Archive

Posts Tagged ‘แซส’

กระแสความต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ผลักดันให้ “แซส” เติบโตมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

September 30th, 2010 No comments

ธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรม ธนาคาร โทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐ สามารถหาโอกาสทางธุรกิจ ลดความเสี่ยง และเพิ่มรายได้ได้

บริษัท ผู้นำด้านซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ มียอดจำหน่ายและการเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นสูงมาก ด้วยรายได้รวมของซอฟต์แวร์เป็น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552

“ปริมาณของการนำซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเข้ามาใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังแซงหน้าภูมิภาคอื่นๆ” นายแดน เวสเซ็ต รองประธานโครงการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ บริษัท ไอดีซี กล่าว และว่า “บริษัท ไอดีซี มองว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตลาดซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเป็นผลมาจากซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยระบุปัญหาที่สำคัญได้เป็นอย่างดีภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน”

ในภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก มีหลายอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมนั้นๆ ต้องการให้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดถูกใช้ และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังได้จำนวนงานที่มากขึ้นขณะที่รายจ่ายน้อยลง ทำให้การนำเอาซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจเข้ามาใช้กำลังขยายตัวอย่างมาก เนื่องจากได้รับการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยบริษัทเหล่านี้ให้ได้รับมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการลงทุนด้านไอทีทั้งในด้านการดำเนินงานหรือการเพิ่มผลผลิตของตน ด้วยการช่วยให้เกิดการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

“ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) เป็นได้มากกว่าซอฟต์แวร์” ดร.จิม กูดไนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แซส กล่าว และว่า “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยด้านการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ดี ให้กลายเป็นธุรกิจที่ดีเยี่ยม ทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินงานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ทำให้มีผลลัพธ์ที่ได้มีลักษณะเชิงนวัตกรรม มีกำไร และได้เปรียบด้านการแข่งขัน นี่ไม่มีเวทย์มนต์หรือการเล่นแร่แปรธาตุแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะ Business Analytics จะใช้ความสามารถทางสถิติ คณิตศาสตร์ และตัวเลขเพื่อช่วยในการดำเนินงานให้กับลูกค้าของเรา ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถให้บริการลูกค้าของตนเองได้ดียิ่งขึ้นด้วยตามลำดับ”

การวิจัยของบริษัท ไอดีซี คาดว่าการขยายตัวโดยรวมต่อปีของตลาดซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจทั่วโลกในอีกห้าปีต่อจากนี้จะอยู่ที่ระดับ 7.2% โดยเวสเซ็ต จากบริษัท ไอดีซี ระบุว่า “มีสามปัจจัยที่กำลังผลักดันให้เกิดการนำเอาซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจมาใช้เพิ่มขึ้น นั่นคือ การลงทุนขององค์กรในด้านคลังข้อมูล ความพร้อมใช้งานของโซลูชั่นการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และการปรับใช้เครื่องมือข่าวกรองธุรกิจที่แพร่หลายสำหรับใช้ในการสืบค้นและจัดทำรายงานในหลายๆ ระดับขององค์กร”

