Archive

Posts Tagged ‘MICT’

ก.ไอซีที พร้อมร่วมฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ

August 22nd, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ว่า การฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาตินี้ เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 ที่เห็นชอบในนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบทิศทางหลักของชาติในการเตรียมความพร้อมเผชิญกับสาธารณภัยและ ภัยความมั่นคง รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 ที่เห็นชอบกรอบแผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ ให้เป็นแผนระดับกระทรวงในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ รวม 17 ด้าน และมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ที่เห็นชอบให้ เป็นแผนหลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ

ดังนั้น การฝึกซ้อมฯ นี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รวมทั้งแผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ 17 ด้าน ไปสู่การปฏิบัติในระดับกระทรวง ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น รวมถึงเพื่อบริหารจัดการสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ที่เกินขีดความสามารถในการจัดการปัญหาของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจจังหวัด โดยจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจส่วนหน้าเพื่อระดมสรรพกำลังของ ทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเพื่อนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และเชื่อมโยงเครือข่ายฐานข้อมูลในการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ

การ ฝึกซ้อมฯ ในครั้งนี้ได้จำลองสถานการณ์การเกิดพายุไต้ฝุ่นที่ทำลายระบบสาธารณูปโภค และส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินประชาชนในพื้นที่จังหวัด จันทบุรี จังหวัดตราดและพื้นที่โดยรอบ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องระดมกำลังจากหน่วยงานของรัฐ และทุกภาคส่วนเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการฝึกซ้อมฯ ได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ การฝึกซ้อมในระดับฝ่ายอำนวยการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงเป็นประธาน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้ตรวจสอบความชัดเจนของนโยบาย แผน กฎหมาย ระเบียบ แผนปฏิบัติการฉุกเฉินของแต่ละหน่วยงาน และเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคสนาม ส่วนรูปแบบที่สอง คือ การฝึกซ้อมภาคสนาม เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานจริง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อม ประกอบด้วย หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สมาคม มูลนิธิ และประชาชน รวม 2 , 000 คน

“สำหรับกระทรวงไอซีที ได้ร่วมฝึกซ้อมฯ โดยดำเนินการตามกรอบแผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบ บูรณาการระดับกระทรวงด้านการแจ้งเตือนภัยและด้านการสื่อสาร ซึ่งกระทรวงฯ ได้เตรียมความพร้อมด้านการแจ้งเตือนภัยไว้เป็นลำดับ คือ ให้กรมอุตุนิยมวิทยาติดตามการเคลื่อนตัวของพายุอย่างใกล้ชิดและออกประกาศตาม ห้วงเวลา ขณะที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติประเมินผลกระทบจากพายุที่อาจจะเป็น อันตราย พร้อมออกประกาศแจ้งเตือนภัยความรุนแรงของภัยไปยังพื้นที่ประสบภัย โดยอาศัยข้อเท็จจริงในพื้นที่ประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งผลจากการประกาศแจ้งเตือนภัยจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่มปฏิบัติ ตามแผน และ หอเตือนภัยในพื้นที่จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนภัย

หลังจากที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ประกาศแจ้งเตือนภัยแล้ว เครือข่ายเพื่อนเตือนภัยที่จัดตั้งขึ้นจะช่วยกระจายข่าวการ เตือนภัยให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้เพื่อนเตือนภัยและนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ภัย ยังช่วยรายงานข้อเท็จจริงของสถานการณ์ภัยพิบัติ และเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ด้วย” นายสือ กล่าว

ส่วน การเตรียมพร้อมด้านการสื่อสารนั้น กำหนดให้มีความพร้อมปฏิบัติตั้งแต่ในยามปกติและสามารถดำรงการสื่อสารไว้ตลอด เวลา โดยได้กำหนดคลื่นความถี่วิทยุกลางสำหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วย ราชการและรัฐวิสาหกิจ คือ คลื่นความถี่ 142.425 MHz / 147.425 MHz ในย่าน VHF และคลื่นความถี่ 449.025 MHz และ 454.025 MHz ในย่าน UHF เป็นข่ายสื่อสารหลักในการประสานงานระหว่างหน่วยงานซึ่งเป็นข่ายสื่อสารพิเศษ ที่ได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้สามารถใช้ในการประสานงานระหว่างหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจที่แต่เดิมยังไม่ มีการนำมาใช้งาน โดยนายกรัฐมนตรีสามารถติดต่อประสานงานผ่านข่ายสื่อสารวิทยุกลางกับหน่วย งานราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติได้ทุกหน่วย เพื่อให้สามารถสอบถามรวมทั้งใช้สั่งการได้ในกรณีที่ระบบสื่อสารอื่นไม่ สามารถใช้งานได้

“นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจขึ้น โดยระดมทรัพยากรที่ได้กำหนดไว้ตามแผนปฏิบัติการแบบ บูรณาการระดับกระทรวงเตรียมพร้อมเอาไว้ ซึ่งในเหตุการณ์การฝึกซ้อมฯ กำหนดให้ระบบการสื่อสารปกติได้รับความเสียหายใช้งานไม่ได้ ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจจึงให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัด ได้แก่ บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม ช่วยเร่งรัดซ่อมระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งให้นำรถสื่อสารโทรคมนาคมเคลื่อนที่เร็วลงไปเสริมให้สามารถใช้การ สื่อสารในพื้นที่ประสบภัยโดยเร่งด่วนเป็นการชั่วคราวก่อนที่จะซ่อมคืนระบบ การสื่อสารให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ขณะเดียวกันได้ประสานงานกับ กทช. เพื่อให้ช่วยเร่งรัดผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ให้ซ่อมระบบที่ ได้รับความเสียหายให้คืนสภาพปกติโดยเร็ว

ขณะ เดียวกันกระทรวงฯ ยังได้สถาปนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในพื้นที่เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร และใช้งานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทั้งระบบหลักโดยใช้ข่ายวิทยุความ ถี่กลางในการประสานงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงระบบสื่อสารคู่ขนานโดยเครือข่าย “ วิทยุสมัครเล่น ” ซึ่ง เป็นระบบคู่ขนานสำรองที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา เพื่อทดแทนระบบการสื่อสารหลัก ที่ได้รับความเสียหายเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการติดต่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้แล้วทั่วทุกพื้นที่ประสบภัยพิบัติด้วย” นายสือ กล่าว

การ เข้าร่วมการฝึกซ้อมครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัย พิบัติขั้นร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งระบบการแจ้งเตือนภัยก่อนเกิดเหตุ หรือแม้แต่ขณะเกิดเหตุเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ต้องมีการวางแผนและทดสอบ ระบบให้พร้อมในการปฏิบัติการอยู่เสมอ ขณะเดียวกันระบบการติดต่อสื่อสารก็ถือเป็นหัวใจของการควบคุมบัญชาการ เหตุการณ์ เมื่อเกิดสาธารณภัยที่มีความรุนแรงโดยเฉพาะจากพายุฝน หรือแม้แต่หลายเหตุการณ์ เช่นดินโคลนถล่มในพื้นที่ทางภาคเหนือทำให้การสื่อสารถูกตัดขาด หรือแม้แต่กรณีที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากเป็นผลให้ระบบสื่อสารขัดข้องได้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้วางแผนดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อรับมือกับภัยพิบัติดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และสามารถบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

View :1643

ก.ไอซีที กำหนด 7 ยุทธศาสตร์หลักในกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อพัฒนาด้านไอซีทีของไทยในอีก 10 ปี

August 10th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า เนื่องจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544 – 2553 หรือ IT 2010 ของประเทศไทยจะสิ้นสุดระยะเวลาลงในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย หรือ ขึ้น เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมมีความต่อเนื่องจากกรอบนโยบายเดิม โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคมของไทยในระยะเวลา 10 ปี ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำกรอบนโยบายไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน โดยกระทรวงฯ ได้เริ่มดำเนินการจัดทำร่างกรอบนโยบาย มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2553

ด้าน นางเมธินี เทพมณี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทฯ นั้น เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อประเมินการพัฒนา ICT ของประเทศไทยกับเวทีโลก การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน การรวบรวมข้อมูลแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การประเมินสถานภาพการพัฒนา และการมีการใช้เทคโนโลยี ICT ในประเทศ

พร้อมกันนี้ยังมีการจัดการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ( High-level Expert Roundtable) ในช่วงปลายปี 2552ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบและแนวโน้มของเทคโนโลยี ICT โดย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มการเมืองการปกครอง กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มสังคม กลุ่มสื่อ กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องเทคโนโลยีอุบัติใหม่ หลังจากนั้นในระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม 2553 จึงได้มีการจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการขับเคลื่อนรายยุทธศาสตร์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องมาระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดมาตรการ แผนงาน และโครงการเร่งด่วนในยุทธศาสตร์แต่ละกลุ่ม ซึ่ง (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้ ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอนาคต ” 2.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ” 3.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาทุนมนุษย์ ICT สำหรับปี 2020 ” 4.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT” 5.ยุทธศาสตร์ ” ICT เพื่อการให้บริการของภาครัฐ ( Public Service)” 6.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อความเท่าเทียมทางสังคม ( Social Equality)” และ 7.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ”

นอกจากนี้ ใน (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ยังมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศอีก 3 ประเด็น คือ 1. ประเด็น “ ด้านกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ” 2. ประเด็น “ การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย ICT: แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ” และ 3. “ แนวทางการพัฒนา ICT เพื่อการบริการสุขภาพภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020″

“หลังจากใช้เวลากว่า 1 ปี คณะทำงานจัดทำกรอบนโยบายฯ ของกระทรวงฯ จึงได้ทำการ (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ใกล้แล้วเสร็จ และได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะขึ้นในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ 4 ภูมิภาค โดยในภาคเหนือจัดให้มีการประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคกลางจะจัดที่จังหวัดนครปฐม และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลาตามลำดับ ซึ่งการจัดประชุมฯ ดังกล่าวนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)

กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ.2554-2563 โดยเฉพาะความคิดเห็นในภูมิภาคต่างๆ และนำข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเหล่านั้น มาใช้ในการปรับปรุงตัวร่าง และการจัดทำกรอบนโยบายฯ ฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยในระยะเวลา 10 ปี ให้เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณชน ทั่วประเทศด้วย” นางเมธินี กล่าว

View :2342
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างกรอบนโยบาย ICT 2020

August 7th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ต่อร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย ( ) ว่า ปัจจุบันสถานภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ที่ได้จากข้อมูลอ้างอิงของดัชนีหลักๆ ในระดับสากลที่นิยมใช้เป็นเครื่องวัดขีดความสามารถด้าน ICT ของประเทศนั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีสถานภาพด้าน ICT ที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย เช่น การจัดอันดับ The World Competitiveness Scoreboard ที่จัดทำโดย IMD ใน ปี 2010 ที่ประเมินคะแนนของแต่ละประเทศจากสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้วย พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 จากทั้งหมด 58 ประเทศ โดยอันดับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 จากเดิมที่ในปี 2009 อยู่ลำดับที่ 3 และมาเลเซียอันดับที่ 10 จากเดิมอันดับที่ 18

โดยในปี 2009 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีจุดอ่อนสำคัญในเรื่องโครงสร้างทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ซึ่งหากพิจารณาจากดัชนี Networked Readiness Index ที่ จัดทำในปี 2009 – 2010 อันเป็นตัวชี้วัดด้านความพร้อมใช้ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ ก็พบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 47 จาก 133 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับเดียวกับปี 2008-2009 ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ในอันดับที่ 4 เช่นเดียวกับมาเลเซียที่เลื่อนลำดับจากที่ 28 ในปี 2008-2009 มาเป็นอันดับที่ 27 ในปี 2009-2010 ส่วนด้านอุตสาหกรรม ICT ซึ่งพิจารณาจากดัชนี IT industry competitiveness ที่จัดทำโดย EIU ใน ปี 2009 พบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 49 จาก 66 ประเทศที่มีการจัดอันดับ ขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 9 และ 42 ตามลำดับ ดัชนีตัวชี้วัดดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพการใช้ ICT ของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันแล้ว ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอีกมากพอสมควร

นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทย ยังพบว่าผลการสำรวจการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยยังไม่เต็มศักยภาพเท่าที่ควร ซึ่งผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ายังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี ICT ที่ ยังไม่ทั่วถึงในภาคส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในต่างจังหวัด ในภาคการศึกษา ที่ยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนน้อย รวมทั้งในภาคการเกษตร ที่แทบไม่มีการนำเอา ICT ไปใช้เพิ่มผลิตภาพผลิตผล ขณะที่ในภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กก็ยังมีการนำเอา ICT ไปใช้น้อย และในส่วนของอุตสาหกรรม ICT แม้ บางส่วนจะเริ่มมีการพัฒนาแต่ยังเป็นระยะเริ่มต้น ทั้งที่ ประเทศไทยมีความสามารถที่จะพัฒนาให้ได้ดีกว่านี้อีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการวิจัยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ ICT

“สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ย้ำเตือนให้ตระหนักว่าการเร่งพัฒนา ICT ถือเป็นภารกิจจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกๆ ภาคส่วนไม่ว่ารัฐหรือเอกชนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถด้าน ICT ของ ประเทศอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่มาของการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 หรือ ICT 2020 ฉบับนี้ ทั้งนี้ เป้าหมายของการพัฒนานั้นไม่ใช่เพียงเพื่อจะ ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่อันดับที่ดีขึ้นทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านเท่า นั้น แต่ยังมีเป้าหมายหลักที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของชาวไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยโดยมี ICT เป็นเครื่องมือ” นายวิบูลย์ทัต กล่าว

สำหรับ (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ฉบับนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีเนื้อหาหลักประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญที่ครอบคลุมบริบททางสังคมและ เศรษฐกิจของไทยในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับประเด็นใหม่ๆ ที่สอดรับกับกระแสและสภาวการณ์ของโลก เช่น ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านสังคมการเมือง ด้านการศึกษา และด้านสุขภาพ รวมถึงการใช้จุดแข็งและโอกาสของประเทศไทยที่มีอยู่ให้ได้ผลดีมากที่สุดใน เชิงยุทธศาสตร์

อย่าง ไรก็ตาม (ร่าง) กรอบนโยบายนี้ ยังไม่ใช่ฉบับสมบูรณ์ เนื่องจากต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาค ส่วนต่างๆ ด้วย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงเพิ่มเติมในกรอบนโยบาย ICT 2020 แล้วจึงนำเสนอต่อคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบแนวทางระยะยาวในการดำเนินการด้านการพัฒนา ICT ของประเทศต่อไป

“กระทรวงฯ หวังว่ายุทธศาสตร์และมาตรการในร่างกรอบนโยบายฉบับนี้ จะเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมีความชัดเจน และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพื่อให้ส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกได้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการใช้กรอบนโยบายในปี พ.ศ.2563” นายวิบูลย์ทัต กล่าว

View :1884
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ใช้ Social Network ส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

August 6th, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ( ) ซึ่ง เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการผลักดันให้ภาครัฐนำเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การให้บริการประชาชน และภาคธุรกิจเอกชน โดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินงานทั้งในส่วนของการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐ การจัดทำมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบบริการและช่องทางการอำนวยความสะดวกในการให้บริการผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในรูปแบบของระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์( e-Services) และเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( Portal) ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

“ใน การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะสะท้อนถึงความสำเร็จของการดำเนินการ ก็คือ การที่ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และใช้บริการดังกล่าวในชีวิตประจำวัน ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และมีประชาชนหันมาใช้บริการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ นี้ ก็คือ การเปิดให้บริการ Thailand e-Government Fan Page บน เพื่อ เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร สารประโยชน์ และกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งใช้เป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการสื่อสารข้อมูล ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการ e-Government ของประเทศไทย ประชาชนที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิก Thailand e-Government Fan Page โดยคลิก “Like” หรือ “ ถูกใจ ” ในหน้า Thailand e-Government Fan Page บน ที่ http://www..com/egovthai ได้” นายสือ กล่าว

นอก จากนี้กระทรวงฯ ยังได้ดำเนินการออกแบบโลโก้และการ์ตูนสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นตัวแทน การให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ได้ และกระทรวงฯ ยังได้จัดกิจกรรมการประกวดตั้งชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทาง Thailand e-Government Fan Page บน Facebook เพื่อลุ้นรับรางวัลเป็นโน้ตบุ๊ค SONY VAIO W SERIES ด้วย ซึ่งชื่อการ์ตูนที่มีผู้ส่งเข้าประกวดนั้น กระทรวงฯ จะมีการคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 ชื่อ แล้วเปิดให้ประชาชนเข้ามาโหวตในช่วงเดือนกันยายน 2553 เพื่อให้ได้ชื่อที่ประชาชน ชื่นชอบมากที่สุดมาใช้เป็นชื่อของการ์ตูนสัญลักษณ์ดังกล่าวต่อไป
“กระทรวงฯ หวังว่ากิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ ขึ้นนี้ จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้เข้ามาใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่สนใจกิจกรรมดังกล่าวสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Thailand e-Government Fan Page บน Facebook ที่ http://www.facebook.com/egovthai ” นายสือ กล่าว

View :1712

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นพัฒนาเส้นทางอาชีพของผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยระบบเครือข่าย-คอมพิวเตอร์

August 6th, 2010 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา “ รับ ฟังข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเส้นทางอาชีพด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของมาตรฐานวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย ของระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ” ว่า กระทรวงไอซีที มีบทบาทหน้าที่ในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้าน ICT ของไทยให้มีความรู้ความสามารถ มีความเข้มแข็ง และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ICT ไทยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศไทยให้มีความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT รวมทั้งเผยแพร่กรอบมาตรฐานวิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับมาตรฐานความรู้ด้าน ICT ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคลากรด้าน ICT และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้าน ICT ตลอดจนกระตุ้นให้รู้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการสอบเพิ่มความรู้ความสามารถ เช่น มีผลต่อการปรับเลื่อนเงินเดือน การพิจารณาเข้าทำงาน หรือการรับทุนไปศึกษาอบรมในต่างประเทศ เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนให้บุคลากรด้าน ICT เล็ง เห็นถึงความสำคัญทางด้านภาษาอังกฤษและพัฒนาศักยภาพในด้านภาษาให้มีความเป็น เลิศ มีความทัดเทียมกับนานาประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

“สำหรับการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ICT ไทยนี้ กระทรวงฯ ได้จัดทำข้อสอบเพื่อวัดระดับความรู้สำหรับมาตรฐานวิชาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ( Network and Computer Security Specialist: NCS) และมาตรฐานวิชาชีพด้านผู้จัดการโครงการไอที รวมทั้งได้จัดฝึกอบรมเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและศักยภาพด้าน ICT และภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรด้าน ICT ในหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ หลักสูตรมาตรฐานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ( Network and Computer Security Specialist: NCS) ระดับที่ 1 – 3 หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านผู้จัดการโครงการไอที ( IT Project Manager : ITPM) ( ระดับที่ 1) หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญด้านผู้จัดการโครงการระดับเชี่ยวชาญ ( IT Project Manager Specialist : ITPMS) ( ระดับที่ 2) และหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้าน ICT ระดับต้น กลาง และสูง อีกด้วย” นายธานีรัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว กระทรวงฯ ยังได้จัดทำแนวทางการพัฒนาเส้นทางอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT Career Path) ของมาตรฐานวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ โดยได้จัดการประชุมกลุ่ม ( Focus Group) จำนวน 4 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT และ ฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน สมาคมทางด้านไอที รวมถึงสถาบันการศึกษา ซึ่งข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยนี้ได้นำไปวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึง สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคของบุคลากร และผู้ประกอบการ ICT ไทย รวมทั้งแนวทางการแก้ไข ก่อนนำมาจัดทำเป็นแนวทางการพัฒนาเส้นทางอาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

“และ เพื่อให้การจัดทำเส้นทางอาชีพดังกล่าวมีความชัดเจนสมบูรณ์ กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอ (ร่าง) เส้นทางอาชีพฯ ที่ได้มาจากการวิเคราะห์ในการประชุมกลุ่มย่อยดังกล่าวให้กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรด้าน ICT ทั้ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สมาคมชมรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้อย่างกว้างขวาง รวมถึงเปิดรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ให้บุคลากรด้าน ICT ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาเส้นทางอาชีพฯ ของไทยในปัจจุบันและอนาคต ต่อไป ” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :1648
Categories: Press/Release Tags: ,