Archive

Posts Tagged ‘ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์’

Hitachi Content Platform ช่วยองค์กรทั่วโลกก้าวสู่ระบบคลาวด์ด้วยแนวทางของตนเองพร้อมรับผลตอบแทนจากการลงทุนที่รวดเร็วกว่าเดิม

December 29th, 2011 No comments

บริษัท คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT / ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) เปิดเผยว่า ขณะนี้บรรดาผู้ให้บริการและองค์กรด้านไอทีต่างๆ เช่น บริษัท ออตโต้ฟิสเชอร์ (เยอรมนี) บริษัท พีคเว็บโฮสติ้ง (สหรัฐฯ) โรงพยาบาลเซนต์เทเรซ่า (ฮ่องกง) และโรงพยาบาลจงต้า (จีน) กำลังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อย่างมีนัยสำคัญอันเป็นผลมาจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่ง่ายดายและมีประสิทธิภาพเพื่อจัดเก็บ ค้นหา รักษา และปกป้องข้อมูลของตนโดยอาศัย Hitachi Content Platform (HCP) ดังจะเห็นได้ว่าความสามารถด้านการปกป้องข้อมูลระดับเยี่ยม การกู้คืนระบบที่เสียหาย การใช้ประโยชน์และเรียกคืนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้อย่างชาญฉลาดที่นำเสนอโดย HCP นั้น กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากและถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการขยายตัวของรายได้ในไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2554 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 50 –60% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2553

“การขยายตัวอย่างมหาศาลของ Unstructured Data ในปัจจุบัน ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องหันมาปรับใช้โซลูชั่นที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดความซับซ้อน และลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้” มิคลอส แซนดอร์ฟี หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า “HCP มีความโดดเด่นอย่างมากในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมีความสามารถที่ได้รับการพัฒนามาเป็นระยะเวลาหลายปี ทั้งในด้านการปรับขยายและด้านการรองรับเทคโนโลยีไอทีที่หลากหลาย โดยเป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ กำลังต้องการเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงานและสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เศรษฐกิจ และกฎระเบียบในสภาพแวดล้อมทั้งแบบคลาวด์และแบบกระจายศูนย์ โดยลูกค้าที่ปรับใช้ HCP จะได้รับประโยชน์จากความสามารถด้านการย้ายข้อมูลและแอพลิเคชั่นเข้าสู่ระบบคลาวด์ในรูปแบบแนวทางของตนเองผ่านโครงสร้างพื้นฐาน Edge-to-Core แบบผสานรวมที่จะช่วยให้เกิดการควบคุม ข้อมูลแบบ Content ได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถปรับใช้โซลูชั่นคลาวด์ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วกว่าเดิม”

จากการสำรวจล่าสุดที่ดำเนินการโดยบริษัท เทควาลิเดท (TechValidate) องค์กรวิจัยอิสระภายนอก พบว่าผู้ใช้ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการปรับใช้ความสามารถของ HCP ในหลากหลายระดับ โดยผู้ใช้กว่า 40% ระบุว่าพวกเขามีการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นจำนวนมากที่ระดับ 100 เทราไบต์หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ 77% ขององค์กรไอทียังระบุด้วยว่าหลังจากปรับใช้ HCP ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาพวกเขาพบว่ากรณีระบบหยุดทำงานโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้เกิดขึ้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นและสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานให้ต่ำลงได้

