Archive

Archive for the ‘E-Commerce’ Category

บิ๊กซี จับมือ Cdiscount ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซฝรั่งเศส และบริษัทในเครือกลุ่มคาสิโนในเวียดนามเปิดบริษัทลุยธุรกิจอีคอมเมิร์ซเต็มตัว

March 15th, 2014 No comments

บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดมิติใหม่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จับมือ บริษัท Cdiscount ยักษ์ใหญ่ผู้นำอีคอมเมิร์ซ
แห่งประเทศฝรั่งเศส และบริษัทในเครือกลุ่มคาสิโนในเวียดนาม เปิดบริษัทลุยธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบเต็มตัวเพื่อจับ
ตลาดอาเซียน กำหนดเปิดตัวเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในไทยและเวียดนาม ภายใต้ชื่อ “Cdiscount” (ซี ดิสเคาท์) ในอีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึง โดยจะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซกว่า 10 ปี ของ Cdiscount ในฝรั่งเศส มาผนวกกับความเป็นผู้นำด้านค้าปลีกและภาพลักษณ์ด้านราคาของบิ๊กซีในไทยและเวียดนาม เพื่อนำเสนอ
- สินค้ายอดนิยมหลากหลายในราคาที่ประหยัดที่สุด
- ช่องทางการจับจ่ายและรับสินค้าที่ครบถ้วนและครอบคลุมทุกความต้องการ
- แผนการตลาดที่ถูกออกแบบให้ตรงและตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะถิ่นของผู้บริโภคในทุกพื้นที่

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มตัวของบิ๊กซีในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การขยายช่องทางการขายของบิ๊กซี โดยช่องทาง Cdiscount จะเติบโตคู่ไปกับช่องทางบิ๊กซี ช้อปปิ้ง ออนไลน์ ซึ่งทั้งสองจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตด้วย

เกี่ยวกับ Cdiscount:
Cdiscount เป็นบริษัทในเครือกลุ่มคาสิโน และเป็นผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศฝรั่งเศสที่มียอดขายถึง 1.6 พันล้านยูโร (รวมรายได้จากการเป็นช่องทางซื้อขายสินค้าแบบ Marketplace) หลังจากการเติบโตต่อเนื่องอย่างรวดเร็วในปี 2556 นอกจากนั้น Cdiscount ได้พัฒนากลยุทธ์การใช้ช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย และนวัตกรรมของการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และใช้ประโยชน์จาก
- การเป็นช่องทางและศูนย์รวมการรวมสินค้าแบบ Marketplace ที่หลากหลายและครอบคลุมสินค้าทุกประเภท จากผู้ค้าที่เข้าร่วมธุรกิจ ซึ่งขณะนี้มีสัดส่วนถึง 16% ของมูลค่าการขายทั้งหมด มีสินค้ามากถึง 5.5 ล้านชิ้น และผู้ร่วมค้าขายกว่า 2,800 คน
- บริการใหม่ๆ อาทิ การรับชำระเงินที่ร้านค้าต่างๆ หรือผ่านเว็บไซต์และสมาร์ทโฟนแอพพลิเคชั่น
- เครือข่ายการกระจายสินค้าที่มีจุดรับสินค้ากว่า 14,000 แห่งในฝรั่งเศส

View :48266
Categories: E-Commerce Tags:

เพย์สบายพร้อมดันตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยสู่ตลาดโลก ผุดบริการใหม่รองรับการตลาดยุคโซเชียลคอมเมิร์ซ

March 4th, 2014 No comments

Paysbuy_7369

เพย์สบายผู้นำในการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์และระบบการชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย และเป็นบริษัทในเครือดีแทค ลุยครบ 1 ทศวรรษสร้างปรากฏการณ์เจ้าแรกอีวอลเล็ต สนับสนุนตลาดอี-คอมเมิร์ซในไทยสู่ตลาดโลก เผยยอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 2 พันล้านบาท เตรียมต่อยอดแนะนำบริการใหม่ในปีนี้ มั่นใจช่วยกระตุ้นทั้งเศรษฐกิจและวงการอี-คอมเมิร์ซไทยให้โตยิ่งขึ้น

นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท จำกัด กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมาเพย์สบายเป็นเจ้าแรกในการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ในประเทศไทย และให้บริการระบบการชำระเงินออนไลน์ สามารถช่วยกระตุ้นวงการอี-คอมเมิร์ซของประเทศไทย พร้อมทั้งช่วยเร่งการเติบโตของการจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์ สนองพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่หันมาช้อปปิ้งบนออนไลน์ได้สนุกอย่างปลอดภัย และช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจภายในประเทศสามารถเข้าถึงตลาดเป้าหมายใหม่ทั้งในประเทศและกลุ่มผู้ซื้อในต่างประเทศทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการทำตลาดและฐานกำไรทางการค้าให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้น อีกทั้งหมดปัญหาเรื่องช่องทางการรับชำระเงินและความลำบากในการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ

“เพย์สบายมีรายได้เติบโต 25% ในปี พ.ศ. 2556 เมื่อเทียบกับรายได้ปีก่อน โดยมียอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 2 พันล้านบาท และปี พ.ศ. 2557 ตั้งเป้ารายได้เติบโตอีก 35% โดยรวมที่ผ่านมาพฤติกรรมผู้ใช้บริการและร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เติบโตพร้อมกับกระแสโมบายล์อินเทอร์เน็ตบน 3G บูม และยอดการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเติบโตต่อเนื่อง จากเดิมพฤติกรรมที่ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเปลี่ยนเป็นออนไลน์เชื่อมต่อโซเชียลมีเดียได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา และสามารถช้อปปิ้งสินค้าผ่านหน้าจอได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเติบโตของออนไลน์แบบใหม่ ๆ เช่น โทรศัพท์ ธุรกิจเว็บดีล คูปองส่วนลด เกมส์ออนไลน์ และ ดิจิตอลคอนเทนท์ ที่ใช้ช่องทางชำระเงินผ่านเพย์สบาย โดยสัดส่วนการชำระเงินทั่วไปแต่เดิมจะเน้นจ่ายผ่านเครดิตการ์ดเป็นหลัก แต่เพย์สบายได้ให้บริการที่หลากหลายช่องทางตามกระแสพฤติกรรมลูกค้า โดยปีที่ผ่านมาจะมีสัดส่วน ชำระผ่านเครดิตการ์ด 38%, ช่องทางเงินสด 32%, และอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง 30% เพย์สบายจะเพิ่มช่องทางและปรับบริการไปตามเทรนด์และสัดส่วน” นายสมหวัง กล่าว

เพย์สบายเป็นตัวแทนรับชำระเงินที่อยู่เบื้องหลังให้ร้านค้า SME เติบโต ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยให้บริการกับร้านค้าออนไลน์กว่า 10,000 แห่ง สร้างมูลค่าธุรกรรมให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของประเทศไทย เติบโตโดยมียอดการชำระเงินผ่านทางระบบของเพย์สบายมากกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีร้านค้าที่สมัครใช้บริการเพย์สบายเพิ่มขึ้นอีก 1,000 แห่ง และจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดส่วนนี้เติบโตขึ้นเป็น 10 % ปัจจุบันมีผู้สมัครเปิดบัญชีเพย์สบายเพื่อใช้ในการรับ-ส่งเงินกว่า 500,000 ราย ในจำนวนนี้จะเป็นสัดส่วนฐานลูกค้าผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% โดยช่วงอายุ 21-30 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 32%, รองลงมาคือช่วงอายุ 31-40 ปี มีจำนวน 28%, ช่วงอายุ 41-50 ปีมีจำนวน 16%, ช่วงอายุไม่เกิน 20 ปีมีจำนวน 13% และช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไปมีจำนวน 11% ตามลำดับ

