Archive

Posts Tagged ‘MICT’

นายกฯ ประกาศ “เปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิทัล” ของขวัญวันเด็ก 2554 เพื่อเด็กไทยทั่วประเทศ

January 10th, 2011 No comments

นายกฯ ประกาศ “เปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิทัล“ เป็นของขวัญวันเด็กให้เด็กไทยทั่วประเทศ เร่งปูพรมศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีและอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ราคาถูก พร้อมเปิดตัวสารานุกรมออนไลน์ภาษาไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกในโลกที่จะมีการแปลเนื้อหาจากสารานุกรมวิกีพีเดียกว่า 3.5 ล้านบทความเป็นภาษาอื่น

เนื่องในโอกาส “วันเด็กแห่งชาติ” ปี 2554 ที่จะมาถึง ในวันที่ 8 มกราคม 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงวิสัยทัศน์ พร้อมประกาศ “เปิดพรมแดนความรู้ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสทางดิจิทัล ” เพื่อเป็นของขวัญวันเด็ก 2554 เพื่อเด็กไทยทั่วประเทศ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแทนเด็กกว่า 100 คนเข้าร่วมงาน

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันคนส่วนหนึ่งในสังคมไทยมีความพร้อมและสามารถเข้าถึง คอมพิวเตอร์ และสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนรู้ การสื่อสาร การตลาดหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเวลาเดียวกันสมาชิกส่วนใหญ่ของสังคมไทยก็ยังไม่มีโอกาส ที่จะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า มีเพียง 9.5 ครัวเรือนจาก 100 ครัว เรือนในประเทศเท่านั้นที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เนื่องจากอัตราค่าบริการยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของครัวเรือน และการให้บริการยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่

“ รัฐบาล จึงมุ่งมั่นที่จะลดช่องว่างทางดิจิทัลในสังคม เพราะการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ จะเป็นประโยชน์อย่างสูงในด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังเป็นการเปิดพรมแดนใหม่ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาการศึกษายุคใหม่ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่มี ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

ปัจจุบัน ไม่เพียงความพยายามในการดำเนินงานตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่รัฐบาลมี เป้าหมายจะให้ประชาชนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคุณภาพดีราคาถูก ได้อย่างทั่วถึง ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาประหยัดสำหรับบ้านที่มีสายโทรศัพท์ ซึ่งคิดค่าบริการเดือนละ 199 บาท บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบไร้สายที่ใช้เทคโนโลยี Wi-MAX ที่จะคิดค่าบริการเดือนละ 99 บาท การจัดตั้งศูนย์ไอซีทีในโรงเรียน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนกว่า 1,000 แห่ง ฯลฯ

ใน เวลาเดียวกันรัฐบาลยังให้ความสำคัญในการพัฒนาเนื้อหาที่มีประโยชน์สำหรับ เด็กและเยาวชน เพราะแม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะเป็นการเปิดพรแดนการเรียนรู้ แต่ภาษาก็ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนรู้สำหรับเด็กไทย เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ในโลกออนไลน์่ยังเป็นภาษาอังกฤษ

ดังนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด ( มหาชน ) จึงได้ให้ความสนับสนุนในการจัดทำสารานุกรมออนไลน์ภาษาไทย โดยการแปลบทความภาษาอังกฤษจากสารานุกรมวิกิพีเดียจำนวน 3.5 ล้านบทความเป็นภาษาไทย ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Statistical Machine Translation ซึ่ง เป็นผลงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักภาษาศาสตร์ชาวไทย และถือเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการแปลสารานุกรมวิกิพีเดียจากภาษาอังกฤษทั้ง หมดเป็นภาษาอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นก้าวสำคัญในการลดช่องว่างทางดิจิทัล สร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ และเปิดพรมแดนความรู้ให้กับเด็กไทยทั่วประเทศ

View :1227
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ถ่ายทอดความรู้การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS

December 30th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยถึงการส่งเสริมพัฒนากิจการอวกาศของประเทศ ว่า เพื่อเป็นการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ( Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities : ) ด้วยการสนับสนุนให้หน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมความ ละเอียดสูงโดยไม่ต้องตั้งงบประมาณ รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้สู่ภาครัฐ รวมถึงภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมภูมิใจในการพัฒนาทางด้านกิจการอวกาศของ ประเทศไทย กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ( ) เพื่อ ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมที่ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมพัฒนา รวมทั้งส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ให้แพร่หลายมากขึ้น อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

การดำเนินโครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS นี้ จะมีการจัดทำซอฟต์แวร์ทางด้าน Remote Sensing เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลภาพถ่าย ดาวเทียมในระดับ 2 ทั้งภาพถ่ายจากอุปกรณ์ CCD และภาพถ่ายอุปกรณ์ Hyperspectrum ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำฐานข้อมูล ( Spectrum library) จากภาพถ่ายของอุปกรณ์ Hyperspectrum เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยข้อมูลใน Spectrum library จะครอบคลุมพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศไทยอย่างน้อย 5 ชนิด พร้อมกันนี้ยังมีการถ่ายทอดความรู้ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS และ สนับสนุนให้หน่วยงานราชการสามารถเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ตลอดจนสามารถนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำภาพถ่ายดาวเทียมเหล่านั้นไปใช้งาน

“ในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว กระทรวงฯ ได้จัดการอบรมสัมมนาโครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ( SMMS) ขึ้น โดยเชิญ อาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลข้อมูลดาวเทียมจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงาน ภาครัฐจำนวน 100 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่ เป็นประโยชน์ในการดำเนินงานขั้นต่อไปจากผู้เข้าร่วมสัมมนา นอกจากนี้ยังมีการอบรมความรู้เกี่ยวกับหลักการและการออกแบบซอฟต์แวร์ระบบ ประมวลผลข้อมูลดาวเทียม SMMS ทั้งรูปแบบ CCD/ HSI ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงหลักการและแนวทางการจัดทำฐานข้อมูล ( Spectrum library) จากภาพถ่ายของอุปกรณ์ Hyperspectrum เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานราชการสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวอีกด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

นอกจากการอบรมสัมมนาการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS แล้ว กระทรวงฯ ยังได้จัดการสัมมนาการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและเตือน ภัยดินถล่ม ภายใต้ความร่วมมือองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก ( APSCO) ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลข้อมูลดาวเทียมจากสถาบันการศึกษา และบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะดินถล่มในพื้นที่ เสี่ยง ภัยรวมถึงพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากดินถล่มเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยากต่อการหลบหนีได้ ทัน และในประเทศไทยยังไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตือนภัยโดยตรง

“การ สัมมนาการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่ม นี้ กระทรวงฯ มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึงโครงการแบ่งปันข้อมูลดาวเทียมภาย ใต้องค์การ APSCO และการจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยใน ประเทศที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้ติดตามความก้าวหน้าในการวิจัย พัฒนาโครงการฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือ รวมทั้งการวิจัยต่อยอดจากผู้เข้าร่วมสัมมนา และกระทรวงฯ ยังมุ่งหวังที่จะให้เกิดเครือข่ายองค์ความรู้ในด้านการวิจัยและการพัฒนา กิจการอวกาศที่สามารถประยุกต์ใช้งานข้อมูลดาวเทียมในการพัฒนาระบบแจ้งการ เตือนภัยในอนาคตได้” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1743

ก.ไอซีที พร้อมเผยแพร่ระบบ e-Government Portal เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ e-Services

December 30th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำ “ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( ) ” ว่า รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) มาใช้ในภาครัฐ ( e-Government) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการพัฒนาโดยนำ ICT มา ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย โปร่งใส และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ขณะเดียวกันก็ให้สามารถนำ ICT มาใช้เพื่อการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ได้ตามเป้าประสงค์ คือ การบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

“กระทรวงไอซีที ได้กำหนดแผนทิศทาง หรือ Roadmap ในการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือ e-Services แบบ ก้าวกระโดดในระยะเวลา 5 ปีระหว่าง พ.ศ.2552 – 2557 และแผนดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้สามารถบรรลุการพัฒนาไปสู่ online information & interactive transaction โดยสมบูรณ์ ซึ่งในปี 2553 ได้กำหนดเป้าหมายให้เป็น c-Government หรือ Connected Government ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการ e-Services

ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีการพัฒนาโครงการ Common Platform และระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือ e-Government Portal เพื่อเป็นโครงสร้างกลาง หรือ Government Gateway มาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อรองรับการให้และรับบริการแบบ จุดเดียว หรือ One Stop Service ผ่านระบบ Single Window Entry ด้วย Single Sign On โดยในปี 2553 กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.) ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ e-Government Portal เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานในระบบ e-Service เกิดความสะดวก รวดเร็ว มั่นใจได้ในด้านความปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพดียิ่งๆ ขึ้น” นางจีราวรรณ กล่าว

ดังนั้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ระบบ e-Government Portal ที่ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพใหม่แก่หน่วยงานภาครัฐ ให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น กระทรวงฯ จึงได้กำหนดให้มีการจัดงานสัมมนาเรื่อง “ ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( e-Government Portal)” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ระบบ e-Government Portal ซึ่ง เป็นศูนย์รวมบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐสำหรับประชาชนที่สามารถค้นหาบริ การได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ณ จุดเดียว อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และตอบข้อซักถามของการรับบริการภาครัฐต่างๆ และรับฟังความคิดเห็นต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์การผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบ e-Government Portal ต่อไป

สำหรับการสัมมนาที่จัดขึ้นนี้จะมีการเผยแพร่ความรู้ในประเด็นต่างๆ อาทิ แนวทางการดำเนินการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government Roadmap ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ สื่อสังคมออนไลน์ ( Facebook) กับหน่วยงานภาครัฐ และการเสวนาเรื่อง “e-Service Best Practices” เป็น ต้น ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบถึงรูปแบบการบริการ รวมถึงข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันให้เกิดการใช้งานระบบเว็บไซต์ กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( e-Government Portal)

View :1616

ก.ไอซีที เปิดศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT

December 30th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนิน “โครงการพัฒนาศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT ” ว่า เพื่อเป็นการสนองตอบต่อแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย และเพื่อเป็นการยกระดับความรู้ให้แก่ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ตลอดจนประชาชนในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ กระทรวงฯ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบ e-Learning ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน ICT ( Course Ware ) รวมทั้งมีการรวบรวมหลักสูตรด้าน ICT ของประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนสื่อมัลติมีเดียด้าน ICT ต่างๆ มาจัดเก็บไว้ภายในศูนย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้เยาวชน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไปได้ใช้ระบบศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ฯ เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้วยตนเองในการพัฒนาความรู้ ทักษะ หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน ICT

“โครงการ พัฒนาศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ฯ นี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่าน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับบุคลากรด้าน ICT ให้ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้าน ICT รวมทั้งเพื่อลดช่องว่างการศึกษาด้าน ICT (Digital Divide) โดยใช้ศูนย์ฯ เป็นแหล่งการเรียนรู้ด้าน ICT ได้ด้วยตนเองในรูปแบบ e-Learning ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือส่วนรวมได้

โดยกระทรวงฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ฯ ด้วยเว็บท่าจำนวน 1 ระบบ คือ www.ictlearning.org เพื่อให้บริการประชาชนสำหรับการเรียนออนไลน์ตามอัธยาศัย โดยมีระบบจัดการเรียนรู้ Learning Management System: LMS สำหรับการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจำนวน 1 ระบบ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งจัดทำระบบสร้างสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 1 ระบบ พร้อมกันนี้ยังมีหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน ICT (Course Ware) สำหรับการเรียนในลักษณะ e-Learning อีกจำนวน 5 หลักสูตร แบ่งเป็น หลักสูตรขั้นต้น 3 หลักสูตร และหลักสูตรขั้นสูง 2 หลักสูตร จัดทำสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT จำนวนไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง” นางจีราวรรณ กล่าว

กระทรวงฯ มุ่งหวังว่าศูนย์การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ฯ นี้ จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ICT แก่ ประชาชนตามอัธยาศัยตลอดชีวิต รวมถึงสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่จะช่วยส่งเสริมและขยายโอกาสด้านการศึกษาทั้งในและนอกระบบให้สามารถเกิด การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมด้าน ICT อันจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

View :1505

ก.ไอซีที ร่วมประชุมพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ด้าน ICT ที่เกาหลี

December 28th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการประชุม on Human Capacity Development ว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union : ITU) ได้จัดการประชุม on Human Capacity Development ขึ้น ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ระหว่างผู้แทนจากประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ด้าน ICT รวมทั้งเพื่อตอบสนองความท้าทายและโอกาสที่มาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ในยุคปัจจุบัน

“การประชุม ICT LEARN Global Forum เป็นการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ด้าน ICT ที่ จัดขึ้นสำหรับผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบาย และการกำกับดูแล ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชนที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประชุมฯ นี้จัดขึ้นโดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( ITU) ร่วมกับ Korea Communications Commission (KCC) และได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองปูซานกับรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่ง ITU ได้มีหนังสือเรียนเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกล่าวสุนทรพจน์หลัก หรือ keynote address ในช่วงพิธีเปิดการประชุม รวมทั้งได้มีหนังสือแจ้งเชิญประเทศไทยแต่งตั้งผู้แทนเพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้มีหัวข้อหลักของการประชุม คือ “Building Capabilities for a Broadband Economy” ส่วนหัวข้อสำคัญที่มีการหารือแลกเปลี่ยนในระหว่างการประชุมฯ ประกอบด้วย 1.การพัฒนาทักษะและความสามารถของบุคลากรเพื่อรองรับการ แพร่ขยายของการใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ 2.แนวโน้มด้านการศึกษา พัฒนา และบทบาทของ ICT ในเรื่องดังกล่าว 3.การใช้งานเทคโนโลยี ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 4.การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติในเรื่องเทคโนโลยี บรอดแบนด์ที่จะช่วยให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจสูงสุด 5.การเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายและการ กำกับดูแล 6.การพัฒนาทางสังคมและการสร้างความสามารถในการใช้งาน ICT ให้กับประชาชน และ 7.การตอบสนองความต้องการของผู้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมด้าน ICT ต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการใช้งานบรอดแบนด์

ทั้ง นี้ ในช่วงพิธีเปิดการประชุมฯ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เป็นผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ในการกล่าวสุนทรพจน์หลักต่อที่ประชุม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศใน การส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก ICT และเทคโนโลยีบรอดแบนด์อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

View :1541

ก.ไอซีที เร่งผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติสู่การปฏิบัติ หวังเพิ่มมูลค่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

December 28th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติตามที่กระทรวงฯ เสนอเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553ที่ผ่านมา ซึ่งในนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติได้มีการวางเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของคณะกรรมการธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อ GDP ขึ้นเป็นร้อยละ 10 ภายในปี 2558

ดังนั้น คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไว้ 4 แนวทาง คือ 1.ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบรอดแบนด์ เช่น ผู้ประกอบการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตโปรแกรมประยุกต์ ผู้ผลิตเนื้อหา ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียง ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 2.พัฒนายกระดับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและโครง ข่ายทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 3.กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ บริการบรอดแบนด์อย่างแพร่หลาย โดยการสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งดำเนินมาตรการอย่างจริงจังในการป้องกันอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และ 4.สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆ ของประเทศเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

