Archive

Posts Tagged ‘ไอบีเอ็ม’

ไอบีเอ็มแนะสถาบันการเงินสร้างรายได้จากฐานลูกค้า ด้วยการพลิกโฉมธุรกิจสู่รูปแบบดิจิตอล

June 17th, 2013 No comments

การแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจให้บริการด้านการเงินส่งผลให้สถาบันการเงินต่างจำเป็นจะต้องเฟ้นหานวัตกรรมเพื่อมาปรับใช้กับรูปแบบธุรกิจและขยายช่องทางรายได้ใหม่ๆ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง ไอบีเอ็มชี้การพลิกโฉมและปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ระบบดิจิตอลโดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

นับจากที่เริ่มมีโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น โลกของเราได้ก้าวสู่ยุคของโมบายล์คอมพิวติ้งอย่างเต็มตัว ในขณะที่คลื่นลูกที่สองของการปฏิวัติเทคโนโลยีโมบายล์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับใช้ระบบโมบายล์ในแวดวงธุรกิจกำลังจะมาถึง หลายๆ บริษัทหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายล์เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ ส่งเสริมความผูกพันที่มีต่อแบรนด์ ปรับปรุงผลประกอบการธุรกิจ และก้าว “แซงหน้า” คู่แข่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว

ควาโฟ โอโฟรี-โบอาเต็ง หัวหน้าฝ่ายโกลบอลโซลูชั่น – ตลาดบริการลูกค้าและข้อมูลเชิงลึก การธนาคารและการเงิน กล่าวว่า “เราได้กำหนดแนวทางหลัก 4 ข้อสำหรับการจัดการการปฏิรูปด้านดิจิตอล (Digital Trans-formation) และการ “สร้างรายได้” (Monetize) จากฐานลูกค้าที่มีอยู่ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางที่ว่านี้ได้แก่ 1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก 2. การพัฒนาจาก “โซเชียลมีเดีย” ไปสู่ “โซเชียลบิสซิเนส” 3. การเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบที่ไม่มีโครงสร้าง และ 4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต”

ไอบีเอ็มระบุธุรกิจการเงินและประกันภัยจะได้รับประโยชน์จากแนวทางแต่ละข้อ ดังนี้

1. การผนวกรวมช่องทางจัดจำหน่ายที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลธุรกรรม ด้วยอัตราส่วนธุรกรรมออนไลน์พื้นฐานที่เพิ่มขึ้นและ ประสบการณ์จากการใช้บริการผ่านหลายช่องทางที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ลูกค้าสถาบันการเงินจะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากบริการออนไลน์ของธนาคาร ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อธนาคารมากขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนไปใช้บริการของสถาบันการเงินอื่น และปรับปรุงภาพลักษณ์ในสายตาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

2. การพัฒนาจาก “โซเชียลมีเดีย” ไปสู่ “โซเชียลบิสซิเนส” ช่วยสถาบันการเงินเพิ่มรายได้ด้วยการจัดหานวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้า เสริมสร้างความภักดีของลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ให้การสนับสนุนและช่วยโปรโมตผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงฟื้นฟูความเชื่อมั่นและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

3. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) ช่วยเพิ่มรายได้จากลูกค้า (คาดว่าสูงสุด 40% ในตลาดใหม่ๆ) เพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการเสริมที่เกี่ยวข้อง 10-15%และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่

4. การขยายขีดความสามารถเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต ทำให้สถาบันการเงินสามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการนำบริการมาปรับใช้ใหม่และตอบสนองความท้าทายของตลาดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างฉับไวต เพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายบริการเสริมที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอแคมเปญ รวมทั้งตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ไอบีเอ็มเชื่อว่าธุรกิจบริการด้านการเงินจะเติบโตรุดหน้าได้ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศให้สามารถพัฒนาและดำเนินการโดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ก่อนหน้าคู่แข่ง ทั้งนี้ ไอดีซีระบุว่าไอบีเอ็มครองตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ในด้านการจัดหาบริการและโซลูชั่นเทคโนโลยีด้านการเงินแก่ธนาคารชั้นนำระดับโลกที่ติดอันดับ Top 25 โดยไอบีเอ็มนำเสนอโซลูชั่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดในอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ บริการ พร้อมความเชี่ยวชาญเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ส่งผลให้ไอบีเอ็มมีความพร้อมมากกว่าในการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกที่จะผลักดันการปฏิรูปธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับการประสานงานร่วมกัน

View :1112

ไอบีเอ็มชูคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมความรู้ความเชี่ยวชาญ ช่วยยกระดับงานวิจัยไทย

March 6th, 2013 No comments

กรุงเทพ 4 มีนาคม 2556 ไอบีเอ็มประกาศสนับสนุนงานวิจัยไทย ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ ไฮเพอฟอร์มานซ์ คอมพิวติ้ง (High Performance Computing : HPC) พร้อมด้วยองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ทางด้านเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สนับสนุนงานวิจัย ให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และนักวิจัย เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนงานวิจัยไทยทั้งระบบให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการสร้างคน สร้างเมือง สร้างประเทศ เพื่อเป็นรากฐานและพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยมีศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) และคณะวิทยาศาสตร์เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความไว้วางใจใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของไอบีเอ็ม เสริมศักยภาพงานวิจัยในโครงการ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า
“ไอบีเอ็มเป็นองค์กรระดับโลกที่ได้สร้างคุณค่านวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ที่ช่วยพัฒนาการทำงานให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆทั่วโลกมาอย่างยาวนาน กับภารกิจสำคัญซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึง เพื่อให้ระบบที่หลากหลายทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์โลกที่ฉลาดมากขึ้นภายใต้แนวคิด Smarter Planet

สิ่งที่ไอบีเอ็มนำมาสนับสนุนงานวิจัยของไทยคือ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงหรือ High Performance Computing (HPC) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิผลในงานวิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนโดย HPC เป็นคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานวิจัย การคำนวณ การสร้างโมเดลในการทำงาน จากคำสั่งจำนวนมากๆ เพื่อหาผลลัพธ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะกับ การใช้งานวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการศึกษา และกำลังขยายไปทุกกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ไอบีเอ็มยังได้นำเอาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ทางด้านเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมทั้งเงินทุน โดยมีโครงการที่ไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของไทย เช่น IBM Shared University Research (SUR) Awards, IBM Faculty Awards, Smarter Planet Innovation Awards, HPC Workshop ที่ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ซึ่งเป็นคอร์สที่เป็นมาตรฐานพร้อมใช้ นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังได้ส่งผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทางด้าน Deep Computing เข้ามา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากทั่วโลก โดยการจัดสร้างเครือข่ายในกลุ่มนักวิจัยของไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเทรนเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์นักวิจัยไทย ให้ได้รับความรู้ในวงกว้างมากขึ้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ไอบีเอ็มคาดว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล กับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัย โดยจะเป็นการเปิดโอกาส ให้คณาจารย์หรือนักวิจัยสามารถนำเทคโนโลยีหรือเงินทุนสนับสนุนจากไอบีเอ็มไปดำเนินการค้นคว้า วิจัยหรือพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน สร้างบุคลากร นิสิตนักศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีพวกนี้เป็น และนำมาเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยให้เกิดผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพงานวิจัยของประเทศต่อไป”

ทางด้าน ดร.พิจิตต รัตตกุล ที่ปรึกษา ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย(ADPC) กล่าวว่า “ ADPC ทำหน้าที่ให้ความรู้ อบรม ให้คำแนะนำ รวบรวมข้อมูลเรื่องการจัดการอุบัติภัย ทำหน้าที่เตือนภัยใน 23 ประเทศ สิ่งสำคัญในการทำหน้าที่นี้คือ ADPC ต้องมีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จะทำโมเดลของการพยากรณ์ที่มีความแม่นยำสูงมาก เพื่อให้การเตรียมโมเดลนี้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ในแต่ละประเทศ ADPC ได้ติดตั้ง IBM Power 775 เพื่อใช้ในงานวิจัย การพยากรณ์อากาศ และ ภัยพิบัติ เพื่อจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติและลดความรุนแรงจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้กับประเทศสมาชิก ก่อนหน้านี้ ADPC ได้ไว้วางใจ และทำงานกับไอบีเอ็มอย่างใกล้ชิด มาก่อนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไอบีเอ็มเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ที่ใช้อยู่ในหลายประเทศ ผมมั่นใจว่าความสามารถในการคาดการณ์ โดยการประมวลผลของ IBM Power 755 ที่รวดเร็ว และแม่นยำสูงจะช่วยลดผลกระทบความสูญเสียและเศรษฐกิจสังคมของประเทศได้เป็นอย่างดี”

ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ รักษาการ ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “สวทช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) จัดตั้ง ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science หรือ National e-Science Infrastructure Consortium ภาคีนี้มีจุดประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และ ฐานข้อมูลทางการวิจัย เพื่อรองรับการวิจัย ในส่วนของ สวทช. ได้จัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงจากไอบีเอ็ม ประกอบด้วยเครื่องแม่ข่าย iDataPlex dx360 และระบบจัดเก็บข้อมูล DS3000 ที่มาของความร่วมมือนี้สืบเนื่องจาก การมีความร่วมมือระหว่างนักฟิสิกส์ไทย กับ องค์การเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ CERN (เซิร์น) ในการวิจัยในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ซึ่ง เซิร์นเปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยได้ใช้ข้อมูลจากเครื่องเร่งอนุภาคที่เซิร์นสร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณมหาศาล ส่วนทางไทยต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ที่มีความจุข้อมูลและความเร็วในการประมวลผลเพียงพอในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งห้าหน่วยงานจึงได้ตกลงร่วมกันพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบจัดเก็บข้อมูลขึ้น ระบบที่พัฒนาขึ้้นนี้ นอกจากจะใช้ในการวิจัยในสาขาฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงแล้ว ยังจะมีการใช้งานในด้านอื่นๆ คือ ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงาน และ สิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาการและวิศวกรรมเชิงคำนวณ และ ด้านวิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การที่หลายหน่วยงานร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดการใช้งานที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นกว่าต่างคนต่างทำ และ สามารถช่วยเหลือแบ่งหน้าที่กันทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การมีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะที่เพียงพอ ทำให้นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงได้ดีกว่าที่ผ่านมา เช่น การพัฒนาแบบจำลองภูมิอากาศที่่มีความละเอียด แม่นยำมากขึ้น สามารถนำผลไปใช้ในการออกนโยบายและวางแผนการทำการเกษตรกรรม และการจัดสรรน้ำที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ในอนาคตภาคีฯ จะเปิดรับหน่วยงานอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น”

รศ.ดร.วุฒิชัย พาราสุข หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำ HPC และ solution Idataplex ทำงานวิจัยด้าน Computational chemistry ซึ่งเป็นงานที่เรียกได้ว่าพัฒนามาพร้อมๆ กับ HPC ในการทำงานต้องสร้างแบบจำลองขึ้นมาก่อนบนคอมพิวเตอร์ แล้วจากนั้นก็ใช้หลักทฤษฎีสร้างสมการคณิตศาสตร์และหาคำตอบโดยการแก้สมการ ที่ซับซ้อนและมีจำนวนมหาศาล ระบบที่ได้ดำเนินการศึกษา ก็จะมี ตั้งแต่ เชื้อไวรัส HIV หรือเชื้อไวรัสที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ปัจจุบันนี้กำลังศึกษาระบบที่เกี่ยวกับเซลล์มะเร็ง ดังนั้นระบบ HPC ที่ใช้ต้องมีความสามารถสามประการ คือต้องมีความสามารถในการคำนวณสูง โดยเน้นที่ floating point operation มีขนาด hard disk ใหญ่มาก และมีขนาด memory ใหญ่มากด้วย การมีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้สามารถทำงานทางด้านนี้ได้รวดเร็วขึ้น เพราะเวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยตรง”

“ด้วยความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มในการวิจัยและพัฒนา HPC มาอย่างยาวนาน จนเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลก จึงทำให้ไอบีเอ็มมีความพร้อมและตั้งใจจริง ที่จะนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง และความรู้ความเชี่ยวชาญ มาช่วยสนับสนุนงานวิจัยของไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศให้สูงขึ้น นำไปสู่การสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่า สามารถประยุกต์และพัฒนาวิทยาการที่เหมาะสมและแพร่หลาย รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์สาธารณะ ตลอดจนเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้ทรัพยากรและเครือข่ายวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ นางพรรณสิรี กล่าวสรุป

View :1483

ไอบีเอ็มและทีซีซีเทคโนโลยี ประกาศความร่วมมือโครงการเมกะดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกของประเทศไทย

May 29th, 2012 No comments

ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCT) ผู้นำการให้บริการดาต้าเซนเตอร์ที่เป็นอิสระระดับแนวหน้าของประเทศไทย ได้มอบหมายให้ไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนา ออกแบบกลยุทธ์ รวมถึงรูปแบบของดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่หรือ “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” โดยไอบีเอ็มจะให้คำปรึกษาเพื่อการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน และคุณภาพการบริการด้วยขนาดและทำเลที่เหมาะสมสูงสุดสำหรับลูกค้าในแต่ละประเภทธุรกิจ ด้วยประสบการณ์และคุณภาพการบริการมาตรฐานระดับสากล ประกอบกับความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์วิจัย ไอบีเอ็มจะช่วยให้ทีซีซี เทคโนโลยี สามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจน บนพื้นฐานของราคาและประโยชน์ที่สมเหตุสมผลสำหรับการลงทุนครั้งนี้

นายโฆษิต สุขสิงห์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “เราไว้วางใจไอบีเอ็มให้ทำการศึกษาวิจัยในการสำรวจและคัดเลือกทำเลที่ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ให้กับทีซีซีที ผนวกกับการวิเคราะห์ถึงขนาดที่เหมาะสม และกลยุทธ์การสร้างศักยภาพสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ เนื่องจากในปัจจุบัน มีความต้องการบริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นมากจากหลากหลายประเภทธุรกิจ ทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค โดยมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทั่วโลก การไว้วางใจให้ผู้เชี่ยวชาญด้านดาต้าเซ็นเตอร์ดูแลข้อมูลสำคัญต่างๆให้จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถลดต้นทุนโดยพิจารณาบริการของเราแทนการลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ ศูนย์สำรองข้อมูล และการจ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ในการดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยตนเอง ในฐานะผู้นำการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นอิสระชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เราพร้อมตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นและขยายศักยภาพด้วยการวางแผนสร้าง “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” โดยจะสร้างเป็น ดาต้าเซ็นเตอร์คอมมิวนิตี้ อันจะประกอบด้วยธุรกิจต่างๆจากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถรองรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยทีซีซีทีจะเป็นศูนย์กลางการเก็บข้อมูล และเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูลด้วยระบบไอทีอย่างชาญฉลาด เราต้องการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำซึ่งโดดเด่นด้วยขนาด ทำเลและบริการที่ดีที่สุด จึงเป็นเหตุผลที่เราเลือกไอบีเอ็มซึ่งมีความเชี่ยวชาญระดับโลกและมีบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบให้คำแนะนำจนไปถึงการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ มาทำการศึกษาวิจัยให้กับเราและสามารถตอบสนองความต้องการจุดนี้ได้อย่างครบถ้วน”

