Archive

Posts Tagged ‘สบท.’

สบท. เตือนใช้บริการโรมมิ่งอันลิมิท ก็หมดตัวได้

August 12th, 2011 No comments

สบท.เตือนใช้บริการโรมมิ่งอันลิมิท ก็หมดตัวได้ หากไม่รู้จักตั้งค่าระบบเครื่องให้เลือกเฉพาะเครือข่ายที่แพ็คเกจกำหนด พบหนุ่มนักศึกษาเที่ยวเกาหลีอาทิตย์เดียว กลับมาเจอบิลกว่าสองแสนบาท เหตุพกไอโฟนไปด้วยและต่อเน็ตตลอดเวลา เพราะนอนใจว่าเลือกแพ็คเกจไม่จำกัดแล้ว

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () เปิดเผยว่า การใช้บริการโรมมิ่งยังคงเป็นปัญหาสำหรับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีผู้ร้องเป็นนักศึกษาเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีเพียง 6 วัน โดยพกโทรศัพท์ไอโฟนพร้อมสมัครใช้แพ็คเกจอันลิมิต แต่กลับมาถึงเมืองไทยถูกเรียกเก็บค่าโทรศัพท์จากการใช้บริการดาต้าเป็นเงินสองแสนกว่าบาท เพราะเครื่องไปเลือกจับสัญญาณเครือข่ายนอกแพ็คเกจเป็นบางช่วง

“แพ็คเกจอันลิมิทหรือแพ็คเกจไม่อั้นทั้งหลายเป็นแพ็คเกจที่บริษัทมักจะเลือกทำสัญญากับเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งในประเทศปลายทาง ไม่ใช่ทุกเครือข่าย เช่นถ้าเครือข่ายของไทยไปเลือกทำสัญญาการเชื่อมสัญญาณกับ 10 บริษัท บริษัทไทยจะเลือกทำสัญญาอันลิมิตแค่บริษัทเดียว อีก 9 บริษัทไม่ใช่ ดังนั้นเมื่อไปถึงปลายทางผู้ใช้ต้องตั้งค่าระบบเครื่องให้เลือกรับสัญญาณเฉพาะเครือข่ายนั้นด้วยถึงจะอันลิมิทจริง “ ผอ.สบท. กล่าว

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า หากผู้บริโภคเลือกเครือข่ายได้ถูก ล็อคเครือข่ายได้สำเร็จ การจะใช้ในปริมาณเท่าไหร่ก็จะอยู่ในโปรโมชั่นที่เลือกไปคือ อันลิมิทอาจจะราคา 1,500 หรือ3,000 บาท ไม่เกินนั้น แต่ถ้าเราไม่ได้ล็อคเครือข่าย แล้วเครื่องไปจับสัญญาณเครือข่ายอื่นก็จะไม่อยู่ในเงื่อนไขอันลิมิทและจะกลายเป็นว่า ใช้เท่าไหร่ก็ต้องจ่ายเท่านั้นและคิดตามปริมาณข้อมูลด้วย อย่างเกาหลี ญี่ปุ่นหรืออเมริกา ซึ่งมีบริการ 3G เพราะฉะนั้นข้อมูลจะไหลเร็วมาก เช่นรายนี้เพียงไม่กี่วันที่เครื่องจับสัญญาณดาต้านอกเครือข่ายพบว่าใช้ไปกว่า400 เมกกะไบต์ ถูกเรียกเก็บค่าบริการเมกะไบต์ละ 500 กว่าบาท ขณะที่มีการใช้ในเครือข่ายที่กำหนด 180 เมกะไบต์ ส่วนนั้นถูกเรียกเก็บตามแพ็คเกจ 1,750 บาท

ผอ.สบท.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้การจำกัดวงเงินสูงสุดไว้ก็อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากเพราะปัจจุบันการรายงานการใช้บริการระหว่างประเทศยังทำได้ไม่ตรงตามเวลาที่ใช้จะมีการล่าช้าของการแจ้งผล

“โดยหลักทางเทคนิคค่าใช้จ่ายในต่างประเทศไม่ได้โอนข้อมูลมาเป็นวินาทีอาจรายงานเป็นวันหรือ 24 ชั่วโมง เช่นทำการจำกัดไว้ที่ 5,000 บาท แต่พอใช้ในต่างประเทศวันแรกเป็นแสน แล้วผ่านไปวันหนึ่ง ต่างประเทศเพิ่งแจ้งกลับประเทศไทย เพราะมีการดีเลย์ของข้อมูล ไม่เหมือนอยู่ในเมืองไทยเพราะบริษัทในเมืองไทยคุมค่าใช้จ่ายเองพอถึง 5,000 ก็ตัดได้เลย แต่กรณีโรมมิ่งไม่ใช่ เพราะข้อมูลกว่าจะส่งผ่านมาจะมีความล่าช้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ดังนั้นต่อให้ควบคุมค่าใช้จ่ายไว้ก็อย่าชะล่าใจ เพราะต่อให้มีการใช้เกินวงเงินแล้วเครื่องก็จะยังไม่ตัดยังใช้ได้อยู่” นายประวิทย์กล่าว

ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า หากผู้บริโภคเดินทางไปต่างประเทศและสมัครใช้บริการโรมมิ่งควร สอบถามชื่อเครือข่ายที่เราต้องใช้เมื่ออยู่ต่างประเทศ แล้วเมื่อไปถึงให้ตั้งระบบเครื่องด้วยตัวเองให้ล็อครับสัญญาณเฉพาะเครือข่ายนั้น รวมถึงสังเกตหน้าจอขณะใช้บริการเป็นระยะๆว่า เครื่องรับสัญญาณของเครือข่ายใดอยู่ นอกจากนี้อาจใช้วิธีการซื้อซิมการ์ดในประเทศนั้นๆแทน เพราะโดยส่วนใหญ่ค่าบริการจะถูกกว่า

“ถ้าเราต้องการติดต่อสื่อสาร มันไม่ได้มีเครื่องมือเดียว ไม่ได้ต้องเอาโทรศัพท์เราไปโรมมิ่งต่างประเทศ เพราะในประเทศนั้นเค้าก็มีซิมขาย ส่วนใหญ่ค่าบริการมักจะถูกกว่าค่าบริการโรมมิ่ง ยกตัวอย่างถ้าชาวต่างชาติมาไทย เค้าซื้อซิม เอไอเอส ดีแทค เค้าจะจ่ายถูกเหมือนเรา ดังนั้นหากเราไปต่างประเทศเราก็ต้องคิดเหมือนกันว่า บ้านเค้ามีซิมอะไรหรือไม่ประเภทอันลิมิทหกเจ็ดร้อยบาท ขณะที่ใช้โรมมิ่งของประเทศเราเนี่ยกลับมาโดนไปสามสี่แสน ดังนั้นเราต้องฉลาดที่จะเลือกด้วย” นายประวิทย์กล่าว

View :1693

เสวนา เรื่อง “บริการมือถือข้ามแดน” บทเรียนราคาแพงของผู้บริโภค

June 8th, 2011 No comments

จะจัดใหัมี การเสวนา เรื่อง “” บทเรียนราคาแพงของผู้บริโภค ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ -๑๖๐๐ น.ณ ห้องประชุมชั้น ๑ อาคารอำนวยการ สำนักงาน ถนนพหลโยธิน ซอย ๘ (สายลม) เขตพญาไท กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีนถไฟฟ้าอารีย์) เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือและใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับการใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติของผู้บริโภค และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผูบริโภคในกิจการโทรคมนาคม และข้อควรระวังในการใช้งานโทรศัพท์มือถือและใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับการใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง

ผู้สนใจทั่วไปที่มีปัญหาโรมมิ่งใช้โทร./อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในต่างประเทศแพงหูฉี่ สามารถเข้าร่วมการเสวนาฯ ดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ยใดๆ เพียงโทรศัพท์มาลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ หมายเลข  ๐๒-๖๓๔๖๑๒๒ ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ นี้ (ด่วน รับจำนวนจำกัด) ดูรายละเอียดได้ที่ www.tci.or.th

(ร่าง) กำหนดการ
๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น.     ลงทะเบียน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๐ น.     กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
โดย ประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา    ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครอง
ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ()
๑๓.๑๐ – ๑๕.๐๐ น.     เสวนา
ดำเนินการเสวนา โดย
อิสริยะ  ไพรีพ่ายฤทธิ์     บริษัท สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิตจำกัด
ผู้ร่วมเสวนา
ดร.สุพจน์  เธียรวุฒิ          ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาลัย       รายการแบไต๋ ไฮเทค.
ประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา         ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครอง
ผู้ในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
ผู้แทนจากสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์*
ผู้แทนสำนักงาน กสทช. *
ผู้ให้บริการโทรศัพท์และผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ไม่ได้วางโครงข่ายเอง (MVNO) อื่นๆ*
สื่อมวลชนทุกแขนง*
ประชาชนผู้สนใจทั่วไป*

*หมายเหตุ  *อยู่ระหว่างการประสานติดต่อ

สำนักสื่อสารสาธารณะและบริการประชาชน
สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
404 อาคารพหลโยธินเซ็นเตอร์ ชั้น 2
ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน  เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
Tel:  02-634-6000
Fax:  02-279-0251
E-mail: tci.tcimedia@gmail.com
Website: www.tci.or.th