“ใน การดำเนินงานตามแนวทางทั้ง 4 นั้น คณะกรรมการฯ ได้กำหนดภารกิจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำลังจะจัดตั้งขึ้น คือ สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สธอ.)และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)(สพธ.)
นำไปปฏิบัติ โดย สธอ.มีภารกิจในการจัดทำนโยบายสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ในการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการจัดทำคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ และระบบขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบอิสระด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ จัดทำมาตรการป้องกันผลกระทบเชิงลบและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้ความรู้แก่ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ( CIO )ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศในเชิงบริหาร รวมถึงการติดตามและประเมินผล

ขณะ ที่ สพธ. มีภารกิจในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากบรอดแบนด์ในการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย ของระบบสารสนเทศ และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบเชิง ลบด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจเกิดขึ้นให้แก่
ทุกภาคส่วน รวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเชิงปฏิบัติการให้กับ
บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในเชิงปฏิบัติการด้วย” นางจีราวรรณฯ กล่าว

สำหรับ การจัดตั้ง สพธ. นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแล้วเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 โดย สพธ. จะทำหน้าที่พัฒนาและขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เห็นผลเป็น รูปธรรม ซึ่งบทบาทและภารกิจต่างๆ จะต้องสอดคล้องตามแผนและนโยบายของกระทรวงฯ และแผนระดับประเทศ ส่วน สธอ.นั้นเป็นส่วนราชการภายใต้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายและทิศทางการดำเนินงานด้านธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะทำงานสอดประสานกันภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจในระดับนโยบายและกำกับดูแลทั้งสองหน่วยงานดังกล่าว

View :1572

ปลัดไอซีที ปลื้มกึ๋นเด็กไทยเก่งไอที ออกแบบประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย”

December 22nd, 2010 No comments

ปลัดไอซีที มอบ 9 ถ้วยเกียรติยศนายกรัฐมนตรี ในการประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย” ปลื้มใจที่เยาวชนไทย และนักพัฒนาเว็บไซต์ มีผลงานสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม ในการออกแบบเว็บไซต์ พร้อมสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพด้านไอทีอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานใน พิธีมอบถ้วยเกียรติยศนายกรัฐมนตรี การประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย” ซึ่งเป็นโครงการเทิดพระเกียรติอีกหนึ่งโครงการ ที่กระทรวงไอซีที ได้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา นักพัฒนาเว็บไซต์ และประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์แสดงข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ โดยมีสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)หรือซิป้า หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้ดำเนินการ

นางจีราวรรณ กล่าวว่า “ในปี 2553 นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อาทิเช่น โครงการถวายพระพรออนไลน์ 12 สิงหามหาราชินี โครงการถวายพระพรออนไลน์ 5 ธันวามหาราช ภายใต้ชื่อว่า “ด้วย ๙ ชาวไทย” โครงการประกวดออกแบบโลโก้ และเทมเพลต เว็บไซต์ Ourking ที่ได้ร่วมกับสำนักราชเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.) และล่าสุดคือโครงการประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย” ที่ได้จัดพิธีมอบ 9 ถ้วยเกียรติยศในนามนายกรัฐมนตรีในวันนี้”

นางจีราวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติฯ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจำนวนทั้งสิ้น 102 ผลงาน แบ่งเป็นระดับนักเรียน จำนวน 26 ผลงาน ระดับนิสิตนักศึกษา จำนวน 46 ผลงาน และระดับประชาชนทั่วไป จำนวน 30 ผลงาน ซึ่งนับได้ว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกท่าน และดีใจที่ได้เห็นผลงานที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ จากเด็กนักเรียน นิสิตนักศึกษา และนักพัฒนาเว็บไซต์รุ่นใหม่ กระทรวงไอซีทีพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการเรียนรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนให้โอกาสในการแสดงผลงาน เพื่อผลักดันให้เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ที่แกร่งด้วยศักยภาพ และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และทำให้ประเทศไทยได้ไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค ตามนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ”

