Archive

Posts Tagged ‘National Broadband’

รมว.ไอซีที ดึง 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมลงนามใช้โครงสร้างพื้นฐาน – โครงข่ายร่วมกัน

November 23rd, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยภายหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อความร่วมมือในการสนับสนุน นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ว่า หลังจากรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการพัฒนาบริการบรอดแบนด์ได้ อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสามารถกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้าน โทรคมนาคมของประเทศอย่างยั่งยืน

ดัง นั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนา บริการบรอดแบนด์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหลากหลาย มีความก้าวหน้าทันสมัย สอดคล้องกับบริบทและสภาพพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งตอบสนองความต้องการการใช้บริการของทุกภาคส่วน โดยที่รัฐมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการใช้บริการ บรอดแบนด์อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนได้ร่วมดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ความ สำเร็จ โดยมีองค์กรอิสระตามกฎหมายทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการให้มีการแข่ง ขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

“การ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันการให้บริการบรอดแบนด์บนพื้นฐานการแข่งขันเสรีและ เป็นธรรม โดยให้มีการเข้าถึงตลาดแบบเปิดและเปิดกว้างทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้น ถือเป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต่างตระหนักถึง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการลงทุนในโครงข่ายและการขยายการให้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั่วถึง มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม ดังนั้น กระทรวงไอซีที จึงได้ร่วมกับ 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมซึ่งมีความสามารถและความแข็งแกร่งในการให้บริการโทร คมนาคมแต่ละประเภทจัดทำบันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนซึ่งกันและกันดำเนิน กิจการเพื่อสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น” นายจุติ กล่าว

สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือครั้งนี้ ได้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น บจ.ทรู มูฟ และ บจ.ดิจิตอล โฟน โดยทุกฝ่ายจะประสานความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของแต่ ละฝ่ายให้มีความแข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้น ตลอดจนการแสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้มีบริการบรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เข้าถึงและครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งแพร่หลายไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างรวดเร็ว โดยทุกฝ่ายตกลงจะสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคมร่วม กัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย

“การ ลงนามในครั้งนี้จะทำให้ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันเพื่อแสวงหาและกำหนดรูปแบบที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและโครง ข่ายโทรคมนาคมที่จะนำมาใช้ร่วมกัน รวมถึงจะกำหนดแนวทางและวิธีการในการบริหารจัดการ การกำหนดค่าใช้โครงข่าย และหรือส่วนแบ่งค่าใช้โครงข่าย เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมทั่วประเทศให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ การลงนามเพื่อใช้งานร่วมกันในโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคมดังกล่าว จะเป็นเพียงกรอบความเข้าใจร่วมกันเท่านั้น ส่วนการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม ทางบริษัทจะไปเจรจาร่วมกันเพื่อทำความตกลงระหว่างกันอีกครั้ง

ส่วนการดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ แต่ละบริษัทจะส่งผู้แทนเข้าร่วมปฏิบัติงานในคณะทำงานร่วมสนับสนุน นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่มีผู้แทนของกระทรวงไอซีทีเป็นประธาน และคณะทำงานชุดนี้จะมีหน้าที่ประสานการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทร คมนาคมและโครงข่ายโทรคมนาคมที่จะนำมาใช้ร่วมกัน รวมถึงร่วมกำหนดแนวทางและวิธีการในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการให้กับภาคเอกชน และส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากอัตราค่าบริการที่ถูกลงด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1268

ซิสโก้ ซีสเต็มส์ หนุนบรอดแบนด์แห่งชาติ

October 13th, 2010 No comments

ชูยุทธศาสตร์ “Smart+Connected Communities” เป็นโซลูชั่นยกระดับคุณภาพชีวิต
มุ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตคนไทย ลดช่องว่าง เพิ่มโอกาสเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ผ่านเครือข่ายการสื่อสารและสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

กรุงเทพฯ 11 ตุลาคม 2553 – บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำแห่งเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารและสารสนเทศระดับโลกเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ “Smart+Connected Communities” ให้เกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทยเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมและทั่วถึงแก่คนไทยทั้งประเทศในการได้รับบริการที่ดีขึ้นทั้งในด้านสาธารณสุข การศึกษา บริการจากภาครัฐ และเกษตรกรรม ซึ่งยุทธศาสตร์นี้จะสอดคล้องกับแนวคิด “Smart Thailand” ตามแผนแม่บทไอซีที 2020 และขานรับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อให้อินเทอร์เน็ตเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทย

ทั้งนี้ อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการพลิกโฉมการสื่อสารและสารสนเทศที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตของคน ทำให้เกิดการพัฒนาในส่วนของ media network ที่ช่วยเอื้อให้เกิดการเชื่อมต่อและสื่อสารระหว่างคนและสังคม ไม่ว่าจะเป็นบรรดา Social Networking หรือ VDO Streaming ต่างๆ และในส่วนของธุรกิจเองก็มีแนวโน้มของการนำเอาเทคโนโลยีเช่น Cloud Computing หรือ VDO Collaboration มาใช้ประโยชน์ด้านการแบ่งปันและใช้งานข้อมูลร่วมกัน ตลอดจนบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวโน้มต่างๆ เหล่านี้ทำให้มองเห็นความเป็นไปได้ยิ่งขึ้นในการที่บริการสำคัญซึ่งเป็นรากฐานของเมืองและชุมชน อาทิ การศึกษา สาธารณสุข และบริการของรัฐ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ เหล่านี้

ดร. ธัชพล โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ด้วยประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารที่มีมาอย่างยาวนานของซิสโก้ เราเล็งเห็นว่า ในยุคของเครือข่ายชุมชนเมืองแห่งอนาคตนี้ บริการที่เป็นรากฐานของเมืองจะถูกนำมาเชื่อมโยงกับเครือข่ายสื่อสารและสารสนเทศที่มีเทคโนโลยีบรอดแบนด์รองรับจนกระทั่งเทคโนโลยีและบริการไม่อาจแยกจากกันได้ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งคือ ปัจจุบันระบบสารสนเทศและการสื่อสารของเครือข่ายชุมชนเมืองนั้นมีหลายมาตรฐานและหลายโปรโตคอล ดังนั้น ซิสโก้ ในฐานะผู้นำด้านระบบเครือข่ายการสื่อสารจึงมุ่งเน้นการใช้อุปกรณ์แบบมัลติโปรโตคอลที่จะทำให้การเชื่อมโยงเครือข่ายไม่มีปัญหาในความเข้ากันได้และสามารถทำงานร่วมกัน รวมทั้งยังมุ่งเน้นเรื่องของการใช้มาตรฐานเปิดด้วย ซิสโก้ จึงนำเสนอแนวคิด Smart+Connected Communities ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการประสานความร่วมมือในการทำงานสำหรับภาครัฐ เอกชนและประชาชนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้บริหารเมือง ประชาชน นักวางผังเมือง นักพัฒนาและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง”

Cisco Smart+Connected Community คือโซลูชั่นที่สมบูรณ์สำหรับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ให้บริการสาธารณะ ภาคธุรกิจหรือแม้แต่การใช้งานสำหรับประชาชนทั่วไป นี่คือโซลูชั่นที่จะตอบโจทย์ในเรื่องการสร้างความเท่าเทียมให้กับประชาชนทั่วประเทศผ่านการใช้งานเทคโนโลยียุคบรอดแบนด์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอ Cisco Service Delivery Platform ที่จะแบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วนคือ Community+Connect จะช่วยทำให้บริการที่จะมีสำหรับชุมชนและธุรกิจมีความสมบูรณ์และครอบคลุม และ Community+Exchange คือระบบแบ็กออฟฟิศอันชาญฉลาดที่จะช่วยในการบริหารและปฏิบัติงานของเครือข่ายชุมชนเมืองยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง

ตัวอย่างโซลูชั่นสำคัญๆ ภายใต้ Cisco Smart+Connected Community มีอาทิ

• Cisco Smart+Connected Hospital – โซลูชั่นสำหรับบริการสุขภาพที่ดีกว่าเดิม การสื่อสารและบริหารข้อมูลทางการแพทย์เป็นบริการที่ต้องการคุณภาพที่สูงยิ่งทั้งของเครือข่ายและระบบ Cisco Medical Grade Network ตอบโจทย์ในเรื่องคุณภาพของเครือข่ายที่เชื่อถือได้เป็นพิเศษ และเป็นโซลูชั่นที่ทำให้การบริหารประวัติคนไข้และภาพถ่ายทางการแพทย์สามารถทำได้อย่างง่ายดายและที่สำคัญคือเชื่อถือได้เรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้การพบแพทย์จากที่บ้าน ก็สามารถทำได้ด้วยเทคโนโลยีนี้เพื่อประสานการสื่อสาร (Collaboration) ที่จะให้การพบแพทย์ระยะไกลทำได้อย่างมีคุณภาพ สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย
• Cisco Smart+Connected Learning – โซลูชั่นสำหรับการศึกษาและชีวิตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยโลกของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ วันทำให้การศึกษาในยุคปัจจุบันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โซลูชั่นนี้ได้ทำให้การศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโลกกว้างของข้อมูลข่าวสารให้กับผู้เรียนผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ การโต้ตอบและประสานงานกับผู้เรียนด้วยการสื่อสารผ่านวิดีโอที่สมบูรณ์แบบบนสภาพแวดล้อมในการเรียนที่จำเป็นต่อโลกการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมแบบวันต่อวันจะเป็นจริงได้ด้วย Cisco Smart+Connected Community
• Cisco Smart+Connected Government – โซลูชั่นสำหรับบริการภาครัฐแห่งยุคศตวรรษที่ 21 การมีบริการภาครัฐที่เข้าถึงได้ในทุกที่และมีความปลอดภัยในข้อมูลของประชาชนอยู่เสมอ คือหัวใจของบริการภาครัฐในเมืองที่มีเทคโนโลยีบรอดแบนด์รองรับ มีเครือข่าย และระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์

“โซลูชั่น Smart+Connected Communities จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตไปสู่ความเท่าเทียมกัน และช่วยลดช่องว่างของประชาชนไทยในการได้รับบริการรากฐานดังกล่าวข้างต้นอย่างทั่วถึง ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญคือพื้นที่ ที่รับบริการจะต้องมีนโยบายภาครัฐ แบนด์วิธ และเทคโนโลยีบรอดแบนด์ที่เหมาะสม เพื่อทำให้การใช้งานโซลูชั่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์ ซึ่งนอกเหนือจากความเท่าเทียมและทั่วถึงที่ประชากรจะได้รับแล้ว ยังจะช่วยส่งผลให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของเมืองอีกด้วย” ดร. ธัชพล กล่าวเสริม

นายอดิศร์ หะริณสุต ผู้อำนวยการโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า การที่จะเกิดโซลูชั่นต่างๆ เหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีระบบเครือข่ายการสื่อสารและสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพด้วยการลงทุนที่มีความเป็นไปได้ โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นทางออกที่จะช่วยกำหนดโครงสร้างตลาดที่ปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนในด้านการลงทุน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของผู้ประกอบการที่มีบทบาทแตกต่างกันในด้านการให้บริการโครงข่ายการสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่โปร่งใส เท่าเทียมและเป็นธรรม และสุดท้ายคือการทำให้การบริการอินเทอร์เน็ตกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง เท่าเทียม ในราคาที่เป็นธรรม

ปัจจุบัน ซิสโก้ ได้ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ในฐานะฝ่ายวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญในโครงข่ายบรอดแบนด์ โดยซิสโก้ได้ให้การสนับสนุนในข้อมูลเชิงวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ และนำกรณีศึกษาจากหลายๆ ประเทศมาเป็นแบบอย่างความสำเร็จ

นอกจากนี้ ซิสโก้ ซีสเต็มส์ ยังมีระบบการสื่อสารผ่านวิดีโอคุณภาพสูงแบบเรียลไทม์ หรือการประชุมทางไกล (TelePresence) ที่สามารถนำไปใช้กับโซลูชั่นด้านสาธารณสุข การศึกษา และบริการภาครัฐ ดังที่กล่าวไปข้างต้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้มีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกันได้ดีอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน Cisco TelePresence ช่วยให้บุคคลได้พบกัน แบ่งปันข้อมูล สร้างการบันทึกวิดีโอคุณภาพสูงและกิจกรรม การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และให้บริการตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ใช้พลังการขับเคลื่อนของระบบเครือข่ายที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติจะทำให้สามารถนำ TelePresence ไปใช้ประโยชน์ได้ อีกมาก และสามารถช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เวลาและการเดินทาง เป็นต้น

View :1595

ก.ไอซีที เดินหน้าร่างนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรี

September 4th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า หลังจากที่กระทรวงไอซีทีและสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อร่วมกันจัดทำร่างนโยบาย บรอดแบนด์แห่งชาตินำเสนอแก่คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่ง ชาติ (กทสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้พิจารณากำหนดเป็นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติไปเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้แผนการพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศเป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ และสามารถรองรับความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม กระทรวงฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการ

นอก จากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการดังกล่าวขึ้นอีก 4 คณะ คือ คณะอนุกรรมการด้านการจัดทำนโยบายและการกำกับดูแลคณะอนุกรรมการด้านความต้อง การบรอดแบนด์ของผู้บริโภค คณะอนุกรรมการด้านผู้ให้บริการโครงข่ายและบริการ และคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการเสนอแผนงานในการจัดทำนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่สำคัญและจำเป็น ต่อการพัฒนาประเทศ

สำหรับ คณะอนุกรรมการทั้ง 4คณะจะมีอำนาจหน้าที่ต่างๆ กัน โดยคณะอนุกรรมการด้านการจัดทำนโยบายและการกำกับดูแล จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาบรอดแบนด์ของไทยในปัจจุบัน ทั้งปัจจัยการขับเคลื่อน ปัญหาอุปสรรค ต่างๆ รวมถึงศึกษา วิเคราะห์แนวทางการพัฒนานโยบายและการกำกับดูแลในประเทศต่างๆ เพื่อนำมาจัดทำเป็นนโยบายและ แนวทางการพัฒนาบรอดแบนด์ของไทย ส่วนคณะอนุกรรมการด้านความต้องการบรอดแบนด์ของผู้บริโภค จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ ประโยชน์จากบรอดแบนด์ เพื่อกำหนดประเภท รูปแบบการใช้งานที่มีความสำคัญและก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งจัดทำแนวทางกระตุ้นการใช้งานบรอดแบนด์ของประเทศ โดยกำหนดเป็นโครงการนำร่องเพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้งานบรอดแบนด์ของภาครัฐ อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะ เดียวกันคณะอนุกรรมการด้านผู้ให้บริการโครงข่ายและบริการ จะทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์สถานภาพการลงทุน อุปกรณ์โครงข่าย และโครงสร้างพื้นฐานทางด้านบรอดแบนด์ของประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว และจัดทำแบบจำลองการลงทุน พร้อมข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศด้านบรอดแบนด์ของ ประเทศไทย สำหรับคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จะทำหน้าที่วางแผนประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจตระหนักถึง ประโยชน์ของบรอดแบนด์ รวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของบรอดแบนด์ และนโยบายรวมถึงแนวทางการพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศไทย

“การ สนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่าง ทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรมผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์นั้น เป็นนโยบายที่กระทรวงไอซีที จะพยายามเร่งส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จึงได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในทุกภาคส่วนให้เข้าร่วมดำเนินงานในคณะกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการ ทั้ง 4คณะ เนื่องจากกระทรวงฯ เล็งเห็นว่าการพัฒนาบรอดแบนด์นั้นถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทร คมนาคมของประเทศ ที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจ การค้า และอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของภาครัฐต่อประชาชนได้อย่างมี ศักยภาพ” นายจุติ กล่าว

View :1386