View :1514

กฎหมายโทรคมนาคมถูกละเมิดเพียบ

March 8th, 2011 No comments

กฎหมายโทรคมนาคมยังถูกละเมิดอีกเพียบ ล่าสุดพบสิทธิในการระงับบริการชั่วคราวก็ไม่เป็นจริง ผอ.สบท.ระบุทางออกต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีตรวจสอบคุณภาพบริการ และสร้างช่องทางให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () เปิดเผยว่า ตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
สิทธิในการระงับบริการชั่วคราว จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระงับบริการชั่วคราว เช่น เดินทางไปต่างประเทศ หรือมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถใช้บริการได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทำให้สามารถเก็บเลขหมายของตนเองไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกบริการ
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการ 30 วันแรก หลังจากนั้นคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือ บางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น อีกทั้งหากระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านจะไม่สามารถโทรออกหรือรับสายได้ ทำให้สัญญาณอินเทอร์เน็ตถูกตัดไปโดยอัตโนมัติ หากไม่ยกเลิกบริการ ก็จะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับการใช้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป
ผอ.สบท. กล่าวต่อไปว่า โดยข้อเท็จจริงผู้ให้บริการจะยึดผลกำไรเป็นหลักไม่ใช่กฎหมายเป็นหลัก ดังนั้นในแง่ของการปฏิบัติตามกฎหมายโทรคมนาคมจึงพบว่า มีหลายประเด็นที่ผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ที่ชัดเจนก็คือ ระบบเติมเงินต้องไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ หรือ การต้องส่งอัตราค่าบริการให้ กทช. ดูก่อน 30 วัน แต่ส่วนใหญ่ก็ออกโฆษณาไปก่อนจึงส่งมาให้ตรวจสอบ เป็นต้น หากฝ่ายกำกับดูแลไม่มีศักยภาพในการติดตาม ก็จะเป็นเหมือนเขียนกฎหมายให้เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบว่าผู้ให้บริการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่
“ตามกฎหมายผู้ให้บริการจะต้องรายงานเรื่องร้องเรียนทุก 6 เดือน ซึ่งผลจากการรายงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทั้งปีจากลูกค้า 10 กว่าล้านราย มีผู้ร้องเรียนแค่ 100 กว่าราย ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาระบบตรวจสอบการรายงานด้วย ตัวช่วยที่จะทำให้กฎหมายเป็นจริงมากขึ้นก็คือ การลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อติดตามคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการ เช่น มีการบล็อกสัญญาณปิดกั้นสัญญาณหรือไม่ โทรเข้าโทรออกสำเร็จหรือไม่ ประการที่สองคือ ต้องให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ โดยเปิดช่องทางให้เขาแจ้งเหตุว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ฝ่ายที่ถือกฎหมายดำเนินการต่อไป” นายประวิทย์กล่าว
ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า กฎหมายด้านโทรคมนาคม เป็นกฎหมายที่มีโทษทางปกครองเท่านั้น ต่างจากกฎหมายของ สคบ. เช่น ถ้า สคบ. แจ้งให้เข้าร่วมประชุม หรือมีหนังสือเชิญ หรือแจ้งให้ต้องส่งเอกสาร ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษทางอาญา บริษัทก็จะถือปฏิบัติ แต่ตามกฎหมายโทรคมนาคมมีความผิดแค่ทางปกครอง บริษัทก็จะให้ความเคารพน้อยกว่า
“ ทางออกจึงต้องมีการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้วย คือ ให้ผู้ประกอบการตรวจสอบกันเอง และสร้างศักยภาพให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ ผู้บริโภคมีข้อมูลเพียงพอในการเลิกใช้หรือยกเลิกบริการได้ โดยให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดพลังกดดัน และผู้บังคับใช้กฎหมายต้องเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ จึงถือว่าถ้าไม่มีการแจ้งเหตุแสดงว่าไม่มีการทำผิดกฎหมายคงไม่ถูก เพราะบางครั้งการทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เป็นความผิดซึ่งหน้า ไม่ต้องรอหมายจับก็จับได้เลย” ผอ.สบท. กล่าว

View :1551

ภูมิซรอลเสนอระบบโทรคมฯ แจ้งเหตุฉุกเฉินพื้นที่ชายแดน

February 25th, 2011 No comments

กสทช.ลงพื้นที่ พบปัญหาซ้ำเดิมยามเกิดเหตุฉุกเฉิน มือถือบอดใช้งานไม่ได้ ขณะที่ ผู้ว่าฯศรีสะเกษเสนอ หนุนระบบโทรคมนาคมพื้นที่ชายแดน สร้างช่องทางสื่อสารหลากหลายให้ถึงประชาชนเมื่อภัยมาถึง

