Archive

Posts Tagged ‘Cloud Computing’

ไอดีซี ชี้ Managed Print Services กำลังมาแรงและจะเป็นบริการใหม่ในกลุ่ม managed services ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น

October 13th, 2010 No comments

ไอดีซี สำรวจพบว่า บริการ managed print sevices (MPS) กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และกำลังจะเพิ่มจุดสนใจไปยัง “การให้บริการที่ครบวงจร” มากยิ่งขึ้น ผู้ค้าหลายราย เริ่มที่จะขยายการให้บริการเหล่านี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการให้บริการผ่านระบบของตนเองหรือผ่านพันธมิตรธุรกิจ เพื่อให้บริการ MPS นี้สามารถเจาะตลาดที่กว้างขึ้น

จากปัจจัยหนุนในเรื่องของเทคโนโลยีการให้บริการใหม่ ๆ อย่างเช่น การให้บริการผ่านกลุ่มก้อนเมฆ (Cloud) ไอดีซี เชื่อว่า ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น กำลังมองหารูปแบบบริการที่มีการควบรวมบริการย่อย ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ ปัจจุบันนี้รูปแบบการบริการที่ตลาดกำลังต้องการจะเป็นลักษณะการเลือกผู้ให้บริการที่สามารถให้บริการแบบควบรวม ทั้งบริการด้าน information technology outsourcing (ITO) และ business process outsourcing (BPO) พร้อมๆ กัน โดยจะทำสัญญาการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายเดียว จากแนวโน้มดังกล่าว ไอดีซี เชื่อว่า ภายในไม่ช้า บริการ MPS ก็จะถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเพิ่มเติมในสัญญาบริการ

สุจิตรา นารายัน ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาด IT Services ประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เรากำลังค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นฐานของ MPS เกิดขึ้นซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลักๆ คือ 1. MPS เริ่มที่จะมีการกล่าวถึงกันมากขึ้นที่เป็นรูปแบบของ managed services และบรรดาผู้บริหารทั้งหลายก็กำลังให้ความสนใจ 2. สิ่งนี้จะไม่ใช่บริการที่คุณซื้อพ่วงมากับฮาร์ดแวร์อีกต่อไป แต่กลายเป็นว่าฮาร์ดแวร์จะถูกพ่วงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายใต้รูปแบบสัญญาการบริการ และ 3. การมุ่งไปสู่การให้บริการที่มีการแข่งขันทางด้านราคาได้ ซึ่งจะมีการมุ่งความสนใจไปยังช่องทางต่าง ๆ ที่จะให้บริการ MPS เฉพาะ ช่องทางเหล่านี้จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ตนเองจะมีความสามารถที่จะให้บริการได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เป็นแค่เพียงส่งมอบและคอยให้บริการตามที่ได้รับแจ้งเท่านั้น

จากข้อมูลสำรวจล่าสุดของไอดีซี ตลาด MPS ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสะสมโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 17 ในช่วงปี 2553-2557 มูลค่าตลาดจะถึง 530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 และมากกว่า 990 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2557

ไอดีซี คาดว่า ตลาดในประเทศจีน และอินเดียยังคงเป็นตลาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตสูง สุจิตรา กล่าวเสริมว่า บรรดาองค์กรต่าง ๆ ในประเทศจีน และ อินเดียกำลังเิริ่มที่จะเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องมีโซลูชั่นในการบริหารงานเอกสาร โดยเฉพาะ MPS กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบริการนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบโครงสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด (infrastructure optimization) การลดการใช้พลังงาน และ การลดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ สำหรับประเทศ ออสเตรเลีย เกาหลี และ สิงค์โปร์ คาดว่าตลาดก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนในเรื่องของการนำเทคโนโลยี และ โซลูชั่นใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้งานในองค์กรอย่างเช่น cloud green และ mobility

MPS ยังคงได้รับแรงหนุนจากความต้องการขององค์กรต่าง ๆ ที่กำลังค้นหาเป้าหมายใหม่ที่จะมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับตนเองและต้องการเอ้าซอร์สงานหรือโซลูชั่นด้านการพิมพ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการทำให้ MPS ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวบริการเอง ในฐานะที่เป็นโซลูชั่นที่ช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและเป็นรูปแบบบริการที่สามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าให้กับผู้ที่ต้องการใช้บริการได้ ในภาวะตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้

สุจิตรา สรุปตอนท้ายว่า “เทคโนโลยี Cloud ได้สร้างฐานที่สมบูรณ์สำหรับการเป็นรูปแบบบริการที่ลดค่าใช้จ่าย สำหรับการดำเนินธุรกิจ MPS ที่ให้บริการบน Cloud นั้น จะเป็นโซลูชั่นที่ไม่มีอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำหรับองค์กรต่าง ๆ ด้วยการคิดอัตราค่าบริการต่อครั้งตามสภาพการใช้งานของธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์สำหรับงานพิมพ์ต่าง ๆ บริการนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงการส่งพิมพ์งานผ่านเทคโนโลยี cloud แต่ยังรวมถึงการสร้างความมั่นใจในการให้บริการด้วยการกำหนดสัญญาการบริการที่ชัดเจน มีแผนงานรองรับที่ชัดเจนว่าจะช่วยลดความเสี่ยงหากธุรกิจต้องหยุดชะงัก และ มีคำมั่นสัญญาจากผู้ให้บริการที่จะส่งมอบบริการได้ตามข้อตกลง

View :1548
Categories: Press/Release Tags: ,

ทรูไอดีซี ร่วมกับ ซอฟต์แวร์พาร์ค จัดอบรมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง

October 4th, 2010 No comments

บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ ทรูไอดีซี ร่วมกับ ซอฟต์แวร์พาร์ค เดินหน้าโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง () จัดอบรมและฝึกฝนการใช้และพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง ให้หลากหลายมากขึ้น โดยทรูไอดีซีนำทีมผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรให้ความรู้และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมสนับสนุนบริการเซิร์ฟเวอร์เสมือนบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Virtual Server On ) พร้อมบริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Virtual Storage On ) และบริการระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Virtual security on Cloud) ฟรีตลอดระยะเวลาของโครงการ

View :1436
Categories: Press/Release Tags:

ฟูจิตสึชูธีม “One Fujitsu” สร้างมาตรฐานหนึ่งเดียวทั่วโลก

September 6th, 2010 No comments

เสริมแกร่งเทคโนโลยี และทีมงาน พร้อมเดินเกมส์รุกตลาด “

ฟูจิตสึตั้งธงปี 2553 มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทั่วโลกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ภายใต้ธีม “One ” วางแผนดึงศักยภาพทีมงานผนึกกำลังขยายฐานธุรกิจสู่ลูกค้าทุกระดับและทุกที่ทั่วโลก ทั้งเดินหน้าเปิดเกมส์รุก “Cloud Computing” เชื่อถึงวันนี้…เทคโนโลยีและตลาดพร้อมเปิดรับโลกของ “Cloud”

นายมาซากิ คาจิยามา ประธานบริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด เผยตัวเลขผลประกอบการของฟูจิตสึทั่วโลกตามปีงบประมาณ 2552 (เมษายน 2552 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2553) มียอดขายรวม 50,317 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท มีผลกำไรสุทธิโตกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท โดยสามารถจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงเท่าตัว ขณะที่ในประเทศไทยยังสามารถรักษาตัวเลขผลประกอบได้เทียบเคียงปี 2551 คือ ประมาณ 2,200 ล้านบาท แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากหลายประการ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการวางแผนกลยุทธ์หลักสำคัญ ได้แก่ การปรับโครงสร้างและสายงานการดำเนินธุรกิจให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น, การเน้นสร้างผลกำไรในกลุ่มที่เป็นธุรกิจหลัก (Core Business) ขององค์กร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า

“สำหรับเป้าหมายธุรกิจในปี 2553 จะเน้นการขับเคลื่อนองค์กรฟูจิตสึทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาค เพื่อมุ่งสู่ความเป็นองค์กรระดับโลก (Global Company) ตลอดจนพัฒนาบริการทางธุรกิจใหม่ ๆ (Create new businesses services) ในการตอบรับความต้องการของตลาด รวมทั้งเติบโตเคียงคู่ไปกับลูกค้าร่วมสร้างความสำเร็จทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต ภายใต้พันธสัญญาใหม่ “shaping tomorrow with you” โดยยึดหลักการทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจของลูกค้าและแก้ปัญหาอย่างตรงจุด การรับฟังมุมมองลูกค้าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน หรือพัฒนาบริการทางธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจฟูจิตสึในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ”

สำหรับกลยุทธ์หลักสำคัญในการผลักดันองค์กรสู่ความเป็น Globalization นายมาซากิ กล่าวว่า ฟูจิตสึจะเน้นความสำคัญในเรื่องความร่วมมือระหว่างทีมงานและพันธมิตรธุรกิจในการนำเสนอเทคโนโลยี โซลูชัน หรือบริการคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกันไปสู่ลูกค้าทุกภูมิภาคทั่วโลก (Unified Approach) ภายใต้การแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละประเทศ, การเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นทิศทางเดียวกัน ภายใต้ธีม “One Fujitsu” ในการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ขณะเดียวกัน ต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างในแต่ละประเทศ (Think global, act local), การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าไปอย่างกว้างขวาง หรือรุกเข้าไปในตลาดที่มีศักยภาพให้ในการเติบโตอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ฟูจิตสึยังเน้นการสนับสนุนให้ทุกภูมิภาคต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะของการสร้างสังคมความรู้ (Human-centric intelligent society) ผ่านการสั่งสมประสบการณ์ที่มีคุณค่า ซึ่งฟูจิตสึได้รับจากการทำงานร่วมกับลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ หรือระหว่างพนักงานด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคและทั่วโลก

“สำหรับประเทศไทยได้รับเอาทิศทางการดำเนินธุรกิจมาปรับใช้ โดยทางฟูจิตสึมีการวางแผนที่จะขยายฐานลูกค้าในประเทศไทยจากเดิมซึ่งเน้นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่ ไปยังกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูง ทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็น Key Account ใหญ่ เช่น กลุ่มโทรคมนาคม, ธนาคาร, ธุรกิจสุขภาพ, ราชการ และตลาดบริการอื่น ๆ ควบคู่ไปกับลูกค้าในธุรกิจขนาดกลาง (Mid-market) ให้มากยิ่งขึ้น, การเพิ่มความแข็งแกร่งในการทำตลาดด้านเทคโนโลยีทางด้านเวอร์ชวลไลเซชัน และกรีนไอทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการใช้พลังงาน และการจับมือร่วมกับคู่ค้าในการนำเสนอโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งรวมถึงการผลักดันในเรื่องของ Cloud Computing” นายคาจิยามา กล่าว

นายมาซายูกิ คูนิมารุ ผู้บริหารสายงานบริการด้านแอพพลิเคชัน ประจำภูมิภาคอาเซียน, ฟูจิตสึ เอเซีย กล่าวถึงการพัฒนาธุรกิจใหม่ว่า ฟูจิตสึมีการกำหนดทิศทางและการจัดสรรงบวิจัยพัฒนาโซลูชันใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับลูกค้า โดยในปี 2553 นี้ ฟูจิตสึได้เน้นความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ด้านไอทีชั้นนำมากขึ้นในการนำเสนอโซลูชันที่หลากหลาย และขยายไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาโซลูชันเพื่อรองรับธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Telco, ความร่วมมือกับ SAP, Salesforce.com ในการนำเสนอโซลูชันทางด้าน ERP, CRM โดยเฉพาะการผลักดันในเรื่องของ Cloud Computing เพื่อครอบคลุมการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่ อินฟราสตรัคเจอร์ (Infrastructure as a Service), แอพพลิเคชั่น (Application as a Service), การบริหารกระบวนการทางธุรกิจ (Activity as a Service) และการจัดการข้อมูล (Content as a Service) ซึ่งในปีนี้ ฟูจิตสึได้วางแผนจัดสรรงบพัฒนาธุรกิจด้าน Cloud Computing ไว้สูงถึง 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 54%

“สิ่งที่ทำให้ฟูจิตสึแตกต่างจากผู้ให้บริการไอทีรายอื่น ๆ คือ การที่เราดึงทรัพยากรและศักยภาพของทีมงานทั่วโลก และจากภูมิภาคต่าง ๆ มาร่วมกันใช้ให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ เรามีการจัดสรรงบประมาณด้านวิจัยพัฒนาถึง 5.3%, มีการฝึกอบรมพนักงานให้มีความชำนาญการอย่างต่อเนื่องในธุรกิจปัจจุบัน และอนาคต เช่น การตั้งเป้าการอบรมเรื่อง Cloud ให้ได้ถึง 5,000 คน ในปี 2555 เป็นต้น สำหรับเฉพาะกลุ่มประเทศในแถบอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย เรามีบุคลากรในทุกสายงานนับรวมกว่า 2,500 คน มีทีมพัฒนาแอพพลิเคชัน กว่า 400 คน ที่พร้อมรองรับการให้บริการลูกค้า ซึ่งกว่า 150 คน เป็นทีมที่พร้อมให้บริการในประเทศไทย” นายคูนิมารุ กล่าวในที่สุด

View :1538