Archive

Posts Tagged ‘Smart Thailand’

กระทรวงไอซีที เดินสายภาคใต้เปิดบริการ ICT Free WiFi by TRUE ประเดิมที่สงขลาแห่งแรก สานนโยบาย Smart Thailand

December 19th, 2012 No comments

19 ธันวาคม 2555: กระทรวงไอซีที โดย นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ กลุ่มทรู โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการธุรกิจโมบายล์ และนายเจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจทรูออนไลน์ ประกาศความร่วมมือเปิดให้บริการ สู่จังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรกของภาคใต้ ตอบรับนโยบาย ของรัฐบาลส่งเสริมการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ชาวสงขลาได้ใช้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เพื่อคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ ผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT Free WiFi by TrueMove H โดยมี นายพิรสสิญจ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นเจ้าบ้านให้การต้อนรับ

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กลาง) นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (ขวา) นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา (ซ้าย)


นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า “โครงการ ICT Free WiFi ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มทรู ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างจริงจัง โดยเปิดพื้นที่ให้บริการ ICT free WIFI by TRUE ที่ครอบคลุมมากถึง 50,000 จุดทั่วประเทศ รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวก เพียงเลือกชื่อเครือข่าย ICT Free WIFI by TRUE เท่านั้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามนโยบาย Smart Thailand ของรัฐบาลโดยกระทรวง ICT เร่งขยายโครงการ ICT Free WiFi ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ทั่วประเทศ และจะสามารถให้บริการพี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ประเทศไทยพร้อมก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้ มีเป้าหมายในภาพรวมของโครงการที่จะมีจุดให้บริการ ICT Free WiFi ทั้งหมดมากกว่า 300,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้าอย่างแน่นอน”

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรู ชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลโดยกระทรวงไอซีทีให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย ในโครงการ ICT Free WiFi อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ทัดเทียมคนในเมืองใหญ่ กลุ่มทรู ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ WiFi ที่มีโครงข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงยินดีและมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงไอซีที อำนวยความสะดวกให้ชาวสงขลาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่าย WiFi by TrueMove H ได้ทุกเวลา ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT Free WiFi by TrueMove H ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมั่นใจว่าจะร่วมสร้างประโยชน์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับเยาวชน รวมทั้งมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้านให้กับประชาชนอย่างแน่นอน”

นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “จังหวัดสงขลานับเป็นเมืองแห่งการศึกษาของภาคใต้ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำอยู่หลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ซึ่งการที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับเมืองสงขลา โดยนำเทคโนโลยีสื่อสารทันสมัย อย่างอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Wi-Fi เข้ามานั้น นับเป็นเรื่องที่ดีต่อชาวจังหวัดสงขลาที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการ ICT Free WiFi by TRUE โดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการยกระดับจังหวัดสงขลาให้เป็นเมืองที่พร้อมรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น เพิ่มศักยภาพของจังหวัดสงขลาให้เป็นที่รู้จัก ทั้งเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม เป็นมหานครแห่งการค้า และเป็นเมืองแห่งไอที ที่มีเสน่ห์ น่าอยู่ น่าท่องเที่ยว น่าลงทุนและทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่”

ด้วยความพร้อมของกลุ่มทรูทั้งทางด้านการให้บริการ และศักยภาพของโครงข่ายที่มีคุณภาพ และครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ จึงสามารถให้บริการ ICT Free WiFi by TRUE โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านฮอตสปอต WiFi by TrueMove H จำนวน 50,000 จุดทั่วประเทศ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps ยิ่งไปกว่านั้น ทรูมูฟ เอช ได้สร้าง SSID ชื่อ ICT Free WiFi by TRUE เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจเข้าใช้บริการได้ทันที โดยสามารถลงทะเบียนรับ Username และ Password เมื่อเลือกโครงข่าย ICT WiFi by TRUE เพื่อใช้งานได้วันละ 30 นาที รวม 15 ชั่วโมงต่อเดือน และสามารถลงทะเบียนใหม่เพื่อต่ออายุการใช้งานได้ทุกๆ 3 เดือน และใช้งานได้ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์

View :1584

คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมมือกับ สพธอ. และ สรอ. ผลักดันธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไทย สู่ “Smart Thailand”

September 4th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะประธานกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (.) และคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) () เพื่อหารือกรอบนโยบายการดำเนินงานร่วมกันในการผลักดันงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐและภาคเอกชนให้มุ่งสู่การเป็น “

โดยคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ดำเนินการจัดประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการบริหาร สพธอ. และคณะกรรมการบริหาร สรอ. ขึ้น เพื่อรับทราบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อแนวทางการผลักดันงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Thailand ซึ่งองค์การมหาชนทั้ง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. และ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เป็นหน่วยงานที่กระทรวงไอซีที ตั้งขึ้น เพื่อช่วยผลักดันงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดย สพธอ. ทำหน้าที่ดำเนินการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ และ สรอ. ทำหน้าที่พัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความก้าวหน้าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน ICT ของประเทศ

ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจาก คณะกรรมการบริหาร เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สพธอ. และ สรอ. เพื่อผลักดันงานด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการประชุมดังกล่าว ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงฯ ได้มุ่งเป้าหมายไปสู่การเป็น Smart Thailand ในปี 2020

View :1322

ก.ไอซีที เตรียมพร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐสู่ Smart Thailand

August 22nd, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเรื่อง ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศภาครัฐสู่ ว่า รัฐบาลมีความต้องการที่จะพัฒนาประเทศให้มี “ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)” และ “รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก (Globalization)” และเมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 จึงจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งเรื่องของ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หรือ ICT ก็ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่

“จากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าอันดับความพร้อมใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่อันดับ 59 ลดลงจากปี พ.ศ. 2549 ที่อยู่ในอันดับ 37 ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กลับมีอันดับที่ดีขึ้น ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้าน ICT ทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน และรูปแบบการใช้งาน (Applications) รวมทั้งบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค Digital economy” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาประเทศให้มี “ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน” และ “รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก” อาทิ ASEAN Economics Community 2015 หรือ AEC 2015 ซึ่งต้องใช้ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หรือ ICT มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Smart Thailand ด้วยความมุ่งหมายหลัก คือ ให้มีการใช้ ICT นำพาความเจริญเข้าสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนของประเทศ สร้างสภาวะแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล (Digital Divide) อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าที่ทัดเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว

ดังนั้น เพื่อให้กลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนประเทศประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อก้าวไปสู่ Smart Thailand ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐต่อการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางการบูรณาการศูนย์ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐในลำดับต่อไป

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ ก็คือ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศจากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 120 คน เกี่ยวกับการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อก้าวไปสู่ Smart Thailand และนำความคิดเห็นที่ได้มาเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการศูนย์ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ (Data Center Consolidation) ส่วนกิจกรรมภายในงานประชุมสัมมนาฯ จะมีการบรรยายหัวข้อ “Smart Thailand” และการเสวนาเรื่อง “Data Center Consolidation แนวทางการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐสู่ Smart Thailand” ด้วย

View :1495

ก.ไอซีที เปิดแผนงานผลักดันโครงการ SMART THAILAND

February 20th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าว “แผนดำเนินงานเพื่อผลักดันโครงการ ” ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่มีความพร้อมของโครงข่ายโทรคมนาคมลดลงเป็นอย่างมาก โดยจากการศึกษาของ World Economic Forum พบว่าอันดับความพร้อมใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่อันดับ 59 ลดลงจากปี พ.ศ. 2549 ที่อยู่ในอันดับ 37 ขณะที่ประเทศ เพื่อนบ้านอย่างเวียดนามนั้นมีอันดับที่ดีขึ้น ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาด้าน ICT ทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน และรูปแบบการ ใช้งาน (Applications) รวมทั้งบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค Digital economy

