Archive

Archive for the ‘IT Laws’ Category

ประกาศแถลงการณ์คัดค้านการประกาศใช้ร่างพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่

October 24th, 2013 No comments

โลโก้4องค์กร

ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (“”) ได้มีประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า ได้ทำการประชาพิจารณ์ร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปนั้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อคเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้น โดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด รวมทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังขาดรายละเอียดและมาตรฐานของการจัดอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 3 วัน อันขัดต่อแนวปฏิบัติและกฎกระทรวงท้ายพรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อย่างน้อย 3 เดือน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและมีการตีความในการใช้อำนาจเกินขอบเขต รวมทั้งก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฏเป็นข่าว อาทิเช่น กองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้เข้าแทรกแซงและควบคุมการติดต่อสื่อสารประเภทโซเชียลมีเดีย อันได้แก่ การกดไลค์ กดแชร์ ผ่านเฟซบุ๊ค การใช้ Line จนเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
2045
นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป อันจะเห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ

ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ สื่อมวลชนที่กล่าวข้างต้นจึงขอแสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและอาจก่อให้เกิดความสับสนในการตีความเพิ่มเติมมากกว่าเดิม โดยสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเนื้อหาของร่างที่ประกาศใช้พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และให้มีการประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว และควรตั้งตัวแทนจากองค์กรสื่อสารมวลชน ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการเชื่อมต่อบนอินเตอร์เน็ต หรือผู้ประกอบการเว็บไซต์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด เข้าร่วมเป็นตัวแทนในการพิจารณายกร่างดังกล่าวด้วย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

View :1623

ชมรมนักข่าวไอทีพีซี-สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน?”

July 4th, 2013 No comments

แนะรัฐให้ข้อมูลที่ถูกต้องหวั่นผู้ใช้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เล็งดันข้อเสนอแนะให้กระทรวงไอซีทีคล้อยตาม

(28 มิ.ย.) ที่ อัมรินทร์ พลาซ่า ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปรับร่างเพื่อประชาชน” นายนิรันดร์ เยาวภาว์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า การยกร่าง พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ…..ฉบับใหม่นี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์ไปแล้ว 2 รอบแต่อาจตกในเรื่องของการเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อให้ความรู้กับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยหลังจากเสร็จสิ้นงานสัมมนาครั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลและข้อคิดเห็นเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชียวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายอาญาถือเป็นสิ่งสำคัญ และการแก้ไขร่างกฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ พ.ร.บ.ฉบับเก่าในการกระทำความผิดสามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้เชี่ยวชาญมองไม่เหมือนกัน เช่น กฎหมายบางมาตราที่ยอมความไม่ได้ แต่ มาตรา 16 มาตราเดียวที่ยอมความได้ อย่างกรณีเจ้าของเครื่องโทรศัพท์ไม่ล็อคหน้าจอมือถือ แล้วมีเพื่อนหรือคนรู้จักมาใช้โทรศัพท์ ตามกฎหมายถือว่าผิด แต่กรณีนี้เจ้าของยินยอมหรือไม่ถือเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ถ้าไม่ล็อคหน้าจอตามกฎหมายเก่าถือว่าผู้เข้าดูข้อมูลไม่มีความผิด แต่ร่างฉบับใหม่ตัดมาตราการเข้าถึงความปลอดภัย จึงผิดกฎหมาย เป็นต้น

ส่วนปัญหาการทำสำนวน และถ้าในปกติเป็นคนธรรมดานำข้อมูลทำซ้ำและไปเผยแพร่ให้ผู้อื่น และทุกครั้งธรรมชาติอินเทอร์เน็ตเมื่อส่งข้อมูลจะมีการทำซ้ำถือว่าผิดกฎหมายทันที ดังนั้นหลักเกณฑ์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารถูกตัดลอนในสิ่งนี้ไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการได้ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากต่างประเทศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อตื่นเช้ามาแล้วจะไม่เข้าอินเทอร์เน็ต ดังนั้น โดยรวมการแก้ไข พ.ร.บ.ถือเป็นความจำเป็นและการแก้ไขต้องตรงปัญหาและต้องเหมาะกับยุค 2013 ด้วย

นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ยังอีกยาวไกล ที่ผ่านมาการปฏิบัติด้านกฎหมายจะยาก แท้จริงแล้วทุกคนที่ถูกบังคับใช้กฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีการปิดกั้นข่าวสารหรือไม่ และที่ผ่านมามีความลำบากไหม ถ้าต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ทั่วโลกเค้าก็ปิดหมด ไม่สนใจ สมัยโบราญเวียดนามอีเมล์ทุกฉบับถูกปิดหมด ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเกิดทั่วโลก

ทั้งนี้ จึงอยากให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นรับได้หรือไม่เปล่า แต่แท้จริงก็ต้องยอมรับ จะเห็นได้จากปัญหาการบล็อกเว็บไซต์ที่หน่วยงานหนึ่งบอกให้บล็อก และอีกหน่วยงานบอกไม่ให้บล็อกเพราะจะจับผู้ทำผิด ดังนั้นกฎหมายจึงไม่ตรงเสมอไป ควรยืดหยุ่นกันได้ การทำงานต้องร่วมกันต้องอยู่กันได้ และหากกฎหมายฉบับใหม่ออกก็ตอบไม่ได้แต่ก็คงต้องชัดเจนขึ้นและก็ต้องอยู่ร่วมกันได้

พันตำรวจเอก ศิริพงษ์ ติมุลา รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันมีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก ทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย อย่างกรณีง่ายๆ การปลอมเฟสบุ๊คหมิ่นประมาท หลอกลวงซื้อของบนอินเทอร์เน็ต การพนันออนไลน์ ล่อลวง เป็นต้น โดยต่างประเทศก็เกิดปัญหาเช่นกันเนื่องจากความเร็วของเทคโนโลยี คนเข้าถึงง่าย มีคนร้ายเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในฐานะเป็นผู้บังคับใช้ ต้องรักษาและคุ้มครองเหยื่อ คุ้มครองสืบสวนสอบสวน นำตัวคนทำผิดมาดำเนินการ และป้องกันสื่อกับประชาชนว่าการปราบปรามไม่ใช่เป็นวิธีการสุดท้ายจริงๆ แล้วเป็นการป้องกันของตนเองมากกว่า เพราะปัญหามีมาก ปัญหาคือการรับรู้และการเข้าใจ มี 2 ประเด็น คือข้อเท็จจริงทางคอมพิวเตอร์ เรารู้และเข้าใจไม่เหมือนกัน และ บริบททางคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง ปัญหาการเข้าใจในทั้ง 2 กรณีไม่ใช่จะต้องเข้าใจแค่ตำรวจ ทั้งนี้ ต้องถามว่าเราเข้าใจในข้อเท็จจริงและข้อบริบทจริงหรือไม่ ซึ่งบางคนไม่ทราบว่าการใส่ร้ายกันบนเฟสบุ๊กนั้นมีความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

นายสุรชัย นิลแสง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญพิเศษ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า จริงๆ แล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พูดถึงคอมพิวเตอร์แต่ปัญหามาจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กลายเป็นทั้งโลกเข้าสู่ปัญหาการละเมิดสิทธิบนอินเทอร์เน็ต พอกฎหมายฉบับแรกปี 2550 ออก ได้ยกร่างมาจากต่างประเทศ พบผู้เสียหายเดือดร้อนทั้งเรื่องโดนว่า ขู่ นำภาพไปโพสต์ โดยผู้เกี่ยวข้องมี 3 ส่วน คือ ผู้เสียหาย ผู้ละเมิด และพยานหลักฐาน โดยผู้ให้บริการถือเป็นตัวกลางที่จะหาพยานหลักฐานเพราะเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อ หลายๆ เวที ผู้เสียหายไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเพราะอาย จึงไม่ทราบมุมมองผู้เสียหาย
“การแก้ปัญหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่จะเป็นการแก้ปัญหาให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีมาเร็ว ทุกคนกลายเป็นยูสเซอร์เอง กฎหมายยังต้วมเตี้ยมไม่ทันเทคโนโลยี ปัจจุบันแค่พัฒนากฎหมายไม่ให้ละเมิดสิทธิยังยากเลย ทุกคนอยากให้คนผิดโดนทำโทษแต่ทุกคนก็ไม่อยากเป็นผู้ทำผิด ไม่อยากให้ล่วงละเมิด ดังนั้นจึงต้องเข้าใจให้มากขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงนี้การแสดงความคิดเห็นถือว่าสำคัญมาก ควรเสนอก่อนข้อกฎหมายตัวจริงออกมาใช้จริง” นายสุชัย กล่าว

ขณะที่ นายณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล ผู้เชียวชาญสำนักกฎหมาย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ถือเป็นหน่วยงานสำคัญในการนำเสนอการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กล่าวว่า คาดว่าจะรวมรวมข้อเสนอแนะส่งให้กระทรวงไอซีทีไม่เกินเดือน ก.ค.นี้ โดยหลังจากนี้ จะเป็นผู้คัดกรองข้อเสนอแนะ ซึ่งอาจจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงไอซีที

สำหรับประเด็นหลักๆ ของข้อเสนอแนะที่ผ่านมา อาทิ ขอบเขตกฎหมายว่าจะอยู่แค่ไหน และครอบคลุมตรงจุดไหนบ้าง ควรจะครอบคลุมมากกว่านี้ และในส่วนของผู้ใช้บริการจะเข้าใจมากน้อยในระดับไหน ในขณะที่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควรมีอำนาจในระดับใด อีกทั้งบางหน่วยงานไม่เห็นด้วยกับการละเมิดสิทธิ แต่บางหน่วยงานก็เห็นด้วย เป็นต้น.

View :1469

สพธอ.ร่วมจัดงานประชุม ยกระดับมาตรฐานการรับมือและจัดการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

June 17th, 2013 No comments

DSC_0123

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ “Forum of Incident Response and Security Teams (FIRST) : การประชุมสัมมนาประจำปี” ปีที่ 25 ระหว่างวันที่ 16 – 21 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมคอนราดกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับสากลของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ภายใต้หัวข้อ “Incident Response: Sharing To Win” ซึ่ง FIRST เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตอบสนองและจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉินไซเบอร์มากกว่า 250 หน่วยงาน ทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และสถาบันอื่น จากในทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และกลุ่มหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบันถือได้ว่า FIRST เป็นผู้นำในการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ การก่อวินาศกรรมและการก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเป็นผู้ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ตอบสนองและจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์กับหน่วยงานผู้บังคับใช้

วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ มุ่งให้เกิดความร่วมมือและประสานงานป้องกันเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ผ่านเวทีประชุมระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนแนวคิด และข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานมีหลายส่วน เช่น Lightning Talk: การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม โดยใช้เวลาในการนำเสนอความคิดไม่เกินคนละ 5 นาที International gatherings of Special Interest Groups: การเข้าร่วมกลุ่มความสนใจพิเศษ เช่น CVSS v3, Botnet SIG and Metrics SIG. Security Challenge: การทดสอบความรู้ทางเทคนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ท้าทาย และเป็นประโยชน์กับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไทยและผู้ที่สนใจทั่วไป

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในฐานะประธานเปิดงานว่า ปัญหาภัยออนไลน์เป็นปัญหาใกล้ตัวที่เกิดได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ถึงระดับหน่วยงาน ในปัจจุบันพบว่าหลายหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมด้านการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคนในองค์กร และไม่ได้วางแผนการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างกรอบนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน คือ

1) การบูรณาการการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ
2) การสร้างศักยภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
3) การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ และ
ยุทธศาสตร์รอง 5 ด้าน คือ
4) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
5) การสร้างความตระหนักและรอบรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
6) การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
7) การวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ
8) การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

โดยรัฐบาลจะได้นำยุทธศาสตร์ทั้ง 8 นี้ มาเป็นกรอบในการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัมมนาประชุมประจำปี FIRST ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากทีมผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สพธอ. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการต่างๆ ทางออนไลน์ ซึ่งภัยคุกคามไซเบอร์ (Cybersecurity Threat) ในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น สพธอ. จึงได้ผลักดันการทำงานเชิงรุกของไทยเซิร์ต ให้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักของประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมออนไลน์ และมีการประสานงานความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานเซิร์ตทั่วโลก ที่ได้มาร่วมประชุมสัมมนา 25th Annual FIRST Conference 2013 ในครั้งนี้

View :1578

ทีดีอาร์ไอร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. เปิดตัวเว็บไซต์ Thai Law Watch เปิดโอกาสประชาชน ติดตามร่างกฎหมายไทย

August 26th, 2011 No comments

โครงการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นำโดย นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย () นายปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะทำงาน ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวเว็บไซต์ Thailawwatch.org เว็บไซต์ระบบติดตามร่างกฎหมายไทย

โดยมองว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือทางนโยบายสาธารณะที่สำคัญที่สุดเครื่องมือหนึ่ง การปฏิรูปประเทศไทยในปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ และบัญญัติกฎหมายขึ้นมาใหม่จำนวนมาก ทั้งนี้ กระบวนการนิติบัญญัติซึ่งเป็นกระบวนการในการปรับปรุงแก้ไขและบัญญัติกฎหมายใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติได้มากขึ้น คณะผู้วิจัยยังได้จัดทำเว็บไซต์ Thailawwatch.org ระบบติดตาม (tracking system) ร่างกฎหมายซึ่งกำลังจะเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการติดตามของสื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจ อันจะนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยในการเฝ้าระวังกฎหมาย (legislative watch unit) ในภาควิชาการ หรือภาคประชาสังคมในอนาคต

ทั้งนี้ ในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ วาระการปฏิรูปกฎหมายของรัฐบาลใหม่ โดย อ. จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวถึงมุมมองของการปฎิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ต้องยอมรับว่าเรามีปัญหามากในเรื่องการให้ความเป็นธรรมกับคนในสังคม กระบวนการยุติธรรมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และที่ผ่านมากฎหมายเน้นการเอาคนเข้าคุกมากเกินไป สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือการลดการลงโทษประชาชนในเรื่องต่างๆ หลายชั้น ลดบทบาทของกฎหมายในฐานะเครื่องมือผู้มีอำนาจและให้อำนาจแบบไม่จำกัดต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่สิ่งที่ต้องเพิ่มคือการให้ความสำคัญของกฎหมายในฐานะทีเป็นเครื่องมือของผู้ไร้อำนาจ เช่น กฎหมายที่ส่งเสริมสิทธิ ส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมสวัสดิการประชาชนหรือรัฐสวัสดิการ และส่งเสริมอำนาจประชาชนในการตรวจสอบผู้มีอำนาจ

อ.จอน กล่าวว่า ลักษณะกฎหมายที่ดีในยุคสมัยนี้ว่า หนึ่ง หากเป็นกฎหมายที่เริ่มจากภาคประชาชนยิ่งดี สอง ควรต้องเป็นกฎหมายที่เสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และสาม ต้องมีการประชาพิจารณ์ที่เป็นกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้อย่างแท้จริง ที่สำคัญเราต้องการกฎหมายที่เขียนง่าย เข้าใจง่าย ที่คนทั่วไปอ่านรู้เรื่อง กฎหมายหนึ่งฉบับควรต้องมีเหมือนบทสรุปสำหรับผู้บริหารให้เป็นภาษาชาวบ้านกำกับไปด้วย และเวลาประชาพิจารณ์ ต้องคุยกันในเรื่องหลักการ ไม่ใช่เรื่องภาษา

นายจอน กล่าวด้วยว่า ต้องมองกฎหมายในมุมใหม่ คือ กฎหมายเป็นเรื่องที่ดี ที่จะไปจัดการกับกลุ่มฮาร์ดคอร์ไม่ให้สร้างปัญหาในสังคม แต่สำหรับคนทั่วไปแล้วกฎหมายควรใช้เพื่อการลงโทษอย่างสร้างสรรค์ ไม่เน้นการเอาคนไปเข้าคุกจนเป็นสูตรสำเร็จอย่างที่ทำกันมา การมีเว็บไซต์ Thailawwatch จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งสำหรับองค์กรประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นในกฎหมายต่างๆ ก่อนที่จะการผลักดันออกมาเป็นกฎหมาย จึงเป็นเว็บนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เรื่องกฎหมายไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน อย่างที่ประชาชนรู้สึกและเป็นปัญหาอย่างที่ผ่านมา ซึ่งคนจะกลัวกฎหมาย

ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เว็บไซต์ Thailawwatch เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในโครงการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยงานวิจัยนี้จะศึกษาขั้นตอนของกฎหมาย เปรียบเทียบสามรัฐบาล ที่มีการออกกฎหมายจำนวนมาก คือ รัฐบาล พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดยเนื้อหาใน ThaiLawWatch ประกอบด้วยสี่ส่วน ส่วนแรกเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติไทย เพื่อบอกความเข้าใจพื้นฐานในกระบวนการกฎหมายไทย ส่วนที่สอง เป็นการติดตามร่างกฎหมาย (Law tracking) จะติดตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มต้น และชี้ให้เห็นว่ากำลังค้างอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งการติดตามขั้นตอนกฎหมายจะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างความรับผิดชอบของคนออกกฎหมาย ส่วนที่สามเป็นการวิเคราะห์สาระสำคัญของกฎหมาย ซึ่งคณะทำงานจะเลือกกฎหมายสำคัญๆ ขึ้นมาวิเคราะห์ และส่วนสุดท้าย เป็นบทความข่าวสารทั่วไป ทั้งนี้ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าไปติดตามชีวิตของร่างกฎหมายแต่ละเรื่องแต่ละฉบับได้ที่เว็บไซต์ Thailawwatch.org เพื่อร่วมกันกำกับและติดตามให้กฎหมายนั้น ๆ ออกมาตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง.

View :2991

ก.ไอซีที จับมือ มรภ.สวนดุสิต จัดอบรมให้ความรู้พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฯ

July 4th, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ “ ” ครั้งที่ 2 ว่า ปัจจุบันปัญหาสังคมจากโลกออนไลน์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม และความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก กระทรวงฯ จึงให้ความสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการจัดทำโครงการ ให้ความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้   ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างถูกต้อง โดยกระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม จัดการฝึกอบรมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานและวิธีการเผยแพร่ความรู้ตาม   “ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” (Training the trainer) สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการ และหลักสูตร “ ” สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยมุ่งเน้นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับรูปแบบการกระทำความผิดตามมาตราต่าง ๆ และบทลงโทษ

แต่เนื่องจากปัจจุบัน กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ยังไม่มีการรับรู้ที่เพียงพอ กระทรวงฯ จึงต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ อย่างต่อเนื่อง โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จัดการฝึกอบรม ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ประชาชนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าวเกิดการรับรู้มากขึ้น ใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับกลุ่มวิทยากรขององค์กร / หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ( ICT 004) และหลักสูตรสำหรับผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต / Admin (ICT 006) เพื่อให้ทราบถึงวิธีการจัดเก็บระบบ log File   รวมจำนวนประมาณ 250 คน

“ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แต่ลำพังเพียงกระทรวงไอซีที หน่วยงานเดียวนั้น ไม่อาจจะดำเนินการได้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องแสวงหา ความร่วมมือจาก     ทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ สถาบันการศึกษา องค์กร/ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ มาเป็น ภาคีเครือข่าย ความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างแนวป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยไม่ให้เกิดการกระทำความผิดหรือลดความเสี่ยงที่     เกิดจากคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุด และกระทรวง ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตกาลจะได้ขยายความร่วมมือนี้ออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น” นางจีราวรรณ กล่าว

View :2317

Poll พรบ.คอมพ์ 2550

June 8th, 2011 No comments


 

 

 

 

 

 

 

 

 

View :1853

ก.ไอซีที เดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

June 6th, 2011 No comments

นายธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยในการแถลงข่าวการจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” ว่า ภายหลังจากที่กระทรวงฯ ได้     ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับ 5 สถาบันการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ “ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในกฎหมายฉบับนี้   ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างถูกต้องไปตั้งแต่ปี 2552 และได้มีการจัดประชุมทางวิชาการในเรื่องหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อประชาชนในทุกภาคส่วนให้ครอบคลุมทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีผู้เข้าอบรมจำนวนทั้งสิ้น 302   คน มีการประเมินผลการอบรมดังกล่าวไว้ในระดับดีมาก

ดร.ธนชาติ ประทุมสวัสดิ์ กรรมการโครงการฯ

“การจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ครั้งแรกนั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี และมีผู้ที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมการอบรมฯ มากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ คือ 250 คน ดังนั้น ในปีนี้ กระทรวงฯ จึงจะจัดการฝึกอบรมขึ้นอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2554 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วิทยากรขององค์กรต่างๆ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 250 คน เพื่อให้เป็นผู้แทนไปเผยแพร่แก่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการอบรมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การอบรมภาคทฤษฎี และการอบรมภาคปฏิบัติ” นายธานีรัตน์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้น มีมหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก วิทยาลัยทองสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รวมทั้งได้มีภาคประชาชนให้ความสนใจเข้ามาร่วมโครงการฯ ในลักษณะของอาสาสมัครภาคประชาชน คือ องค์การความมั่นคงทางอินเทอร์เน็ต

“การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที ที่ต้องดำเนินการเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนอันเนื่องจากการไม่รู้ ไม่เข้าใจในกฎหมาย   นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังมีหน้าที่ในการขยายเครือข่ายภาคีความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมฯ ให้แก่ประชาชนไปในวงกว้างและทั่วถึงในทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีกระทรวงฯ เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคประชาชนในการขยายเครือข่ายดังกล่าว อันจะนำมาซึ่งความมั่นคง ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศ และถ้าประชาชนมีความมั่นใจในการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อีกมากมายมหาศาล” นายธานีรัตน์ กล่าว

View :2826

ก.ไอซีที ชวนคนไทยร่วมคิดร่วมร่างกฎหมายไทยผ่าน www.law.go.th

June 3rd, 2011 No comments

นางจีราวรรณ   บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ และสนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน   เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย จึงได้ร่วมกับ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำเว็บไซต์ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า www.lawamendment.go.th และได้กำหนดชื่อให้สามารถเข้าถึงได้สะดวก คือ   www.law.go.th เพื่อรวบรวมกฎหมายปัจจุบัน และนำเสนอร่างกฎหมายใหม่เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตขึ้น

“การรวบรวมกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันนั้น ทำให้เกิดฐานข้อมูลหลักทางด้านกฎหมายของไทย และยังเกิดเป็นห้องสมุดกฎหมายออนไลน์ เพื่อให้นักวิชาการ นักศึกษาด้านกฎหมาย และประชาชนทั่วไปได้เข้ามาสืบค้นข้อมูลรายละเอียดของกฎหมายที่ต้องการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย นอกจากนั้นเว็บไซต์นี้ยังจัดให้มี web board ที่ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นทางด้านกฎหมายไทยนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภาครัฐ รวมถึงภาคประชาชน และเพื่อให้คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกฎหมายไทย อันจะเป็นประโยชน์   สูงสุดแก่ประเทศชาติ จึงขอเชิญชวนประชาชนคนไทยร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใสได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว” นางจีราวรรณ กล่าว

สำหรับเว็บไซต์ www.law.go.th นี้ได้รองรับข้อมูลด้านกฎหมายจาก 20 กระทรวง และ 9 หน่วยงานอิสระ โดยปัจจุบันมีจำนวนกฎหมายที่รวบรวมไว้ทั้งสิ้น 831 ฉบับ แยกเป็นกฎหมายที่บังคับอยู่ก่อนแล้ว 684 ฉบับ และเป็นร่างกฎหมายใหม่ 147 ฉบับ    ซึ่งเว็บไซต์นี้ถือเป็นการบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( e-Service) อีกบริการหนึ่งที่ภาครัฐได้จัดทำขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่างๆ ตามหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

View :1807