Archive

Archive for the ‘กระทรวงไอซีที’ Category

EGA สั่งลุยระบบรักษาความปลอดภัยบนจีคลาวด์ หลังสอบผ่านใบประกาศจาก CSA เป็นรายแรก ของไทย

October 18th, 2013 No comments

พร้อมเพิ่มระบบสแกนร่วมกับหน่วยงานรัฐหวังสร้างความเชื่อมั่น เตรียมสร้างคนรับใบประกาศต่อเนื่องคาดพนักงานทั้งหมดสอบผ่านในปีหน้า

นางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ เปิดเผยว่า จากการที่ ได้เปิดโครงการ G-Clound หรือระบบคลาวด์คอมพิวติ้งภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาและได้รับความสนใจจาก หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมจำนวนมาก ดังนั้นทาง จึงได้ลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและได้เพิ่มบริการ ด้านต่างๆ เข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะสิ่งที่มีความสำคัญและสร้างความเชื่อมั่นล่าสุดในขณะนี้คือ ระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งขณะนี้ มีบุคลากรที่สอบผ่าน CCSK หรือ Certificate Cloud Security Knowledge ของ CSA หรือ Cloud Security Alliance ซึ่งดูแลด้านการรักษาความปลอดภัย บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งโดยตรงแล้ว

“ปัจจุบัน EGA มีผู้สอบผ่านแล้ว 1 ราย และจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 5 รายภายในปีนี้ และจะมีการให้ พนักงานที่ดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดของ EGA เข้าสอบใบประกาศ เพื่อกลาย เป็นมาตรฐานการให้บริการที่มีความสำคัญต่อองค์กรภาครัฐที่มาใช้บริการคลาวด์ของ EGA ต่อไป ซึ่ง พนักงานที่สอบผ่านจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นตามนโยบายที่กำหนด” นางสาวนันทวันกล่าวและว่า

จากการที่ EGA ได้ CCSK เป็นแรกของประเทศไทยในครั้งนี้จะทำให้ EGA มีศักยภาพในการบริหาร งานด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์สาธารณะได้มากขึ้น ตั้งแต่การทำการฝึกอบรมให้กับพนักงานและหน่วยงานรัฐอื่นที่สนใจ และยังจะเป็นการเพิ่ม Service Level Agreement (SLA) หรือข้อตกลงในการให้บริการ ซึ่งถึงแม้การให้บริการของ EGA ต่อภาครัฐจะไม่คิดค่าบริการ แต่ SLA ถือเป็น มาตรฐานที่เป็นพันธะสัญญาในการดูแลระบบต่างๆ ให้กับหน่วยงานภาครัฐ

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงต่อจากนี้ไปก็คือ เดิมหน่วยงานรัฐที่เข้ามาใช้บริการคลาวด์ของ EGA จะสามารถใส่ โปรแกรมและไฟล์ต่างๆ เข้ามาในโครงสร้างพื้นฐานของ EGA ได้โดยทันที โดยที่ EGA จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะถือเป็นสิทธิ์ของผู้ใช้งานที่ผู้ให้บริการจะไม่ไปก้าวก่าย แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการโจมตีทางเครือข่าย อยู่ตลอดเวลา การปล่อยให้หน่วยงานต่างๆ ดูแลรักษาความปลอดภัยเองจะเป็นเรื่องยากมาก เพราะบุคลากรด้านนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง อีกทั้งต้องการดูแลระบบตลอด 24×7 ชั่วโมง ดังนั้น CCSK จะทำให้ EGA จะเข้ามา ตรวจสอบความปลอดภัยของไฟล์หรือโปรแกรมที่จะใส่เข้ามาในระบบคลาวด์ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยมีทั้งเครื่องมือ หรือ Tool และมาตรฐานทั้งทางเทคนิคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับโลก เพื่อทำให้หน่วย งานรัฐได้ตระหนักและได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

ดังนั้นต่อจากนี้ไประบบคลาวด์คอมพิวติ้งของ EGA จะมีการทำงานควบคู่กับหน่วยงานรัฐที่ใช้บริการ มากขึ้น ตั้งแต่การวางแผน การตรวจสอบการเขียนโปรแกรมหรือ Coding และตรวจสอบตัวระบบหรือ System ก่อนที่จะนำไฟล์เข้ามาในระบบ ซึ่งระยะเวลาการตรวจสอบจะขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ที่จะนำมาไว้บนคลาวด์