นายยศ กิมสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทยจำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทีซีซีทีได้เลือกไอบีเอ็มเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ที่จะช่วยตอบโจทย์ทางธุรกิจและเสริมความเป็นผู้นำของทีซีซีทีในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยบริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ครบครันและความเชี่ยวชาญระดับโลกของไอบีเอ็ม เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยเสริมศักยภาพให้ทีซีซีทีสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างเหนือระดับ”

“เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” ของทีซีซีทีจะใช้กลยุทธ์ “3S” โดยมุ่งหมายที่จะเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย โดยมีคุณสมบัติที่มีความยืดหยุ่นได้ตามความต้องการ และความสามารถในการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นสูง รวมถึงสามารถสองตอบความต้องการของลูกค้าที่ต้องการใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มจากเดิมอีกด้วย

โดยกลยุทธ์ “3S” คือ
• Size (ขนาด) จากความต้องการของทีซีซีที ไอบีเอ็มจะศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ขนาดในการสร้าง “เมกะดาต้าเซ็นเตอร์” ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและสามารถรองรับรูปแบบการบริการที่จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าอีกด้วย
• Site (ทำเลที่ตั้ง) การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์แห่งใหม่จะเป็นการผนวกรวมความเชี่ยวชาญของไอบีเอ็มในฐานะผู้มีประสบการณ์การให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับสากลที่ได้ศึกษาวิจัยและวางแผนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แบบยกพื้น (Raised-Floor) กว่า 30 ล้านตารางฟุตให้กับองค์กรมาแล้วทั่วโลก กับความชำนาญในการเลือกสรรทำเลที่ตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยของทีซีซีทีซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเซียได้อย่างลงตัว ทั้งนี้ทีมงานผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มจะทำการศึกษาวิจัย รวบรวมข้อมูลแนวโน้มตลาด ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงจะทำการสำรวจทำเลที่ตั้ง โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้โมเดลช่วยการตัดสินใจและเครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ทำเลที่เหมาะสมที่สุดในการสร้าง“เมกะดาต้าเซ็นเตอร์”
• Services (บริการ) จากคำปรึกษาของไอบีเอ็ม ทีซีซีทีจะสามารถตัดสินใจเรื่องรูปแบบดาต้าเซ็นเตอร์และการบริการโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ในอนาคต โดยขนาดและทำเลที่ตั้งจะต้องเหมาะสมกับบริการที่จะให้กับลูกค้า

บริการให้คำปรึกษาด้านการวางแผนและกลยุทธ์ดาต้าเซ็นเตอร์ของไอบีเอ็มจะช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่และดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะสร้างใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ เช่น การขยายตัวของธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และความสามารถในการให้บริการ โดยไอบีเอ็มสามารถช่วยลูกค้าตั้งแต่การวางแผนที่รัดกุมเพื่อลดความเสี่ยง ลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน รวมถึงลดความซับซ้อนในการสร้างหรืออัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์ ไอบีเอ็มยังสามารถช่วยเลือกสรรเทคโนโลยี ทำเลที่ตั้งของศูนย์ และรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมทางไอทีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงช่วยออกแบบ ติดตั้งและสร้างสมาร์ทเตอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการทดสอบและติดตั้งให้แก่ลูกค้า
ข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจุบันทีซีซีทีมีดาต้าเซ็นเตอร์อยู่สามแห่ง 3 แห่ง คือ
• ระดับองค์กร: ดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ (Enterprise Data Centers) ได้แก่ เอ็มไพร์ทาวเวอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ (ETDC) สาทร และ บางนาดาต้าเซ็นเตอร์ (BNDC) ตั้งอยู่บนอาคาร TCIF ห่างจากสนามบินนานาชาติเพียง 10 กิโลเมตร
• ระดับอุตสาหกรรม: ดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม (Industrial Data Center) ได้แก่ Amata Industrial Estate (AMDC)
• ระดับภูมิภาค: ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับภูมิภาค (International Data Center) ได้แก่ (KMDC) ที่จะสร้างขึ้นที่ประเทศกัมพูชา
ท่านสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tcc-technology.com

View :1579

ไอบีเอ็มเผยรายงานเอ็กซ์-ฟอร์ซ ปี 54 พบการต่อต้านภัยคุกคาม ออนไลน์ มุ่งเป้าไปที่เครือข่ายสังคมออนไลน์และโทรศัพท์มือถือ

April 5th, 2012 No comments

ไอบีเอ็มเผยรายงานแนวโน้มและความเสี่ยง จากเอ็กซ์-ฟอร์ซ ประจำปี 2554 พบว่าการรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาที่ดีขึ้นในหลายด้าน เช่น การลดลงของช่องโหว่ในการรักษาความปลอดภัยบนแอพลิเคชั่น การใช้คำสั่งโจมตีช่องโหว่ และสแปม จากผลดังกล่าวพบว่าบรรดาอาชญากรไซเบอร์กำลังถูกบังคับให้ต้องคิดถึงกลยุทธ์ใหม่ๆในการโจมตี จึงต้องเบนเข็มตั้งเป้าหมายไปที่ช่องโหว่ที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น และมุ่งไปที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์และอุปกรณ์มือถือมากขึ้น

รายงานแนวโน้มและความเสี่ยง เอ็กซ์-ฟอร์ซ ของไอบีเอ็ม เป็นรายงานประเมินภาพรวมประจำปีต่อเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความปลอดภัยต่อภัยคุกคามทางออนไลน์ ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานระบบต่างๆ เข้าใจในความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของระบบดียิ่งขึ้น และสามารถอยู่เหนือการคุกคามความปลอดภัยเหล่านี้ได้ รายงานเป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลอัจฉริยะมากมาย ประกอบไปด้วย ฐานข้อมูลด้านช่องโหว่ระบบรักษาความปลอดภัยกว่า 50,000 รายการ การเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรมขนาดเล็กไปตามเว็บต่างๆ และรวบรวมรายการสแปมจากทั่วโลก และจากการคอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ต่างๆ กว่า 13 พันล้านรายการในแต่ละวันจากลูกค้าเกือบ 4,000 รายในกว่า 130 ประเทศแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีเหตุการณ์กว่า 13 พันล้านรายการที่เฝ้าระวังดังกล่าวนี้ – มีมากกว่า 150,000 รายการต่อวินาที – เป็นผลมาจากการทำงานในศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยระดับโลกทั้ง 9 แห่งของไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นศูนย์ที่ให้บริการจัดการการรักษาความปลอดภัยระบบให้กับลูกค้า

รายงานแนวโน้มและความเสี่ยง เอ็กซ์-ฟอร์ซ ประจำปี 2554 เปิดเผยว่า อีเมล์สแปมลดลง 50% เมื่อเทียบกับปี 2553 โดยพบว่าซอฟต์แวร์ค่ายต่างๆ สามารถเข้าไปตรวจจับได้มากขึ้น โดยยังคงเหลือช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ต่างๆ เพียง 36% ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในปี 2554 เปรียบเทียบกับปี 2553 ที่มีช่องโหว่บนซอฟต์แวร์เหลืออยู่ถึง 43% และจากการพัฒนาซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นที่มีคุณภาพมากขึ้น ทำให้การโจมตีเว็บแอพลิเคชั่นที่เรียกว่า cross site scripting ลดลงเหลือจำนวนครึ่งหนึ่งของที่เคยพบในซอฟต์แวร์ของลูกค้าเมื่อ 4 ปีก่อน

ไอบีเอ็มเอ็กซ์-ฟอร์ซ รายงานว่า อาชญากรไซเบอร์พัฒนาเทคนิคในปี 2554 มีการคุกคามเพิ่มขึ้นใน 3 ด้านหลักคือ

1. การโจมตีช่องโหว่ของระบบผ่านทางเชลล์ คอมมานด์มากขึ้นกว่าสองเท่า –ปัจจุบันแฮกเกอร์บางรายได้เริ่มตั้งเป้าการโจมตีใหม่มาที่เชลล์ คอมมานด์แทน การโจมตีผ่านช่องโหว่นี้จะทำใหม่แฮกเกอร์สามารถเข้าใช้คำสั่งได้โดยตรงบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีช่องโหว่ผ่านทางเชลล์ คอมมานด์นี้เกิดขึ้น 2 ถึง 3 เท่าในช่วงปี 2011 ที่ผ่านมา ผู้พัฒนาเว็บแอพลิเคชั่นจึงควรให้ความใส่ใจในทิศทางการโจมตีที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นนี้อย่างใกล้ชิด

2. การเดารหัสผ่านแบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว – นโยบายในการตั้งรหัสผ่านและรหัสผ่านที่ไม่แข็งแรงพอเป็นตัวการหลักของตัวเลขการจู่โจมที่สูงลิ่วนี้ในระหว่างปี 2011 ยังคงมีการโจมตีแบบอัตโนมัติบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้การสแกนหาระบบที่ใช้พาสเวิร์ดที่อ่อนแอในการล็อกอินเข้าระบบ

3. การโจมตีแบบฟิชชิ่งโดยการหลอกลวงว่าเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์และบริการพัสดุไปรษณีย์ –อีเมล์หลอกลวงเหล่านี้เลียนแบบว่าเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์และบริการพัสดุไปรษณีย์ชื่อดัง ล่อลวงให้เหยื่อคลิกลิงค์ไปสู่หน้าเว็บที่พยายามจะส่งโปรแกรมประเภทมัลแวร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ บางครั้งการกระทำดังกล่าวยังอาจเป็นการโกงคลิกโฆษณา ซึ่งผู้ส่งสแปมจะใช้อีเมล์ที่ไม่มีหัวเรื่องในการเพิ่มทราฟฟิกให้กับเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าต่างๆ

เทคโนโลยีใหม่ๆเช่น อุปกรณ์มือถือ และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ยังคงสร้างความท้าทายต่อระบบรักษาความปลอดภัยในองค์กร ทำให้เกิดวิธีการโจมตีแบบใหม่

รายงานการโจมตีอุปกรณ์มือถือเพิ่มขึ้น 19% ในปี 2554 มีอุปกรณ์มือถือจำนวนมากในมือของผู้บริโภคที่ไม่ได้รับการติดตั้งการปิดช่องโหว่ของระบบจากการถูกโจมตี ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้กับอาชญากรไซเบอร์ทั้งหลาย ตลอดจนการนำอุปกรณ์มือถือเหล่านี้มาใช้ภายในองค์กร ซึ่งผู้บริหารด้านไอทีควรเตรียมตัวรับมือให้ดีกับความเสี่ยงที่กำลังเพิ่มขึ้นนี้

การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มจำนวนขึ้น อาชญากรไซเบอร์มีความเชี่ยวชาญและทันต่อกระแสโลกมากขึ้น ผู้คนในยุคสื่อสารข้อมูลจำนวนมากที่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและวิถีการใช้ชีวิตบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งนั่นเป็นการเริ่มต้นให้ข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญต่ออาชญากรไซเบอร์ทั้งหลายก่อนที่จะเริ่มโจมตีหรือแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง สร้างความท้าทายใหม่ การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอาจจะเป็นการทำข้อตกลงระดับบริการ (Service Level Agreements – SLAs) เพราะจำกัดผลกระทบเอาไว้ ซึ่งองค์กรธุรกิจสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ใกล้เคียงความจริงในการให้บริการบนระบบคลาวด์ ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวังในเรื่องสิทธิการครอบครอง การจัดการการเข้าถึงระบบ การกำกับดูแลและการยกเลิกสิทธิ์เมื่อเกิดการละเมิด SLAs รายงานไอบีเอ็ม เอ็กซ์-ฟอร์ซช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ระบบคลาวด์มองที่วงจรชีวิตของการติดตั้งระบบคลาวด์เพื่อใช้งาน และพิจารณาอย่างรอบคอบเรื่องผลกระทบที่มีต่อภาพรวมของทัศนคติด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ไอบีเอ็มยังคงทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะยกระดับความปลอดภัยของระบบต่อปัญหานี้ คำแนะนำสำหรับการช่วยลูกค้าพัฒนาความปลอดภัยระบบของหน่วยงานด้านไอทีให้ดียิ่งขึ้นตามภัยคุกคามใหม่ๆเหล่านี้ประกอบด้วย: ทำการประเมินความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เป็นประจำ แยกส่วนของระบบที่มีความอ่อนไหวและข้อมูลออกจากกัน อบรมผู้ใช้ระบบเกี่ยวกับเรื่องการหลอกลวงในรูปแบบฟิชชิ่งและการฟิชชิ่งแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงหมั่นอบรมหลักการด้านความปลอดภัยทั่วไปบนระบบคอมพิวเตอร์ และสุดท้ายคือตรวจสอบนโยบายของพันธมิตรทางธุรกิจ

ดูรายงานแนวโน้มและความเสี่ยงเอ็กซ์-ฟอร์ซ ฉบับเต็มของปี 2011 และรับชมวีดิโอเรื่องเด่นได้ที่www.ibm.com/security/xforce

เกี่ยวกับระบบการรักษาความปลอดภัยของไอบีเอ็ม (IBM Security) ด้วยพัฒนาการและนวัตกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยระบบมานานกว่า 40 ปี ไอบีเอ็มจึงเปี่ยมไปด้วยความรอบรู้และความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในด้านการวิจัย การบริการ และการให้คำปรึกษาในด้านการรักษาความปลอดภัยระบบ ไอบีเอ็มมีศูนย์วิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยทั่วโลก 9 แห่ง และศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอีก 9 แห่งกระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีทัศนคติด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง สำหรับบริการจัดการการรักษาความปลอดภัยของไอบีเอ็มมีทั้งความเชี่ยวชาญ เครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐานตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อช่วยให้ข้อมูลที่มีค่าของพวกเขาปลอดภัยจากการจู่โจมทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยมักจะมีค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นส่วนน้อยของค่าใช้จ่ายเรื่องทรัพยากรด้านความปลอดภัยภายในองค์กร ทั้งนี้ สถาบันการรักษาความปลอดภัยระบบขั้นก้าวหน้าเป็นการริเริ่มของไอบีเอ็มในระดับโลกที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ มีความเข้าใจและตอบสนองต่อภัยคุกคามในธุรกิจของพวกเขาได้ดีขึ้น เข้าเยี่ยมชมชุมชนออนไลน์ของสถาบันนี้ได้ที่ www.instituteforadvancedsecurity.com