ข้อมูลอ้างอิงจากลูกค้าที่ใช้งาน Hitachi Content Platform
• ออตโต้ฟิสเชอร์: “บริษัท ออตโต้ฟิสเชอร์ ใช้ HCP เป็นที่จัดเก็บแบบ Distributed Object เพื่อการจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวรและจัดเก็บเอกสารต่างๆ เช่น ใบแจ้งหนี้จากผู้จำหน่ายและลูกค้า รวมถึงเอกสารทางบัญชีอื่นๆ ที่ต้องจัดเก็บไว้อย่างถาวรเพื่อใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายและป้องกันไม่ให้เกิดการแก้ไขในทางทุจริตและการสูญหายของข้อมูล โดยในอนาคต เรามีแผนใช้ HCP เพื่อจัดการเอกสารเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก รวมถึงเอกสารสัญญาที่เป็นดิจิตอล เอกสารของลูกค้าและซัพพลายเออร์ บันทึกข้อมูลและอีเมลของโครงการและการวางแผนต่างๆ จะเห็นได้ว่าเราได้รับประโยชน์อย่างมากมายจาก HCP ทั้งประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความสามารถในการปรับขยายได้ในระดับสูง รวมถึงความเชื่อมั่นที่เรามีต่อบริษัท ฮิตาชิ ในฐานะที่เป็นคู่ค้าที่วางใจได้และเคียงข้างกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยบริการชั้นเยี่ยมที่ได้รับจากทีมงานของ HDS นั้นมีความสำคัญต่อเราอย่างยิ่ง” – แม็กซ์ เบอร์กี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ)
• พีคเว็บ: “ความมุ่งมั่นของบริษัท พีคโฮสต์ติ้ง คือการนำเสนอลูกค้าของเราด้วยแพลตฟอร์มการประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา สามารถปรับขยายและสนับสนุน Production ได้ในทุกระดับ อีกทั้งยังมีความน่าเชื่อถือและคลายความกังวลที่มีอยู่ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญขององค์กร โดยการปรับใช้ HCP ในโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ของเรา ช่วยให้บริษัท พีคโฮสติ้ง สามารถพร้อมใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลในระดับสูงและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 100% จึงไม่ใช่เรื่องยากในการจัดการและสามารถตอบสนองต่อความมุ่งมั่นของพีคในด้านการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณประโยชน์เหล่านี้ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของพีค และช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับความมุ่งมั่นที่เรามีต่อลูกค้าคนสำคัญของเรา นั่นคือ ‘เราจะทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้’ ให้กับลูกค้าของเรา” – เจฟฟรีย์ พาเพน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ)
• โรงพยาบาลเซนต์เทเรซ่า: “กลยุทธ์ของเราคือการเก็บบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้ได้ตลอดชีวิต โดย HCP ได้นำเสนอความสามารถระดับสูงของการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎระเบียบ การรักษาความปลอดภัย และความสามารถด้านการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของเนื้อหาตลอดระยะเวลาที่มีการจัดเก็บ ระบบสุขภาพของเราได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการจัดเตรียมเวชระเบียนและภาพทางการแพทย์ให้เข้าสู่ HCP ระบบเดียว จึงช่วยให้การจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของเราเป็นไปโดยอัตโนมัติ และสามารถปรับขยายได้ทั้งแนวกว้างและลึกเพื่อตอบสนองต่อการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของข้อมูลสุขภาพของเราใน” – ปาสคาล ทีเซ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
• โรงพยาบาลจงต้า มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสต์: “การรวมระบบเข้าไว้ด้วยกันโดยใช้ HCP ช่วยให้เราสามารถจัดการปัญหาของระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันได้โดยอัตโนมัติ และสามารถกำหนดค่าข้อมูลได้อย่างเหมาะสมสูงสุด โดยเมื่อมีการปรับใช้ Content Platform แบบนี้ ทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีข้อมูลจำนวนมาก การเรียกใช้ข้อมูลและการเก็บข้อมูลอย่างถาวร ได้รับการจัดการอย่างง่ายดาย รวมถึงการบันทึกข้อมูลสุขภาพและข้อมูลภาพเพื่อใช้ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ทั้งหมดของเราก็ได้รับการจัดเก็บไว้อย่างเหมาะสมด้วย สิ่งนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบส่วนกลางทั้งระบบได้อย่างมาก ตลอดจนช่วยวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการแปลงข้อมูลของเราให้เป็นรูปแบบดิจิตอลในอนาคตได้อีกด้วย” – เป่ยฮั้ว วู ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศโรงพยาบาล

View :1329

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จับมือไมโครซอฟท์ เปิดตัวโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมใหม่

August 18th, 2011 No comments

บริษัท คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ร่วมกับไมโครซอฟท์ เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม (Converged Data Center Solutions – CDCS) โดยผนวก Microsoft® Hyper-V™ Cloud Fast Track และ Microsoft Exchange 2010 เป็นครั้งแรก ให้ลูกค้าที่ต้องการใช้งานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงให้เป็นอย่างเหมาะสม อัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพสูง

ผลิตภัณฑ์โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม (Converged Data Center Solutions – CDCS) สามารถลดระยะเวลาการนำไปใช้ ตลอดจนทำให้การปรับใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่ายและกระบวนการที่ทำงานแบบอัตโนมัติ Hitachi CDCS ได้รวมการปรับแต่ง ของระบบจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรขนาดใหญ่ และ ระบบประมวลผลแบบเบลด จากบริษัท ฮิตาชิที่มาพร้อมด้วยโครงสร้างเครือข่ายที่เป็นมาตรฐาน มาปรับใช้อย่างเหมาะสม ที่ครอบคลุม แอพพลิชั่นต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของระบบคลาวด์ ภายใต้การนำระบบไปใช้ที่รวดเร็วขึ้น ขยายระบบได้ภายหลัง และมีกระบวนการเป็นอัตโนมัติ โซลูชั่นใหม่นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่ง สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ จากสิ่งที่องค์กรมีอยู่ และสามารถคาดการณ์ผลจากการนำไปใช้และความคุ้มค่าได้เร็วขึ้น

นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “กลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม (Converged Data Center Solutions – CDCS) เป็นการผนวกกับ Microsoft® Hyper-V™ Cloud Fast Track และ Microsoft Exchange 2010 จะช่วยวางรากฐานระบบคลาวด์ หรือโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ ด้วยการปรับแต่งระบบของระบบต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ อันได้แก่ ระบบจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล องค์กรหลายแห่งต้องการได้รับประโยชน์จากระบบส่วนตัวภายใต้สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นด้วยวิธีใดเนื่องจากมีข้อมูลน้อยมากสำหรับ มาตรฐาน การปรับแต่งเพื่อทำงานรวมกัน และการรับรอง สำหรับการนำใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมคลาวด์ ที่สามารถแสดงผลสำเร็จที่เด่นชัดและเชื่อถือได้ การผสานรวมอุปกรณ์ต่างๆ จาก ระบบจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และเครือข่ายการสื่อสาร ของ Hitachi CDCS จะนำเอาจุดได้เปรียบที่เด่นชัดของความเชื่อมั่นของอุปกรณ์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ความรวดเร็วในการปรับใช้ ประสิทธิภาพ และระบบบริหารจัดการ ที่แตกต่างชัดเจนเมื่อเทียบกับโซลูชั่นที่มีการผสานรวมกันอย่างหลวมๆ โดยไม่ได้มีการปรับใช้ให้เหมาะสม นอกจากนี้ โซลูชั่นของฮิตาชิยังให้คำตอบ สำหรับที่องค์กรที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบคลาวด์ มีกระบวนการสั่งการและนำไปใช้ที่ง่าย ตลอดจนได้ผลการนำไปใช้ที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ”

นางสาวปัญจพร วิทยเลิศพันธุ์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโสด้านเซิร์ฟเวอร์และแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ ประเทศไทย และฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้ร่วมกันประกาศ โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม(CDCS) ในวันนี้ โดย โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม(CDCS) ทำงานบน Microsoft Hyper-V Cloud Fast Track และ Microsoft Exchange 2010 ที่สามารถช่วยให้องค์กรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อัตโนมัติ และเสมือนจริงที่มีประสิทธิภาพสูงและตรงความต้องการของลูกค้าในด้านความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ ด้านการคาดการณ์ และสามารถขยายได้อย่างราบรื่น โดยฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และไมโครซอฟท์ ร่วมกันให้ออปชั่นที่หลากหลายสำหรับลูกค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากโซลูชั่นนี้มากที่สุด เราทราบดีว่าธุรกิจมีความจำเป็นเฉพาะด้านและหลากหลายที่ต้องการความแตกต่างในการผสานรวมกัน เราจึงให้โซลูชั่นแบบเปิดและยืดหยุ่นเพื่อการป้องการการลงทุน ระยะยาวและสามารถปรับใช้กับระบบคลาวด์ของลูกค้าได้”

นายสุนิล ชวาล ผู้อำนวยการกลุ่มซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นสำหรับคลาวด์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว ว่า“บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ความสำคัญกับการทำให้สภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ของลูกค้าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเป็นเรื่องง่าย ขณะที่ต้องคุ้มค่าต่อการลงทุนด้านไอทีของลูกค้าด้วยและ Hitachi CDCSโซลูชั่นใหม่ของเรา ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ความเชี่ยวชาญ และเชื่อมั่นได้ จากระบบจัดเก็บข้อมูลของฮิตาชิ ที่วันนี้ได้ มารวมเข้ากับระบบประมวลผล

สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ได้โดยง่าย มีต้นทุนที่เหมาะสม และเป็นระบบที่เชื่อถือได้ ลูกค้าของเราสามารถนำเสนอการให้บริการแบบคลาวด์ได้ในแบบที่ พวกเขาต้องการและสอดคล้องกับธุรกิจของตนได้มากที่สุด ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว โซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยปรับเปลี่ยนศูนย์ข้อมูลเดิมของลูกค้าให้เป็นศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ เพื่อให้เข้าใกล้ความต้องการทางธุรกิจ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมดได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด”

ส่วนประกอบโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมของฮิตาชิ(CDCS)