จุดเด่นในภูมิภาค เอเซีย แปซิฟิก
บริษัท แซส ได้แก้ปัญหาให้กับธุรกิจจำนวนมากด้วยผลลัพธ์ที่สามารถตรวจวัดได้ ส่งผลให้รายได้ของบริษัท แซส ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ของบริษัท แซส ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก มีความน่าสนใจ ดังนี้
ในญี่ปุ่น บริษัท แซส มีรายได้เพิ่มขึ้น 16% โดยบริษัทต่างๆ อย่าง บริษัท เคดีดีไอ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับสองของญี่ปุ่น ได้เห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจอย่างมาก จะเห็นได้ว่าบริษัท เคดีดีไอ ได้เลือกใช้ SAS Customer Experience Analytics และ SAS Customer Link Analytics เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าของตนได้ดียิ่งขึ้น
บริษัท แซส ในออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% โดยบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรมแห่งเกาหลี (Industrial Bank of Korea) เลือกใช้แซสเพื่อสร้างโมเดลการทำนายที่ดียิ่งขึ้น
ขณะที่ในอินเดีย บริษัท แซส มองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ด้วยรายได้รวมของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้น 75% ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ อันเป็นผลมาจาก รัฐบาลอินเดียได้เดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการใช้จ่ายอย่างมากในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ
และสุดท้าย ในจีน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของโลก ก็ยังคงมีผลประกอบการเชิงบวก โดยรายได้รวมซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส ในจีน เพิ่มขึ้น 35% ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ อันเป็นผลมาจากการที่บริษัทต่างๆ อย่าง ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งกวางตุ้ง (Guangdong Development Bank) และบริษัท เซียงไฮ้ เจเนอรัล มอเตอร์ส (Shanghai General Motors) ได้พิจารณาเห็นถึงความสามารถของ SAS Business Analytics ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้มีมูลค่าและสามารถปรับใช้ประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที
การใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส ทำให้กระทรวงพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของฮ่องกง (Environmental Protection Department: EPD) สามารถดำเนินการจัดการลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมาก
“เราใช้ซอฟต์แวร์ของแซสในการสร้างโมเดลทำนายคุณภาพทางอากาศและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบรรเทามลพิษทางอากาศที่ดีกว่า เพื่อให้ประชาชนในฮ่องกงสามารถหายใจรับอากาศที่สะอาด และ บริสุทธ์ได้” ดร.คริสโตเฟอร์ ฟัง เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอีพีดี กล่าว

หลักการทำงานสู่ความสำเร็จ
SAS Business Analytics สามารถช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์แก่องค์กรต่างๆ ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบที่มีจำนวนมหาศาลให้กลายเป็นการตัดสินใจที่ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับมือกับการฉ้อฉล ให้บริการลูกค้า ปรับปรุงการทำงาน และอื่นๆ อีกมากมาย มูลค่าจากซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ธุรกิจมักจะได้รับกลับคืนมาภายในเวลาอันรวดเร็วที่ระดับสัปดาห์และเดือน ผลตอบแทนการลงทุนที่รวดเร็วนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้ความต้องการในซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ธุรกิจเกิดการขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก โซลูชั่นธุรกิจทั่วไปของแซสสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการใช้ลูกค้าสัมพันธ์ การปรับใช้เครือข่ายไอทีที่มีประสิทธิภาพสูง และห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) การวัดและจัดการความเสี่ยง ตลอดจนการจัดวางกลยุทธ์ การเงิน และกำลังคน
ขณะที่โซลูชั่นธุรกิจเฉพาะของแซส สามารถจัดการกับงานสำคัญต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันการฟอกเงิน และการจัดการความยั่งยืน ไปจนถึงการวิเคราะห์สื่อสังคม การปรับราคาให้เหมาะสม และการทำนายความต้องการ
ทั้งนี้ SAS Business Analytics ประกอบด้วยการบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ และการสร้างระบบข่าวกรองธุรกิจ/การจัดทำรายงาน จะเห็นได้ว่าความสามารถในด้านการวิคราะห์ของแซสนั้นมีความโดดเด่นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น จากการวิจัยในตลาดธุรกิจการวิเคราะห์ขั้นสูงโดยบริษัท ไอดีซี พบว่าบริษัท แซส มีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลก 34.7% มากกว่าคู่แข่งถึงสองเท่า[i]
ตัวอย่างเช่น บริษัท เทลสตรา ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สดในออสเตรเลีย ได้เลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัท แซส เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของลูกค้าให้ได้มากที่สุด จะเห็นได้ว่าการใช้ข้อมูลที่มีอยู่ร่วมกับซอฟต์แวร์ของแซส ทำให้บริษัท เทลสตรา สามารถดำเนินงานเชิงรุกได้ดียิ่งขึ้น ทั้งที่จริงๆ แล้วบริษัทอาจต้องสูญเสียรายได้จำนวนมากหลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศให้มีบริการ คงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile number portability) บริษัท เทลสตรา ได้วิเคราะห์ข้อมูลของตนและสร้างเป็นแคมเปญเพื่อรักษาฐานลูกค้าเป้าหมายให้คงอยู่ ซึ่งถือบทพิสูจน์ที่สำคัญถึงมูลค่าที่มีอยู่ใน SAS Business Analytics

[i] ที่มา: ไอดีซี, Worldwide Business Intelligence Tools 2009 Vendor Shares, เอกสารเลขที่ 223725, มิถุนายน 2553

View :1430
Categories: Press/Release Tags: ,