View :1467

ไอบีเอ็มรั้งแชมป์ผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรในอาเซียนไตรมาส 4 ปี 2554

March 28th, 2012 No comments

ไอบีเอ็มครองส่วนแบ่งตลาดรายได้เซิร์ฟเวอร์โดยรวมอันดับ 1 ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2554

ไอบีเอ็มยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรของอาเซียน ในไตรมาส 4 โดยครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ได้อย่างแข็งแกร่ง ตามข้อมูลจากรายงานตลาดเซิร์ฟเวอร์รายไตรมาสในเอเซียแปซิฟิคของไอดีซีระบุว่า ไอบีเอ็มครองอันดับ 1 ในอาเซียนในแง่ของรายได้ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 40 เปอร์เซ็นต์มากกว่า HP ที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 9 จุด โดยมาจากความสำเร็จของ IBM Power Systems™และ System z servers

สำหรับประเทศไทย ไอบีเอ็มเป็นผู้จำหน่ายเซิร์ฟเวอร์อันดับ 1 โดยครองส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้เซิร์ฟเวอร์โดยรวมสูงถึง 52.1 เปอร์เซ็นต์ มีส่วนแบ่งรายได้จากตลาดเซิร์ฟเวอร์โดยรวมสูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 29.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554

นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 สำหรับ:
➢ ตลาดเซิร์ฟเวอร์องค์กรระดับไฮเอนด์ (เซิร์ฟเวอร์ระดับราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 79.8% (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 59.6 จุด)
RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 49.6% (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 18.1 จุด)
➢ ส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้จากยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรม x86 อยู่ที่ 64 เปอร์เซ็นต์ (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ถึง 39.7 จุด)
➢ ส่วนแบ่งตลาดในแง่ของรายได้จากลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์ อยู่ที่ 36.2 เปอร์เซ็นต์ (สูงกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับ 2 ราว 7.9 จุด)

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี บริษัท ประเทศไทย จำกัด


ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “การที่เรารั้งตำแหน่งผู้นำอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการลงทุนในระบบที่หลากหลายและเทคโนโลยีชั้นนำ โดยเรามุ่งมั่นผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับขนาด และการปรับปรุงประสิทธิภาพ ไอบีเอ็มยังคงมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างจริงจังเพื่อค้นหาหนทางใหม่ๆ ในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ลูกค้า เพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือลูกค้า เราจึงพยายามที่จะนำเสนอโซลูชั่นที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้พลังงาน เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ลูกค้าและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขัน”

นอกจากนี้ พง เทเลอร์ (Phong Taylor) Vice President, System and Technology Group, IBM ASEAN กล่าวว่า “ ไอบีเอ็มรู้สึกภูมิใจในการเป็นผู้นำตลาดครั้งนี้ ด้วยคุณค่าของ Smarter Computing ที่รวมเอาความแข็งแกร่งของ การวิเคราะห์ข้อมูลOptimize System และคลาวด์ คอมพิวติ้ง มาเป็นสถาปัตยกรรมอัจฉริยะที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก เพิ่มขีดความสามารถทางด้านไอที และนำเสนอบริการใหม่ๆ ได้รวดเร็วกว่า เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และสมรรถนะ โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ไอบีเอ็มมั่นใจว่า ในยุคใหม่ของระบบคอมพิวติ้ง ที่ไอบีเอ็มกำลังพัฒนาออกมา จะเป็นการรวบรวมเอาเซิรฟเวอร์รุ่นต่างๆ มาพัฒนารวมเรียกว่า เป็น ระบบบูรณาการอัจฉริยะ (Integrated Expertise) ซึ่งจะเป็นการติดตั้งที่รวมเอา ไอบีเอ็มเซมิคอนดัคเตอร์ การวิจัย และบริการ ซึ่งทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายทางด้านไอที ลดคนดูแลระบบ นอกจากเป็นการช่วยลดทรัพยากรการดูแลระบบแล้ว ยังทำให้การบริหารจัดการ และการลงทุนไอทีทำได้ถูกต้องตรงจุด ด้วยการใช้คลาวด์ ในการจัดการกับเวิร์คโหลดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ที่มา: รายงานตลาดเซิร์ฟเวอร์รายไตรมาสทั่วโลกและเอเซียแปซิฟิคของไอดีซี, ไตรมาสที่สี่ 2554

View :1576

ไอบีเอ็มประกาศบุกตลาด Big Data เปิดตัวซอฟต์แวร์ InfoSphere ทุ่ม 100 ล้านดอลลาร์เพื่อการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาล

March 8th, 2012 No comments

ไอบีเอ็มรุกตอบโจทย์ตลาดองค์กรมากมายที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก จากหลากหลายแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบเรียลไทม์ เปิดตัวซอฟต์แวร์ตระกูล InfoSphere สำหรับงานประมวลผล 2 ตัวคือ InfoSphere BigInsights (อินโฟร์สเฟียร์
บิ๊กอินไซด์) และ InfoSphere Streams (อินโฟร์สเฟียร์ สตรีม) ซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุด ที่พร้อมช่วยลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพเอาชนะคู่แข่งจากข้อมูลเชิงลึก เพื่อตอบโจทย์การขยายตัวของข้อมูลในโลกอินเตอร์เน็ต ครั้งแรกที่องค์กรทั้งหลายสามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลนับสิบพันล้านไบต์ในฟอร์แมตเดิมๆ จนได้เป็นข้อมูลสำคัญเพียงเสี้ยววินาที ไอบีเอ็มยังประกาศที่จะลงทุนอีก 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อความต่อเนื่องสำหรับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและบริการที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านปริมาณและความรวดเร็ว โดยจะมุ่งเน้นการวิจัยเริ่มต้นช่วยผลักดันอนาคตการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ตลอดจนพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์ ระบบและความสามารถการให้บริการ

ข้อมูลล่าสุดของงานวิจัย 2011 IBM Global CIO Study พบว่า 83% ของซีไอโอ 3,000 ท่านที่ทำแบบสำรวจ กล่าวว่า การประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์และระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการดำเนินงานด้านไอที ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในแผนกลยุทธ์เพื่อการเติบโตในสามถึงห้าปีข้างหน้า จากข้อมูลรายงานบทวิเคราะห์ล่าสุดของอุตสาหกรรมไอที คาดว่าข้อมูลในองค์กรขนาดใหญ่ใน 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตมากกว่า 650% และ 8% ของข้อมูลที่เติบโตขึ้นเป็นข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง (unstructured data) และมีจำนวนมหาศาล ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า “” ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ข้อความทวีต, ข้อมูลการคลิก, รูปภาพ, วิดีโอ, พิกัด GPS, ข้อมูลจากเซ็นเซอร์, ข้อมูลการเคลื่อนไหวของหุ้น ฯลฯ

นางเจษฎา ไกรสิงขร กรรมการ รองกรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า “ทั้งปริมาณและความเร็วในการเติบโตของข้อมูลนั้นเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเติบโตขึ้นจากช่องทางใหม่ๆ ของข้อมูลอย่าง เครือข่ายสังคมออนไลน์และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของอุปกรณ์มือถือ แท๊บเล็ต ด้วยความสามารถที่หลากหลายของไอบีเอ็มทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยี ทำให้ไอบีเอ็มสามารถตอบสนองความต้องการในการช่วยลูกค้าได้อย่างเหมาะสมลงตัวที่สุด ไม่เพียงแต่ดึงข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าออกมาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบสนองต่อการเติบโตของข้อมูลได้อย่างฉับไวอีกด้วย”

เพื่อตอบโจทย์ในการจัดการ Big Data ไอบีเอ็มได้เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ InfoSphere BigInsights และ Infosphere Streams ตัวใหม่พร้อมใช้งาน ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่อยู่ทั่วไปในกระบวนการทางธุรกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยซอฟต์แวร์นี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากสิทธิบัตรมากกว่า 50 รายการ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีโครงสร้างที่พบอยู่ทั่วไปในระบบฐานข้อมูลและรวมถึงข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง อย่างเช่น ข้อความ วิดีโอ เสียง ภาพ สื่อสังคมเครือข่าย ข้อมูลสตรีมมิ่ง เป็นต้น จึงช่วยให้สามารถตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ซอฟต์แวร์ Big Insights คือผลลัพธ์จากความทุ่มเทตลอด 4 ปีของนักวิทยาศาสตร์ใน IBM Research กว่า 200 ชีวิต และพลังจากเทคโนโลยีโอเพ่นส์ซอร์สอย่าง Apache Hadoop ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มสำหรับการประมวลผลขนาดใหญ่ และรองรับการเชื่อมต่อสตอเรจสำหรับจัดเก็บข้อมูลระดับเทระไบต์จนถึงเพตาไบต์ และยังรวมเอาเทคโนโลยีของ Watson อันประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อความแบบไร้โครงสร้าง การจัดทำดัชนีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และรูปแบบข้อมูลหรือชนิดข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่างเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูล เครื่องมือในการพัฒนา และการเชื่อมต่อระดับองค์กร จึงง่ายสำหรับลูกค้าที่ต้องการสร้างแอพพลิเคชันใหม่สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลระดับ Big Data และที่สำคัญไอบีเอ็มยังเปิดให้ดาวน์โหลด BigInsights Basic Edition ได้ฟรี เพื่อช่วยให้เชื่อมโยงและจัดการกับ BigData ได้ง่ายขึ้น

สำหรับซอฟต์แวร์ InfoSphere Streams ที่ได้รับการพัฒนาจาก IBM Research เป็นซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กร และเพื่อการตรวจสอบข้อมูลสำหรับทุกรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจสร้างรูปแบบใหม่หรือแนวโน้มใหม่ได้ตลอดเวลา ด้วยความสามารถนี้จึงช่วยให้องค์กรสามารถเฝ้าระวังและใช้ข้อมูลเชิงลึกได้ เพื่อการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ไม่พลาดโอกาสที่เกิดขึ้น

ด้วยความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์ Streams จึงทำให้ Big Data เช่น ข้อมูล Tweets ข้อมูลบล็อก เฟรมวิดีโอ EKGs, GPS และเซนเซอร์หรือข้อมูลตลาดหุ้น ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 350% จึงเรียกได้ว่า BigInsights ได้เติมเต็ม Strames ด้วยการประยุกต์การวิเคราะห์ข้อมูลประวัติศาสตร์ขององค์กรได้เช่นเดียวกับข้อมูลแบบสตรีมมิ่ง และนี้คือวงจรการวิเคราะห์ข้อมูลที่เพิ่มศักยภาพการรองรับข้อมูลที่มากกว่า และให้ผลลัพธ์การวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ ผลลัพธ์ที่ได้จึงพร้อมรองรับการสร้างแบบจำลองเพื่อการปรับปรุงงาน ไอบีเอ็มจึงได้สร้างโซลูชันบนพื้นฐานเทคโนโลยีโอเพ่นส์ซอร์สและเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการและฟังก์ชันด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพในระดับการใช้งานเชิงธุรกิจ Hadoop มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อประสานกับความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลของไอบีเอ็ม จึงพร้อมตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการจัดการกับการเติบโตของข้อมูล Big Data ทั้งนี้ชุดโซลูชันของไอบีเอ็มบนพื้นฐาน Hadoop ประกอบด้วย IBM Cognos Consumer Insight ที่ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลเนื้อหาในสังคมเครือข่ายด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทางธุรกิจพื้นฐาน และ IBM Coremetrics Explore ซึ่งสามารถหารูปแบบพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และเจาะลึกลงไปดูถึงข้อมูลระดับโมบายได้ นอกจากนี้ Hadoop ยังเป็นซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กให้กับระบบการประมวลผล IBM Watson ที่ใช้สำหรับการกระจายโหลดการทำงานในการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ จึงตอบโจทย์ระบบที่สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติและให้คำตอบเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว

ซอฟต์แวร์และบริการ Big Data ของไอบีเอ็ม ถือเป็นการตอกย้ำการริเริ่ม การวิเคราะห์ของไอบีเอ็ม เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีที่คล้ายกับ Watson ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตอบโจทย์เฉพาะทางของธุรกิจตนเองได้ ซึ่งใกล้เคียงกับ IBM Jeopardy Challenge เกมตอบคำถามแข่งกับมนุษย์ซึ่งเทคโนโลยี IBM Watson ได้สาธิตให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ ความสามารถในการวิเคราะห์ขั้นสูงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาลูกค้าได้จริง ตั้งแต่ระบบการรักษาสุขภาพ ไปจนถึงการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจค้าปลีก

รับฟังข้อมูลจากลูกค้าของไอบีเอ็มที่ใช้การวิเคราะห์เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนเองได้ที่ http://www.youtube.com/user/ibmbusinessanalytics สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ IBM Big Data โปรดเยี่ยมชมที่เว็บไซต์: www.ibm.com/bigdata.

View :1448

ไอบีเอ็มเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ สมาร์ทเตอร์ คอมเมิร์ซ ช่วยยกระดับความสำเร็จธุรกิจในยุคดิจิตอล

October 28th, 2011 No comments

ผู้นำอุตสาหกรรมทั่วโลกต่างยกนิ้วให้กับโซลูชั่นไอบีเอ็ม ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ง่ายอย่างใจคิด

ไอบีเอ็มเปิดตัวโซลูชั่น (Smarter Commerce) โซลูชั่นสำหรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยดึงดูดและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ในยุคดิจิตอลได้อีกด้วย พร้อมเผยรายชื่อลูกค้าชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ จากทั่วโลก ที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นจากการนำโซลูชั่น Smarter Commerce ของไอบีเอ็มมาใช้ ในระหว่างการประชุมสุดยอด Smarter Commerce Global Summit ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ เมืองซานดิเอโก

ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทุกธุรกิจอุตสาหกรรมต่างมุ่งเน้นในการให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า โซลูชั่น Smarter Commerce ของไอบีเอ็มจึงได้ออกแบบมาโดยมุ่งเน้นในการช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจแก่บริษัทต่างๆ ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ และการรักษาฐานลูกค้า โดยเฉพาะในยุคที่ลูกค้า หรือผู้บริโภค นิยมใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ใช้โทรศัพท์ และอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแพร่หลาย รวมถึงการซื้อสินค้าทางออนไลน์ จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้บริโภคถึง 64 เปอร์เซ็นต์ที่ตัดสินใจซื้อสินค้าครั้งแรกโดยอ้างอิงประสบการณ์จากโลกดิจิตอล ด้วยเหตุนี้บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องสามารถตรวจสอบและเข้าถึงพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้บริโภค เพื่อนำมาใช้ปรับแต่งกลยุทธ์ด้านการตลาด การขาย การบริการ และระบบซัพพลายเชนให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มมีบทบาทสำคัญในการกำหนดและชี้นำทิศทางตลาดยุคใหม่นี้ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2558 การเติบโตของตลาดในส่วนของซอฟต์แวร์จะมีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นผลมาจากความต้องการขององค์กรต่างๆ ที่พยายามมองหาลู่ทางในการสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับการตลาด การขาย และการส่งมอบสินค้า เพื่อสนับสนุนแนวทางการค้าที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยซอฟต์แวร์โซลูชั่นใหม่นี้เป็นการผนวกรวมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่มีความโดดเด่นอย่าง Unica, Coremetrics และ Sterling Commerce ร่วมกับการวิจัยและพัฒนาของไอบีเอ็มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้สามารถติดต่อกับซัพพลายเออร์และทำธุรกรรมด้านการค้ากับบริษัทคู่ค้าได้เองอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความสามารถในการทำความเข้าใจข้อมูลทางธุรกิจในเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงและส่งเสริมการตลาดและการขายของบริษัท พร้อมทั้งการเชื่อมโยงช่องทางการติดต่อในทั้งระบบออนไลน์ แบบเคลื่อนที่ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปสู่หน้าร้านจริงได้เป็นอย่างดี”

ตัวอย่างลูกค้าที่ประสบความสำเร็จจากการใช้โซลูชั่น Smarter Commerce

คาร์ฟูร์ (Carrefour) ห้างค้าปลีกชั้นนำของยุโรป ได้นำระบบวางแผนการซื้อสินค้าและระบบสั่งซื้อสินค้าในสต็อกมาใช้ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากจุดชำระเงินไปยังโปรแกรมคูปองบัตรสมาชิกของลูกค้า นอกจากนี้ ห้างคาร์ฟูร์ยังได้นำเทคโนโลยีของไอบีเอ็มมาใช้ เพื่อเก็บข้อมูลคู่ค้าของบริษัทกว่า 3,500 ราย ที่ทำการติดต่อซื้อขายกับคาร์ฟูร์มากถึง 3,000 ครั้งต่อเดือน ด้วยวิธีนี้เองที่ช่วยคาร์ฟูร์ให้สามารถเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้ และยังช่วยให้ซัพพลายเออร์ส่งมอบสินค้าที่สดใหม่และมีคุณภาพมาที่ห้างคาร์ฟูร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นประจำทุกวันด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลของไอบีเอ็มสำหรับ Smarter Commerce ลูกค้าจึงสามารถยกระดับความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างเหนือชั้น:

L’Occitane en Provence มีอัตราการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น 17 เท่า และมียอดขายต่ออีเมลแต่ละฉบับเพิ่มขึ้น 25 เท่า ด้วยการใช้ Coremetrics LIVEmail เพื่อสร้างข้อความอีเมลที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

Citrix ปรับปรุงการลงทุนด้านการตลาดและลดต้นทุนแปรสภาพได้เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ด้วย Unica NetInsight

wehkamp.nl ผู้ค้าปลีกออนไลน์ชั้นนำของเนเธอร์แลนด์ สามารถเพิ่มผลตอบแทนได้มากขึ้น 15 เท่าจากการลงทุนในโฆษณาออนไลน์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยอาศัย Coremetrics Ad Target นอกจากนี้ยังใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูล Coremetrics Web และ Unica Campaign เพื่อทำตลาดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ให้แก่ลูกค้ารายเดิม ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูยอดขายที่สูญเสียไปก่อนหน้านี้ รวมถึงลูกค้าที่บริษัทเกือบจะสูญเสียไปด้วย ในขั้นตอนของการขายในระบบ Smarter Commerce องค์กรธุรกิจจะสามารถปิดธุรกรรมได้อย่างปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว
Staples บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องใช้สำนักงานรายใหญ่ที่สุดในโลก ปรับปรุงอัตราการซื้อสินค้าออนไลน์ได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยอาศัยเทคโนโลยีของไอบีเอ็ม

XO Communications ผู้ให้บริการสื่อสาร เรียนรู้ที่จะปรับปรุงการรักษาฐานลูกค้าและปรับเปลี่ยนไปสู่การดำเนินงานในรูปแบบใหม่อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในขั้นตอนของบริการในระบบ Smarter Commerce สามารถลดจำนวนลูกค้าที่เปลี่ยนไปใช้บริการของบริษัทอื่น ซึ่งเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญในธุรกิจโทรคมนาคม ได้ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

View :1589

ไอบีเอ็มครองแชมป์อันดับ 1 บริการไอทีในอาเซียน

September 13th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มครองแชมป์อันดับ 1 ส่วนแบ่งการตลาดอาเซียนทางด้านบริการไอที ในเอเชียแปซิฟิก ในครึ่งปีหลัง 2553 จากผลการวิเคราะห์ของบริษัท ไอที อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น หรือ ไอดีซี ระบุว่า ได้จัดอันดับให้ มีรายได้จากบริการไอทีในอาเซียนในช่วงปี 2553 ทิ้งห่างคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับสอง 31 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในด้านบริการเอาต์ซอร์สและการจัดการแอพพลิเคชั่นอีกด้วย

กลุ่มธุรกิจโกลบอล เซอร์วิสเซส (Global Services) เป็นธุรกิจสำคัญในกลยุทธ์ของไอบีเอ็มสำหรับการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงข้อมูลเชิงลึกและโซลูชันทางด้านธุรกิจให้แก่ลูกค้า โซลูชันเหล่านี้ประกอบด้วยซอฟต์แวร์และระบบชั้นนำสำหรับลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรมของไอบีเอ็ม รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ของพันธมิตรรายอื่นๆ เพื่อตอบสนองในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างครบวงจร กลุ่มธุรกิจโกลบอล เซอร์วิสเซส แบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ โกลบอล เทคโนโลยี เซอร์วิสเซส (Global Technology Services หรือ GTS) และ โกลบอล บิสซิเนส เซอร์วิสเซส (Global Business Services หรือ GBS)

GTS เป็นการจัดหาบริการโครงสร้างพื้นฐานไอทีและบริการทางด้านระบบงานธุรกิจ โดยมอบคุณค่าทางธุรกิจ จากความเชี่ยวชาญและการดำเนินงานระดับโลกของไอบีเอ็ม รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและระบบงานอัตโนมัติ ส่วน GBS ทำหน้าที่จัดหาบริการระดับผู้เชี่ยวชาญและบริการด้านการจัดการแอพพลิเคชั่น โดยมอบคุณประโยชน์ทางธุรกิจและนวัตกรรมให้แก่ลูกค้าในรูปแบบของโซลูชั่นที่ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมและระบบงานธุรกิจ พร้อมทั้งผนวกรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ชั้นนำของไอบีเอ็มและพันธมิตร เพื่อยกระดับบริการที่เหนือชั้นสำหรับลูกค้า

นายยศ กิมสวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ลูกค้ามุ่งหวังว่าผู้ให้บริการจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเติบโตและเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก ความสำเร็จของไอบีเอ็มเป็นผลมาจากความสามารถของเราในการผสานรวมความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมเข้ากับความรู้ทางด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกและความสามารถด้านการวิจัยที่ก้าวล้ำ นี่คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากผู้ให้บริการในปัจจุบัน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในตลาด”

เมื่อปีที่แล้ว ไอบีเอ็มทำสัญญาสำคัญๆกับหลายบริษัทชั้นนำทั่วภูมิภาคนี้ รวมถึงสัญญาที่ทำกับ เคลียร์ริ่งเฮ้าส์สำหรับศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย รวมถึง Singapore Health Services Pte Ltd, Prudential Indonesia, Philippine Nature Spring, และ Multimedia Development Corporation (MDeC) ในมาเลเซีย

View :1412

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจซีไอโอแห่งศตวรรษ 3,000 ซีไอโอทั่วโลกเผยบทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอยุค2011

September 9th, 2011 No comments

ชี้แนวโน้มบิสสิเนสอินเทลลิเจนซ์ โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา และคลาวด์คอมพิวติ้งมาแรง

ไอบีเอ็มเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ)ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีซึ่งชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ของซีไอโอทั่วโลกที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ของซีอีโออย่างมีนัยสำคัญเป็นครั้งแรก บทบาทของซีไอโอและเทคโนโลยีในปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่องค์กร ผลการสำรวจยังเผย “4 พันธกิจของซีไอโอ” หรือบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในสี่รูปแบบของซีไอโอยุคปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายทางธุรกิจขององค์กร พร้อมชี้แนวโน้มเทคโนโลยีที่ซีไอโอทั่วโลกให้ความสำคัญ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริหารซีไอโอไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่กลับทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะคู่คิดและพันธมิตรขององค์กรสำหรับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไอทีไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ใช้รองรับธุรกิจอีกต่อไป หากแต่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันและเป็นสิ่งที่ผสานรวมอยู่ในทุกแง่มุมขององค์กร จากผลสำรวจนี้ ซีไอโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือซีไอโอที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการสนองเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

“เป้าหมายของผลสำรวจของไอบีเอ็มที่รวมเอาความคิดเห็นของซีไอโอกว่า 3,000 คนทั่วโลก และซีไอโอจากบริษัทชั้นนำถึง 40 คนในประเทศไทยครั้งนี้ คือการช่วยให้ซีไอโอตระหนักรู้และมุ่งเน้นบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร อันจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับผู้บริหารซีไอโอทั่วโลก และช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี” นางพรรณสิรีกล่าว

ปัจจุบัน ผู้บริหารระดับซีอีโอและซีไอโอให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลักที่ตรงกันในการบริหารองค์กร นั่นคือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ส่วนในเชิงเทคโนโลยี ผลการศึกษาของไอบีเอ็มบ่งชี้ถึงเทคโนโลยีที่ซีไอโอให้ความสำคัญ ดังนี้

บิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)
4 ใน 5 ของซีไอโอทั่วโลก รวมถึงซีไอโอ 86 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน มองว่าระบบบิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรต้องรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเหนือภารกิจอื่นๆ ของซีไอโอ โดยซีไอโอถึง 57 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมที่จะปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับผลการศึกษาของเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions)
ซีไอโอให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions) เพื่อก้าวให้ทันตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งจำนวนโมบายล์แอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและโอกาสใหม่ๆ ในตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้บริหารซีไอโอเกือบ 3 ใน 4 รวมทั้ง 68% ของซีไอโอในภูมิภาคอาเซียน จึงมองว่าโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพลิกเกมธุรกิจให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากนี้ ผลการสำรวจของไอบีเอ็มยังเปิดเผยถึงบทบาทหน้าที่ของซีไอโอในปัจจุบัน หรือ “4 พันธกิจของซีไอโอ” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปตามความมุ่งหวังทางธุรกิจของแต่ละองค์กร พันธกิจที่แตกต่างกันของซีไอโอมิได้เป็นเครื่องชี้วัดผลกำไร ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จขององค์กร ในทางกลับกัน เป้าหมายและความจำเป็นทางธุรกิจเป็นเครื่องกำหนดพันธกิจที่แตกต่างของซีไอโอ

พันธกิจของซีไอโอ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

พันธกิจเพิ่มประสิทธิผล (Leverage) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการเพิ่มความคล่องตัวในระบบการปฎิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

พันธกิจเพิ่มขยาย (Expand) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่า บทบาทของไอทีคือการการปรับปรุงการจัดการระบบงานธุรกิจอย่างครบวงจรและเพิ่มการประสานงานภายในองค์กร องค์กรมุ่งหวังให้ใช้ไอทีเพื่อ re-engineer องค์กร ทำให้องค์กรทำงานได้เร็วขึ้น คล่องตัวสูงขึ้น และพร้อมที่จะเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับองค์กร

พันธกิจการปฏิรูป (Transform) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการนำไอทีโซลูชันเช่น CRM มาตอบโจทย์และเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจนั้นๆ ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า

พันธกิจผู้บุกเบิก (Pioneer)
คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีมีความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด รวมถึงรูปแบบของธุรกิจเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร

จากผลการสำรวจ บริษัทที่มีผลประกอบการที่โดดเด่น คือบริษัทที่มีทีมผู้บริหารซีไอโอที่มุ่งเน้นพันธกิจทางด้านไอทีที่สอดคล้องกับธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่หรือ “พันธกิจ” ของผู้บริหารซีไอโอและทีมงาน ซึ่งพันธกิจที่แตกต่างกันตามความต้องการทางธุรกิจของแต่ละองค์กรนี้ สามารถใช้เป็นกลไกหลักสำหรับการพิจจารณาลงทุนด้านไอที การลงทุนด้านการพัฒนาทักษะที่บุคคลากรฝ่ายไอทีจำเป็นต้องแสวงหาและพัฒนาเพิ่มเติม

เกี่ยวกับผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011
ผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็ม (IBM C-Suite Study Series) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBM Institute for Business Value) ผลการศึกษาซีไอโอทั่วโลก (Global CIO Study) ประจำปี 2011 ของไอบีเอ็มเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวสำหรับผู้บริหารซีไอโอจากองค์กรทุกขนาดใน 71 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “The Essential CIO” โดยข้อมูลที่พบเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญมากขึ้นของซีไอโอในฐานะผู้นำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตให้กับธุรกิจ ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม โดยบริษัทฯ เคยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ เล็งเห็นถึงความจำเป็นของตำแหน่งซีไอโอในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกของเทคโนโลยีระบบประมวลผลในเชิงธุรกิจ และยกระดับตำแหน่งดังกล่าวในช่วงหลายทศวรรษต่อมาเพื่อให้ซีไอโอมีบทบาทสำคัญในการประชุมของผู้บริหารระดับสูง

View :1546