Archive

Archive for January, 2014

สวทช. เปิดรับสมัคร โครงการ “ เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 3”

January 27th, 2014 No comments

สวทช. ซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดรับสมัคร “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 3” ชิงรางวัลกว่า 8 แสน พร้อมต่อยอดไอเดีย สร้างธุรกิจทำเงิน

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดรับสมัครโครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปีที่ 3” ( Samart Innovation Award 2014 ) โดยโครงการดังกล่าว ฯ มีจุดประสงค์เพื่อ เฟ้นหา สุดยอดนักคิด นักพัฒนา นวัตกรรมต้นแบบ เพื่อสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ นำแนวคิดเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับการตลาดในปัจจุบันและผลักดันสู่ธุรกิจที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ผู้ที่มีไอเดียและผลงานโดดเด่น จะได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล Samart Innovation Award 2014 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักพัฒนารุ่นใหม่ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ(ไม่จำกัดระดับการศึกษา)


บุคคลทั่วไปคุณสมบัติ
มีไอเดียสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีและมีความมุ่งมั่นและพร้อมจะเตรียมตัวเป็นเจ้าของธุรกิจเทคโนโลยีอายุ20-35ปี


เงินรางวัล
รางวัลชนะเลิศ หรือ รางวัล Samart Innovation Award 2014 มูลค่า 200,000 บาท + ดูงานต่างประเทศ
รางวัลรองชนะเลิศ อีก 2 รางวัล คือ 100,000 บาท และ 50,000 บาท + ดูงานต่างประเทศ
รางวัลที่ 4 – 23 รับทุนเถ้าแก่น้อย ทุนละ 20,000 บาท

กิจกรรมโครงการ
อบรมพื้นฐานธุรกิจ (ระยะเวลาโครงการฯ 7เดือน ) พบที่ปรึกษากิจกรรม Workshop ทดสอบตลาด Idea to Market กิจกรรมพบนักลงทุนโดยพาออกสู่ตลาด/ประสานแหล่งเงินทุน


การสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่เว็บ http://www.samartsia.com/ ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2557

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร:02-583-9992 ต่อ 1510 , 1513 Email:thinkbic@nstda.or.thWebsite: www.nstda.or.th/bic

View :1203

Frost & Sullivan: Shift toward Integrated Solutions Key to Growth of Asia-Pacific Secure Content Management Market

January 27th, 2014 No comments

The IT convergence and information-centricity trends are driving the secure content management (SCM) market in Asia-Pacific as vendors in this space look to offer web and e-mail security as integrated rather than standalone solutions. The value offered by these converged solutions has encouraged cost-conscious enterprises in the region to adopt SCM.

New analysis from Frost & Sullivan (http://www.networksecurity.frost.com), Asia-Pacific CY2012, finds that the market earned revenues of US$675.1 million in 2012 and estimates this to reach US$1995.4 million in 2019. The research covers the e-mail and web security segments.

“With more firms looking to leverage the potential offered by the web, there is high demand for web security solutions that enable organizations to strike a fine balance between restricting and allowing web access for employees,” said Frost & Sullivan Information & Communication Technologies Research Analyst Vu Anh Tien. “Enterprises are particularly looking to better manage employee Web behavior, increase visibility, and obtain greater control over Web content.”

The rise of enterprise mobility trends such as bring your own devices and bring your own applications is intensifying the Web and e-mail security issues faced by companies across Asia-Pacific, thus making a stronger business case for SCM solutions. The greater threat exposure brought about by mobile devices that could become attack vectors or pose a higher risk due to human errors is compelling organizations to adopt these solutions.

“As a result, the SCM market in the region is veering towards integrated security solutions that not only prevent spam or block access to malicious websites, but also monitor Web and e-mail traffic in mobile devices to protect against data loss, advanced persistent threats, and distributed denial of service,” remarked Anh Tien.

However, the increasing convergence of security products that provide the full range of firewall, monitoring, and file sharing protection is decreasing the proportion spent on the e-mail and Web security segments. The saturation of the anti-spam market and the perception that anti-spam products are just basic, commoditized components of any security suite also limit the scope of the SCM market in the region.

Moreover, the lack of new innovation in recent years has caused the e-mail and Web security segments to be overshadowed by other security technologies in certain instances. As such, the onus is on content security vendors to widen the capabilities of their e-mail and Web security products to create greater value for customers and sustain growth in the Asia-Pacific SCM market.

