Archive

Posts Tagged ‘E-COmmerce’

ก.ไอซีที ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

August 16th, 2012 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “ส่งเสริม ไทยก้าวไกลสู่ ” ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง 10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ ประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทย มีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน

“ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจำนวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาด และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” นายวรพัฒน์ กล่าว

ด้าน นางสมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทำการสำรวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น 608,587 ล้านบาท ในการสำรวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว

ดังนั้น จึงได้มีการดำเนินการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ 1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ตลอดจนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

View :1668

ก.ไอซีที ฝึกอบรมเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการขายสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

May 4th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการ เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการ e-Commerce เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ถือ เป็นนโยบายสำคัญด้านหนึ่งของรัฐบาลที่เกิดจากความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสร้างรากฐานที่สำคัญให้กับชุมชนโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมาช่วยในการทำธุรกิจและการค้าขายบนโลกออนไลน์โดยสร้างร้านค้า สินค้า ของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและสามารถสั่งซื้อได้จากทั่วประเทศ

“ศักยภาพของสินค้า OTOP บนตลาด e-Commerce นี้ ยังมีโอกาสอีกมาก โดยหากพิจารณาจากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้สำรวจมูลค่าพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่ามูลค่าการซื้อขายมีเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึงห้าแสนกว่าล้านบาท แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ OTOP จะพบว่ามีเพียง 4.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการขายแบบ e-Commerce ซึ่ง แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสในการขยายตลาดส่วนนี้ได้อีกมาก ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การสร้างรายได้ของชุมชน พึ่งพาตนเองได้ โดยโครงการฯ นี้ตั้งเป้าหมายในการนำ e-Commerce มาช่วยในการขยายตลาดและเชื่อมโยงไปสู่การจัดส่งและการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว ครบวงจร” นายวรพัฒน์ กล่าว

ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวของโครงการฯ กระทรวงฯ จึงได้มีการจัดการฝึกอบรมในลักษณะ Train the Trainer แก่ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่สนใจ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการฯ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และเชิญผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่สนใจผลักดันสินค้า OTOP ไป สู่การค้าบนโลกออนไลน์เพื่อเปิดตลาดให้กว้างขึ้น รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่ร่วมลงนามในการสนับสนุนด้านวิทยากร จาก บมจ.ทีโอที บจ.ไปรษณีย์ไทย และบมจ. ธนาคารกรุงไทย ในการสร้างความเข้าใจตั้งแต่ เรื่อง การจัดการระบบธุรกิจ e-Commerce ระบบ การชำระเงิน รวมไปถึงระบบการส่งและติดตามสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ถ่ายทอด หรือเป็นที่ปรึกษาในการให้ความรู้ แนะนำ ผู้ประกอบการในพื้นที่ของตนเองได้

“การ ฝึกอบรมนี้ จะมีการจัดอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในแต่ละภาค โดยครั้งแรกนี้เป็นการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สนใจ รวม 80 ราย เพื่ออบรมความรู้ในการดำเนินการธุรกิจแบบ e-Commerce และ ให้คำแนะนำโดยหน่วยงานที่ร่วมกันผลักดันโครงการฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับชำระเงินโดยวิธีหักบัญชีของธนาคาร การเตรียมการห่อหุ้มเพื่อฝากส่งสินค้าเข้าสู่ทางไปรษณีย์ให้เหมาะสม การจัดการธุรกิจ e-Commerce ของร้านค้า OTOP บน เว็บไซต์ TOT e-Market เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ได้นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อใน ชุมชน รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการใน ท้องถิ่นที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต่อไป” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1500
Categories: Press/Release Tags: , ,

ทรู ดิจิตอลฯ เผยลุคใหม่ weloveshopping เปิดตัวโซนใหม่ GroupBuy ซื้อชิ้นเดียวราคาเหมือนซื้อยกโหล

May 4th, 2011 No comments

เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งล้ำสมัย เอาใจโซเชี่ยลเทรนด์ เลือกช้อป แชร์ สะดวกง่ายยิ่งขึ้น ทั้งออนไลน์ โมบายล์ ทีวี

ทรู ปรับโฉม ดึงกระแสโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค สร้างประสบการณ์ใหม่เอาใจนักช้อปสุดๆ เลือกซื้อสินค้ากว่า 5 ล้านรายการ ทั้งอัพเดทสินค้าใหม่ยอดนิยม หรือแชร์ต่อเพื่อนได้ทันที พร้อมแนะนำโซนใหม่มาแรง GroupBuy ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ ซื้อยกกลุ่ม ” รวมกลุ่มซื้อสินค้า และบริการราคาพิเศษสุด ให้ซื้อสินค้าชิ้นเดียวในราคาเหมือนซื้อยกโหล ช้อปสะดวก ง่ายยิ่งขึ้น ทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกช่องทางคอนเวอร์เจนซ์ ทั้งออนไลน์ .com มือถือสมาร์ทโฟนผ่านเว็บไซต์ m..com หรือเลือกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่บนไอโฟนและแอนดรอยด์ และง่ายยิ่งขึ้นสำหรับมือถือทั่วไปผ่านระบบอัตโนมัติ เพียงกด *872# เลือกตามเมนู หรือโทร *872 ช้อปปิ้งผ่านระบบอัตโนมัติ พร้อมขยายช่องทางใหม่ในรายการโทรทัศน์ Gsquare ช่อง ทรูวิชั่นส์ และ Internet TV บนเว็บ Truelife.com รวมถึงนิตยสาร Catalog สั่งซื้อผ่าน Call Center 02900 9500

นายสรรเสริญ สมัยสุต ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงาน Web Business บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า การปรับโฉมและรูปแบบใหม่ของ Weloveshopping ครั้งนี้ เป็นไปตามเทรนด์ของคนยุคปัจจุบัน ที่กระแสโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คเข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยปรับให้สามารถอัพเดทสินค้าใหม่ สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม และสินค้าที่ได้รับการแนะนำได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา ขณะเดียวกันก็ยังแชร์สินค้าที่ชื่นชอบไปยังกลุ่มเพื่อนที่มีไลฟ์สไตล์เดียวกันในสังคมอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเปิดโซนใหม่ GroupBuy ภายใต้แนวคิด “ ซื้อยกกลุ่ม ” เปิดให้ชวนเพื่อน หรือแชร์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมกลุ่มช้อปสินค้าและบริการในปริมาณมากให้ครบดีล เพื่อรับสินค้าราคาถูกเหมือนซื้อของยกโหล โดยมีสินด้าดีลพิเศษใน Weloveshopping ให้เลือกถึง 50 ดีล ช้อปได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคปัจจุบันที่ต้องการช้อปปิ้งทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ จึงขยายช่องทางเพิ่มจากเว็บไซต์ Weloveshopping.com สู่ช่องทางคอนเวอร์เจนซ์ใหม่ ทั้งมือถือสมาร์ทโฟนผ่านเว็บไซต์ m.weloveshopping.com หรือเลือกดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นใหม่บนไอโฟนและแอนดรอยด์ และมือถือทั่วไปผ่านระบบอัตโนมัติ เพียงกด *872# เลือกตามเมนู หรือโทร *872 ช้อปปิ้งผ่านระบบอัตโนมัติ รายการโทรทัศน์ Gsquare ช่อง ทรูวิชั่นส์ 67 และ Internet TV บนเว็บ Truelife.com รวมถึงนิตยสาร Weloveshopping Catalog สั่งซื้อผ่าน Call Center 02900 9500

“มั่นใจว่า การปรับโฉมและขยายช่องทางของ Weloveshopping ครั้งนี้จะเพิ่มความสะดวก ง่ายดาย ตรงใจนักช้อปได้เลือกซื้อสินค้าคุณภาพ ที่มีให้เลือกสรรกว่า 5 ล้านรายการ ในราคาพิเศษแล้ว ยังเพิ่มโอกาสขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้เจ้าของร้านค้าที่มีอยู่มากกว่า 250,000 ร้าน สามารถนำเสนอสินค้าสู่สายตากลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางใหม่ อาทิ มือถือ ทีวี ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าชมผ่านเว็บไซต์ Weloveshopping.com ร่วม 4 ล้านคนต่อเดือน อีกด้วย” นายสรรเสริญ กล่าวสรุป

View :1564

พฤติกรรมการซื้อคนไทยเริ่มเปลี่ยน ตลาดดอทคอมเผยการค้าออนไลน์โตทะยานแตะ 1,000%

January 4th, 2011 No comments

เว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์แนวหน้าของเมืองไทย เปิดเผยตัวเลขการเติบโตของวงการการค้าออนไลน์ หรืออีคอมเมิรซ์ ของทางเว็บไซต์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยโมเดลการค้าพรีเมี่ยมมอลล์ หรือ ห้างสรรพสินค้าออนไลน์รูปแบบใหม่เติบโตขึ้นเกือบ 1,000% หลังจากที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา สินค้าแฟชั่น, นาฬิกาและคอมพิวเตอร์ คือสินค้าขายดี โดดเด่นบนโลกออนไลน์ โดยบัตรเครดิตกลายเป็นช่องทางที่คนนิยมชำระเงินผ่านทางออนไลน์มากที่สุดในขณะนี้ สอดคล้องกับตัวเลขผลสำรวจของทาง เนคเทคพบคนไทยนิยมช๊อปออนไลน์ 57.2% เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมคนไทย เปลี่ยนมาซื้อออนไลน์มากขึ้น และผู้ประกอบการเริ่มหันมาค้าขายผ่านช่องทางนี้มากขึ้นเช่นกัน

