Archive

Posts Tagged ‘Nectec’

ท่องเที่ยวให้เพลินใจด้วย Social Network พูดได้

April 12th, 2011 No comments

คุณ เคยเจอปัญหานี้บ้างหรือไม่ เดินทางต่างจังหวัด รถติด เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้ แต่ต้องการ Post ข้อ บน Facebook หรือ Twitter ปัญหา นี้ POSTVOICE ช่วยคุณได้

ส ำหรับผู้ใช้ในกลุ่ม Social Network ประเภท Facebook และ Twitter การ รับฟังข้อความที่เข้ามาแทนการอ่านข้อความ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามข้อมูลในบางสถานการณ์อ่านได้ไม่ สะดวกนัก นอกจากนี้ในการ Post ข้อ ความด้วยการพิมพ์ในหลายสถานการณ์ก็ทำได้ยาก เช่น ในระหว่างขับรถ ระบบประยุกต์ใหม่ล่าสุดที่เนคเทคได้ทดสอบพัฒนาขึ้นชื่อว่า POSTVOICE เป็น บริการ Post เสียง พูดบน Facebook หรือ Twitter ของ ผู้ใช้ ซึ่งวิธีการ Post เสียง ทำได้ 2 แบบ คือ

ก . พิมพ์ ข้อความบน Website ของ POSTVOICE และ ระบบจะแปลงข้อความเป็นเสียงพูดด้วย วาจา เวอร์ชั่น 6.0 นำ Link ของ ไฟล์เสียงที่ได้ไป Post บน Facebook หรือ Twitter อัตโนมัติ

ข . โทร เข้ามาที่หมายเลข 02-5249222 และพูดข้อความที่ต้องการ Post ระบบ จะนำไฟล์เสียงที่บันทึกได้ไป Post บน Facebook หรือ Twitter ของ ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ การ Post ข้อ ความเสียงผ่าน IVR ใน รูปแบบที่สองนี้ สามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผู้ใช้อาจไม่สามารถ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ยังสามารถใช้เครือข่ายโทรศัพท์ได้ ระบบ POSTVOICE เปิด ให้ทดสอบใช้งานเป็นบริการสาธารณะ

เข้าไปใช้งานได้ที่ http://postvoice.vis.in.th/ คู่มือการใช้งาน http://postvoice.vis.in.th/fb/help.php

View :1486

ซิป้า จับมือ เนคเทค เอทีเอสไอ อบรมหลักสูตร CompTIA ผลิตคนไอทีมาตรฐานสากล

November 24th, 2010 No comments

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเลิกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) และThe Computing Technology Industry Association () จัดโครงการฝึกอบรมอาจารย์ในหลักสูตรสร้างความพร้อมสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภายใต้มาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมให้มีการนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่กับนักศึกษาให้มีความรู้ไอทีในระดับระดับมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ โดยการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2553 ณ อาคารวิทยบริการ ชั้น 4 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี จ.นนทบุรี
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ปัจจัย สำคัญประการหนึ่งคือความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆเพื่อร่วมกันผลักดันในเกิด การนำหลักสูตรมาตรฐานสากลที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติมาใช้ในภาคการ ศึกษา ซิป้า, เนคเทคและเอทีเอสไอจึงได้ร่วมกันสร้างโอกาสในอบรมหลักสูตรมาตรฐานอย่างแท้จริง ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และวิทยากรจาก The Computing Technology Industry Association (CompTIA) ทั้งนี้ได้มีการอบรมทั้งสิ้น 7 วัน จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร CompTIA A + และหลักสูตร CompTIA A + Essentials หลังจากนั้นอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมจะได้รับโอกาสสอบแบบออนไลน์เพื่อให้ได้รับการรับรองจากหลักสูตร
หลักสูตรในการอบรมครั้งนี้เป็นสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของประเทศให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น หลักสูตรแรกคือ CompTIA A + เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับช่างเทคนิคสนับสนุนคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศรับรองผู้ขายที่เป็นกลาง ประกอบด้วยการพิสูจน์ความสามารถในด้านต่างๆเช่น การติดตั้ง บำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบเครือข่ายการรักษาความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ช่างเทคนิคที่ผ่านการรับรองจะต้องมีการบริการลูกค้าที่ดีและทักษะทางการสื่อสารในการทำงานกับลูกค้าหรือผู้รับบริการ
หลักสูตรที่สองคือ CompTIA A + Essentials เป็นความรู้ความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรระดับมืออาชีพด้านไอที ที่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ในห้องปฏิบัติการจริง ไม่น้อยกว่า 500 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อความเข้าใจทางเทคนิคของคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยตลอดจนทักษะในการสื่อสารและความเป็นมืออาชีพที่จำเป็น
คณะอาจารย์ที่ผ่านการอบรมต้องเข้ารับการทดสอบ โดยเป็นการทำข้อสอบแบบออนไลน์ ผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองมาตรฐานหลักสูตรทั้ง 2 ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการนำไปสอนนักศึกษาของสถานบันของตนเองเองต่อไป

View :1432
Categories: Press/Release Tags: , , ,

เทคโนโลยีไอซีทีกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการ

September 19th, 2010 No comments

คาดการณ์กันว่าในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าจะเกิดการปฏิรูปการทำธุรกิจ (Business Transformation) จากธุรกิจบนฐานของ “สินค้า” (Product) ไปสู่ธุรกิจบนฐานของ “บริการ” (Service) ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้รูปแบบการธุรกิจเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่การปฏิรูปธุรกิจในครั้งนี้จะนำไปสู่การเคลื่อนตัวของระบบเศรษฐกิจจาก ระบบเศรษฐกิจฐานการผลิต ไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy) การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้นำมาทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อระบบธุรกิจอุตสาหกรรมในทุกสาขา ซึ่งธุรกิจที่ตระหนักและพjavascript:void(0)ร้อมเท่านั้นที่จะสามารถมองเห็นแนวโน้มนี้และหยิบคว้ามาเป็นโอกาสทางธุรกิจความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการของประเทศ

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ได้แถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทคประจำปี 2553 ในหัวข้อ “บทบาทการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23-24 กันยายน 2553 ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (TSPCC) จ. ปทุมธานี โดยในงานจะมีหัวข้อการสัมมนาที่น่าสนใจ อาทิ การปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางการวิจัยพัฒนาด้าน ICT เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการ โดย ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , การบรรยายพิเศษเรื่อง แข่งอย่างไรในเศรษฐกิจฐานบริการ โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการ Sasin Institute for Global Affairs: SIGA สถาบันศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , การบรรยายพิเศษเรื่อง การเตรียมความพร้อม และการสร้างขีดความสามารถ ด้าน ICT เพื่อรองรับเศรษฐกิจฐานบริการ โดย ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการนโยบายไอซีทีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการผลงานวิจัยพัฒนาของเนคเทคทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานบริการ ซึ่งนำเสนอผลงานวิจัยภายใต้แนวคิด ถนนวิจัย แยกไปสู่ การใช้ประโยชน์ โดยจะคัดเลือกผลงานที่สอดคล้องกับ Theme ของงานเป็นหลัก โดยนำเสนอผลงานวิจัยที่กำลังเป็นที่สนใจและสอดคลองกับปัญหาในปัจจุบัน อาทิ ผลงานทางด้านการแพทย์ การเกษตรและสิ่งแวดล้อม ระบบสารสนเทศ ระบบมาตรฐาน การออกแบบทางวิศวกรรม เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีเครือข่ายและการป้องกันภัยทางด้านไอที เป็นต้น โดยผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www..or.th/ace2010

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ยังได้แถลงสรุปผลงานวิจัยพัฒนาของเนคเทคประจำปีงบประมาณ 2553 โดยในปีนี้ผลงานวิจัยพัฒนาของเนคเทค ได้เสริมสร้างขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาประเทศ และดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลอย่างได้ผล โดยได้สรุปผลงานตามพันธกิจที่สำคัญ คือ

พันธกิจด้านการวิจัยพัฒนา ซึ่งในปีนี้ทีมนักวิจัยพัฒนาของเนคเทค มีผลงานการวิจัยที่ยังอยู่ในขั้นห้องปฎิบัติการและได้รับความสนใจจากพันธมิตรงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลากหลายผลงาน อาทิ โครงการวิจัยกล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะ (MEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy) เป็นงานวิจัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยวารสารวิชาการนานาชาติด้านวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมควอนตัมอิเล็กทรอนิกส์ ( Selected Topics in Quantum Electronics ) เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปี 2553 ได้เลือกบทความวิชาการ เรื่อง กล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะ MEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy ให้ตีพิมพ์บนหน้าปกของเล่ม งานวิจัยพัฒนาชิ้นนี้โดยได้รับทุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากสภาวิจัยแห่งชาติ และเนคเทค/สวทช. พร้อมมีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สาย WiMAX , ระบบการสื่อสารระหว่าง ยานพาหนะ Car Talk , โครงการพัฒนาดนตรีสามมิติ

พันธกิจด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งทีมนักวิจัยจากเนคเทค ดำเนินการตามพันธกิจนี้ได้ในปริมาณและคุณภาพที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทสได้เป็นอย่างดี อาทิ โครงการจัดทำฤาษีดัดตนฉบับดิจิทัล , เครื่องตรวจจับเท็จแบบไม่สัมผัส , ระบบวางแผนท่องเที่ยวด้วยสมาร์ทโฟนและเว็บไซต์ www.pi-pe.org , อุปกรณ์แจ้งเตือนกรณีเครื่องยนต์มีความร้อนผิดปกติ , ระบบสื่อสารและจัดเก็บข้อมูลชุดตรวจวัดแรงดันน้ำของเขื่อน , Traffy แอพพลิเคชั่นรายงานสภาพจราจรทั่วกรุงเทพฯ บน Smart Phone , สร้างเสียงจากข้อความด้วย วาจา,

พันธกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนคเทคมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะเยาวชนของชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อิเล็กทรอนิกสืและคอมพิวเตอร์ในหลากกิจกรรม อาทิ การจัดการแข่งขันThailand ICT Contest Festival 2010 ซึ่งในปีนี้ เยาวชนไทยได้คว้ารางวัลรางวัล Grand Awards ประเภททีม และเดียว จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF 2010) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซานโฮเซ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 8-14 พฤษภาคม 2553 โดยมีนักเรียนมากกว่า 1,600 คน จาก 50 กว่าประเทศเข้าร่วมในการแข่งขัน

พันธกิจด้านการวิจัยนโยบายและโครงส้รางพื้นฐาน ทีมนักวิจัยเนคเทคได้ดำเนินการวิจัยมาอย่างต่อเนี่อง เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมด้านไอซีที อาทิ การสำรวจตลอดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร , การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และในปีนี้เนคเทคยังได้ร่วมดำเนินโครงการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 (National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT 2020) ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

View :1562

มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สครั้งที่ 10

September 15th, 2010 No comments

“ปลดพันธนาการความคิดสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร”

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 15 กันยายน 2553 : มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สครั้งที่ 10 “ปลดพันธนาการความคิดสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร” ปีที่ 10 ของมหกรรมการรวมตัวนักพัฒนาและผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ส่งผลให้องค์กรชั้นนำและธุรกิจ SME ในประเทศไทยหันมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางธุรกิจและพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้การกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้ความสำคัญกับ การผลักดันการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งถือเป็นซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับนโยบายของแผนแม่บทไอซีที และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10เพราะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ที่สามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมการผลิตซอฟต์แวร์ การให้บริการ เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ควรส่งเสริมสำหรับการใช้งานของ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายมากถึง 50 % ของมูลค่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ทั่วไป

งานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ครั้งที่ 10 ในชื่อ “ปลดพันธนาการทางความคิดสู่ความสำเร็จขององค์กรที่ยั่งยืน” ที่จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2553 ณ ห้องคอนเวนชันฮออล์ 1-6 อาคารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี มีกิจกรรมและหัวข้อการบรรยายถึงยุทธศาสตร์ นโยบายและการติดตามผล รวมถึง กรณีศึกษา ในด้านการใช้งานในองค์กร โดยเฉพาะความสำเร็จการใช้งานใน รัฐวิสาหกิจ และเอกชนอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของประเทศและชาวไทยที่จะได้รู้จัก ได้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ที่คนไทยเป็นทั้งผู้ผลิต และผู้พัฒนา และให้บริการ ทำให้ลดต้นทุนในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แล้ว รวมทั้งยังทำให้เกิดการส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักและเรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์อิสระ ควบคู่ไปกับการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ด้วยอีกแขนงหนึ่ง

การจัดงานมหกรรมโอเพนซอร์สในครั้งนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกที่กลุ่มผู้ใช้ระดับองค์กรในประเทศไทยมีการตอบรับการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างสูง ซึ่งจะเห็นได้จาก การได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานชั้นนำจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส รวมถึงได้ให้เกียรติและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยี ปัญญาภิวัฒน์ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชมรมเทคสารสนเทศรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยหัวข้อและเนื้อหาของการสัมมนาจะอัดแน่นไปด้วยข้อมูลที่คัดสรรมาสำหรับความต้องการขององค์กรในลักษณะต่าง ๆ และ พลาดไม่ได้กับกรณีศึกษาขององค์กรที่ไม่เคยเปิดตัวมาก่อน เหมาะสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่สามารถเรียนรู้และปรับใช้ในอนาคต นอกจากนี้ยังควบคู่ไปกับกิจกรรมของนักพัฒนาโอเพนซอร์สแนวหน้าของเมืองไทยที่มารวมตัวกันทำกิจกรรม ระดมสมอง และ วางแผนการพัฒนาโอเพนซอร์สในอนาคต

View :1512
Categories: Press/Release Tags: ,

บทความวิชาการจากนักวิจัยเนคเทคได้รับเกียรติขึ้นปกวารสารวิชาการระดับโลก

September 9th, 2010 No comments

วารสารวิชาการนานาชาติด้านวิศวรรกรรม สาขาวิศวรกรรมควอนตัมอิเล็กทรอนิกส์ ( Selected Topics in Quantum Electronics ) ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปี 2553 ได้เลือกบทความวิชาการของนักวิจัยไทยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เรื่อง กล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะMEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy ให้ตีพิมพ์บนหน้าปกของเล่ม

กล้องช่วยวินิจฉัยและตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นอัฉริยะ [MEMs-Based Dual Axes Confocal Microendoscopy] เป็นผลงานวิจัยพัฒนานวัตกรรม “ระบบเก็บภาพด้วยเอนโดสโคป” ซึ่งจะสามารถตรวจจับ ค้นหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีโอกาสหายขาดได้ นวัตกรรมนี้จะช่วยค้นหาโรคมะเร็งทางพื้นผิวชั้นบน ซึ่งจะพบมากในผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด (85% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย) วิจัยพัฒนาโดย ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล้กทรอนิกส์และคอมพิวเตรอ์แห่งชาติ() สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี โดยได้รับทุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากสภาวิจัยแห่งชาติ และเนคเทค/สวทช. พร้อมมีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคาดว่าจะมีผลงานวิจัยต้นแบบในต้นปี 2554 นี้

ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา ปัจจุบันเป็นนักวิจัยประจำศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีผลงานเด่น อาทิ การได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกระดับสูง (Senior Member) จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (Institute of Electrical and Electronics Engineers : IEEE) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพสากลทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงซอฟต์แวร์ เมื่อต้นปี 2553 และมีผลงานการเขียนบทความทางวิชาการติดอันดับ 1 ใน 10 ของ สวทช. ตามดัชนีย์ชีวัดh-index คือ ดัชนีชี้วัดถึงคุณภาพของผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชุดใหม่ ที่มีการนำเสนอในราวปี 2548 และมีกระแสตอบรับในทิศทางยอมรับของชุมชนวิจัยระดับนานาชาติในทางบวก เป็นดัชนีที่ได้จากการวัดของจำนวนผลงานตีพิมพ์ และจำนวนที่ได้รับการได้รับการอ้างอิง โดยวัดจาก 2 ค่า พร้อม ๆ ถือว่าเป็นการวัดถึงผลผลิตงานวิจัยวิทยาศาสตร์ (Scientific Productivity) ร่วมกับค่าผลกระทบ (Impact factor)

รายละเอียดของการวัดค่า h-inde

View :1560
Categories: Press/Release Tags: ,

ค่ายพิราบดิจิทัล ครั้งที่ 8

September 6th, 2010 No comments

พิธีปิดค่ายพิราบดิจิทัล ครั้งที่ 8 จัด โดย ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(/สวทช.) ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี (วันที่ 20-22 สิงหาคม 2553 )

ชมรมนักข่าวสายไอที ) จัด ฝีกอบรมนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาย ใต้ชื่อ โครงการ “พิราบดิจิทัล” โดยได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาลและ เอกชนทั่วประเทศในการส่งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเต็มจำนวนที่ กำหนดไว้ทุกปี แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดการศึกษาในการพัฒนาเยาวชน ให้มีความสามารถเฉพาะด้านมากขึ้น และนับเป็นความสำเร็จของชมรมฯ ในการผลักดันการผลิตนักข่าวสายไอทีรุ่นใหม่ได้มากขึ้น

View :1705

"เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอม" ฝีมือคนไทย โดยเนคเทค

August 10th, 2010 No comments

ปัญหาบัตรเครดิตปลอมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ โดยใช้วิธีการหลากหลายในการขโมยข้อมูลต่างๆ เช่น การแจ้งบัตรหายหรือบัตรถูกขโมย แล้วกลับนำบัตรไปใช้ในการทุจริต หรืออาจมีการปลอมแปลงเอกสารการสมัครเป็นชื่อบุคคลอื่นแล้วนำบัตรดังกล่าวไปใช้ ที่พบเจอมากที่สุดก็คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยคัดลอกข้อมูลในบัตรและปลอมบัตรใหม่ไปใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือได้ว่ามีความผิดเป็นอาชญากรข้ามชาติเลยทีเดียว เนื่องจากผู้กระทำผิดในธุรกิจประเภทนี้มีทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติที่ เข้ามากระทำการในประเทศไทย โดยบุคคลทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีขั้นตอนการทำงานและวางแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษได้เคยจับกุมชาวต่างชาติกรณีใช้บัตรเครดิตปลอม โดยใช้วิธีขโมยข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์ (wire tapping) ของบุคคลอื่น เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะใช้เครื่องแปลงข้อมูลลงในบัตรใหม่ โดยมีการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมหรือหนังสือเดินทางปลอมใช้ควบคู่กับ บัตรเครดิตที่ปลอมขึ้นและนำไปใช้ในทางทุจริต มีข้อมูลตัวเลขความเสียจากการปลอมแปลงบัตรเครดิตในประเทศอังกฤษ จากองค์กรชื่อ APAC ซึ่งเป็นองค์กรทางด้านธุรกรรมทางการเงินได้สรุปรายงานล่าสุดออกมาเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากบัตรปลอมที่ทำขึ้นเลียนแบบบัตรจริงที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศอังกฤษ ตัวเลขในรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงมูลค่าความเสียหายในปี พ.ศ. 2552ที่เกิดขึ้นภายในประเทศอังกฤษมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2551 19% หรือคิดเป็น36.9 ล้านปอนด์ ในขณะที่มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 17% หรือคิดเป็น 132.9 ล้านปอนด์ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก www.cardwatch.org.uk )จากปัญหาดังกล่าวเนคเทคจึงได้วิจัยพัฒนา “เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม” ขึ้น

“เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม” เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งจากผลงานวิจัยของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นำโดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร และ นายยุทธนา อินทรวันณี ที่ได้ผสมผสานความรู้ทางด้านแสง อิเล็กทรอนิกส์ และ ซอฟท์แวร์ เข้าด้วยกัน ทั้งยังได้จดสิทธิบัตรคุ้มครอง และ มีผลการทดสอบที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการระดับสากลในวารสารวิชาการ Applied Optics เดือน ธันวาคม 2552 และ กุมภาพันธ์ 2553
เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอมที่ทางหน่วยฯ ได้พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบตัวบัตรเครดิตได้ว่าเป็นบัตรเครดิตจริงหรือปลอม โดยไม่ต้องตรวจสอบข้อมูลที่เก็บอยู่ในภายแถบแม่เหล็กหรือชิป ทำให้ปราศจากข้อกังวลในเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องตรวจบัตรเครดิตรุ่นนี้ได้ผ่านการทดสอบในงานแสดงสินค้า ComMart โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (KTC) มาแล้ว ปัจจุบันหน่วยงานตรวจสอบบัตรเครดิตของบริษัท บัตรกรุงไทย (มหาชน) จำกัด และของธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีเครื่องรุ่นนี้ไว้ใช้แล้ว นอกจากนี้ทางหน่วยฯ ยังได้ขายสิทธิ์การผลิตให้แก่บริษัท นิวเวฟไอเดียส์ จำกัด เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป อนึ่งสำหรับบัตรเครดิตปลอมที่ตรวจสอบได้หมายถึงบัตรเครดิตที่ตัวบัตรเป็นของปลอม ไม่ใช่บัตรเครดิตจริงที่ถูกขโมยมา

คุณสมบัติเบื้องต้น:
ชนิดของบัตรเครดิต VISA, MasterCard
ความถูกต้อง 100%
เวลาที่ใช้ในการตรวจ < 0.5 วินาที
ขนาด (กxยxส) 9x17x10 ซม.3
แรงดันไฟฟ้าที่ต้องการ 9-15 VDC, 1000 mA
ลักษณะเด่น: ขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน

การใช้งาน: เพียง เปิดเครื่องฯ จากนั้นเสียบบัตรเครดิตที่ต้องการตรวจสอบเข้าช่องเสียบบัตร แล้วสังเกตหน้าจอแสดงผล หลังจากที่ระบบประมวลผลเสร็จ ตัวอักษรสีเขียวจะปรากฏบนหน้าจอสำหรับกรณีบัตรเครดิตที่ตัวบัตรเป็นของจริง แต่จะปรากฏเพียงแถบสีเขียวหรือหน้าจอว่างกรณีที่ตัวบัตรเป็นของปลอม

ทำไมต้องตรวจสอบบัตรเครดิตด้วยเครื่องตรวจบัตรเครดิต? จริงๆ แล้วบัตรเครดิตทั้งของ VISA และ MasterCard มีเอกลักษณ์ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าสำหรับใช้จำแนกบัตรเครดิตจริงออกจากบัตรเครดิตปลอมอยู่ 5 ตำแหน่ง ดังนี้
• ชื่อผู้ถือบัตร และ ตัวเลข 16 หลัก ซึ่งบ่งบอกชนิดของบัตร และ หน่วยงานที่เป็นผู้ออกบัตรให้
• สัญลักษณ์ของบัตรเครดิต เช่น VISA และ MasterCard ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง
• บริเวณเก็บข้อมูล เช่น แถบแม่เหล็ก และ ชิป รวมไปถึงตัวเลข 3 หลัก ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต
• ฮอโลแกรม หรือ รูปที่พิมพ์อยู่บนแถบโลหะ ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีหรือรูปร่างไปมาได้เมื่อมุมของการสังเกตหรือมุมของแสง เปลี่ยนไป สำหรับบัตร VISA จะเป็นรูปนก ส่วนบัตร MasterCard จะเป็นรูปลูกโลก
• ภาพเรืองแสงบนตัวบัตรเมื่อมีแสงแบล๊คไลท์ส่่องไปยังตัวบัตร