View :1336

Further Growth of Big Data, Wearable Devices and B2B Online Retailing Lead the Pack of Global Trends that Will Shape 2014

January 27th, 2014 No comments

In 2014, will grow bigger, will become more abundant, and online retailing will become more prevalent amongst business-to-business.

New analysis from Frost & Sullivan (www.frost.com), Top 14 Ideas and Innovations for 2014, finds that the trends mentioned above are the top three key global game changers for 2014.

Big data is growing at a rate of 40 percent annually generating a massive pool of data offering valuable insights and opportunity for predictive analytics. This year will see increased activity from businesses in using this big data to offer personalized, customized and intelligent services that are more real-time or proactive, thus making its augmentation the top prediction of 2014.

“Virtualization of data and analytics will become imperative to businesses.” said Frost & Sullivan’s Visionary Innovation Team Leader and Senior Research Analyst Archana Vidyasekar. “Online retail giants, such as Amazon, have already launched interesting services, such as Amazon Kinesis, that analyses data in the real-time to offer customized services.”

Much like the first trend, wearable devices have already started to create a buzz that is only expected to become louder in 2014. Last year saw the launch of wearable smart gadgets, such as smart watches and Google Glass that emulated functions of a smartphone perfectly. While there is skepticism and hype surrounding this market, its potential in regards to new services, such as undisputed monitoring of health, has propelled these gadgets to the forefront of products to watch in the wellness industry. In fact, most of big technology and web companies are actively pursuing this market.

Finally, while e-Commerce has recently grown tremendously through B2C retail, many do not realize that there has been a massive upturn on in the past few years, contributing more to the e-commerce market than B2C.

“Electronic B2B that was traditionally comprised of conventional Electronic Data Interchange platforms with minimum choice of vendors and a costlier implementation system, is moving to the wider web of the internet toward online platforms that offer more choice, flexibility and price options,” said Vidyasekar.”These online platforms provide instant quotes, thus offering quicker responses and much more agile procurement and supply services.”

View :1202

ผู้ให้บริการมือถือ 11 ราย สมาชิก Bridge Alliance ร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่าย M2M” ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

January 27th, 2014 No comments

ผู้ให้บริการมือถือชั้นนำ 11 ราย ใน 11 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้ง “” (Machine to Machine) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เพื่อส่งมอบการให้บริการ M2M แบบครบวงจรในกลุ่มประเทศสมาชิก โดย Bridge M2M Alliance จะเป็นศูนย์รวมของบริการและโซลูชั่น M2M ที่หลากหลาย เพื่อร่วมกันส่งมอบประสบการณ์แบบ “One Stop Shop” ให้กับลูกค้าต่างๆ ของประเทศสมาชิก
สมาชิกของ Bridge M2M Alliance ประกอบไปด้วย Airtel – อินเดีย , AIS – ไทย , CSL – ฮ่องกง , Globe Telecom – ฟิลิปปินส์ , Maxis – มาเลเซีย , MobiFone – เวียดนาม , Optus – ออสเตรเลีย , SingTel – สิงคโปร์ , SK Telecom – เกาหลีใต้ , Taiwan Mobile – ไต้หวัน และ Telkomsel – อินโดนีเซีย โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมกันมากกว่า 500 ล้านราย ส่งผลให้เครือข่าย M2M มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

โดย Bridge M2M Alliance จะช่วยลดความซับซ้อนในการประสานงานกับผู้ให้บริการจำนวนหลายๆราย ด้วยการนำเสนอการส่งมอบบริการ M2M ที่ข้ามพรมแดนทางภูมิศาสตร์ในระดับภูมิภาค ให้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ นอกจากนี้สมาชิกกลุ่มเครือข่ายยังจะช่วยพัฒนาประสบการณ์ในการให้บริการลูกค้าผ่านการทำงานร่วมกัน เพื่อยกระดับการให้บริการและการดูแลลูกค้าด้วย

มร.อเลซซานโดร อาดริอานี CEO ของ กล่าวว่า “ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจสูงมาก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่หลากหลาย เป็นผลให้ธุรกิจข้ามชาติต่างๆพบว่าเป็นการยากมากที่จะนำความซับซ้อนของภูมิภาคเหล่านี้นำไปสู่การผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ดังนั้นพัฒนาการต่างๆของ ในธุรกิจ M2M จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ความมุ่งมั่นของทั้ง 11 บริษัทผู้ให้บริการมือถือ ที่ต้องการเอาชนะความท้าทายในการทำให้ธุรกิจของกลุ่มลูกค้าประสบความสำเร็จ”