View :1545

สพธอ. เผย มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ NPMS

July 30th, 2013 No comments

ปัจจุบัน มีธนาคารและผู้ประกอบการนำไปใช้งานจริง 18 ราย
โดยมีแผนยกระดับให้สอดคล้องในระดับอาเซียนและสากลต่อไป

(องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เผยผลสืบเนื่องภายหลังการประกาศของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 2 มกราคม 2556 ให้มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) เป็นมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.0001-2555) แล้วนั้น ทาง สพธอ. ได้ร่วมกับ ธปท. ผลักดันและส่งเสริมให้นำมาตรฐาน NPMS มาใช้เป็นแนวทางในการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกัน โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน และเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบัน มีธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการที่นำมาตรฐาน NPMS ไปใช้งานจริง จำนวน 18 ราย ในบริการชำระเงินต่างๆ ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ และทาง สพธอ. มีโครงการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานมาตรฐาน NPMS เป็นวงกว้างต่อไป นอกจากนี้ ในอนาคต สพธอ. และ ธปท. มีแผนการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับให้มาตรฐาน NPMS สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยคำนึงถึงบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการชำระเงินในประเทศไทยเป็นหลัก

รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เนื่องจากในการทำธุรกรรมการชำระเงินของหน่วยงานภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ มีการกำหนดรูปแบบข้อความหรือข้อมูลการทำธุรกรรมที่แตกต่างกันตามความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงาน ทำให้ต้องมีการจัดการข้อมูลหลายรูปแบบและมีภาระงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) จึงกำหนดขึ้นเพื่อให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกัน โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกันที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 20022 ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน ลดความซ้ำซ้อน และเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ภายหลังการประกาศของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 2 มกราคม 2556 ให้มาตรฐาน NPMS เป็นมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.0001-2555) แล้วนั้น ทาง สพธอ. ได้ร่วมกับ ธปท. ผลักดันและส่งเสริมให้นำมาตรฐาน NPMS มาใช้เป็นแนวทางในการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานของข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 4 ข้อความ ได้แก่ 1. ข้อความโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ข้อความหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ 3. ข้อความรายงานสถานะคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงิน และ 4. ข้อความแจ้งรายการโอนเงินหรือหักเงิน

ทั้งนี้ ข้อความทั้ง 4 สามารถนำไปใช้ในบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 6 ประเภท ประกอบด้วย 1. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีภายในธนาคาร 2. บริการออกเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ 3. บริการโอนเงินรายย่อยครั้งละหลายรายการ 4. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีต่างธนาคารผ่านระบบบาทเนต 5. บริการโอนเงินระหว่างประเทศ และ 6. บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ นอกจากนี้ พบว่ามาตรฐาน NPMS สามารถสนับสนุนบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริการชำระเงินต่างๆ ที่มาตรฐาน NPMS รองรับ มีปริมาณในการทำธุรกรรมคิดเป็นร้อยละ 49 ของปริมาณการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 89 ของมูลค่าการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด (ข้อมูลจากสถิติการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 ของธนาคารแห่งประเทศไทย)

ในปี 2556 สพธอ. ได้มีการดำเนินโครงการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นประชาคมอาเซียน 2015 (e-Transactions Standards for ASEAN) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการใช้งานมาตรฐาน NPMS เป็นวงกว้าง ซึ่งในปัจจุบันได้มีหน่วยงานที่ได้นำมาตรฐาน NPMS ไปใช้งานจริงรวมทั้งสิ้น 18 ราย ประกอบด้วย 1. ธ.กรุงเทพ 2. ธ.กสิกรไทย 3. ธ.กรุงไทย 4. ธ.ไทยพาณิชย์ 5. ธ.ทหารไทย 6. ธ.ซิตี้แบงก์ 7. ธ.ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 8. ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) 9. ธ.ซีไอเอ็มบี (ไทย) 10. ธ.กรุงศรีอยุธยา 11. ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 12. ธ.ดอยซ์แบงก์ 13. ธ.มิซูโฮ คอร์ปอเรต 14. กรมศุลกากร 15. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ จำนวน 3 ราย

ในอนาคต สพธอ. และ ธปท. มีแผนการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับให้มาตรฐาน NPMS สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาคผ่านคณะทำงาน WCPSS (Working Committee on Payment and Settlement Systems) ซึ่งเป็นคณะทำงานระบบการชำระเงินในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับสากลผ่าน CGI Forum (Common Global Implementation) โดยคำนึงถึงบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการชำระเงินในประเทศไทยเป็นหลัก นอกจากนี้ สพธอ. จะร่วมกับ ธปท. ในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้มาตรฐาน NPMS ครอบคลุมการรับส่งข้อความระหว่างธนาคารพาณิชย์ ทำให้ระบบการชำระเงินของประเทศไทยเป็นแบบ Straight Through Processing ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการดำเนินการ (Operational risk) และลดต้นทุนของธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

View :1445

กระทรวงไอซีที จับมือ 13 หน่วยงาน ยกระดับ TKC เป็นคลังความรู้แห่งชาติ

June 25th, 2013 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (Thailand Knowledge Center: ) ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ 13 หน่วยงาน/สถานศึกษา ณ ห้องสัมมนา 5209 อาคารสัมมนา 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ว่า กระทรวงไอซีทีได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ () ขึ้น เพื่อต้องการพัฒนาเว็บไซต์ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (www..go.th) ให้เป็นเว็บหลักของประเทศไทยในการให้บริการข้อมูลสารสนเทศและความรู้แก่ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Knowledge Base Society) ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของวุฒิสภาที่ต้องการให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการสร้างคลังความรู้แห่งชาติ

ตลอดระยะเวลา 8 ปี นับตั้งแต่ปี 2548 มาจนถึงปัจจุบัน การดำเนินการโครงการศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (TKC) ของกระทรวงไอซีที ได้มีการพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อรองรับการจัดเก็บที่ทันสมัย รวมทั้งสามารถรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย สะสมองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ จำนวนมาก โดยองค์ความรู้ที่มีอยู่บนเว็บท่า TKC นั้น จะมีการพัฒนาต่อยอด เพิ่มพูนประสบการณ์จากบุคลากรผู้สนใจในสาขาต่าง ๆ ตลอดเวลา สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ของคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเนื้อหาสาระ (Content) และโปรแกรมประยุกต์ (Application) ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อการศึกษา การสาธารณสุข การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ศาสนาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ รวมทั้งได้ใช้เทคโนโลยีการจัดทำเว็บไซต์ในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) และสารานุกรมเสรี (Wikipedia) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ มีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้บนเว็บไซต์ไปเผยแพร่ในวงกว้างบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และยังสามารถแก้ไขปรับปรุงองค์ความรู้ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน

“สำหรับความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีที กับ 13 หน่วยงาน/สถานศึกษา ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานเครือข่ายช่วยลดอุบัติเหตุ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จแล้ว ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge Base Society) ได้ในที่สุด รวมทั้งเอื้อต่อการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาอย่างยั่งยืนและทั่วถึงอีกด้วย” นายไชยยันต์ฯ กล่าว

View :1291

ก.ไอซีที เดินหน้าพัฒนา GCC 1111 เป็นศูนย์กลางคอลเซ็นเตอร์ของภาครัฐ

June 18th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Government Contact Center: ) ว่า ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญในการนำ ICT มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการแก่ประชาชน โดยได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลครอบคลุม 20 กระทรวง 10 หน่วยงาน อาทิ สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น และหน่วยงานอิสระอีก 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไว้บริการด้วยเลขหมายเดียว คือ 1111 ซึ่งประชาชนทั่วประเทศสามารถติดต่อขอข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งขอแบบฟอร์มต่างๆ หรือแจ้งเรื่องร้องเรียนการบริการของหน่วยงานภาครัฐได้ตลอดเวลา

สำหรับศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หรือ GCC 1111 นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ซึ่งได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรที่ให้บริการประจำศูนย์ การพัฒนาข้อมูลที่ให้บริการให้ทันสมัย รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมต่างๆ เพื่อมารองรับในการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น และยังได้ให้บริการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีประชาชนสนใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง กระทรวงฯ จึงมีแนวความคิดปรับปรุงและพัฒนา GCC 1111 ให้มีการบริหารจัดการที่มีทิศทางชัดเจน รวมถึงการดำเนินงานที่มีขั้นตอนกระชับ ไม่ซ้ำซ้อน และการบริการที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันสมัย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยในปี 2556 นี้ได้มีการเพิ่มช่องทางการให้บริการผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook Twitter Instagram และกระทู้ในเว็บไซต์ www.pantip.com เพื่อให้บริการประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาครัฐ อาทิ การจัดกิจกรรม นิทรรศการ การรายงานสภาพอากาศ ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน การรายงานสภาพการจราจร และสถานการณ์ด่วนต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาการให้บริการข่าวสารข้อมูลผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ

ล่าสุดกระทรวงฯ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “GCC 1111 : พลังภาครัฐ สรรค์สร้างสู่สังคม” ขึ้นระหว่าง ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ของทุกหน่วยงานภาครัฐกับทีมงานโครงการ GCC 1111 โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประสานงานโครงการ GCC 1111 ประจำหน่วยงานสามารถเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภารกิจการเป็นตัวแทนของรัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างผู้ประสานงานกับทีมงานของโครงการ GCC 1111 ในการสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร และรับเรื่องร้องเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงการ GCC 1111 และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ประชาชนที่สนใจสามารถใช้บริการศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน รวมทั้งร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน โดยผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 1111 โทรสาร อีเมลล์ และเว็บไซต์ http://www.gcc.go.th และผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ www.facebook.com/GCC1111, twitter.com/GCC_1111 เป็นต้น

View :1336

ก.ไอซีที หนุน สสช. แปลงแผนแม่บทฯ สู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่

June 18th, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
สรุปผลการดำเนินงานการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติของประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 ว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 และมาตรา 6 (1) ได้กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ ดังนั้นสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงไอซีที จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย พ.ศ. 2554 – 2558 โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) และ สหประชาชาติ (United Nations : UN) ร่วมในการศึกษา ซึ่งแผนฉบับดังกล่าวนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อให้งานด้านสถิติของประเทศมีความเป็นเอกภาพ ข้อมูลสถิติมีมาตรฐาน ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำสถิติและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและใช้ข้อมูลสถิติสารสนเทศร่วมกันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผู้บริหารในพื้นที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เร่งด่วนสำคัญและนำไปใช้ในการพัฒนาในพื้นที่ได้ สสช.จึงได้ดำเนินโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ขึ้น โดยในปี 2555 ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้ว 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอ่างทอง นครนายก ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง

สำหรับโครงการแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2556 นี้ สสช.ได้กำหนด กลุยุทธ์ในการดำเนินการไว้ 3กลยุทธ์ คือ การขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเป็นประธานคณะฯ กลยุทธ์ที่สองการสร้างพันธมิตรด้วยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง การขยายผลการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในระดับพื้นที่ ภายใต้โครงการ การแปลงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ ลงนามไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 และกลยุทธ์สุดท้ายการจัดระบบและรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิตข้อมูล โดยนำความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล และประเด็นยุทธศาสตร์มากำหนดเป้าหมายในการทำงาน

โดยในปีนี้มีเป้าหมายในการลงพื้นที่ 2 กลุ่มจังหวัด คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 3 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (สกลนคร นครพนม มุกดาหาร) ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ และผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 2 ท่าน เป็นที่ปรึกษาฯ โดยคาดว่าภายในปี 2557 จะขยายผลการดำเนินงานไปให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC
เมื่อโครงการนี้สำเร็จลุล่วงประเทศไทยจะมีชุดข้อมูลสถิติและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) และสนับสนุนการวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยชุดข้อมูลดังกล่าวจะเป็นชุดข้อมูลที่สำคัญ จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดกลุ่มจังหวัด และประเด็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบการผลิตข้อมูลอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการสร้างนวัตกรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีหรือแผนพัฒนาแบบหมุนเวียน (Rolling Plan) ส่งผลให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐ (Good Governance) และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างวัฒนธรรมการผลิต และการใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจโดยมีความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตและใช้ข้อมูลสถิติและสารสนเทศ

View :1278

สพธอ.ร่วมจัดงานประชุม ยกระดับมาตรฐานการรับมือและจัดการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

June 17th, 2013 No comments

DSC_0123

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ภายใต้ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติ “Forum of Incident Response and Security Teams (FIRST) : การประชุมสัมมนาประจำปี” ปีที่ 25 ระหว่างวันที่ 16 – 21 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมคอนราดกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับสากลของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก ภายใต้หัวข้อ “Incident Response: Sharing To Win” ซึ่ง FIRST เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตอบสนองและจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉินไซเบอร์มากกว่า 250 หน่วยงาน ทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และสถาบันอื่น จากในทวีปอเมริกา เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และกลุ่มหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบันถือได้ว่า FIRST เป็นผู้นำในการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ การก่อวินาศกรรมและการก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเป็นผู้ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่ตอบสนองและจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์กับหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย

วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมครั้งนี้ มุ่งให้เกิดความร่วมมือและประสานงานป้องกันเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ผ่านเวทีประชุมระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนแนวคิด และข้อมูลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานมีหลายส่วน เช่น Lightning Talk: การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุม โดยใช้เวลาในการนำเสนอความคิดไม่เกินคนละ 5 นาที International gatherings of Special Interest Groups: การเข้าร่วมกลุ่มความสนใจพิเศษ เช่น CVSS v3, Botnet SIG and Metrics SIG. Security Challenge: การทดสอบความรู้ทางเทคนิค เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ท้าทาย และเป็นประโยชน์กับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไทยและผู้ที่สนใจทั่วไป

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในฐานะประธานเปิดงานว่า ปัญหาภัยออนไลน์เป็นปัญหาใกล้ตัวที่เกิดได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ถึงระดับหน่วยงาน ในปัจจุบันพบว่าหลายหน่วยงานของประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมด้านการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของคนในองค์กร และไม่ได้วางแผนการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างกรอบนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน คือ

1) การบูรณาการการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ
2) การสร้างศักยภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
3) การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศของประเทศ และ
ยุทธศาสตร์รอง 5 ด้าน คือ
4) การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
5) การสร้างความตระหนักและรอบรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
6) การพัฒนาระเบียบและกฎหมายเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
7) การวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ
8) การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

โดยรัฐบาลจะได้นำยุทธศาสตร์ทั้ง 8 นี้ มาเป็นกรอบในการพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพการจัดงานสัมมนาประชุมประจำปี FIRST ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากทีมผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก สพธอ. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินการต่างๆ ทางออนไลน์ ซึ่งภัยคุกคามไซเบอร์ (Cybersecurity Threat) ในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น สพธอ. จึงได้ผลักดันการทำงานเชิงรุกของไทยเซิร์ต ให้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักของประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมออนไลน์ และมีการประสานงานความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานเซิร์ตทั่วโลก ที่ได้มาร่วมประชุมสัมมนา 25th Annual FIRST Conference 2013 ในครั้งนี้

View :1576

ก.ไอซีที เร่งแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขา ICT

June 17th, 2013 No comments

นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิตอลคอนเทนต์ ว่า เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม โดยแต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 34 ท่าน เป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมให้ทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการเขียนร่างนิยาม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ขึ้นอีก 31 คณะ อาทิ สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง สาขาสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย สาขาการศึกษา สาขาการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้รับมอบหมายให้ศึกษาและพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการอีก 15 ท่าน

สำหรับการจัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการด้านแรงงาน และการจัดเก็บสถิติเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ มีระบบฐานข้อมูลเดียวกัน สามารถนำข้อมูลไปใช้อ้างอิงเปรียบเทียบได้ ทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับประเทศ การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพประเทศไทยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (International Standard Classification of Occupations : ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำประเภทมาตรฐานอาชีพมาแล้วจำนวน 4 ครั้ง ส่วนการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ จัดทำมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขร่างนิยามอาชีพและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลคอนเทนต์ ซึ่งแบ่งเป็น 6 สาขาอาชีพ คือ สาขา Software & Application สาขา Hardware สาขา Project Management สาขา Telecommunication สาขา Network & Security และสาขาAnimation โดยจะแบ่งคณะทำงานย่อยแยกตามแต่ละสาขาอาชีพด้วย และเมื่อคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาร่างนิยามอาชีพเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

View :1216

เอกสารข่าว”กรณีเว็บสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีถูกแฮก และมีการหมิ่นนายกรัฐมนตรี”

May 9th, 2013 No comments

ปัญหาการแฮกเว็บ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. เกิดขึ้นจากการทำ SQL Injection ด้วยการเข้าไปกรอกข้อมูล และเปลี่ยนข้อมูลในเว็บ และมีการใช้วิธีการอำพรางตัว เพื่อไม่ให้รู้ได้ว่าผู้ทำผิดเป็นใคร

ดังนั้น การรู้ตัวผู้กระทำความผิด จะต้องมาจากการรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และกระบวนการสืบสวนสอบสวน ซึ่งขณะนี้ ก็ได้เบาะแสแล้ว แต่คงไม่สามารถให้รายละเอียดได้ เพราะอาจส่งผลต่อรูปคดี

โดยในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ได้มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการเอา log หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ทราบว่า รูปแบบ (pattern) ของการกระทำความผิดเกิดได้อย่างไร และจากที่ไหนเป็นหลัก โดยการทำงานเกิดจากความร่วมมือของทีมสำนักป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทีมไทยเซิร์ต (องค์การมหาชน) ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเน้นการรวบรวมและวิเคราะห์พยานหลักฐานดิจิทัล ส่วนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็เน้นการสืบสวนสอบสวน (องค์การมหาชน)เป็นหน่วยงานเพิ่งตั้ง 2 ปี ดูแล ThaiCERT ภายหลังจากทราบว่า มีการกระทำความผิดเมื่อวันที่ 8 ช่วงบ่าย ก็มีการวางแผนการดำเนินการ รวบรวมและวิเคราะห์พยานหลักฐานเบื้องต้น ใช้เวลาประมาณ 12 ชม. เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการทำ image หรือทำสำเนาของพยานหลักฐานมาใช้ในการวิเคราะห์ เพราะข้อมูลมีเป็นจำนวนมาก แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามกระบวนการพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล เพื่อไม่ให้พยานหลักฐานนั้นปนเปื้อนและถูกโต้แย้งเรื่องความน่าเชื่อถือ ซึ่งการจับกุมนั้น คาดว่าจะสามารถดำเนินการเร็วๆ นี้ แต่เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่มีลักษณะอาญา การเข้าดำเนินการจับกุมต้องทำด้วยความรอบคอบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิของผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหา หรือจับแพะ โดยความผิดนั้น เข้าข่ายความผิดอยู่ ๒ ส่วน (ทั้งนี้ แล้วแต่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนจะตั้งข้อกล่าวหาตามพยานหลักฐาน) คือ 1) ความผิดตามกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (4 มาตรา) อยากทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนว่า การกระทำความผิดนั้น เป็นการเข้าไปยังเว็บของรัฐที่เป็นบริการสาธารณะ หากมีผู้หนึ่งผู้ใดทำเช่นนั้น ย่อมหมายความว่า อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการให้บริการของรัฐทางออนไลน์ ก็อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดหลายมาตราด้วยกัน ตั้งแต่ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นๆ โดยมิชอบที่เขามีมาตรการป้องกันเอาไว้ (มาตรา 5 และมาตรา 7 กฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์) และการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 9) และเนื่องจากเว็บสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเว็บที่ถือเป็นบริการสาธารณะของรัฐ ก็อาจเข้าข่ายเป็นความผิดที่อาจได้รับโทษหนักขึ้น (มาตรา 12 (2) โทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี) 2) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (1 มาตรา) (มาตรา 328 ปอ.) ในกรณีที่เกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรี

สาเหตุที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะเรื่องนี้เป็นการกระทำที่อุกอาจเพราะใช้วิธีการทำความผิดผ่านเว็บของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบที่สำคัญมาก ต่อความน่าเชื่อถือของระบบของรัฐ ที่อาจมีใครพยายามกระทำความผิดต่อเว็บอื่นอีก โดยนโยบายของรัฐบาลทุกประเทศที่มุ่งไปในทางเดียวกัน คือ ส่งเสริมให้ประชาชนทำธุรกรรมทางออนไลน์ ย่อมได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล นอกจากนี้ หากพิจารณากรณีของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศ แต่ฝ่ายจัดการไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาใดๆ ได้ แน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศไปด้วย สำหรับการแก้ไขปัญหาเว็บไซต์หมิ่นสถาบันนั้น กระผมเองมั่นใจว่าทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ แต่การให้ข่าวหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการนั้น อาจแตกต่างกัน บางรัฐบาลก็ให้ข่าว เหมือนเป็น KPI แต่ในปัจจุบันนี้ กระทรวงฯ ได้ให้หลายทีมช่วยกันวิเคราะห์กลไกของการแก้ไขปัญหา พบว่า การแก้ไขปัญหาโดยไม่ไปกระตุ้นให้คนทั่วไปสนใจอยากรู้อยากเห็น น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะหากปล่อยให้การประชาสัมพันธ์ไปสร้างแรงจูงใจและแรงกระตุ้นให้กับผู้ที่ไม่อยากเกี่ยวข้อง เข้าไปเกี่ยวข้อง ความบอบช้ำและผลกระทบก็จะยิ่งมากตามไปด้วย จึงเสนอว่าไม่ควรนำทั้ง 2 กรณี ไปเปรียบเทียบกันพร้อมกันนี้ ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ กฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (CC) ร่างปรับปรุงเสร็จแล้ว ได้รับฟังความเห็นไปแล้ว 3 ครั้ง ไม่รวมการรับฟังในลักษณะ focus group อีกหลายครั้ง ขณะนี้ เหลือเพียงขั้นตอนนำเสนอเข้าครม. (ภายใน 2 เดือน) โดยระหว่างนี้ ก็จะมีการนำเสนอร่างต่อสาธารณชนเป็นระยะๆ เพราะกว่าร่างจะผ่านสภานั้น คงใช้เวลาอีกพอสมควร อาจมีเทคโนโลยีและรูปแบบการกระทำความผิดที่จำเป็นต้องรับฟัง หรือ update ให้ทันสมัยตลอดเวลาแนวทางการดำเนินการ Security ของประเทศนั้น นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ด้วยการตั้งคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้บูรณาการการดำเนินการเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ โดยจะมีการผลักดันกรอบนโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, มีการแบ่งขอบเขตการทำงานที่ครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกลาโหม (เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายหรือวินาศกรรม), Incidents Response, Law Enforcement, Capacity Building, Public Awareness, R&D โดยมีสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)เป็นฝ่ายเลขานุการ และมีทางศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ กระทรวงกลาโหม และส่วนงานกำกับดูแลการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ อีกทั้งแนวทางการเสนอแนะในการดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว ได้มีข้อเสนอแนะทั้งในระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งโดยการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้น การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อทำการ scanning ตรวจสอบช่องโหว่ ในลักษณะเป็น Security Clearance Day โดยให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามมาตรการที่ไทยเซิร์ต สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พร้อมให้คำแนะนำและเสนอแนะมาตรการดำเนินการทางปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ต่อการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และระยะยาว ให้มีการกำหนดมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเว็บไซต์ และมาตรการการตรวจประเมินระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยผ่านการผลักดันของคณะกรรมการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการด้าน Security ที่เป็นระบบ และควรผลักดันให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการระดับชาติอีกชุดหนึ่งที่ได้ผลักดันมาตรการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยออกมาบังคับใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน่วยงานภาครัฐให้มีความจริงจังมากยิ่งขึ้น

View :1340

ก.ไอซีที รับการสนับสนุนจากกองทุน กสทช. ขยาย ICT Free Wi-Fi เพิ่ม 1.5 แสนจุดทั่วประเทศ

May 3rd, 2013 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินการโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ ระหว่าง กระทรวงไอซีที กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาข้อ 3.6 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดว่ารัฐบาลจะส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีการใช้งานตามความเหมาะสมโดยไม่คิดค่าใช้บริการในพื้นที่สาธารณะ ประกอบกับสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินโครงการบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามมาตรฐานในพื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ และสถานศึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจัดให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง โดยใช้กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดังนั้น กระทรวงไอซีที และ คณะกรรมการ กสทช. จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา ไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ซึ่งนับตั้งแต่ที่ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งสองหน่วยงานก็ได้มีการประสานและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนากิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ให้มีความสำเร็จลุล่วงด้วยดีมาโดยตลอด

สำหรับการลงนามฯ ในครั้งนี้ กระทรวงไอซีที ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีอีกครั้งจากคณะกรรมการ กสทช. ในการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 950 ล้านบาท สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ Access Point จำนวน 150,000 จุด ซึ่งมอบหมายให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งโดยมีสถานที่ให้บริการเป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยของรัฐ ศาลากลาง จังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบต. ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โรงพยาบาลของรัฐ สถานีตำรวจ ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่สำคัญ (Point of Interest) โดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินการติดตั้งจุดให้บริการ Free Wi-Fi ไปแล้วกว่า 120,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา องค์การสวนสัตว์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กรมเจ้าท่า บริษัท ขนส่ง จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อิน

View :1204

ICT และ EGA จัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ

April 24th, 2013 No comments

นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ICT ยกระดับการให้บริการประชาชน ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ โดยให้หน่วยงานส่วนราชการนำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” ที่ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ดำเนินการอยู่ ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนั้น ยังให้ EGA จดทะเบียนชื่อและเป็นผู้ถือครองโดเมนเนม ภายใต้ชื่อ “data.go.th” และ “apps.go.th” ในการให้บริการเว็บไซต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) และเป็นศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) ตามลำดับ โดยทั้งสองเว็บไซต์จะมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมประเทศไทยไปสู่สังคมของการใช้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในหลากหลายมิติ

ต่อจากนั้นให้เว็บไซต์ของ 7 กระทรวง และอีก 1 หน่วยงาน ซึ่งอยู่ในรายการที่องค์การสหประชาชาติจะทำการตรวจประเมิน ดำเนินการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ อันประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2559 จึงให้หน่วยงานราชการระดับกรมขึ้นไป สามารถตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ได้ทันภายในปีงบประมาณ 2557

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ทั้ง ICT และ EGA ได้จัดทำ “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและบริการระหว่างหน่วยงานราชการ ที่สมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระดับหน่วยงานผู้ให้บริการ ตลอดจนผู้รับบริการทุกภาคส่วน

โดยในแผนจะเริ่มจากการจัดทำเว็บไซต์กลางเพื่อให้บริการในลักษณะของศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) และเป็นศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) ช่วยให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานราชการ สามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้น และนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ

มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐจะมีการปรับปรุงตั้งแต่ องค์ประกอบเนื้อหาเว็บไซต์ (Contents) คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี (Recommended Features) รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกำหนดองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ e-Government ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ (International Best Practice)

ที่ผ่านมา EGA ได้เริ่มดำเนินการและหารือกับหน่วยงานต่างๆ มาแล้วทั้งภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน กลุ่มสมาคม ที่รับพัฒนาเว็บไซต์ให้กับหน่วยงานราชการ และจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไป ประมาณ 60 หน่วยงาน ตลอดจนจัดประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง (Public Hearing) ใน “(ร่าง) มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ” เมื่อปี พ.ศ. 2555 มีหน่วยงานภาครัฐ ประมาณ 180 หน่วยงานมารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะมาจัดทำมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ ฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้ ได้มีการผลักดัน 8 หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ให้มีการปรับปรุงเว็บไซต์ตามมาตรฐานฯ โดยได้มีการหารือร่วมกันเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

หากพิจารณา สถานภาพปัจจุบันของเว็บไซต์ภาครัฐในระดับกระทรวง โดยการสำรวจเว็บไซต์หน่วยงานราชการ ที่มีการให้บริการประชาชนของส่วนราชการระดับกระทรวง 20 หน่วยงาน ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 พบว่า เว็บไซต์ของหน่วยงานส่วนราชการ มีระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์หน่วยงานราชการในภาพรวม ซึ่งตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐแบ่งออกเป็น 5 ระดับ สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์หน่วยงานราชการในภาพรวม จัดอยู่ในระดับ Emerging Information Services จำนวน 72.1%, Enhance Information Services จำนวน 65.25%, Transaction Information Services จำนวน 62%, Connected Information Services และ Intelligence 6% ระดับการพัฒนาการให้บริการผ่านเว็บไซต์ในระดับ Connected Information Services นั้น ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจประเมินในครั้งนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำการตรวจประเมินโดยผู้ใช้บริการเว็บไซต์ได้

สำหรับศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) จะจัดตั้งเพื่อทำให้ผู้ใช้บริการทั้งภาคประชาชน ธุรกิจเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐ สามารถค้นหาและเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของภาครัฐได้ง่าย โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความร่วมมือของภาครัฐ และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ให้ความสำคัญในการให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่ประชาชน และดำเนินการศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการช่วยสร้างมูลค่าในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ ความโปร่งใส, การมีส่วนร่วม, การปรับปรุง หรือพัฒนาสินค้าและบริการใหม่, การสร้างนวัตกรรม, การปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการให้บริการของภาครัฐ, สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก

ส่วนศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ (Government Application Center) จะทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลและบริการ การนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำ“Apps.Gov” ในปี พ.ศ. 2552, อังกฤษ พัฒนาศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ ชื่อ “CloudStore” ซึ่งเป็นบริการหนึ่งบน Cloud Service โดยจัดทำในลักษณะ Government e-Marketplace, เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีการจัดทำเป็น Mobile websites และ Mobile applications ของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ซึ่งให้บริการบน Web portal (www.gov.hk) ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น กรมอนามัย ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการเลิกบุหรี่ (Quit Smoking App) ที่ใช้ได้กับ iPhone และ Android เป็นต้น

View :1693