Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที จัดฝึกอบรมการนำมาตรฐานสากล ISO/IEC ๒๙๑๑๐ มาใช้ในกระบวนการทำงาน

December 12th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม เรื่อง “ การนำมาตรฐานสากล ISO/IEC ๒๙๑๑๐ มาใช้ในกระบวนการทำงาน ” ณ ห้องบอลรูม ๒ ชั้น ๓ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ การจัดการฝึกอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบคุณภาพและประโยชน์ของมาตรฐาน ISO/IEC ๒๙๑๑๐ รวมทั้งส่งเสริมระบบคุณภาพและการนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้แก่ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และผู้สนใจทั่วไป อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเชี่ยวชาญสามารถนำ มาตรฐานสากล ISO/IEC ๒๙๑๑๐ ไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนใช้ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบมาตรฐานดังกล่าวได้

View :1390
Categories: Press/Release Tags:

ครม.อนุมัติแนวทางแก้ปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว

December 9th, 2010 No comments

ครม.อนุมัติแนวทางแก้ปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดแล้ว                   
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงแนวทางแก้ไขปัญหาบัตรสมาร์ทการ์ดว่า คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.)มีมติเมื่อวันนี้ (7 ธ.ค.53) ตามแนวทางที่กระทรวงไอซีทีเสนอ โดยให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550) เพื่อรองรับบัตร 26 ล้านใบที่กรมการปกครองได้ออกให้ประชาชนไปแล้วและรายการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อรองรับบัตรสมาร์ทการ์ดที่ กระทรวงไอซีที ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนคู่สัญญา (บจ.วีสมาร์ท) ผลิตไปแล้วจำนวน 9 ล้านใบให้สามารถนำออกมาใช้งานได้
“การที่ ค.ร.ม. มีมติเลือกแนวทางการแก้กฎกระทรวงมหาดไทยนั้น มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ 1.พิจารณาถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักเพราะแนวทางนี้จะทำให้ประชาชนได้ใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดเร็วที่สุด  โดยคาดว่าจะสามารถนำส่งให้กับอำเภอ หรือเขตต่างๆ ได้ภายในเดือนมกราคม 2554 ภายหลังจากที่กระทรวงมหาดไทยกลับไปแก้ไขกฎกระทรวงฯ ภายใน 2 สัปดาห์ และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง 2.การเลือกแนวทางนี้แทนการเปิดประมูลใหม่จะทำให้ภาครัฐลดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องจากเอกชน กรณีที่ไม่รับบัตรซึ่งผลิตออกมาอย่างถูกต้องตามทีโออาร์และบัตรที่ค้างสต็อกอยู่เพื่อรอการผลิตของบริษัท 3.บัตรสมาร์ทการ์ดรุ่นนี้ถือว่ามีคุณสมบัติที่สูงกว่าข้อกำหนดที่ระบุไว้ คือ มีความสลับซับซ้อนมากกว่าทำให้ปลอมแปลงได้ยากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ ค.ร.ม.เลือกการแก้ไขกฎกระทรวงมหาดไทยแทนการเปิดประมูลใหม่ที่จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าและเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องมากกว่า” นายจุติ กล่าว
          นอกจากนี้ ค.ร.ม.ยังมีมติอนุมัติโครงการธนาคารไปรษณีย์เพื่อรายย่อย โดยให้มีการตั้งบริษัทจำกัดขึ้นเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อย อันเป็นโครงการที่ต่อยอดจากนโยบายการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล ซึ่งจะมุ่งเน้นกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จำนวนกว่า 4 ล้านคน และกลุ่มที่ประสบปัญหาเงินกู้นอกระบบ จำนวน 18 ล้านคน โดยจะมีการดำเนินการจัดตั้งให้เร็วที่สุด
          ส่วนประเด็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.ทีโอที กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการสรุปแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนออกมาตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด มีเพียงการส่งจดหมายจากกระทรวงไอซีทีเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น โดยมีกำหนดให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้กระทรวงฯ ภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ซึ่งกระทรวงฯ จะได้ประมวลความเห็นจากคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และความเห็นกระทรวงไอซีที เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
          สำหรับข้อมูลที่ทางกระทรวงฯ ได้ขอเพิ่มเติมนั้น คือ 1.ความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.ความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูองค์กรในระยะยาว 3.ความคืบหน้าเรื่องการดำเนินการเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3จีของทีโอที 4.รายงานการเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินของบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคมกับคู่สัญญา และ 5.รายงานฉบับสมบูรณ์ผลสรุปการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ฯ