พันธมิตรของ M2M ครอบคลุมธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ รถยนต์ , การรักษาความปลอดภัย , การจัดการพลังงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนาธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ การสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ และการลดต้นทุนในการดำเนินงานของลูกค้า ดังนั้นสมาชิกเครือข่ายจึงมุ่งมั่นในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ โดยการร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ M2M อาทิกลุ่มนักพัฒนา Application , กลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ และผู้ให้บริการต่างๆ

โดยสมาชิกเครือข่ายจะยังคงเดินหน้าร่วมมือกันเพื่อรักษาประโยชน์ในเชิงธุรกิจให้กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าประหยัด สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ การเป็นผู้นำในการให้บริการในแต่ละประเทศจะเป็นการยกระดับ และสนับสนุนบริษัทข้ามชาติต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในทวีปเอเชีย เช่นเดียวกับบริษัทต่างๆในเอเชียที่ต้องการขยายไปทั่วโลก

ทางด้าน นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “ความร่วมมือของกลุ่มพันธมิตรในระยะยาวครั้งนี้ ส่งผลให้เอไอเอสสามารถยกระดับและเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำเสนอบริการที่ดีกว่า และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ให้กับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ M2M ในระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ระดับโลกได้ ซึ่ง M2M ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่จะทำให้พวกเรากลุ่มสมาชิกมีการเจริญเติบโต อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามีความได้เปรียบในตลาดระดับภูมิภาค และทำให้ลูกค้าของเราสามารถก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค และมีบริการที่เป็นเลิศได้”

เกี่ยวกับ Bridge Alliance
Bridge Alliance ประกอบไปด้วยสมาชิกผู้ให้บริการมือถือจำนวนทั้งสิ้น 31 ราย ใน 31 ประเทศ ได้แก่ Airtel – อินเดีย, 17 ประเทศในทวีปแอฟริกา, บังคลาเทศ , AIS – ไทย , CSL – ฮ่องกง , CTM – มาเก๊า , Globe Telecom – ฟิลิปปินส์ , Maxis – มาเลเซีย , MobiFone – เวียดนาม , Optus – ออสเตรเลีย , SingTel – สิงคโปร์ , SK Telecom – เกาหลีใต้ , Taiwan Mobile – ไต้หวัน , Telkomcel – ติมอร์ เลสเต และ Telkomsel – อินโดนีเซีย

โดยมีลูกค้ารวมกันจำนวนทั้งสิ้น 570 ล้านราย และขยายจำนวนประเทศสมาชิกเพื่อทำให้เกิดความแข็งแกร่งของกลุ่มสมาชิก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาบริการข้ามแดนอัตโนมัติและโซลูชั่นต่างๆของลูกค้าองค์กร Bridge Alliance ดำเนินงานผ่านบริษัท Bridge Mobile Pte Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของสิงคโปร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ www.bridgealliance.com

View :1389

วีเอ็มแวร์ซื้อกิจการแอร์วอช (AirWatch)

January 27th, 2014 No comments

เพิ่มศักยภาพการบริการลูกค้าด้วยโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการจัดการของผู้ใช้อุปกรณ์ ประยุกต์ใช้บนเดสก์ท็อปและบนสภาพแวดล้อมของโทรศัพท์มือถือ

โชว์ผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2556 ขยายตัว 15%

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 27 มกราคม 2557 – วีเอ็มแวร์, อิงค์ (NYSE: VMW ) ผู้นำระดับโลกในด้านเวอร์ชวลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ประกาศการลงนามในข้อตกลงขั้นสุดท้ายที่ วีเอ็มแวร์จะเข้าซื้อกิจการของแอร์วอช (AirWatch) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นเพื่อการจัดการ และการรักษาความปลอดภัยระบบเคลื่อนที่สำหรับองค์กร โดยวีเอ็มแวร์จะเข้าซื้อกิจการแอร์วอชด้วยเงินสดมูลค่าราว 1.175 พันล้านดอลลาร์ และจะมีการแบ่งชำระเป็นงวดๆ ละประมาณ 365 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เป็นหุ้น ทีมงานของแอร์วอชจะยังคงทำงานโดยรายงานตรงต่อจอห์น มาร์แชล ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม End-User Computing ของวีเอ็มแวร์ที่นำโดย ซานเจย์ พูเนน รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ส่วน อลัน เด็บเบีย เรย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง แล ประธานกรรมการของแอร์วอชซึ่งได้รับหน้าที่กำกับดูแลคณะกรรมการชุดใหม่ของแอร์วอชจะทำงานโดยรายงานตรงต่อ มร. แพท เจลซิงเจอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของวีเอ็มแวร์

มร. แพท เจลซิงเจอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของวีเอ็มแวร์ กล่าวว่า แอร์วอชได้ให้การจัดการระบบเคลื่อนที่สำหรับองค์กรที่มีความปลอดภัยที่ดีที่สุดแก่ธุรกิจหลายพันแห่งทั่วโลก ดังนั้นการซื้อกิจการในครั้งนี้จะทำให้วีเอ็มแวร์สามารถเพิ่มองค์ประกอบพื้นฐานในพอร์ตโพลิโอด้านการประมวลผลสำหรับผู้ใช้วีเอ็มแวร์ทั่วไปได้ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานที่ทำงานแบบเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการรักษาความปลอดภัยอีกต่อไป

มร. อลัน เด็บเบียเรย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของแอร์วอช กล่าวว่า แอร์วอชมีความตั้งใจที่จะผลักดันให้ธุรกิจต่างๆประสบความสำเร็จด้านการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีแนวโน้มของการได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมากกว่า 2 พันล้านเครื่องทั่วโลก และมากกว่าครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์เหล่านั้นถูกนำมาใช้ในองค์กรต่างๆ การเข้าร่วมกับผู้สรรสร้างนวัตกรรมอย่างวีเอ็มแวร์ จะส่งผลให้ แอร์วอช มีโอกาสที่จะนำโซลูชั่นที่ล้ำสมัยระดับแนวหน้าไปสู่ลูกค้าและคู่ค้าในวงกว้างมากยิ่งขึ้นทำให้กลุ่มลูกค้าได้ใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการทำงานแบบเคลื่อนที่บนคลาวด์ได้อย่างเต็มที่

แอร์วอช เป็นบริษัทเอกชนที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ใน แอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นสำหรับองค์กรเพื่อใช้ในการจัดการ อุปกรณ์พกพา, จัดการแอพพลิเคชั่น และเนื้อหาที่ใช้งานแบบเคลื่อนที่ โดยมีลูกค้ามากกว่า 10,000 รายทั่วโลก มีพนักงานอยู่ในสำนักงาน 9 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,600 คน ใน โซลูชั่นของแอร์วอชให้แพลตฟอร์มเชิงกลยุทธ์แก่องค์กรเพื่อจัดการอุปกรณ์พกพา ให้กับพนักงานที่ทำงานแบบเคลื่อนที่ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างมีระบบความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าสำนักงานใหญ่ในเมืองแอตแลนตาแห่งนี้ จะมีการขยายพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานด้านระบบเคลื่อนที่ของวีเอ็มแวร์ ต่อไป

มร.ซานเจย์ พูเนน รองประธานบริหารแลผู้จัดการทั่วไปกลุ่ม End-User Computing วีเอ็มแวร์กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของวีเอ็มแวร์ คือการให้พื้นที่ทำงานเสมือนจริงที่มีระบบความปลอดภัย ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้เร็วขึ้น ดังนั้นการรวมตัวกันระหว่างแอร์วอชและวีเอ็มแวร์จะทำให้ความสามารถในการส่งมอบคุณค่าบริการที่มากขึ้นตรงไปยัง
ลูกค้าและคู่ค้าทั้งในสภาพแวดล้อมการใช้งานแบบอยู่ในสำนักงานและแบบเคลื่อนที่อย่างสมบูรณ์แบบ

การเข้าซื้อกิจการนี้จะช่วยขยายกลุ่มธุรกิจระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ของวีเอ็มแวร์ เทคโนโลยีของ AirWatch จะก่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชั่นโมบายล์ที่ขยายใหญ่ขึ้นและเสริมสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ของวีเอ็มแวร์ การเข้าซื้อกิจการนี้ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหารของทั้งวีเอ็มแวร์และแอร์วอทช์ และการเข้าซื้อกิจการนี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 โดยจะต้องได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไข การเข้าซื้อกิจการจะได้รับเงินทุนสนับสนุนผ่านทางเงินสดจากงบดุลและเงินรายได้จากหนี้เพิ่มเติมประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับการจัดหาจากอีเอ็มซี นอกจากนี้ วีเอ็มแวร์จะยังคงดำเนินการตามโครงการซื้อคืนหุ้นต่อไป

ผลประกอบการเบื้องต้นไตรมาส 4 ปี 2556

วีเอ็มแวร์ ประกาศผลประกอบการเบื้องต้นช่วงไตรมาส 4 ปี 2556 รายได้รวมในช่วงไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ 1.48 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ15 เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2555 โดยไม่รวมรายได้จากไพโวทอลซอฟท์แวร์ อิงค์ และขายกิจการบางส่วนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2556 ทำให้รายได้รวมในช่วงไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2555

มร.โจนาธาน ชัดวิค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและรองประธานบริหารของวีเอ็มแวร์ กล่าวว่า วีเอ็มแวร์ พึงพอใจกับรายได้รวมช่วงไตรมาส 4 ที่สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้อย่างยิ่ง และรายได้จากใบอนุญาตช่วงไตรมาส 4
อยู่ที่ 687 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากช่วงไตรมาส 4 ของปี 2555 โดยไม่รวมรายได้จากไพโวทอลซอฟท์แวร์ อิงค์ และการขายกิจการบางส่วนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2556 ส่วนรายได้จากใบอนุญาตสำหรับ
ช่วงไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2555*

กำไรสุทธิจากการดำเนินงานแบบ Non-GAAP1 ในช่วงไตรมาส 4 อยู่ที่ร้อยละ 35.6 ในขณะที่กำไรสุทธิจากการดำเนินงานแบบ GAAP ในช่วงไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 25.2

แหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
• อ่านบล็อกที่โพสต์โดย ซานเจย์ พูเนน รองประธานบริหาร และผู้จัดการทั่วไปกลุ่ม End-User Computing ของ วีเอ็มแวร์
• เชื่อมต่อกับวีเอ็มแวร์บนทวีตเตอร์ และเฟซบุ๊ค

เกี่ยวกับวีเอ็มแวร์

วีเอ็มแวร์คือผู้นำระดับโลกในด้านเวอร์ชวลไลเซชั่นและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ ซึ่งช่วยให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคของคลาวด์ ลูกค้าไว้วางใจในเทคโนโลยีของวีเอ็มแวร์สำหรับการปรับปรุงรูปแบบการสร้าง การส่งมอบ และใช้งานทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงได้อย่างลงตัว วีเอ็มแวร์มีรายได้ 4.61 พันล้านดอลลาร์ในปี 2555 มีลูกค้ากว่า 500,000 ราย และพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 55,000 ราย บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ www.vmware.com

เกี่ยวกับ AirWatch

แอร์วอชคือผู้ให้บริการชั้นนำการรักษาความปลอดภัยระบบเคลื่อนที่ และการจัดการความสามารถด้านการทำงานแบบเคลื่อนที่สำหรับองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 1,600 คนทำงานอยู่ในสำนักงาน 9 แห่งทั่วโลก โดยมีองค์กรมากกว่า 10,000 แห่งใน 150 ประเทศใช้ประโยชน์จาก AirWatch Enterprise Mobility Management Platform ซึ่งรวมถึงโซลูชั่นด้านการจัดการอุปกรณ์พกพา อีเมล์ แอพพลิเคชั่น เนื้อหา แล็ปท็อป และบราวเซอร์ชั้นนำของอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ สามารถติดตั้งโซลูชั่นเหล่านี้แบบเดี่ยวๆ เพื่อให้สอดรับกับแนวคิดในการนำอุปกรณ์ของคนเองมาใช้ในการทำงานของแต่ละองค์กร ใน AirWatch Workspace ประกอบด้วยโซลูชั่นต่างๆ หรือแพลตฟอร์เพื่อการทำงานแบบเคลื่อนที่ระดับองค์กรที่มีความสามารถในการปรับขนาดได้สูง และทำงานได้ครอบคลุม ด้วยทีมวิจัยและพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม แอร์วอชช่วยให้รองรับแพลตฟอร์มของระบบเคลื่อนที่ได้อย่างกว้างขวาง การพัฒนาโซลูชั่นที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมอย่าง AirWatch Secure Content Locker และทำงานร่วมกับผู้ผลิตอุปกรณ์ และผู้ให้บริการโซลูชั่นทางเทคโนโลยีชั้นนำในระบบนิเวศของระบบเคลื่อนที่

View :1125
Categories: Press/Release Tags:

เอไอเอส จับมือ NECTEC – สวพ. 91 เปิดตัวแอพ “FM 91 BKK”

January 7th, 2014 No comments

04
โชว์ภาพจราจรสด! พร้อมเปิดให้แจ้งเหตุ ขอความช่วยเหลือ เพียงปลายนิ้ว
มอบความอุ่นใจในทุกเส้นทาง และการใช้ชีวิตให้กับประชาชน

นายปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานผลิตภัณฑ์ดิจิตอล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “ปัจจุบัน ความนิยมการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่แนะนำเส้นทางการเดินทาง หรือรายงานสภาพการจราจร กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงง่าย และสะดวก แต่อาจจะยังมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพสดจากจุดเกิดเหตุที่ควรหลีกเลี่ยง ดังนั้น เอไอเอส จึงร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค และ สวพ.91 พัฒนาแอพพลิเคชั่น “FM 91 BKK” บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รองรับทั้ง iOS และ Android ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้คน กทม.และปริมณฑลเดินทางได้อย่างอุ่นใจ เพราะมีทั้งการรายงานเส้นทางพร้อมแสดงจุดอุบัติเหตุ, ภาพการจราจรสดๆ ที่ดึงข้อมูลจากกล้องวงจรปิดของ สนง.ตำรวจแห่งชาติมากกว่า 100 จุดทั่ว กทม. รวมถึงจากข้อมูลทวิตเตอร์ของ สวพ.91ที่มีการรายงานสดตลอดเวลา ที่ สำคัญคือ สามารถแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย หรือ อุบัติเหตุผ่านแอพฯ นี้ ได้ทันที โดยจะระบุพิกัดของเหตุการณ์โดยอัตโนมัติ จากนั้น เมื่อ สวพ.91 ตรวจสอบแล้ว ก็จะส่งข้อมูลไปยังตำรวจจราจรในพื้นที่ เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือได้ทันที รวมไปถึงสามารถฟังรายการวิทยุจราจร สวพ.91 ได้สดๆ ผ่าน App นี้ได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย”
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวเสริมว่า ” แอพพลิเคชั่น FM 91 BKK เป็นผลงานการวิจัยพัฒนาที่เนคเทค/สวทช. ร่วมมือกับ สวพ.91 และเอไอเอส ภายใต้แนวคิดการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมการบริการในประเทศไทยหรือSmart Service โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Co-creation) เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพและความชำนาญเฉพาะด้านการสร้างนวัตกรรม (Innovation) การสร้างสรรค์คุณค่า (Value creation) ให้กับธุรกิจบริการในประเทศไทย ทีมนักวิจัยเชื่อมั่นว่า ผลงานดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือให้กับสังคมไทย ในการได้รับบริการข้อมูลข่าวสารการจราจรเพื่อวางแผนการเดินทางและการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากการแจ้งเหตุให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าไปแก้ไขปัญหา”
คุณไจตนย์ ศรีวังพล ผู้อำนวยการ รายการข่าวจราจร สวพ.FM91 เปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “สวพ.FM 91 เป็นสถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัย และการจราจร พันธกิจของเราคือการเป็นสื่อกลางในการประสานเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมไปถึงคนไทยในต่างแดน เพราะในแต่ละนาที แต่ละวัน แต่ละชั่วโมง เรามีข้อมูลมากมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนในสังคม เมื่อเรามีแอพพลิเคชั่น “ FM 91 BKK”นี้ การประสานความช่วยเหลือและการอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆจึงเป็นไปได้ง่ายและสะดวกขึ้น ต่อไปนี้ไม่เพียงแค่หมายเลขโทรฟรี 1644 เท่านั้นที่จะติดต่อกับสถานีของเรา เมื่อโหลดแอพพลิเคชั่นของเราไปใช้ฟรีก็จะได้รับความสะดวกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการเดินทาง เพียงปลายนิ้วสัมผัส

ขอขอบคุณเอไอเอส และเนคเทค ที่ช่วยส่งเสริมให้การช่วยเหลือ ดูแลประชาชน ของสวพ.FM91เป็นไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะติดตามฟังรายการของเราทางแอพพลิเคชั่นได้แล้ว ยังขอความช่วยเหลือ หรือส่งข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนในสังคมได้”

โดยลูกค้าเอไอเอส และผู้ใช้มือถือทุกท่านที่ใช้สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ทั้ง iOS และ Android สามารถดาวน์โหลด App “FM 91 BKK” ได้ฟรี แล้ววันนี้ เพียง กด*900 เลือก AIS Apps หรือ ไปที่ Google Play Store และ App Store สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ AIS Call Center 1175

View :1422
Categories: Application Tags: