Archive

Posts Tagged ‘แท็ปเลต’

สถาบันดูแลสายตา ดิ ออฟโต เผย สมาร์ท โฟน แท็ปเลต คอมพิวเตอร์ ทำเด็กไทยมีปัญหาสายตาเพิ่ม 30 %

August 30th, 2012 No comments

สถาบันดูแลสายตา ดิ ออฟโต เผย ทำเด็กไทยมีปัญหาสายตาเพิ่ม 30 % แนะผู้ปกครองควรแนะนำและจำกัดเวลาการใช้งาน พร้อมเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ OK Lens คอนแทคเลนส์แก้ไขค่าสายตาขณะหลับ เมื่อถอดออกสามารถใช้สายตาปกติได้ โดยไม่ต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ครั้งแรกของเมืองไทย

สถาบันดูแลสายตา ดิ ออฟโต เตือนผู้ปกครองควรดูแลการใช้งาน สมาร์ท โฟน แท็ปเลต คอมพิวเตอร์ ของเด็กและเยาวชนหลังพบเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม (Computer Vision Syndrome) ทำให้มีปัญหาด้านสายตาเพิ่ม 30% โดยเฉพาะในกลุ่ม 10-15 ปี จากใช้งานไม่ถูกวิธีและใช้งานนานเกินไป ล่าสุดสถาบันดูแลสายตา ดิ ออฟโต เปิดเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ด้วย โอเค เลนส์ (OK Lens) คอนแทคเลนส์แก้ไขค่าสายตาขณะหลับครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งเมื่อถอดออกตอนตื่นนอนจะทำให้ผู้มีปัญหาด้านสายตาสามารถใช้ชีวิตปกติได้โดยไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์

ดร. ชุลีพร ชมพัฒน์ นักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาจาก สถาบันสุขภาพด้านสายตา ดิ ออฟโต เปิดเผยถึงปัญหาเด็กและเยาวชนมีปัญหาด้านสายตาเพิ่มขึ้นว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปมีการใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องใช้สายตามากขึ้น ทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ท โฟน แท็ปเลต และคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้หากมีการใช้งานนานหรือมากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ นอกจากนั้นผู้ที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้นานๆ มักเกิดการลืมกระพริบตาโดยไม่รู้ตัว จากปกติคนเรากระพริบตา 12-15 ครั้งต่อนาที จะลดลงเหลือ 7-8 ครั้งต่อนาที ซึ่งการที่กระพริบตาน้อยลงอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งจนเยื่อตาฉีกขาด เนื่องจากสารหล่อลื่นที่ช่วยปกป้องพื้นผิวของตาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัจจุบันพบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรค คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม ทำให้เกิดปัญหาด้านสายตาเพิ่มขึ้นถึง 30 % โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-15 ปี ซึ่งทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ท โฟน แท็ปเลต และคอมพิวเตอร์ แม้จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนที่นับวันจะมีความสำคัญและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น แต่ผู้ปกครองและครูก็ควรมีการจำกัดระยะเวลาการใช้และให้ความรู้ในการใช้งานอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพสายตาของเด็กและเยาวชน

สำหรับความก้าวหน้าในการรักษาผู้มีปัญหาด้านสายตาปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก โดยล่าสุดสถาบันสุขภาพด้านสายตา ดิ ออฟโต ได้นำเทคโนโลยีใหม่ของโลกเข้ามาให้การรักษาแก่ผู้มีปัญหาด้านสายตา เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า โอเค เลนส์ (OK Leans) เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษที่สามารถปรับโค้งตาในขณะที่ผู้มีปัญหาด้านสายตานอนหลับ และ ถอดออกหลังตื่นนอนจะทำให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนไม่ต้องใช้คอนแทคเลนส์ หรือ แว่นตาหลังจากตื่นนอนอีก โดยผู้ที่ต้องการแก้ไขค่าสายตาด้วยวิธีนี้จะต้องได้รับการตรวจจากนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญของสถาบันฯ ก่อน จากนั้นจะต้องทำการตรวจวิเคราะห์ค่าสายตาอย่างละเอียด เพื่อที่นักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญจะได้เลือก โอเค เลนส์ ที่มีความเหมาะสมให้แก่ผู้เข้ารับการรักษานำกลับไปใช้งาน

ซึ่งการแก้ไขค่าสายตาด้วย โอเค เลนส์ นั้น ถือว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงและสะดวก เนื่องจากระบบเส้นประสาทรับความรู้สึกจะไม่ถูกทำลายด้วยเลเซอร์และไม่ทำให้กระจกตาบางลงเหมือนการรักษาบางชนิด ทั้งยังไม่มีข้อจำกัดด้านอายุของผู้ที่ต้องการแก้ไขค่าสายตา รวมถึงค่าใช้จ่ายของการรักษาด้วย โอเค เลนส์ ยังมีราคาถูกว่าการทำเลสิกถึง 3 เท่า ดังนั้นเทคโนโลยีการแก้ไขค่าสายตา ด้วย โอเค เลนส์ จึงเป็นวิธีการใหม่ในการแก้ไขค่าสายตาที่ปลอดภัยพและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาว่า เป็นวิธีการรักษาปัญหาด้านสายตาโดยไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ทำให้เกิดอาการตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์ สามารถช่วยหยุดหรือชะลอสายตาสั้นเพิ่มขึ้นได้ สำหรับกลุ่มที่เหมาะสมกับการใช้วิธีรักษาด้วย โอเค เลนส์ นั้นจะเป็นกลุ่ม

- กลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ที่มีปัญหาด้านสายตาและไม่สะดวกในการใส่แว่นตา หรือ คอนแทคเลนส์

- กลุ่มผู้อยู่ในอาชีพที่ไม่เหมาะกับการใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ อาทิ นักบิน ทหาร ตำรวจ แอร์โอสเตส นักผจญเพลิง ฯลฯ

- กลุ่มผู้มีกิจกรรมที่ไม่สะดวกในการใส่แวนตาหรือคอนแทคเลนส์ อาทิ นักกีฬาชนิดต่างๆ เช่น ฟุตบอล รับบี้ บาสเกตบอล ยิงปืน ว่ายน้ำ มวย ฯลฯ

- ผู้ที่มีสายตา สั้น ยาว หรือ เอียง ที่ไม่ต้องการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในเวลากลางวัน

- กลุ่มผู้ที่เลิกใส่คอนแทคเลนส์จากปัญหาตาแห้งหรือไม่สบายตา และ กลุ่มผู้ที่มีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี

- กลุ่มผู้ต้องการทำเลสิก แต่จักษุแพทน์แนะนำว่ายังไม่ควรทำ เช่น ผู้ที่มีค่าสายตายังไม่คงที่ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้ที่มีค่าสายตาน้อย หรือ ในกรณีอื่นๆ

View :1566