช่วยในการประเมินภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะทำให้แต่ละหน่วยงานมีข้อมูลในการทบทวนแผนงานของตนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหา รวมทั้งช่วยให้เกิดการพัฒนาการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความสับสนในการบริหารสถานการณ์ และความซับซ้อนในการสนับสนุนการปฏิบัติงานในช่วงต้นของการบรรเทาภัย นอกจากนี้ยังช่วยให้ชุมชน/หมู่บ้านที่เสี่ยงภัยมีความพร้อมในการป้องกันภัยพิบัติ สามารถบริหารจัดการ และลดความเสียหายเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น มีการสร้างคณะกรรมการชุมชน/หมู่บ้านเสี่ยงภัยที่มีความเข้มแข็งสามารถช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้านได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระหว่างชุมชน/หมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคราชการ และภาคประชาชน ซึ่งการเตรียมความพร้อมดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อการบริหารสถานการณ์ภัยพิบัติให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ชาวไทย นักท่องเที่ยว รวมทั้งประชาชน และนำมาซึ่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1511

รมว.ไอซีที หนุนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เดินหน้าพัฒนาแผนงานบูรณาการร่วม 3 ระบบ

February 1st, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบ เตือนภัยในเชิงบูรณาการ ว่า จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 เห็นชอบกรอบวงเงินสำหรับแผนพัฒนาคลังข้อมูลระบบพยากรณ์และเตือนภัย โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ใน 3 ระบบ คือ ระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ รวมทั้งระบบเตือนภัย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาระบบไอซีทีดังกล่าว จำเป็นจะต้องมีการจัดทำแผนงานและโครงการในแนวทางของการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนงานและโครงการในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบพยากรณ์ และระบบเตือนภัยในเชิงบูรณาการ โดยเชิญผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรับผิดชอบแผนงาน โครงการ รวมถึงงบประมาณของหน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการทั้ง 17 ด้าน ได้แก่ การแจ้งเตือนภัย น้ำ นิวเคลียร์และรังสี พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและนิติวิทยาศาสตร์ คมนาคม ฐานข้อมูลและสารสนเทศ เชื้อเพลิงและพลังงาน การศึกษา การบริหารจัดการภัยพิบัติ การแพทย์และสาธารณสุข การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การบริจาค การฟื้นฟูบูรณะ การต่างประเทศ และความมั่นคง มานำเสนอแผนงานและโครงการในด้านที่รับผิดชอบ เพื่อให้มีการนำผลที่ได้จากการระดมความคิดเห็นไปปรับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวงทั้ง 17 ด้านของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล รวมถึงสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ ความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงานด้วย

ในการดำเนินโครงการดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ ในการเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นหน่วยงานที่มีเทคโนโลยีในการเป็นคลังและศูนย์กลางของข้อมูล เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ก็สามารถเข้ามาใช้ข้อมูลประกอบการปฏิบัติงานได้อีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักรับ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง เทคโนโลยีระบบสัญญาณเตือนภัยจากภัยพิบัติ ดินถล่ม โดยให้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการหารือในประเด็นดังกล่าวไปพร้อมๆ กันด้วย

การสัมมนาฯ ครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการในภาพรวมของประเทศในเชิงบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางและมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์เดียวกัน โดยหน่วยงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ระดับกระทรวงทั้ง 17 ด้าน จะมีแผนปฏิบัติการในด้านที่ตนรับผิดชอบไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง และหน่วยงานระดับกรม สำนัก ศูนย์ฯ ต่างมีความเข้าใจอันดีในการจัดทำแผนงานร่วมกันอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

View :1378

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมเตรียมความพร้อมป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ

July 22nd, 2011 No comments


นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานการสัมมนา เชิงปฏิบัติการผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ที่อาจจะมีต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนในกรุงเทพมหานคร ด้านกฎหมาย วิศวกรรม และการบริหารความเสี่ยง ว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งห่างจากกรุงเทพมหานคร 770 กิโลเมตรแต่ทำให้เกิดการสั่นไหวของอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากชั้นดินของกรุงเทพฯ เป็นดินอ่อนทำให้ความรุนแรงขยายตัวได้ 3 – 5 เท่าตัว และหากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดรุนแรง หรือใกล้กับกรุงเทพมหานครมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ก็อาจส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้เป็นวงกว้างเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2528 เพราะมีสภาพของชั้นดินเป็นดินอ่อนลักษณะเดียวกัน

