Archive

Posts Tagged ‘SPI@ease’

ซอฟต์แวร์พาร์ค/สวทช.เร่งสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

January 29th, 2012 No comments

เพื่อวางรากฐานและยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างมีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลกอย่างมั่นใจ พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน ® จากวงการซอฟต์แวร์โลก

แถลงข่าวผลการดำเนินการโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟแวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 2 ( II) และการแสดงความยินดีมอบโล่เกียรติคุณให้กับบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration หรือ CMMI® โดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า

“เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้บริษัทข้ามชาติ และ ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ หันมามุ่งเน้นธุรกิจและกิจกรรมที่เป็น Core Business เป็นหลัก และเน้นการ Outsource งานในส่วนของ IT ออกไปมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาด IT Outsourcing ทั้งในและต่างประเทศโตขึ้น มาตรฐานการผลิตซอฟต์แวร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน ซึ่งในการเข้าไปรับงาน Outsource ทั้งตลาดภายในประเทศและเวทีโลก โดยเกณฑ์การคัดเลือก Supplier ที่สำคัญ ก็คือ CMMI®

ซึ่งหลายประเทศที่ต้องการมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นใน Global Outsourcing Market ที่กำลังโตขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาครัฐในประเทศต่างๆเร่งผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ให้ได้รับมาตรฐาน CMMI® มากขึ้น ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมและการประเมินตั้งแต่ 70%-100% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น เวียดนาม ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีบริษัทที่ผ่าน CMMI® มากกว่า 100 ราย ภายใน 4 ปี และมาเลเซีย ตั้งเป้าให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น 100 ราย

และจากผลสำรวจของบริษัทซอฟต์แวร์ในโครงการ SPI@ease Phase 1 พบว่าการสื่อสารภายในองค์กรและกับลูกค้าดีขึ้นมาก การประมาณการ (Estimate) แม่นยำมากขึ้น สามารถส่งมอบงานได้ตรงตามกำหนดเวลามากขึ้น ได้รับความเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก ยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น และลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การรับงานจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าโครงการ SPI@ease Phase 1 เป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทย สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถพัฒนาสายสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าให้ดีขึ้น พร้อมสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทาง สวทช.โดยซอฟต์แวร์พารค์ จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ จึงเปิดโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นรุ่นที่ 2 (SPI@ease II) หลังจากที่เปิดโครงการฯ รุ่นที่ 1 (SPI@ease I) เมื่อ 3 ปีที่แล้วประสบความสำเร็จและมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม โครงการฯ จำนวน 26 บริษัท และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 5 จำนวน 1 บริษัท

s Level 3 จำนวน 13 บริษัท

s Level 2 จำนวน 9 บริษัท

และโครงการฯ SPI@ease II (ยังไม่สิ้นสุดโครงการฯ) มีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม จำนวน 22 บริษัท ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 6 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 3 จำนวน 3 บริษัท

s Level 2 จำนวน 3 บริษัท

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรากำลังเป็นที่จับตามมองในวงการซอฟต์แวร์โลกจากการประกาศผลอย่างเป็นทางการล่าสุดจาก Software Engineering Institute (SEI) เมื่อเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทที่ผ่านการประเมิน CMMI® จัดเป็นอันดับ 2 ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งสิ้น 71 บริษัท และการที่ประเทศไทยจะปรากฏในแผนที่ซอฟต์แวร์โลกได้นั้น การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐในการขยายผลและต่อยอดโครงการ SPI@ease ใน Phase 2 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างรากฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับประเทศ พร้อมที่จะก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลกอย่างมั่นใจ”

นอกจาก CMMI® จะสร้างความน่าเชื่อถือในระดับประเทศ และบริษัทเองแล้วนั้น จากรายงานการสำรวจถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® ล่าสุดประจำปี 2008 โดย DACs หรือ Data Analysis Center for Software, ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® อย่างเป็น รูปธรรมมีดังต่อไปนี้

r ผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI เพิ่มขึ้น 3 เท่า

r ประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มขึ้น 39%

r ค่าใช้จ่ายในโครงการ ลดลง 30%

r Cycle Time ลดลง 38%

r ค่าความเบี่ยงเบนจากแผนการดำเนินงานลดลง 40%

r ลดการทำงานซ้ำซ้อน หรือ Rework ลงถึง 60%

r ลดจำนวนความผิดพลาด หรือ Defect ลง 50%

เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา Gartner ประกาศผลการจัดอันดับ Top 30 Countries for Offshore Services และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ติดอันดับ โดย Gartner ได้คัดเลือกและจัดอันดับจาก 72 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอย่างจริงจังในเรื่องมาตรฐานการผลิตและคุณภาพซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโต เข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยปักธงในเวทีซอฟต์แวร์ระดับสากล และ เริ่มมีส่วนแบ่งในตลาด Outsource เพิ่มขึ้น

View :1606
Categories: Software Tags: ,