Archive

Posts Tagged ‘PC Market’

ไอดีซีระบุ ตลาดพีซีไทยที่เติบโตสูงมาตลอดอาจถดถอยลง

December 19th, 2011 No comments

ไอดีซีเปิดเผยผลการศึกษาตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ของประเทศไทยว่าได้มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ปีของปีนี้นั้น ตลาดพีซีขยายตัวขึ้นถึง 33% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในภาพรวม ตลาดพีซีถูกผลักดันโดยกำลังซื้อของผู้บริโภคที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับปริมาณการใช้จ่ายที่อยู่ในเกณฑ์ดีจากฝั่งองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ยอดจัดส่งเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดเดสก์ท็อปและโน๊ตบุ๊ค

ตลาดพีซีภายในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยมียอดจัดส่งรายไตรมาสทะลุ 1 ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 2 และ 3 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ตามไอดีซีคาดว่าเหตุการณ์อุทกภัยที่ขยายตัวเป็นบริเวณกว้างตั้งแต่ท้ายไตรมาสที่ 3 จะส่งผลกระทบต่อตลาดพีซีอย่างมาก ซึ่งไม่เพียงแค่เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปีเท่านั้น หากแต่ตลาดมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 อีกด้วย

โดยนายจาริตร์ สิทธุ นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดอุปกรณ์ต่อพ่วงประจำไอดีซีประเทศไทยเผยว่า “กลยุทธ์ต่างๆ ที่เวนเดอร์ใช้ในการกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภคนั้นถือว่าประสบผลสำเร็จในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสที่ 3 แต่หลังจากนั้นทั้งความกังวลในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจโลกและปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ก็ได้กลายเป็น 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการซื้อหดลงอย่างต่อเนื่อง”

“ภาคธุรกิจเองทั้งรัฐและเอกชนก็มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เริ่มชะลอตัวลงหลังจากที่มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระลอกใหม่ในประเทศซีกโลกตะวันตกเช่นเดียวกัน”

ไอดีซีคาดการณ์ว่าตลาดพีซีในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะหดตัวลงในอัตราที่ค่อนข้างสูง และอาจติดลบถึง 2 หลักเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2554 ก็จะมีปัญหาฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ขาดตลาดเข้ามาสบทบ ซึ่งอาจทำให้ราคาขายของพีซีถีบตัวสูงขึ้นในระยะสั้น โดยตลาดเครื่องประกอบและมินิโน๊ตบุ๊คน่าจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปีหน้าก็ไม่ถึงกับเลวร้ายไปทั้งหมดเสียทีเดียว ไอดีซีเชื่อว่าตลาดพีซีจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 และกลับเข้าสู่ภาวะปกติในครึ่งปีหลังต่อไป

ยอดจัดส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของประเทศไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2554 – ไตรมาสที่ 4 ปี 2554*

*ตัวเลขคาดการณ์

ที่มา: ’s Asia/Pacific Quarterly PC Tracker, 3Q 2011

View :1632
Categories: Press/Release, Technology Tags: ,

ไอดีซีเผยตลาดพีซีในเอเชียแปซิฟิกช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โตขึ้นร้อยละ 7 ท่ามกลางแรงซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนกำลังลง

April 25th, 2011 No comments

สิงคโปร์ และฮ่องกง 20 เมษายน 2554 – ผลการสำรวจเบื้องต้นของไอดีซีพบว่า ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เติบโตขึ้นเพียงร้อยละ 1 จากไตรมาส 4 ของปี 2553 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 นั้น ยอดการส่งมอบได้เติบโตขึ้นร้อยละ 7 ด้วยยอดจำหน่ายถึง 26.8 ล้านเครื่อง ผลกระทบจากเงินเฟ้อและกระแสความนิยมในสินค้าประเภทมีเดียแทบเล็ทยังคงเป็น ปัจจัยลบที่ทำให้ตลาดพีซีไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยยอดการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ทำให้ตัวเลขการเติบโตของทั้งภูมิภาคต่ำกว่าที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นี้ ถึงแม้ผลสำรวจจะชี้ว่าตลาดของประเทศอินโดนีเซียและเกาหลีนั้นโตมากกว่าที่ คาดการณ์ไว้ก็ตาม

นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีเผยว่า “ไม่เพียงแค่ปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อและผลกระทบจากความนิยมต่ออุปกรณ์ ประเภทอื่นที่เพิ่มขึ้นเท่านั้นที่ทำให้ตลาดพีซีเติบโตช้าลง แต่ยังมีปัญหาในฝั่งของอุปทานเช่นกัน โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ส่งผลให้ผู้ผลิตกังวลถึงความเสี่ยงที่ส่วนประกอบบางชนิดอาจจะขาดตลาดมาก ขึ้นอีกด้วย”

