Archive

Posts Tagged ‘Social Network’

เอไอเอส เผยยอดผู้ส่งความสุขปี’56 ผ่านเครือข่าย social network พุ่งสูงกว่าปกติถึง 300%

January 3rd, 2013 No comments

2 มกราคม 2556 : นายปรัธนา ลีลพนัง รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เปิดเผยถึงพฤติกรรมการส่งความสุขและอวยพรปีใหม่ผ่านเครือข่ายมือถือ ว่า “การอวยพรปีใหม่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงได้รับความนิยมและขยายรูปแบบการส่งที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นตามพัฒนาการของเทคโนโลยีแห่งโลกของ Online และ โดยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายก็คือ
- การอวยพรและการสื่อสารผ่านโลก Online บน ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Application อย่าง , LINE และ What’s App สูงขึ้นถึง 300% เมื่อเทียบกับปกติ โดยรูปแบบจะเป็นการส่งความสุขปีใหม่ในกลุ่มเพื่อนสนิท หรือ ผู้ที่อยู่ใน Community เดียวกัน โดยเฉพาะ Sticker Line น้องอุ่นใจธีมอวยพรปีใหม่ มีการส่งมากกว่า 3 ล้านครั้ง ในช่วงคืนวันปีใหม่
- SMS / MMS ยังคงมีการใช้อวยพร ส่งความสุขปีใหม่อย่างกว้างขวางในรูปแบบที่เป็นทางการจากคนรู้จักที่มิใช่กลุ่มเพื่อนสนิทใน Community เดียวกัน ทั้งนี้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 – 1 มกราคม 2556 มีปริมาณการส่ง SMS จำนวน 80 ล้าน ครั้ง MMS จำนวน 1.5 ล้านครั้ง
- เริ่มเห็น Trend การใช้งานเชิง CRM ที่ชัดเจนขององค์กรธุรกิจบริการต่างๆ ที่มีการใช้ SMS/MMS สื่อสาร อวยพรฐานลูกค้าของตัวเองมากยิ่งขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
และจากการที่เอไอเอส ได้มีการเตรียมความพร้อมเครือข่ายให้สามารถรองรับการใช้งานดังกล่าวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้การส่งความสุขของลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด จึงทำให้ลูกค้า เอไอเอสทุกท่านสามารถส่งความสุข และอวยพรปีใหม่กันได้ในแบบที่ตัวเองต้องการอย่างไร้ข้อจำกัด

หมายเหตุ :
-ปริมาณ SMS โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5 ล้านข้อความ/วัน และปริมาณ MMS โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 แสนข้อความ/วัน ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2555

View :1475

ก.ไอซีที แนะวิธีหลีกเลี่ยงภัยจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะ Impersonation

August 6th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า การเกิดขึ้นของสังคมเครือข่าย () เช่น , hi5, twitter ได้ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ ในลักษณะของการ “บอกต่อ” หรือ “ปากต่อปาก” ที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งได้ ทำให้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการกำหนด และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยทั้งที่เป็นผู้รับสารรวมถึงผู้บริโภคมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว ยังมีผู้ไม่ประสงค์ดีที่ใช้ไปในทางไม่เหมาะสม เช่น การเผยแพร่ข้อมูล เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคล สถาบัน หรือก่อความไม่สงบ โดยปัจจุบันมีภัยจากเครือข่ายสังคมออนไลน์รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากการที่มิจฉาชีพสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ปลอมเพื่อหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวเป็นของผู้นั้นจริง โดยผู้ที่ทำการลอกเลียนแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น จะพยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้มีรูปลักษณ์คล้ายกับของผู้ที่ถูกทำ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการคนอื่นเข้าใจผิดว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้ที่ถูกทำฯ ซึ่งอาจส่งกระทบในทางลบทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตประจำวัน

ดังนั้น เมื่อประสบภัย Impersonation วิธีการปฏิบัติ คือ หากเป็นผู้ที่ถูกกระทำ Impersonation ใน twitter ที่จะมีคนติดตาม หรือ Follow ซึ่งระบบนี้จะมีกล่องข้อความแจ้งชื่อผู้ติดตามให้ทราบ โดยผู้ที่ถูกกระทำไม่ควรยกเลิกการแสดงข้อความดังกล่าว เพราะจะเป็นหลักฐานว่ามีใครบ้างที่ติดตามเรา ซึ่งปกติแล้วผู้ที่กระทำ Impersonation จะทำการติดตามผู้ที่ถูกกระทำ Impersonation เพื่อสังเกตพฤติกรรมและคอยติดตามลักษณะการพูดคุยและการดำเนินชีวิตประจำวันบนโลกออนไลน์ของบุคคลดังกล่าว ซึ่งข้อความเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้

ส่วนผู้ที่ถูกทำ Impersonation ในเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่น ควรดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐานทันที เมื่อทราบว่ามีผู้กระทำ Impersonation โดยอ้างอิงชื่อเรา หลังจากดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐานเรียบร้อยแล้ว ควรจะแจ้งให้ผู้ใช้อื่นที่ติดตามเราในเครือข่ายทราบว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ดังกล่าวไม่ใช่ตัวตนของเราพร้อมแจ้งให้ทราบว่าการสนทนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นการสนทนาของเรา

จากนั้นดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เช่น สำนักป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย และให้หน่วยงานดังกล่าวดำเนินการออกหนังสือในการยื่นคำร้องขอ IP Address จากทางบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นหนึ่งในหลักฐานในการสืบหาตัวผู้กระทำผิดและเป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

View :1485

ไอดีซีระบุ การใช้แชทและโซเชียลเน็ตเวิร์คทุกที่ทุกเวลา คือตัวกระตุ้นความต้องการในการเชื่อมต่อแบบพกพาในระดับที่สูงขึ้น

June 27th, 2011 No comments

ที่สิงคโปร์ 22 มิถุนายน 2554 – ไอดีซี บริษัทวิจัยตลาดชั้นแนวหน้าของโลกเปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานของผู้ที่ท่องโลกออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน โดยพบว่าพฤติกรรมยอดนิยมอันดับ 1 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเกือบทุกประเทศทั่วโลก คือการแชท และ การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ () ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ () ในฐานะช่องทางในการทำการตลาดอีกด้วย

โดยในประเทศที่ความนิยมในการแชทของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีสูง เช่นประเทศจีน (64%) และนิวซีแลนด์ (40%) จะมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับต่ำ (23% และ 25% ตามลำดับ) ส่วนในประเทศที่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์สูงก็จะมีการแชทในปริมาณที่ต่ำ สะท้อนถึงผลทางการทดแทนของกิจกรรมออนไลน์ 2 ประเภทนี้

งานวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคที่ไอดีซีได้จัดทำขึ้นทั่วโลกภายใต้ชื่อ ConsumerSpace 360° ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ในทุกวันนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน 4 คนจาก 10 คนนั้นใช้สมาร์ทโฟนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 60% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเท่านั้นที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ตัวนี้เป็นประจำ

ซึ่งการเติบโตเช่นนี้มีให้เห็นในทุกภูมิภาค โดยในช่วงเวลาเพียงแค่หนึ่งปี ตัวเลขของผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวัน ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวทั้งในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว อย่างในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในตลาดเกิดใหม่เช่นประเทศบราซิล รัสเซีย หรือแม้กระทั่งอินเดีย

“เกาหลีใต้คือประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่สุด จำนวนของผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกวันนั้นเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าตัว ส่วนในประเทศจีนถึงแม้อัตราการเติบโตในส่วนนี้จะไม่สูงนัก แต่ก็เป็นประเทศที่มีผู้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเป็นประจำทุกวันเป็นจำนวน 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในบรรดา 21 ประเทศที่เราได้ทำการสำรวจเลยทีเดียว” กล่าวโดยนางคิตตี้ ฟก รองประธานฝ่าย End-User Research & Statistics ประจำประเทศจีนของไอดีซี

ไอดีซีได้จัดทำการวิจัยและการสำรวจ ใน 5 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันประกอบไปด้วยประเทศออสเตรเลีย จีน อินเดีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้อยู่ก่อนแล้ว และกำลังขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และรวมถึงประเทศไทยด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากการศึกษาตลาดโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซียังชี้ให้เห็นอีกว่า การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนในไตรมาสแรกของปี 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด โดยประเทศจีนและเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดถึง 377% และ 152% ตามลำดับ

การวิจัยและการสำรวจ Consumerscape 360° ของไอดีซีได้ให้นิยามและแบ่งประเภทของผู้บริโภคออกเป็น 6 ประเภท ตามทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความสนใจ และความอ่อนไหวต่อราคาในกลุ่มสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อันประกอบไปด้วย กลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยี (Tech Evangelist) กลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่ (Impulse Buyer) กลุ่มผู้ซื้อที่ซื้อจากประสบการณ์ (Experiential Adopter) กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นประโยชน์ใช้สอยจริง (Pragmatic Purchaser) กลุ่มผู้ซื้อที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (Green Buyer) และกลุ่มผู้ซื้อที่มีทั้งความสนใจและรายได้ต่ำ (Disengaged Functionalist) โดยมีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริโภคจำนวน 42,000 คนทั่วโลกในทุกๆ ปี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ สินค้าและทุกๆ ภูมิภาค

ผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวันนั้นมีแนวโน้ม ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนยีและกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อสินค้าออกใหม่ ไอดีซีได้ให้นิยามของกลุ่มกูรูผู้เผยแพร่เทคโนโลยี ว่าเป็นผู้บริโภคที่มีการศึกษาและรายได้สูง มีความสนใจและมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก รวมถึงมีลักษณะเป็นผู้นำทางความคิดที่มักมีผู้บริโภครายอื่นๆ มาขอคำแนะนำเสมอ ในขณะที่นิยามของกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มักซื้อหาสินค้าออกใหม่คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองที่มีรายได้ที่ใช้จ่ายได้สูง และมักซื้อสินค้าที่ตนเองถูกใจโดยที่ไม่จำเป็นต้องทดลองใช้หรือขอความเห็นจากผู้อื่น โดยเกือบครึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นผู้บริโภคใน 2 กลุ่มนี้คือผู้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนทุกวัน ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และนั่นทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้กลายเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องของการใช้การเชื่อมต่อแบบพกพาทุกวันนั่นเอง

View :1713

จามจุรีเกมส์ไฮเทค ใช้ Social Network Phone ของ SPRiiiNG จัดแข่งขัน

January 15th, 2011 No comments

กระแสการใช้ จากโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเรื่องใหม่และเปลี่ยนแปลงการสื่อสารของโลกปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง นักธุรกิจแชทกันผ่านเครือข่ายตกลงธุรกิจระหว่างกัน วัยรุ่นแชร์ไฟล์ หรือรูปภาพขึ้น เว็บไซต์หาเพื่อนชื่อดังเพื่อให้กลุ่มเพื่อนตัวเองรู้ว่าไปทำอะไรมา โดยที่เพื่อนทั้งหลายก็มาพูดคุยสนุกสนานกันได้ต่อแม้จะอยู่ที่ไหนในโลกก็ตาม ฯลฯ โลกของการสื่อสารยุคใหม่หมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจริงๆ

นอกจากชีวิตทั่วไปจะถูกกระแสการเปลี่ยนแปลงโหมกระหน่ำแล้ว โลกของกีฬาก็ได้ปรับตัวและนำ Social Network มารับใช้อย่างเต็มตัว ถ้าจะบอกว่า หรือกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 15-22 มกราคมนี้ คือมิติใหม่ของการแข่งขันกีฬาที่มี Social Network เข้ามาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลัก และเป็นครั้งแรกทั้งของไทยและของโลก คงจะไม่ดูเกินเลยไป

จุฬาฯ ขอเปิดซิงเจ้าแรกของโลก

ใช้ Social Network สื่อสาร

หากย้อนกลับไปที่การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์เป็นเจ้าภาพเมื่อหลายปีก่อน ที่แห่งนี้เคยเป็นจุดกำเนิดของการนำเพจเจอร์ ที่เป็นระบบส่งข้อความสั้นผ่านระบบรวมจากศูนย์กลาง มาเป็นจุดกระจายข่าวสารไปยังเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หลังจากที่ระบบสื่อสารด้วยเพจเจอร์สิ้นยุคไปด้วยการแทนที่ของโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสารที่เป็นหลักกลับยังเป็นเครื่องวอล์คกี้ทอล์คกี้ที่มีข้อจำกัดมากมายแต่ยังคงจุดเด่นที่ความมีเสถียรภาพในการสื่อสารแบบกลุ่มนั่นเอง

มาถึงยุคปัจจุบัน Social Network ที่รวบรวมการนำเทคโนโลยีต่างๆ มากมายมาประยุกต์ใช้ ได้ทำให้การสื่อสารของคนไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐานรองรับ โปรแกรมแอพพลิเคชันมากมายจะทำให้ผู้ที่ใช้ไร้พรมแดนไร้ข้อจำกัด สิ่งเดียวที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือ เครื่องมือที่พกพา Social Network ไปกับตัว

ในบรรดาเครื่องมือทั้งหมด สิ่งที่พบเห็นกันมากที่สุดก็คือ โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือยุคใหม่ที่เรียกว่า Smart Phone เพราะโทรศัพท์จำพวกนี้มีระบบปฏิบัติการที่เอื้อต่อการสื่อสารยุคใหม่ ทั้งระบบโทรศัพท์ ระบบแชร์ไฟล์ภาพ เสียง วิดีโอ ฯลฯ ระบบ Chat และอื่นๆ แต่โทรศัพท์แต่ละรุ่นแต่ละแบบก็มีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป กลายเป็นจุดขายที่ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้

แต่สำหรับการนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬาระดับประเทศ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยต้องถือว่าขนาดของการแข่งขันนั้นไม่ได้เล็กแต่อย่างใดเลย เพราะมีตัวแทนการแข่งขันจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม มีสถานที่และสนามแข่งจำนวนมากที่ต้องสื่อสารระหว่างกัน

โจทย์ใหญ่ของระบบการสื่อสารในการแข่งขันกีฬาแบบเดิมๆ ที่เกิดขึ้นคือ ระบบที่สามารถทำได้คือ การรายงานจากจุดต่างๆ จากหนึ่งจุดเข้าไปที่ศูนย์กลาง และศูนย์กลางจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการสื่อสารต่อจุดไปยังจุดที่เกี่ยวข้อง โดยที่จุดอื่นๆ จะไม่สามารถรับทราบ หรือเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้เลย

แม้กระทั่งการสื่อสารผ่านระบบวอล์คกี้ทอล์คกี้ ที่แม้จะพยายามจะทลายกำแพงปัญหานี้ แต่ทั้งข้อจำกัดจากการสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว และข้อจำกัดทางด้านคลื่นที่สั้นทำให้ระยะทางการสื่อสารมีข้อจำกัด ทำให้กำแพงของปัญหาถูกแก้ไขได้แค่เพียงบางส่วนเท่านั้น

ใช้ Social Network ทลายกำแพง

ตอบโจทย์การสื่อสารทุกรูปแบบ

หากบอกว่าโจทย์เหล่านี้มือถือยุคใหม่อย่าง SPRiiiNG ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาให้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินเลยแต่อย่างใด

บริษัท สปริง เทเลคอม ผู้ผลิตแพลตฟอร์ม SPRiiiNG ที่โดดเด่นในด้านการ Chat โดยมีโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ซึ่งเป็น The Social Network Phone ตัวจริงของโลกตัวแรกได้เริ่มเปิดตลาดในเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคมนี้ ได้กระโดดเข้ามาสนับสนุนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 38 หรือจามจุรีเกมส์ โดยมุ่งมั่นว่าสิ่งที่สนับสนุนครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการสื่อสารในการแข่งขันกีฬา และในชีวิตประจำวันของคนไทยต่อไป

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือ จะมีอาสาสมัครจากนิสิตจุฬาฯ กว่า 100 ชีวิต ห้อยคอด้วยโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG พร้อมซิลิโคนใสสีชมพู แสดงความเป็นจุฬาได้อย่างชัดเจน และทั้งหมดจะสื่อสารกันผ่านระบบ SPRiiiNG ที่จะทำให้การแข่งขันครั้งนี้ราบรื่นที่สุด

ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ อาสาสมัครสามารถเข้าสู่ระบบ Chat ของ SPRiiiNG พูดคุยกับทั้งศูนย์กลางและสื่อสารกันเองจากบุคคลสู่บุคคล หรือบุคคลสู่กลุ่มได้ หรือเป็นระบบ Many to Many หาใช่ระบบ One to One หรือ One to Many อีกต่อไป

ตัวอย่างการรายงาน เช่น การรายงานผลการแข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด อาสาสมัครที่อยู่สนามหนึ่ง เมื่อทราบผลการแข่งขันก็กดผลสกอร์ที่เกิดขึ้นส่งเข้าไปในกลุ่ม ทั้งศูนย์กลางและเจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถทราบผลสกอร์ดังกล่าวโดยทันที หรือการรายงานสภาพการจราจรภายในศูนย์แข่งขันกีฬา จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทันท่วงที

นอกจากการพิมพ์แบบ Chat แล้ว โทรศัพท์มือถือของ SPRiiiNG ยังทำให้อาสาสมัครสามารถส่งไฟล์เสียงผ่านเครือข่าย ส่งรูปเหตุการณ์ทั้งสำคัญทั้งภายในและภายนอกสนามเข้าสู่ศูนย์กลางและภายในกลุ่มอาสาสมัครด้วยกันเองได้ รวมถึงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวอย่างวิดีโอ ตัวอย่างเช่น อาสาสมัครอาจพบตั๋วผีเกิดขึ้นจากสนามแข่งขันบางแห่ง ก็สามารถส่งรูปของตั๋วผีดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้อาสาสมัครคนอื่นได้รับทราบเพื่อระวังป้องกันต่อไปได้

ระบบโทรศัพท์ SPRiiiNG ที่ใช้ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ ยังเน้นการใช้ Social Network อย่างเต็มรูปแบบ จากการที่อุปกรณ์ภายในเครื่องมี GPS ติดตั้งอยู่ในตัว เชื่อมต่อกับระบบแผนที่ของ Google ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.1 ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง ทำให้การใช้งานมีความทันสมัยอย่างมาก เพราะนอกจากระบบศูนย์กลางจะสามารถเห็นตำแหน่งของทุกเครื่องจากหน้าจอแล้ว อาสาสมัครทุกคนก็มีข้อมูลนี้อยู่เช่นกัน ดังนั้นการสื่อสารเพื่อบอกกล่าวและจัดการปัญหาในจุดที่อาสาสมัครนั้นๆ ประจำอยู่จะทำได้ง่ายต่อการจัดการ และการวางแผนทั้งระบบอีกด้วย


SPRiiiNG ลดค่าใช้จ่ายจามจุรีเกมส์

พร้อมเปิดแคมเปญแรกเครื่องที่ 6 ราคา 1 บาท

สิ่งที่โทรศัพท์มือถือ Social Network ตัวจริงเชื้อสายไทยอย่าง SPRiiiNG รายนี้ได้ทำให้เห็นแล้วอย่างหนึ่งก็คือ การจัดการกับระบบ Chat เป็นกลุ่มที่มีมากกว่า 100 คน ที่เคยถือเป็นข้อจำกัดของระบบ Chat ของต่างชาติจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และรูปแบบการ Chat ที่เอื้อต่อคนไทย ใช้งานง่ายโดยสามารถเรียนรู้การใช้งานภายในครึ่งชั่วโมง (สำหรับคนที่ไม่เคยใช้งานระบบ Chat ในโทรศัพท์มือถือมาก่อน)

ที่สำคัญคือการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ระบบเสียงผ่านการโทรศัพท์ไร้สายตามปกติ มาเป็นระบบ Data หรือการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทน เพราะหากใช้ระบบโทรศัพท์ปกติจะเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อสารจำนวนมากตามมา ซึ่งเมื่อหันมาใช้ SPRiiiNG เป็นระบบสื่อสารโดยมีแพคเกจเฉพาะที่ทำไว้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลดลงกว่า 80%

ในการแข่งขันจามจุรีเกมส์ครั้งนี้ SPRiiiNG ได้จับมือกับ TRUE ในการให้บริการระบบ EDGE และ 3G ผ่านมือถือของ SPRiiiNG โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามผู้ใช้งาน SPRiiiNG โดยทั่วไปสามารถเข้าสู่ระบบ SPRiiiNG ด้วยแพคเกจอินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วไปในราคาไม่ถึง 120 ต่อเดือน

ยิ่งไปกว่านั้นจากกระแสอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงโทรศัพท์มือถือ SPRiiiNG อย่างร้อนแรง และมีความต้องการเป็นเจ้าของก่อนการเปิดตัวจำหน่ายจริงในปลายเดือนมกราคมนี้ ผู้ที่สนใจทุกท่านสามารถซื้อมือถือ SPRiiiNG รุ่น Smile ในราคา 5,990 บาท จากราคา 6,850 บาท และหากซื้อพร้อมกันจำนวน 5 เครื่อง สามารถซื้อเครื่องที่ 6 ได้ในราคา 1 บาท โดยจำกัดช่วงโปรโมชั่นนี้ถึงวันที่ 22 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่การแข่งขันจามจุรีเกมส์จบสิ้นลง โดยสามารถหาซื้อได้ที่บูทของ SPRiiiNG ด้านข้างของสนามฟุตบอลจุฬาฯ หรือสนามจุ๊บ

View :1431

แซสเผยผลสำรวตหลายบริษัทมองข้ามสื่อสังคม

November 25th, 2010 No comments

การสำรวจของ เผย สื่อสังคมมีศักยภาพอย่างมหาศาลแต่กลับถูกหลายบริษัทมองข้าม

แม้ว่าสื่อสังคมจะมีศักยภาพอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าหลายบริษัทจะยังคงใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมได้ไม่เต็มที่นัก สื่อสังคมไม่เพียงเป็นช่องทางในการรับฟังลูกค้าเท่านั้น แต่เรายังสามารถวิเคราะห์ การสนทนาและเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเราได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรยังคง ยึดติดกับกรอบเดิมๆ ที่ใช้สื่อสังคมในลักษณะของการรับข้อมูลทางการตลาดเพียงทางเดียว แทนที่จะใช้ประโยชน์ให้เต็มที่จากโอกาสที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตามตรวจสอบ วิเคราะห์ และเข้าร่วมในการสนทนานับล้านกับกลุ่มผู้บริโภค

จากการสำรวจบริษัทต่างๆ จำนวน 2100 แห่ง โดยมีบริษัท แซส ผู้นำในตลาดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจได้ให้การสนับสนุนการสำรวจในครั้งนี้ พบว่า

* 75% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจไม่ทราบว่า ลูกค้าที่สำคัญที่สุดกำลังพูดถึงบริษัทของเขาอยู่

* 31% ไม่เคยวัดประสิทธิภาพของสื่อสังคม

* มีเพียง 23% เท่านั้นที่ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์สื่อสังคม

* และ 7% กำลังผสานรวมสื่อสังคมเข้ากับกิจกรรมทางการตลาด

โดยรวมแล้ว บริษัทต่างๆ ยังคงพยายามค้นหาวิธีที่จะตรวจวัดและแสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมที่มี ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินงาน

ใช้งานอยู่แต่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทกว่าครึ่งที่ตอบแบบสำรวจกำลังใช้งานสื่อสังคมอยู่ มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่ทราบตำแหน่งที่อยู่ของลูกค้าที่คุณค่ายิ่งซึ่งกำลัง “พูดคุย” เกี่ยวกับตัวบริษัทอยู่ มีบริษัทเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่กำลังใช้เครื่องมือการวิเคราะห์สื่อสังคม และส่วนใหญ่ไม่มีความพยายามที่จะวิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดของลูกค้า มีเพียง 7% เท่านั้นที่กำลังพยายามผสานรวมสื่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดโดยรวม เช่น การบริหารจัดการแคมเปญ การวิเคราะห์ร้านค้าปลีก ซีอาร์เอ็ม และระบบธุรกิจอัจฉริยะ

“บริษัทต่างๆ กำลังเสียโอกาสในการทำตลาดให้กับผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการบริหารจัดการชื่อเสียงของตนด้วย” นายทอม ดาเวนพอร์ต นักเขียนชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ กล่าว “พวกเขาไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่กำลังพูดถึงแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตน และยังไม่สนใจความรู้สึกนึกคิดทั้งด้านบวกหรือลบ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่สามารถรับรู้ถึงอิทธิพลของบางคนที่กำลัง ชื่นชมหรือวิพากษ์วิจารณ์ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา อีกทั้งยังไม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกค้าจะเข้าใจในแบรนด์ของตนผ่านข้อความ วิดีโอ และอื่นๆ ที่สื่อออกไปหรือไม่ โดยสรุปแล้ว พวกเขากำลังจะสูญเสียโอกาสทางการตลาดไปนั่นเอง”

มุมมองกับบทพิสูจน์จากกลุ่มผู้ใช้

ดูเหมือนว่าองค์กรจำนวนมากจะให้ความสำคัญกับ “การส่งเสียง” มากกว่าจะทำความเข้าใจและ มีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับตัวพวกเขาเอง ครึ่ง หนึ่งของบริษัทที่ใช้สื่อสังคมมองเห็นถึงการตื่นตัวที่เพิ่มขึ้นขององค์กร และเห็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่า 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจคิดว่าสื่อสังคมใช้การได้ดี แต่ก็ยังมีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ในระดับต่ำอยู่ ขณะที่อีก 30% ต้องการเพิ่มการจราจรไปยังเว็บไซต์ของตน แต่มีเพียง 29% เท่านั้นที่รายงานว่ามีการเก็บรวบรวมและติดตามคำวิจาณ์ของลูกค้าทางออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายังมีข้อดีของสื่อสังคมอีกมากที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

แม้ว่า 23% จะยอมรับว่าสื่อสังคมช่วยพวกเขาติดตามตรวจสอบสิ่งที่กำลังถูกกล่าวถึงได้ แต่ก็มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่บอกว่าการวัดความถี่ของการสนทนาเกี่ยวกับองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในปัจจุบัน และมีเพียง 18% เท่านั้นที่สามารถระบุข้อคิดเห็นด้านบวกและลบได้

คุณประโยชน์ที่น่าสนใจ

เมื่อพิจารณาถึงอนาคต 36% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมีแผนจะนำการวิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดของลูกค้ามาใช้ในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า 33% กำลังวางแผนโซลูชั่นการติดตามตรวจสอบทางสังคม 27% ต้องการการวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ และ 26% จะวัดผลกระทบของการสนทนาออนไลน์ หลายรายหวังที่จะผสานรวมการติดตามตรวจสอบสื่อสังคมเข้ากับโซลูชั่นการตลาดอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจไม่เพียงแต่สิ่งที่กำลังถูกกล่าวถึงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงผู้ที่กำลังพูดและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 บริการด้านการวิเคราะห์ของ ฮาร์วาร์ด บิสิเนส รีวิว (Harvard Business Review Analytic Services) ได้ทำการสำรวจสมาชิกจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์และสมาชิกของนิตยสารฮาร์วาร์ด บิสิเนส รีวิว จำนวน 2100 รายผ่านทางการสำรวจออนไลน์ นอกจากนี้ ยังทำการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพอย่างละเอียดกับอีก 12 รายผ่านทางโทรศัพท์ด้วย สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ “More Than Talk: The Search for Impact and Analytics of Use” (มากกว่าพูด: การค้นหาผลกระทบและการวิเคราะห์การใช้สื่อสังคม) มีพร้อมให้บริการบนเว็บไซต์ของบริษัท แซส

สำหรับการเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้มีขึ้นในการประชุม The Premier Business Leadership Series ในลาสเวกัส ซึ่งเป็นงานประชุมนานาชาติที่จัดโดยบริษัท แซส ภายในงานมีผู้เข้าร่วมทั้งในภาครัฐและเอกชนกว่า 600 ราย ที่จะร่วมกันแบ่งปันความคิดและความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่สำคัญทางธุรกิจ

View :1706
Categories: Press/Release Tags: ,

ดีแทค ลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท ยกระดับดาต้าเน็ตเวิร์ก

September 10th, 2010 No comments

9 กันยายน 2553 – ดีแทค ลงทุนเพิ่มกว่า 1 พันล้านบาท เพื่อยกระดับความพอใจของลูกค้าในการใช้บริการดาต้าเน็ตเวิร์กทั่วประเทศ ทั้งยังตอบสนองต่อจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการดาต้าและการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

นายประเทศ ตันกุรานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าความต้องการในการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากแอพพลิเคชั่น เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก วิดีโอ และการใช้งานแบบมัลติมีเดียต่าง ๆ ได้รับความนิยมอย่างมาก อีกทั้งการสื่อสารในปัจจบันได้ค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบจากบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไปสู่โทรศัพท์มือถือ เมื่อรวมกับจำนวนของสมาร์ทโฟนในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณทราฟิกในดาต้าเน็ตเวิร์กของเราเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงกว่าที่เป็นมาในอดีตอย่างมาก

“ การเปิดตัว iPhone และ BlackBerry บนดาต้าเน็ตเวิร์กของดีแทค ทำให้ลูกค้าให้ความสนใจใช้บริการดาต้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งการใช้งานอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ทั้ง iPhone, BlackBerry หรือแอนดรอยด์นั้นจำเป็นต้องการแบนด์วิธมากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไปเพราะเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับดาต้าเน็ตเวิร์กตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้ดาต้าเน็ตเวิร์กที่ดีขึ้น ดีแทคจึงลงทุนอีกกว่า 1 พันล้านบาทเพื่อขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับการใช้งานให้ลูกค้าได้รับ บริการที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งมีการปรับกระบวนการขยายโครงข่ายให้รองรับรูปแบบการใช้งานที่เปลี่ยน ไปและจัดระบบตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานดาต้า เน็ตเวิร์กของลูกค้าได้ครอบคลุมทุกบริเวณตลอดเวลา ”

“ เราเห็นการใช้งานดาต้าที่เพิ่มอย่างรวดเร็วขึ้นจาก 1.6 Gbps เป็น 1.9 Gbps ภายหลังจากที่ได้นำอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่าง ๆ มาให้บริการในเน็ตเวิร์กของดีแทค และคาดว่าความต้องการใช้งานจะเติบโตต่อไปอีกอย่างน้อง 30-40% ก่อนจะถึงสิ้นปี ”

สำหรับการลงทุนครั้งนี้ ร้อยละ 60 คือการลงทุนเพื่อการขยายโครงข่ายทั้งหมดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้ และอีกร้อยละ 40 จะเป็นการปรับปรุงคุณภาพของเน็ตเวิร์กให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้งานสูงเป็นพิเศษ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ลูกค้าได้สัมผัสบริการด้านดาต้าที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น

“ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ลูกค้าดีแทคในหลาย ๆ พื้นที่จะได้สัมผัสกับดาต้าเน็ตเวิร์กของดีแทคที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยดีแทคจะขยายเน็ตเวิร์กต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า ซึ่งเฟสต่อไปนั้นอยู่ในช่วงของการวางแผนงาน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับประสบการณ์การใช้บริการดาต้าเน็ตเวิร์กที่ดีที่สุด ” นายประเทศกล่าว

นับจากต้นปี 2553 ซึ่งมีลูกค้าใช้งานดาต้าเน็ตเวิร์กของดีแทคอยู่ราว 3.2 ล้านคนต่อเดือน ปัจจุบันมีการใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 3.9 ล้านคนต่อเดือน และดีแทคเป็นผู้ให้บริการรายเดียวให้บริการดาต้าเน็ตเวิร์กบน EDGE 100%.

View :1501

ก.ไอซีที ใช้ Social Network ส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

August 6th, 2010 No comments

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีที ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ( ) ซึ่ง เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการผลักดันให้ภาครัฐนำเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การให้บริการประชาชน และภาคธุรกิจเอกชน โดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินงานทั้งในส่วนของการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภาครัฐ การจัดทำมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาระบบบริการและช่องทางการอำนวยความสะดวกในการให้บริการผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในรูปแบบของระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์( e-Services) และเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ( Portal) ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

“ใน การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะสะท้อนถึงความสำเร็จของการดำเนินการ ก็คือ การที่ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และใช้บริการดังกล่าวในชีวิตประจำวัน ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ และส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และมีประชาชนหันมาใช้บริการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินการภายใต้โครงการฯ นี้ ก็คือ การเปิดให้บริการ Thailand e-Government Fan Page บน เพื่อ เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร สารประโยชน์ และกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งใช้เป็นช่องทางสำหรับประชาชนในการสื่อสารข้อมูล ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริการ e-Government ของประเทศไทย ประชาชนที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิก Thailand e-Government Fan Page โดยคลิก “Like” หรือ “ ถูกใจ ” ในหน้า Thailand e-Government Fan Page บน ที่ http://www..com/egovthai ได้” นายสือ กล่าว

นอก จากนี้กระทรวงฯ ยังได้ดำเนินการออกแบบโลโก้และการ์ตูนสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นตัวแทน การให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ได้ และกระทรวงฯ ยังได้จัดกิจกรรมการประกวดตั้งชื่อการ์ตูนสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทาง Thailand e-Government Fan Page บน Facebook เพื่อลุ้นรับรางวัลเป็นโน้ตบุ๊ค SONY VAIO W SERIES ด้วย ซึ่งชื่อการ์ตูนที่มีผู้ส่งเข้าประกวดนั้น กระทรวงฯ จะมีการคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 ชื่อ แล้วเปิดให้ประชาชนเข้ามาโหวตในช่วงเดือนกันยายน 2553 เพื่อให้ได้ชื่อที่ประชาชน ชื่นชอบมากที่สุดมาใช้เป็นชื่อของการ์ตูนสัญลักษณ์ดังกล่าวต่อไป
“กระทรวงฯ หวังว่ากิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ ขึ้นนี้ จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการให้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้เข้ามาใช้บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่สนใจกิจกรรมดังกล่าวสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Thailand e-Government Fan Page บน Facebook ที่ http://www.facebook.com/egovthai ” นายสือ กล่าว

View :1712