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. ประกอบด้วย ผอ. นายศรีสะเกษ สมาน นางสาวสุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม นายศรศิลป์ คล่องแคล่ว ตัวแทนจากสำนักงานการบริการอย่างทั่วถึง นายวรุตม์ ว่องโรจนานนท์ ตัวแทนจากสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่ บ้านภูมิซรอล และโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา และเข้าหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารไทย กับทหารกัมพูชา รวมถึงสำรวจความเสียหายและความต้องการใช้ระบบโทรคมนาคมในพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ
จากการสำรวจความเสียหายพบว่า ชุมสายโทรศัพท์พื้นฐานของ บมจ.ทีโอที ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์นั้น มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 40 เลขหมาย และลูกค้า ADSL จำนวน 15 Ports ไม่สามารถใช้งานได้และอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง ส่วนที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ ได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยอาคารเรียนถูกระเบิดพังเสียหาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบโทรคมนาคม พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากสาย fiber optic ถูกสะเก็ดระเบิดหรือกระสุนปืนใหญ่
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ภายหลังหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษมีข้อสรุปว่า ควรจัดให้มี “ศูนย์ประสานงานและแจ้งเหตุป้องกันภัยชายแดน” โดยขอให้ กสทช. สนับสนุนการจัดตั้งระบบโทรคมนาคมเพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน แบบหลายช่องทางการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารแจ้งให้ทั่วถึงแก่ประชาชนทุกคนได้ทราบในทุกรูปแบบ ซึ่งหากจะดำเนินการต้องมีการทำวิจัยและศึกษาปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนเสนอแนวทางดำเนินการให้ตรงกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในชายแดน
“จากคำบอกเล่าของประชาชนในพื้นที่พบว่า วันเกิดเหตุประชาชนต่างแตกตื่นวิ่งหนีหลบภัยแบบไม่มีทิศทาง รถติดยาวกว่า 30 กิโลเมตร ขณะที่ โทรศัพท์มือถือไม่สามารถติดต่อกันได้ในบางช่วงเวลา สถานการณ์ปัญหาการใช้บริการโทรคมนาคมเหมือนกับช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ หรือเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากช่องสัญญาณเต็ม เพราะมีผู้ใช้บริการในคราวเดียวจำนวนมาก และประชาชนในพื้นที่ชุมสายตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ รวมถึงบ้านภูมิซรอลไม่สามารถใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้” ผอ.สบท.กล่าว
นายประวิทย์กล่าวอีกว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแจ้งเหตุป้องกันภัยชายแดน จำเป็นต้องวางระบบให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของการใช้งานอาจแตกต่างจากการตั้งศูนย์เตือนภัยสึนามิ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังต้องการให้ผู้ประกอบการขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้ครอบคลุมพื้นที่ชายแดน และต้องการให้มีการฝึกทักษะการติดต่อสื่อสารด้วยระบบโทรคมนาคมเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติจากการสู้รบในพื้นที่ชายแดนด้วย

View :1398

สบท.หนุนผู้บริโภคอย่ายอมเลิกสัญญา 3BB

February 3rd, 2011 No comments

ชี้ยกเลิกสัญญาตามอำเภอใจผิดกฎหมาย หนุนผู้ใช้ริการ อย่ายอมเลิกสัญญา หากถูกระงับสัญญาณ ให้ยืนยันเป็นหน้าที่ผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบให้บริการตามที่ได้สัญญาไว้
จากกรณีที่ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่รู้จักกันในนาม 3BB ได้ยกเลิกการให้บริการลูกค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า จนทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัดร้องเรียนมายัง สบท. และเป็นกระทู้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ล่าสุดขณะนี้มีผู้เดือดร้อนมากกว่า 20 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาคแล้วนั้น
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลอาจมีผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอย่างน้อย 12,000 ราย อย่างไรก็ตามเนื่องจากตามมาตรา 20 พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต รวมถึงตามกฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการตามสัญญา ถ้าผู้บริโภคไม่ใช่ฝ่ายผิด ดังนั้นสำหรับผู้บริโภคถูกยกเลิกบริการจาก 3BB มีสิทธิที่จะยืนยันการใช้บริการต่อไปและบริษัทฯก็ไม่สามารถยกเลิกการให้บริการได้
“มีกรณีที่ จ. สุราษฏร์ธานี ผู้ใช้บริการรวมตัวกันไม่ยอมยกเลิกบริการ บริษัทฯก็ต้องให้บริการต่อไป เพราะอยู่ผู้ให้บริการ จะมายกเลิกสัญญาไม่ได้ มันมีเงื่อนไขตามกฎหมาย ดังนั้นผู้บริโภคมีสิทธิยืนยันที่จะไม่ยกเลิก และหากบริษัทฯอ้างว่า หากไม่ยกเลิกจะเก็บค่าบริการไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องกลัวครับ เพราะ ถ้าเกิดเหตุขัดข้องที่ไม่ได้มาจากผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่าย ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีสิทธิที่จะไม่ยกเลิก และถ้าถูกระงับสัญญาณปั๊บ ก็มีสิทธิไม่จ่าย จ่ายเฉพาะส่วนที่ใช้บริการจริงเท่านั้น เพราะเมื่อไหร่ที่ยินยอมยกเลิกสัญญา เท่ากับบริษัทฯพ้นหน้าที่ในการให้บริการเราทันทีเลย แต่ถ้าเรายืนยันเขามีหน้าที่ต้องเปิดบริการต่อ เพราะสัญญาเกิดมาก่อนแล้ว เป็นหน้าที่ที่ต้องเปิดให้บริการ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม จะเช่าโครงข่ายทีทีแอนด์ที หรือเจ้าอื่น หรือให้บริการผ่านดาวเทียม ผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่คุณภาพต้องได้ตามที่ตกลงกันไว้ ” ผอ.สบท. กล่าว
ท่ามกลางปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการจำนวนมากจากการถูก 3BB เลิกให้บริการ อย่างไรก็ตามขณะนี้ 3BB ยังคงมีการเผยแพร่สื่อโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ ต่อประเด็นนี้ นายประวิทย์กล่าวว่า บริษัทฯมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับผู้บริโภคโดยไม่ปิดบังว่า พื้นที่ไหนเปิดให้บริการ พื้นที่ไหนจะยุติบริการ อย่าใช้กลยุทธ์เหมือนที่เคยทำมาในอดีตคือโฆษณาไปก่อน จากนั้นก็เก็บทั้งค่าติดตั้งและเก็บค่าบริการล่วงหน้า แต่พอพื้นที่ไหนไม่คุ้มก็ไม่ขยายโครงข่าย แล้วจึงเรียกลูกค้าไปรับเงินคืน เพราะถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด สบท. จะได้รวบรวมรายงานถึง เลขาธิการ เพื่อพิจารณาให้มีคำสั่งทางปกครองต่อไปและในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ สบท.จะจัดให้มีเวทีสาธารณะ เรื่อง “ผู้ใช้ 3BB ถูกลอยแพ ใคร? แก้ปัญหา” เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

View :1426
Categories: Press/Release Tags:

3BBทิ้งผู้บริโภค ผู้ใช้บริการต่างจังหวัดร้องเรียนอื้อ

February 1st, 2011 No comments

สบท.เตือน ลูกค้า กว่าหมื่นรายอาจถูกทิ้ง หลังผู้บริโภคทั่วประเทศทยอยร้องเรียนเพราะถูกยกเลิกบริการดื้อๆ เหตุเพราะทีทีแอนด์ทีและ ยังคุยกันไม่รู้เรื่อง
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () เปิดเผยว่า ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา สบท.ได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการของบริษัท ทริปเปิลทรี อินเทอร์เน็ต จำกัด เนื่องจากผู้ใช้บริการถูกตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เมื่อผู้ใช้บริการสอบถามก็ได้รับแจ้งว่า บริษัทฯยุติการให้บริการแล้ว ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และประชาชนทั่วไป ล่าสุดจากการร้องเรียนทั้งที่เข้ามาถึงสบท.โดยตรงและที่เป็นกระทู้ในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ พบว่ามีผู้เดือนร้อนมากกว่า 20 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค เช่น เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ศรีสะเกษ สุราษฏร์ ตรัง
นายประวิทย์กล่าวว่า จากเหตุร้องเรียนดังกล่าวจึงพบว่า 3BB ได้ลดการใช้งานวงจรเช่าของบริษัท ทีทีแอนด์ทีจากที่เคยใช้งานอยู่ 320,278 วงจร เหลืออยู่เพียง 12,333วงจรเท่านั้น และมีแผนว่าจำนวนวงจรเช่าที่ใช้งานก็จะลดลงไปอีกตามลำดับ โดยจะลดลงเหลือ 0 ภายในระยะเวลาไม่นานนี้ จึงเป็นไปได้ว่า สำหรับลูกค้าต่างจังหวัดที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ 3BB แบบมีเบอร์โทรศัพท์ของทีทีแอนด์ทีจะถูกแจ้งยกเลิกการให้บริการทั้งหมดในที่สุด
“พื้นที่ที่ถูกร้องเรียนก็คือต่างจังหวัดเกือบทั้งหมด จากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของทริปเปิลทรี บรอดแบนด์ แต่ใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีเลขหมายซึ่งเป็นโครงข่ายของทีทีแอนด์ที อันนี้เป็นข้อสังเกตว่าจะถูกยกเลิกสัญญา ส่วนใครที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีเลขหมายของทริปเปิลทรี ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นโครงข่ายของเขาอยู่แล้วจะไม่เจอปัญหานี้ ตามตัวเลขประมาณการณ์ แสดงว่า บริษัทฯวางแผนที่จะยกเลิกการให้บริการกับผู้บริโภคอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอย่างน้อย 12,000 ราย” ผอ.สบท.กล่าว
นายประวิทย์กล่าวอีกว่า ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดของ 3BB ในหลายจุดยังเป็นการทำสัญญาใช้บริการวงจรเช่าจาก บริษัททีทีแอนด์ที แต่เมื่อทีทีแอนด์ทีประสบปัญหาทางการเงิน และมีการตั้งบริษัทเอกชนเข้ามาทำแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลต่อการเข้าไปใช้สิทธิของ 3BBในการใช้วงจรเช่าตามสัญญา เช่น การเปลี่ยนกุญแจล็อคชุมสายทำให้ 3BB ไม่สามารถให้บริการได้ การสร้างเงื่อนไขการเข้าพื้นที่ชุมสายและมีเหตุรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องกันกับพนักงานบริษัท และเป็นเหตุให้3BB ไม่อาจใช้วงจรเช่าในพื้นที่ชุมสายของทีทีแอนด์ที เพื่อให้บริการกับลูกค้าได้ ซึ่งที่ประชุม กทช. ได้มีมติให้ทีทีแอนด์ทีระงับการรื้อถอนคู่สายหรือการหยุดการให้บริการแล้ว 3BB จึงยังคงมีสิทธิ์ใช้โครงข่ายทีทีแอนด์ทีเพื่อให้บริการต่อไปก่อนตามสัญญาเดิม การกระทำของ 3BB ด้วยการยกเลิกบริการผู้บริโภคเองโดยพลการเช่นนี้ ถือเป็นการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“ตามกฎหมายมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ระบุว่า ห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการตามสัญญา ถ้าผู้บริโภคไม่ใช่ฝ่ายผิด และตาม พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมระบุว่า ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ซึ่งสบท.จะได้เชิญผู้ให้บริการมาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้” ผอ.สบท.กล่าว
จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) มีกรรมการบริษัท 7 คน คือ นายพิชญ์ โพธารามิก นายสุพจน์ สัญญพิสิทธิ์กุล นางสาวสายใจ คีตสิน นางนงลักษณ์ พงษ์ศรีหดุลชัย นางสาวจงรัก โรจนวิภาต นายวสุ ประสานเนตร และนายอนุพงษ์ โพธารามิก

View :1517
Categories: Press/Release Tags: ,

ศาลแพ่งไม่รับฟ้อง กรณีให้ข้อมูลประชาชนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

February 1st, 2011 No comments

ศาลแพ่งไม่รับฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีการฟ้องคดีของบริษัทรูมูฟ จำกัด ทั้งต่อนางสาวสารี อ๋องสมหวัง นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติหน้าที่  ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีและให้จำหน่ายคดี

จากกรณีที่ บริษัททรูมูฟ จำกัด ได้ยื่นฟ้อง นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และนายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ นักวิชาการและกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในข้อหาละเมิด และเรียกค่าเสียหาย 1,760,000 บาท เนื่องจากเผยแพร่ให้ข้อมูลความรู้กับประชาชน เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพนั้น

วันนี้ 31 มกราคม ที่ศาลแพ่ง รัชดา ศาลได้นัดชี้สองสถานและกำหนดสืบพยานโจทก์ ทนายบริษัทได้มาศาล จำเลยและทนายจำเลยมาศาล ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ เนื่องจากเป็นการทำหน้าที่ในฐานะกรรมการและผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการทำหน้าที่ต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐเท่านั้

View :1450
Categories: Press/Release Tags: ,

ข่าวสบท. กรณีทรูฟ้อง "สารี อ๋องสมหวัง และประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา"