“แต่อย่างไรก็ตามเรายังคงเชื่อว่าตลาดองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งนั่นจะทำให้ภาพรวมของตลาดในปี 2554 เติบโตขึ้นไปแตะที่ระดับร้อยละ 10 ได้”

สำหรับผู้นำตลาดนั้นยังคงเป็นเลอโนโว ที่ถึงแม้ว่าตลาดในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของเลอโนโวจะค่อนข้างซบเซาใน ช่วงวันหยุดตรุษจีนที่ผ่านมา แต่เลอโนโวก็ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ของปี 2553 ในส่วนของเอชพี ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเอชพีเริ่มดึงส่วนแบ่งตลาดที่เสียไปก่อนหน้านี้ กลับมาได้บางส่วน โดยส่วนแบ่งตลาดของเอชพีในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศจีนนั้นเริ่มดีขึ้น แต่ยังคงถือว่าต่ำกว่าเดิมหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ผลงานของเดลล์เองก็กลับมาดีขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมาอีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในประเทศจีนและอินเดีย เช่นเดียวกับอัสซุสที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้นได้จากการขยายช่อง ทางจำหน่ายในประเทศจีน

View :1471
Categories: Press/Release Tags: ,

ยอดจำหน่ายพีซี ไตรมาส 3 ปี 2553 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ไม่โตดังหวัง แต่ ไอดีซี ยังมองตลาดในอนาคตเป็นบวก

October 26th, 2010 No comments

จากผลการสำรวจเบื้องต้น ไอดีซี พบว่า ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6 จากไตรมาส 2 ของปี 2553 และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 14 เมื่อเปรียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2552 โดยมียอดจำหน่ายราว 28.7 ล้านเครื่อง และเกือบทั่วทุกประเทศในภูมิภาคแถบนี้ยังคงมีอัตราการเติบโตของตัวเลขมากกว่าสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตนี้ยังต่ำกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้เล็กน้อยเพียงร้อยละ 1 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มยอดสต็อกสินค้าในฝั่งตัวแทนจำหน่าย รวมถึงผู้ใช้งานในประเทศที่ตลาดเริ่มอิ่มตัวแล้วถูกดึงความสนใจไปยัง Media Tablets เช่น Apple’s iPad อีกด้วย

“ในขณะที่อัตราการเติบโตร้อยละ 14 อาจจะดูไม่ค่อยสดใสนักเมื่อเทียบกับอัตราการเติบร้อยละ 29 ของไตรมาสที่ 2 แต่เราต้องทำความเข้าใจว่า ในไตรมาสนี้ นั้นกำลังเปรียบเทียบกับยอดจำหน่ายที่สูงของไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ซึ่งมีปัจจัยมาจากประเทศจีนที่มีสัญญาณของสภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว” กล่าวโดย นายไบรอัน มา รองประธานฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “แม้ว่ายอดจำหน่ายที่ปรากฏออกมานั้นดูเหมือนจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะตัวเลข แต่เราก็ยังคงเห็นว่าตลาดจะมีอัตราการเติบโตในระดับตัวเลขสองหลักได้ในปีหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังซื้อจากภาคธุรกิจที่เริ่มฟื้น”

แท้ที่จริงแล้ว ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังโดดเด่นมากในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการจัดซื้อต่าง ๆ ที่เพิ่มของภาคการศึกษา รวมถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็มีส่วนช่วยทำให้เกิดอุปสงค์ดังกล่าวนี้ด้วย ขณะที่การใช้จ่ายของหน่วยงานภาครัฐฯ ในประเทศออสเตรเลีย ก็เดินหน้าต่อภายหลังที่ทราบผลจากภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสต็อกสินค้าในฝั่งตัวแทนจำหน่ายสำหรับโน๊ตบุ๊ค ในประเทศ จีน อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง ได้ช่วยทำให้ยอดจำหน่ายของประเทศเหล่านี้ใกล้เคียงกับตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสก่อน

ยี่ห้อ Lenovo ยังคงเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคนี้ในไตรมาสนี้ ยี่ห้อ HP ซึ่งเป็นยี่ห้อที่มีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมากจากจุดสุงสุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา นับว่ายังโชคดีที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หลังจากที่ยอดตกสามไตรมาสติดต่อกัน ยี่ห้อ ASUS มีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากราคาที่จูงใจและการทำตลาดมินิโน๊ตบุ๊ค อย่างแข็งขันในประเทศจีนตลอดทั้งปีนี้

ตารางที่ 1
สัดส่วนยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ตามผู้ค้าแต่ละราย ในไตรมาส 3 ปี 2553 (ประมาณการณ์เบื้องต้น) เปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 และไตรมาส 3 ปี 2552
อันดับที่ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 3 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 2 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 3 ปี 2552 อัตราการเติบโต เปรียบเทียบ ปีต่อปี
1 Lenovo 20.2% 20.2% 18.7% 23%
2 HP 11.6% 11.5% 17.1% -23%
3 Dell 10.1% 9.5% 8.3% 39%
4 Acer 9.3% 8.2% 8.2% 30%
5 ASUS 6.0% 4.9% 4.9% 37%
รายอื่น ๆ 42.8% 45.7% 47.7% 14%
รวม 100.0% 100.0% 100.0% 14%
ที่มา: ไอดีซี ตุลาคม 2553

View :1639
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซีชี้ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์พีซีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นยังโตถึงสองหลักในไตรมาส 2 ปี 2553

July 23rd, 2010 No comments

สิงคโปร์ และ ฮ่องกง วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 – จากผลการสำรวจเบื้องต้นของ ไอดีซี พบว่า ยกเว้นญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 15 จากไตรมาส 1 ของปี 2553 และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 36 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2552 โดยมียอดจำหน่ายสูงถึง 27 ล้านเครื่องทั้งภูมิภาค เกือบทั่วทุกประเทศในภูมิภาคแถบนี้มีอัตราการเติบโตมากกว่า สองหลัก เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตนี้ยังต่ำกว่าที่ไอดีซีคาดการณ์ไว้เล็กน้อยเพียงร้อยละ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากยอดจำหน่ายพีซีเดสท็อปที่ขยายตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งเข้ามาชดเชยในส่วนที่ขาดไปของตลาดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค

“ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในประเทศจีนและอินโดนีเซียพบว่าต่ำกว่า ที่เราได้คาดการณ์ไว้ในไตรมาสนี้” กล่าวโดย นายไบรอัน มา ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านตลาดอุปกรณ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “แต่ทว่าความต้องการที่ยังมีมากสำหรับโน๊ตบุ๊คจะยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุน ตลาดตลอดทั้งปีนี้ แม้ว่าจะมีภาวะกดดันในเรื่องการขันแข่ง ที่มาจาก media tablet เช่น Apple’s iPad”

เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่ตลาดประเทศไทยสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงหลายเดือน ก่อนหน้านี้ได้ลดระดับความรุนแรงลง จึงเป็นแรงหนุนให้ตลาดเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ในขณะที่ตลาดสิงคโปร์ ยอดจำหน่ายก็ยังคงอยู่ในความคาดหมาย แม้ว่าจะเกิดความวิตกกังวลก่อนหน้านี้เกี่ยวกับยอดจำหน่ายที่ทรงตัวในงาน แสดงสินค้าคอมพิวเตอร์

“ตลาดพีซีในฮ่องกงค่อนข้างชะลอตัวเล็กน้อยสืบเนื่องมาจากแรงซื้อโน๊ตบุ๊ค จำนวนมากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้และตัวแทนจำหน่ายก็มีการกักตุนสินค้าไว้ใน ไตรมาสที่แล้ว” กล่าวโดย นางเคธี ซิน ผู้จัดการด้านอุปกรณ์ลูกข่ายประจำไอดีซี เอเชียแปซิฟิก “อย่างไรก็ตาม ตลาดค้าปลีกก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่หนุนตลาด โดยผู้ค้าบางราย ได้มีการส่งมอบสินค้าล๊อทใหญ่ๆ ในช่วงท้ายไตรมาสเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดโปรโมชั่นในช่วง หน้าร้อน

ยี่ห้อเลอโนโว (Lenovo) ยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของยอดจำหน่ายที่สูงในประเทศจีนในปีที่ ผ่านมา ในขณะที่คู่แข่งอย่าง เอชพี (HP) ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ลดลง ตลาดภาคธุรกิจได้มีส่วนช่วยทำให้ยี่ห้อเดล (Dell) สามารถรั้งตำแหน่งอันดับสาม ซึ่งเป็นผลมาจากความแข็งแกร่งของยี่ห้อนี้ที่ดำเนินธุรกิจในตลาดนี้มานาน
ตารางที่ 1

สัดส่วนยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ตามผู้ค้าแต่ละราย ในไตรมาส 2 ปี 2553 (ประมาณการณ์เบื้องต้น) เปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 และไตรมาส 2 ปี 2552
อันดับที่ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 2 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 1 ปี 2553 ส่วนแบ่งตลาดใน ไตรมาส 2 ปี 2552 อัตราการเติบโต เปรียบเทียบ ปีต่อปี
1 Lenovo 20.3% 18.8% 18.9% 45%
2 HP 11.6% 14.1% 16.2% -3%
3 Dell 9.6% 9.8% 8.4% 55%
4 Acer 8.7% 9.6% 8.2% 45%
5 ASUS 5.2% 5.5% 3.8% 84%
รายอื่น ๆ 44.6% 42.3% 44.6% 36%
รวม 100.0% 100.0% 100.0% 36%
Source: , July 2010

View :1821