สำหรับ 9 ถ้วยเกียรติยศ ผู้ที่ได้รับรางวัล มีดังนี้

ระดับนักเรียน
รางวัล ชื่อผลงาน ชื่อ นามสกุล/สถานศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ล้นรัก…ล้นภักดี นางสาวจริยา อนันตรักษ์ และทีมโรงเรียนสยามบริหารธุรกิจ
รางวัลรองชนะเลิศ ตามรอยท่านพระมิ่งขวัญ แห่งแผ่นดิน ด.ญ. สุนิสา คำเกิด และทีม -โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม
รางวัลรองชนะเลิศ ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย นายเจนณรงค์ นวลศรี และทีมโรงเรียนจ่านกร้อง

ระดับนิสิตนักศึกษา
รางวัล ชื่อผลงาน ชื่อ นามสกุล/สถานศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย ร้อยดวงใจไทยทั้งชาติ นายพิสิฐพงษ์ สืบพิลา
-คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
รางวัลรองชนะเลิศ บ้านเรา นายกฤตติน ทูลธรรม และทีม -คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลรองชนะเลิศ Shining Light of Thailand นายวรธนะ งามตระกูลชล -คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระดับประชาชนทั่วไป
รางวัล ชื่อผลงาน ชื่อ นามสกุล/สถานศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ล้นเกล้าฯ…เผ่าไทย ศูนย์รวมใจคนไทยทั้งชาติ นายสมภพ ทั่งศรี และทีม
รางวัลรองชนะเลิศ ร้อยเรียงความจงรักฯ น้อมถวาย ธ ล้นเกล้าฯ นายกฤตวิทย์ วิชัยคำมาตย์
รางวัลรองชนะเลิศ ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย นางสาวมลฤดี จันทร์ส่งแสง

ทั้งนี้ รางวัลที่ได้รับแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน , นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป
โดยแต่ละระดับจะได้ทุนการศึกษา / เงินรางวัล ดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล รางวัลละ100,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี และเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี และเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 5 รางวัล รางวัลละ 25,000 บาท และเกียรติบัตร

View :1285
Categories: Press/Release Tags:

รมว.ไอซีที เปิดการประชุม The second session of the Committee on Statistics

December 22nd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (แถวหน้าที่ 5 จากซ้าย) เป็นประธานเปิดการประชุม The second session of the Committee on Statistics ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวถือเป็นเวทีการ ประชุมอย่างเป็นทางการที่ให้หัวหน้าสำนักงานสถิติ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานสถิติจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและ แปซิฟิกเข้าร่วมประชุม อภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นการพัฒนาสถิติในภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการและความท้าทายใหม่ๆ โดยมีคณะกรรมการสถิติแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการ พัฒนาสถิติในภูมิภาค ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพของสำนักงานสถิติในภูมิภาคเกี่ยวกับการผลิต เผยแพร่ และวิเคราะห์ข้อมูลตามมาตรฐาน รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้รับความเห็นชอบในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความต้องการข้อมูลในการวิเคราะห์ เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการติดตามแนวโน้มหลักด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคมของภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิกอีกด้วย

View :1312
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที มอบ ๙ ถ้วยรางวัลเกียรติยศ การประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติฯ “ ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย”

December 20th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและถ้วยเกียรติยศนายกรัฐมนตรี แก่เยาวชนไทยและนักพัฒนาเว็บไซต์ ใน โครงการ ประกวดเว็บไซต์เฉลิมพระเกียรติ “ ล้นเกล้าฯ…แผ่นดินไทย ” ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ พิธีการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อมอบเงินรางวัลและถ้วยเกียรติยศ ในนามนายกรัฐมนตรีจำนวน 9 ถ้วยให้แก่ผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ทั้งในระดับนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่คณาจารย์ สถาบันการศึกษา ที่ให้การสนับสนุน ซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักพัฒนาเว็บไซต์ และประชาชนทั่วไป ได้ มีส่วนร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการจัดทำเว็บไซต์แสดงข้อมูลพระราช-ประวัติ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อันเป็นการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาและออกแบบ เว็บไซต์ให้มากขึ้น

View :1289
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เดินหน้าใช้ประโยชน์ข้อมูลดาวเทียมการเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่ม

December 16th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากอวกาศ ว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม การพัฒนากิจการอวกาศของประเทศ และเป็นการบูรณาการข้อมูลจากการดำเนินโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ ขนาดเล็ก ( ) กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้า ระวังและเตือนภัยดินถล่ม ภายใต้ความร่วมมือองค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก ( Asia Pacific Space Cooperation Organization – APSCO) ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะศึกษาและวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการประเมิน ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพ

“โครงการ ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยดิน ถล่มนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ( SMMS ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและประเทศกลุ่มสมาชิกองค์การ APSCO ในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ( Spatial Data Sharing) เพื่อการบริหารจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพดิน การประเมินความรุนแรงของการกัดเซาะผิวดิน การเกษตรกรรม การประมง การชลประทาน การสำรวจและจัดทำแผนที่ การผังเมือง การขยายตัวของเมือง เป็นต้น ดังนั้น วัตถุประสงค์สำคัญในการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยฯ นี้ก็คือ เพื่อพัฒนาความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิกในการใช้ ข้อมูลร่วมกัน ( Spatial Data Sharing) ใน การบริหารจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อประยุกต์ใช้ดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและระบบเตือนภัย รวมทั้งศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการประเมินความเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัย” นางจีราวรรณ กล่าว

โครงการ ศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมฯ ใช้เวลาในการดำเนินงาน 12 เดือน โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยา และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่ม และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ดินถล่ม ได้แก่ กระบวนการเกิดดินถล่ม รูปแบบของดินถล่ม ปัจจัยที่ทำให้เกิดดินถล่ม ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัย ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม ข้อสังเกตหรือสิ่งบอกเหตุ และบันทึกเหตุการณ์ดินถล่มในประเทศไทย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ APSCO เพื่อ นำมาใช้สนับสนุนโครงการฯ โดยจัดให้มีการบริหารจัดการฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา จัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับจากระบบ DVB-S ในแต่ละวันให้สามารถสืบค้นย้อนหลังได้ ประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาที่มีอยู่ตามลักษณะของ Sensor ของดาวเทียมที่รับได้ เช่น IR 1 , IR 2 , IR 3 , IR 4 , Visible และการประมวลผลภาพแบบ 2 มิติ 3 มิติ หรือตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาด้วยระบบ DVB-S ด้วยการให้บริการผ่านเว็บไซต์

นอก จากนั้นยังมีการศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อนำมาประมวลผลสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ ( Model) การ เกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยในประเทศที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสำรวจเก็บข้อมูลจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่มในประเทศไทย อย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้สามารถจำแนกพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่มและหมู่บ้านเสี่ยงภัยดิน ถล่มในระดับต่างๆ และนำมาใช้งานกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังมีการศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยง จากดินถล่มในประเทศไทย เช่น พืชพรรณและสภาพการใช้ดิน ลักษณะดิน ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณฝน รวมทั้งใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ โปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยา ข้อมูลความสูงของพื้นที่ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่ม และประมวลผลการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ ( Model) การเกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ศึกษาที่มีประสิทธิภาพ และแสดงผลผ่านทางเว็บไซต์

“กระทรวงฯ หวังว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวจะทำให้มีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการประ ยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับการเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่มที่อ้างอิงได้ มีแบบจำลองคณิตศาสตร์ หรือ Model การ เกิดดินถล่มของพื้นที่เสี่ยงภัยในประเทศที่มีประสิทธิภาพ และมีบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบแจ้งการเตือนภัยที่ดีในอนาคต ตลอดจน เกิดเครือข่ายองค์ความรู้ในด้านการวิจัยและการพัฒนากิจการอวกาศที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้ต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1458
Categories: Press/Release Tags: