Archive

Posts Tagged ‘IDC’

ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก แต่งตั้งนาย ไมเคิล อาราเนต้า เป็นผู้บริหารประจำประเทศไทย

July 22nd, 2013 No comments

ไมเคิล อาราเนต้า

ไมเคิล อาราเนต้า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ประกาศแต่งตั้งนายไมเคิล อาราเนต้า เป็นผู้บริหารประจำประเทศไทย

นายอาราเนต้าจะทำหน้าที่ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับส่วนงานด้านงานวิจัย และงานขายของไอดีซี ประเทศไทย จากประสบการณ์ยาวนานของการเป็นนักวิเคราะห์ของไอดีซี และมีความโดดเด่นในเรื่องการบริหารลูกค้าเป็นอย่างดี เขาจะมุ่งเน้นในการส่งเสริมความสำคัญของไอดีซี ให้กับธุรกิจไอซีทีของประเทศไทย นอกจากนี้ นายอาราเนต้า ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการขยายฐานลูกค้าในตลาดเมืองไทยอีกด้วย

“ไมเคิลได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับ ประเทศไทย มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า เขาจะเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มกำลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศที่กำลังเติบโตอย่างประเทศไทย” กล่าวโดยนายจิม เซเลอร์ กรรมการผู้จัดการ ของ อาเซียน “ทักษะในการมองโอกาสทางธุรกิจและความเชี่ยวชาญที่พิเศษเฉพาะของเข้า จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ อีกทั้งประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อไอดีซีประเทศไทย เป็นอย่างยิ่ง และตัวเขาเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะให้ช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จอีกด้วย”

นอกจากนี้นายอาราเนต้ายังเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซด์ เอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้นำในการทำวิจัยและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมุมมองในประเด็นต่าง ๆ สำหรับสถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ บิ๊กดาต้า โซเชียล มีเดีย กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แนวคิดริเริ่มในการบริการงานลูกค้าหรือสร้างลูกค้า การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของผู้ค้า และการวางกลยุทธ์ด้านระบบหลักของธนาคาร

เกี่ยวกับไอดีซี

ไอดีซี บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และ คอนซูมเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เจาะลึก ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้าน ไอที ผู้บริหาร และ นักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ ทางธุรกิจ ปัจจุบัน ไอดีซี มีนักวิเคราะห์มากกว่า 1,000 คน ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่องเทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ และ แนวโน้ม ของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ ในแต่ละประเทศ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สะสมมามากว่า 48 ปี ไอดีซีได้ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสารเทคโนโลยีวิจัย และ จัดงานสัมมนาชั้นนำระดับโลก ค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ http://www..com

View :1578

Consumer and Commercial Printer Market Improves Despite Slower Government Spending, Says IDC

December 7th, 2012 No comments

Bangkok, December 6, 2012 – The overall multi function-printer (MFP) and single-function printer (SFP) market experienced a healthy quarter-on-quarter (QoQ) growth of 15.8% in 3Q 2012 after the market rebounded from a slower 2Q 2012. The total printer market registered a total of 528,827 units shipped in 3Q 2012 as compared to 456,799 units in the previous quarter. Out of the overall total, inkjet SFP and MFP registered a total of 368,723 units followed by laser SFP and MFP with a total of 143,434 units and Serial Dot Matrix (SDM) with 16,670 units shipped in 3Q 2012. (Refer to figure 1 for percentage share).

The inkjet SFP and MFP market registered a robust QoQ growth of 5.3% and 21.6% respectively with an overall shipment of 98,335 units for inkjet SFP and 270,388 units for inkjet MFP in 3Q 2012. The overall sales are contributed by the commercial based inkjet models as vendors have been constantly targeting the SOHO and SME sector with newer mid range inkjets offering more functionality with lower print cost.

On the other hand, the laser SFP and MFP market experienced a decent QoQ growth of 26.8% and 5.5% in 3Q 2012 respectively with an overall shipment of 90,051 units for laser SFP and 53,383 units for laser MFP in 3Q 2012.

Donovan Low, Associate Market Analyst for ’s Imaging, Printing and Document Solutions research in Thailand says, “The printer market has shown some signs of improvement after a slow quarter in 2Q 2012 as traditionally, the market is more dynamic in terms of overall corporate and consumer spending in 3Q 2012. However, there is not as much government spending on printers as anticipated before as much of the government’s budget being allocated elsewhere. The result is that most vendors have been targeting other verticals such as banking and manufacturing”.

“Although there is an increase in sales for consumer printers, particularly in the lower end inkjet and laser models, there has been indication that much of the consumer spending has been shifted to tablets and mobile devices which in recent times has seen an increase. On top of that the global economic issues have taken its toll and have caused uncertainty amongst consumers as retail sales are reportedly being the hardest hit”, adds Donovan.

FIGURE 1: 3Q 2012 Thailand HCP Shipments

Source: IDC Asia/Pacific Quarterly HCP Tracker, 3Q 2012

Note: Line printer shipments represented less than 1.0% of the total HCP market in 3Q 2012.
As the slower period approaches again, the printer market is affected by the slowdown especially in the retail market as well as fewer corporate and government projects kicking off. However, the government announcement to lower corporate taxes from 30% to 23% will likely help to boost the commercial printer market in 2013. IDC expects several slow months ahead especially toward the end of the year with a forecast of 12.7% decline for the rest of 2012.

View :1229
Categories: Press/Release, Technology Tags:

ไอดีซีระบุตลาดเครื่องพิมพ์ไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้

July 8th, 2012 No comments

ไอดีซีเปิดเผยผลการวิจัยตลาดเครื่องพิมพ์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยตลาดในภาพรวมนั้นฟื้นตัวกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังจากชะลอตัวลงเพราะสถานการณ์อุทกภัยที่ทำให้การลงทุนภาครัฐ ภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวในช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งยอดจัดส่งเครื่องพิมพ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีถึง 480,000 เครื่อง คิดเป็นการขยายตัวในอัตรา 18.1% เมื่อเทียบกับยอดส่งมอบที่มีเพียง 407,000 เครื่องเท่านั้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2554

นายโดโนแวน โลว์ นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดเครื่องพิมพ์ประจำไอดีซีประเทศไทยระบุว่า “ตลาดสินค้าที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคอย่างเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท และ เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมัลติฟังก์ชันเครื่องพิมพ์ฟื้นกลับมามีการเติบโตเป็นบวกอีกครั้ง โดยขยายตัว 11.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ซึ่งมีการเติบโตติดลบ ส่วนยอดจัดส่งนั้นอยู่ที่ 344,000 เครื่อง คิดเป็น 71.7% ของตลาดเครื่องพิมพ์รวมในไตรมาสแรกของปีนี้”

โดยการเติบโตในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ของตลาดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมัลติฟังก์ชันอยู่ที่ 10.7% และตลาดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทอยู่ที่ 13.2%

“ตลาดเครื่องพิมพ์เลเซอร์และเครื่องพิมพ์เลเซอร์มัลติฟังก์ชันเองก็ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยมียอดจัดส่งเพิ่มขึ้น 46.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โครงการต่างๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับบริการจัดการด้านงานพิมพ์ (managed print services – MPS) เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวในอัตราที่สูงเช่นนี้ นอกจากนี้โครงการจัดซื้อต่างๆ ที่ล่าช้ามาจากปลายปีที่แล้วเพราะน้ำท่วม ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดด้วย”

ตลาดเครื่องพิมพ์เลเซอร์มัลติฟังก์ชันในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ขยายตัว 33.9% และเครื่องพิมพ์ตลาดเลเซอร์ขยายตัว 55.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

“โดยรวมถือว่าตลาดเครื่องพิมพ์ในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีปัจจัยภายนอกเช่นน้ำท่วมเข้ามาชะลอตัวบ้างก็ตาม โดยในปัจจุบันนั้นผู้บริโภคจะยังคงอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา ในขณะที่ผู้ผลิตจะยังคงพยายามนำเข้าสินค้ารุ่นใหม่ๆ และนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อทั้งจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ” นายโดโนแวนเสริม

ภาพ 1: ยอดจัดส่งเครื่องพิมพ์ในประเทศไทย ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2555

ที่มา: Asia/Pacific Quarterly HCP Tracker, 1Q 2012
การฟื้นตัวของธุรกิจต่างๆ จากภาวะอุทกภัย ประกอบกับปริมาณการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจะนำไปสู่โครงการจัดซื้อใหม่ๆ ในขณะเดียวกันโครงการจัดซื้อเดิมที่ถูกระงับหรือชะลอไว้ก่อนหน้านี้ก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาดำเนินต่อเช่นกัน ที่สำคัญการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ ไอดีซีคาดการณ์ว่าปัจจัยบวกเหล่านี้จะทำให้ตลาดเครื่องพิมพ์ของไทยขยายตัวได้ 5.4% ในปี 2555 นี้

View :1394

ไอดีซีฟันธง 2555 จะเป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายสำหรับวงการไอทีไทย

January 26th, 2012 No comments

คลื่นความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ที่ไหลบ่ารวมเข้ากับมหาอุทกภัย ได้ส่งผลกระทบใหญ่ต่ออำนาจการซื้อและการลงทุนในประเทศไทย นั่นทำให้ผู้ขายสินค้าและบริการด้านไอที ต้องเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น ในการรักษาระดับการเติบโตของรายได้ภายใต้สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทายในอุตสาหกรรมไอซีทีในปี 2555 อย่างไรก็ตามไอดีซียังคงเชื่อว่าระดับการลงทุนขององค์กรใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้ตลาดในช่วงครึ่งปีหลังพลิกกลับมาสดใสอีกครั้ง

โดยนายอรรถพล สาธิตคณิตกุล ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษา ( Asia/Pacific’s Research Manager for Cross products & Consulting) เผยว่า “ไอดีซีคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายและการลงทุนด้านไอทีจะได้รับแรงหนุนจากการผสมผสานกันของเทคโนโลยีและรูปแบบการประกอบธุรกิจใหม่ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากที่จะรักษาระดับการขยายตัวของตลาดไอซีที แต่ก็มีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นตลาดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ smart-devices, consumerization และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ cloud-computing” ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีแสดงให้เห็นว่าตลาดไอซีทีของไทยน่าจะสามารถเติบโตได้ถึง 10.4% โดยมีมูลค่าตลาด 1.68 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2555

ไอดีซีได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาวิจัยล่าสุด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการระดมสมองของนักวิเคราะห์ทั้งที่ประจำประเทศไทยและประจำภูมิภาค มาจัดทำเป็นงานวิจัยเรื่องการคาดการณ์ถึงแนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อทิศทางของอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทยโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การใช้จ่ายยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในอุตสาหกรรมไอซีทีของไทย

แม้ว่าสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะยังไม่สดใสนักแต่ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 การใช้จ่ายจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วนของไอซีที ไม่ว่าจะเป็นตลาด hardware software การบริการด้านไอทีหรือการบริการด้านโทรคมนาคม โดยจะเป็นอีกปีที่การเติบโตหลักมากจากฝั่ง hardware ซึ่งไอดีซีคาดการณ์ว่าตลาดรวมไอซีทีทั้งหมดของไทยจะเติบโต 10.4% ไปสู่ระดับ 1.68 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐได้

การใช้จ่ายด้าน Data จะเป็นพระเอกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ไอดีซีคาดการณ์ว่า บริการด้านข้อมูลไร้สาย (mobile data services) จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดบริการโทรคมนาคมในประเทศไทยเติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว 15.5% ไปอยู่ที่ระดับ 968 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริการยอดนิยมหนีไม่พ้นด้านมัลติมีเดียทั้งการท่องอินเทอร์เน็ต เข้าเว็บไซต์ ดูวิดีโอ และส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือ

Consumerization: นิยามใหม่ของไอที
ตัวเลขการคาดการณ์ล่าสุดของไอดีซีชี้ให้เห็นว่า ในปี 2555 smart-phone และ media-tablet จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการณ์ iOS และ android ยังคงได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากตลาดเนื่องจากมีฟีเจอร์ที่หลากหลายภายใต้อินเตอร์เฟซที่สวยงามใช้งานง่าย ซึ่งทำให้พนักงานในองค์กรได้เริ่มนำแกดเจ็ทเหล่านี้มาใช้ในที่ทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมาก็คือองค์กรต่างๆ ก็ต้องพยายามหาโซลูชันหรือเทคโนโลยีที่จะมารองรับการทำงานร่วมกับแกดเจ็ทที่มีหลากหลายขนาด และ หลากหลายระบบ ปฏิบัติการเหล่านี้ ไอดีซีคาดว่าโซลูชันที่มีแนวโน้มจะได้รับความนิยมที่สุดคือ client-virtualization และโซลูชั่นที่มีพื้นฐานจาก cloud นอกจากนี้องค์กรต่างๆ ก็ยังเริ่มมองหาทางเลือกเช่น พัฒนาการโซลูชันแบบ non-virtualization ของตัวเอง ใช้ประโยชน์จากโซลูชันแบบ non-virtualization ที่มีขายอยู่ในตลาด หรือแม้กระทั่งนำโซลูชันและเครื่องมือเดิมที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ให้ครอบคลุมถึงแพลตฟอร์มที่หลากหลายมากขึ้น