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากการร่วมกับทาง บริษัท ราคุเท็น (Rakuten.co.jo) ยักษ์ใหญ่ อีคอมเมิรซ์อันดับ 1 จากญี่ปุ่น ทาง TARAD.com ก็ได้มีการปรับเพิ่มโมเดลการค้าขายออนไลน์รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “พรีเมี่ยมมอลล์” ที่เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย “โดยหลังจากได้เปิดบริการมาให้ประมาณ 1 ปี พบว่า ตัวเลขยอดขายและการเติบโตเกือบ 1,000% หลายๆ ร้านค้าที่เข้ามาเปิดร้านขายกับพรีเมี่ยมมอลล์สามารถเพิ่มยอดขายได้หลายร้อยเปอร์เซนต์ ภายในไม่กี่เดือน” ภาวุธกล่าว โดยหมวดหมู่สินค้าที่ขายดีได้แก่ 1. เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น 2. นาฬิกาและจิวเวลลี่ 3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 4. โทรศัพท์มือถือ และ 5. วีดีโอเกมส์

สิ่งทีน่าสนใจที่สุดคือ พฤติกรรมของผู้ซื้อเริ่มเปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนการซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่เกือบ 80-90% จะเป็นการจ่ายเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่าน เอทีเอ็ม (ATM) แต่หลังจากระบบ พรีเมี่ยมมอลล์เปิดตัวพบว่าผู้ซื้อนิยมชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์คนไทย ที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตาม “แผนการปฏิวัติวงการอีคอมเมิรซ์ไทย” ที่ได้วางเอาไว้ นอกจากนี้ยังพบว่า การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เกือบ 70% เป็นผู้สั่งที่มาจากต่างจังหวัดเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงความต้องการของคนไทยในจังหวัดอื่นๆ เริ่มมีความพร้อมและพฤติกรรมการซื้อของเริ่มเปลี่ยนไปซื้อของทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่า จังหวัดชลบุรี, เชียงใหม่, สงขลา, นครราชสีมา และ ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีการสี่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากที่สุดเรียงลำดับ

จากแนวโน้มทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเติบโตของการซื้อของบนโลกออนไลน์ของ TARAD.com เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจประชากรเน็ตของไทยปี’53 ของเนทเทคพบว่า คนไทยเคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากปี 2552 มี 45.9% แต่ปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 57.2% แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป “ในปี 54 จะเป็นปีที่ธุรกิจที่เข้าสู่การค้าออนไลน์อีคอมเมิรซ์จะเพิ่มมากขึ้น และเริ่มขยับและปรับตัวจากเว็บไซต์ในรูปแบบแค็ตตาล๊อกแสดงภาพและข้อมูลธรรมดาๆ เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นเว็บไซต์ที่สามารถค้าขายและชำระเงินออนไลน์อย่างบัตรเครดิตได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้ทันที”

สำหรับอนาคตการซื้อขายทางออนไลน์ของปี 2554 แนวโน้มของโซเชี่ยลคอมเมิรซ์ หรือการค้าขายผ่านทางโซเชี่ยลมีเดียกำลังจะมาแรง และจะเป็นช่องทางที่จะช่วยทำให้การค้าบนโลกออนไลน์เป็นไปได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเริ่มเข้ามาบทบาทกับการซื้อขายสินค้าของคนไทยที่ใช้บริการโซเชียลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ และจะเติบโตขึ้นอย่างไปพร้อมๆ กับตัวเลขการขยายตัวของคนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งตอนนี้คนไทยใช้เฟสบุ๊กเกือบ 7 ล้านคนหรือประมาณ 10% ของประชากรประเทศไทย ภาวุธกล่าว

View :1657

ก.ไอซีที ร่วมผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่าน ระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) เป็น โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า หรือ งานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้ อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

ด้าน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว

สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ใน รูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ
“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้ แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1655
Categories: Press/Release Tags: , ,