Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที เร่งบูรณาการแก้สัญญาณโทรศัพท์น้ำท่วมใต้

November 4th, 2010 No comments

จากปัญหาช่องสัญญาณการใช้โทรศัพท์ในพื้นที่น้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถใช้โทรศัพท์พื้นฐานได้ ขณะนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจัดการให้ใช้โทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์พื้นฐานได้ 100 % ส่วนโทรศัพท์มือถืออาจติดขัด ยกเว้นวิทยุสื่อสาร

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บูรณาการ ความ ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เพื่อเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศตามคำสั่งของ นายกรัฐมนตรี และเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยในเบื้องต้นได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริหารข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือ War Room ขึ้น เพื่อรับแจ้งเหตุภัยพิบัติและเรื่องราวความเดือดร้อนของประชาชน แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยประสานงานกับหน่วยงานในจังหวัด หรือพื้นที่ประสบภัยผ่านเครือข่ายสื่อสารกลาง ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้มีการจัดวางระบบเครือข่ายสื่อสารกลางระหว่างพื้นที่ประสบภัยกับส่วนกลาง เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและเหตุภัยพิบัติ

จึง ขอแจ้งช่องทางสื่อสารประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมและต้องการแจ้งเหตุ หรือมีเรื่องราวเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งเปิดช่องทางรับแจ้งเหตุไว้หลายช่อง ได้แก่โทร 192 หรือโทร 1111 เพื่อประชาชน และหมายเลข 0-2141-6588 รวมทั้งยังสามารถส่งข้อความ หรือ SMS ฟรีแจ้งเหตุผ่านหมายเลข 4567891

นอกจากนั้น กระทรวงฯ ยังได้ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ทั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติ แห่ง ชาติ บมจ.กสท โทรคมนาคม และบมจ.ทีโอที บูรณาการความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นให้ทันต่อเหตุการณ์ โดยกระทรวงฯ จะตั้งหน่วยเฉพาะกิจ สำหรับการรับมือภัยพิบัติทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย ภัยหนาว ภัยแล้ง และนำเทคโนโลยีการเตือนภัยในรูปแบบต่างๆ มาใช้ เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านแผนที่ของกูเกิ้ล การใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียม SMMS และการสนับสนุนข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

“ใน การบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ จะร่วมกันดำเนินการในด้านต่างๆ โดยสำนักงานสถิติฯ จะร่วมมือกับศูนย์เตือนภัยฯ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับภัยพิบัติ ด้วยการให้สถิติจังหวัดบูรณาการข้อมูลกับจังหวัดต่างๆ แล้วส่งให้ส่วนกลางดำเนินการวิเคราะห์เพื่อวางแผนรับมือ ในส่วนของกรมอุตุนิยมวิทยาจะร่วมมือกับสำนักงานสถิติฯ ในพื้นที่ และเครือข่าย เพื่อนเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยฯ รวมทั้งทีมของจังหวัดต่างๆ เพื่อเข้าไปในพื้นที่และแจ้งข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที ขณะที่บมจ.กสทฯ และบมจ.ทีโอทีให้ดูแลเครือข่ายสื่อสาร คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ในจุดที่ไม่สามารถทำงานได้ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ

สำหรับ ศูนย์เตือนภัย ฯ ให้เตรียมรับมือในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเกิดภัยพิบัติ เช่น ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงมรสุม โดยให้ลงไปสร้างช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทดสอบการใช้งานของหอกระจายข่าวให้พร้อมใช้งาน และให้ประสานข้อมูลในพื้นที่จากสำนักงานสถิติฯ เพื่อนำมาใช้ประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติ และนำไปวางแผนแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนได้ทันต่อเหตุการณ์” นายจุติ กล่าว

View :1516
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที ส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Social Media

November 4th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ว่า หลังจากที่กระทรวงฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยได้ดำเนินกิจกรรมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการออกแบบตราสัญลักษณ์ ( Logo) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และการ์ตูนสัญลักษณ์ ( Mascot) ของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย กิจกรรมออกแบบและจัดทำหน้า เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( e-Government Portal) กิจกรรมออกแบบและจัดทำต้นแบบจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Newsletter) รวมถึงกิจกรรมการสื่อสารข้อมูลการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ( ) ด้วย

“กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี Web 2.0 และการเกิดขึ้นของสื่อสังคมออนไลน์ ( Social Media) ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ที่ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จึงได้มีการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารข้อมูลการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government โดยการเปิดให้บริการ Thailand e-Government Fan Page ผ่านเว็บไซต์ Facebook.com เพื่อ เป็นช่องทางใหม่สำหรับประชาชนในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออนไลน์ของภาครัฐ และสาระความรู้ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง ซึ่งช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ตั้งชื่อและโหวตชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ ( Mascot) ของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน Thailand e-Government Fan Page เพื่อลุ้นรับรางวัลเป็นโน้ตบุ๊ค Sony VAIO รุ่น W Series ซึ่งชื่อการ์ตูนที่มีผู้ส่งเข้าประกวดนั้น กระทรวงฯ ได้มีการคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 ชื่อ แล้วเปิดให้ประชาชนเข้ามาโหวตในช่วงเดือนกันยายน 2553 เพื่อให้ได้ชื่อที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดมาใช้เป็นชื่อของการ์ตูน สัญลักษณ์ โดยชื่อ “ คุณยินดี ” เป็นชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดจากประชาชน และกระทรวงฯ จะได้นำชื่อ “คุณยินดี” มาใช้เป็นตัวแทนแนะนำบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐไป สู่ประชาชน” นางจีราวรณ กล่าว

สำหรับ รายชื่อผู้โชคดีที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงฯ และได้รับรางวัล คอมพิวเตอร์ Sony VAIO รุ่น W Series มี 3 รางวัล ได้แก่ 1. รางวัลผู้ส่งชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ฯ ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ นายพัทธวัชร์ กิตติโรจนสิทธิ์ 2. รางวัลผู้ร่วมโหวตและแชร์ชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ฯ คือ นางสาวเพียงศุภรักษ์ กันธปัญญา และ 3. รางวัลผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการสมัครรับจดหมายข่าว e-Government Newsletter คือ นายนพดล วุฒิวระวงศ์

“กระทรวงฯ หวังว่ากิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ นี้ จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และเข้ามาใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิก Thailand e-Government Fan Page บน Facebook.com เพียงคลิก “Like” หรือ “ ถูกใจ ” ที่ http://www.facebook.com/egovthai ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 3,182 คนแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ e-Government ผ่าน Twitter ได้ที่ http://twitter.com/eGovThailand ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1576
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าความร่วมมือ 3 กระทรวง เปิดอบรมเตรียมพร้อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ

October 20th, 2010 No comments

นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเตรียมพร้อมการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้า หน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ว่า สืบเนื่องจากที่กระทรวงฯ ได้ทำ ข้อ ตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงยุติธรรม ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้มีการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานทั้งด้านนโยบายและการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งแนวทางความร่วมมือตามข้อตกลง 3 กระทรวงนั้น ได้กำหนดให้มีการสนับสนุน ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือ อุปกรณ์ กำลังเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานในระหว่างหน่วยงานของแต่ละกระทรวงและหน่วยงานภาคี รวมทั้งการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของแต่ละกระทรวงและหน่วยงาน ภาคี เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายของแต่ละกระทรวงโดยเร็ว

“ใน ส่วนของกระทรวงไอซีทีนั้น ปัจจุบันประสบปัญหาขาดแคลนพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ดังนั้น กระทรวงฯ จึงมีนโยบายที่จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการอื่นๆ มาช่วยปฏิบัติงาน แต่การดำเนินงานดังกล่าวจะต้องเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการปฏิบัติงาน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯ เสียก่อน โดยการจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การอบรมเตรียมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550” ขึ้น เพื่อ ฝึกอบรมให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงบทบาทของการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ และให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนมีการลงนามแต่งตั้ง ” นางสาวมัลลิกา กล่าว

สำหรับการอบรมเตรียมความพร้อมฯ ในครั้งนี้ ได้มีการฝึกอบรมให้พนักงานเจ้าหน้าที่จำนวน 45 คน โดยให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับ กฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญาที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การสืบสวนทางเทคนิค เช่น การตรวจสอบหมายเลข IP Address หรือแหล่งที่มาของการกระทำความผิด รวมทั้งการขอข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ( Traffic Data) จาก ผู้ให้บริการ การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล/พยานหลักฐานข้างต้น การยึดอายัดและคืนพยานหลักฐาน การเก็บรักษาพยานหลักฐาน การเก็บรักษาพยานหลักฐานให้คงความน่าเชื่อถือ การพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Forensics) ตลอดจนการอบรมจริยธรรม จรรยาบรรณที่พึงมีในบทบาทและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งภายหลังผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมฯ แล้ว จะมีการลงนามแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที

View :1595
Categories: Press/Release Tags:

รมว.ไอซีที เปิดโครงการ สาธิตการใช้งาน Social Network สำหรับ ส.ว.-ส.ส.