ฟ้าสดใสสำหรับ Cloud-Computing
ไอดีซีได้เห็นการพัฒนาเทคโนโลยีและการบริการที่เกี่ยวกับ cloud มาโดยตลอด นับตั้งแต่ cloudเข้ามาสู่ประเทศไทยในปี 2553 ซึ่งในปี 2554 ที่ผ่านมานั้นเหล่าผู้ให้บริการด้านไอที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการ data center ได้เริ่มนำ cloud ในรูปแบบ infrastructure-as-a-service (IaaS) และ application-as-a-service (AaaS) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญที่ช่วยสร้างพื้นฐานที่ดีของ cloud และเทคโนโลยีหรือการบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นไอดีซีเชื่อว่าในปีนี้องค์กรต่างๆ จะให้ความสนใจกับ cloudมากขึ้น ทั้งองค์กรในภาคการเงิน การสื่อสาร การผลิต และการบริการ ซึ่งบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดน่าจะเป็น Iaas รองลงมาคือ AaaS และ PaaS นั่นเป็นเพราะว่าผู้ให้บริการได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของระบบ cloud ของตัวเองให้รองรับกับความต้องการจากตลาดที่มากขึ้นและหลากหลายมากขึ้นนั่นเอง

เตรียมเปิดประตูบ้านรับ FTTx
การบริการโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านไฟเบอร์ หรือที่เรียกกันแพร่หลายว่า FTTx จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2555 และจากการที่ภาครัฐและเอกชนต่างก็เพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีนี้ทำให้ FTTx น่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 2 – 3 ปีที่จะถึงนี้ แต่อย่างไรก็ตามความแพร่หลายของ FTTx ขึ้นอยู่กับความสามารถในการขยายขอบเขตการให้บริการของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม โดยลูกค้าที่มีกำลังซื้อในระดับสูงน่าจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้

ศึกระหว่าง PC และ Smart-Devices ยังคงเข้มข้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หากกล่าวถึง PC อุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอันดับแรกคือ notebook และdesktop แต่ในปัจจุบันกระแสของ smart-devices (smart-phone และ media-tablet) กำลังทะยานก้าวข้ามกระแสเดิมของ notebook และ desktop ถือได้ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของ PC ไอดีซีเชื่อว่าทั้งผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ยังคงมีความต้องการใช้ notebook และdesktop อยู่ แต่ในปี 2555 จะเป็นครั้งแรกที่ยอดจัดส่งของ smart- devices (ทั้งหมด 6.7 ล้านเครื่อง) มีจำนวนสูงกว่ายอดจัดส่งของ notebook และ desktop (ทั้งหมด 4.1 ล้านเครื่อง)

ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะหันมาหา Wi-Fi ในขณะที่รอ 3G
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไทยได้เริ่มทดสอบให้บริการ 3G มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และด้วยสภาพการแข่งขันด้าน data ที่สูงขึ้นทำให้ผู้ให้บริการบางรายในประเทศได้นำบริการ Wi-Fi มารวมเข้าใน data package เพื่อสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยจุดประสงค์ของการขยายเครือข่าย Wi-Fi ของผู้ให้บริการในไทยไม่ใช่เพียงแค่รองรับความต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการขยายพื้นที่ครอบคลุมให้กว้างขึ้นอีกด้วย ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 Wi-Fi จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการที่ต้นทุนของการวางระบบบรอดแบนด์ไร้สายนั้นยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้เราน่าจะได้เห็นความร่วมมือที่แนบแน่นมากขึ้นระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นี่จะช่วยลดภาระในเรื่องของต้นทุนในการปฏิบัติการณ์ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และช่วยแบ่งเบาภาระของการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย 3G เพียงอย่างเดียวลงได้ ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็สามารถเพิ่มรายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายของตนได้ด้วย

Business Continuity และ Disaster Recovery จะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับไอทีในองค์กร
Business Continuity และ Disaster Recovery (BC/DR) ได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่ความนิยมมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นมากในปี 2555 ด้วยอานิสงค์จากความต้องการในการเข้าถึงการบริการแบบ 24×7 ของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเสี่ยง และ ความไม่แน่นอนที่นับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นของภาคธุรกิจนั่นเอง ไอดีซีขอแนะนำให้องค์กรต่างๆ เลือกใช้บริการ BC/DR จากผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์และมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ไอดีซีเชื่อว่าความต้องการใช้บริการ BC/DR โดยมากจะมาจากภาคการเงิน การสื่อสาร และภาคการผลิต

มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง: วิธีใหม่ๆ ที่จะร่วมมือกับลูกค้า
การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายและลงทุนด้านไอทีในปี 2555 มีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำ โดยองค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ช่วยในการลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก ความต้องการของลูกค้าทุกวันนี้นั้นหลากหลายมากขึ้น และลูกค้าก็มีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น บังคับให้องค์กรต่างๆ ต้องใช้แนวคิดแบบลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการให้ได้ดีและมากที่สุด การมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริงต้องการมากกว่าแค่การทำ CRM แต่จะต้องหาวิธีเรียนรู้ลูกค้าให้มากขึ้นด้วย เครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ก็คือเครื่องมือด้านไอที ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของลูกค้าที่มีอยู่ในแหล่งต่างๆ รวมทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือการชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการกันแน่

ความต้องการที่จะวิเคราะห์ Big Data จะเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลที่มีขนาดมหึมาหรือ big data นั้นถือเป็นหนึ่งในกระแสที่มีการถกเถียงกันในแวดวงไอทีในปัจจุบัน ในระยะหลังนั้นปริมาณของแหล่งข้อมูลได้เพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งข้อมูลจากการใช้ notebookโทรศัพท์มือถือ media-tablet social-network และแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลแบบ real-time ต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณของข้อมูลถีบตัวสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด และก็ได้มีเครื่องมือที่สามารถวิเคราห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้ได้ ความนิยมของการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชนเริ่มลงทุนในการหาเครื่องมือวิเคราะห์ความคิดเห็นจากสังคมออนไลน์ และไอดีซีเชื่อว่าการวิเคราะห์ big data คือเทรนด์ใหม่ที่องค์กรต่างๆ ไม่อาจเพิกเฉยได้อีกต่อไป