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรุงเทพมหานคร จึงร่วมมือกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน จัดการสัมมนาระดมสมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“การสัมมนาฯ ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางยุทธศาสตร์สำหรับการรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร จากแผ่นดินไหวระยะไกล ทั้งด้านกฎหมาย วิศวกรรม และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย การบรรยายภาพรวมของแผ่นดินไหวที่อาจจะมีผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร ความเสี่ยงจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกลที่อาจจะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร แนวทางในการลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวแก่ภาคเอกชนและภาคประชาชน การสร้างการรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อบรรเทาภัยจากความรุนแรง เป็นต้น โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 24 คน มาให้ความรู้ รวมทั้งมีการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์สำหรับการรับมือด้วย ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ระดมสมองเพื่อกำหนดแผนที่ยุทธศาสตร์หลัก และแนวทางแผนปฏิบัติการ (Roadmap and Strategic Action Plans) สำหรับการรับมือกับแผ่นดินไหว ที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานคร และแนวทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องข้อกำหนดทางอาคารของกรุงเทพมหานคร ที่จะสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ โดยแนวทางยุทธศาสตร์ฯ ที่ได้นี้ จะนำไปใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับมือการเกิดแผ่นดินไหวต่อไป” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1497

ก.ไอซีที ร่วมมือหน่วยงานในสังกัดวางระบบงานเตือนภัยรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

June 1st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ ขณะนี้กระทรวงฯ ได้มอบหมายให้สถิติจังหวัดเป็นผู้แทนกระทรวงไอซีทีในการทำงานด้านการเตือนภัยพิบัติ โดยสำนักงานสถิติจังหวัดจะเป็นศูนย์ประสานงานการสื่อสาร ทั้งในกรณีที่เกิดภัยพิบัติและในกรณีภาวะปกติ รวมทั้งเป็นหน่วยประสานงานกับหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถานีอุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม   บจ.ไปรษณีย์ไทย และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า โดยจะต้องมีการกำหนดวิธีดำเนินการหรือวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและต้องมีความพร้อมตลอดเวลา ทั้งนี้ ได้มอบหมายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ ศภช. เร่งรัดการจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อให้สำนักงานสถิติจังหวัดนำไปดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ”

ด้าน นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ การจัดทำคู่มือการ    เตือนภัยในภาวะปกติ นั้น คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2554 นี้ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการฝึกซ้อมทั้งระบบ และ ศภช. ยังได้ลงไปในพื้นที่เพื่อทำเป็นต้นแบบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในภาวะปกตินี้ สิ่งที่สถิติจังหวัดต้องดำเนินการ คือ ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารพื้นฐานแจ้งให้กับประชาชนในพื้นที่ และผู้ว่าราชการจังหวัดรับทราบ

สำหรับการดำเนินการในกรณีเกิดภัยพิบัติธรรมชาตินั้น ศภช. จะจัดทำคู่มือการทำงานว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติแล้ว สำนักงานสถิติจังหวัดจะมีหน้าที่อย่างไร ซึ่งหน้าที่หลักจะเป็นเรื่องการประสานเกี่ยวกับระบบสื่อสาร โดยสถิติจังหวัดจะทำหน้าที่ประสานงานกับ ทีโอที กสทฯ และ ไปรษณีย์ไทย เพื่อเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น การประสานงานกับ ทีโอที หรือ กสทฯ กรณีเกิดปัญหาด้านโครงข่ายการสื่อสารในพื้นที่ หรือประสานกับไปรษณีย์ฯ เมื่อต้องการรถขนส่ง เป็นต้น ”

ขณะนี้ กระทรวงไอซีที ได้ลงนามความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแล้ว เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือของ ศภช. ได้ในภาวะปกติ โดยต้องกำหนดมาตรฐานการทำงานให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งแจ้งผ่านมายังสำนักงานสถิติจังหวัดด้วย

“ การปฏิบัติงานตามกรอบภารกิจดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเตือนภัยพิบัติเป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมากขึ้นนับตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปลายปี รวมทั้งอาจมีภาวะวิกฤติด้านโครงข่ายการสื่อสารเกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้เตรียมความพร้อมให้กับสถิติจังหวัดในการทำหน้าที่เป็นผู้แทนกระทรวงไอซีที ตลอดจนได้มีการปรับปรุงระบบการสื่อสารระหว่างส่วนกลางกับสำนักงานสถิติจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1463

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมมือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ เสริมศักยภาพการแจ้งเตือนภัย

January 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ ความร่วมมือทางวิชาการและการบริหารข้อมูลทรัพยากรน้ำ ” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมี นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ (ที่ 3 จากขวา) ร่วมลงนาม ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 8 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้เป็นไปเพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม และส่วนที่ได้พัฒนาต่อเนื่อง สำหรับการเตือนภัยและลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนและร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับประยุกต์ใช้ในการ ป้องกัน รวมถึงแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ของโลกอันอาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนการจัดทำระบบ ภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด และระดับชุมชนในส่วนของการแจ้งและเตือนภัย ตลอดจนเพื่อร่วมพัฒนาบุคลากรและระบบการแจ้งเตือนภัยให้สามารถดำเนินงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

View :1514

ก.ไอซีที แถลงผลการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน

September 23rd, 2010 No comments

นายวิริยะ มงคลวีราพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า ภายหลังจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงไอซีที ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาภัย จากสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2553 ขึ้นในวันที่ 13 กันยายน 2553 ระหว่างเวลา 09.00-11.00 น. ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งการซักซ้อมแผนอพยพหลบภัยในปีนี้นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

สำหรับ การฝึกซ้อมในครั้งนี้เป็นการซ้อมเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิแบบเต็มรูปแบบ โดยสมมติเหตุการณ์ให้เกิดแผ่นดินไหวในทะเลบริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ขนาด 8.5 ริกเตอร์ ระยะห่างจากชายฝั่งทะเลอันดามัน 449 กิโลเมตร และคาดว่ามีโอกาสเกิดคลื่นสึนามิ ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ฝึกซ้อมระบบการแจ้งเตือนภัยตามแผนที่ได้ กำหนดไว้ คือ กดสัญญาณระดมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเพื่อพร้อมปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ รวมถึงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งได้ส่ง SMS และ FAX แจ้งเตือนภัยถึงผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งข่าวตัววิ่ง ส่งโทรสารประกาศแจ้งเตือนภัยผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

หลัง จากนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจึงได้เปิดเสียงไซเรนผ่านหอเตือนภัยทั้ง 127 หอ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมการซ้อมอพยพตามแผนปฏิบัติการไปสู่ พื้นที่ปลอดภัย จากนั้นรอฟังการประกาศยกเลิกสถานการณ์จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติผ่านหอ เตือนภัยในพื้นที่และผ่านสื่อต่างๆ พร้อมทั้งประกาศยุติการฝึกซ้อม

“อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่ากิจกรรมฝึกซ้อมแผนอพยพหลบภัยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ประชาชนทุกภาคส่วนก็ได้ให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง โดยทันทีที่มีเสียงไซเรนดังขึ้นพร้อมกันทั้ง 127 หอ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจุดต่างๆ ได้ปฏิบัติงานตามแผน เพื่อเร่งอพยพประชาชนทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งนอกจากซ้อมหลบภัยแล้วยังมีการซ้อมกู้ภัยในกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ด้วย

จึง นับว่าการฝึกซ้อมฯ ในปีนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นมาตรการป้องกันภัยมากกว่าการบรรเทาภัยเพื่อลดความสูญเสียที่ไม่ ควรจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมุ่งเป้าหมายหลักไปที่ชุมชนและพื้นที่เสี่ยงภัยโดยการให้ความรู้แก่ ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งจัดระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า การจัดทำแผนเตรียมพร้อมรองรับในการอพยพ และการฝึกซ้อมการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิด ภัย ตลอดจนช่วยสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในประสิทธิภาพของสัญญาณเตือนภัยที่ พร้อมใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียที่ไม่ควรเกิดในอนาคตได้” นายวิริยะ กล่าว

View :1499