Archive

Posts Tagged ‘AEC2015’

ก.ไอซีที จับมือ กลุ่มบีเอสเอ ศึกษาแนวทางนำ Cloud Computing มาใช้พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับ AEC 2015

May 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “Thailand’s Economic Growth in Digital Environment and amid Transmission to AEC 2015: Readiness of Laws and Regulations” ว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทศึกษาเปรียบเทียบเรื่องนโยบายและกฎหมายของประเทศต่างๆ ทั้งหมด 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียน สำหรับการประเมินความพร้อมของนโยบายและกฎหมายของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ ในมุมมองที่เกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจในโลกยุคดิจิตอล (Digital Economy) บนสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างการเข้าสู่

“กระทรวงฯ มีหลักการและนโยบายที่ชัดเจนเพื่อใช้ประโยชน์จากระบบ Cloud Computing ในการส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดภูมิภาคนี้ รวมถึงสร้างศักยภาพทางธุรกิจแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ ประชาชนโดยทั่วไป และภาครัฐ ซึ่งรายงานการศึกษาดังกล่าวถือเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจบนระบบ Cloud Computing และนำไปสู่การสนับสนุนภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้เดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นางจีราวรรณ กล่าว

งานสัมมนาเชิงวิชาการครั้งนี้ เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “Digital Economy and Cloud Computing Scorecard” ซึ่งกระทรวงฯ ได้เคยร่วมกับ บีเอสเอ จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหาหลักของงานสัมมนาปีนี้ได้เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับประเด็นด้านนโยบายและกฎหมาย เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิตอล (Digital Economy) และ Cloud Computing รวมทั้งเน้นเรื่องการเชื่อมโยงเข้ากับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีอำนาจสั่งการ (CIO) ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจของการสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้แก่ 1. เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพของ Cloud Computing ที่ใช้สำหรับวัดความพร้อมของประเทศไทย และผลกระทบต่อการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย 2. Cloud Computing มีส่วนช่วยในการกำหนด ASEAN ICT Master Plan ได้อย่างไร 3.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในโลก Cloud Computing และนโยบายด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ Cloud Computing ในระดับชาติ เป็นต้น

ส่วน มร.โรเจอร์ ซัมเมอร์วิลล์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบายภาครัฐของบีเอสเอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า Cloud Computing เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาล หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะต้องวางโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อให้ระบบ Cloud Computing เติบโตต่อไป และสร้างประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ประเทศนั้นๆ ในตลาดโลก ซึ่งรายงานการศึกษาที่จัดทำโดย บีเอสเอ ฉบับนี้ยังจะช่วยประเทศไทย และประเทศอื่นๆ อีก 23 ประเทศ สำรวจตรวจสอบสิ่งแวดล้อมด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อดูว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลกระทบทำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถรับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing ได้

รายงานการศึกษาดังกล่าวได้นำเสนอแนวทางการริเริ่มและวางนโยบายที่ประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้ และควรจะพิจารณานำไปใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบ Cloud Computing และในรายงานยังนำเสนอการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสร้างงานบนระบบ Cloud Computing ที่จะเพิ่มโอกาสความได้เปรียบทางเศรษฐกิจได้อย่างมากมาย

นอกจากนี้ รายงานการศึกษาดังกล่าว ยังระบุว่าประเทศไทยได้รับคะแนนสูงในบางด้าน เช่น ความพร้อมของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่สนับสนุนการทำธุรกรรมบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) แต่สำหรับความพร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Protection) กลับมีคะแนนไม่สูงมากนัก ถึงกระนั้น ประเทศไทยยังคงมีความพร้อมในเรื่องอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ (Cybercrime) เพราะมีการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศใช้แล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลบนระบบ Cloud Computing โดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม ยังต้องส่งเสริมและสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงการสืบสวน สอบสวนอาชญากรรมบนโลก ไซเบอร์ และการพัฒนาเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights) มาตรฐานการระงับและการคัดกรองข้อมูลข่าวสาร (Censorship, Filtering) รวมทั้งการบังคับใช้ระบบเทคโนโลยีเฉพาะทาง (Technology Mandates) อีกด้วย