October 20th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการสาธิตการใช้งาน Social Network สำหรับสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 กิจกรรม Social Network ครั้งนี้เป็น กิจกรรมที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน Social Network อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำหรับงานด้านการเมืองการปกครองของสมาชิกรัฐสภาและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้มีการออกบูธนิทรรศการตั้งแต่วันที่ 19-29 ตุลาคม 2553 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.และวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 09.30 น. ได้จัดให้มีการสาธิตการใช้งาน Social Network ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถนำเอา Social Network ไปพัฒนาใช้กับงานในชุมชน รวมทั้งใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการสื่อสาร อันเป็นการลดช่องว่างระหว่างประชาชนและสมาชิกรัฐสภาได้

View :1526
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ

October 20th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันเร่งแก้ปัญหา อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ และได้สั่งการให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในฐานะผู้รับผิดชอบ ระบบสื่อสาร จัดบริการรับเรื่องร้องทุกข์เพื่อให้ประชาชนได้แจ้งข้อมูลความเดือดร้อนเข้า มาได้ตลอดเวลา

“กระทรวงฯ ได้เปิดบริการหมายเลข 4567891 เพื่อให้ประชาชนได้ส่งข้อความ หรือ SMS แจ้ง เรื่องราวร้องทุกข์ หรือแจ้งความเดือดร้อนต่างๆ จากปัญหาภัยพิบัติครั้งนี้ผ่านทางหมายเลขดังกล่าวได้ตลอดเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งกระทรวงฯ ได้ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัด คือ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ให้ขอความร่วมมือไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เพื่อร่วมสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการบรรเทาความเดือดร้อนของ ประชาชนด้วย โดยข้อความต่างๆ ที่ส่งผ่านหมายเลข 4567891 นี้ กระทรวงไอซีที จะรวบรวมเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยด่วนต่อไป ” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ ในเบื้องต้น กระทรวงฯ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ทั้ง บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม บจ.ไปรษณีย์ไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) และสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ยังได้ร่วมมอบความช่วยเหลือเป็นน้ำดื่มจำนวน 100,000 ขวด และเงินช่วยเหลืออีกจำนวน 500,000 บาท โดยนำไปมอบให้นายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา เพื่อส่งต่อไปยังประชาชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั่วประเทศอีกด้วย

View :1350
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เผยความคืบหน้าการร่วมมือ ก.ยุติธรรม และก.วัฒนธรรม ป้องปรามสื่อไอซีทีที่ผิดกฎหมาย

October 18th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินงาน ภายหลัง “ การ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงยุติธรรม ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ” ว่า หลังจากที่ได้มีการสนธิกำลัง 3 กระทรวง แล้ว ได้มีการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานทั้งด้านนโยบายและการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยได้มีการกำหนดแนวทางความร่วมมือตามข้อตกลง 3 กระทรวงไว้ 4 ข้อหลักๆ คือ 1.กำหนดนโยบายและปฏิบัติการตามกฎหมายและภารกิจของกระทรวง 2.สนับสนุน ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ กำลังเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานในระหว่างหน่วยงานของแต่ละกระทรวงและหน่วยงานภาคี รวมทั้งการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของแต่ละกระทรวงและหน่วยงาน ภาคีเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายของแต่ละกระทรวงโดยเร็ว

3.สนับ สนุนและประสานงานกันในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของแต่ละกระทรวงเพื่อให้การ บังคับใช้กฎหมายและการปฏิบัติงานของแต่ละกระทรวงและการปฏิบัติงานร่วมกันตาม บันทึกข้อตกลงนี้ และ 4.จัดการประชุมประสานงานทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการเพื่อให้เกิด การประสานงานที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกข้อตกลงนี้ให้มีความเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติการร่วมกันตามบันทึกข้อตกลงนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และถาวร

“ในการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือ 3 กระทรวงนั้น จำเป็นต้องมีการจัดทำ Road Map เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติการ โดยได้มอบหมายให้สำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงไอซีที เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนงาน กระบวนการ และขั้นตอนการทำงานที่กระชับชัดเจนเป็นรายไตรมาส รวมถึงจัดทำระบบสารสนเทศอินทราเน็ตสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 กระทรวงด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบเพื่อนำไปประยุกต์ใช้

ส่วนการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการและวางแผนปฏิบัติการตามข้อตกลงความร่วมมือ 3 กระทรวงนั้น ได้สั่งการ ให้จัดทำระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ หรือ Video Conference System สำหรับ ใช้ในการประชุมหารือร่วมกัน รวมทั้งให้มีการตั้งคณะทำงานติดตามความคืบหน้าการดำเนินการและวางแผนปฏิบัติ การตามข้อตกลงความร่วมมือ 3 กระทรวง โดยมีผู้แทนจากแต่ละกระทรวงไม่น้อยกว่า 5 คน มีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษาของคณะทำงาน” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ยังให้มีการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจที่มีความสามารถทั้งในด้านกฎหมาย ด้านวัฒนธรรม ด้านสืบสวนสอบสวนจากแต่ละกระทรวงให้มาดำเนินงานร่วมกัน โดยตรวจสอบคุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเคยได้รับแต่งตั้งแล้ว และสอบถามถึงความพร้อมที่จะเข้ามาร่วมดำเนินการในคณะทำงานเฉพาะกิจ รวมถึงจัดให้มีสถานที่กลางสำหรับประชุมหารือของคณะทำงานเฉพาะกิจ และให้มีการประชุมเป็นประจำเพื่อดำเนินงานร่วมกัน ส่วนการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้น จะมีการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนมีการ ลงนามแต่งตั้ง

พร้อม กันนี้ยังสนับสนุนให้มีอาสาสมัครเข้ามาปฏิบัติงาน โดยนำบุคคลที่มีความสมัครใจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่คัดกรอง และรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องผิดกฎหมาย กระทบต่อสถาบันหลักของชาติ สื่อลามกอนาจาร การพนันออนไลน์ ยาเสพติด อาหาร ยา และอื่นๆ แล้วส่งให้กระทรวงฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการ ซึ่งกระทรวงไอซีที สามารถดำเนินการผ่านโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ที่มีอยู่ทั่วประเทศได้ โดยให้มีการรับอาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทหาร สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอื่นๆ และอาสาสมัครในเครือข่ายของกระทรวงวัฒนธรรม ให้เข้ามา มีส่วนร่วมในการคัดกรองและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งให้ใช้ช่องทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม “ ยุติธรรม แชนแนล ” ของกระทรวงยุติธรรม ในการสร้างเครือข่าย ตลอดจนการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้วย

สำหรับ ประเด็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของแต่ละกระทรวงนั้น ได้มอบหมายพันตำรวจเอกญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปทบทวน เสนอแนะ ข้อดี ข้อด้อย ของกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

View :1363
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เตรียมพร้อมสำรวจการดำเนินงานตามแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2

October 13th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 และได้มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการติดตาม ประเมินผลเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม นอกจากนั้นในบทที่ 6 เรื่องการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ยังได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงการติดตามและประเมินผล ซึ่งต้องมีการติดตามความก้าวหน้า ( Monitoring) ของการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ และมีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ ( Evaluation) ใน ช่วงครึ่งแผน ซึ่งผลที่ได้จากการติดตามและประเมินผล จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ หรือปรับแผนแม่บท/แผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ สภาวการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้มีการเตรียมพร้อมและสร้างระบบการติดตามและประเมินผลที่มี ประสิทธิภาพ รวมถึงการประเมินผลสถานการณ์ดำเนินงานจริง เพื่อผลักดันให้แผนแม่บทฯ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยการดำเนินโครงการสำรวจสถานการณ์การดำเนินการตามแผนแม่บทเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ.2552 – 2556 โดยให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะมาทำการประเมินผลการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศมาก ที่สุด

การ จัดทำโครงการสำรวจสถานการณ์การดำเนินการตามแผนแม่บทฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบ และเตรียมความพร้อม สำหรับการติดตามและประเมินผลแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ระยะที่ 1 (รอบครึ่งแผน) ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อประเมินสถานะของการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ตามแผนแม่บทฯ และเพื่อเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้แผนแม่บทฯ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ หรือปรับแผนแม่บท/แผนปฏิบัติการของหน่วยงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ สภาวการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างโอกาสของประเทศไทยในการเพิ่มอันดับความสามารถในการ แข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของประเทศไทย ( Technological Infrastructure) ที่มีการจัดอันดับโดย International Institute for Management Development: IMD และ/หรือ ความสามารถในการแข่งขันของไทยในด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยี ( Technological readiness) ที่มีการจัดอันดับโดย World Economic Forum: WEF ให้มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โครงการ สำรวจฯ นี้มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 เดือน ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว จะทำให้กระทรวงฯ ได้ รับทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันในการติดตามและประเมินผลแผน แม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ.2552 – 2556 รวมทั้งมีแนวทางสำหรับประเทศไทยในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศ ตลอดจนได้รับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันการดำเนินการของส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

View :1843
Categories: Press/Release Tags:

กระทรวงไอซีที จับมือกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชน

October 13th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนามเป็นสักขีพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชน” ระหว่าง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงนามในข้อตกลงฯ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ บันทึกข้อตกลงฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กศน.ตำบลฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ที่เชื่อมต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย โดย กระทรวงไอซีทีจะให้การสนับสนุนสื่อ และองค์ความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพครู กศน.ตามมาตรฐานหลักสูตรคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานของประเทศไทย ซึ่งโครงการ กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ชุมชน ของกระทรวงศึกษาธิการนี้ สอดคล้องกับโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนของกระทรวงไอซีที จึงสามารถเชื่อมโยง และบูรณาการ การทำงานร่วมกันได้

View :1449
Categories: Press/Release Tags:

ก.ไอซีที เตรียมพร้อมวางแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ

September 30th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการสัมมนา “ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ” ว่า ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐซึ่งมีความ สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้บริการ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว แต่อาจก่อให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งนับเป็นความเสี่ยงสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อ มั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และการละเมิดดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัวของ ประชาชนด้วย

ดัง นั้น เพื่อให้มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ให้บริการหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงใดที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือหน่วยงาน ที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มอบหมายก่อน

“คณะ กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดทำร่างประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐขึ้น เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นให้หน่วยงานของรัฐได้ใช้ในการจัดทำนโยบายและแนว ปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ซึ่งขณะนี้ร่างประกาศดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2553 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2553 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ลงนาม โดยร่างประกาศฯ นี้ ได้กำหนดสาระสำคัญขั้นต่ำเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ในการจัดทำนโยบายและข้อ ปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละหน่วยงาน และกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงนโยบายดังกล่าวให้ชัดเจน” นายธานีรัตน์ กล่าว

ด้าน นางสาวลัดดา แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการผลักดันให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรมฯ จึงได้จัดสัมมนาเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าว ภายใต้โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยมีหัวข้อสัมมนา คือ “ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ”

“การ สัมมนาครั้งนี้นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติฯ ของหน่วยงานของรัฐแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถพัฒนาการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐภายใต้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้เชิญกลุ่มเป้าหมายหลักซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งผู้แทนจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และกรมการกงสุล เป็นต้น” นางสาวลัดดา กล่าว

สำหรับ รายละเอียดของการสัมมนาฯ นั้นแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1.ความสำคัญของการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ หน่วยงานของรัฐ 2.การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานของรัฐกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 3.ขั้นตอนปฏิบัติในการจัดส่งแนวนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อให้คณะกรรมการธุรก รรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ความเห็นชอบ และ4.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วย งานของรัฐ รวมถึงกรณีศึกษาด้วย

View :1691

ก.ไอซีที มุ่งสร้างความรู้หลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารในรูป e-Document

September 27th, 2010 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน สัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำ หรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวทางของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พุทธศักราช 2544 ว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้รูปแบบและวิธีการในการติดต่อสื่อสาร การรับส่งเอกสารและข้อมูล ตลอดจนการทำธุรกรรมปรับเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาก ขึ้น รวมถึงมีเอกสารหรือข้อความที่ได้จัดทำหรือแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ในภายหลังเพิ่มขึ้น ซึ่งกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดให้การจัดทำหรือแปลง เอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนดไว้ในมาตรา 12/1 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

ดัง นั้น การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลง เอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ ( ) ตาม ที่กำหนดไว้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แผน มาตรการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสาร และข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ

ด้าน นางสาวลัดดา แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการดำเนินงานตามโครงการฯ ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุม Focus Group เพื่อ รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลง เอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จากผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ตามข้อเสนอแนะจากการประชุม Focus group ให้ มีความสมบูรณ์และเป็นไปตามเจตนารมณ์ตามที่กฎหมายกำหนดเสร็จสิ้นเรียบร้อย แล้ว จึงได้นำเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้ อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากนั้นจึงได้นำเสนอต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พิจารณาให้ความ เห็นชอบ โดยขณะนี้ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูป ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการศึกษาให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ทำความเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้งานที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเอง โดยการนำเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว พร้อมทั้ง แนวทางการประยุกต์ใช้งานให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้แทนภาครัฐ และผู้แทนกลุ่มผู้ประกอบการ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่กระบวนการสร้าง/แปลง ส่ง – รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร จำนวนประมาณ 300 คน
กระทรวงฯ หวังว่าการสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัด ทำหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งแนวทางการประยุกต์ใช้งานให้กับหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายกำหนด และส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ให้มีความก้าวหน้าเทียบเท่าในระดับสากลต่อไป” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1660
Categories: Press/Release Tags: ,