Hitachi CDCS ได้รวมระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบประมวลผล และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล เข้ากับการจัดการซอฟต์แวร์ ทำให้กระบวนการเป็นแบบอัตโนมัติ และปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้ทำให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรด้วยตนเองและติดตามการใช้งาน ตลอดจนการนำไปปรับใช้ที่เหมาะสมที่สุดที่ระดับแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม ไฮเปอร์ไวเซอร์ และให้ความยืดหยุ่นในการใช้เทคโนโลยีได้ตามต้องการ โดย CDCS ในช่วงเริ่มแรกนั้น จะประกอบด้วย

· ชุดโซลูชั่นของฮิตาชิพร้อมใช้กับ Microsoft® Hyper-V™ Cloud Fast Track: การผสานรวมของระบบการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลของฮิตาชิเข้ากับระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล และ Microsoft Windows Server 2008 R2 พร้อมด้วย Hyper-V และ System Center สำหรับโครงสร้างพื้นฐานส่วนตัวในสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะนำไปสู่การทำให้กระบวนการแบบอัตโนมัติ และ การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะ Orchestration

· Hitachi Converged Platform for Microsoft Exchange 2010: ผลิตภัณฑ์แรก ของ กลุ่ม CDCS สำหรับแอพพลิเคชั่นเฉพาะ ที่ผ่านการทดสอบล่วงหน้า ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้วิศวกรระบบ สามารถนำไปใช้ที่รวดเร็วและ เข้ากันได้กับคุณสมบัติใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพของ Exchange 2010 ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งให้ใช้งานได้ยืดหยุ่นตามต้องการ การคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานได้ และความสามารถในการปรับขนาดเพิ่มเติมได้อย่างราบรื่น ภายใต้การสนับสนุนจากHitachi Global Services และสะดวกต่อการสั่งซื้อในรูปแพคเกจที่จัดมาพร้อมใช้

Hitachi Unified Compute Platform (UCP): การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะ Orchestration ครอบคลุมทุกขอบเขตของเทคโนโลยี

UCP เป็นกลยุทธ์สำคัญของ ศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวม ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ UCPจะให้การบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวและสามารถจัดการร่วมภายในกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นแบบผสานรวมของฮิตาชิ และด้วยซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการแบบทำงานเป็นหนึ่งเดียวแบบใหม่นี้ ทำให้ UCP สามารถเป็นศูนย์รวมและจัดการบริหารเป็นหนึ่งเดียวกับ เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล เสมือน ศูนย์รวมทรัพยากรเชิงธุรกิจ ผ่านอินเทอร์เฟสการใช้งานง่ายที่ครอบคลุม นอกจากนี้ จากการพัฒนาบนระบบอัจฉริยะที่ครอบคลุมขอบเขตเทคโนโลยีต่างๆ ยังได้ให้สภาพแวดล้อมการประมวลผลขนาดใหญ่ ที่มีความคล่องตัวในการนำไปใช้ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ ตลอดจนลดต้นทุนและความเสี่ยงผ่านการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ เป็นแบบอัตโนมัติ ผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีความยืดหยุ่น

Hitachi Compute Blade: อุปกรณ์ประมวลผลพร้อมใช้สำหรับคลาวด์ ที่ยืดหยุ่นในการกำหนดระบบที่จะนำไปใช้งาน

เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัท ฮิตาชิ เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมและเชื่อถือได้โดยได้สร้างประโยชน์ที่โดดเด่นให้กับ ศูนย์ข้อมูลบางแห่งที่มีความซับซ้อนที่สุดในโลกมาแล้ว บริษัท ฮิตาชิ อยู่ในธุรกิจด้านการประมวลผลมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปีในรูปของมรดกสืบทอดด้านเมนเฟรม และผลิตภัณฑ์ Hitachi Compute Blade ได้วางจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2547 กลยุทธ์ด้านการประมวผลของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คือการนำเอาเอกลักษณะเฉพาะ เบลดประมวลผลของตน มาผสานรวมฟังก์ชันการทำงานเข้ากับโซลูชั่น CDCSได้อย่างเหมาะสม ซึ่งนำเอาความเชื่อมั่นและประสิทธิภาพ ของอุปกรณ์ระดับองค์กรขนาดใหญ่มาใช้ โดยเมื่อผสานรวมเข้ากับระบบจัดเก็บข้อมูลของฮิตาชิแล้ว Hitachi Compute Blade จะสามารถนำเสนอการประมวลผลที่ผลักดันให้เกิดสภาพแวดล้อมCDCS และโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้อย่างสมบูรณ์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นำเสนออุปกรณ์ประมวลผลพร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ สองชุดที่มีความโดดเด่น ในการให้ความยืดหยุ่นในการกำหนดค่าของระบบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับลูกค้า ทั้งนี้ Hitachi Compute Blade 2000 และ Hitachi Compute Blade 320 มาพร้อมด้วยเทคโนโลยีการแบ่งพาร์ติชันแบบลอจิคัล (LPAR) เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์ X86 ระดับแนวหน้าขององค์กรใหญ่ ให้ฟังก์ชันการทำงานแบบเมนเฟรม โดยเทคโนโลยี LPAR ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นคุณสมบัติด้านระบบเสมือนจริงแบบฝังตัวที่ทันสมัย ที่สร้างระบบเสมือนจริงได้ลงบนฮาร์ดแวร์ของเบลดเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจากเป็นระบบเสมือนจริงที่ใช้ฮาร์ดแวร์ ทำให้เทคโนโลยี LPAR ให้ความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่า ด้วยการแบ่งพาร์ติชันในตัวฮาร์ดแวร์ ที่ยังคงสามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีระบบเสมือนระดับซอฟต์แวร์ได้ด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยให้ลูกค้าสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ขณะที่ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการ ความเชื่อถือได้ และคงประสิทธิภาพ ไปด้วยกัน โดย Hitachi Compute Blade 2000 ที่มี LPAR เป็นเบลดเซิร์ฟเวอร์เดียวที่รวมเอาเทคโนโลยี SMP interconnect แบบเฉพาะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นด้วยการทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าเบรดหลายชุด ให้ทำงานร่วมกันในแบบระบบเดียวได้

นี้เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถนำเสนอทางเลือกแบบเปิดสำหรับระบบไอทีเพื่อให้เกิดสิ่งดีที่สุดในสภาพแวดล้อมขององค์กร ทำให้ Hitachi Compute Blade สามารถให้เลือก LPAR ที่ทำงานอยู่ในเบลดหนึ่งเบลดใด ไม่ว่าจะใช้ Microsoft Hyper-V หรือ VMware ให้ขยายการทำงานไปยัง เบลด อื่นๆ ภายใต้ Chassis เดียวกันได้

ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากโซลูชั่น Hitachi CDCS

· ผลของการใช้งาน ที่คาดการณ์ได้ นำมาใช้ซ้ำได้ และเชื่อถือได้: ด้วยสถาปัตกรรมที่สามารถตรวจสอบวัดผลได้ล่วงหน้า โซลูชั่นที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในระดับองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อที่สามารถกำหนดค่าการใช้งานได้ก่อนแบบมีเป้าหมายและครอบคลุม ทำให้แน่ใจได้ถึงผลลัพธ์ที่คาดการณ์ได้และสอดคล้องกันเมื่อองค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของตนขึ้นมา ในระบบนี้ยังมีคำแนะนำ แม่แบบเพื่อเรียกใช้ซ้ำ และกระบวนการทำงานเป็นอัตโนมัติในตัวที่สามารถขยายขีดความสามารถด้านการทำกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกได้

· ระยะเวลาเร็วขึ้นให้เห็นถึงความคุ้มค่า: การนำไปใช้งานที่ง่ายขึ้น เร็วขึ้น จากสั่งงานจากจุดเดียวและการจัดสรรบริการ สำหรับวางแผนและการนำไปใช้จริง สำหรับโซลูชั่นแบบผสานรวมนี้ การกำหนดค่าล่วงหน้าคือกุญแจสำคัญในการช่วยลดเวลาในการนำไปใช้งานได้อย่างมาก กระบวนการทำงานอันชาญฉลาดแบบอัตโนมัติสำหรับขั้นตอนงานที่ซับซ้อน จะช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วภายใต้การรับประกันที่วางใจได้ว่าส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญจะได้รับการจัดวางและนำไปใช้อย่างเหมาะสม

· ระบบคลาวด์ในแบบของคุณเอง: ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์ของตนได้ ณ. ขณะนี้ ด้วยการรวมโซลูชั่นที่แตกต่างกันและแม้แต่ขยายโซลูชั่นเข้าสู่โครงสร้างพื้นฐานไอทีปัจจุบัน โดยโซลูชั่นที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมนี้ ใช้ได้กับงานทั่วไป งานที่มีความสำคัญทางธุรกิจ และ แอพพลิเคชั่นเฉพาะ ตลอดจนสภาพแวดล้อมไฮเปอร์ไวเซอร์ที่มีระดับ ของความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งครอบคลุม ตั้งแต่ รูปแบบที่กำหนดเฉพาะไปจนถึงรูปแบบผสมผสานที่ครอบคลุมระบบอื่นๆกว้างขึ้น