View :1688

ซอฟต์แวร์พาร์คเร่งผนึกกำลัง 3 พาร์ค ร่วมขยายความเข้มแข็งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่ระดับภูมิภาค เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ AEC 2015

January 31st, 2012 No comments

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ 3 เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ส่วนภูมิภาคใน 3 จังหวัดคือ อีสานซอฟต์แวร์พาร์ค ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต และโคราชซอฟต์แวร์พาร์ค ก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศไทย หรือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอทีไทยสู่ระดับภูมิภาค เตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ASEAN Economic Community: AEC 2015)

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า “สวทช. เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และไอทีเป็นอุตสาหกรรมฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอื่นๆ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ และ สวทช. มีหน่วยงานที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอที 2 หน่วยงานด้วยกัน คือ NECTEC ซึ่งมีมุ่งเน้นการทำวิจัยด้านไอทีและอิเลคทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์พาร์ค มุ่งเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการและการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเป็นพาร์คแห่งแรก และเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการซอฟต์แวร์พาร์คในไทย ทั้งนี้เพื่อขยายผลการดำเนินงานของซอฟต์แวร์พาร์ค จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรี หรือ AEC 2015 เพราะหากไม่เตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมให้ทั่วถึงส่วนภูมิภาคของประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในอนาคต”

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่า “การรวมกลุ่ม Thailand Software Park Alliances (TSPA) นั้น เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม ให้เกิดผลในภาพรวมต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์ค ออกสู่พาร์คต่างๆในภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่นๆ อาทิ 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่และบริษัทผู้เช่าในพาร์คต่างๆ 2. การส่งเสริมผู้ประกอบการ และการขยายตลาดซอฟต์แวร์ ผ่านกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างช่องทางในการทำธุรกิจและบุกตลาดในประเทศร่วมกัน 3. การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีศักยภาพในการออกตลาดต่างประเทศ และเตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และ 4. กิจกรรมส่งเสริมการใช้ไอทีในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น โดยกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์คที่มีอยู่เดิมจะพยายามขยายผลออกสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น ภายใต้ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน”

ผอ.ซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “พาร์คต่างๆ ทั้งที่ดำเนินงานโดยภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน แม้ว่าจะจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งเน้นที่ต่างกันในแต่ละแห่ง แต่ทุกพาร์คมีเป้าหมายร่วมเดียวกันคือการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผนึกกำลังร่วมมือกัน โดยใช้จุดแข็งของแต่ละแห่ง เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่าย และร่วมวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 อันจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีในด้านการตลาด การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างอิสระ ซึ่งหากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงบุคลากรไอทีไทยไม่เตรียมพร้อมรับมือ จะทำให้เกิดความเสียเปรียบจากการเปิด AEC 2015 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงในปัจจุบันนี้ Business Model ในการดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง โดยมีแนวโน้มว่ารูปแบบของซอฟต์แวร์จะเเปลี่ยนจาก Product เป็น Service มากขึ้น หากผู้ประกอบการไม่เตรียมตัวอาจจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจและขาดศักยภาพในการแข่งขันโดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยของ AEC 2015 เข้ามาร่วมด้วย

โดยในปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเองในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จึงได้มุ่งเน้นแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ภายใต้หลักการตามที่คณะกรรมการบริหารของซอฟต์แวร์พาร์คได้ให้แนวทาง 3 ประการคือ 1. การดำเนินงานให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆที่มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความเป็นเอกภาพในการทำงาน อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 2. ผลักดัน Emerging Technology อาทิเช่น Cloud and Mobile Technology ให้เกิด Ecology ที่สมบูรณ์และมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่คาดว่าจะสร้างประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยได้เป็นอย่างดี 3. ผลักดันการรวมตัวของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศเพื่อขยายผลกิจกรรมออกสู่ภูมิภาค และร่วมวางแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ AEC 2015 รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมไปถึงการขยายผลความร่วมมือของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในระดับเอเชีย โอเชียเนีย (Asia Oceania Software Park Alliance) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน”

ผศ.วันชัย สุ่มเล็ก ผอ.ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ E-Saan Software Park กล่าวว่า “บทบาทของอีสานซอฟต์แวร์พาร์คที่ผ่านมาคือ ช่วยสนับสนุนจังหวัดขอนแก่นในนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับ พัฒนานักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นผู้ประกอบการด้านไอทีโดยผ่านกระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubate) พัฒนาบัณฑิตของสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ในแต่ละปีสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ได้ผลิตบุคคลากรด้านซอฟต์แวร์และไอทีจำนวนกว่า 1000 คน แต่ปริมาณงานทางด้านไอที รวมถึงบริษัทซอฟต์แวร์และไอทีในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียงยังมีไม่มากพอที่จะรองรับบุคคลากรที่สถาบันการศึกษาผลิตได้ ส่งผลนักศึกษาที่จบการศึกษาทางด้านไอทีเหล่านั้นต้องจากถิ่นฐานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯและปริมณฑลหรือเปลี่ยนไปทำงานในด้านอื่นที่ไม่ใช้ความรู้ด้านไอที สิ่งที่อีสานซอฟต์แวร์ปาร์ควางแผนที่จะดำเนินการต่อไป คือ ร่วมมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ฯ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาโดยคาดหวังว่านักศึกษาจะเข้าใจธุรกิจด้านนี้ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจมาก โดยจะนำจุดแข็งในเรื่องของการสร้างคน และมุ่งมั่นที่จะสร้างอีสานซอฟต์แวร์พาร์คให้เป็น “Thailand Local Outsourcing Center” เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และสร้างบุคลากรไอทีให้พร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของ AEC 2015”

นางปวันรัตน์ ปานรักษา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ““จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดขนาดใหญ่เป็นที่สองของประเทศไทย ที่มีแหล่งรายได้หลัก มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการขับเคลื่อนกิจการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ ดังนั้นจึงเกิดความต้องการซอฟต์แวร์ ตลอดจนแรงงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมาก แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดนครราชสีมายังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรดังกล่าว ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่สาคัญ 3 ประการ คือ 1. นักศึกษาทางด้าน ICT ที่จบมาจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการประกอบอาชีพทางด้าน ICT ไม่อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน 2. ผู้ประกอบการ ICT ในพื้นที่มีจานวนน้อยเกินไป และมีขนาดเล็ก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของกิจการต่างๆที่มีในโคราชซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดใหญ่ และ 3. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างกิจการต่างๆ ที่มีความต้องการทางด้าน ICT กับผู้ประกอบการ ICT

สำหรับความร่วมมือในกลุ่ม Thailand Software Park Alliances ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดกิจกรรมสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และการขยายฐานการตลาดของธุรกิจซอฟต์แวร์ออกสู่พื้นที่จังหวัดนครราชสีมามากขึ้น โดยกิจกรรมหลักของความร่วมมือจะเน้นไปในส่วนของการจับคู่ระหว่างธุรกิจผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ไอทีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง”

นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต หรือ Software Park Phuket กล่าวว่า “การรวมตัวของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ที่แต่ละพาร์คซึ่งมีจุดแข็งแตกต่างกัน สามารถมารวมตัวและผนึกกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมเป้าหมาย และพร้อมรับมือกับ AEC 2015 ต่อไป

ผลการดำเนินงานของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการโดยการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนกว่า 100 โครงการ รวมถึงการให้การสนับสนุนการบ่มเพาะธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ ICT จำนวน 22 ราย ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการสนับสนุนงานวิจัยให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้แล้วยังสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่อสังคม เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างโอกาสในการทำงานของนักศึกษาผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงานและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สูงวัยที่สนใจเทคโนโลยี เป็นต้น
ภายใต้ความร่วมมือและความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ต ผนวกกับจุดแข็งของการเป็นเมืองน่าอยู่ในสายตาของนานาชาติ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมให้ภูเก็ตมีโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมใหม่นี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมอุดมปัญญา ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้ในอนาคต
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ยังคงมุ่งมั่นและพร้อมที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น “Value Creation” ด้วยแนวคิด “Lifestyle, Inspiration, Creativity” ด้วยวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม ผ่านการเชื่อมโยง สนับสนุนการสร้างและการพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เพื่อก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ เพื่อการเข้าถึงตลาดใหม่ในประชาคมโลก และเป็นฐานรากที่เข้มแข็งสู่การนำความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจของภูมิภาคและประเทศอย่างยั่งยืน”

View :2007