Archive

Posts Tagged ‘VMWare’

เอชพีผนึกวีเอ็มแวร์เดินหน้าพัฒนา โซลูชั่นระบบ ความปลอดภัย Intrusion Prevention System – IPS รุ่นแรก รองรับการใช้งานแบบเวอร์ช่วล และคลาวด์

April 25th, 2011 No comments

เอชพี โดย นายศักดิ์ชาย ปัญญจเร (ขวา) ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ Networking กลุ่มธุรกิจ เอ็นเทอร์ไพรส์ บิสิเนส และ วีเอ็มแวร์ โดย ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ (ซ้าย) ผู้จัดการประจำประเทศไทย ประกาศ ความ ร่วม มือ พัฒนาและ นำเสนอโซลูชั่น Intrusion Prevention System – IPS รุ่นใหม่ ล่าสุด ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับสภาพแวดล้อมแบบเวอร์ช่วลและคลาวด์ โดยใช้เทคโนโลยี vSphere®

ความร่วมมือครั้งนี้ เป็น การพัฒนาต่อยอดจากความสำเร็จในการนำโซลูชั่น HP TippingPoint IPS ( Intrusion Prevention System ) ไปใช้ ในการทำงานร่วมกับ VMware vSphere ทั้งยังเป็นการต่อยอดจากกลยุทธ์ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) และถือเป็น การเปิดมิติใหม่ของการทำอินเทเกรชั่นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ เอชพีและวีเอ็มแวร์ยังประกาศความร่วมมือสนับสนุนการทำตลาดโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟ ต์ แวร์ที่ผนวกรวมเทคโนโลยี HP TippingPoint vController แอพพลิเคชั่น VMware vShield และระบบป้องกัน Edge เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ระบบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กรมี การทำงานที่ง่ายขึ้น โซลูชั่น HP TippingPoint IPS vController ที่ผนวกรวมกับโซลูชั่น VMware vShield จึงเป็นการผนวกรวมเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย firewall และ IPS เข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีประสิทธิภาพใน การรักษาความปลอดภัยทั้งในสภาพแวดล้อมแบบปกติและ แบบ เวอร์ช่วล

โซลูชั่นแบบผนวกดังกล่าวสนับสนุนเทคโนโลยีการป้องกันการบุกรุกที่ได้รับ การคิดค้นและพัฒนาโดย Digital Vaccine Labs (DVLabs) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของเอชพี ทั้งนี้ เทคโนโลยีป้องกัน การบุกรุกดังกล่าวจะมีฟิลเตอร์เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการบุกรุกและโจรกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ สำหรับในโลกของการสื่อสารเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :1866
Categories: Press/Release Tags: , ,

สิงเทลจับมือวีเอ็มแวร์ เปิดตัวโซลูชั่นคลาวด์แบบออนดีมานด์ ช่วยลูกค้าองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 73%

April 12th, 2011 No comments

บริษัท สิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (สิงเทล) ผนึกกำลังร่วมกับวีเอ็มแวร์ในการเปิดตัว PowerON Compute ที่ขับเคลื่อนด้วยบริการ vCloud® Datacenter Services

โซลูชั่นการประมวลผลไฮบริด คลาวด์ ( Hybrid Cloud ) ระดับองค์กรจะช่วยให้ลูกค้าสามารถอัพเกรดทรัพยากรไอที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากหรือรับมือกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดซื้อและจัดการเซิร์ฟเวอร์และ ระบบต่างๆ เพิ่มเติม และดังนั้นจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 73 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว บริษัทต่างๆ จะสามารถขยายทรัพยากของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบส่วนตัวที่มีอยู่ไปสู่ระบบคลาวด์สาธารณะที่ปลอดภัยของ PowerON Compute ได้อย่างไร้รอยต่อ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการติดตั้งและเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นอีกครั้ง นั่นหมายความว่าลูกค้าจะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้งแบบออนดีมานด์บนระบบสาธารณะโดยเสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งานจริง

องค์กรธุรกิจจะสามารถเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ด้วยความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรไอทีได้ทันทีภายในเวลาไม่กี่นาที แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการติดตั้ง นอกจากนี้ยังสามารถเปิดใช้งานได้ในแบบเรียลไทม์บนระบบควบคุมที่ครบวงจรผ่านทางพอร์ทัลออนไลน์ที่ใช้งานง่าย

นอกจากนั้น เครือข่ายไอพีระหว่างประเทศของสิงเทลจะช่วยให้ลูกค้าเข้าใช้แอพพลิเคชั่นและบริการต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น โดยครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง

VMware vCloud Datacenter Services นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานคลาวคอมพิวติ้งแบบไฮบริด โดยช่วยให้แผนกไอทีสามารถควบคุมระบบได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งยังสามารถตรวจสอบ จัดการ และคุ้มครองแอพพลิเคชั่นทั้งหมดในทุกสภาพแวดล้อม และผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจและการลดค่าใช้จ่าย โดยอาศัยระบบไฮบริดคลาวด์ที่ยืดหยุ่นผสานรวมเข้ากับระบบรักษาความปลอดภัยที่เปี่ยมด้วยเสถียรภาพการประมวลผลแบบ ออนดีมานด์ที่ยืดหยุ่น รองรับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายได้อย่างอิสระ

วีเอ็มแวร์และสิงเทลมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในประเด็นที่ว่าสภาพแวดล้อมคลาวด์จะต้องได้รับการปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อให้ สอดรับกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละองค์กร ซึ่งขัดกับความเชื่อทั่วไปของแวดวงอุตสาหกรรมไอทีที่ว่า “ ทุกองค์กรต้องการระบบคลาวด์ที่เหมือนกัน ” หรือ “one-cloud-fits-all” และยังช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไอทีที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ บริษัททั้งสองเชื่อว่าการโยกย้ายไปสู่ระบบคลาวด์ควรจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงทั้งระบบในคราวเดียวกัน และควรจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ใช้งานทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างยืดหยุ่นและปลอดภัยอีกด้วย

มร. บิล ชาง รองประธานบริหารกลุ่มธุรกิจของซิงเทล กล่าวว่า “ สิงเทลทำงานร่วมกับวีเอ็มแวร์ในการพัฒนา PowerON Compute เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้สามารถเปิดใช้งานทรัพยากรประมวลผลได้อย่างง่ายดายเหมือนกับการ เปิดก๊อกน้ำประปา PowerON Compute จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนย้ายการดำเนินงานไปสู่ระบบไฮบริดคลาวด์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย การควบคุมประสิทธิภาพ และลูกค้าจะเสียค่าใช้จ่ายตามปริมาณ การใช้งานจริงสำหรับทรัพยากรไอที ”
“ นอกจากนั้นยังช่วยรักษาเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานด้านไอทีแต่อย่างใด เทคโนโลยีของสิงเทลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความยุ่งยากซับซ้อนให้กับกระบวนการทำงาน ทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ สามารถโฟกัสที่กิจกรรมหลักๆ ทางด้านธุรกิจ และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากเลยทีเดียว ”
มร. พอล มาริทซ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของวีเอ็มแวร์ กล่าวว่า “ โซลูชั่น PowerON Compute ของ สิงเทลสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของวีเอ็มแวร์ในการจัดหาทรัพยากรไฮบริดคลาวด์ ให้แก่ลูกค้าเพื่อรองรับไอทีในรูปแบบบริการสำหรับผู้ใช้ ระบบไฮบริดคลาวด์ช่วยให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกใช้เทคโนโลยี โดยจะสามารถ ‘ ลากและปล่อย ’ แอพพลิเคชั่นระหว่างระบบคลาวด์หลายๆ ระบบ และจัดส่งแอพพลิเคชั่นดังกล่าวไปยังอุปกรณ์ประมวลผลทุกประเภท ทุกที่ ทุกเวลา ”

เกี่ยวกับสิงเทล ( SingTel )

สิงเทลเป็นเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของเอเชียที่นำเสนอหลากหลายบริการ รวมถึงโซลูชั่นด้านเสียงและข้อมูล บนเครือข่ายพื้นฐาน เครือข่ายไร้สาย และเเพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต พร้อมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเพย์ทีวี สิงเทลเปิดดำเนินงานในเอเชียและแอฟริกา โดยมีลูกค้ากว่า 383 ล้านรายใน 25 ประเทศ รวมถึงบังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย นอกจากนี้ยังมีสำนักงานสาขา 36 แห่งใน 19 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์ ( VMware)

วีเอ็มแวร์ นำเสนอโซลูชั่นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจแบบเวอร์ชวลไลเซชั่นและคลาวด์ ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายไอทีสามารถขับเคลื่อนธุรกิจทุกขนาดได้อย่างเหมาะสม ด้วยแพลตฟอร์มเวอร์ช่วลไลเซชั่นชั้นนำอย่าง VMware vSphere® ลูกค้า จึงวางใจวีเอ็มแวร์ในการช่วยลดต้นทุน และค่าใช้จ่ายในดำเนินการ รวมทั้งสร้างความมั่นใจด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพิ่มความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยรายได้ 2.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2553 ประกอบกับมีลูกค้ากว่า 250,000 ราย และพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 25,000 ราย วีเอ็มแวร์จึงเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากกลุ่มผู้บริหารซีไอโอ วีเอ็มแวร์มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.vmware.com

View :1216
Categories: Press/Release Tags: ,

อัตราการใช้คลาวด์ คอมพิวติ้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเติบโตรวดเร็วขึ้น

November 9th, 2010 No comments

วีเอ็มแวร์เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายธุรกิจและไอทีเกือบ 7,000 คนในเอเชีย-แปซิฟิก ชี้การปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกที่มองว่าเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง () มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเพิ่มขึ้นสองเท่าไปสู่ระดับ 83 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยระดับสูงสุด 92 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่นั่นตลาดไอทีมีการพัฒนาอย่างมาก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 6,953 คนในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งดำเนินการโดย Springboard Research ภายใต้การสนับสนุนของวีเอ็มแวร์ ชี้ว่า การปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์มีอัตราการขยายตัวรวดเร็วขึ้นใน 7 ตลาดทั่วเอเชีย-แปซิฟิกในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่

ปัจจุบัน 59 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในระดับภูมิภาคมีการใช้หรือวางแผนเกี่ยวกับระบบคลาวด์ เปรียบเทียบกับ 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว และ 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 องค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ โดย 36 เปอร์เซ็นต์ และ 31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ กำลังดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีคลาวด์ ส่วนอินเดียและจีนเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ในแง่ของแผนการปรับใช้ โดย 43 เปอร์เซ็นต์ และ 39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง

ในภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ (23 เปอร์เซ็นต์) นำหน้ามาเลเซียและไทยเล็กน้อย (21 เปอร์เซ็นต์ทั้งสองประเทศ) ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ แต่องค์กรในมาเลเซีย (39 เปอร์เซ็นต์) และไทย (39 เปอร์เซ็นต์) มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์ในสัดส่วนที่มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์

องค์กรที่มีความรู้ด้านไอทีมากที่สุด เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบริษัทเทคโนโลยี เป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต บริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน เป็นผู้นำด้านการปรับใช้ระบบคลาวด์ที่สัดส่วน 39 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับองค์กรที่มีพนักงาน 100 ถึง 999 คน ซึ่งมีอัตราการปรับใช้ 20 เปอร์เซ็นต์

เทคโนโลยีคลาวด์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีในรูปแบบบริการ
สัดส่วนสูงสุดขององค์กรในญี่ปุ่น (86 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (84 เปอร์เซ็นต์) และไทย (74 เปอร์เซ็นต์) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้ากับระบบไอทีในรูปแบบบริการ ขณะที่ในออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินเดีย บริษัทส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์, 78 เปอร์เซ็นต์ และ 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับแอพพลิเคชั่นออนดีมานด์ ส่วนในจีน 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะรองรับการจัดสรรทรัพยากรสตอเรจและเครือข่ายในแบบออนดีมานด์

มร.ไมเคิล บาร์น รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์และการวิจัยในเอเชีย-แปซิฟิกของ Springboard Research กล่าวว่า “สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิก ไอทีในรูปแบบบริการนับเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด บริษัทเหล่านี้กำลังมองหาผู้ขายและที่ปรึกษาที่สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อใช้ประโยชน์จากบริการไอทีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการระบบคลาวด์”

องค์กรส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ต้องการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนื่องจากความสามารถในการปรับขนาดตามความต้องการทางธุรกิจ และเหตุผลในอันดับรองลงมาได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และการเพิ่มความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากร/เซิร์ฟเวอร์

การประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยระยะสั้นสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสัดส่วน 57 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในเอเชีย-แปซิฟิก และมีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้ปรับใช้หรือมีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์สำหรับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งโดยมากแล้วเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน

ระบบคลาวด์แบบผสมผสานได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
บริษัทที่ต้องการปรับใช้ทั้งระบบคลาวด์สาธารณะและระบบคลาวด์ส่วนตัวคิดเป็นสัดส่วน 38 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่ราว 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าจะพิจารณาเฉพาะระบบคลาวด์ส่วนตัวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจธนาคารและหน่วยงานราชการ โดยระบบพับลิค คลาวด์ยังคงได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก ที่จริงแล้ว แม้กระทั่งในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การตอบรับต่อระบบคลาวด์ดีที่สุดจากการสำรวจในครั้งนี้ ก็ยังมีองค์กรเพียงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ต้องการใช้ระบบพับลิค คลาวด์

ในอาเซียน การยอมรับระบบคลาวด์แบบผสมผสานมีสัดส่วนที่สูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก

สตอเรจ (58 เปอร์เซ็นต์) ถือเป็นเวิร์กโหลดอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้สำหรับระบบไพรเวท คลาวด์ โดยญี่ปุ่น (62 เปอร์เซ็นต์) และจีน (61 เปอร์เซ็นต์) มีแนวโน้มที่จะปรับใช้สตอเรจบนระบบไพรเวท คลาวด์ ส่วนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรบนระบบคลาวด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่สัดส่วน 49 เปอร์เซ็นต์

ในแง่ของแผนการปรับใช้ 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การปรับใช้ระบบคลาวด์ในอนาคตจะครอบคลุมการประชุมผ่านเว็บ, IM, การทำงานร่วมกัน และอีเมล

มร.แอนดรู ดัทตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของ วีเอ็มแวร์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าแวดวงธุรกิจมีความสนใจเป็นพิเศษในระบบคลาวด์แบบผสมผสาน โดยสิ่งสำคัญก็คือ องค์กรต่างๆ ต้องการที่จะเข้าใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ รวมถึงรูปแบบการจัดการร่วมกันและบริการแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงระบบไพรเวท คลาวด์และพับลิค คลาวด์เข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอระบบคลาวด์ที่สามารถทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน รองรับการใช้งานข้อมูลและแอพพลิเคชั่นทุกที่ทุกเวลา”

ความท้าทายสำคัญสำหรับการปรับใช้ระบบคลาวด์คือเรื่องความปลอดภัย
การผนวกรวมเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับระบบที่ใช้งานอยู่ยังคงถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ ความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัย โดย 46 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุด

ในตลาดใหม่ ปัจจัยหลักที่ยับยั้งขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ก็คือ องค์กรต่างๆ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 44 เปอร์เซ็นต์ในจีน, 40 เปอร์เซ็นต์ในมาเลเซีย และ 40 เปอร์เซ็นต์ในไทย เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 36 เปอร์เซ็นต์

ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การใช้โซลูชั่นคลาวด์ที่อ้างอิงมาตรฐาน และการให้ความรู้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเอเชีย-แปซิฟิก

เวอร์ช่วลไลเซชั่นคือรากฐานของคลาวด์คอมพิวติ้ง
องค์กรต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก (59 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานเวอร์ช่วลไลเซชั่นคือส่วนประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง

ดัทตันอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีทั้งสอง โดยกล่าวว่า “เวอร์ช่วลไลเซชั่นช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแยกแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจและข้อมูลสำคัญๆ ออกจากระบบฮาร์ดแวร์ที่รองรับ และในทางกลับกัน ก็นับเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบคลาวด์ องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้กันมากขึ้น และพยายามที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนในเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลเซชั่น”

การปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราสูงที่สุดในออสเตรเลีย (87 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (82 เปอร์เซ็นต์) และเมื่อแบ่งตามภาคธุรกิจ จะพบว่ามีการปรับใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นในธุรกิจประกันภัยมากที่สุด (82 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยธุรกิจธนาคาร/บริการด้านการเงิน (76 เปอร์เซ็นต์)

ประเทศไทย (67 เปอร์เซ็นต์), สิงคโปร์ (65 เปอร์เซ็นต์) และมาเลเซีย (65 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยออสเตรเลียและญี่ปุ่นในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ในขณะที่ความแพร่หลายของ เวอร์ช่วลไลเซชั่นในอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

บริษัทส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิกใช้เวอร์ช่วลไลเซชั่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยหลายๆ องค์กรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อรองรับการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ

โอกาสการเติบโตที่สำคัญที่สุดสำหรับเวอร์ช่วลไลเซชั่นในเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะระบุว่าเดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นมีความสำคัญน้อยมากต่อภารกิจขององค์กร

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจได้รับประโยชน์ที่สำคัญจากแนวทางใหม่สำหรับระบบคอมพิวติ้ง ซึ่งมีการทำเวอร์ช่วลไลซ์เดสก์ท็อป ด้วยการแยกระบบปฏิบัติการ ข้อมูลส่วนตัว และแอพพลิเคชั่นออกจากกัน ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นและข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการบนทุกอุปกรณ์

ดัทตัน กล่าวว่า “เดสก์ท็อปเวอร์ช่วลไลเซชั่นรองรับการบริการตนเอง (self-service) สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก และนับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้องค์กรยุคใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างฉับไว”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ vForum ของวีเอ็มแวร์ และผลการสำรวจความคิดเห็นของ Springboard โปรดเยี่ยมชมพอร์ทัลสื่อประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของวีเอ็มแวร์
http://www.vmwareapjmedia.com/

View :1490
Categories: Press/Release Tags: ,