View :1553
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เสริมศักยภาพบุคลากรรับมือภัยคุกคามทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

November 25th, 2010 No comments

พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังการอบรมแนวทางการ จู่โจมและรับมือภัยคุกคามทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ว่า ปัจจุบันการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีอัตราที่สูงขึ้นทุกปี โดยจากสถิติภาพรวมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยของหน่วยปฏิบัติการวิจัย เทคโนโลยีเครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC ) ระบุว่าเมื่อปี 2007 มีจำนวนผู้ใช้งาน 13,416,000 คน ในปี 2008 มีจำนวน 16,100,000 คน ซึ่งคาดว่าในปี 2010 จะมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยถึง 20 ล้านคน และเมื่อมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นย่อมทำให้มีผู้ที่คิดกระทำความผิด ทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ดัง นั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงฯ ที่จะต้องมีการสร้างเสริมความรู้ให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านความมั่นคง ของชาติ ด้านการข่าวกรอง ด้านการสืบสวน และด้านการป้องปรามการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความรู้เท่าทันภัยคุกคาม รูปแบบการกระทำความผิดในชนิดต่างๆ ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อปลุกระดมแนวความคิดที่อาจเป็นอันตรายต่อสถาบันหลัก ของประเทศ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้

“กระทรวงฯ จึงได้วางแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือกับภัยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังเพิ่มมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และเทคนิคในการสืบสวนบนเครือข่าย คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ทันกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้รู้เท่าทันถึงภัยคุกคามและรูปแบบการกระทำความผิดจากการใช้ ข้อมูล ( Information Technology) ตลอดจนสร้างความเข้าใจถึงสาระสำคัญจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รวมถึงเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการจู่โจมและวิธีรับมือภัยคุกคามทางด้าน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” พ.ต.อ.สุชาติ กล่าว

โดยกระทรวงฯ ได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตร “แนวทางการจู่โจมและรับมือภัยคุกคามทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์” ขึ้น เพื่อฝึกอบรมให้กับผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 3 1 หน่วยงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านความมั่นคงของ ชาติให้มีความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามและรูปแบบการกระทำความผิดจากการ ใช้ข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีหลักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ใน งานด้านการสืบสวน และการป้องปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของสถาบัน หลักของชาติไทย ตลอดจนรู้จักการสร้างและใช้เครื่องมือในการสืบให้เกิดผลสำเร็จในงานด้านการ ข่าว ด้านการสืบสวน การป้องปรามจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้รับมือภัยคุกคามทางด้าน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ได้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน และรู้เท่าทันกรรมวิธีในการจู่โจมทางคอมพิวเตอร์

สำหรับ หลักสูตรการอบรมฯ ครั้งนี้มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับสถิติภัยคุกคามจากการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิด ขึ้นในปัจจุบัน ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดห่วงโซ่เหตุการณ์จากการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ( Information Chain of Event) รวม ทั้งหลักและแนวคิดในการสืบสวนหาผู้กระทำความผิด เรียนรู้ลักษณะการไหลเวียนข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เรียนรู้ชนิดของ Log ประเภทต่างๆ ที่ปรากฏในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ความแตกต่างของ Log แต่ ละชนิด และการนำไปใช้ประโยชน์ในการสืบสวน เรียนรู้ถึงหัวใจของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ฯ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้ทำความเข้าใจถึงแนวทางการจู่โจมและวิธีรับมือภัย คุกคามทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เครือข่าย คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เช่น ภัยคุกคามทางไวรัสคอมพิวเตอร์ ลักษณะการโจมตีจากการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ลักษณะสงครามข่าวสาร ( Information warfare ) และปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ ( Information Operation) ตลอดจนกรณีศึกษาจากคดีทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นจริง

ส่วนในภาคปฏิบัติจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการค้นหาข้อมูลจากระบบค้นหาข้อมูล ( Search Engine) การค้นหารายชื่อ ผู้จดทะเบียน รายชื่อเว็บไซต์ การค้นหาข้อมูลเชิงสถิติจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ( Social Network) เรียน รู้การสังเกตเว็บไซต์ที่ใช้เป็นฐานในการกระทำความผิด ชนิดของเว็บบอร์ดที่ใช้แสดงความคิดเห็น ลักษณะของเว็บการพนัน ชุมชนออนไลน์รูปแบบต่างๆ เรียนรู้รูปแบบการอำพรางข้อมูล IP Address / E-mail / Short URL เทคนิค ลับเพื่อใช้ในหาการข่าว การสืบสวน และการป้องปรามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การสร้างแนวทางในการป้องปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมทั้งทดลองทำการจู่โจมและรับมือภัยคุกคามทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย

“หลัก สูตรการอบรมฯ ครั้งนี้นอกจากจะทำให้ผู้เข้าอบรมมีหลักแนวคิดการสืบสวนอาชญากรรมทางเครือ ข่าย คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงแล้ว ยังทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการรับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเพื่อนำ มาใช้เป็นแนวทางการป้องปราม และป้องกันมิให้ภัยร้ายจากการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกิดขึ้นและขยายตัวต่อไป การจัดอบรมครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสริมบุคลากรของรัฐให้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันและกระจาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการรับมือภัยไอซีที ตลอดจนส่งเสริมให้มีแนวทางการปฏิบัติร่วมที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันของหน่วย งานภาครัฐและเอกชนเพื่อใช้ในการป้องกันและปรามภัยคุกคามด้านไอซีทีอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นโดย เฉพาะกับภาครัฐ ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามทางด้านไอซีที” พ.ต.อ.สุชาติ กล่าว

View :1693
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เดินหน้าโครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

November 24th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยความคืบหน้า “โครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Government) ” ว่า ในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น กระทรวงฯ ได้วางวิสัยทัศน์การดำเนินงานที่มุ่งเน้นในเรื่อง “ความหลากหลายของช่องทางสู่บริการอิเล็กทรอนิกส์” โดยกำหนดให้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ การพัฒนาระบบบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการพัฒนาด้านบุคลากร และการพัฒนาด้านกฎหมายด้วย

“ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น กระทรวงไอซีทีได้ตั้งเป้าหมายสร้างเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงหน่วยงานได้อย่างทั่วถึงและพัฒนาเครือข่ายที่ให้บริการ IP Services ระหว่างหน่วยงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายภายในหน่วยงาน โดยผลการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ Government Information Network : GIN ในปี 2552-2553 สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกหน่วยงานทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค จำนวน 1,004 หน่วยงาน และยังพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายภายในหน่วยงานระดับกรม โดยการปิดช่องโหว่ของเครือข่ายที่ตรวจพบ พร้อมทั้งอบรมหลักสูตรผู้บริหารเครือข่ายเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 1,014 คน ส่วนในปี 2554 นี้ กระทรวงไอซีทีมีนโยบายที่จะขยายเครือข่ายเชื่อมโยงหน่วยงานเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 หน่วยงาน” นายจุติ กล่าว

สำหรับการพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ( Government Interoperability Framework) : TH e-GIF ขณะนี้อยู่ระหว่างการ กำหนดกรอบแนวทางเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เวอร์ชั่น 1.1 และฉบับปรับปรุง เวอร์ชั่น 2 และได้จัดทำคู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐาน TH e-GIF โดยมีมาตรฐานข้อมูล 6 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการรายงานผลการให้บริการผู้ป่วยนอก มาตรฐานด้านการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลผลงานวิจัยจากห้องสมุด ทั่วประเทศ มาตรฐานด้านการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการติดตามการศึกษาของเด็กนักเรียน มาตรฐานด้านการเกษตรเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มาตรฐานด้านทะเบียนที่อยู่เกี่ยวกับข้อมูลรายการเลขที่บ้าน และมาตรฐานด้านคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูล รถรับจ้างสาธารณะและคนขับรถ

นอกจากนี้ในระหว่างปี 2551-2553 ได้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ TH e-GIF จำนวน 1,085 คน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรภาครัฐเรื่องการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานโดยใช้แนวทาง TH e-GIF ส่วนแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป กระทรวงฯ จะสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐเกิดมาตรฐานข้อมูลที่พัฒนาตามแนวทาง TH e-GIF เพิ่มมากขึ้น โดยทำการให้คำปรึกษาการจัดทำมาตรฐานและวางแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยง ข้อมูลในหน่วยงานต่างๆ รวมถึงประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐตามแนวทาง TH e-GIF เพื่อเผยแพร่เนื้อหาและการใช้งาน TH e-GIF ให้หน่วยงานที่มีการพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ ตลอดจนวางแผนฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรภาครัฐเรื่องการ บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานโดยใช้แนวทาง TH e-GIF

“ในส่วนของการพัฒนาระบบบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Service กระทรวงฯ ได้พัฒนาระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ หรือ e-Government Portal ขึ้น ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ www.egov.go.th และ www.egovernment.go.th รวมทั้งยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ พัฒนาระบบ e-Services ให้กับหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 24 บริการ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อการนำเข้า-ส่ง ออก และระบบโลจิสติกส์ ให้กับหน่วยงานภาครัฐอีกจำนวน 12 หน่วยงานด้วย

ซึ่งเป้าหมายต่อไปในปี 2555-2556 กระทรวงจะมีการพัฒนาระบบ e-Services ให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพิ่มขึ้นปีละ 5 บริการ และเพิ่มจำนวนบริการภาครัฐผ่านระบบ e-Services ที่สามารถให้บริการในลักษณะ Single Sign On ให้ได้ปีละ 5 ระบบบริการเป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังจะเพิ่มช่องทางในการให้บริการระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาค รัฐ โดยผลักดันไปสู่ m-Government หรือ Mobile Government ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ผ่านช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่อื่นๆ ในการให้บริการ e-Services และส่งเสริมการใช้งาน e-Government Portal ให้มากยิ่งขึ้น” นายจุติ กล่าว

ขณะ ที่การพัฒนาด้านบุคลากรนั้น กระทรวงฯ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2550 – 2552 ได้ฝึกอบรมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ( CIO ) ไปแล้วจำนวน 900 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐระดับกลางอีกจำนวน 1,576 คน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในการบริหารและการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในปี 2554 กระทรวงฯ วางเป้าหมายที่จะจัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารและการพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 5,000 คน

การพัฒนาด้านกฎหมาย กระทรวงฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันหลายฉบับ อาทิ ร่าง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับ สนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยวิธีการแบบปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … . ร่าง ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เรื่องแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. . . .. ร่าง ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. และ ร่าง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาลงโทษปรับทางปกครองตามมาตรา 33 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น ซึ่งหากการพัฒนาตามแนวทางต่างๆ ที่กระทรวงฯ ได้กำหนดไว้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะทำให้การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถสร้างการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ ให้แก่ประชาชนได้มากขึ้น

View :1412
Categories: Press/Release Tags:

รมว.ไอซีที ดึง 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมลงนามใช้โครงสร้างพื้นฐาน – โครงข่ายร่วมกัน

November 23rd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อความร่วมมือในการสนับสนุน นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ว่า หลังจากรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้าน โทรคมนาคมของประเทศอย่างยั่งยืน

ดัง นั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนได้ร่วมดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ความ สำเร็จ โดยมีองค์กรอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการให้มีการแข่ง ขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

“การ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันการให้บริการบรอดแบนด์บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและ เป็นธรรม โดยให้มีการเข้าถึงตลาดแบบเปิดและเปิดกว้างทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้น ถือเป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต่างตระหนักถึง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและการขยายการให้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับ 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งมีความสามารถและความแข็งแกร่งในการให้บริการโทร คมนาคมแต่ละประเภทจัดทำบันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนซึ่งกันและกันดำเนิน กิจการเพื่อสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น” นายจุติ กล่าว

สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ ได้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บจ.ทรู มูฟ และ บจ.ดิจิตอล โฟน โดยทุกฝ่ายจะประสานความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของแต่ ละฝ่ายให้มีความแข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้น ตลอดจนการแสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้มีบริการบรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้าถึงและครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งแพร่หลายไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรวดเร็ว โดยทุกฝ่ายตกลงจะสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคมร่วม กัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย

“การ ลงนามในครั้งนี้จะทำให้ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันเพื่อแสวงหาและกำหนดรูปแบบที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและโครง ข่ายโทรคมนาคมที่จะนำมาใช้ร่วมกัน รวมถึงจะกำหนดแนวทางและวิธีการในการบริหารจัดการ การกำหนดค่าใช้โครงข่าย และหรือส่วนแบ่งค่าใช้โครงข่าย เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมทั่วประเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ การลงนามเพื่อใช้งานร่วมกันในโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคมดังกล่าว จะเป็นเพียงกรอบความเข้าใจร่วมกันเท่านั้น ส่วนการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม ทางบริษัทจะไปเจรจาร่วมกันเพื่อทำความตกลงระหว่างกันอีกครั้ง

ส่วนการดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ แต่ละบริษัทจะส่งผู้แทนเข้าร่วมปฏิบัติงานในคณะทำงานร่วมสนับสนุน นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่มีผู้แทนของกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน และคณะทำงานชุดนี้จะมีหน้าที่ประสานการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทร คมนาคมและโครงข่ายโทรคมนาคมที่จะนำมาใช้ร่วมกัน รวมถึงร่วมกำหนดแนวทางและวิธีการในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการให้กับภาคเอกชน และส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากอัตราค่าบริการที่ถูกลงด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1268

รมว.ไอซีที ดึง 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมลงนามใช้โครงสร้างพื้นฐาน – โครงข่ายร่วมกัน

November 22nd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน “พิธี ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อความร่วมมือในการสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ระหว่าง 6 บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม” ณ ห้อง ชั้น 9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์ ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ พิธีลงนามฯ ครั้งนี้มีผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เข้าร่วมลงนาม คือ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บจ.ทรู มูฟ และ บจ.ดิจิตอล โฟน โดยทุกฝ่ายจะได้ประสานความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ แต่ละฝ่ายให้มีความแข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้น ตลอดจนแสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว อันจะส่งผลให้มีบริการบรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้าถึงและครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งแพร่หลายไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกฝ่ายได้ตกลงจะสนับสนุนให้มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทร คมนาคมร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย

View :1253
Categories: Press/Release Tags:

รมว.ไอซีที แถลงความคืบหน้าการดำเนินโครงการต่างๆ ของกระทรวงฯ

November 17th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัด ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าหลังจากที่ได้มอบนโยบายให้กระทรวงฯ และหน่วยงานในสังกัดไปวางแผนการดำเนินงานโครงการต่างๆ ซึ่งผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานได้มารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน และโดยภาพรวมแล้วโครงการต่างๆ มีความคืบหน้าไปพอสมควรกว่า 70 %

“สำหรับโครงการสำคัญๆ ที่ได้มีการรายงานความคืบหน้านั้น ได้แก่ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากสภาฯ ให้ดำเนินการเพิ่ม รวมทั้งจะมีการขยายการให้บริการโดยเพิ่มเติมเทคโนโลยีในส่วนของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เข้าไป เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำโครงการรับบริจาคคอมพิวเตอร์มือสองเพื่อนำมาอัพ เกรดแล้วนำไปมอบให้ชุมชนที่ด้อยโอกาส และโรงเรียนห่างไกล เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ของ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยจะประสานความร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อช่วยดำเนินการเรื่องการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถดำเนินการได้ในส่วนหนึ่ง” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ยังมีการรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเตือนภัยด้านแผ่นดิน ไหว คลื่นสึนามิ และดินถล่ม ทำให้ไม่มีเทคโนโลยีที่จะใช้ในการเตือนภัยเกี่ยวกับวาตภัย อุทกภัยหรือน้ำท่วม การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยา ดังนั้น กรมอุตุฯ จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยเริ่มจากการเร่งพัฒนา ศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาที่ทันสมัยขึ้นมาทดแทนบุคลากร เดิม พร้อมกันนี้ยังจะมีการ บูรณาการความร่วมมือระหว่างกรมอุตุฯ ศูนย์เตือนภัยฯ และสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ เพื่อนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้ในการเตือนภัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันค่อนข้างล้าสมัยและมีอายุกว่า 15 ปี อย่างไรก็ตาม การที่จะซื้อเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานแทนนั้น จะสั่งซื้อเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และจะต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับกับงบประมาณที่จะต้องจ่ายไป รวมทั้งต้องพิจารณาศักยภาพของบุคลากรด้วยว่าจะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิด ประสิทธิภาพได้หรือไม่ และต้องพิจารณาความคุ้มค่าของเทคโนโลยีด้วย หากสามารถป้องกันความเสียหายได้ก็ถือว่าคุ้มค่า

“ใน การประชุมครั้งนี้ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการประเมินดัชนีชี้วัดขีดความ สามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยในภาพรวม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยดึงการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มอัตราการ มีงานทำให้ประชาชนได้ โดยนเบื้องต้นจะมีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ขึ้นมา และจะเน้นการประเมินในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสาร การเข้าถึงข่าวสาร การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกันนี้ยังได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานเตรียมจัดทำผลงานตามแผนการบริหาร ราชการแผ่นดินเพื่อเสนอรัฐสภาภายในสิ้นปีด้วย

และ สาระสำคัญที่ได้หารือกันอีกเรื่องหนึ่ง คือ การผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติไปสู่แผนการปฏิบัติภายหลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ซึ่งนอกจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะไปจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อใช้ของบประมาณปี 54 แล้ว ในส่วนของกระทรวงไอซีที จะมีการปรับเพิ่มบทบาทของคณะอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติให้ครอบคลุมไปถึง การปฏิบัติงานตามนโยบาย นอกจากนี้ยังจะผลักดันให้มีการใช้โครงข่ายที่มีอยู่ร่วมกันของทุกรัฐ วิสาหกิจทั้ง ทีโอที กสทฯ การไฟฟ้าฯ การรถไฟฯ ปตท. และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาใช้งานในเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ GIN ซึ่งในการพัฒนาระบบ GIN นั้น กระทรวงฯ จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการทั้ง ประสิทธิภาพของเครือข่าย ความเร็วในการให้บริการ ระยะเวลาในการกู้ระบบหากระบบล้มเหลว โดยแต่ละหน่วยงานที่ใช้ระบบ GIN จะ มีการจัด ทำแผนปฏิบัติงาน การให้บริการของหน่วยงานผ่านระบบ GIN เป็นระยะๆ ออกมา เพื่อใช้ในการผลักดันการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ยังมีการหารือในเรื่องการลงนามความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกราย เพื่อให้มีการใช้งานโครงข่ายร่วมกันทั้งเสารับ – ส่งสัญญาณประมาณ 30,000 เสา และเครือข่ายไฟเบอร์ออฟติกภายในสิ้นปี ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการให้กับภาคเอกชน และส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากอัตราค่าบริการที่ถูกลงด้วย ส่วนความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) คาดว่าจะสามารถจัดตั้งได้ภายในสิ้นปีนี้ จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานไปวางแผนขั้นตอนการบริหารงาน การร่างกฎระเบียบ การให้บริการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน

“ใน การปฏิบัติงาน 5 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ภูมิใจที่สุด คือ การผลักดันนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้สามารถผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ได้อย่างรวดเร็ว และนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ กับนโยบายดังกล่าว ขณะเดียวกัน ทุกฝ่ายก็ให้การตอบรับกับนโยบายบรอดแบนด์ฯ นี้เช่นกัน ซึ่งนโยบายนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมหาศาล แต่ในการดำเนินการนั้นจะไม่เร่งผลักดันในลักษณะของการทุ่มเม็ดเงินจำนวน มหาศาลเพื่อลงทุนในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะโครงข่าย จะผลักดันให้เกิดการใช้งานร่วมในโครงข่ายเดิมที่มีอยู่เพื่อลดการลงทุนที่ ซ้ำซ้อน และผลงานที่ภูมิใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การจัดตั้งองค์การ ทั้งสองแห่งให้แล้วเสร็จได้หลังจากที่รอมานานถึง 8 ปี” นายจุติ กล่าว

View :1238
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เข้าร่วมประชุมสภาบริหารสหภาพสากลไปรษณีย์ประจำปี 2553 ที่สมาพันธรัฐสวิส

November 11th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้เข้าร่วมการประชุมสภาบริหาร ( Council of Administration : CA) ของสหภาพสากลไปรษณีย์ ( Universal Postal Union : UPU) ประจำปี 2553 ที่กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส โดยเป็นการประชุมประจำปีในช่วงระหว่างที่ไม่มีการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ ( UPU Congress) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 4 ปี เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายข้อตกลง และประเด็นกฎหมายต่างๆ การให้ความเห็นชอบด้านการเงิน งบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการดำเนินการตามมติของที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนการวางกฎเกณฑ์การให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศสมาชิก การประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ของ UPU

“การ เข้าร่วมประชุมฯ ครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยได้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น การให้ความเห็นชอบ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พิจารณาเกี่ยวกับนโยบายข้อตกลงและประเด็นกฎหมายต่างๆ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบด้านการเงินงบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิก UPU อีกด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับ สหภาพสากลไปรษณีย์ เป็นทบวงการชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบงานการให้บริการและปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ ระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านบริการไปรษณีย์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 191 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก UPU เมื่อปี 2528

ส่วนการบริหารงานของ UPU นั้น มีสภาบริหาร ( Council of Administration : CA) ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ ประชุมใหญ่ จำนวน 41 ประเทศ ทำหน้าที่เป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบาย โดยจะจัดให้มีการประชุมสภาบริหารเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือด้านนโยบาย ข้อตกลง และประเด็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในการบริหารกิจการไปรษณีย์ รวมทั้งเสนอแนะนโยบายเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ในการขอแก้ไขข้อบังคับและกฎ ระเบียบต่างๆ ก่อนนำเสนอในการประชุมใหญ่ฯ ครั้งต่อไป เพื่อนำไปพิจารณาและให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ในการประชุมสภาบริหาร ยังมีการพิจารณาและให้ความเห็นชอบด้านการเงิน การงบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพฯ อีกด้วย

View :1433
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เข้าร่วมประชุมสภาบริหารสหภาพสากลไปรษณีย์ประจำปี 2553 ที่สมาพันธรัฐสวิส

November 11th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ได้เข้าร่วมการประชุมสภาบริหาร ( Council of Administration : CA) ของสหภาพสากลไปรษณีย์ ( Universal Postal Union : UPU) ประจำปี 2553 ที่กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2553 ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส โดยเป็นการประชุมประจำปีในช่วงระหว่างที่ไม่มีการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ ( UPU Congress) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 4 ปี เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายข้อตกลง และประเด็นกฎหมายต่างๆ การให้ความเห็นชอบด้านการเงิน งบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการดำเนินการตามมติของที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนการวางกฎเกณฑ์การให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศสมาชิก การประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ของ UPU

“การ เข้าร่วมประชุมฯ ครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยได้มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็น การให้ความเห็นชอบ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้พิจารณาเกี่ยวกับนโยบายข้อตกลงและประเด็นกฎหมายต่างๆ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบด้านการเงินงบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิก UPU อีกด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับ สหภาพสากลไปรษณีย์ เป็นทบวงการชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบงานการให้บริการและปรับปรุงกิจการไปรษณีย์ ระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านบริการไปรษณีย์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 191 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก UPU เมื่อปี 2528

ส่วนการบริหารงานของ UPU นั้น มีสภาบริหาร ( Council of Administration : CA) ที่ประกอบด้วยประเทศสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ ประชุมใหญ่ จำนวน 41 ประเทศ ทำหน้าที่เป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบาย โดยจะจัดให้มีการประชุมสภาบริหารเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือด้านนโยบาย ข้อตกลง และประเด็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในการบริหารกิจการไปรษณีย์ รวมทั้งเสนอแนะนโยบายเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนพิจารณาข้อเสนอของสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ในการขอแก้ไขข้อบังคับและกฎ ระเบียบต่างๆ ก่อนนำเสนอในการประชุมใหญ่ฯ ครั้งต่อไป เพื่อนำไปพิจารณาและให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ในการประชุมสภาบริหาร ยังมีการพิจารณาและให้ความเห็นชอบด้านการเงิน การงบประมาณ และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพฯ อีกด้วย

View :1422
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เผยแพร่แนวทางการจัดทำมาตรฐาน TH e-GIF เวอร์ชั่นใหม่

November 4th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิด “ การสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานข้อมูลตามแนวทาง TH e-GIF ” ว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนากรอบแนวทางมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลแห่งชาติ หรือ “ TH e-GIF ” อย่าง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่เร่งรัดผลักดันให้เกิดการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำเอา “ TH e-GIF ” ไป ใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลภาครัฐที่มีความแตกต่างกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อมุ่งสู่การให้บริการภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถให้บริการแบบเบ็ด เสร็จ ณ จุดเดียว และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ รวมทั้งการให้บริการประชาชน

“ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการต่างๆ ได้นำเอา “ TH e-GIF ” ไป ใช้เป็นแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น การเชื่อมโยงประวัติผู้ประจำรถและบัญชีรถที่ใช้ในการขนส่งของกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัด การเชื่อมโยงข้อมูลผลงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น และเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงฯ จึงได้ปรับปรุงกรอบแนวทาง “ TH e-GIF ” ให้ เป็นเวอร์ชั่น 2.0 พร้อมจัดทำคู่มือเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้ผู้ ปฏิบัติงานสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดแผนการดำเนินงานในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งได้จัดทำมาตรฐานข้อมูลด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านการเกษตร เพิ่มเติมอีก 3 ระบบข้อมูลด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

ดังนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ตามแนวทาง “ TH e-GIF ” และนำเสนอตัวอย่างการจัดทำมาตรฐานข้อมูล กระทรวงฯ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้นในหัวข้อเรื่อง “TH e-GIF : Towards Smart Services Innovation” โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญ ของการพัฒนามาตรฐานข้อมูล พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีและผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Smart Services Innovation ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ การเกษตร พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และการขนส่ง เป็นต้น

“กระทรวงฯ หวังว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ได้เผยแพร่ผลการจัดทำมาตรฐานข้อมูลฯ ของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานข้อมูล ตลอดจนการแลกเปลี่ยนขั้นตอนกระบวนการในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักของการพัฒนากรอบแนวทางการเชื่อมโยงพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ที่ต้องการให้หน่วยงานมีแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1262
Categories: Press/Release Tags: