Archive

Posts Tagged ‘AEC’

ก.ไอซีที เดินสายจัดสัมมนา AEC and MICT Smart Thailand เผยแพร่ความรู้การเปิดตลาดการค้าบริการสาขา ICT ในกรอบอาเซียน แก่ผู้สนใจทั่วประเทศ

November 29th, 2012 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมมือกับ บริษัท ไบรอัน เคฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการจัดประชุมสัมมนา “ and ” ภายใต้โครงการสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้ต่อข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทยในกรอบอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน และประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสาขาการบริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ให้แก่ผู้ที่สนใจทั้งจากภาครัฐและเอกชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ได้จัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดชลบุรี ส่วนครั้งที่ 3 จะจัดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งสุดท้ายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กรุงเทพมหานคร

ภายในงานสัมมนาฯ ทุกครั้งจะมีการเสวนาในหัวข้อ “ การเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน : ประเทศไทยพร้อมหรือไม่” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ พร้อมทั้งมีการบรรยายให้ความรู้ในประเด็นดังกล่าวด้วย ซึ่งสาระสำคัญของการบรรยายนั้น สรุปความหมายของการค้าบริการที่สามารถเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ (Mode of Supply) ได้แก่ 1) การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) เป็นการบริการจากพรมแดนของประเทศสมาชิกหนึ่งไปสู่พรมแดนของประเทศสมาชิกอื่นที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการไม่ต้องปรากฏตัวอยู่ในพรมแดนของประเทศลูกค้า 2) การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Abroad) เป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยอาศัยการเคลื่อนย้ายของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขสำคัญ 3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence) เป็นการเข้าไปลงทุนตั้งนิติบุคคลประเภทต่างๆ เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา ตัวแทน หรือบริษัท และ 4) การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Persons) เป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพหรือวิชาชีพในสาขาบริการด้านต่างๆ เป็นการชั่วคราวในประเทศลูกค้า ทั้งนี้ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีส่วนสำคัญในการอำนวยความสะดวกของการค้าสินค้าและบริการระหว่างภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบและวิธีการทำธุรกรรมทางการค้าเปลี่ยนแปลงไป โดยในส่วนของการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบ

“สำหรับกระทรวงไอซีที เป็นผู้ดูแลสาขาบริการโทรคมนาคม บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งกระทรวงฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ กรอบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. 2554-2563) หรือ ICT 2020 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 และนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานกำกับดูแล ได้แก่การจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงาน กสทช. เพื่อเตรียมความพร้อมภายในสำนักงานฯ และได้จัดทำเว็บไซต์ http://asean.nbtc.go.th รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับการดำเนินโครงการศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และศึกษาผลกระทบเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ต่อไป” นายไชยยันต์ฯ กล่าว

View :1397

ชูเทคโนโลยีใหม่ดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ รับกระแส AEC

August 9th, 2012 No comments

การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน () ในปี 2558 จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวนมากต่างทุ่มงบประมาณเพื่อลงทุนในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิตอล เพื่อสร้างยอดขายออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ และเครือข่ายการตลาดให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

การจัดประชุม Asia Pacific Digital Travel Forum ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ ในวันที่ 30 สิงหาคม ศกนี้ จะเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นหลัก

“ไม่มีโอกาสไหนที่จะน่าสนใจมากไปกว่านี้อีกแล้ว ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิตอลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โอกาสที่ว่าก็คือการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั่นเอง” นายอภิชัย สกุลสุริยะเดช ประธานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (TTA) ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน กล่าว

การจัดประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความสำเร็จของการจัดงาน ASEAN ETRAVEL MART ในปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้ซื้อผู้ขายระดับแนวหน้าจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนับร้อยเข้าร่วมงาน

“งานนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ไม่ควรพลาดโดยเด็ดขาด เพราะจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิตอลและฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับพนักงานของตน

นายอภิชัย กล่าวอีกว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะกลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมี 10 ประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกเป็นสมาชิกหลัก และการประชุม Asia Pacific Digital Travel Forum ในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นเวทีสำคัญที่จะผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นที่รวมพลของบรรดาผู้นำแห่งโลกอนาคตที่จะมาวาดอนาคตให้กับอุตสหากรรมการท่องเที่ยวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป”

การจัดประชุม Asia Pacific Digital Travel Forum ได้รับการสนับสนุนจากองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ UNWTO (The United Nations World Tourism Organisation) และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (The Pacific Asia Travel Association – PATA) โดยจะเป็นการจัดประชุมที่ใช้เวลา 1 วัน เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับฟังแนวคิดและอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชั้นนำ ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวออนไลน์อันทันสมัย

“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่มักนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ และการจัดประชุม Asia Pacific Digital Travel Forum ก็ถือได้ว่าเป็นเวทีสำคัญที่ผู้บริหารหัวก้าวหน้าจากสายการบินต่างๆ รวมทั้งโรงแรม เว็บไซต์สำหรับการท่องเที่ยว สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติ ผู้ให้บริการจองตั๋วและชำระค่าบริการอิเล็กทรอนิก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะได้มาพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และร่วมกันกำหนดอนาคตของการท่องเที่ยวออนไลน์” นายอภิชัย กล่าวเพิ่มเติม

เขากล่าวอีกว่า สื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียที่รวมทั้ง Facebook และ Twitter ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งการท่องเที่ยวออนไลน์เข้าไปแล้ว เพราะสื่อออนไลน์และเว็บไซต์ที่คล้ายๆ กันเหล่านี้สามารถเข้าถึงลูกค้าและนักท่องเที่ยวนับล้านๆ คนได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที

“หนึ่งในความท้าทายที่น่ากลัวของการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง คือ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ นั่นหมายถึงการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นสำหรับพนักงานในทุกระดับ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประชาคมดังกล่าว และเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสที่จะเปิดกว้างขึ้นอย่างไร้พรมแดน นอกจากนี้ บริษัท ห้างร้าน และสมาคมการท่องเที่ยวและหน่วยงานต่างๆ จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในภูมิภาคและนอกเหนือไปกว่านั้นอีกด้วย” นายอภิชัย กล่าว

ผู้เข้าร่วมงานประชุม Asia Pacific Digital Travel Forum จะได้รับกำหนดการของการประชุมแบบอินเตอร์แอคทีฟฉบับเต็ม และการมาพบปะชุมนุมกันของผู้บริหารที่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะยิ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าให้ดียิ่งขึ้นในระยะยาวอีกด้วย

พบกับรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ http://www.digitaltravelforum.com

View :1491