View :1721

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประกาศเป้าหมายครั้งสำคัญแห่งปี ด้านการแปรรูปศูนย์ข้อมูลยุคใหม่

October 20th, 2010 No comments

เปิดตัวแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงระดับไฮ-เอ็นท์ ที่สามารถปรับขนาดได้แบบสามมิติ ซึ่งเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูล
ที่ช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวมได้มากถึง 33% และลดค่าไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และพื้นที่กว่า 30%

บริษัท หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT)) เสริมความแข็งแกร่งในฐานะผู้นำด้านระบบการจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง หรือ สตอเรจ เวอร์ชวลไลเซชั่น ด้วยการประกาศก้าวที่สำคัญของวิสัยทัศน์ ในด้านการแปรรูป ศูนย์ข้อมูล (Data Center Transformation) โดยเปิดตัว Hitachi Virtual Storage Platform (VSP)และซอฟต์แวร์ Hitachi Command Suite รุ่นใหม่ที่รวมมาตรฐาน (Benchmark) ใหม่ในอุตสาหกรรม ของเวอร์ชวลซึ่งเป็นโซลูชั่นไอทีในระดับองค์กร

“ภายใต้เงื่อนไขของงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด การเปลี่ยนแปลงขององค์กร และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรขนาดใหญ่กำลังถูกท้าท้ายด้วยการทำให้ข้อมูลต้องพร้อมใช้งานและมีความปลอดภัย ขณะที่องค์กรด้านไอทีมักจะถูกร้องขอให้เพิ่มปริมาณงานให้มากขึ้นด้วยงบประมาณที่น้อยลง”นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวและว่า “เรากำลังแก้ไขปัญหาที่ถือเป็นแรงกดดันสูงสุดของอุตสาหกรรมด้วยแนวทางของเรา นั่นคือ แพลตฟอร์มเดียวสำหรับข้อมูลทั้งหมด และด้วยความเป็นผู้นำของเราในเทคโนโลยีเสมือนจริง ผลิตภัณฑ์ Virtual Storage Platform ใหม่ของเราจะเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวในการเปลี่ยนวิธีที่บริษัทต่างๆ จะนำไอทีไปปรับใช้และเปลี่ยนข้อมูลดิบ ให้เป็นสารสนเทศที่มีมูลค่า อีกทั้งยังเป็นโซลูชั่นที่สามารถปรับขนาดและสามารถปรับตัวรองรับกับอนาคตได้ด้วย”

“องค์กรต่างๆ กำลังประสบกับความยุ่งยากในการรับมือกับการขยายตัวของข้อมูลที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานของศูนย์ข้อมูลของตนให้มีประสิทธิภาพด้วย” นายริชาร์ด วิลลาร์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ระบบจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการด้านไอที บริษัท ไอดีซี กล่าวและว่า “การขยายวิสัยทัศน์ทางธุรกิจของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ระบบการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นไอทีที่มุ่งเน้นสารสนเทศ สามารถปรับขนาดได้ และมีประสิทธิภาพ จะทำให้ลูกค้ามีแพลตฟอร์มที่ดียิ่งขึ้นในการปรับแปลงสภาพระบบไอทีของตน”

การเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูล: การเพิ่มความจุ ไม่เพียงพออีกต่อไป
จากการวิจัยล่าสุดพบว่า ข้อมูลกำลังเติบโตในอัตรา 50% ต่อปี โดยเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น อีเมล รูป รวมถึงไฟล์เสียงและวิดีโอ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็น 10 เท่าของอัตราข้อมูลแบบมีโครงสร้าง เฉพาะธุรกิจสุขภาพเพียงอย่างเดียว พบว่ามีการสร้างข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในทุกๆ สองปี และต้นทุนด้านการดำเนินงานสำหรับใช้ในการจัดการกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งขณะนี้คิดเป็นจำนวนมากกว่า 65% ของต้นทุนรวมสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูล ส่งผลให้แผนกไอทีเริ่มตระหนักแล้วว่ากลยุทธ์ในอดีตเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนระบบจัดเก็บข้อมูลให้มากขึ้นหรือการเพิ่มความสามารถด้านการประมวลผลไม่ใช่ สิ่งสำคัญอีกต่อไป