View :1620

ไอดีซีเผยตลาดพีซีในเอเชียแปซิฟิกยังโต11%

January 24th, 2012 No comments

แม้ประสบมรสุมเศรษฐกิจโลก ฮาร์ดดิสก์ขาดตลาด และการแข่งขันกับมีเดียแท็บเล็ต

ผลการวิจัยเบื้องต้นของไอดีซีระบุว่าตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในปี 2554 ที่ผ่านมานั้นขยายตัวถึง 11% โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดกว่า 119 ล้านเครื่องด้วยกัน ถึงแม้เป็นการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อนๆ แต่ก็ถือว่าเป็นอัตราที่น่าพอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนตลอดทั้งปี ซึ่งนี่แสดงถึงความแข็งแกร่งและยืดหยุ่นของตลาดในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ตลาดเติบโตเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 สูงกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้ 3% โดยผลกระทบจากสถานการณ์ การขาดตลาดของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีต่อตลาดในหลายประเทศเช่นประเทศจีนและอินโดนีเซียนั้น ไม่ได้รุนแรงเท่ากับที่ไอดีซีได้คาดไว้เบื้องต้น

โดยนายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ตลาดพีซีต้องฝ่ามรสุมหลายระลอกในปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาที่มาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและความนิยมที่มีต่อมีเดียแท็บเล็ตที่ทำให้ผู้บริโภคสนใจพีซีน้อยลง โดยหลังจากนี้นั้น ตลาดก็ยังคงต้องประสบกับปัญหา การขาดแคลนฮาร์ดดิสก์ แต่ไอดีซีเชื่อว่าหากผ่านช่วงต้นปี 2555 ไปแล้ว ตลาดจะดีดตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็วในครึ่งปีหลัง ซึ่งภาพรวมของตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกน่าจะขยายตัวแตะที่ระดับ 10% ได้สำหรับปีนี้”

เลอโนโวยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดได้อย่างเหนียวแน่นตลอดปีที่แล้ว โดยไม่ใช่แค่ทำผลงานได้ดีในประเทศจีนเท่านั้น แต่เลอโนโวยังสามารถขยายตลาดในประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วย ในขณะที่เอชพีมีผลงานที่แย่ลงในครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ผู้จำหน่ายรายใหญ่จากฝั่งอเมริการายนี้ประกาศว่าจะทบทวนอนาคตของการทำธุรกิจพีซีของตน ฝั่งเอซุสยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดอาเซียน และเดลล์เองก็ประสบความสำเร็จมากขึ้นในตลาดจีนและอินเดีย

View :1674

ไอดีซีระบุ ตลาดพีซีไทยที่เติบโตสูงมาตลอดอาจถดถอยลง

December 19th, 2011 No comments

ไอดีซีเปิดเผยผลการศึกษาตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ของประเทศไทยว่าได้มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ปีของปีนี้นั้น ตลาดพีซีขยายตัวขึ้นถึง 33% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในภาพรวม ตลาดพีซีถูกผลักดันโดยกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับปริมาณการใช้จ่ายที่อยู่ในเกณฑ์ดีจากฝั่งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ยอดจัดส่งเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดเดสก์ท็อปและโน๊ตบุ๊ค

ตลาดพีซีภายในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยมียอดจัดส่งรายไตรมาสทะลุ 1 ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 2 และ 3 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ตามไอดีซีคาดว่าเหตุการณ์อุทกภัยที่ขยายตัวเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ท้ายไตรมาสที่ 3 จะส่งผลกระทบต่อตลาดพีซีอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแค่เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปีเท่านั้น หากแต่ตลาดมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 อีกด้วย

โดยนายจาริตร์ สิทธุ นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำไอดีซีประเทศไทยเผยว่า “กลยุทธ์ต่างๆ ที่เวนเดอร์ใช้ในการกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภคนั้นถือว่าประสบผลสำเร็จในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสที่ 3 แต่หลังจากนั้นทั้งความกังวลในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจโลกและปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ก็ได้กลายเป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการซื้อหดลงอย่างต่อเนื่อง”

“ภาคธุรกิจเองทั้งรัฐและเอกชนก็มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เริ่มชะลอตัวลงหลังจากที่มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระลอกใหม่ในประเทศซีกโลกตะวันตกเช่นเดียวกัน”

ไอดีซีคาดการณ์ว่าตลาดพีซีในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะหดตัวลงในอัตราที่ค่อนข้างสูง และอาจติดลบถึง 2 หลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2554 ก็จะมีปัญหาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขาดตลาดเข้ามาสบทบ ซึ่งอาจทำให้ราคาขายของพีซีถีบตัวสูงขึ้นในระยะสั้น โดยตลาดเครื่องประกอบและมินิโน๊ตบุ๊คน่าจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปีหน้าก็ไม่ถึงกับเลวร้ายไปทั้งหมดเสียทีเดียว ไอดีซีเชื่อว่าตลาดพีซีจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 และกลับเข้าสู่ภาวะปกติในครึ่งปีหลังต่อไป

ยอดจัดส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2554 – ไตรมาสที่ 4 ปี 2554*

*ตัวเลขคาดการณ์

ที่มา: ’s Asia/Pacific Quarterly PC Tracker, 3Q 2011

View :1633
Categories: Press/Release, Technology Tags: ,

ไอดีซีระบุ แม้สิ่งเดียวที่แน่นอนที่สุดในปี 2555 คือความไม่แน่นอน แต่การใช้จ่ายด้านไอซีทีจะยังคงเติบโตต่อไป

November 28th, 2011 No comments

บริษัทไอดีซีเผยว่าสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเต็มไปด้วยความผันผวนและความไม่แน่นอนตลอดปี 2555 นั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ไอดีซีได้นำมาประกอบการการคาดการณ์ 10 แนวโน้มสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ในปี 2555 ซึ่งถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะมีความผันผวนที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่องค์กรต่างๆ ก็ยังคงมั่นใจว่าจะยังคงเติบโตได้ในภูมิภาคนี้ เหล่าผู้บริหารน่าจะต้องประสบกับความยากลำบากในการตัดสินใจลงทุน โดยเรามีโอกาสที่จะเห็นองค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไอซีทีในรูปแบบที่ใหม่ขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถรักษาอัตราการเติบโตเอาไว้ ข้อมูลเพิ่มเติมและรายละเอียดของเรื่องนี้นั้นจะอยู่ในรายงานฉบับใหม่ของไอดีซีที่มีชื่อว่า “ Asia/Pacific (excluding Japan) ICT 2012 Top 10 Predictions”

