Archive

Posts Tagged ‘IDC’

ไอดีซีเผยตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรใหญ่ของไทยฟื้นตัวในปี 2553 และคาดว่าจะเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้

June 13th, 2011 No comments

13 มิถุนายน 2554 กรุงเทพมหานคร – รายงานการศึกษาตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ประจำปี 2553 ของไอดีซี ระบุว่าตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยในปี 2553 เติบโตขึ้นจากปี 2552 ถึง 13.7% ถือว่าเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบกับการเติบโตของตลาดในปี 2552 เทียบกับ 2551 ซึ่งตลาดเติบโตในเชิงลบถึง -20.6% โดยไอดีซีคาดการณ์ว่ามูลค่ารวมของตลาดประเทศไทยจะประมาณ 187 ล้านเหรียญสหรัฐได้ในปี 2558 นั่นหมายความว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ระดับ 12.5%
 
แอชวาร์ยา คาปูร์ นักวิเคราะห์กลุ่มตลาดซอฟต์แวร์ประจำประเทศไทยของไอดีซีเผยว่า “อุปสงค์สำหรับแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่นั้นเริ่มแสดงถึงแนวโน้มที่เป็นบวกตั้งแต่ต้นปี 2553 แล้ว และยังคงรักษาแน้วโน้มนั้นได้ตลอดปี สถานการณ์ด้านการส่งออกที่ดีขึ้นทำให้การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น และการลงทุนในภาคนี้เองที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่โตขึ้น”
 
ในปีที่ผ่านมานั้น ตลาดในส่วนของแอพพลิเคชั่นบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) นั้นฟื้นตัวขึ้นเป็นอย่างมาก ตามด้วยตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) และตลาดแอพพลิเคชั่นด้านห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ (Product Supply Chain) ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะองค์กรขนาดใหญ่ได้จัดสรรงบประมาณมาลงทุนในส่วนของระบบปฏิบัติการหลักมากขึ้น
 
“ไอดีซีพบว่าตลาดซอฟต์แวร์บริหารสินทรัพย์ขององค์กร (EAM) ภายใต้ส่วนของ ERP นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตได้ให้ความสำคัญกับระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการดูแลรักษาสินทรัพย์ต่างๆ เช่นเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ในส่วนของการทำกระบวนการขายแบบอัตโนมัติก็ได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งสะท้อนผ่านการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์ CRM นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีก็มีส่วนกระตุ้นตลาดซอฟต์แวร์บริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ ที่ช่วยในการวางแผนจัดการสินค้าคงคลังและการสั่งซื้อของลูกค้าอีกด้วย” แอชวาร์ยา กล่าวเสริม
 
ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ในบรรดาตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งตามหลังตลาดสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 15% ไอดีซียังพบว่าประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเติบโตของตลาดอยู่ในระดับสูงที่สุดประเทศหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้นับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศก็ตาม
 
การฟื้นตัวของตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านทำให้มูลค่าของตลาดรวมของประเทศแถบนี้ในปี 2553 สูงกว่ามูลค่าของตลาดก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2552 เสียด้วยซ้ำ โดยตลาด ERM เป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุดและยังมีส่วนแบ่งในตลาดรวมของแอปฟลิเคชันระดับองค์กรในภูมิภาคย่อยนี้สูงที่สุดอีกด้วย
 
ซิว-ชุน ลิว ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของไอดีซี ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การเติบโตอย่างเห็นได้ชัดของมูลค่าตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่แสดงถึงอุปสงค์จากองค์กรใหญ่ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และนั่นทำให้ตลาดในภูมิภาคนี้ยังคงเติบโตขึ้นไปได้อีกในอนาคต ไอดีซีคาดว่าระดับการเติบโตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่องค์กรใหญ่ๆ เริ่มจัดสรรงบประมาณไปที่การปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานหลักมากขึ้น และในขณะเดียวกันยังขยายสาขาทั้งในประเทศและไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น”
 
และในปี 2554 นี้ ไอดีซีเชื่อว่าแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตประมาณ 14.5% ซึ่งตลาด CRM ยังคงเติบโตในอัตราสูงที่สุด เช่นเดียวกับตลาดของประเทศไทยที่ CRM จะเติบโตขึ้นจนทำให้ตลาดรวมขยายขึ้นประมาณ 15.4%

View :3376

ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ ชี้ผู้ผลิตไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าควรประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนอย่างไร

June 8th, 2011 No comments

ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ เปิดเผยผลสำรวจการปรับตัวเข้าสู่การผลิตแบบลีน(Lean Manufacturing) ว่ามีผู้ผลิตในประเทศไทยเกือบ 20% เท่านั้น   ที่ได้มีการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนในขั้นสูงแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และ สินค้าอิเล็คทรอนิคส์ แต่อย่างไรก็ตาม 70%บริษัทผู้เข้าร่วมการสำรวจนั้นได้มีการเริ่มวางแผนหรืออยู่ในขั้นเริ่มต้นของการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนแล้ว โดยรายละเอียดทั้งหมดของการสำรวจนี้อยู่ในรายงานที่มีชื่อว่า “Driving Operations Excellence: Lean Adoption in Thailand”

ดร. วิลเลียม ลี ซึ่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัยของ ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า “ผู้ผลิตในประเทศไทยให้ความสำคัญไปที่การสร้างความเป็นเลิศทางด้านการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของตนเองในสภาวการณ์ที่ต้นทุนและความเข้มข้นของการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การนำปรัชญาการผลิตแบบลีนมาปรับใช้คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิผลและพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต แต่ก็เห็นได้ชัดว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีแผนพัฒนาและบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน”

การสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตในประเทศไทยประมาณ 90% ได้ยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การปรับใช้ระบบการผลิตแบบลีนเป็นไปได้ยากในขณะนี้คือการที่พนักงานในองค์กรนั้นไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยดร. ลีได้แนะนำว่า “สิ่งที่จำเป็นมากในการปรับใช้การผลิตแบบลีนคือการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การต่อต้านนั้นเป็นเหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลากรในองค์กรเห็นว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากไม่ได้รับการเห็นชอบหรือยอมรับจากบุคคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง การสั่งการใดๆ จากผู้บริหารก็อาจจะเห็นผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้น เครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรที่ดีคือการใช้เทคนิคการทำแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) ซึ่งเป็นการทำให้แผนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นนามธรรมถูกสื่อออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม หากได้มีการวางแผนและสื่อสารให้พนักงานได้ทราบถึงขั้นตอนและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างมีระบบแล้ว พนักงานในองค์กรก็จะพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ มากขึ้น”

ยิ่งไปกว่านั้นผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ยังชี้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนสำคัญในการสร้างช่องทางการเข้าถึง การแสดงผลการวิเคราะห์ และ การรายงานข้อมูล รวมทั้งยังช่วยในการจัดตารางการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มองเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก การควบคุมประสิทธิภาพใช้งานเครื่องมือ และการดูแลกิจกรรมการผลิตต่างๆ ซึ่งนี่แสดงให้เห็นว่าระดับการหลอมรวมข้อมูลภายในองค์กรของผู้ผลิตในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

“ไอทีมีส่วนสำคัญในการสร้างการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) ในองค์กรที่เป็นลีน” ดร. ลีกล่าวเสริม “ผู้ผลิตควรปรับใช้เครื่องมือและแอพพลิเคชันทางด้านไอทีที่เกี่ยวข้องกับลีน เพื่อเพิ่มการส่งผ่านข้อมูลและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร อันจะนำไปสู่การช่วยสร้างการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตแบบลีนและเชื่อมโยงขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในที่สุด”

ปัจจุบันผู้ผลิตในประเทศไทยยังคงต้องพบกับอุปสรรคในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตแบบลีนมากมาย ซึ่งการที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ให้ได้นั้น ต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้อีกประการก็คือการฝึกอบรม และการสนับสนุนซึ่งกันและกันของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานนั่นเอง

ไอดีซีเชื่อว่า การผลิตแบบลีนที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดคลื่นการพัฒนาด้านการปฏิบัติงานระลอกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การผลิตแบบลีนตามแบบฉบับดั้งเดิมนั้นได้เดินทางมาถึงจุดๆ หนึ่งที่ปริมาณข้อมูลและความซับซ้อนของการทำงานได้เพิ่มมากขึ้นจนต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการแล้ว

View :1992

ไอดีซีเผยตลาดพีซีในเอเชียแปซิฟิกช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โตขึ้นร้อยละ 7 ท่ามกลางแรงซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนกำลังลง

April 25th, 2011 No comments

สิงคโปร์ และฮ่องกง 20 เมษายน 2554 – ผลการสำรวจเบื้องต้นของไอดีซีพบว่า ตลาดคอมพิวเตอร์พีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เติบโตขึ้นเพียงร้อยละ 1 จากไตรมาส 4 ของปี 2553 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 นั้น ยอดการส่งมอบได้เติบโตขึ้นร้อยละ 7 ด้วยยอดจำหน่ายถึง 26.8 ล้านเครื่อง ผลกระทบจากเงินเฟ้อและกระแสความนิยมในสินค้าประเภทมีเดียแทบเล็ทยังคงเป็น ปัจจัยลบที่ทำให้ตลาดพีซีไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยยอดการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ทำให้ตัวเลขการเติบโตของทั้งภูมิภาคต่ำกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นี้ ถึงแม้ผลสำรวจจะชี้ว่าตลาดของประเทศอินโดนีเซียและเกาหลีนั้นโตมากกว่าที่ คาดการณ์ไว้ก็ตาม

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ไม่เพียงแค่ปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อและผลกระทบจากความนิยมต่ออุปกรณ์ ประเภทอื่นที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นที่ทำให้ตลาดพีซีเติบโตช้าลง แต่ยังมีปัญหาในฝั่งของอุปทานเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตกังวลถึงความเสี่ยงที่ส่วนประกอบบางชนิดอาจจะขาดตลาดมาก ขึ้นอีกด้วย”

“แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงเชื่อว่าตลาดองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งนั่นจะทำให้ภาพรวมของตลาดในปี 2554 เติบโตขึ้นไปแตะที่ระดับร้อยละ 10 ได้”

สำหรับผู้นำตลาดนั้นยังคงเป็นเลอโนโว ที่ถึงแม้ว่าตลาดในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของเลอโนโวจะค่อนข้างซบเซาใน ช่วงวันหยุดตรุษจีนที่ผ่านมา แต่เลอโนโวก็ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2553 ในส่วนของเอชพี ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเอชพีเริ่มดึงส่วนแบ่งตลาดที่เสียไปก่อนหน้านี้ กลับมาได้บางส่วน โดยส่วนแบ่งตลาดของเอชพีในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศจีนนั้นเริ่มดีขึ้น แต่ยังคงถือว่าต่ำกว่าเดิมหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลงานของเดลล์เองก็กลับมาดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมาอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในประเทศจีนและอินเดีย เช่นเดียวกับอัสซุสที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้จากการขยายช่อง ทางจำหน่ายในประเทศจีน

View :1471
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซีกล่าวว่า การประยุกต์ใช้คลาวด์ยังโตต่อเนื่องและจะถูกนำมาพูดเชิงธุรกิจมากขึ้น

March 15th, 2011 No comments

จากข้อมูลของไอดีซี พบว่า การใช้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่น กำลังเริ่มที่จะใกล้สู่ภาวะอิ่มตัว  จากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น ได้กระตุ้นความสนใจในบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ   ของธุรกิจการให้ บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที ซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 นี้ และเมื่อมีการนำเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
 
จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง “Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud” (Doc#AP6684401T) ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554  ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน  ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจอีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้
 
ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะเปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure  Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย
 
“ตอนจบของแนวโน้มนี้จะเป็นแผนงานด้านไอทีที่ผู้บริหารธุรกิจทั้งหลายสามารถบริหารจัดการ จัดซื้อจัดหาและใช้บริการต่าง ๆ ครบทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการทำงานและระบบที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเขาดำเนินไปได้ดีที่สุดและทันสมัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในแผนงานนี้จะไม่มีการคำนึงถึงคำว่า “เป็น” หรือ “ใช้เป็น” สำหรับไอที แต่จะเห็นเป็นแค่เพียงการบริการที่มีความสำคัญเท่านั้น” ก่ลาวโดย คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก
 
ซึ่งสิ่งนี้กำลังหมายความว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นเรื่องเทคโนโลยีสำหรับซีไอโอนั้นกำลังจะมีความสำคัญน้อยลงทุกที” คริส กล่าวเสริม
 
อย่างไรก็ตามในขณะที่เทคโนโลยีอาจจะไม่ได้เป็นจุดโฟกัสของแผนงานนี้ แต่เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด ๆ
 
“ซีไอโอทั้งหลายในวันนี้ควรจะมุ่งเน้นไปที่ทางเลือกของพวกเขาว่า ไอทีสามารถช่วยองค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างไร การประยุกต์ใช้ไอที แผนงานด้านไอที และ กลยุทธ์ด้านไอทีในวันนี้ควรจะมองว่าเป็นตัวจุดประกายในเรื่องใดได้บ้าง เมื่อระบบไอทีขององค์กรต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่เคยเน้นหนักในเรื่องของเทคโนโลยีมาเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจมากขึ้น ซีไอโอควรจะมุ่งไปที่การใช้ไอทีเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด [ไอทีแบบไร้เทคโนโลยี]” กล่าวโดย คลาวส์ มอร์เทนเซน หัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเทคโนโลยีเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
 
รายละเอียดเพิ่มในเรื่องดังกล่าวจะมีอยู่ในงานสัมมนา ’s Asia/Pacific Cloud for Business Conference 2011 งานสัมมนาประเด็นร้อนนี้จะถูกจัดขึ้นใน 11 หัวเมืองใหญ่ในแถบเอเชียแปซิฟิก เนื้อหาที่สำคัญของงานจะมุ่งไปที่ “การขจัดเทคโนโลยีออกจากไอที” สำหรับงานสัมมนาที่ฮ่กรุงเทพฯ จะจัดขึ้นที่ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 เมษายน 2554 หากท่านสนใจหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของงานสัมมนาดังกล่าวนี้ ท่านสามารถเข้าค้นหาข้อมูลได้ที่ http://www..co.th/ businesscloud2011

View :1517
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซีชี้  ยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนทะลุกว่า 100 ล้านเครื่องในเขตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นในปี 2554

March 14th, 2011 No comments

ไอดีซี คาดว่า ยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนจะแตะ 137 ล้านเครื่องในปี 2554 ซึ่งจะเป็นยอดจำหน่ายครั้งแรกที่ทะลุกว่า 100 ล้านเครื่องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น
“สมาร์ทโฟนเคยเป็นอุปกรณ์ยอดนิยมเมื่อปี 2553 ด้วยยอดจำหน่ายที่เพิ่มสูงถึงเท่าตัวจากปี 2552  ในปี 2554 ไอดีซี คาดว่า ความร้อนแรงนี้ยังคงขยายตัวต่อไปอีกเมื่อผู้ผลิตมือถือยี่ห้อต่าง ๆ กำลังแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้าสำหรับอุปกรณ์ที่มีกำไรงามประเภทนี้  ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็พยายามเพิ่มรายได้จากฝั่งดาต้าให้สูง รวมถึงการแข่งขันระหว่างผู้เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มมือถือต่าง ๆ ก็ตามจีบนักพัฒนาแอพอีกด้วย”  กล่าวโดย นางสาวเมลิซ่า เชา ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาด ด้านอุปกรณ์สื่อสารปลายทาง ประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก
ยอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ทั้งประเภทที่เป็นรุ่นธรรมดาและสมาร์ทโฟน คาดว่าจะมียอดอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า อยู่ที่ร้อยละ 34 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น โดยในอีก 5 ปีข้างหน้ายอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวสูงถึง 942 ล้านเครื่องจาก 551 ล้านเครื่องในปี 2553  มือถือรุ่นธรรมดาและสมาร์ทโฟนมีอัตราการเติบโตในระดับสูงในปี 2553 มือถือรุ่นธรรมดามีอัตราการเติบโตร้อยละ 17 จากปี 2552 เป็นผลมาจากการเติบโตของมือถือในตลาดล่างจากประเทศจีน แบรนด์ที่ผลิตภายในประเทศที่มีราคาต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,000 บาท  จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ยี่ห้อ ZTE จากประเทศจีน และ G-Five จากประเทศอินเดียขยับขึ้นไปสู่การเป็นยี่ห้อที่อยู่ในกลุ่มผู้นำ 5 อันดับแรกของภูมิภาคนี้ในปี 2553
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 สมาร์ทโฟนจะมีอัตราการเติบโตสูงถึงแปดเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับมือถือรุ่นธรรมดา มียอดจำหน่ายอยู่ที่ราว 359 ล้านเครื่อง โดยสัดส่วน 3 ใน 5 ของยอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในปี 2558 จะเป็นสมาร์ทโฟนซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีสัดส่วนแค่เพียง 1 ใน 5 เท่านั้น
ยังมีอีกหลายเหตุผลเบื้องหลังที่เป็นปัจจัยบวกให้กับตลาดสมาร์ทโฟน ทั้งนี้มาจากความต้องการใช้งานในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ว่าสมาร์ทโฟนทั่วไปยังมีราคาค่อนข้างแพง ลำพังแค่เฉพาะในประเทศเกาหลีใต้อย่างเดียว สมาร์ทโฟนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงถึง 10 เท่าในปี 2553 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของยี่ห้อ Apple และ Samsung ในทางตรงกันข้าม Nokia ได้มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการนำเสนอโทรศัพท์มือถือที่มี Symbian OS พร้อมหั่นราคาลงต่ำกว่า 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเครื่องสำหรับตลาดที่กำลังเกิดใหม่อย่างในอินเดียและเวียดนาม
ในปี 2554 และปีถัดไปข้างหน้า ไอดีซี คาดว่า ยี่ห้อต่าง ๆ จำนวนมาก จะนำเสนอโทรศัพท์ราคาถูกที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Andriod ซึ่งจะไม่เพียงช่วยทำให้เพิ่มอุปสงค์สำหรับตลาดที่เกิดใหม่ แต่ยังทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นธรรมดาทั้งตลาดพิจารณาที่จะอัพเกรดไปใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น
จนถึงขณะนี้ ยี่ห้อ Nokia และ Symbian OS ยังคงเป็นผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนที่ไร้คู่แข่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ แต่ ไอดีซี เชื่อว่า Andriod จะเข้ามายึดตลาด Symbain ภายในปีนี้ เมื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Nokia ที่สนับสนุนการทำงานบนวินโดวส์ไม่สามารถออกวางจำหน่ายจนกว่าจะถึงปลายปี 2554
 

View :1706
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซี ชี้ตลาดไอซีทีประเทศไทย ยังจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2554 ด้วยแรงหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

February 4th, 2011 No comments

ที่กรุงเทพ 28 มกราคม 2554 – ไอดีซีคาดว่าทิศทางของตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (ไอซีที) ของประเทศไทยในปี 2554 นั้นจะถูกกำหนดโดยความก้าวหน้าของโซเชียลมีเดีย การเติบโตที่มีอัตราสูงขึ้นของสมาร์ทโฟน และการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ต่อการให้บริการดาต้าทั้งในการสื่อสารแบบมีสายและไร้สาย

นายอรรถพล สาธิตคณิตกุลผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยและที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของไอดีซีกล่าวว่า “เราเชื่อว่าการตื่นตัวของผู้บริโภคด้านโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือปัจจัยหลักที่จะทำให้การใช้จ่ายด้านไอซีทีเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ ส่วนในภาคธุรกิจนั้นกลุ่มที่มีแนว โน้มที่จะใช้จ่ายสูงที่สุดคือกลุ่มของสถาบันการเงิน การสื่อสาร รวมทั้งภาครัฐด้วย”

“เราคาดว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยจะหันมาพัฒนาธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียมากขึ้น หลังจากที่เล็งเห็นแล้วว่ากระแสของแพลตฟอร์มตัวใหม่นี้ยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง”

จากข้อมูลการวิจัยล่าสุด และ การวิเคราะห์ร่วมกันของนักวิเคราะห์ในประเทศไทย ไอดีซีสรุปได้ว่า แนวโน้มสำคัญ 10 ประการที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี 2554 มีดังต่อไปนี้

1. การใช้จ่ายด้านไอทีจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2554

ไอดีซีคาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีที่ฟื้นตัวขึ้นมาจากปี 2553 จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยภาพรวมของการใช้จ่ายซื้อสินค้าทั้งฮาร์ดแวร์ และ ซอฟท์แวร์ ตลอดจนการใช้จ่ายเพื่อซื้อบริการด้านไอทีต่างๆ เพิ่มนั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึง 9.3% ซึ่งหมายความว่าตัวเลขการใช้จ่ายน่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1.95 แสนล้านบาทได้

2. การใช้จ่ายด้านบริการโทรคมนาคมยังคงมีแนวโน้มที่ดี

ไอดีซีคาดว่า ตลาดการให้บริการด้านโทรคมนาคมของประเทศไทย จะยังคงรักษาแนวโน้มการเติบโตเอาไว้ได้ โดยในปี 2554 นั้นการเติบโตน่าจะเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับตลาดโทรคมนาคมพื้นฐานและไร้สายที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น 3% เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นการให้บริการผ่านเครือข่ายไร้สายจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 66% ของตลาดการให้บริการด้านโทรคมนาคมทั้งหมด รายได้หลักของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยังคงมาจากการให้บริการด้านเสียง (Voice) ถึงแม้ว่าจะเติบโตเพียง 1% เท่านั้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งตรงกันข้ามกับการให้บริการด้านข้อมูล (Data) ที่จะขยายตัวขึ้น 16% ไอดีซีคาดว่าในปี 2554 เม็ดเงินจากการใช้จ่ายด้านการให้บริการมัลติมีเดียและบรอดแบนด์เคลื่อนที่จะรวมเป็น 70% ของตลาดการให้บริการด้านข้อมูล (Data) ผ่านเครือข่ายไร้สายทั้งหมดในประเทศไทย

3. คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (มินิโน๊ตบุ๊ค) จะได้รับผลกระทบจากมีเดียแท็บเล็ต

ในปัจจุบันถึงแม้สินค้าประเภทมีเดียแท็บเล็ตจะยังคงมีจำหน่ายไม่แพร่หลายนัก แต่เพียงแค่กระแสของอุปกรณ์ตัวใหม่นี้ ก็ทำให้ผู้บริโภคเริ่มชะลอการตัดสินใจ ที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมินิโน๊ตบุ๊ค ยิ่งไปกว่านั้นการที่บรรดาผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนตัดสินใจหันมาผลิตมีเดียแท็บเล็ตออกสู่ตลาด จะยิ่งส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดมินิโน๊ตบุ๊คมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์ทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างมุ่งเป้าไปที่ผู้บริโภคกลุ่มใกล้เคียงกันนั่นเอง โดยไอดีซีเชื่อว่า ตลาดมีเดียแท็บเล็ตจะเริ่มเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามในปัจจุบันถึงแม้ว่ามีเดียแท็บเล็ตจะตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในแง่ของการให้ “ประสบการณ์การใช้งาน” ที่เหนือกว่า แต่หากพิจารณาถึงประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมแล้ว มีเดียแท็บเล็ตยังคงเป็นรองมินิโน๊ตบุ๊คอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นโอกาสที่มีเดียแท็บเล็ตจะเข้ามาแทนที่มินิโน็ตบุ๊คอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงไม่เกิดขึ้น

4. ผู้ให้บริการด้านไอทีจะเปลี่ยนแปลงมาใช้กลยุทธ์แบบแบ่งแยกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ชัดเจนขึ้น

ผู้ให้บริการด้านไอทีจะพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริการของตนมากขึ้นในปี 2554 โดยนอกจากจะขายสินค้าและโซลูชั่นแล้ว การให้บริการที่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ จะได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น ไอดีซีเชื่อว่า ผู้ให้บริการด้านไอทีจะพยายามศึกษาถึงลักษณะเฉพาะตัวขององค์กรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบงานบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด กลยุทธ์เช่นนี้จะทำให้สินค้าที่ เดิมไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการเฉพาะกลุ่ม สามารถดึงดูดผู้บริโภคในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันได้มากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การที่ผู้ผลิตจับมือกับผู้วางระบบ (System Integrator) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเพื่อที่จะออกแบบโซลูชั่นเฉพาะ ที่เหมาะสมที่สุดให้กับแต่ละองค์กรนั่นเอง

5. การดำเนินธุรกิจบนคลาวด์แพลตฟอร์มกำลังจะเกิดขึ้นจริง

ไอดีซีเชื่อว่าการให้บริการคลาวด์ประเภท Infrastructure-as-a-Services หรือ IaaS จะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปี 2554 โดยบริการประเภทนี้จะถูกนำเสนอจากผู้ให้บริการด้านไอที (IT Services Providers -ITSP) หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ที่แข็งแกร่งในปัจจุบัน ผู้ให้บริการในกลุ่มนี้จะมีการวางกลยุทธ์เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวคิดของเทคโนโลยีคลาวน์ เพื่อทำให้การบริการสามารถสนองตอบความต้องการทางธุรกิจ บริการด้าน IaaS อาจจะเป็นไปได้ในหลายลักษณะ อาทิ การให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะคลาวด์ การให้บริการเครื่องแม่ข่ายแบบยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของซีพียู ให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชั่น หรือ ประเภทของงาน รวมถึงรูปแบบการให้บริการแอพพลิเคชั่น และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน (Collaboration platforms) เป็นต้น

6. พัฒนาการของโซเชียลมีเดียจะทำให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโซเชียลแพล็ทฟอร์มมากขึ้น
ถึงแม้ว่าองค์กร หรือ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ได้เริ่มใช้โซเชียลมีเดียเพื่อประโยชน์ทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอสินค้า และ บริการเก็บข้อมูล ตลอดจนตรวจสอบพฤติกรรมการบริโภคผ่านโลกออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2553 แล้วก็ตาม ในปี 2554 นั้น ไอดีซีเชื่อว่าผู้ผลิตซอฟท์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจจะทำการผลิตเครื่องมือใหม่ๆ ที่เป็นโซลูชั่นในการทำเหมืองข้อความ (text mining) และ การวิเคราะห์ทางอารมณ์ (sentiment analysis) จากข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่มากมายในเว็บไซท์โซเชียล เน็ตเวิร์คต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บบอร์ดหรือแม้กระทั่งบล็อกก็ตาม โดยแสดงผลเป็นข้อมูลแบบ real-time เช่น เป็นแผนภาพ หรือตารางแสดงผลผ่านหน้าเว็บ ไอดีซีเชื่อว่าการที่องค์กรณ์ต่างๆ ปรับมาใช้ประโยชน์จากโซเชียล แพล็ทฟอร์มเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลจากโลกออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย

7. ระบบปฏิบัติการบนมือถือ – การออกแบบแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลาย ๆ แพลตฟอร์ม
การใช้งานอุปกรณ์สมาร์ทโฟนนั้น ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนแล้ว และล่าสุดนั้น อัตราการเติบโตของสมาร์ทโฟนในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ในปี 2553 ตลาดสมาร์ทโฟนประเภทเน้นการใช้งานด้านข้อมูลเป็นหลัก (Data centric) มีอัตราการเติบโตเกือบถึง 100% จากปี 2552 และในปี 2554 ไอดีซี คาดว่า อุปกรณ์ประเภทนี้จะมียอดจำหน่ายมากกว่า 2 ล้านเครื่อง มีอัตราการเติบโต 30% จากปี 2553. ในปัจจุบัน ตลาดนี้มีระบบปฏิบัติการ ที่เป็นที่นิยมอยู่หลายยี่ห้อเช่น Symbian ของโนเกีย iOS ของแอปเปิ้ล Android ของกูเกิ้ล and BlackBerry ของรีเสิรช์ อิน โมชั่น เป็นต้น และ ไอดีซีคาดว่า จากการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้ระบบปฏิบัติการเหล่านี้ จะยังคงมีอัตราการเติบโตสูงในปี 2554 ไอดีซีเชื่อว่า ยังมีโอกาสอย่างมากสำหรับนักพัฒนาที่จะออกแบบแอพพลิเคชั่นใด ๆ ก็ได้บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยแนวโน้มของการพัฒนาจะเน้นไปที่ data centric สมาร์ทโฟนเป็นหลัก สิ่งนี้กำลังแสดงให้เห็นว่า มันไม่มีความสำคัญเลยว่าแพลตฟอร์มจะเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด แต่ แอพพลิเคชั่นนั้น เป็นสิ่งจำเป็น และ ยังมีความต้องการใช้งานเป็นอย่างมาก สำหรับอุปกรณ์ประเภท data centric นี้

8. การผสมผสานที่เกิดขึ้นจากโซลูชั่นด้านระบบพื้นฐานผลักดันให้เกิดการพัฒนาช่องทางการให้บริการ
โซลูชั่นที่รวมเอาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Systems Infrastructure) เข้ากับฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ด้านสตอเรจ พร้อมด้วยระบบปกป้องข้อมูลนั้น มักจะได้รับความนิยมในองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ อันเนื่องมาจากโซลูชั่นประเภทนี้ ถูกมองว่าคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ต้องลงทุน ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2554 เราจะได้เห็นกลยุทธ์ด้านสินค้าและราคาแบบใหม่ๆ ที่ผู้ผลิตระบบโครง สร้างพื้นฐาน สตอเรจ ระบบปกป้องข้อมูล และ ผู้ให้บริการนำเสนอเป็นโซลูชั่นออกมาสู่ตลาดมากขึ้น ตลาดซอฟท์แวร์ด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ที่เคยเติบโต 10.1% ในปี 2553 จะยังคงได้รับแรงหนุนอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเติบโต 13.5% ในปีนี้ โดยแนวคิดเรื่องเวอร์ชวลไลเซชั่นจะได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นจะยิ่งทำให้ฮาร์ดแวร์ต่างๆ เหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างทีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังมีส่วนช่วยให้การปรับเปลี่ยนแพล็ทฟอร์มระบบโครงสร้างพื้นฐานทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

9. ผู้บริโภคจะหันมาซื้อซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ถูกกฏหมายมากขึ้น
ไอดีซีคาดว่าผู้บริโภคจะเพิ่มปริมาณการซื้อซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ถูกกฏหมายมากขึ้น ถึงแม้ว่ายังคงมีซอฟท์แวร์ผิดกฏหมายอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมากก็ตาม ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำการตลาดอย่างต่อเนื่องของผู้ผลิต โดยมีการสร้างสรรค์กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาสนใจซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสแบบถูกกฏหมายมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือการที่ผู้ผลิตอย่างแคสเปอร์สกี้ บิทดีเฟนเดอร์ และนอร์ตัน ล้วนแล้วแต่ใช้พื้นที่สื่อ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าประเภทนี้มากขึ้น รวมไปจนถึงลงทุนพัฒนาบริการหลังการขายด้วย ไอดีซีเชื่อว่าในปี 2554 เม็ดเงินการใช้จ่ายเพื่อซื้อซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสจะเพิ่มขึ้นราว 13% ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าซอฟท์แวร์ด้านระบบปกป้องข้อมูลด้านอื่นๆ นั้นจะเพิ่มขึ้น 11.7%

10. ความต้องการด้านข้อมูล (Data) ของโทรศัพท์มือถือกระตุ้นผู้ให้บริการคิดบริการใหม่ๆ ได้ตรงกับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคมากขึ้น
ความต้องการใช้บริการด้านข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายจะยังคงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในปี 2554 นี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความแพร่หลายของสมาร์ทโฟนและโทรศัพท์มือถือแบบต่างๆ ทั้งในกลุ่มผู้บริโภคส่วนบุคคลและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ การแช็ทผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือ แม้กระทั่งการใช้โซเชียลเน็ทเวิร์ค สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ผลักดันให้ผู้ให้บริการต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของ data package โดยไอดีซีเชื่อว่าสัดส่วนของแพ็คเกจแบบคิดตามปริมาณการใช้งาน (volume-based) จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อเทียบกับแพ็คเกจแบบคิดตามระยะเวลาการใช้งาน (time-based) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลาของผู้ใช้สมาร์ทโฟนนั่นเอง

View :1744

ไอดีซี ชี้ ปี 2554 เป็นปีที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต้องกำหนดจุดยืนของตนเองในอุตสาหกรรมไอทีซีในภูมิภาค APEJ

January 17th, 2011 No comments

ผู้ให้บริการฯ ต้องยกระดับตนเองในการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อต้องการแย่งส่วนแบ่งตลาดนั้นได้เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ไอดีซีเชื่อว่าการแปลงสภาพของตนเองจะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการแข่งขันที่ดุเดือดในขณะนี้ และในปี 2554 นี้จะเป็นปีแห่ง “การทดสอบความสามารถ” ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคนี้ เมื่อผู้ประกอบการทั้งหลายต้องเร่งปรับเปลี่ยนและใช้โอกาสทางธุรกิจที่ปรากฏขึ้นใน 10 อันดับการคาดการณ์ที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไอดีซี นำไปผนวกกับจุดแข็งของตนเอง
“โอกาสในปี 2554 จะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนเองได้อย่างปลอดภัยและกําหนดให้เป็นสิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในประวัติศาสตร์ของไอซีที” กล่าวโดยนายเอเดรียน โฮ หัวหน้ากลุ่มวิจัย โทรคมนาคม, เมเนจเซอร์วิส และ อุปกรณ์เครือข่ายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “เรื่องต่าง ๆ ที่มีการเอ่ยถึงกันมากในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็น โมบิลิตี้ โซเชียลเน็ตเวิรค์ และ คลาวด์ ที่กำลังเริ่มให้บริการกันบ้างแล้วนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงจะเป็นการเปลี่ยนสภาพของอุตสาหกรรมไอซีที ทั้งในทศวรรษข้างหน้าเท่านั้นแต่มันยังส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของพวกเราอีกด้วย”
เอเดรียนเสริมว่า “ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมก็ต้องผันตนเองเข้าสู่ตลาดไอที เมื่อพวกเขาไม่สามารถปฏิเสธความจริงในเรื่องของการรวมตัวอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมไอซีที” เอเดรียน ยังกล่าวอีกว่า “ผู้ให้บริการโทรคมนาคมบางรายในอดีตอาจจะมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีนักกับการให้บริการด้านไอที แต่เรายังเชื่อว่าการปรับ เปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ จะทำให้มีความสมเหตุสมผล สามารถวัดประสิทธิภาพได้และมีโอกาสที่จะทำให้ผู้นำทั้งหลายในตลาดไอทีปัจจุบันหวั่นไหวได้”
ตลาดบริการโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 283 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 หรือ มีอัตราการเติบโตร้อยละ 7.5 บริการการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์พื้นฐานจะยังคงเป็นบริการที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การใช้จ่ายด้านอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับองค์กรคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 13.1 มีมูลค่าราว 15.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ปัจจัยที่เป็นแรงหนุนให้ตลาดเติบโตมาจาก การขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ การย้ายระบบการติดต่อสื่อสารไปเป็นไอพีทั้งหมด และ การขยายการลงทุนระบบเครือข่ายในส่วนของสำนักงานสาขา
“ด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชียต่าง ๆ กำลังจะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง และสิ่งนี้จะเป็นโอกาสอันพิเศษสุดและในขณะเดียวกันก็เป็นงานที่ท้าทายสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหลาย เราเชื่อว่าการติดต่อสื่อสารภายในภูมิภาคเอเชียจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับการเติบโตของบริการ IP VPN และบริการไอซีทีด้านอื่น ๆ” เอเดรียนให้ความคิดเห็น เขายังได้ให้ข้อควรระวัง “ไม่ใช่ว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายจะมีความต่อเนื่องทางความคิด และ มีจุดแข็งพอที่จะให้เกิดการเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งต้องอาศัยความ สามารถในการทำงานที่เฉพาะด้าน รวมถึงความแตกต่างกันของพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นแรงขับทำให้ได้รับประโยชน์จากโอกาสในการเติบโตดังกล่าว”
การคาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญประจำปีของธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียโดย ไอดีซี นั้นได้จัดทำขึ้นจากงานวิจัยล่าสุดของไอดีซีและการระดมสมองของนักวิเคราะห์ที่ประจำอยู่ในแต่ละประเทศและในภูมิภาค สิ่งเหล่านี้จะแสดงถึงแนวโน้มที่สำคัญ ที่จะส่งผลกระทบทางการเงินที่สำคัญหรือผลกระทบต่อตลาดในระยะยาวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น

10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคไม่รวมญี่ปุ่นประจำปี 2554 มีดังต่อไปนี้
(1) แอพพลิเคชั่น Socialytic จะเปลี่ยนตลาดแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานร่วมกัน
ไอดีซี คาดว่า ในปี 2554 จะเป็นปีที่มีแนวโน้มของการรวมสื่อสังคมออนไลน์กับการวิเคราะห์ธุรกิจ จะมาบรรจบซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้กับบรรดาแอพพลิเคชั่นหลัก ๆ สำหรับองค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ กำลังเริ่มที่จะฝังตัวเรื่องของ unified communications และ social media ไว้ในการทำงานในปัจจุบัน แต่ ไอดีซีคาดว่าแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจทุกประเภท กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในระบบโครงการสร้างการทำงานโดยรวมเอาซอฟท์แวร์ด้าน social/collaboration และงานด้านการวิเคราะห์ เข้าไปเป็นหน่วยหนึ่งในแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่ใช้งานมาดั้งเดิมในปี 2554 นี้และปีถัด ๆ ไป แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ขององค์กรกำลังจะกลายเป็นทั้ง”สื่อสังคม” และ “การวิเคราะห์” ตามสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งไอดีซีกำลังหมายถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับองค์กรธุรกิจที่เรียกว่า “socialytic” แอพพลิเคชั่น

(2) Mobilution – แนวคิดโมบิลิตี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดไอที
ในเรื่องของการทำให้องค์กรเป็นโมบิลิตี้นั้นเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงมาหลายปีแล้ว แต่ในความจริงมันก็ยังคงเป็นเรื่องที่เราทึกทักเอาเท่านั้น การที่เราสามารถที่จะเข้าถึงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กรได้เมื่อเราจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายหรือไม่ได้อยู่ที่สำนักงาน นอกจากนี้เรายังทึกทักเอาเองว่าได้เข้าถึงในเรื่องแนวคิดของการเป็นโมบิลิตี้แล้วแต่ในความจริงมันเกิดขึ้นเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยที่การเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายของสำนักงานส่วนมากแล้ว ยังถูกจำกัดอยู่แค่ในเรื่องการเช็คอีเมลล์ผ่านมือถือ หรือ โซลูชั่นที่สามารถใช้ได้ทั้งเครือข่ายมือถือหรือโทรศัพท์บ้าน และ แอพพลิเคชั่นพื้น ๆ ที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟน แต่ในวันนี้ ไอดีซี กำลังเห็น สิ่งที่เราจะเรียกได้ว่า “มหาพายุ” ที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีหลายประเภทที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการปฏิวัติในเรื่องของโมบิลิตี้ และท้ายที่สุดแล้ว มันจะทำให้ “ทุกสิ่งทุกอย่าง” กลายเป็นโมบายในที่สุด และไอดีซีเชื่อว่า ในปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เป็นตัวเร่งสำหรับเรื่องดังกล่าวนี้

(3) การสิ้นสุดของ ไอพี โฟน อย่างที่เรารู้กัน
วีดีโอยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจถูกพูดถึงอยู่เสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ เทคโนโลยี ที่ยังมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น สิ่งนี้ได้เริ่มเปิดให้บริการ เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่า สิ่งนี้จะมีการปฏิวัติรูปแบบสื่อสารด้วยการทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลงเป็นมาก และความสะดวกสบายของวิดีโอก็ได้มีความก้าวหน้าไปมาก ในฐานะที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น การเปิดตัว Telepresence โดยที่ วีดีโอนั้นได้เปลี่ยแปลงรูปแบบการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกระหว่างลูกค้าและผู้ค้า การใช้งานที่เพิ่มขึ้นบวกกับความนิยมของวิดีโอและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่าง ๆ ในยุคของ mobilution จะนำไปสู่การสิ้นสุดของ ไอพี โฟน (IP Phone)

(4) การเติบโตของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย
บางทีหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องของตลาดซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในปี 2554 เท่านั้นแต่ยังเลยไปถึงอีกทศวรรษข้างหน้า ก็คือการเติบโตของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าเป็น ศตวรรษแห่งเอเชีย การจัดอันดับในโลกใหม่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือตัวเรา และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อิทธิพลของบรรษัทข้ามชาติสัญชาติเอเชีย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดไอซีที ทั้งเรื่องของวิธีการทำงานและการปฏิบัติตัวของผู้นำตลาด “การปรับตัวหรือการล้มหาย” บางทีจะเป็นโจทย์ที่สำคัญสำหรับบรรดาผู้ค้าไอซีทีรายหลัก ๆ ทีกำลังเข้ามาแข่งขันในศตวรรษแห่งเอเชีย

(5) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะกลับมารุกตลาดไอทีอีกครั้ง
T-System เป็นบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เคยเปิดให้บริการทางด้านไอทีในยุกแรกๆ ซึ่งจัดอยู่ในเรื่องของไอทีเอ้าท์ซอร์สซิ่ง และในอีกหลายปีต่อมา ก็พบว่ามีผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายต่าง ๆ เริ่มเดินตามแนวทางนี้ เช่น Telstra, Telecom New Zealand, Singtel ในภูมิภาคนี้ และ BT และ Orange Business Services ในระดับโลก ซึ่งชื่อที่กล่าวมานั้นยังเป็นเพียงเล็กน้อย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงผลักดันมาจากการชะลอตัวหรือการติดลบจำนวนมากของรายได้ จากการให้บริการโทรคมนาคมที่ทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำเป็นต้องมองหาพื้นที่ใหม่ ๆ ในการขยายธุรกิจของตนเอง การเข้ามาเล่นในตลาดไอทีนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดเมื่อบรรดานักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมจำนวนมากได้ส่งสัญญาณเตือนว่า ผู้ให้บริการบริการโทรคมนาคมจะไม่สามารถยกระดับของพวกเขาได้ดีพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อไอทีได้ทั่วโลก ผลงานกว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้นยังคงค่อนข้างชี้ชัดลำบาก อย่างดีที่สุดเท่าที่พบก็คือผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายรายกำลังขาดทุนและถอนตัวจากงานที่ต้องใช้โปรไฟล์สูงซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารโครงการไอซีทีเอ้าท์ซอร์สซิ่งขนาดใหญ่ที่ไม่ดี ในภูมิภาคนี้ ตัวอย่างเช่น Telstra ได้ขายแผนกที่ให้บริการด้านไอทีไปแล้วคือ KAZ ซึ่งเป็นบริษัทที่เพิ่งซื้อมาได้ไม่กี่ปีเท่านั้น แต่ด้วยวิวัฒนาการของคลาวด์ โมบิลิตี้และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมาย นั้นกำลังจะหมายความว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะกลับมารุกตลาดนี้อีกครั้งในปี 2554

(6) เวอร์ชวลเดสก์ท็อปจะเป็นตัวปูทางให้กับ Workplace-as-a-Service
บริการเวอร์ชวลเดสก์ท็อปได้แสดงถึงความมีศักยภาพอย่างมากในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายสำหรับการเป็นเจ้าของเดสก์ท็อป แต่การเชื่อมต่อและการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานกันเป็นจำนวนมากนั้นจะยังคงเป็นเรื่องท้าทายหลักอยู่เสมอและอาจจะเปรียบได้เหมือนกับ “กำลังเดินลุยไฟ” ซึ่งอาจจะโดนไฟไหม้ได้ถ้าหากบริหารจัดการไม่ดี สิ่งหนึ่งที่ทุกคนยอมรับและเห็นด้วย สำหรับเวอร์ชวลเดส์ก์ท็อปคือเรื่องของความซับซ้อนของมัน ด้วยความนิยมของ iPads ในโลกของ B2B และการมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกเช่น แท็บเล็ท สามารถใช้งานได้ตามที่คาดหวังและอุปกรณ์มือถือประเภทอื่น ๆ การทำเวอร์ชวลไลเซชั่นสำหรับอุปกรณ์ปลายทางเหล่านี้คาดว่าจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นการทดสอบเชิงทฏษฏีและความต้องการของตลาดในปี 2554 ด้วย

(7) พลังจากดาต้าเซ็นเตอร์จะเด่นชัดในโลกของผู้ที่สามารถให้บริการคลาวด์
จากบางส่วนของการคาดการณ์ของไอดีซี ได้ระบุว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งความสับสนสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการในภูมิภาคนี้ ขณะที่ไอดีซีได้เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้เกือบร้อยละ 90 ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้ กำลังจะให้เปิดให้บริการคลาวด์หรืออย่างน้อยได้ให้ความสนใจที่เปิดให้บริการคลาวด์และ คาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนอย่างมากสำหรับแนวโน้มนี้ในปี 2554 และปีถัดไป ไอดีซี คาดว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมในภูมิภาคนี้ยังคงทุ่มเงินอีกหลายพันล้านในการสร้างและพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง เพื่อรับรองการเปิดให้บริการคลาวด์ ไอดีซี ยังคาดว่าจะมีกิจกรรมทางการตลาดที่น่าตื่นเต้นเกิดขึ้น เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มที่จะสร้างความแตกต่างในบริการคลาวด์โดยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมเป็นเจ้าของเองทั้งหมด

(8) การหาพันธมิตรของผู้ค้าไอทีจะลดปัญหาในการเข้าตลาด SMB ที่มีขนาดใหญ่
บริษัทด้านไอทีต่าง ๆ กำลังมองหาแนวทางการเป็นพันธมิตรธุรกิจกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด SMB ซึ่งยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนรวมของผู้ที่จะใช้บริการตลาด SMB ได้ถูกเรียกว่า เป็นตลาด Long tail (ตลาดที่มีกำลังซื้อน้อยแต่ก็ยังมีอัตราซื้ออย่างต่อเนื่อง) และจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายมากที่ว่าทำไมบริษัทไอทีต่าง ๆ ต้องการส่วนแบ่งในตลาดนี้ให้ได้มากที่สุด มันเป็นตลาดที่ท้าทายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดหากพิจารณาจากตัวเลขที่เกี่ยวข้องเช่น – การพิจารณาตัวเลขของจำนวนประเทศในภูมิภาคนี้ และยังรวมไปถึงความยากลำบากในการติดต่อกับลูกค้าแต่ละรายในแต่ละแห่ง

(9) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มที่จะลงมือทำคลาวด์คอมพิวติ้งแล้ว
นอกจากเรื่องเดิม ๆ ที่พูดถึงว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมและผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตกำลังเปิดให้บริการคลาวด์ให้กับผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไปหรือองค์กรธุรกิจ แต่กลับมีกลุ่มธุรกิจย่อยที่กำลังเกิดใหม่และน่าจับตามองซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการไอที โดยผู้จัดหาอุปกรณ์เครือข่าย (NEP) ที่กำลังขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคม ได้ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีของตนเองหรือการให้บริการเหล่านี้ไปสู่การให้บริการคลาวด์ที่ทำเงินได้ โดยรูปแบบการให้บริการคลาวด์ที่จะนำเสนอในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นแบบ “ผู้ให้บริการหนึ่งรายต่อลูกค้าหลายราย” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องคาใจอยู่เสมอ เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ให้บริการคลาวด์จะต้องไปแชร์เซิฟเวอร์เดียวกันกับคู่แข่งของเขา เพื่อขจัดปัญหาเช่นนั้น NEP กำลังมองหาแนวทางในการนำเสนอบริการเหล่านี้ในลักษณะ hosted private cloud ซึ่งจะมีการจัดสรรโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมแต่ละราย ด้วยทิศทางในอนาคตที่จะมุ่งไปสู่การมีโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ที่เสมือนจะแยกกันอย่างชัดเจนจะทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหลายจะรู้สึกสบายใจมากขึ้นในเรื่องของแนวคิดการใช้งานร่วมกัน

(10) ไฟเบอร์ออปติคยุคใหม่ 100G จะเป็นสิ่งจำเป็นในตลาดรับส่งข้อมูลที่ปริมาณสูง
ในเดือนมีนาคม 2550, การศึกษากลุ่มที่ 15 (SG 15) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ได้อนุมัติให้ขยายมาตรฐานของ G.709 OTN เพิ่มมากกว่า 43 Gb/s ที่ใช้ในปัจจุบัน (เรียกว่า”40G”) และสเปคใหม่นี้จะเรียกว่า OTU-4 ข้อกำหนดสำหรับการส่งสัญญาณ OTN ใหม่ได้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมาและอัตราการรับส่ง OTU 4 ผ่านสายได้ถูกกำหนดไว้ที่ 112 GB/s ซึ่งสามารถนำมาใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 100 Gps อีเทอร์เน็ตได้ ไอทียู ยังได้กำหนดกรอบและอัตราการรับส่งผ่านสายเสร็จสมบูรณ์สำหรับเครือข่ายรับส่งข้อมูลระยะไกลหรือไกลมาก (DWDM) ขนาด 100G ไอทียูยังได้ตัดสินใจแล้วที่จะใช้วิธี Dual Polarization Quadrature Phase Shift-Keying (DPQPSK) Modulation และเป็นจุดเชื่อมโยงกันกับการใช้เครือข่ายรับส่งระยะทางไกลขนาด 100G ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายเช่น Ciena, Alcatel – Lucent และ Infinera ได้เริ่มที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในเชิงพาณิชย์แล้วสำหรับตัวรับส่งข้องมูลระยะทางไกลแบบ DWDM 100G ซึ่งคาดว่าจะมีการวางจำหน่ายกันอย่างเป็นทางการในปี 2554 นี้

เกี่ยวกับเรื่อง 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญของไอดีซีเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ในแต่ละภูมิภาคจะมีนักวิเคราะห์ทำหน้าที่ในการเผยแพร่แนวโน้มในเรื่องเฉพาะด้านต่าง ๆ อัพเดทอยู่เสมอ ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปไซด์ http://www..com.sg/predictions2011.

View :1445
Categories: Press/Release Tags:

ไอดีซี คาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญในปี 2554

December 13th, 2010 No comments

ไอดีซี คาดว่า การดำเนินธุรกิจของภูมิภาคเอเชียและมุมมองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที นั้นจะยังคงถูกเน้นหนักไปที่ภาพของการเติบโตอย่างยั่งยืนและหรือในบางกรณีมีอัตราการเติบโตในระดับสูง ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนส่งผลให้เกิดการแปลงสภาพของอุตสาหกรรม ไอซีที ตามลำดับ และยังเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

“แม้ว่า ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบที่ไม่รุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก แต่ทว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ เมื่อภาวะทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีความไม่แน่นอนราวปลายปี 2551 นั้น บรรดาบริษัทต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้เริ่มที่จะเพิ่มสนใจไปยังการเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายของลูกค้าในปัจจุบันให้สูงขึ้น มากกว่าที่จะหันไปรุกตลาดใหม่ ๆ และจากเหตุผลดังกล่าว สภาพการแข่งขันในภูมิภาคนี้ก็ยังคงทวีความเข้มข้นขึ้นหลังจากวิกฤตได้ผ่านพ้นไปแล้วและยังหมายรวมไปถึงการขยายตัวของตลาดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตที่เริ่มกลับเข้ามาเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงกันอีกครั้ง องค์กรต่าง ๆ ในทุกภาคธุรกิจในปัจจุบันกำลังประสบกับสภาพการแข่งขันที่รุนแรงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าหรือการให้บริการ และไอดีซีคาดว่า แนวโน้มดังกล่าวนี้จะยังคงต่อเนื่องไปอีกสองถึงสามปีข้าง หน้า ไอดีซีเชื่อว่าแนวคิดริเริ่มที่มองลูกค้าเป็นตัวตั้งนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจลำดับต้น ๆ สำหรับตลาดที่กำลังเกิดใหม่ในปี 2554 และปีต่อ ๆ ไป” กล่าวโดย นายคลาวส์ มอร์เทนเซน หัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเทคโนโลยีเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ไอดีซีคาดว่า ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงพอใจต่ออัตราการเติบโตในระดับสูงอีกปีหนึ่ง โดย ประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นมากที่สุดของภูมิภาคนี้ในปี 2554

ถัดจากนี้ไปคือ สิ่งเหล่านี้ไอดีซีเชื่อว่าจะเป็นแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบตลาดไอซีทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้

1. แอพพลิเคชั่น Socialytic จะเปลี่ยนตลาด
ไอดีซี คาดว่าในปี 2554 จะเป็นปีที่มีแนวโน้มของการประสานกันระหว่าง social media กับ business analytical ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มให้กับบรรดาแอพพลิเคชั่นหลัก ๆ สำหรับองค์กรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ กำลังเริ่มที่จะฝังตัวเรื่องของ unified communications และ social media ไว้กับการทำงานปัจจุบัน และ ไอดีซีคาดว่า แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจทุกประเภทกำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของระบบโครงการสร้างการทำงาน ด้วยการรวมซอฟท์แวร์ด้าน social/collaboration และงานด้านการวิเคราะห์ เข้าไปเป็นหน่วยหนึ่งในแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่ใช้งานมาดั้งเดิม ในปี 2554 นี้

2. Mobilution – Mobility จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดไอที
ไอดีซี กำลังเห็น สิ่งที่เราจะเรียกได้ว่า “มหาพายุ (perfect storm)” ที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีหลายประเภทที่รวมตัวกัน ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่อง mobility แท็บเล็ต มีเดียแท็บเล็ต อย่างไอแพด และสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ในปัจจุบันสามารถใช้งานด้านซอฟ์แวร์หรือเซอร์วิสสำหรับงานองค์กรในเวอร์ชั่นสมบูรณ์ได้เกือบทั้งหมด จากการมุ่งไปสู่เทคโนโลยี ในปัจจุบันนี้ เรากำลังจะพบว่าระบบไอทีต่าง ๆ จำนวนมากกำลังจะเริ่มให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นเวอร์ชวลไลซ์ มากขึ้น ด้วยการลดความสำคัญของงานประมวลผลที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์ สิ่งนี้จะทำให้ “ทุกสิ่งทุกอย่าง” กลายเป็น mobile อย่างจริงจังและไอดีซีเชื่อว่า ในปี 2554 นี้จะเป็นปีที่เป็นตัวเร่งสำหรับเรื่องดังกล่าวนี้

3. “จ่ายน้อยยุ่งยากน้อย – Less for Less” – พอร์ทัลสำหรับให้ลูกค้าใช้บริการด้วยตนเองจะเป็นหัวหอกในการนำเสนอบริการราคาประหยัดที่ยึดเอาลูกค้าเป็นตัวตั้ง
ภาวะการณ์แข่งขันในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนก็ตาม คาดว่าจะทวีความเข้มข้นในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ จากเหตุผลดังกล่าว องค์กรธุรกิจจำนวนมากจะพบงานหนักกว่าที่เคยพบมาในการสร้างความแตกต่างเฉพาะตัวของตนเองเพื่อเป็นจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจให้เกิดขึ้นในตลาด ไอดีซี คาดว่า การมองลูกค้าเป็นตัวตั้ง – การปรับเปลี่ยนสินค้าหรือบริการไปตามสภาพของตลาดที่เปลี่ยนไป – จะกลายเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็เป็นส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกัน เราก็กำลังจะเห็นแนวคิดหรือวิถีชีวิตที่มาจากคน Gen-Y เพิ่มขึ้นในโลกของธุรกิจอีกด้วย ด้วยแรงขับเคลื่อนจากสองสิ่งนี้ในสภาพแวดล้อมของการทำงาน บทบาทของการให้บริการด้วยตนเอง (self-service) ที่เป็นการใช้งานผ่านเว็บไซท์จะกลายเป็นเรื่องสำคัญ จากแนวคิดของ “จ่ายน้อยยุ่งยากน้อย” หมายถึงค่าใช้จ่ายที่น้อยสำหรับการใช้บริการที่จะเกิดขึ้นสำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการ ที่ไม่มีความซับซ้อนต่อการใช้บริการ ง่ายต่อการให้บริการดูแลลูกค้า ซึ่งไอซีทีจะมีบทบาทที่สำคัญในเรื่องของบริการด้วยตนเองที่ “จ่ายน้อยยุ่งยากน้อย” ที่ใช้แนวคิดลูกค้าเป็นตัวตั้ง

4. Analytics จะช่วยเร่งการติดตามพฤติกรรมการบริโภคในเอเชีย
การแข่งขันที่คาดว่าจะทวีความเข้มข้นในเอเชียในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้จากธุรกิจจำนวนมากที่กำลังมุ่งเข้าตลาดในภูมิภาคนี้ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโต จากเหตุผลในเรื่องของความสามารถในการพัฒนาวิธีการตัดสินใจและช่วยส่งเสริมให้รายได้เพิ่มขึ้นสูงข้น การวิเคราะห์ต่าง ๆ ด้านธุรกิจถูกคาดว่าจะเคลื่อนเข้าสู่ระยะกลางสำหรับบรรดาซีไอโอ ในปี 2554 เมื่อเทคโนโลยีนี้กำลังถูกมองว่าเป็นตัวช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เพื่อความสามารถในการแข่งขันได้

5. Apple’s iPad จะได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในเรื่อง Client Virtualization
ด้วยกระแสความนิยมในสินค้า อย่าง Apple’s iPhone และล่าสุดอย่าง iPad ในปี 2533 นั้น ซีไอโอของแต่ละองค์กรในปัจจุบันกำลังถูกเชิญชวนโดยผู้บริหารระดับสูงของ Apple เพื่อโน้มน้าวให้ผลิตภัณฑ์ของ Apple สามารถเชื่อมต่อเข้าไประบบไอทีขององค์กรและสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับได้ ทั้งที่ ซีไอโอกำลังกังวลว่ามีโอกาสที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ โซลูชั่นทางเลือกที่เป็นไปได้ทางหนึ่งคือการใช้ client virtualization ด้วยการสร้างช่วงของการใช้งานที่เป็นเวอร์ชวลไลซ์จะไม่เพียงแค่ทำให้สามารถเข้าไปใช้งานแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระบบปฏิบัติการ มันยังสามารถสร้างความมั่นใจให้กับซีไอโออีกด้วยว่าพวกเขาจะรู้ได้ว่าข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรนั้นมีความปลอดภัย เรื่องนี้เป็นไปได้ว่าจะใช้เวลาอีกหลายปีในการดำเนินการ แต่ ไอดีซี คาดว่าการใช้งานอย่างแพร่หลายของ client virtualization จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

6. การให้บริการและการจัดตั้งสมาพันธ์จะเป็นตัวโน้มน้าวให้เกิดการใช้งาน cloud ในระดับองค์กร
การเริ่มต้นของเทคโนโลยีและบริการ private cloud สำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2554 เนื่องจาก ความกังวลเกี่ยวกับ ระบบความปลอดภัย ความเสถียร และประสิทธิภาพของบริการ public cloud ไอดีซี คาดว่า ความสามารถในการผสานรวมแอพพลิเคชั่นหรือบริการจาก cloud กับแอพพลิเคชั่นหรือบริการจากหน่วยงานไอทีขององค์กรหรือกับบริการจากผู้ให้บริการ cloud อีกรายหนึ่งนั้นจะเป็นได้ทั้งแรงบวกหรือลบสำหรับการนำ cloud มาใช้ในองค์กร สมมุติว่า ถ้าหากบริษัทต่าง ๆ ในเอเชียจะใช้บริการ cloud ที่จะเน้นไปที่โซลูชั่นที่ใช้งานตามความต้องการเฉพาะเรื่องมากกว่าที่จะใช้งานแบบ “ถอดทิ้งและแทนที่ใหม่” ซึ่งมันจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานในปัจจุบันกับแอพพลิเคชั่นของ cloud จำเป็นจะต้องผนวกเข้าด้วยกัน ถ้าหากปราศจากการผสานรวมกันแล้ว มันจะเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในเรื่องผลตอบแทนการลงทุน (ROI) และแอพพลิเคชั่นที่ถูกเก็บไว้เป็นไซโลในที่ต่าง ๆ จะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสน ไม่ว่าบริการ cloud จะลงหลักในองค์กรต่าง ๆ ในเอเชียตามที่เราได้คาดการณ์ไว้ได้หรือไม่ก็ตาม มันจะขึ้นอยู่กับว่า โครงสร้างพื้นฐานของ cloud ในฝั่งผู้ให้บริการนั้นดีเพียงใด ผู้ติดตั้งเทคโนโลยี cloud ผู้ให้บริการ public cloud และ ผู้ให้บริการ virtual private cloud สามารถผลักดันให้เกิดสมาพันธ์ cloud ได้หรือไม่

7. องค์กรธุรกิจที่ทันสมัยจะเริ่มทำแคทตาล๊อกบนพื้นฐานเกี่ยวกับไอที (catalog-based IT)
จากการที่เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ได้กลับมาฟื้นตัวและธุรกิจต่าง ๆ ก็กำลังเติบโต ผู้ใช้งานจะเริ่มมีความต้องการใช้ทรัพยากรด้านไอทีมากขึ้น ตามระยะเวลาในการทำตลาดได้เพียงสั้น ๆ และการจัดหาทรัพยากรคอมพิวเตอร์มาให้ได้แบบปัจจุบันทันด่วน กำลังกลายเป็นความต้องการที่เหมือนจะเป็นข้อ บังคับอยู่กลายๆ ไอทีในองค์กรต่าง ๆ จะถูกคาดหวังให้สนับสนุนความต้องการใช้งานเฉพาะหน้าที่ ส่วน มากจะเป็นแบบปัจจุบันทันด่วน เพียงหนทางเดียวที่จะตอบสนองต่อความคาดหวังเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ได้คือการติดตาม และ การเตรียมพร้อมในเรื่องทรัพยากรด้านไอที ผ่านแคตตาล๊อกบนพื้นฐานไอที (catalog-based IT) จากผลการสำรวจในหัวข้อ ’s Dynamic IT Benchmark ช่วงต้นปี 2553 นั้น พบว่าร้อยละ 49 จากจำนวน 355 รายของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วภูมิภาคเอเชีย ระบุถึงไอทีที่ใช้บริการด้วยตนเองที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นองค์กรธุรกิจจะเป็นกลยุทธ์ด้านไอทีที่สำคัญสำหรับบริษัท เมื่อภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคฟื้นตัวในปี 2554 ไอดีซี คาดว่า มากกว่าร้อยละ 50 ขององค์กรธุรกิจสัญชาติเอเชียขนาดกลางถึงใหญ่จะกำลังถูกให้สร้างหรือเริ่มที่จะถูกให้สร้าง แคตตาล๊อกบนพื้นฐานไอซีที ในปี 2554

8. Business-as-a-Service: เป็นคำตอบสำหรับการผสานระหว่างไอทีกับธุรกิจเข้าด้วยกัน ?
Business-as-a-Service เป็นการนำเสนอบริการที่เน้นไปในเรื่องของขั้นตอนดำเนินธุรกิจมากกว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที มันเป็นแนวโน้มที่แสดงถึงความสำคัญและผลกระทบที่ไม่ใช่แค่เรื่องไอทีเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงเรื่องการเอ้าซอร์สขั้นตอนการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยทั่วไปอีกด้วย Business-as-a-Service ถูกคาดหมายว่าจะเป็นสิ่งที่นำแสงแห่งความหวังในการจับคู่ระหว่าง ไอที และ ธุรกิจ ให้กลายเป็น “หนึ่งเดียวกัน” เพื่อแข่งขันได้อย่างมั่นใจในตลาดเอเชียแปซิฟิก ในภาวะที่เรียกว่า “เศรษฐกิจโลกหลังวิกฤติจะไม่เหมือนเดิม” เพราะความสามารถในการส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์เชิงธุรกิจได้ ซีไอโอจะสามารถจัดตำแหน่งหรือรวมไอทีเข้าไปกับการดำเนินธุรกิจได้ ไอดีซี เชื่อว่า แนวโน้มดังกล่าวนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและจะเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปี 2554

9. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะหันกลับมาตลาดไอที
Cloud ซึ่งยังคงถูกพูดถึงจนถึงทุกวันนี้ เป็นหนึ่งในยุคของเทคโนโลยีซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมครองตลาดได้ เนื่องจากมันเป็นข้อได้เปรียบที่ติดมาจากการเป็นเจ้าของระบบโครงข่ายการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสิ่งนี้เรื่องจำเป็นที่สำหรับการให้บริการ cloud ทั้งหมด ไอดีซี เชื่อว่า องค์กรส่วนใหญ่จะมุ่งพัฒนาไปสู่รูปแบบ cloud ที่เป็นลูกผสม โดยที่บริษัทหลายแห่งชอบที่จะปกป้องทรัพย์สินของตนเองโดยเฉพาะงานหรือแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญต่อองค์กรไว้ภายใน private cloud ที่ลงทุนเอง ไอดีซีเชื่อว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะไม่หันหลังให้กับโอกาสสำหรับโซลูชั่น private cloud ที่องค์กรต่าง ๆ จะลงทุนเอง ตลาดนี้คาดว่าจะมีมูลค่าราว 752 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 และคาดว่าจะสูงถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2557

10. ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะมองหาเทคโนโลยี Cloud เพื่อใช้ในการดำเนินงาน
นอกเหนือไปจากการพูดคุยกันในเรื่องเดิม ๆ ที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต กำลังเร่งนำเสนอบริการ Cloud ให้กับผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไป หรือองค์กรธุรกิจ แต่กลับมีกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมย่อยที่เกิดใหม่และน่าจับตามอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการไอที โดยผู้จัดหาอุปกรณ์เครือข่าย กำลังจัดหาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแปลงผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี หรือการให้บริการเหล่านี้ไปสู่การให้บริการ cloud ที่ให้ผลตอบแทนกลับมาเป็นตัวเงินได้ รูปแบบการให้บริการ cloud ที่นำเสนอในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นแบบ “ผู้ให้บริการหนึ่งรายต่อลูกค้าหลายราย” ซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่อยู่ในใจเสมอเมื่อกำลังพูดถึงบริการ cloud ที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคม โดยทั่วไปแล้วมักลังเลเป็นอย่างมากที่จะแชร์เซิฟเวอร์เดียวกันกับคู่แข่งของเขา เพื่อขจัดปัญหาเช่นนั้น ผู้จัดหาอุปกรณ์เครือข่าย กำลังมองหาแนวทางในการนำเสนอบริการเหล่านี้ในลักษณะ hosted private cloud ซึ่งจะมีการจัดสรรโครงสร้างพื้นฐานตามตรรกะตามผู้ให้บริการโทรคมนาคมแต่ละราย ด้วยทิศทางในอนาคตที่จะมุ่งไปสู่การมีโครงสร้างพื้นฐานของ cloud ที่เสมือนจะแยกกันอย่างชัดเจน จะทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหลายจะรู้สึกสบายใจมากขึ้นในเรื่องของแนวคิดการใช้งานร่วมกัน

การคาดการณ์ 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญประจำปีของธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีทีในภูมิภาคเอเชียโดย ไอดีซี นั้นได้จัดทำขึ้นจากงานวิจัยล่าสุดของไอดีซีและการระดมสมองของนักวิเคราะห์ที่ประจำทั่วโลกมากกว่า 1 พันคน โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาขยายความต่อในแต่ละภูมิภาค ที่จะทำหน้าที่ในการตรวจทานและให้น้ำหนักในเรื่องของ เหตุการณ์หลัก ๆ ที่เกิดในอุตสาหกรรม แนวโน้มของผู้ใช้งาน กลยุทธ์ของผู้ค้า และมาตรวัดทางเศรษฐกิจ โดยนำเอาสิ่งเหล่านี้มาประกอบการวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวโน้มทางเทคโนโลยีซึ่งจะส่งผลกระทบและเป็นแรงผลักดันให้กับตลาดไอซีทีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นในปี 2554 นี้ ในทั่วโลก สอดคล้องกับเรื่อง 10 อันดับแนวโน้มที่สำคัญของโลกโดย ไอดีซี จะมีทีมงานในระดับภูมิภาคทำหน้าที่ในการเผยแพร่แนวโน้มในเรื่องเฉพาะด้านต่าง ๆ ภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

View :1659

ยอดจำหน่ายพีซี ไตรมาส 3 ปี 2553 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ไม่โตดังหวัง แต่ ไอดีซี ยังมองตลาดในอนาคตเป็นบวก

October 26th, 2010 No comments

จากผลการสำรวจเบื้องต้น ไอดีซี พบว่า ตลาดคอมพิวเตอร์พีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6 จากไตรมาส 2 ของปี 2553 และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 14 เมื่อเปรียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 โดยมียอดจำหน่ายราว 28.7 ล้านเครื่อง และเกือบทั่วทุกประเทศในภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีอัตราการเติบโตของตัวเลขมากกว่าสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตนี้ยังต่ำกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้เล็กน้อยเพียงร้อยละ 1 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มยอดสต็อกสินค้าในฝั่งตัวแทนจำหน่าย รวมถึงผู้ใช้งานในประเทศที่ตลาดเริ่มอิ่มตัวแล้วถูกดึงความสนใจไปยัง Media Tablets เช่น Apple’s iPad อีกด้วย

“ในขณะที่อัตราการเติบโตร้อยละ 14 อาจจะดูไม่ค่อยสดใสนักเมื่อเทียบกับอัตราการเติบร้อยละ 29 ของไตรมาสที่ 2 แต่เราต้องทำความเข้าใจว่า ในไตรมาสนี้ นั้นกำลังเปรียบเทียบกับยอดจำหน่ายที่สูงของไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ซึ่งมีปัจจัยมาจากประเทศจีนที่มีสัญญาณของสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว” กล่าวโดย นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “แม้ว่ายอดจำหน่ายที่ปรากฏออกมานั้นดูเหมือนจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะตัวเลข แต่เราก็ยังคงเห็นว่าตลาดจะมีอัตราการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักได้ในปีหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังซื้อจากภาคธุรกิจที่เริ่มฟื้น”

แท้ที่จริงแล้ว ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังโดดเด่นมากในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการจัดซื้อต่าง ๆ ที่เพิ่มของภาคการศึกษา รวมถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็มีส่วนช่วยทำให้เกิดอุปสงค์ดังกล่าวนี้ด้วย ขณะที่การใช้จ่ายของหน่วยงานภาครัฐฯ ในประเทศออสเตรเลีย ก็เดินหน้าต่อภายหลังที่ทราบผลจากภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสต็อกสินค้าในฝั่งตัวแทนจำหน่ายสำหรับโน๊ตบุ๊ค ในประเทศ จีน อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง ได้ช่วยทำให้ยอดจำหน่ายของประเทศเหล่านี้ใกล้เคียงกับตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสก่อน

ยี่ห้อ Lenovo ยังคงเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคนี้ในไตรมาสนี้ ยี่ห้อ HP ซึ่งเป็นยี่ห้อที่มีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมากจากจุดสุงสุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นับว่ายังโชคดีที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หลังจากที่ยอดตกสามไตรมาสติดต่อกัน ยี่ห้อ ASUS มีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากราคาที่จูงใจและการทำตลาดมินิโน๊ตบุ๊ค อย่างแข็งขันในประเทศจีนตลอดทั้งปีนี้

ตารางที่ 1
สัดส่วนยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ตามผู้ค้าแต่ละราย ในไตรมาส 3 ปี 2553 (ประมาณการณ์เบื้องต้น) เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 และไตรมาส 3 ปี 2552
อันดับที่ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 3 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 2 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 3 ปี 2552 อัตราการเติบโต เปรียบเทียบ ปีต่อปี
1 Lenovo 20.2% 20.2% 18.7% 23%
2 HP 11.6% 11.5% 17.1% -23%
3 Dell 10.1% 9.5% 8.3% 39%
4 Acer 9.3% 8.2% 8.2% 30%
5 ASUS 6.0% 4.9% 4.9% 37%
รายอื่น ๆ 42.8% 45.7% 47.7% 14%
รวม 100.0% 100.0% 100.0% 14%
ที่มา: ไอดีซี ตุลาคม 2553

View :1640
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซี ชี้ Managed Print Services กำลังมาแรงและจะเป็นบริการใหม่ในกลุ่ม managed services ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น

October 13th, 2010 No comments

ไอดีซี สำรวจพบว่า บริการ managed print sevices (MPS) กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และกำลังจะเพิ่มจุดสนใจไปยัง “การให้บริการที่ครบวงจร” มากยิ่งขึ้น ผู้ค้าหลายราย เริ่มที่จะขยายการให้บริการเหล่านี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการให้บริการผ่านระบบของตนเองหรือผ่านพันธมิตรธุรกิจ เพื่อให้บริการ MPS นี้สามารถเจาะตลาดที่กว้างขึ้น

จากปัจจัยหนุนในเรื่องของเทคโนโลยีการให้บริการใหม่ ๆ อย่างเช่น การให้บริการผ่านกลุ่มก้อนเมฆ (Cloud) ไอดีซี เชื่อว่า ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่น กำลังมองหารูปแบบบริการที่มีการควบรวมบริการย่อย ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ ปัจจุบันนี้รูปแบบการบริการที่ตลาดกำลังต้องการจะเป็นลักษณะการเลือกผู้ให้บริการที่สามารถให้บริการแบบควบรวม ทั้งบริการด้าน information technology outsourcing (ITO) และ business process outsourcing (BPO) พร้อมๆ กัน โดยจะทำสัญญาการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายเดียว จากแนวโน้มดังกล่าว ไอดีซี เชื่อว่า ภายในไม่ช้า บริการ MPS ก็จะถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเพิ่มเติมในสัญญาบริการ

สุจิตรา นารายัน ผู้จัดการฝ่ายวิจัยตลาด IT Services ประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เรากำลังค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านพื้นฐานของ MPS เกิดขึ้นซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลักๆ คือ 1. MPS เริ่มที่จะมีการกล่าวถึงกันมากขึ้นที่เป็นรูปแบบของ managed services และบรรดาผู้บริหารทั้งหลายก็กำลังให้ความสนใจ 2. สิ่งนี้จะไม่ใช่บริการที่คุณซื้อพ่วงมากับฮาร์ดแวร์อีกต่อไป แต่กลายเป็นว่าฮาร์ดแวร์จะถูกพ่วงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายใต้รูปแบบสัญญาการบริการ และ 3. การมุ่งไปสู่การให้บริการที่มีการแข่งขันทางด้านราคาได้ ซึ่งจะมีการมุ่งความสนใจไปยังช่องทางต่าง ๆ ที่จะให้บริการ MPS เฉพาะ ช่องทางเหล่านี้จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ตนเองจะมีความสามารถที่จะให้บริการได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่เป็นแค่เพียงส่งมอบและคอยให้บริการตามที่ได้รับแจ้งเท่านั้น

จากข้อมูลสำรวจล่าสุดของไอดีซี ตลาด MPS ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่นคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสะสมโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 17 ในช่วงปี 2553-2557 มูลค่าตลาดจะถึง 530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 และมากกว่า 990 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2557

ไอดีซี คาดว่า ตลาดในประเทศจีน และอินเดียยังคงเป็นตลาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตสูง สุจิตรา กล่าวเสริมว่า บรรดาองค์กรต่าง ๆ ในประเทศจีน และ อินเดียกำลังเิริ่มที่จะเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องมีโซลูชั่นในการบริหารงานเอกสาร โดยเฉพาะ MPS กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบริการนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดระบบโครงสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด (infrastructure optimization) การลดการใช้พลังงาน และ การลดค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ สำหรับประเทศ ออสเตรเลีย เกาหลี และ สิงค์โปร์ คาดว่าตลาดก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหนุนในเรื่องของการนำเทคโนโลยี และ โซลูชั่นใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้งานในองค์กรอย่างเช่น cloud green และ mobility

MPS ยังคงได้รับแรงหนุนจากความต้องการขององค์กรต่าง ๆ ที่กำลังค้นหาเป้าหมายใหม่ที่จะมีส่วนช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับตนเองและต้องการเอ้าซอร์สงานหรือโซลูชั่นด้านการพิมพ์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการทำให้ MPS ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวบริการเอง ในฐานะที่เป็นโซลูชั่นที่ช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและเป็นรูปแบบบริการที่สามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าให้กับผู้ที่ต้องการใช้บริการได้ ในภาวะตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์อะไรได้

สุจิตรา สรุปตอนท้ายว่า “เทคโนโลยี Cloud ได้สร้างฐานที่สมบูรณ์สำหรับการเป็นรูปแบบบริการที่ลดค่าใช้จ่าย สำหรับการดำเนินธุรกิจ MPS ที่ให้บริการบน Cloud นั้น จะเป็นโซลูชั่นที่ไม่มีอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำหรับองค์กรต่าง ๆ ด้วยการคิดอัตราค่าบริการต่อครั้งตามสภาพการใช้งานของธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์สำหรับงานพิมพ์ต่าง ๆ บริการนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงการส่งพิมพ์งานผ่านเทคโนโลยี cloud แต่ยังรวมถึงการสร้างความมั่นใจในการให้บริการด้วยการกำหนดสัญญาการบริการที่ชัดเจน มีแผนงานรองรับที่ชัดเจนว่าจะช่วยลดความเสี่ยงหากธุรกิจต้องหยุดชะงัก และ มีคำมั่นสัญญาจากผู้ให้บริการที่จะส่งมอบบริการได้ตามข้อตกลง

View :1549
Categories: Press/Release Tags: ,