Archive

Posts Tagged ‘Electronic Design’

BOI, NSTDA และ TESA ร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษา รุกหน้าพัฒนาบุคลากรทางด้าน Electronic Design

August 15th, 2013 No comments

Bหวังชูไทย เป็นอุตสาหกรรมฐานความรู้แห่งแรกของ AEC เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และสร้างรายให้กับประเทศ

บีโอไอ สวทช. และทีซา ผนึกกำลังกับ 6 มหาวิทยาลัย 7 ห้องปฏิบัติการ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ รุกหน้าพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ หวังยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้ (Knowledge Industry) เป็นแห่งแรกของ AEC เพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างมูลเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทย ตลอดจนดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ มาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมฐานความรู้เพิ่มมากขึ้น

o สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : บีโอไอ (Thailand Board of Investment: )
o สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ: สวทช. (National Science and Technology Development Agency : )
o สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: )

“อุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ () เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งยังเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ทำให้เกิดการนำผลผลิตไปใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งล้วนแต่เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างสูงในปัจจุบัน และทั้งสามอุตสาหกรรมดังกล่าว ยังมีมูลค่ารวมทั้งโลกสูงกว่าหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐ การเจริญเติบโตของบริษัทออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยกำลังถูกจำกัด เนื่องจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้กลายเป็นสาขาที่ขาดแคลน และขาดการสนับสนุนผลักดันจากทุกภาคส่วนทำให้นักศึกษารุ่นใหม่ไม่สนใจที่จะศึกษาทางด้านนี้ หันไปเลือกทำงานทางด้านที่เป็นไปตามกระแส และยังขาดการสนับสนุนในแง่เครื่องมือ และอุปกรณ์ ทำให้ไม่สามารถผลิตบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการทิ้งโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยเติบโตไปในทางธุรกิจฐานความรู้ไปอย่างน่าเสียดาย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างทรัพยากรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีจำนวนเพียงพอต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมนี้ในประเทศไทย จึงได้มอบหมายให้สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (Thai Embedded Systems Association: TESA) เป็นผู้บริหารโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความสามารถในระดับที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ โดยในเฟสที่ 1 เป็นโครงการนำร่อง ร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างห้องปฏิบัติการกับ 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ดีไซน์ เกทเวย์ จำกัด บริษัท โตโยต้า ทูโช อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไทยเจอเทค จำกัด โดยสนับสนุนให้ ห้องปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยภายใต้ความร่วมมือ 6 แห่ง 7 ห้องปฏิบัติการ ที่จะมีการลงนามความร่วมมือในวันนี้ ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบสมองกลฝังตัวและการออกแบบวงจรรวม (Embedded System and Integrated Circuits Design (ESID) Research Laboratory) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ห้องปฏิบัติการด้านการออกแบบวงจรรวมและระบบบูรณาการพลังงานต่ำ (Laboratory on Low-Power Integrated Circuits and Systems) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. Pervasive Integrated Circuits And Systems on Chip Laboratory (PICASSO) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
4. Embedded Systems Laboratory สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง
5. VLSI Design for Embedded System with Intelligence Laboratory (VDSI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. ห้องวิจัยระบบเครือข่ายสมองกลฝังตัวเพื่อความฉลาดแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat Embedded Networked System for Ambient Intelligence laboratory (TENSAI)
7. Ubiquitous Networked Embedded Systems Laboratory (UbiNES) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยแต่ละห้องปฏิบัติการ จะจัดอบรมเพิ่มเติม และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนิสิตนักศึกษา ได้หันหาสนใจ แสวงหาความรู้ และเพิ่มความสามารถทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 กิจกรรมมุ่งเน้น สร้างแรงบันดาลใจ ปูความรู้พื้นฐาน ชั้นปีที่ 3 เน้นความรู้รอบด้านสามารถประมวลรวบรวมความรู้ได้ พร้อมไปร่วมฝึกงานทำโจทย์จริง และชั้นปีที่ 4 เน้นความเชี่ยวชาญ ความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น และต่อยอดไปถึงการทำ โปรเจ็กต์จบร่วมกับบริษัท จากนั้นเมื่อใกล้จะเรียนจบ ก็จะมีการทำสัญญากับบริษัท แล้วเข้าไปฝึกอบรมเชิงทัศนคติ หรือ Boot Camp อีกด้วย” ผศ.อภิเนตร อูนากูล นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) กล่าว

พร้อมทั้งได้กล่าวเสริมต่อไปอีกว่า “ปัจจุบันมีบริษัทน้อยมากในประเทศไทยที่ใช้แนวทางของการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม (Electronic/IC Design) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินธุรกิจ ทั้งๆ ที่ บริษัทสามารถทำรายได้มากกว่า 3-5 ล้านบาทต่อคน โดยที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดทางด้านกำลังคน ทำให้บริษัททางด้านนี้ไม่สามารถขยายขนาดของธุรกิจขึ้นไปถึงระดับเกินหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐอย่างที่ไต้หวัน หรือเกาหลีใต้ทำได้ จำนวนวิศวกรออกแบบของบริษัทเหล่านี้ยังมีอยู่เพียงไม่เกินสามสิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า 10 คนต่อปี หากต้องการที่จะสร้างบริษัทออกแบบวงจรรวมที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก จำเป็นต้องเพิ่มกำลังคนให้ได้อย่างน้อย 30 คนต่อปี และภายใน 10 ปี บริษัทควรจะมีวิศวกรออกแบบอย่างน้อย 500 คน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการสร้างบุคลากรในภาคการศึกษาและห้องแล็บสำหรับการวิจัยพัฒนาทางด้านวงจรรวมไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

แม้ประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของโลก แต่หากพิจารณาถึงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จัดว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก ซึ่งทำให้มูลค่าเพิ่มที่ประเทศได้รับไม่สูงเท่าที่ควร อันเนื่องจากบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวมมีไม่เพียงพอ แตกต่างจากประเทศไต้หวันหรือเกาหลีใต้ ซึ่งมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวมอย่างชัดเจน จนประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเพียง 10 ปี การที่จะปรับฐานะของประเทศจากการเป็นผู้ใช้งานหรือรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มาเป็นผู้นำทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยศักยภาพของบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ และวงจรรวม ในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบดังกล่าว ยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ โทรคมนาคม และอิเล็กทรอนิกส์ ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดยานยนต์ ตลาดโทรคมนาคม และตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก หากประเทศไทยสามารถปรับตัวและเร่งสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบวงจรรวม เพื่อตอบสนองตามความต้องการของตลาดโลกได้ทัน ย่อมสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศได้”

View :1366
Categories: Technology Tags: , , ,