นายเคลาส์ มอเทนเซ็น หัวหน้าฝ่ายงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเกิดใหม่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ในขณะที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ปี 2555 ที่เต็มไปด้วยความผันผวนนั้น สิ่งเดียวที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนที่สุดก็คือความไม่แน่นอนนั่นเอง ถึงแม้ว่าประเทศในภูมิภาคนี้จะสามารถรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกได้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่องค์กรส่วนใหญ่ยังคงพยายามลดความสูญเสียจากการลงทุนด้านไอซีทีในปี 2555 อยู่ดี”

“แต่เมื่อนำเอาความระมัดระวังมารวมเข้ากับความทะเยอทะยาน องค์กรต่างๆ จึงต้องหาหนทางในการทำกำไรจากการเติบโตภายในภูมิภาค ในขณะเดียวกันก็จะต้องตอบสนองต่อความความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของทั้งบรรดาผู้บริโภคและเหล่าพนักงานที่มีความรู้และมีอิสระในการเลือกมากขึ้น และต้องทำการลงทุนอย่างชาญฉลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บตัวหากมีวิกฤติระลอกอื่นเข้ามาซ้ำเติม”

ไอดีซีตระหนักดีถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปี 2555 แต่ก็ไม่เชื่อว่าการใช้จ่ายด้านไอซีทีในเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบมากนัก โดยไอดีซีคาดว่าถึงแม้สภาพเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน องค์กรต่างๆ ในภาคธุรกิจจะยังคงเดินหน้าใช้จ่ายด้านไอซีทีอย่างค่อนข้างระมัดระวังต่อไป ซึ่งปริมาณการใช้จ่ายด้านไอซีทีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นในปี 2555 นั้นมีแนวโน้มขึ้นสูงถึง 653 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั่นหมายถึงการขยายตัวขึ้น 10.4% เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายด้านไอซีทีของปี 2553 แต่อย่างไรก็ดี อัตราการเติบโตจะไม่สูงเท่ากับอัตราการเติบโตเมื่อปี 2553 และไอดีซีคาดว่าอัตราการเติบโตจะลดลงในช่วง 4-5 ปีหลังจากนี้ แต่กระนั้นก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 9% อยู่ดี

ข้อมูลที่ได้จากการศึกษางานวิจัยล่าสุด ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการระดมสมองของนักวิเคราะห์ประจำประเทศและประจำภูมิภาค ทำให้ไอดีซีสามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดไอซีทีในเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นได้ดังต่อไปนี้

1. เพื่อเกิดใหม่ในตลาดเกิดใหม่: รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติเอเชียที่เกิดใหม่จะขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ของการใช้จ่ายด้านไอซีทีในปี 2555
ไอดีซีพบว่ามีบริษัทขนาดใหญ่ในรูปแบบใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพตลาดในปัจจุบันเกิดขึ้น ซึ่งเราเรียกรวมว่าเป็น “บริษัทขนาดใหญ่สัญชาติเอเชียที่เกิดใหม่” บริษัทเหล่านี้มีความกระหายที่จะเติบโตและขยายขอบเขตของธุรกิจออกไปในพื้นที่ต่างๆ โดยมีดีเอ็นเอที่ต่างออกไปจากองค์กรที่มาจากตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสิ้นเชิง และนั่นนำไปสู่คำถามที่ว่ารูปแบบการทำธุรกิจของบริษัทข้ามชาติแบบเดิมๆ นั้นยังคงเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดอยู่หรือไม่ ซีไอโอทั้งหลายในบริษัทเกิดใหม่เหล่านี้กำลังมองหาทางเลือกใหม่ๆ ที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตนเองและหาหนทางทำให้การลงทุนด้านไอทีของพวกเขาผลิดอกออกผลเร็วขึ้น ไอดีซีคาดว่าบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติเอเชียที่เกิดใหม่นี่เองที่จะช่วยผลักดันให้เกิด “คลื่นลูกใหม่” ของการใช้จ่ายด้านไอซีที ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น โมบิลิตี้ คลาวด์ การวิเคราะห์เชิงธุรกิจและโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

2. คุณค่าของความมีหนึ่งเดียว: ธุรกิจในเอเชียจะเห็นคุณค่าของการมีสินค้าไอทีเพียงรูปแบบเดียว
ความซับซ้อนของตลาดในเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดการเห็นคุณค่าและเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการมีสินค้า/บริการขายออกสู่ตลาดเพียง “รูปแบบเดียว” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า การขายสินค้า/บริการเพียงชนิดเดียว สามารถสร้างรูปแบบการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนให้กับผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือบริษัทแอ๊ปเปิ้ลที่มุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่าย คือมีโทรศัพท์มือถือวางจำหน่ายเพียงรูปแบบเดียวและมีมีเดียแท็บเล็ตวางจำหน่ายเพียงรูปแบบเดียว ในยุคก่อนที่แอ๊ปเปิ้ลจะโด่งดังขึ้นมา หลายคนเชื่อว่าการมีสินค้าออกวางจำหน่ายอย่างหลากหลายคือปัจจัยที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจโทรศัพท์มือถือได้ แต่ไอดีซีคาดการณ์ว่าบริษัททั้งหลายที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับไอซีทีจะเริ่มพิจารณาปรับใช้รูปแบบการทำธุรกิจแบบ “รูปแบบเดียว” เช่นนี้จากปี 2555 เป็นต้นไป

3. ทำให้ 2 + 2 = 1: การให้บริการคลาวด์ที่มีการจัดรวมการบริการเป็นกลุ่มจะนำไปสู่ “เอาท์ซอสซิ่ง 3.0”
ในปี 2554 ไอดีซีประมาณการว่าแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรใหญ่ใหม่ๆ กว่า 80% จะถูกพัฒนาสำหรับ “พับบลิคคลาวด์” และภายในปี 2558 การใช้จ่ายที่เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรใหญ่นั้นจะมาจากคลาวด์ ประมาณ 20% ดังนั้นผู้ใช้บริการคลาวด์จะต้องบริหารจัดการปริมาณของบริการและเวนเดอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นในการบริหารจัดการซึ่งกลับกลายเป็นว่าการประยุกต์ใช้คลาวด์หาได้ทำให้การบริหารจัดการทำได้ง่ายขึ้นแต่อย่างใด เพื่อลบจุดอ่อนข้อนี้ ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป ผู้ให้บริการคลาวด์จะเริ่มจัดหาเครื่องมือบริหารจัดการที่สามารถรวมเอาการจัดการบริการคลาวด์ในรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันได้ นั่นก็คือการให้บริการคลาวด์ที่มีการจัดรวมการบริการเป็นกลุ่มหรือ Cloud Orchestration นั่นเอง ผลก็คือ ตลาดจะยังคงไม่พูดถึงการใช้บริการคลาวด์มากนักในช่วงระหว่างปีนี้จนถึงปี 2558 หากแต่จะนึกถึงการบริการในรูปแบบนี้ว่าเป็นการพัฒนาขึ้นของการเอาท์ซอร์ส หรือที่เรียกว่าเอาท์ซอสซิ่ง 3.0 แทน

4. “หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยข้อมูล” จะทำให้ “Big Data” เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจมากขึ้น
ไอดีซีคาดว่าเอเชียแปซิฟิกจะเริ่มเข้าสู่ยุคของ Big Data ได้ในปี 2555 ซึ่งข้อมูลจากการปฏิสัมพันธ์โดยใช้โซเชียลมีเดีย ข้อมูลจากมาตรวัดที่วัดผลแบบเรียลไทม์ ข้อมูลแบบ geospatial และข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ในเรื่องของการจัดการกลยุทธ์การบริหารข้อมูลขึ้นมา เช่นเดียวกับทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ที่สุด จะได้มาจากเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงที่สามารถทำงานในสภาวะที่ข้อมูลที่องค์กรต่างๆ สร้างขึ้นมีปริมาณ อัตราความเร็ว และความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นได้ เครื่องมือเหล่านี้ก็คือเครื่องมือการวิเคราะห์ Big Data นั่นเอง ไอดีซีเชื่อว่า จากการที่ตัวแปรและแบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ Big Data นั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งใหม่ และต้องใช้ทักษะความสามารถระดับสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล จะนำไปสู่การเกิดตำแหน่งงานใหม่ขึ้นในปี 2555 ซึ่งมีชื่อตำแหน่งว่า “Chief Data Scientist” หรือ “หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยข้อมูล” เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับ Big Data ได้นั่นเอง

5. Workload แบบใหม่บนคลาวด์จะเกิดขึ้น: นำโดยออโตเมชั่น
ไอดีซีคาดว่าในปี 2555 ความสามารถในการกำหนดประสิทธิภาพและทรัพยากรด้านไอทีจะกลายเป็นจุดสำคัญที่องค์กรใช้ในการสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เศรษฐกิจมีความเปราะบางเช่นนี้ และไอดีซียังเชื่อว่า อันเนื่องมาจากการที่ workload ระลอกใหม่ๆ กำลังเคลื่อนเข้าสู่คลาวด์ ความสำคัญของการทำให้ขั้นตอนการทำงานด้านไอทีนั้นมีมาตรฐานเดียวกันและสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า “ออโตเมชั่น” จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวและกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ซีไอโอให้ความสนใจในปี 2555 ที่จะถึงนี้ การลงทุนในเรื่องของการปรับเข้าสู่มาตรฐานและออโตเมชั่นจะทำให้องค์กรสามารถออกแบบ ปรับใช้ และดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงานหลัก รวมทั้งสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างไอทีและการปฏิบัติงานในภาคส่วนอื่นๆ ของธุรกิจได้ในที่สุด

6. ผู้รวบรวมไว้ซึ่งแอพพลิเคชั่น: ทีมเสาะหานวัตกรรมใหม่ที่ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมตั้งขึ้นเพื่อส่งคอนเทนต์ไปสู่บ้านคุณ
การเพิ่มปริมาณที่มากขึ้นอย่างมหาศาลของดิจิตอลคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นที่ใช้บนอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายแบบทั้งมีสายและไร้สายนั้นนำมาซึ่งโอกาสครั้งใหม่สำหรับผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นโอกาสที่จะรวบรวมเอาคอนเทนต์และแอพพลิเคชั่นเข้าด้วยกันเพื่อเสนอเป็นโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้ แต่การจะทำเช่นนี้ได้นั้น ต้องมีแผนกหรือทีมที่ดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสรรหาแอพพลิเคชั่น ไปจนถึงกระบวนการนำมาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะสามารถเสนอแอพพลิเคชั่นที่ “ใช่” ให้แก่ธุรกิจหรือผู้บริโภคทั่วไปได้สำเร็จ ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 นี้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่มองการไกลจะสร้าง “ทีมเสาะหานวัตกรรมใหม่” ขึ้นมาเพื่อค้นหาแอพพลิเคชั่นและคอนเทนต์ที่เหมาะสม เพื่อนำเสนอให้กับผู้ใช้ในภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และ ฮอตสปอตต่างๆ

7. “การคาดเดาปัญหาล่วงหน้าได้” จะกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกของแพลตฟอร์มเชิงกลยุทธ์
ระบบไอทีที่คาดเดาไม่ได้นั้น จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อสมรรถนะในการทำธุรกิจขององค์กร และเพื่อที่จะเอาชนะปัญหานี้ หลายองค์กรได้ใช้เงินทุนในจำนวนมหาศาลเพื่อที่จะสร้างระบบสำรองที่มีทั้งเซอร์ฟเวอร์ ซิสเต็ม ดาต้า และเน็ตเวิร์ค แต่ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 องค์กรที่มองการไกลจะมีแนวคิดที่ฉีกออกจากแนวคิดแบบเดิม องค์กรเหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากระบบเสมือนเพื่อสร้างพื้นที่เผื่อไว้สำหรับความขัดข้องในแพลตฟอร์มไอทีของตนเอง แทนที่จะต้องพึ่งพาแต่ระบบสำรองเพียงอย่างเดียว ไอดีซีคาดว่าแนวคิดนี้จะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในปี 2555 และจะกลายเป็นวิธีปฏิบัติที่ได้รับความนิยมเมื่อต้องการที่จะวางระบบสภาพแวดล้อมเสมือนแบบ x86 ที่มีขนาดใหญ่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

8. บริษัทต่างๆ จะกลับไปสู่การใช้ไอทีแบบมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ไอดีซีคาดว่า ในปี 2555 แนวโน้มของความไม่แน่นอนและความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจจะส่งผลให้ประเด็นเรื่อง “ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” กลับขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่บริษัทในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญอีกครั้ง ทั้งการโฟกัสไปที่เทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นไปที่ลูกค้า มัดใจลูกค้า ไปจนถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้เรียนรู้เกี่ยวกับลูกค้ารายหลักๆ ได้มากขึ้น โดยในปี 2556 นั้น หากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น กระแสแนวคิดเรื่องของลูกค้าเป็นศูนย์กลางนี้ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ไอดีซีเชื่อว่าวิธีการแบบมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าเช่นนี้จะเป็นส่วนสำคัญของการใช้ไอทีในบริษัทส่วนใหญ่ในปี 2558

9. การผสมผสานระหว่างอุปกรณ์พกพาและไอทีจะกรุยทางไปสู่ Workspace รูปแบบใหม่
ไอดีซีคาดการณ์ว่าองค์กรจะเริ่มสร้างสถาปัตยกรรมของ workspace ให้สอดคล้องกับโมบิลิตี้ คลาวด์ และดาต้าเซอร์วิส ในปี 2555 การอนุญาตให้พนักงานในองค์กร เริ่มนำอุปกรณ์ไอทีของตนเข้ามาใช้ในการทำงานประจำวันของพวกเขามากขึ้น หรือที่เรียกกันแพร่หลายว่า Consumerization นั้น จะสร้างความต้องการที่จะมีสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ๆ ขึ้น และไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 องค์กรจะเริ่มทดลองนำโซลูชั่นไร้สายมาปรับใช้ เมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชุดใหม่ วางระบบใหม่ หรือเพิ่มไซต์การทำงานใหม่เกิดขึ้น

10. กลายเป็น “ชนชั้นกลาง”: สมาร์ทโฟนที่มีราคาต่ำกว่า 3,000 บาทจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่สำคัญ
สมาร์ทโฟนได้ทำให้วงการคอมพิวเตอร์เข้าสู่ยุคใหม่ โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2555 ยอดการจัดส่งเครื่องสมาร์ทโฟนนั้นมีแนวโน้มว่าจะแซงยอดการจัดส่งของพีซี และเป็นที่คาดการณ์ว่าสมาร์ทโฟนจะขึ้นนำพีซีอย่างถาวร ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2555 เราจะได้เห็นสมาร์ทโฟนที่มีราคาต่ำกว่า 3,000 บาทออกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่ ไอดีซียังเชื่ออีกว่าผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่เหล่านี้จะมีอาการ “เสพติดแอพพลิเคชั่นบนมือถือ” แบบเดียวกับที่เราได้เห็นในตลาดที่พัฒนาแล้วมาก่อนเช่นเดียวกัน

View :1627

ไอดีซีเปิดตัวแอพพลิเคชันใหม่ ให้ผู้ใช้ไอโฟนและไอแพด เกาะติดเทรนด์เทคโนโลยีได้ทุกที่ทุกเวลา

September 19th, 2011 No comments

ไอดีซีเปิดโอกาสให้ซีไอโอและผู้บริหารที่ทำงานเกี่ยวข้องกับไอทีได้อัพเดตข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเกาะติดเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย/แปซิฟิกก่อนใคร ผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้บนไอโฟนและไอแพด

คือแอพพลิเคชั่นฟรีที่พัฒนาโดยไอดีซี ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานไอโฟนและไอแพดได้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับตลาดไอซีที พร้อมทั้งได้รับข้อคิดเห็นจากเหล่านักวิเคราะห์ของไอดีซีได้แบบทุกที่ทุกเวลา โดยไอดีซีจะนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิจัยตลาดในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อสินค้าและบริการด้านไอซีทีต่อไป

นายเจสัน โกรัท รองประธานฝ่าย Integrated Marketing Programs ของไอดีซีประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวถึงแอพพลิเคชั่นตัวใหม่นี้ว่า “ซีไอโอและผู้บริหารหลายท่านได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้นำหน้ากระแสที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาในอุตสาหกรรมไอซีที วัตถุประสงค์หลักของแอพพลิเคชั่น Info On The Go ของไอดีซีคือการช่วยให้เหล่าผู้บริหารที่มีงานล้นมือทั้งหลายได้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในแวดวงเทคโนโลยีที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของพวกเขาได้”

คุณสมบัติเด่นของแอพพลิเคชั่น Info On The Go คือการนำเสนอ:
• ข้อคิดเห็นจากนักวิเคราะห์ การวิเคราะห์ล่าสุดทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อช่วยให้คุณได้ตรวจสอบและเกาะติดเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหลายๆ อุตสาหกรรม
• ข้อมูลอัพเดตและสถิติของการใช้จ่ายด้านไอซีทีล่าสุด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการลงทุนด้านไอซีที
• ข้อมูลเฉพาะเทคโนโลยีและเฉพาะอุตสาหกรรมกว่า 20 หมวดหมู่เช่น คลาวด์ สิ่งคำคัญสำหรับซีไอโอ ดาต้าเซ็นเตอร์ เวอร์ชวลไลเซชั่น แอพพลิเคชั่นบนมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ท โซเชียลมีเดีย กลยุทธ์การสรรหา การบริการด้านการเงิน ข้อมูลภาครัฐและสาธาณสุข ภาคการผลิตและภาคค้าปลีก
• Who’s Who: แนะนำนักวิเคราะห์ของไอดีซีที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ประจำอยู่ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
• อัพเดตล่าสุดเกี่ยวกับการการสัมมนา เวิร์คช็อป การประชุมโต๊ะกลม และ การบรรยายสรุปโดยนักวิเคราะห์ของไอดีซี ที่จัดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

โดยแอพพลิเคชั่น Info On The Go ของไอดีซีนั้นเปิดให้ผู้ใช้ไอโฟนและไอแพดได้ดาวน์โหลดจาก App Store

ไอดีซีจะทำการเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Info On The Go อย่างเป็นทางการในงานสัมมนา ’s Asia/Pacific Mobile Everything Conference ที่จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 15 กันยายน 2554 ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสัมมนาครั้งนี้ได้ที่ http://www.ap..asia/events/view/?event_id=172&loc_id=172

View :1862

ไอดีซีระบุแรงหนุนจากจีนทำให้ตลาดพีซีในในเอเชียแปซิฟิกช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีขยายตัวถึง 13%

July 22nd, 2011 No comments

บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดชั้นนำระดับโลก เปิดเผยผลการสำรวจเบื้องต้นของสภาวะตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ว่าตลาดในภาพรวมนั้นเติบโตขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ถือได้ว่าเป็นการกลับมามีอัตราการเติบโตเป็นเลข 2 หลักอีกครั้ง โดยมียอดจำหน่ายทั้งหมดแตะที่ระดับ 30.1 ล้านเครื่องด้วยกัน ซึ่งประเทศจีนคือประเทศที่มีอัตราการเติบโตในระดับสูงหลังจากที่ตลาดค่อนข้างซบเซาในช่วงต้นปีถึงแม้ว่าจะยังคงมีปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อรบกวนอยู่ก็ตาม ส่วนตลาดในประเทศอินโดนีเซียเองก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่เวนเดอร์ต่างก็แข่งกันผลักดันสินค้าของตนออกไปสู่ตลาดในชนบท แต่กระนั้นก็เริ่มมีความกังวลว่าอาจเกิดปัญหาสินค้าล้นตลาดตามมาได้ มีเพียงแค่ประเทศอินเดียเท่านั้นที่มีการเติบโตของตลาดสวนทางกับประเทศอื่นๆ เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายงานวิจัยตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซี กล่าวว่า ปัญหาเงินเฟ้อและภาวะสินค้าล้นตลาดถือเป็นหนามแหลมคมที่อาจทิ่มตำตลาดของหลายๆ ประเทศในเอเชียได้ทุกเมื่อ แต่ก็ยังถือว่าโชคดีที่ตลาดยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางปัจจัยลบที่รายล้อมอยู่เหล่านี้ ซึ่งนั่นทำให้หลายฝ่ายเกิดความมั่นใจมากขึ้นว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะยังคงขยายตัวในอัตราที่เป็นเลข 2 หลักได้ในอีกหลายปีข้างหน้า

การขยายธุรกิจออกไปยังเมืองในแถบชนบทของประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เลอโนโวกลับมามีผลงานที่ดีและทิ้งห่างเวนเดอร์รายอื่น ๆ ได้อีกครั้ง หลังจากที่ตลาดในจีนนั้นค่อนข้างซบเซาใน ไตรมาสแรกของปีนี้อันเนื่องมาจากช่วงวันหยุดยาว ในขณะที่เอเซอร์ก็สามารถจัดการกับปัญหาภายในที่เกิดหลังจากการควบรวมกิจการของฟาวเดอร์ในประเทศจีนได้สำเร็จในไตรมาสนี้ จนขยับขึ้นมาครองอันดับที่ 2 ส่วนเอชพีเองถึงแม้จะมียอดจำหน่ายที่ดีในประเทศจีน แต่ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดอื่น เช่นตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ส่งผลกระทบให้ยักษ์ใหญ่จากฟากอเมริการายนี้ตกลงไปอยู่อันดับที่ 4 ในที่สุด

ที่มา: ไอดีซี กรกฎาคม 2554
หมายเหตุ: ยอดจำหน่ายของฟาวเดอร์ได้ถูกนับรวมเข้ากับยอดจำหน่ายของเอเซอร์ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 4 ปี 2553 เป็นต้นไป

View :1880

ไอดีซีระบุ การใช้แชทและโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกที่ทุกเวลา คือตัวกระตุ้นความต้องการในการเชื่อมต่อแบบพกพาในระดับที่สูงขึ้น

June 27th, 2011 No comments

ที่สิงคโปร์ 22 มิถุนายน 2554 – บริษัทวิจัยตลาดชั้นแนวหน้าของโลกเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานของผู้ที่ท่องโลกออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน โดยพบว่าพฤติกรรมยอดนิยมอันดับ 1 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเกือบทุกประเทศทั่วโลก คือการแชท และ การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ () ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ () ในฐานะช่องทางในการทำการตลาดอีกด้วย

โดยในประเทศที่ความนิยมในการแชทของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีสูง เช่นประเทศจีน (64%) และนิวซีแลนด์ (40%) จะมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ (23% และ 25% ตามลำดับ) ส่วนในประเทศที่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์สูงก็จะมีการแชทในปริมาณที่ต่ำ สะท้อนถึงผลทางการทดแทนของกิจกรรมออนไลน์ 2 ประเภทนี้

งานวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ไอดีซีได้จัดทำขึ้นทั่วโลกภายใต้ชื่อ ConsumerSpace 360° ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในทุกวันนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน 4 คนจาก 10 คนนั้นใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ตัวนี้เป็นประจำ

ซึ่งการเติบโตเช่นนี้มีให้เห็นในทุกภูมิภาค โดยในช่วงเวลาเพียงแค่หนึ่งปี ตัวเลขของผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทั้งในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว อย่างในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในตลาดเกิดใหม่เช่นประเทศบราซิล รัสเซีย หรือแม้กระทั่งอินเดีย

“เกาหลีใต้คือประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุด จำนวนของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกวันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว ส่วนในประเทศจีนถึงแม้อัตราการเติบโตในส่วนนี้จะไม่สูงนัก แต่ก็เป็นประเทศที่มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเป็นประจำทุกวันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในบรรดา 21 ประเทศที่เราได้ทำการสำรวจเลยทีเดียว” กล่าวโดยนางคิตตี้ ฟก รองประธานฝ่าย End-User Research & Statistics ประจำประเทศจีนของไอดีซี

ไอดีซีได้จัดทำการวิจัยและการสำรวจ ใน 5 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันประกอบไปด้วยประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้อยู่ก่อนแล้ว และกำลังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และรวมถึงประเทศไทยด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากการศึกษาตลาดโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซียังชี้ให้เห็นอีกว่า การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนในไตรมาสแรกของปี 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด โดยประเทศจีนและเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดถึง 377% และ 152% ตามลำดับ

การวิจัยและการสำรวจ Consumerscape 360° ของไอดีซีได้ให้นิยามและแบ่งประเภทของผู้บริโภคออกเป็น 6 ประเภท ตามทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความสนใจ และความอ่อนไหวต่อราคาในกลุ่มสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบไปด้วย กลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยี (Tech Evangelist) กลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่ (Impulse Buyer) กลุ่มผู้ซื้อที่ซื้อจากประสบการณ์ (Experiential Adopter) กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นประโยชน์ใช้สอยจริง (Pragmatic Purchaser) กลุ่มผู้ซื้อที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (Green Buyer) และกลุ่มผู้ซื้อที่มีทั้งความสนใจและรายได้ต่ำ (Disengaged Functionalist) โดยมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 42,000 คนทั่วโลกในทุกๆ ปี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ สินค้าและทุกๆ ภูมิภาค

ผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนั้นมีแนวโน้ม ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยีและกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อสินค้าออกใหม่ ไอดีซีได้ให้นิยามของกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนโลยี ว่าเป็นผู้บริโภคที่มีการศึกษาและรายได้สูง มีความสนใจและมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก รวมถึงมีลักษณะเป็นผู้นำทางความคิดที่มักมีผู้บริโภครายอื่นๆ มาขอคำแนะนำเสมอ ในขณะที่นิยามของกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่มีรายได้ที่ใช้จ่ายได้สูง และมักซื้อสินค้าที่ตนเองถูกใจโดยที่ไม่จำเป็นต้องทดลองใช้หรือขอความเห็นจากผู้อื่น โดยเกือบครึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นผู้บริโภคใน 2 กลุ่มนี้คือผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวัน ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และนั่นทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้กลายเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของการใช้การเชื่อมต่อแบบพกพาทุกวันนั่นเอง

View :1714