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ดังนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ดำเนินโครงการ SMART THAILAND ซึ่งเป็นโครงการที่สอดรับกับนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยสำหรับปี พ.ศ. 2554-2563 หรือ ICT 2020 รวมถึงนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินงานหลักๆ ใน 2 ส่วน คือ 1. SMART NETWORK เป็นการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เน้นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 80 ในอีก 3 ปีข้างหน้า และร้อยละ 95 ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไปถึง (Reach) ระดับตำบล ครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 87 แต่ยังขาดความพร้อมของอุปกรณ์ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานของประชากรได้ประมาณร้อยละ 33 เท่านั้น และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ รวมทั้งการวางสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนของทั้งโครงการประมาณ 80,000 ล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนในการวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงในระดับตำบล และให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ

พร้อมกันนี้ ยังได้วางเป้าหมายด้านราคาด้วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เกิดการใช้สินทรัพย์โครงข่ายร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการเข้ามาลงทุนในส่วน Last mile ต่อจากโครงข่าย SMART NETWORK ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งคาดว่าผลของการดำเนินการนี้จะสามารถลดอัตราค่าใช้จ่ายของประชาชนในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากประมาณร้อยละ 6 ของรายได้ต่อประชากร เป็นร้อยละ 3 และลดเหลือร้อยละ 1 ของรายได้ต่อประชากร ซึ่งเป็นอัตราที่เทียบเท่ากับของประเทศที่พัฒนาแล้ว

สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่ 2. คือ เป็นการส่งเสริมการให้บริการผ่านโครงข่าย SMART NETWORK ซึ่งบริการอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีความสำคัญต่อการกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สูงถึงประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท (37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) กระทรวงฯ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)เป็นผู้ดูแลและส่งเสริมการเติบโตของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ในขณะเดียวกันยังจะได้ผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของภาครัฐ โดยในขั้นแรกจะเป็นการผลักดันบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประชาชนในเขตเมืองและชนบท เช่น โครงการรักษาพยาบาลทางไกล โครงการศึกษาทางไกล

จีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ด้านนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการดำเนินงานทั้ง 2 ส่วน ว่า ในส่วนของ SMART NETWORK ได้แบ่งแผนการดำเนินงานออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ การขยายโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการจัดตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ ในส่วนของการขยายโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จะมุ่งเน้นการนำสินทรัพย์โครงข่ายที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้ว นำแสงในส่วนของ Backbone และ Backhaul ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้เป็นทางผ่านของข้อมูลปริมาณมากและรองรับความเร็ว ได้สูง เพื่อเชื่อมต่อไปยังชุมสายในพื้นที่ระดับตำบลและสถานที่ราชการสำคัญ ๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ขณะที่โครงข่ายในส่วนที่จะเชื่อมต่อจากชุมสายไปยังผู้ใช้งาน หรือที่เรียกว่า Last mile นั้น จะให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นเข้ามาลงทุนด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในแต่ละพื้นที่ เช่น การให้บริการด้วยเทคโนโลยี Mobile 3G, 4G/LTE, Wi-Fi หรือ FTTx เป็นต้น

สำหรับแผนการดำเนินการขยายโครงข่าย SMART NETWORK จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 – 2558เป็นการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของโครงข่ายที่มีอยู่เดิมให้มีความพร้อมในการรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยไม่ต้องลงทุนลากสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติม ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 – 2563 จะเป็นการลงทุนลากสายเคเบิล ใยแก้วนำแสงเพิ่มเติมไปยังตำบลที่ยังไม่มีโครงข่ายฯ เพื่อให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 95 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงนี้ จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงข่ายในจังหวัดที่มีความครอบคลุมของโครงข่ายน้อยก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สตูล กระบี่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงฯ มีแนวคิดที่จะระดมทุนเพื่อนำมาใช้ในการขยายโครงข่าย SMART NETWORK เช่น การระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้การขยายโครงข่ายดำเนินไปได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนการขยายโครงข่ายบรรลุผลสำเร็จ กระทรวงฯ จะสนับสนุนให้มีการแบ่งแยกบทบาทของผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหรือแต่งตั้งหน่วยงานบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือที่ในต่างประเทศเรียกว่า หรือ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานกลางที่มีหน้าที่รวบรวมโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงของประเทศไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายของรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม ได้แก่ บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาบริหารเพื่อให้มีการบริหารและการลงทุนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งแนวทางในการรวบรวมโครงข่ายสามารถดำเนินงานได้หลายแนวทาง เช่น การโอนสินทรัพย์มาร่วมกันแล้วก่อตั้ง หรือ การให้ เช่า หรือ ซื้อโครงข่าย เป็นต้น

NBNCo จะทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนในโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพิ่มเติมโดยเฉพาะการขยายโครงข่ายไปยังพื้นที่ห่างไกล และให้บริการให้เช่าโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงในระดับขายส่งให้แก่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่สนใจเพื่อนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ในระดับขายปลีกต่อไป ซึ่งโครงข่ายของ NBNCo หรือ โครงข่าย SMART NETWORK นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ทุกรายมาใช้บริการอย่างเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการขายส่งที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายย่อย ในท้องถิ่น เช่น องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) เป็นต้น สามารถมาขอเชื่อมต่อและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนมอบหมายให้ทำหน้าที่บำรุงรักษาโครงข่ายในพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ได้

สำหรับการก่อตั้ง NBNCo นั้น กระทรวงฯ มีนโยบายที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยการโอนสินทรัพย์โครงข่ายมาร่วมลงทุน หรือผ่านการระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อนำมาขยายเพิ่มเติม ซึ่งการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมนี้จะช่วยให้การบริหารงานและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีแนวทางและรูปแบบการดำเนินงานของเอกชน อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะเป็นหน่วยงานสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลเพื่อช่วยกันส่งเสริมให้มีการใช้สินทรัพย์โครงข่ายร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน

ส่วนแผนการดำเนินงาน SMART GOVERNMENT ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้เกิดบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก ทั่วถึงและเป็นธรรม แก่ประชาชน รวมถึงเป็นการกระตุ้นประชาชนให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น โดยกระทรวงฯ ได้วางแผนที่จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงต่างๆ ในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐต่างๆ โดยระยะแรกจะเน้นถึงการส่งเสริมให้มีบริการของภาครัฐที่เป็นบริการพื้นฐานหลัก และก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแก่ประชาชนคนไทย คือ

1. บริการ Smart – Education เป็นการพัฒนาและส่งเสริมการขยายโครงข่ายการให้บริการการศึกษาไปยังโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 2. บริการ Smart – Health เป็นโครงการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลทางไกลผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 3. บริการ Smart – Government เป็นโครงการเพิ่มช่องทางการให้บริการทะเบียนราษฎร์ออนไลน์ โดยขยายการให้บ

View :1649

ก.ไอซีที เปิด FREE PUBLIC WIFI ต้อนรับปีใหม่ เพื่อพัฒนาระบบ ICT ไทยให้มุ่งสู่การเป็น SMART THAILAND

December 31st, 2011 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในที่สาธารณะฟรี () ว่า “สืบเนื่องจากนโยบาย ของกระทรวงไอซีที ที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 นั้น กระทรวงฯ จึงได้ประสานงานความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และผู้ให้บริการภาคเอกชน รวมถึงได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. เพื่อเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และยั่งยืนผ่านโครงข่าย SMART-WIFI@TH ซึ่งจากการศึกษาโครงการที่ใกล้เคียงกันในต่างประเทศ ร่วมกับการศึกษาความต้องการเฉพาะของประเทศไทย ทำให้มั่นใจได้ว่า SMART-WIFI@TH จะให้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก คนทำงานที่ต้องเดินทางหรือทำงานนอกสถานที่เป็นประจำ (Mobile Workers) ตลอดจนนักท่องเที่ยวจะได้รับความสะดวกสบายในด้านข้อมูลข่าวสารออนไลน์อย่างเต็มที่มากขึ้น
สำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้เป็นการเปิดเฟส 1 ที่มีโครงข่ายครอบคลุมกว่า 20,000 จุดทั่วประเทศ โดยเน้นการให้บริการในพื้นที่สาธารณะที่มีความต้องการใช้งานสูง เช่น ศาลากลางจังหวัด สนามบิน มหาวิทยาลัย สถานีขนส่ง ฯลฯ ซึ่งมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เป็นผู้ร่วมดำเนินการในช่วงเริ่มต้น และจะมีการร่วมมือกับผู้ให้บริการภาคเอกชนในช่วงต่อๆ ไป โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดให้บริการมากกว่า 250,000 จุด ภายใน 5 ปี

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากสถิติการศึกษาอัตราการเข้าถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต พบว่า ทุกๆ 10% ของการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้น จะสามารถเพิ่ม GDP ได้ 1.3% ซึ่งหมายความว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง รัฐบาลจึงเล็งเห็นศักยภาพของการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและมุ่งที่จะพัฒนาอย่างเต็มที่ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นั่นคือ เพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ได้ 80% ของจำนวนหลังคาเรือนภายในปี 2558 หรืออีก 4 ปี ซึ่งในการพัฒนารูปแบบการดำเนินการที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Sustainable model for Thailand) นั้น ควรมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการและสถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้พัฒนารูปแบบการดำเนินการสำหรับ “SMART-WIFI@TH” เพื่อให้ได้ผลสำเร็จที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการนี้จะเป็นการผสมระหว่างโครงข่าย backbone ที่มีอยู่ในปัจจุบันและโครงข่ายใหม่ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อ (access point) ของ ทีโอที กสทฯ และผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมภาคเอกชน ซึ่งจะทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อและเชื่อถือได้ ภายใต้ ID “SMART-WIFI@TH” เดียวกัน

กระทรวงไอซีที เชื่อมั่นว่า SMART-WIFI@TH จะสร้างความเสมอภาคและชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อคนไทย และสำหรับ Free Public WiFi จำนวน 20,000 จุดแรกนี้ รัฐบาลตั้งใจมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2555 เพื่อพี่น้องชาวไทยทุกคน”

สำหรับวิธีการใช้งาน Free Public WiFi ให้เลือกรับสัญญาณ ICT Free WiFi และทำการเชื่อมต่อสัญญาณ จากนั้นลงทะเบียนรับรหัส Register และเมื่อได้ Account แล้วผู้ใช้งานจะได้รับ username และ password เพื่อนำมา Login ใช้งาน โดยหากต้องการอ่านคู่มือการใช้งานสามารถคลิกที่วิธีใช้งาน หรือ How to Use ได้ในหน้าแรก

View :1556

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นสร้างบริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

September 9th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา หัวข้อ “ทางเลือกรูปแบบธุรกิจโทรคมนาคม” ว่า เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเร่งรัดการขยายและยกระดับโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการใช้บริการ และให้บริการด้วยคุณภาพที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม รวมทั้งประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยราคาที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ตลอดจนลดการลงทุน ที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

เพื่อให้การดำเนินโครงการ SMART THAILAND บรรลุเป้าหมายที่ต้องการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 80 ใน ปี พ.ศ. 2558 และให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 95 ในปี พ.ศ.2563 ด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมภาคเอกชนสามารถใช้โครงข่ายร่วมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพและเป็นธรรม รวมทั้งภาครัฐดำเนินการลงทุนโครงข่ายในส่วนที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและจัดหาบริการภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนนโยบาย SMART THAILAND ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

“ในหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือ ออสเตรเลีย ที่ให้ความสำคัญการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และได้มีการผลักดันนโยบายบรอดแบนด์เป็นวาระแห่งชาติเช่นเดียวกับประเทศไทย ก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานในลักษณะดังกล่าวขึ้น โดยเรียกว่า หรือ ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนา Smart Thailand หัวข้อ “ทางเลือกรูปแบบธุรกิจโทรคมนาคม” ครั้งนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอทางเลือกในการจัดตั้งและรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย SMART THAILAND ในด้านการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนแม่บทของการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้บรรลุเป้าหมายในการที่จะให้ประเทศไทยเป็น SMART THAILAND” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

การสัมมนาฯ ครั้งนี้ ได้มีการเชิญผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมในการสัมมนากว่า 100 คน เพื่อรับทราบถึงแนวทางในการพัฒนาโครงข่ายและจัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในต่างประเทศ โดยกระทรวงฯ จะมีการนำเสนอแนวทางในการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทย และทางเลือกในการจัดตั้งหน่วยงานที่จะขึ้นมาดูแลโครงข่ายฯ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อแนวทางในการดำเนินโครงการฯ พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นและร่วมอภิปรายแนวคิดดังกล่าว เพื่อนำไปพัฒนาแผนแม่บทในการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของประเทศไทยด้วย

“ในการดำเนินโครงการ SMART THAILAND นี้ กระทรวงฯ ได้มุ่งเน้นไปที่การขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงไปให้ถึงในทุกตำบลของประเทศไทยที่ปัจจุบันยังไม่มีโครงข่ายเข้าถึง เพื่อให้ชุมชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานราชการสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เป็นเจ้าของโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้ใช้งาน และองค์กรภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแล จึงจะสามารถทำให้โครงการฯ นี้ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ได้” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1565

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นสร้างบริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

September 5th, 2011 No comments

นาวาอากาศเอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา หัวข้อ “บริการภาครัฐยุคใหม่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ว่า การพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ถือเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้เร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม และการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งความรู้ ภูมิปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท ช่วยสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ยกระดับคุณภาพการศึกษา เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตลอดจนส่งเสริมการลดใช้พลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

การดำเนินงานส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ประสบความสำเร็จ คือ การสนับสนุนให้มีบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงควรมีการผลักดันและจูงใจให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แก่ประชาชน โดยบริการอิเล็กทรอนิกส์หลักๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก คือ บริการ e-Government เช่น การทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ ทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์ บริการ e-Education คือ การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงรูปแบบต่างๆ บริการ e-Health คือ การบริการสาธารณสุขอิเล็กทรอนิกส์ และบริการ e-Agriculture คือ การบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร ซึ่งการผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เหล่านี้ ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงการประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางเข้ารับบริการต่างๆ ของประชาชนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของประเทศไทยในปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาโครงการ ขณะที่ในบางประเทศ ได้มีการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จนประสบความสำเร็จและมีการดำเนินงานอย่างแพร่หลายแล้ว ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาบริการอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ เช่น การบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้านสาธารณสุขในประเทศอินเดีย หรือแถบประเทศยุโรป มาประกอบการศึกษาเพื่อพัฒนาโครงการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้การวางกรอบแผนการดำเนินการบริการภาครัฐบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสัมฤทธิ์ผล กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมสัมมนา Smart Thailand ขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลในการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการภาครัฐทั้ง 4 ด้าน ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมอภิปรายแนวคิดดังกล่าว เพื่อการพัฒนาโครงข่ายและบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

“ประเทศไทยมีความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐที่ไม่แพ้ประเทศอื่น ซึ่งโครงข่ายความเร็วสูงนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านอื่นของรัฐบาล เช่น นโยบายการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน การสร้างสันติสุขและความปลอดภัยให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สามารถใช้โครงข่ายในการให้บริการด้านสาธารณสุขทางไกล รวมทั้งนโยบายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน กระทรวงฯ จึงหวังว่าการสัมมนาในครั้งนี้จะช่วยให้มีการร่วมกันให้ข้อมูล และร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยผลักดันให้การดำเนินโครงการนี้ประสบผลสำเร็จ และก่อประโยชน์สูงสุดให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่สามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อพัฒนาความรู้ สร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยต่อไป” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

View :1494