Archive

Posts Tagged ‘OTOP’

ก.ไอซีที พร้อมร่วมมือยกระดับผู้ประกอบการ OTOP

September 6th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ ( Plus) ว่า โครงการยกระดับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แบบบูรณาการ หรือ PLUS เป็นโครงการที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ริเริ่มขึ้น เพื่อบูรณาการความร่วมมือการดำเนินงานโครงการดังกล่าวตามนโยบายรัฐบาล กับ 6 หน่วยงาน คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนเพื่อพัฒนาและสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ในส่วนของกระทรวงไอซีที มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภายใต้สังกัด 2 หน่วยงาน คือ ไปรษณีย์ไทย และ กสทฯ ได้ร่วมมีบทบาทในการสนับสนุนการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และขยายช่องทางการตลาดธุรกิจแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่ง ไปรษณีย์ไทย นั้น เป็นหน่วยงานที่ไม่เคยหยุดนิ่งมีการพัฒนาเครือข่ายขนส่งสู่บริการโลจิสติกส์ครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทั้งระบบ ด้วยการเชื่อมโยงกับทุกโครงข่ายเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า ตอบสนองการทำธุรกิจของคนไทย โดยเฉพาะ SMEs และ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข่งขันได้อย่างมืออาชีพ สำหรับบทบาทของ ไปรษณีย์ไทย ในโครงการฯ นี้ คือ การอำนวยความสะดวกโดยเปิดช่องทางการสั่งซื้อสินค้า OTOP และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.postshop.co.th และ Call Center 1545 รวมทั้งการนำศักยภาพที่มีอยู่ในด้านเครือข่ายทั่วประเทศ และระบบ logistic มาเป็น ผู้จัดส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อ

ด้าน กสทฯ นั้น มีพันธกิจในการให้บริการเครือข่ายการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและการบริการที่ดีที่สุด และเป็นพันธมิตรชั้นนำขององค์กรทั้งในและต่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสาร ส่วนบทบาทของ กสทฯ ในโครงการ OTOP PLUS คือ การจัดทำ e-Commerce System เพื่อให้มีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการแสดงสินค้าในรูป e-Exhibition การจัดทำ e-Smart OTOP เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าผ่านทาง QR code และสามารถสั่งซื้อซ้ำได้ทาง Smart phone รวมทั้งการจัดอบรมผู้ประกอบการ สมาชิก สสว. กว่า 1,000 ราย เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต

“กระทรวงไอซีที พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการยกระดับสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ประชาชนมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสินค้าในระดับชุมชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการกระจายสินค้าโดยทำหน้าที่เป็นหน้าร้านออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย ส่วนผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้า OTOP ได้อย่างสะดวกง่ายดายผ่านช่องทางสายด่วนหมายเลข 1545 ซึ่งรับบริการทั้งสั่ง และ ส่ง รวมทั้งผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การให้บริการในรูปแบบ Smart OTOP Plus ต่อไปในอนาคต” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

View :1351

ก.ไอซีที ฝึกอบรมเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการขายสินค้า OTOP ผ่านระบบ e-Commerce

May 4th, 2011 No comments

นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการ เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการ เพื่อการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP) ถือ เป็นนโยบายสำคัญด้านหนึ่งของรัฐบาลที่เกิดจากความร่วมมือของ 6 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันสร้างรากฐานที่สำคัญให้กับชุมชนโดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมาช่วยในการทำธุรกิจและการค้าขายบนโลกออนไลน์โดยสร้างร้านค้า สินค้า OTOP ของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและสามารถสั่งซื้อได้จากทั่วประเทศ

“ศักยภาพของสินค้า OTOP บนตลาด e-Commerce นี้ ยังมีโอกาสอีกมาก โดยหากพิจารณาจากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้สำรวจมูลค่าพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่ามูลค่าการซื้อขายมีเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึงห้าแสนกว่าล้านบาท แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ OTOP จะพบว่ามีเพียง 4.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีการขายแบบ e-Commerce ซึ่ง แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสในการขยายตลาดส่วนนี้ได้อีกมาก ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ และนำไปสู่การสร้างรายได้ของชุมชน พึ่งพาตนเองได้ โดยโครงการฯ นี้ตั้งเป้าหมายในการนำ e-Commerce มาช่วยในการขยายตลาดและเชื่อมโยงไปสู่การจัดส่งและการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว ครบวงจร” นายวรพัฒน์ กล่าว

ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวของโครงการฯ กระทรวงฯ จึงได้มีการจัดการฝึกอบรมในลักษณะ Train the Trainer แก่ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการที่สนใจ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการฯ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และเชิญผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่สนใจผลักดันสินค้า OTOP ไป สู่การค้าบนโลกออนไลน์เพื่อเปิดตลาดให้กว้างขึ้น รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่ร่วมลงนามในการสนับสนุนด้านวิทยากร จาก บมจ.ทีโอที บจ.ไปรษณีย์ไทย และบมจ. ธนาคารกรุงไทย ในการสร้างความเข้าใจตั้งแต่ เรื่อง การจัดการระบบธุรกิจ e-Commerce ระบบ การชำระเงิน รวมไปถึงระบบการส่งและติดตามสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแบบครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ถ่ายทอด หรือเป็นที่ปรึกษาในการให้ความรู้ แนะนำ ผู้ประกอบการในพื้นที่ของตนเองได้

“การ ฝึกอบรมนี้ จะมีการจัดอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในแต่ละภาค โดยครั้งแรกนี้เป็นการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สนใจ รวม 80 ราย เพื่ออบรมความรู้ในการดำเนินการธุรกิจแบบ e-Commerce และ ให้คำแนะนำโดยหน่วยงานที่ร่วมกันผลักดันโครงการฯ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การรับชำระเงินโดยวิธีหักบัญชีของธนาคาร การเตรียมการห่อหุ้มเพื่อฝากส่งสินค้าเข้าสู่ทางไปรษณีย์ให้เหมาะสม การจัดการธุรกิจ e-Commerce ของร้านค้า OTOP บน เว็บไซต์ TOT e-Market เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ได้นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อใน ชุมชน รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการใน ท้องถิ่นที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต่อไป” นายวรพัฒน์ กล่าว

View :1500
Categories: Press/Release Tags: , ,

ก.ไอซีที ร่วมผลักดันการขยายตลาดสินค้า OTOP ผ่าน ระบบ e-Commerce

August 24th, 2010 No comments

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) ว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( ) เป็น โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้แต่ละชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา ใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีสินค้า ที่ได้มาตรฐานผลิตออกมาให้ประชาชนเลือกซื้อมากมาย ผ่านทางห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายสินค้า หรือ งานจัดแสดงสินค้าต่างๆ ซึ่งข้อดี คือ สามารถจับต้องทดลองสินค้าได้ แต่ข้อเสีย คือ สินค้าตามห้างสรรพสินค้าจะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายในการลงทุน บริหารจัดการ ค่าการตลาดของห้างสรรพสินค้า และยังมีสินค้าให้เลือกไม่มากนัก

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้า OTOP ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการค้นหาสินค้า OTOP ได้ อย่างหลากหลาย ประหยัดเวลา รวมทั้งสะดวกรวดเร็ว ซึ่งหากมีการวางระบบการชำระเงินและระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะสามารถส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้า OTOP รวมถึงภาคธุรกิจให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

ด้าน นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า “ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้วางนโยบายผลักดันให้การใช้งาน e-Commerce เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรมเชื่อถือได้ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประเทศ ช่วยเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงลดต้นทุนด้านการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ด้วย โดยกระทรวงไอซีที ได้ร่วมกับ 6 หน่วยงานจัดทำโครงการ e-Commerce เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้นเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP สามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การผลิต การขนส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจำหน่าย และการรับชำระเงิน ซึ่งจะเอื้อต่อการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการ OTOP โดยใช้ศักยภาพของหน่วยงานทั้ง 6 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายจุติ กล่าว

สำหรับ 6 หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในโครงการฯ นี้ ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อจะนำสินค้า OTOP และสินค้าในโครงการพระราชดำริ มาจำหน่ายผ่านระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าบัตรเครดิต ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะรับผิดชอบงานในด้านต่างๆ กรมการพัฒนาชุมชนจะทำหน้าที่คัดเลือก รวมรวบผลิตภัณฑ์ OTOP และประสานงานกับผู้ประกอบการ กรมส่งเสริมการส่งออกให้คำปรึกษาการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP ใน รูปแบบภาษาต่างประเทศ ธนาคารกรุงไทย จัดทำระบบการรับชำระค่าสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม ส่วน บมจ.ทีโอที จะวางระบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) โดยจัดทำระบบร้านค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.tote-market.com เพื่อแสดงสินค้า รวบรวมคำสั่งซื้อ และฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้าน e-Commerce ขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย รับหน้าที่ด้านระบบการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสม และ บมจ.อสมท จะใช้เครือข่าย ช่องทางสื่อสารมวลชนแขนงต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่สินค้า OTOP ที่เข้าร่วมโครงการฯ
“โครงการฯ นี้จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และเปิดโอกาสในการนำสินค้าสู่ตลาดในช่องทางออนไลน์ โดยใช้ระบบ ไอทีเข้ามาช่วย อันเป็นการขยายช่องทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้า OTOP ให้ แก่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น จึงช่วยสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับประเทศ กล่าวคือ ทางตรงถือเป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ส่วนทางอ้อมนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ดึงดูดให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นในต่างประเทศ อันเป็นการสร้างตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่พร้อมจะใช้บริการ เนื่องจากมีความสะดวก และยังไม่มีบริการใดที่ตอบสนองความต้องการลักษณะนี้ จึงทำให้สามารถสร้างตลาดในส่วนนี้ให้เติบโตได้อย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยได้อีกด้วย” นายจุติ กล่าว

View :1655
Categories: Press/Release Tags: , ,