Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที ศึกษาแนวทางกำกับธุรกิจบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

February 21st, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผย ว่า คณะ กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการกำกับธุรกิจ บริการทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สำรวจสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกิจบริการภาคเอกชนหรือการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงและจำเป็นต้องกำกับดูแลในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการศึกษาแนวนโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการของต่างประเทศ พร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพความพร้อมในการกำกับดูแลธุรกิจบริการกับ ของประเทศไทย ซึ่งผลจากการศึกษานี้จะนำมาใช้ในการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบกิจการดังกล่าวมีความเข้มแข็งเป็นไปตามมาตรฐานสากล เสริมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างการยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน อันเป็นการสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจ ของไทยให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างชาติได้

โดยปัจจุบัน คณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ธุรกิจบริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Certification Authority : CA และธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Payment Service Provider เป็น ธุรกิจบริการที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างและยอมรับในระบบข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ในวงกว้างหากไม่มีการกำกับดูแล และตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้มีการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ โดยให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่พิจารณากำหนดประเภทธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจจำเป็นต้องมีการกำกับดูแล จึงได้มีการตราเป็นกฎหมายลำดับรองในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ฯ คือ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับ สนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

นางจีราวรรณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ คณะ กรรมการฯ ได้วางแผนที่จะทำการศึกษาธุรกิจบริการภาคเอกชนหรือการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐที่มีความจำเป็นต้องกำกับดูแลโดยคำนึงถึง 3 ประเด็น คือ ธุรกิจนั้นจะต้องมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิน ความน่าเชื่อถือในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และต่อสาธารณชน เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความน่าเชื่อถือ การยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของการออกใบรับรองเพื่อยืนยันตัว บุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัล ธุรกิจเกี่ยวกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Document Service) ธุรกิจบริการเกี่ยวกับ Website, Web Hosting, e-Market Place หรือ ธุรกิจที่มีเนื้อหาด้านบันเทิง/มัลติมีเดีย ( e-Content Service) เป็น ต้น เนื่องจากธุรกิจบริการดังกล่าวเป็นธุรกิจบริการที่เชื่อมโยงกับการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะเกิดความเสี่ยงและจำเป็นต้องกำกับดูแล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้เอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ”

View :1671

ก.ไอซีที จับมือ ธนาคารโลกเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายไอซีทีของไทย

February 18th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับธนาคารโลก ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (Institutional Capacity Building on ICT Policies in Thailand) โดยธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 300,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 9,300,000 บาท และกระทรวงฯ สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม 100,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 3,100,000 บาท
“การดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรฯ นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกระทรวงฯ ในการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรระดับบริหารในเรื่องการวางแผนกำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมและทั่วถึง การศึกษาวิจัยเรื่อง Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีทีให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาวิจัยในด้าน e-Government อันเป็นการส่งเสริมการให้บริการของภาครัฐไปสู่ประชาชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแบบบูรณาการ และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 รวมทั้งสอดคล้องกับโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อรองรับนโยบายผู้บริหาร และโครงการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้ดำเนินการอีกทางหนึ่งด้วย” นายวรพัฒน์ กล่าว
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงฯ จะได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ นี้ คือ 1.โครงการ Training of Staff เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ จำนวนประมาณ 30 คน ซึ่งได้แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 3 หัวข้อ คือ ด้าน          e-Government ด้าน broadband และด้าน IT/ITES 2. โครงการศึกษาการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอุตสาหกรรมบริการ      ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย (IT/ITES) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs    3.โครงการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน โดยจะศึกษาและออกแบบระบบงานด้าน e-Government ในด้านที่ต้องการ เช่น e-procurement เป็นต้น 4. โครงการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย (Thailand : Rural Broadband Infrastructure Development) นอกจากนี้ธนาคารโลกยังได้ให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ IT (IT Support) และด้านการตรวจสอบการดำเนินโครงการ (Audit) อีกด้วย
“โครงการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 ปี ซึ่งกระทรวงฯ จะเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือนเพื่อจะได้นำผลการศึกษาจากโครงการฯ มาใช้ประโยชน์ ทั้งสรุปผลการศึกษาแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน สรุปผลการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broadband network) ให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล และสรุปผลการศึกษาระบบ Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) โดยจะนำมาใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านนโยบายของกระทรวงฯ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกระทรวงฯ ด้านการพัฒนานโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสากลและสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็น Smart Thailand ได้ ตลอดจนเพื่อจัดทำนโยบายในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการด้านไอซีทีขนาดย่อม (IT/ITES SMEs) ของประเทศไทยต่อไป” นายวรพัฒน์กล่าว

View :1387
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที จับมือ ธนาคารโลกเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายไอซีทีของไทย

February 18th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงไอซีทีกับธนาคารโลก ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรด้านนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (Institutional Capacity Building on ICT Policies in Thailand) โดยธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 300,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 9,300,000 บาท และกระทรวงฯ สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม 100,000 ยูเอสดอลล่าร์ หรือประมาณ 3,100,000 บาท
“การดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรฯ นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกระทรวงฯ ในการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรระดับบริหารในเรื่องการวางแผนกำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการกระจายบริการโทรคมนาคมพื้นฐานด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมและทั่วถึง การศึกษาวิจัยเรื่อง Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไอซีทีให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาวิจัยในด้าน e-Government อันเป็นการส่งเสริมการให้บริการของภาครัฐไปสู่ประชาชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐแบบบูรณาการ และก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 รวมทั้งสอดคล้องกับโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพเพื่อรองรับนโยบายผู้บริหาร และโครงการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ได้ดำเนินการอีกทางหนึ่งด้วย” นายวรพัฒน์ กล่าว
สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงฯ จะได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ นี้ คือ 1.โครงการ Training of Staff เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ จำนวนประมาณ 30 คน ซึ่งได้แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 3 หัวข้อ คือ ด้าน          e-Government ด้าน broadband และด้าน IT/ITES 2. โครงการศึกษาการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอุตสาหกรรมบริการ      ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย (IT/ITES) โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs    3.โครงการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน โดยจะศึกษาและออกแบบระบบงานด้าน e-Government ในด้านที่ต้องการ เช่น e-procurement เป็นต้น 4. โครงการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย (Thailand : Rural Broadband Infrastructure Development) นอกจากนี้ธนาคารโลกยังได้ให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ IT (IT Support) และด้านการตรวจสอบการดำเนินโครงการ (Audit) อีกด้วย
“โครงการดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3 ปี ซึ่งกระทรวงฯ จะเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือนเพื่อจะได้นำผลการศึกษาจากโครงการฯ มาใช้ประโยชน์ ทั้งสรุปผลการศึกษาแนวทางในการใช้ระบบ e-Government สำหรับการบริการภาครัฐสู่ประชาชน สรุปผลการศึกษาแนวทางในการขยายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broadband network) ให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล และสรุปผลการศึกษาระบบ Information Technology and Information Technology Enabled Service (IT/ITES) โดยจะนำมาใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านนโยบายของกระทรวงฯ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของกระทรวงฯ ด้านการพัฒนานโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสากลและสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็น Smart Thailand ได้ ตลอดจนเพื่อจัดทำนโยบายในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการด้านไอซีทีขนาดย่อม (IT/ITES SMEs) ของประเทศไทยต่อไป” นายวรพัฒน์กล่าว

View :1360
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เผยความคืบหน้าตั้ง 2 องค์การมหาชนในกำกับ

February 14th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี  ได้ประชุมปรึกษากันเมื่อวันที่ 25  พฤศจิกายน 2553 และลงมติเห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในกำกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแล้ว โดย ก.พ.ร. ได้ให้ความเห็นว่า สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ นั้นเป็นภารกิจที่สามารถจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนได้ เนื่องจากมีลักษณะเป็นบริการของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร แต่มีความ   มุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีลักษณะของการดำเนินกิจการในลักษณะเป็นบริการสาธารณะ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและคล่องตัว
ส่วน สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ฯ นั้น ก.พ.ร.ให้ความเห็นว่าเป็นภารกิจที่สามารถจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนได้ เนื่องจากมีลักษณะเป็นบริการสาธารณะที่เป็นการให้บริการกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ มากกว่าการให้บริการกับหน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงไอซีที และได้รับการสนับสนุนจากรัฐ รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่มีทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับสูง ตลอดจนมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระคล่องตัว ก.พ.ร. จึงได้เห็นชอบให้จัดตั้ง 2 องค์การมหาชนตามที่กระทรวงไอซีทีเสนอ
“หลังผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งองค์การมหาชนดังกล่าวแล้ว กระทรวงฯ ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การมหาชนทั้ง 2 แห่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการตรวจพิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะนำร่างฯ ดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว
สำหรับบทบาทของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่กระทรวงฯ จะจัดตั้งขึ้นนั้น ได้กำหนดให้เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ สร้างโอกาส และความเท่าเทียมให้กับทุกคน โดยมีภารกิจหลัก คือ ศึกษา วิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือประชาชน ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศทั้งในระดับการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และการผลักดันให้จำนวนและมูลค่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงให้บริการทางวิชาการหรือการดำเนินการใดๆ ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ฯ จะมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางของประเทศในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความก้าวหน้าและทัดเทียมนานาประเทศ ซึ่งภารกิจสำคัญ คือ วิจัย พัฒนา และปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบ โครงสร้างพื้นฐานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประเทศไทย รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีทักษะความชำนาญด้านระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องด้วย

View :1333
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที ลงนามสัญญาเดินหน้าตั้งศูนย์ฯ ICT ชุมชนเพื่อ พ่ อหลวง 1,000 แห่งทั่วประเทศ

February 9th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญา ซื้อขายครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงาน “ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1,000 ศูนย์ ” ว่า เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษามหาราชา และ 80 พรรษามหาราชินี ที่เวียนมาบรรจบในปี 2554 นี้ กระทรวงฯ จึงได้ร่วมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ด้วยการจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1 , 000 ศูนย์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารของประชาชน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารในด้านต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนการเข้าถึงบริการภาครัฐ (e-Service) และการ แลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างชุมชนได้โดยทั่วกัน

“การจัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเพื่อพ่อหลวง นี้ นอกจากจะเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติฯ เนื่องในปีมหามงคลแล้ว ยังเป็นการสนองนโยบายของ รัฐบาลที่ ต้องการ ผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ ( Knowledge Based Society) ตลอด จนเพื่อให้เป็นไปตามสังคมโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารอย่างแพร่หลาย ดังนั้น กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการผลักดันสังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคมแห่ง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวขึ้นใน บริเวณชุมชนและศาสนสถาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมหลากหลาย อันเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน ให้สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต” นางจีราวรรณ กล่าว

โดยภายหลังจากที่กระทรวงฯ ได้ประกวดราคาการจัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานในโครงการฯ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction) แล้ว ปรากฏว่า บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคาทั้ง 3 กลุ่ม ในวงเงินประมาณ 356 ล้านบาท ทำให้กระทรวงฯ สามารถประหยัดวงเงินงบประมาณได้กว่า 102 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 22.24 % และในวันนี้ (9 ก.พ.) กระทรวงฯ จึงได้จัดพิธีลงนามสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานโครงการดังกล่าว ร่วมกับบริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่นฯ เพื่อให้ดำเนินการสร้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ให้แก่ชุมชนในภาคส่วนต่างๆ ณ สถานที่ที่เหมาะสม จำนวน 1 , 000 ศูนย์ โดยจะแบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคเหนือทั้งหมดและภาคกลางบางส่วน จำนวน 320 ศูนย์ กลุ่มที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จำนวน 330 ศูนย์ และกลุ่มที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคใต้ทั้งหมดและภาคกลางบางส่วน จำนวน 350 ศูนย์

และกระทรวงฯ จะได้มีการคัดเลือกชุมชนขนาดใหญ่ เพื่อจัดตั้งศูนย์ฯ ขนาด L พร้อม ติดตั้งไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ตลับหมึกสำรอง ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ Web Camera พร้อม Stereo Headset เครื่อง ไฟฟ้าสำรอง โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ เก้าอี้ ป้ายชื่อศูนย์ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งตามสัญญาจ้างกำหนดให้บริษัทฯ ส่งมอบและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หลังการลงนามสัญญา

“ในการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน นี้ กระทรวงฯ มุ่งหวังที่จะขยายช่องทางการใช้ระบบบริการภาครัฐไปสู่ ส่วนท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารและ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ประชาชนในท้องถิ่นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 219 ศูนย์ และปีงบประมาณ 2553 จัดตั้งเพิ่มอีก 600 ศูนย์ ให้กระจายตัวออกไปในระดับอำเภอทั่วประเทศ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1404
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ลงนามสัญญาฯ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง 1,000 ศูนย์

February 9th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทร วงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงาน “ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1,000 ศูนย์” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ณ ห้องประชุม 803 ชั้น 8 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1 , 000 ศูนย์ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษามหาราชา และ 80 พรรษามหาราชินี ที่เวียนมาบรรจบในปี 2554 นี้ ซึ่งได้จัดให้มีการประกวดราคาการจัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานในโครงการ ดังกล่าว ด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction) และปรากฏว่า บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคาในวงเงิน ประมาณ 356 ล้านบาท ทำให้กระทรวงฯ สามารถประหยัดวงเงินงบประมาณได้กว่า 102 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 22.24 %

View :1440
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เสริมสร้างความรู้เทคโนโลยีใหม่ของระบบ 3G แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ

February 3rd, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมและบรรยายทางวิชาการ Emerging ICT New Services ครั้งที่ 4 เรื่อง “LTE beyond Service” ว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency หรือ JICA ดำเนินโครงการ Capacity Building of Thailand in National ICT Development ภาย ใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อให้คำปรึกษาด้านนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรูป แบบใหม่ระหว่างกัน จึงได้มีการจัดการประชุมและบรรยายทางวิชาการ Emerging ICT New Service ขึ้น

“การประชุมและบรรยายทางวิชาการฯ ดังกล่าว ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 4 โดยครั้งนี้ได้จัดบรรยายในหัวข้อ LTE beyond 3G Service เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบ LTE ในการให้บริการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ CIO รวมทั้ง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการ ด้านนโยบายและแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากภาครัฐ รวมทั้งสถาบันการศึกษา และผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำนโยบาย แผนงาน โครงการต่างๆ ตลอดจนเพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการ LTE ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับภาครัฐและในเชิงพาณิชย์สำหรับภาคเอกชนด้วย“ นายวรพัฒน์ กล่าว

สำหรับระบบ LTE หรือ Long Term Evolution นี้ คือ เทคโนโลยี ชนิดหนึ่งของระบบ 3.9G เป็น เทคโนโลยี ใหม่ของการสื่อสารไร้สายระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีฐาน เพื่อใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G ไปสู่ยุคต่อไป คือ ยุคที่ 4 หรือ 4G โดย LTE เป็นเทคโนโลยีและ Application ใหม่ ที่เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งได้มีการพัฒนาการให้บริการให้ มีความเร็วในการรับ – ส่งข้อมูลดาวน์โหลดและอัพโหลด ขนาด 100 Mbps จึงมีประสิทธิภาพมากกว่า 3G และมีความเสถียรเช่นเดียวกับ FTTH ( Fiber To The Home)

View :1389
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เผยผล e-Auction ซื้อครุภัณฑ์ตั้งศูนย์ฯ ICT ชุมชนเพื่อพ่อหลวง 1,000 ศูนย์ทั่วประเทศ ประหยัดกว่า 102 ล้านบาท

February 3rd, 2011 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดจัดทำ “ โครงการจัดตั้งศูนย์ การเรียนรู้ ICT ชุมชนเพื่อพ่อหลวง ” เนื่อง ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษามหาราชา และ 80 พรรษามหาราชินี เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารของประชาชน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารในด้านต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนการเข้าถึงบริการภาครัฐ ( e-Service) และ การแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันประสบการณ์ระหว่างชุมชนได้โดยทั่วกัน ประกอบกับเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่ได้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ( Knowledge Based Society) เพื่อ ให้เป็นไปตามสังคมโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแพร่ หลาย จึงได้มอบหมายให้กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการผลักดันสังคมไทยเข้าสู่ยุคสังคมแห่ง ภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นผู้ดำเนินโครงการ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน นี้ กระทรวงฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งได้ 20 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งได้ 40 ศูนย์ ปีงบประมาณ 2552 จัดตั้งได้อีก 219 ศูนย์ และปีงบประมาณ 2553 จัดตั้งเพิ่มอีก 600 ศูนย์ ให้กระจายตัวออกไปในระดับอำเภอทั่วประเทศ

สำหรับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง จำนวน 1,000 ศูนย์ นี้จะจัดตั้งขึ้นในบริเวณชุมชนและศาสนสถาน โดยจะแบ่งพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคเหนือทั้งหมดและภาคกลางบางส่วน จำนวน 320 ศูนย์ กลุ่มที่ 2 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จำนวน 330 ศูนย์ และกลุ่มที่ 3 ดำเนินการในพื้นที่เขตจังหวัดภาคใต้ทั้งหมดและภาคกลางบางส่วน จำนวน 350 ศูนย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมหลากหลาย อันเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชน โดยให้สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน นี้ กระทรวงฯ ต้องการขยายช่องทางการใช้ระบบบริการภาครัฐไปสู่ส่วนท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสารและ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น

โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT เพื่อพ่อหลวงนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีวงเงินงบประมาณในการดำเนินงานประมาณ 458 ล้านบาท ทางกระทรวงฯ จึงได้เปิดให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประกวดราคาการจัดซื้อครุภัณฑ์และวัสดุสำนักงานในโครงการฯ ด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Auction) ซึ่งมีบริษัทให้ความสนใจเข้าร่วมประกวดราคา 16 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 จำนวน 5 ราย กลุ่มที่ 2 จำนวน 5 ราย และกลุ่มที่ 3 จำนวน 6 ราย ส่วนบริษัทที่ชนะการประกวดราคาครั้งนี้ คือ บริษัท สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดเป็นจำนวนเงินรวม 3 กลุ่มประมาณ 356 ล้านบาท ทำให้กระทรวงฯ สามารถประหยัดงบประมาณได้กว่า 102 ล้านบาท นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังได้นำเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนเพื่อพ่อหลวง เป็นโครงการนำร่องในโครงการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานอีกด้วย ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1408
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที จัดประชุมคณะมนตรีองค์การ APSCO ครั้งที่ 4 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ

January 27th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะมนตรีองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก หรือ APSCO ครั้งที่ ๔ ว่า ประเทศไทยได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากการประชุมคณะมนตรีขององค์การ APSCO ครั้งที่ ๓ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๓ ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้จัดการประชุมคณะมนตรีองค์การ APSCO ครั้งที่ ๔ ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ณ ประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมดุสิตธานี เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

“การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลกตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยกับรัฐสมาชิกอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในด้านภาพลักษณ์ของประเทศ จากการเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ อันจะยังประโยชน์ในด้านการลงทุนภายในประเทศ พร้อมกันนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้มีผู้แทนจากประเทศไทยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์การระหว่างประเทศต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับวัตถุประสงค์ของการประชุมคณะมนตรีองค์การ APSCO ครั้งที่ ๔ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนากิจกรรมด้านอวกาศของประเทศสมาชิกเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกันเพื่อประสานใช้ประโยชน์จากศักยภาพ ที่มีอยู่ร่วมกัน พร้อมกันนี้ยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนสร้างสัมพันธไมตรีและยกระดับความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กร รวมทั้งสถาบันต่างๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศและการใช้ประโยชน์ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนแนวทางการใช้ประโยชน์จากอวกาศโดยสันติในการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างประเทศด้านอวกาศและการใช้ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยด้านกิจการอวกาศให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกด้วย ซึ่งการประชุมฯ ครั้งนี้ได้มีการเชิญผู้แทนจากรัฐสมาชิกในระดับรัฐมนตรี และผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงาน องค์กร ด้านกิจการอวกาศทั้งในและต่างประเทศรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ ๕๐ คน จาก ๙ ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย อิหร่าน มองโกเลีย สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐเปรู สาธารณรัฐตุรกี และประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมฯ

“การประชุมฯ ครั้งที่ ๔ นี้ มีการรายงานความคืบหน้าของแผนงาน โครงการ กิจกรรม ขององค์การ APSCO และการพิจารณา ให้ความเห็นชอบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือภายใต้อนุสัญญา APSCO และการพิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณ ตลอดจนการรับ – ส่งหน้าที่ประธานคณะมนตรีขององค์การ APSCO ของผู้แทนประเทศไทยให้กับผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนบังคลาเทศ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติหน้าที่ครั้งสุดท้ายของผู้แทนประเทศไทยในฐานะประธานคณะมนตรีคนแรก และเป็นการส่งมอบหน้าที่ให้กับประธานคณะมนตรีคนต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1366
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เดินหน้าเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้วยการจัดอบรมกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

January 16th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิด “การฝึกอบรมและกิจกรรมศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตาม กฎหมาย ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” ว่า จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า บุคลากรหลักที่ปฏิบัติงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และบุคลากรสนับสนุนที่ปฏิบัติงานกับหน่วยงานต่างๆ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้การขับเคลื่อนงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่อาจสนองตอบ ต่อความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ ควร ประกอบกับคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เสนอแนะว่า ควรสร้างความเข้มแข็งให้กับฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็คือสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สามารถนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดัง นั้น เพื่อเป็นการผลักดันและขับเคลื่อนงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น

“การ ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์และการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่สำนัก งานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่สำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใน การปฏิบัติงานฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และคณะ อนุกรรมการชุดต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกระทรวงฯ หวังว่าการฝึกอบรมนี้จะทำให้บุคลากรของกระทรวงฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กำหนดได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนภารกิจของคณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นายวรพัฒน์ กล่าว

สำหรับ การฝึกอบรมนี้จะมีการจัดทำหลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับธุรก รรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมาย ลำดับรอง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การตรวจประเมินระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวทางนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของ หน่วยงานรัฐ และแนวทางการจัดทำหรือแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

View :1276