เอกลักษณ์ภายนอกที่ได้จากบัตรเครดิตจริง

เอกลักษณ์ภายนอกที่ได้จากบัตรเครดิตปลอม
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลให้เอกลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่บนตัวบัตรเครดิตปลอมเช่นกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดในระดับไมโครเมตรหรือนาโนเมตรที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกินความสามารถของตามนุษย์ที่จะแยกแยะความแตกต่างนี้ได้ เนื่องจากแสงมีความถี่สูง หรือ ความยาวคลื่นต่ำ ในระดับนาโนเมตร เครื่องตรวจบัตรเครดิตที่ใช้การผสมผสานความรู้สามแขนงเข้าด้วยกันตามที่ได้อธิบายข้างต้น จึงสามารถแยกแยะความแตกต่างเบื้องต้นและแสดงให้เห็นได้ว่าตัวบัตรเครดิตที่ กำลังตรวจสอบนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม

View :1716

ทีมนักศึกษาไทยคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับผู้พิการในระดับนานาชาติ

August 3rd, 2010 No comments

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเสริมสร้างคุณภาพและศักยภาพของเด็กไทยที่อยู่ห่างไกลในชนบท ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งเด็กเจ็บป่วย ผู้พิการให้ได้มีโอกาสใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อผู้พิการอย่างต่อเนื่อง ทรงเห็นถึงความจำเป็นของคนพิการที่จะต้องใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกพิการ (International Convention on Rehabilitation Engineering & Assistive Technology :iCREATe) ซึ่งจัดโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ() สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ START center (Singapore Therapeutic, Assistive & Rehabilitative Technology Centre) ประเทศสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปีนี้เป็นครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล และคณะผู้บริหารจาก สวทช. เฝ้ารอรับเสร็จฯ

สำหรับปี 2553 เนคเทคร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรอีก 3 แห่ง คือ Singapore Therapeutic, Assistive & Rehabilitative Technology (Start) Centre, Shanghai Jiao Tong University, and University Of Shanghai For Science And Technology ได้จัดงาน icreate 2010 ขึ้น ณ ศูนย์การประชุม Shanghai everbright นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 21-24 กรกฎาคม 2553 โดยมีหัวข้อการประชุมเป็นเรื่อง “การเดินทาง การจ้างงาน การศึกษา นันทนาการ และกีฬาสำหรับคนพิการ” ทั้งนี้มีกิจกรรมหลักของงานประชุมวิชาการ 3 กิจกรรมคือ

• การประชุมวิชาการ/การนำเสนอผลงาน (Seminars & Workshops) โดยมุ่งเน้นให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรทางด้านวิชาการ ด้านการผลิต การจำหน่าย รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ อันได้แก่ นักวิจัย นักวิชาการ นักกายภาพบำบัด ผู้จำหน่าย ผู้ดูแลคนพิการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้พิการ โดยจะมีกิจกรรมทั้งในส่วนของการนำเสนอบทความทางวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการแสดงปาฐากถา ในปี 2553 มีวิทยากรหลัก 4 ท่าน การนำเสนอผลงานจำนวน 71 เรื่อง และการอบรมเชิงปฏิบัติการ 12 เรื่อง
• การประกวดโครงงานนักศึกษา (Student Design Challenge: SDC) ได้มุ่งเน้นให้เป็นเวทีของการสร้างโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการนำเสนอแนวคิดในการแก้ไขปัญหา และสร้างผลงานที่เป็นสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการ โดยเวทีแห่งกิจกรรมนี้ จะทำให้ผู้เข้าประกวดมีโอกาสได้นำเสนอผลงานต่อภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรจากหลากหลายวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมต่อให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องต่อไป ในปีนี้มีนักศึกษาส่งโครงการเข้าร่วมประกวด 35 โครงงาน จาก 4 ประเทศคือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศ ผลงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
• การจัดนิทรรศการ (Exhibition) เพื่อการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ สินค้าและบริการจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันและหน่วยงานต่างๆ ในปีนี้มีหน่วยงานร่วมจัด 6 หน่วยงาน

เนคเทคได้ทำการคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทย เพื่อไปร่วมแข่งขันการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับผู้พิการในระดับจำนวน 5 ทีมได้แก่
1. โครงการ The Design and Development of the Power added-on for Manual Wheelchair โดย นายบดินทร์ บูระวัตรเดชา นายสิทธิชัย ประสิทธิ์ผล นายวัศพล พงษ์สุวรรณ มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ : ดร บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. โครงการ 9 ช่องมหัศจรรย์ (Incredible 9 Squares) โดย นางสาวชยพร ศุภวิไล นายณัฐพงศ์ สุระเสถียร มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.ชาคริต วัชโรภาส จากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
3. โครงการโปรแกรมแปลภาษาไทยเป็นภาษามือสามมิติ โดย นายณัฐดนัย หอมคง นายนัทธ์นที มณีรัตน์ มี อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.นราธิป เที่ยงแท้ จาก ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. โครงการเครื่องเปิดหนังสืออัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางแขน (An Automatic Page Flipping System for Disabled Readers) โดย นายบาศ ทรงศิลป์ นายประกายเพชร ศุภกาญจนกันติ นายเมธิชัย โอบอ้อม มีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ จาก ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. โครงการ Ptalk โปรแกรมอ่านภาษาไทยบนมือถือสำหรับคนตาบอด โดย นายปรีชากร ต่อเรืองวัฒนา นายปณิธาน บัลลังก์ปัทมา นางสาวธิติมา นุชพิทักษ์ มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.ชลวิช นัทธี จากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับผู้พิการ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 53 ตัวแทนประเทศไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับรางวัลอื่นๆ อีก รวม 3 รางวัล ซึ่งมีผลการการแข่งขัน ดังนี้

“โปรแกรมแปลภาษาไทยเป็นภาษามือสามมิติ” ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 1400 เหรียญสหรัฐ โปรแกรมดังกล่าวพัฒนาโดย นายณัฐดนัย หอมคง และนายนัทธ์นที มณีรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.นราธิป เที่ยงแท้ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาต่อยอดจาก “พจนานุกรมไทย-ภาษามือ 3 มิติ” ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 6 (NSC 2004) และได้รับทุนวิจัยและพัฒนาจากโปรแกรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ พิการ (B7-2) ของเนคเทค/สวทช.

รางวัล Best prototype คือ เครื่องเปิดหนังสืออัตโนมัติสำหรับผู้พิการทางแขน (An Automatic Page Flipping System for Disabled Readers) พัฒนาโดย นายบาศ ทรงศิลป์ นายประกายเพชร ศุภกาญจนกันติ นายเมธิชัย โอบอ้อม อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัเชียงใหม่ ได้รับพระราชทานรางวัลจาก HRH Princess Salote Mafile’o Pilolevu Tuita of Tonga โครงการนี้ได้รับคำชื่นชมจากคณะกรรมการผู้ตัดสินว่าที่ได้รางวัลนี้เพราะว่าพร้อมนำสู่สายการผลิตได้

รางวัล Best poster คือ ผลงาน 9 ช่องมหัศจรรย์ (Incredible 9 Squares) พัฒนาโดย นางสาวชยพร ศุภวิไล นายณัฐพงศ์ สุระเสถียร อาจารย์ที่ปรึกษา: ดร.ชาคริต วัชโรภาส จาก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับพระราชทานรางวัลจาก HRH Princess Salote Mafile’o Pilolevu Tuita of Tonga

View :1704