Archive

Posts Tagged ‘Social Media’

Smart devices and social media to drive new culture of online, always-connected customers in 2013

November 21st, 2012 No comments

Melbourne, 21 November 2012 – New analytics solutions, multichannel metrics, and better collaboration tools will be crucial in 2013, as enterprises feel the pressure to understand and pre-empt the needs from the always-connected customer, says . Vendors will need to step up and add these capabilities fast, or else risk losing business.

As part of its 2013 Trends to Watch series, Ovum explores the important changes in the customer experience and interaction market, detailing how technologies are evolving to meet new consumer demands and providing recommendations for both enterprises and vendors.

According to Ovum’s report,* response teams will move into the contact center, driving the need for better management tools, and the global analyst firm forecasts** high growth (21% CAGR) for monitoring within the customer service function in the next five years. Mobile self-service will become more intelligent, customers will have the ability to request a callback from within a mobile application, and it will become easier to transfer a query from a self-service application to voice, chat, or email.

Traditionally siloed applications such as performance management, business intelligence, and customer feedback will be merged into voice-of-the-customer (VOC) analytics suites that help enterprises view and compare data across different stages of the customer lifecycle. Many enterprises will have a mixture of cloud- and premise-based customer service solutions, although, for most companies, core automated call distribution (ACD) functionality is likely to remain on-premise for the foreseeable future because of existing investments and mentality.

“Enterprises need to support today’s customers by providing timely and accurate responses via mobile, web, and voice channels. In order to succeed, they must address customer needs at every stage of the customer lifecycle, and support and integrate data internally. It makes sense for enterprises to create collaborative customer experience teams in order to align technology and data strategies across product, IT, marketing, and customer support,” says Aphrodite Brinsmead, senior analyst at Ovum.

View :1267
Categories: Press/Release Tags: ,

ไอดีซีระบุ การใช้แชทและโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกที่ทุกเวลา คือตัวกระตุ้นความต้องการในการเชื่อมต่อแบบพกพาในระดับที่สูงขึ้น

June 27th, 2011 No comments

ที่สิงคโปร์ 22 มิถุนายน 2554 – ไอดีซี บริษัทวิจัยตลาดชั้นแนวหน้าของโลกเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานของผู้ที่ท่องโลกออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน โดยพบว่าพฤติกรรมยอดนิยมอันดับ 1 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเกือบทุกประเทศทั่วโลก คือการแชท และ การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ () ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ () ในฐานะช่องทางในการทำการตลาดอีกด้วย

โดยในประเทศที่ความนิยมในการแชทของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีสูง เช่นประเทศจีน (64%) และนิวซีแลนด์ (40%) จะมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ (23% และ 25% ตามลำดับ) ส่วนในประเทศที่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์สูงก็จะมีการแชทในปริมาณที่ต่ำ สะท้อนถึงผลทางการทดแทนของกิจกรรมออนไลน์ 2 ประเภทนี้

งานวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ไอดีซีได้จัดทำขึ้นทั่วโลกภายใต้ชื่อ ConsumerSpace 360° ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในทุกวันนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน 4 คนจาก 10 คนนั้นใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ตัวนี้เป็นประจำ

ซึ่งการเติบโตเช่นนี้มีให้เห็นในทุกภูมิภาค โดยในช่วงเวลาเพียงแค่หนึ่งปี ตัวเลขของผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทั้งในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว อย่างในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในตลาดเกิดใหม่เช่นประเทศบราซิล รัสเซีย หรือแม้กระทั่งอินเดีย

“เกาหลีใต้คือประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุด จำนวนของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกวันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว ส่วนในประเทศจีนถึงแม้อัตราการเติบโตในส่วนนี้จะไม่สูงนัก แต่ก็เป็นประเทศที่มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเป็นประจำทุกวันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในบรรดา 21 ประเทศที่เราได้ทำการสำรวจเลยทีเดียว” กล่าวโดยนางคิตตี้ ฟก รองประธานฝ่าย End-User Research & Statistics ประจำประเทศจีนของไอดีซี

ไอดีซีได้จัดทำการวิจัยและการสำรวจ ใน 5 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันประกอบไปด้วยประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้อยู่ก่อนแล้ว และกำลังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และรวมถึงประเทศไทยด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากการศึกษาตลาดโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซียังชี้ให้เห็นอีกว่า การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนในไตรมาสแรกของปี 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด โดยประเทศจีนและเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดถึง 377% และ 152% ตามลำดับ

การวิจัยและการสำรวจ Consumerscape 360° ของไอดีซีได้ให้นิยามและแบ่งประเภทของผู้บริโภคออกเป็น 6 ประเภท ตามทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความสนใจ และความอ่อนไหวต่อราคาในกลุ่มสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบไปด้วย กลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยี (Tech Evangelist) กลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่ (Impulse Buyer) กลุ่มผู้ซื้อที่ซื้อจากประสบการณ์ (Experiential Adopter) กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นประโยชน์ใช้สอยจริง (Pragmatic Purchaser) กลุ่มผู้ซื้อที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (Green Buyer) และกลุ่มผู้ซื้อที่มีทั้งความสนใจและรายได้ต่ำ (Disengaged Functionalist) โดยมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 42,000 คนทั่วโลกในทุกๆ ปี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ สินค้าและทุกๆ ภูมิภาค

ผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนั้นมีแนวโน้ม ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยีและกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อสินค้าออกใหม่ ไอดีซีได้ให้นิยามของกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนโลยี ว่าเป็นผู้บริโภคที่มีการศึกษาและรายได้สูง มีความสนใจและมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก รวมถึงมีลักษณะเป็นผู้นำทางความคิดที่มักมีผู้บริโภครายอื่นๆ มาขอคำแนะนำเสมอ ในขณะที่นิยามของกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่มีรายได้ที่ใช้จ่ายได้สูง และมักซื้อสินค้าที่ตนเองถูกใจโดยที่ไม่จำเป็นต้องทดลองใช้หรือขอความเห็นจากผู้อื่น โดยเกือบครึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นผู้บริโภคใน 2 กลุ่มนี้คือผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวัน ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และนั่นทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้กลายเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของการใช้การเชื่อมต่อแบบพกพาทุกวันนั่นเอง

View :1713

ไอบีเอ็มเปิดตัว "Social Business" กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจ สู่สังคมออนไลน์

March 17th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มตอกย้ำผู้นำตลาด ส่งซอฟต์แวร์จัดการคลังข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างชาญฉลาด พร้อมเครื่องมือสู่สังคมออนไลน์
ช่วยองค์กรกลั่นกรองข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

ไอบีเอ็มเปิดตัว “Social Business” กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจ สู่สังคมออนไลน์ และช่วยบริหารจัดการคลังข้อมูลในองค์กร นำเสนอซอฟต์แวร์ บริการ และทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ มาวิเคราะห์และใช้สนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ พร้อมปฏิรูปการดำเนินงานและรองรับกระบวนการต่างๆ จากอุปกรณ์พกพาหลากหลายSmart Phone หลากหลายประเภท

นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า
“ไอบีเอ็มได้เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับ Social Business โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการผสานรวมข้อมูลเชิงลึกทางด้านธุรกิจจากระบบวิเคราะห์ข้อมูลและ นำสู่สังคมออนไลน์ที่มีความปลอดภัยขั้นสูงของไอบีเอ็ม
ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ การกำกับใช้ข้อมูลหรือ Data Governance
และนำเข้าสูการจัดเก็บในคลังข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวิเคระห์ข้อมูลเชิงธุรกิจได้ พร้อมกันนี้ไอบีเอ็มมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด คือ Netezza ซึ่งเป็น all in one ฮาร์ดแวร์ที่มีซอฟต์แวร์พร้อมใช้งานแล้ว (Appliance) สามารถใช้ในจัดทำคลังข้อมูลโดยเฉพาะ และนำมาวิเคระห์กลั่นกลองข้อมูลเชิงธุรกิจที่ให้ผลเชิงลึกได้รวดเร็ว ตั้งแต่ 10-100 เท่า เมื่อเทียบกับระบบเดิม อีกทั้งยังสามารถติดตั้งและใช้งานได้ง่าย รวดเร็วจากเดือนเป็นวัน โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ปัจจุบันจำนวนคนที่ใช้เครือข่ายทางสังคมได้ทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งภาคธุรกิจได้เห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้งาน ทำให้ซอฟต์แวร์ทางสังคมเป็นเครื่องมือสำคัญทางด้านธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปรับปรุงทุกแง่มุมของการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่กิจกรรมด้านการตลาด บริการลูกค้า งานขาย ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทรัพยากรบุคคล วันนี้ไอบีเอ็มได้เปิดตัวกรอบโครงสร้างใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นรุ่นอนาคตที่สนับสนุนการใช้งานทางด้านสังคม พร้อมทั้งแนะนำซอฟต์แวร์ใหม่ที่จะช่วยให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวกลายเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ไอบีเอ็มกำลังปรับเปลี่ยนกล่องอินบ๊อกซ์ด้วย “Activity Steam” ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถแสดงและโต้ตอบกับเนื้อหาจาก Twitter, LinkedIn, Facebook, SAP, Microsoft และแพลตฟอร์มอื่นๆ ควบคู่ไปกับเนื้อหาของบริษัท
ไอบีเอ็มพยายามที่จะผนวกรวม Activity Stream เข้ากับแพลตฟอร์มด้านการประสานงานร่วมกันทางสังคมรุ่นอนาคตของไอบีเอ็มที่มีระบบความปลอดภัยสูงเหมาะกับการทำธุรกิจ โดยจะสามารถเข้าใช้งานได้จากอุปกรณ์พกพาสมาร์ทโฟน เช่น BlackBerry, Playbook, iPad, iPhone เพื่อช่วยให้บุคคลากรภายในองค์กรสามารถติดต่อและทำงานร่วมกันได้รวดเร็วและง่ายขึ้น เพราะผู้ใช้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสามารถใช้อีเมล์ Instant Mesaging, การประชุมผ่านเว็บและฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ทางสังคมอื่นๆเช่น Blog, Wiki, Activity

View :1524
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที ส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Social Media

November 4th, 2010 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ว่า หลังจากที่กระทรวงฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้บริการรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยได้ดำเนินกิจกรรมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมการออกแบบตราสัญลักษณ์ ( Logo) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และการ์ตูนสัญลักษณ์ ( Mascot) ของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย กิจกรรมออกแบบและจัดทำหน้า เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( e-Government Portal) กิจกรรมออกแบบและจัดทำต้นแบบจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Newsletter) รวมถึงกิจกรรมการสื่อสารข้อมูลการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ( ) ด้วย

“กระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยี Web 2.0 และการเกิดขึ้นของสื่อสังคมออนไลน์ ( Social Media) ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ที่ทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน จึงได้มีการนำสื่อสังคมออนไลน์ มาใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารข้อมูลการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Government โดยการเปิดให้บริการ Thailand e-Government Fan Page ผ่านเว็บไซต์ Facebook.com เพื่อ เป็นช่องทางใหม่สำหรับประชาชนในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การบริการออนไลน์ของภาครัฐ และสาระความรู้ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในวงกว้าง ซึ่งช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายนที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ตั้งชื่อและโหวตชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ ( Mascot) ของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน Thailand e-Government Fan Page เพื่อลุ้นรับรางวัลเป็นโน้ตบุ๊ค Sony VAIO รุ่น W Series ซึ่งชื่อการ์ตูนที่มีผู้ส่งเข้าประกวดนั้น กระทรวงฯ ได้มีการคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 ชื่อ แล้วเปิดให้ประชาชนเข้ามาโหวตในช่วงเดือนกันยายน 2553 เพื่อให้ได้ชื่อที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดมาใช้เป็นชื่อของการ์ตูน สัญลักษณ์ โดยชื่อ “ คุณยินดี ” เป็นชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดจากประชาชน และกระทรวงฯ จะได้นำชื่อ “คุณยินดี” มาใช้เป็นตัวแทนแนะนำบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารการให้บริการออนไลน์ของภาครัฐไป สู่ประชาชน” นางจีราวรณ กล่าว

สำหรับ รายชื่อผู้โชคดีที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงฯ และได้รับรางวัล คอมพิวเตอร์ Sony VAIO รุ่น W Series มี 3 รางวัล ได้แก่ 1. รางวัลผู้ส่งชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ฯ ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ นายพัทธวัชร์ กิตติโรจนสิทธิ์ 2. รางวัลผู้ร่วมโหวตและแชร์ชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ฯ คือ นางสาวเพียงศุภรักษ์ กันธปัญญา และ 3. รางวัลผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการสมัครรับจดหมายข่าว e-Government Newsletter คือ นายนพดล วุฒิวระวงศ์

“กระทรวงฯ หวังว่ากิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ นี้ จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร และเข้ามาใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิก Thailand e-Government Fan Page บน Facebook.com เพียงคลิก “Like” หรือ “ ถูกใจ ” ที่ http://www.facebook.com/egovthai ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 3,182 คนแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ e-Government ผ่าน Twitter ได้ที่ http://twitter.com/eGovThailand ” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1575
Categories: Press/Release Tags: ,

รมว.ไอซีที เปิดโครงการ สาธิตการใช้งาน Social Network สำหรับ ส.ว.-ส.ส.

October 20th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการสาธิตการใช้งาน สำหรับสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 กิจกรรม ครั้งนี้เป็น กิจกรรมที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำหรับงานด้านการเมืองการปกครองของสมาชิกรัฐสภาและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้มีการออกบูธนิทรรศการตั้งแต่วันที่ 19-29 ตุลาคม 2553 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.และวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 09.30 น. ได้จัดให้มีการสาธิตการใช้งาน ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถนำเอา ไปพัฒนาใช้กับงานในชุมชน รวมทั้งใช้เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการสื่อสาร อันเป็นการลดช่องว่างระหว่างประชาชนและสมาชิกรัฐสภาได้

View :1524
Categories: Press/Release Tags: ,