January 27th, 2011 No comments

ทรูยื่นฟ้อง กราวรูดคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคโทรคมนาคมข้อหาละเมิด เพียงแค่ให้ข้อมูลเตือน ประชาชน เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจมีผลต่อสุขภาพ “สารี”ผิดหวังยันการได้รับข้อมูลเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค ผอ. ชี้ทั่วโลกยังไม่กล้ายันว่าปลอดภัย การให้ข้อมูลจึงเพื่อหาทางป้องกันเชิงนโยบาย
จากกรณีที่ บริษัททรูมูฟ จำกัด ได้ยื่นฟ้อง นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และนายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ นักวิชาการและกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมในข้อหาละเมิด และเรียกค่าเสียหาย 1,760,000 บาท เนื่องจากเผยแพร่ให้ข้อมูลความรู้กับประชาชน เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพนั้น
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่เพราะมีผู้ร้องเรียนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ได้เป็นการกล่าวหาบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นการให้ข้อมูลความรู้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน การหยิบเรื่องนี้มาฟ้องคดีเสมือนเป็นการข่มขู่คนที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ สบท. หรือองค์กรเอกชน และทำให้ทุกฝ่ายเสียเวลา
“ ผิดหวังมากที่ฟ้องคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เพราะตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง สิ่งที่นำเสนอไม่ได้เป็นการกล่าวหาทรู แต่ทรูกลับเป็นบริษัทเดียวที่ดำเนินการฟ้องคดี ที่ผ่านมาจากการทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเราไม่เคยถูกบริษัทโทรคมนาคมฟ้องคดี จึงรู้สึกผิดหวังจริงๆ เพราะสิ่งที่เผยแพร่เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อสาธารณะในวารสารวิชาการในต่างประเทศ มีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นจิตสำนึกตามปกติที่พึงมีต่อส่วนรวม” นางสาวสารีกล่าว
ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวว่า การให้ข้อมูลความรู้ในกิจการโทรคมนาคมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยสุจริตในฐานะ “เจ้าหน้าที่” ของรัฐ นอกจากนี้ข้อมูลเรื่อง “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” มิได้ฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง แต่เป็นข้อมูลซึ่งอ้างอิงมาจากผลการศึกษาทางวิชาการ ทางการแพทย์ในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และผลการศึกษาจากในประเทศไทยเอง โดยไม่เคยสรุปว่า เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นสาเหตุของโรคใดๆ แต่จากข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ สรุปได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ ที่สำคัญการเผยแพร่ข้อเท็จจริงนี้มีเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบาย ให้เกิดการทบทวนนโยบายและเกิดมาตรการป้องกันสุขภาพของประชาชน อันเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับสิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
“ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่สามารถยืนยันในทางใดทางหนึ่ง แต่เนื่องจากมีผลวิจัยอันน่าเชื่อถือซึ่งพบผลกระทบต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น หลายประเทศจึงได้ใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน เช่น สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แม้กระทั่งรัฐสภายุโรปในญัตติเรื่อง “ความกังวลต่อสุขภาพที่สัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า” ได้มีมติให้มีมาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพจาก มือถือ WIFI WiMax ตลอดจนสถานีวิทยุโทรคมนาคมทุกชนิด โดยการตั้งเสาสัญญาณฯ ต้องให้โรงเรียน ศูนย์เด็กอ่อน สถานพยาบาล ปลอดจากคลื่นต่างๆและให้ประชาสัมพันธ์ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจมี การเผยแพร่เรื่องนี้จึงเป็นการให้ข้อมูลความจริง เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้เกิดมาตรการป้องกันสุขภาพของประชาชน” ผอ.สบท.กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า แม้แต่องค์การอนามัยโลก (Who) ยังไม่อาจยืนยันได้ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากพบว่าประชากรร้อยละ 3 ในโลกเป็นผู้ป่วยด้วย “โรคภูมิแพ้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ซึ่งประเทศสวีเดนเป็นประเทศแรกในโลกที่ประกาศขึ้นทะเบียนโรคนี้อย่างเป็นทางการ และหากมีนักเรียน หรือครู อาจารย์แม้เพียงคนเดียวที่เกิดอาการภายในโรงเรียน สถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่ใกล้โรงเรียนจะถูกสั่งให้ถอนย้ายทันที ดังนั้นจึงยังไม่มีองค์กรใด หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใดในโลกที่กล้ายืนยันว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมและให้ข้อมูลกับประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการให้ระมัดระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
คดีนี้ศาลแพ่งนัดกำหนดแนวทางพิจารณาคดีและชี้สองสถานในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น.

View :1725
Categories: Press/Release Tags: ,

ปัญหาหลักผู้บริโภคโทรคมนาคมถูกคิดเงินผิดและถูกเร่งเติมเงิน

January 19th, 2011 No comments

เผยยอดร้องเรียนโทรคมนาคมปี 53 เอไอเอสและฮัทช์ ถูกชาวพรีเพดร้อง “ตัด ยึด ทวง” มากที่สุด ขณะที่ดีแทคและทรูมูฟ คว้าแชมป์คิดเงินผิด
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยถึงสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 2,753 เรื่อง โดยปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดมาจากการใช้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 1,751 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 63 รองลงมาคือ การร้องเรียนจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวน 557 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20 และการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์บ้านจำนวน 353 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 12 ส่วนประเด็นที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดคือ การคิดค่าบริการผิดพลาดจำนวน 686 เรื่อง หรือร้อยละ 25 รองลงมาคือ การกำหนดวันหมดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินจำนวน 602 เรื่องหรือ ร้อยละ 21 และมาตรฐานการให้บริการจำนวน 536 เรื่อง หรือร้อยละ 19.5
“สำหรับการคิดค่าบริการผิดพลาดมีรายหนึ่งร้องเรียนว่า ถูกคิดค่าบริการ 170,000 บาท ซึ่งเรื่องยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ทั้งนี้โดยทั่วไปของการถูกคิดค่าบริการผิดพลาดมาจากค่า GPRS หรือ EDGE จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ การระงับบริการแต่ยังถูกเรียกเก็บค่าบริการ การถูกคิดค่าโทรทางไกลต่างประเทศ หรือการถูกหักค่า sms บริการเสริมต่างๆ มีบางรายถูกคิดค่าดาวน์โหลดข้อมูลไป 2,500 บาท ทั้งที่การโหลดไม่สำเร็จแต่ถูกคิดเงินเต็มจำนวน จึงร้องเรียน จนในที่สุดบริษัทคืนเงินให้มาจำนวน 1500 บาท ปีที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกหักค่าบริการเสริม 272 ราย ผู้บริโภคจึงควรตรวจสอบการใช้บริการเป็นระยะ หากสงสัยเกี่ยวกับการใช้บริการ ต้องสอบถามกับเครือข่ายผู้ให้บริการ โดยบริษัทมีหน้าที่ต้องชี้แจง หรือแสดงรายละเอียดการใช้บริการกับผู้บริโภค” ผอ.สบท. กล่าว
นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ในการใช้บริการโทรศัพท์มือถือนั้น ประเด็นที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดของผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายนั้นพบว่า เอไอเอส ถูกร้องเรียนมากที่สุดในประเด็นการกำหนดอายุโทรศัพท์ระบบเติมเงินโดยมีจำนวนเรื่องร้องเรียน 200 เรื่อง ด้านดีแทค และทรูมูฟถูกร้องเรียนมากที่สุดในประเด็นการคิดค่าบริการผิดพลาด โดยมีเรื่องร้องเรียนจำนวน 100 และ 167 เรื่องตามลำดับ ขณะที่ฮัทช์ถูกร้องเรียนมากที่สุดจากเรื่องการถูกยึดเงินในโทรศัพท์ระบบเติมเงินจำนวน 106 เรื่อง ส่วนการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์บ้าน ประเด็นที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ มาตรฐานการให้บริการ

View :1401

สบท. แนะผู้บริโภคพรีเพด ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ เก็บหลักฐานการใช้บริการ หากประสบปัญหา ถูกตัดสัญญาญ ถูกยึดเงินค่าโทร ใช้อ้างอิงทวงเงินคืนได้

December 30th, 2010 No comments

จากกรณีที่ ออกมารณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินกรณีประสบปัญหาจากการถูกตัดสัญญาณ ถูกยึดเงินค่าโทรศัพท์ให้ลุกขึ้นมาทวงเงินของตัวเองคืนได้  นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา  ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม () เปิดเผยเพิ่มเติมถึงวิธีการในการทวงเงินจากผู้ให้บริการว่า ผู้บริโภคควรมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้บริการโทรศัพท์ของตัวเอง เพื่อเป็นหลักฐาน เช่น การเก็บข้อความยอดเงินที่เติมครั้งล่าสุด และยอดวันที่เหลือ ซึ่งผู้ให้บริการจะส่งเป็นเอสเอ็มเอสให้เมื่อมีการเติมเงิน  ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือจากการใช้บริการเป็นระยะ โดยจดบันทึกวันที่ตรวจสอบและยอดเงินที่เหลือไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่า มีเงินเหลืออยู่ในระบบเท่าไหร่เมื่อถูกยึด รวมทั้งจดบันทึกวันที่ถูกตัดบริการและถูกยึดเงินไว้ด้วย

​ผอ.สบท. กล่าวต่อไปว่า จากนั้นหากประสบปัญหาให้ทวงถามไปยังเครือข่ายที่ใช้บริการ โดยใช้หลักฐานที่บันทึกไว้ พร้อมทั้งขอเลขร้องเรียนจากผู้ใช้บริการเพื่อสะดวกในการติดตามผล  อย่างไรก็ตามหากประสบปัญหาเมื่อทวงกับเครือข่ายไม่ได้ผล  ขอให้ร้องเรียนมาที่ สบท. ส่วนกรณีที่บริษัทรับเป็นเรื่องร้องเรียนแล้ว บริษัทมีหน้าที่ต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

​“  ขณะนี้การตรวจสอบยอดเงินผู้บริโภคจะได้รับข้อมูลที่เป็น pop up ไม่สามารถเก็บไว้ในเครื่องโทรศัพท์ได้ แต่สามารถจดบันทึกยอดเงินคงเหลือไว้ได้ เพื่อเป็นหลักฐานในการอ้างอิงเพื่อทวงเงินคืน” ผอ.สบท.กล่าว

​สำหรับการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงิน แต่ละเครือข่ายจะมีเบอร์ที่ให้โทรตรวจสอบได้โดยไม่เสียค่าบริการคือ   วันทูคอล โทร *121# หรือ 900120 แฮปปี้โทร *1001 เป็นระบบเสียงตอบรับอัตโนมัติ ทรูมูฟโทร #123# เป็นระบบข้อความหรือ 9302 เป็นระบบเสียงตอบรับอัตโนมัติ โดยเบอร์หลังนี้กดครั้งแรกไม่คิดค่าบริการ ครั้งที่ 2 คิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 1 บาท

View :1774
Categories: Press/Release Tags: