Archive

Posts Tagged ‘e-ASEAN’

สรอ.เตรียมผลักมาตรฐาน e-GOV เข้าสู่สากล หวังเกิดประสิทธิภาพรองรับอีอาเซียน

December 27th, 2011 No comments

รายงานข่าวจากการสัมมนาเรื่อง “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล และพิธีมอบประกาศนียบัตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑” จัดโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือสรอ. โดยมีนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน, ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สรอ., รศ.ดร.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เสนอข้อหารือจากผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้บริหารไอทีของภาครัฐจำนวน 40 คน

โดยได้เสนอแนวทางร่วมกัน 3 แนวทางคือ 1.แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) 3.การเตรียมความพร้อมในเรื่อง โดยได้มีข้อสรุปเบื้องต้นในการทำงานปรับปรุงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันออกมาหลายด้านประกอบด้วย

การทำงานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยไอทีนั้น ควรจัดให้มีมาตรฐานตั้งแต่ Font Code หรือรหัสตัวอักษร ซึ่งจำเป็นต้องเลือกว่าแบบใดมีความเหมาะสม และเพียงพอที่จะใช้เป็นมาตรฐานของหน่วยงานรัฐต่อไป ชุดคำสั่งข้อมูล หรือ Data Set ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนั้น คือ ชุดข้อมูลมาตรฐาน หรือ standard data set ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ปัจจุบันจะมีชื่อกลาง, วันเดือนปีเกิด มีวิธีการเขียนหลายแบบ dd/mm/yy, dd/mm/yyyy ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. เป็นต้น Minimal data set หรือการเก็บข้อมูลขั้นต่ำเช่น การเก็บ ชื่อ-นามสกุล, ส่วนสูง, อายุ, เพศ, วันเดือนปีเกิด โดยอาจจะเก็บ 5 อย่างเป็นอย่างน้อย เป็นต้น รวมถึง IT auditing หรือการตรวจสอบทางด้านไอที เนื่องจากข้อมูลในระบบไม่สามารถรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นถูกต้องแน่นอน ดังนั้นข้อมูลภาครัฐควรมีฝ่ายตรวจสอบหรือ Audit ภาครัฐ และอื่นๆ เช่น การออกใบอนุญาต ประกาศนียบัตร ฯลฯ ทั้งหมดนี้ต้องถูกกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้เกิดระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นได้อย่างรวดเร็วและถาวร

ในด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารนั้น มีการหารือกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องระบบเครือข่าย หรือ Networking ภาครัฐจะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ มีความแน่นอนของระบบไม่มีปัญหาระบบล่ม ความเร็วที่ให้บริการต้องมีมาตรฐาน ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้น ปัญหาที่ถูกระบุมากที่สุดคือ การตั้งราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างระบบฮาร์ดแวร์ ที่หน่วยงานรัฐมักตั้งราคากลางที่ค่อนข้างสูง เพื่อที่จะได้เทคโนโลยีที่ไม่ล่าช้า ซึ่งที่ประชุมได้หารือแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ให้ราคากลางถูกลงเหมือนกับการซื้อโทรทัศน์ให้ได้ในอนาคต รวมถึงการลดการซื้อฮาร์ดแวร์ลง เช่น ลดการซื้อฮาร์ดดิสก์ด้วยการไปใช้บริการผ่านเครือข่ายกลุ่มเมฆ หรือ Cloud Computing อย่างบริการของ Drop Box ในประเทศไทยแทน

ในด้านซอฟต์แวร์นั้น ที่สัมมนา“ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล และพิธีมอบประกาศนียบัตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑” ได้หารือตรงกันว่า จำเป็นที่ต้องเริ่มมีการบังคับมาตรฐานบางอย่าง เช่น การสนับสนุนให้ภาครัฐให้ซอฟต์แวร์แบบเปิด หรือ Open Source อย่างจริงจัง ในแง่ของ Front Office หรือระบบส่วนหน้าของการให้บริการภาครัฐ เช่น ระบบทางด้านการศึกษาควรต้องมีให้ใช้กันทั่วประเทศ, ระบบ e-Health ส่งข้อมูลคนไข้ต้องเกิดขึ้น, ID Card หรือบัตรประชาชนต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านี้

ทางด้าน Back office หรือระบบหลังบ้านของการให้บริการภาครัฐ ควรจัดทำซอฟต์แวร์ด้าน Enterprise Resource Planning หรือ ERP ภาครัฐ เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับซอฟต์แวร์ต่างประเทศจำนวนมาก โดยในทางปฏิบัติจะให้แต่ละหน่วยเข้ามาประมูลแต่ละโมดูลทำในรูปแบบเดียวกันที่สามารถนำมาเชือมโยงหรือ Integrate กันได้และในระบบต่างๆ เช่น MIS, EIS, BI เป็นต้น

สำหรับระบบฐานข้อมูล หรือ Database ควรกำหนดมาตรฐานด้านข้อมูล เรื่องของ IT Audit หรือการตรวจสอบ, ความเชื่อมโยงของฐานข้อมูล Database ถ้าจะเป็นผลลัพธ์ที่ดีต้องสามารถเชื่องโยงกันได้ ปัจจุบันภาครัฐมีระบบสำมะโนครัวของกระทรวงมหาดไทย ทางมหาวิทยาลัยที่ต้องการใช้งานก็สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ แต่ควรให้มีมาตรฐานการบังคับใช้ และแผนการสนับสนุนให้ใช้ทั่วประเทศ และมีระบบรักษาความปลอดภัยเป็นเครื่องมือกำกับ

ส่วนทางด้านบุคลากร หรือ Peopleware นั้น ควรมี career path training roadmap หรือแนวทางการสร้างบุคลากรทางด้านไอทีอย่างชัดเจน รวมถึงเส้นทางของอาชีพที่จะดำเนินต่อไปด้วย โดยจะต้องมีระบบ IT Literacy, IT Proficiency เป็นตัวสนับสนุนในระยะยาว นอกจากนั้นการให้บริการแก้ไขปัญหาและการสนับสนุนทางกฎหมายหรือ Service & Law ต้องถูกกำหนดเป็นแนวทางขึ้นมา ตั้งแต่การ Identify หรือระบุตัวบุคคล มี 1. สิ่งที่มีติดกาย เช่น ฟิงเกอร์ปริ้นส์ หรือลายนิ้วมือ, เรติน่าหรือม่านตา, สแกนกะโหลก, DNA 2. สิ่งที่เป็น เช่น รู้ชื่อพ่อ-แม่ 3. สิ่งที่ครอบครอง เช่น บัตรเครดิต ใบขับขี่ เป็นต้น ปัจจุบันแม้จะมี smartcard แต่ยังไม่สามารถใช้ได้ ระบบนี้ต้องทำให้ smartcard ใช้ได้ทุกอำเภอก่อน ส่วนกฎหมายนั้นยังต้องการลายเซ็น ยังต้องมีกระดาษ เรื่องของ digital sign. หรือลานเซ็นแบบดิจิตอลต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรม

ทางด้าน e-ASEAN นั้นรัฐบาลต้องเตรียมพร้อมทางด้าน e-service หรือการให้บริการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยใช้ เครื่องมือทางด้าน ICT ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อนำไปสู่ e-ASEAN แต่จำเป็นต้องผ่าน e-government ไปให้ได้ก่อน

งานสัมมนาที่จัดขึ้น มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจอาทิ “การบริหารจัดการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา” การเสวนา “กรณีศึกษา การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑

View :1596