สู่การแปรรูปศูนย์ข้อมูล
แนวคิดของการแปรรูปศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนศูนย์ข้อมูล (Data Center) ให้กลายเป็น ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) ที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นแนวคิดที่ได้รับการผลักดันในแวดวงอุตสาหกรรมด้านไอทีมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว จะเห็นได้ว่าการที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ที่ว่าระบบไอทีจะต้องเป็นระบบเสมือน ทำงานได้อัตโนมัติ พร้อมใช้สำหรับระบบคลาวด์ และยั่งยืน ได้ช่วยให้ลูกค้าสามารถแปรรูปศูนย์ข้อมูลแบบเก่าของตนให้กลายเป็นศูนย์สารสนเทศตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้อย่างมาก พร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานทรงประสิทธิภาพที่เอื้อต่อการได้รับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่เหมาะสมสูงสุด

เปิดตัวความก้าวหน้าด้านสามมิติในระบบไอที
หัวใจสำคัญของวิสัยทัศน์ของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ในด้านการแปรรูปศูนย์ข้อมูล คือแพลตฟอร์ม แบบเสมือนเพียงแพลตฟอร์มเดียวที่ใช้ได้กับข้อมูลทั้งหมด ซึ่งสามารถจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีหลากหลายผู้ค้าได้ โดย Hitachi Virtual Storage Platform รุ่นใหม่นี้ เป็นแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถปรับขนาดได้แบบสามมิติ และเป็นแพลตฟอร์มแรกของอุตสาหกรรมที่ออกแบบมาสำหรับข้อมูลทุกประเภท โดย Hitachi Virtual Storage Platform ถือเป็นโซลูชั่นเดียวที่สามารถเพิ่มขนาด (scale up) กระจายโหลดการทำงาน (scale out) ตลอดจนขยายความจุในแนวลึก(Scale deep) เพื่อปรับประสิทธิภาพ รวมถึงความจุภายใต้ระบบเสมือนจริง กับระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งจากฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ และผู้ผลิตต่างๆได้อย่างยืดหยุ่น ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถ ปรับขนาดได้อย่างอิสระตั้งแต่การกำหนดค่าในระดับเล็กและสามารถปรับได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับขนาดสามมิติและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติสำคัญของ Hitachi Virtual Storage Platform สามารถดูได้จากข่าวประชาสัมพันธ์เรื่อง “Hitachi Data Systems Unveils the World’s First 3D Scaling Storage Platform for Unprecedented Cost Savings and Agility”
Hitachi Virtual Storage Platform และซอฟต์แวร์การจัดการใหม่ที่ชื่อ Hitachi Command Suite ให้ประโยชน์แก่ลูกค้าอย่างมากในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความยืดหยุ่น การใช้พลังงาน และต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม (TCO) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลทั้งแบบที่ไม่มีการแบ่งระดับความสำคัญ(Non-Tiered)และแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ใช่แบบเสมือน(Non-Virtualized) พบว่าโซลูชั่นใหม่จากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ช่วยให้ลูกค้าสามารถลดต้นทุนด้านดิสก์ไดรฟ์ได้สูงถึง 70% ด้วยการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแบ่งระดับชั้น การดึงระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับคืน และการแบ่งระดับชั้นแบบอิสระ จะเห็นได้ว่าการปรับใช้ Hitachi Virtual Storage Platform ช่วยให้ลูกค้าสามารถลดต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวมต่อเทราไบต์ได้ถึง 33% ในปีแรกของการปรับใช้ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มใหม่ยังช่วยลดค่าไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และการใช้พื้นที่ได้มากกว่า 30% เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลระดับบนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้ด้วย
ในฐานะผู้นำด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับเครือข่ายคู่ค้าเชิงกลยุทธ์จำนวนมากเพื่อจัดเตรียมโซลูชั่นในแบบผสานรวมให้แก่ลูกค้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ในการสร้างแรงสนับสนุนจากคู่ค้าเกี่ยวกับ Hitachi Virtual Storage Platform และ Hitachi Command Suite รุ่นใหม่

แหล่งข้อมูลบนเว็บ
- ศูนย์กลางคำประกาศ: www.hds.com/go/virtualizeIT
- Hitachi VSP: www.hds.com/products/storage-systems/hitachi-virtual-storage-platform.html
- Hitachi Command Suite: www.hds.com/products/storage-software/hitachi-command-suite.html
- ติดตามความเคลื่อนไหวของเราผ่านทางทวิตเตอร์ได้ที่: http://twitter.com/HDScorp

View :1569

ฮิวเบิร์ต โยชิดะ นักคิดแห่งอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล (ดีเอสไอ)

August 24th, 2010 No comments

นายโยชิดะ เป็นรองประธานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท
ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ในการพัฒนาแนวทางการวิจัยของดีเอสไอ

ซานตาคลารา, แคลิฟอร์เนีย — 24 สิงหาคม 2553 — บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT) เปิดเผยว่า นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล หรือ ดีเอสไอ (Data Storage Institute: DSI) องค์กรด้านการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยดีเอสไอเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยของประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของชุมชนโลกในด้านการสร้างฐานความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนบ่มเพาะความสามารถด้านการวิจัยสำหรับการวิจัยและพัฒนาระดับโลกในเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ นายโยชิดะจะเป็นหัวหน้าทีมในด้านการตรวจสอบและพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของดีเอสไอ รวมถึงระบุกิจกรรมและโปรแกรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของดีเอสไอ

การได้รับตำแหน่งในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของนายโยชิดะในฐานะผู้นำทางความคิดของอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและระบบเสมือนจริง ทั้งนี้ นายโยชิดะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงอุตสาหกรรม เนื่องจากเขาได้อุทิศตนเป็นเวลากว่า 35 ปี ในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั้งในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2549 Byte and Switch ได้ยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งใน “Storage Networking’s Heaviest Hitters” (ผู้มีบทบาทอย่างมากในด้านเครือข่ายระบบจัดเก็บข้อมูล) และล่าสุดบล็อกของเขาที่ ชื่อว่า “Hu’s Blog” ได้รับการจัดอันดับให้ติดอยู่ใน “10 อันดับสูงสุดที่มีอิทธิพล” ภายในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลจาก Network World นายโยชิดะ ยังได้เขียนรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล (Storage Area Network: SAN), Fibre Channel, SAN แบบหลายโปรโตคอล และเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง นอกจากนี้เขายังเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริหารในบริษัทด้านเทคโนโลยีอีกหลายแห่งอีกด้วย

เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลที่น่ายกย่อง และด้วยองค์ความรู้ตลอด จนวิสัยทัศน์ของเขาจะนำมาซึ่งประโยชน์อันมีค่ายิ่งสำหรับสถาบันจัดเก็บข้อมูลของเรา” ดร.แพนเทลิส โซโพคลิส อเล็ก โซปูลอส กรรมการบริหารสถาบันจัดเก็บข้อมูล กล่าว และว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างมากสำหรับเราที่โยชิดะเข้า มาเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ องค์กรของเราจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากแนวทางของคณะกรรมการชุดนี้เกี่ยวกับการพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเทคโนโลยีของเรา รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับโปรแกรมด้าน การวิจัยในอนาคตด้วย”

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบันจัดเก็บข้อมูล และผมตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ร่วมงานกับทีมงานที่น่าเคารพยิ่งในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของสถาบัน แห่งนี้ในฐานะของศูนย์การวิจัยและพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูล” นายฮิวเบิร์ต โยชิดะ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บิรษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า “การทำงานขององค์กร อย่าง ดีเอสไอ คือการสนับสนุนให้เกิดการบ่มเพาะนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ขั้นสูง ดังนั้นผมจึงรู้สึกตื่นเต้น อย่างมากที่จะได้นำเสนอความรู้และมุมมองที่จะช่วยผลักดันการดำเนินงานเหล่านี้ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น”

ที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะรับผิดชอบในด้านการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีของบริษัท และเป็น ผู้นำองค์กรในด้านการช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับวงจรชีวิตของข้อมูลที่เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงด้านการดำเนินงานที่มีอยู่ โดยเขาถือเป็น ส่วนสำคัญในการผลักดันแนวทางการดำเนินงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ให้โดดเด่นในด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงด้วยการใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ภายใน Hitachi Universal Storage Platform® และขยายครอบคลุมไปถึงระบบจัดเก็บข้อมูลต่างชนิดกันแบบเชื่อมต่อภายนอก นับตั้งแต่เข้าร่วมงานกับบริษัทในปี 2540 นายโยชิดะได้ทำงานในด้านการพัฒนามาตรฐานแบบเปิดสำหรับการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลและช่วยกำหนดกลยุทธ์ด้าน SAN, NAS (network attached storage) รวมถึงเทคโนโลยีข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นายโยชิดะ ใช้เวลา 25 ปีในฝ่ายระบบจัดเก็บข้อมูลของบริษัท ไอบีเอ็ม ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งด้านบริหารเกี่ยวกับการดูแลประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการจัดการผลิตภัณฑ์ เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอรเนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ ในสาขาคณิตศาสตร์

View :1524