นายสมหวัง กล่าวต่อไปว่า “เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “Internet for All” ของดีแทคที่มีเป้าหมายต้องการให้คนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยรวมให้กับประเทศ ในปีนี้เพย์สบายจึงนำมาต่อยอดโดยปรับสู่ 3 กลยุทธ์หลักคือ 1. เพิ่มสินค้าและบริการใหม่ให้กับร้านค้าออนไลน์และผู้ใช้งานผ่านเพย์สบาย 2. เพิ่มช่องทางและขยายการตลาดการชำระเงินในออนไลน์ 3. เสริมสร้างระบบสู่ความแข็งแกร่งรองรับความปลอดภัยใช้งานในโลกออนไลน์ด้วยมาตรฐานระดับโลก โดยทั้งหมดนี้จะเริ่มดำเนินการแนะนำสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นวงการอี-คอมเมิร์ซของประเทศไทยในราวไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป”

กลยุทธ์บริการใหม่ที่จะแนะนำสู่ตลาดออนไลน์และวงการอี-คอมเมิร์ซในปีนี้ได้แก่ แคชการ์ด (Cash card) หรือบัตรเงินสดใช้จ่ายผ่านโลกออนไลน์, Virtual prepaid card ที่ช่วยทำให้ผู้มีบัญชีกับเพย์สบายสามารถช้อปปิ้งบนออนไลน์ได้กับทุกเว็บไซต์ผ่านเครือข่าย Visa, MasterCard, โมบายล์ เครดิตการ์ด (Mobile credit card) หรือการนำบัตรเครดิตเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือบริการ, Payment On Delivery หรือ บริการ POD ที่จะให้ร้านค้าสามารถรับชำระเงินที่ปลายทางได้

สำหรับกลยุทธ์ช่องทางที่จะขยายในปีนี้จะรุกในส่วนที่ลูกค้าสามารถชำระเงินสดได้เพิ่มขึ้นที่เคาน์เตอร์ของผู้ให้บริการ อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบผ่อนออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตกับทุกธนาคารในประเทศไทย พร้อมทั้งยังมี การชำระเงินจากต่างประเทศแบบใหม่ เช่น Alipay

“สุดท้าย กลยุทธ์เสริมสร้างระบบสู่ความแข็งแกร่งรองรับความปลอดภัยใช้งานเพย์สบายจะเพิ่มระบบ PCI DSS เป็นมาตรฐานการเก็บรักษาข้อมูลบัตรเครดิต เพิ่มความปลอดภัยทางการเงินระดับโลกให้กับลูกค้าที่ทำการชำระเงินผ่านระบบเพย์สบาย ป้องกันการโจรกรรมในโลกออนไลน์ และ Tokenization เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าในการชำระเงินให้สะดวก ปลอดภัยขึ้น โดยที่ลูกค้าทำการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตในครั้งแรก เมื่อระบบจดจำค่าไว้เรียบร้อยแล้ว ครั้งต่อไปลูกค้าจะไม่ต้องกรอกรายละเอียดบัตรเครดิต ก็สามารถชำระเงินได้ทันทีบนความปลอดภัยที่มั่นใจได้สูงสุด โดยได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก นอกจากนี้ คอลล์เซ็นเตอร์ของเพย์สบายจะเพิ่มการรองรับลูกค้าเป็น 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดอีกด้วย” นายสมหวัง กล่าวในที่สุด

เกี่ยวกับเพย์สบาย

บริษัท เพย์สบาย จำกัด (www.paysbuy.com) เป็นผู้ให้บริการรับ/ส่งเงิน ชำระเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยด้วยช่องทางการเติมเงินและการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร และเงินสด

เพย์สบายก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยมี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น () เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2550 ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เพย์สบายได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเติมเงินอิเล็กทรอนิกส์ ใบอนุญาตให้เป็นผู้ให้บริการทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแล และได้รับการรับรองความน่าเชื่อถือจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกระทรวงพาณิชย์

View :1416

ดีแทคออกบัตรเงินสด FARMER INFO บริการข้อมูลการเกษตร

February 21st, 2014 No comments

FARMER INFO-2

19 กุมภาพันธ์ 2557 – บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ออกบัตรเงินสด (Cash Card) ลายใหม่ ชวนผู้ใช้สมัครบริการ SMS *1677 และโหลดแอพลิเคชั่นซึ่งเป็นคลังข้อมูลข่าวสารการเกษตรแบบ 360 องศาหนึ่งเดียวของประเทศ ที่พร้อมให้ลูกค้าสมาร์ทโฟนทุกระบบปฏิบัติการดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรีแล้ววันนี้

ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างประโยชน์และเชื่อมต่อกับประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข สังคม รวมถึงเกษตรกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นที่มาของการสร้างสรรค์บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตร ให้ลูกค้าสมัครรับ SMS ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และต่อยอดโดยการเสนอบริการใหม่ FARMER INFO แอพพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟน ให้ข้อมูลสินค้าเกษตร ทั้งราคารับซื้อ ราคาขาย ณ ตลาดใหญ่ในหลายพื้นที่ รวมถึงเกร็ดความรู้ด้านการเกษตรแบบครบวงจรที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และบริโภคปลอดภัย

วิธีการสมัคร สมัครรับ SMS กด *1677 และโทรออก หากต้องการติดตั้งแอพพลิเคชั่น FARMER INFO บนสมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store, Google Play หรือ Window Phones Store โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ภายในกลางปี 2557 นี้ ดีแทคมีแผนที่จะร่วมกับบริษัท รักบ้านเกิด จำกัด พัฒนาช่องทางในการซื้อขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ระหว่างคนไทยกับทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ รักบ้านเกิด.คอม โดยไม่คิดค่าสมาชิก รวมทั้งจะเปิดให้บริการด้านการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Financial Services) เพื่อชำระค่าสินค้าเกษตรและอื่นๆ ให้ผู้ผลิตและผู้ซื้อทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท จำกัด เป็นต้น

View :1415

Ericsson Consumer Lab ชี้อัตราการโตในแง่ความสนใจของผู้บริโภคที่มีต่อ M-Commerce ในประเทศแถบละตินอเมริกา

August 6th, 2013 No comments

ขอบเขตของการบริการทางธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ไม่ว่าจะเป็น การจ่ายเงินค่าโทรศัพท์ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมทางธนาคาร ยังคงมีอยู่ในประเทศแถบละตินอเมริกา แต่ทว่าตลาดนั้นกลับมีการแยกย่อยที่หลากหลายมากมายและการใช้ในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนของสมาร์ทโฟนในประเทศแถบละตินอเมริกามีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความสนใจของผู้บริโภคในเรื่องของ อยู่ในระดับที่สูง

อิริคสันคอนซูเมอร์แล็บทำการวิจัยในเรื่องของความเป็นไปได้ในการนำเอา M-Commerce เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบละตินอเมริกา โดยผ่านการสัมภาษณ์และศึกษาค้นคว้าในประเทศบลาซิล อาเจนติน่า ชิลี เม็กซิโก และโคลัมโบ โดยจุดประสงค์เพื่อจะวัดถึงพฤติกรรมผู้บริโภคและขนบธรรมเนียม ตัวขับเคลื่อนหลักและอุปสรรคในการใช้บริการธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งทำอย่างไรที่ M – Commerce นั้นจะได้รับกระแสการตอบรับที่ดี

ทั้งนี้ประเทศแถบละตินอเมริกากำลังบูมมากในเรื่องของตลาดผู้บริโภค และประเทศที่จะนำมาศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วยประเทศบลาซิล อาเจนติน่า ชิลี เม็กซิโก และโคลัมโบ โดยสัดส่วนการโตของ GDP ต่อปีนั้นแตะอยู่ที่ 3.5 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา
เรื่องของโซเชียลโมบิลิตี้นั้นเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามประชากรโดยส่วนมากในประเทศที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ยังคงอยู่ในสถานภาพที่ยากจน กลุ่มชนชั้นกลางในประเทศแถบละตินอเมริกาโตขึ้นมา 50 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หรือเทียบเท่ากับประชากร 50 ล้านคน และขณะนี้อยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด

ประเทศแถบละตินอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเงิน ลูกจ้างส่วนใหญ่ โดยเฉพาะลูกจ้างรายวันได้รับเงินเดือนในรูปแบบของเงินสด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติมากที่คนเหล่านั้นมักจะเก็บเงินไว้ที่บ้านมากกว่านำไปฝากผูกติดกับบัญชีเงินฝาก
พฤติกรรมที่สำคัญของผู้บริโภคสามารถสรุปได้ดังนี้

• ความสะดวกสบายคือแรงขับเคลื่อนหลักของ M-Commerce
แรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับ M-Commerce ในประเทศแถบละตินอเมริกาคือความสะดวกสบาย โดยความสะดวกสบายที่กล่าวมาในข้างต้นถูกแสดงออกมาในหลากหลายทาง สำหรับคนที่ไม่มีการผูกติดบัญชี หรือในรายงานฉบับนี้เรียกว่าเป็นพวก ‘struggler’ ความสะดวกสบายคือการหลีกเลี่ยงการใช้เวลาอยู่กับการต่อคิวนานๆ เพื่อจ่ายค่าบิล และสำหรับคนที่มีการผูกติดบัญชีไว้แล้ว หรือที่เรียกว่าพวก ‘achievers’ จะได้รับความสะดวกสบายกับการใช้ชีวิตประจำวันที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะจ่ายเงิน ซื้อของ หรือทำการโอนใดๆ ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่และทุกๆ เวลา

• ความปลอดภัยและการควบคุมปัจจัยสำคัญต่างๆ
ในประเทศแถบละตินอเมริกาสามารถกล่าวได้ว่าเป็นประเทศ ‘cashonomy’ เงินสดถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับผู้บริโภค แต่ทว่าในขณะที่เงินสดนั้นถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สะดวกสบายและง่ายที่จะนำมาใช้ แต่ข้อเสียคือความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นการมองเห็นถึงการที่ไม่ต้องถือเงินมาใช้จ่าย หรือแม้แต่กระทั่งการไม่ต้องใช้การ์ดจึงถูกมองว่าเป็นข้อดีสำหรับ M-commerce แต่อย่างไรก็ตามความคิดในเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ เพราะการเข้าไปควบคุมในเรื่องของทรัพย์สินถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคหลายคนยังคงเก็บรายละเอียดของงบประมาณและบันทึกเรื่องของค่าใช้จ่าย

• ความกังวลในเรื่องของประสิทธิภาพของเครือข่าย
ความกังวลใจของผู้บริโภคในเรื่องของประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นอุปสรรคในประเทศแถบลาตินอเมริกา โดยผู้บริโภคมีความระมัดระวังและตั้งคำถามอยู่เสมอถึงความสามารถของช่องทางทางโทรศัพท์ในการที่ส่งผ่านโซลูชั่นทาง M-Commerce ที่น่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย ทัศนคติของผู้บริโภคซึ่งกลัวว่าการดำเนินการ M-Commerce อาจเกิดการสะดุดหรือถูกรบกวนโดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เนตที่ไม่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้อุปสรรคอีกด้านหนึ่งคือการขาดความรู้ ในการที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นรับ M-commerce เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทย กล่าวว่า “ข้อดีของการใช้ M-commerce คือผู้บริโภคนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด หรือแม้แต่กระทั่งการมีเครดิตการ์ดใดๆ และที่สำคัญยังป็นตัวช่วยในการควบคุมและสร้างวินัยของเศรษฐกิจภาคครัวเรือนได้อย่างดีอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการชำระเงินที่จะสามารถถูกส่งโดยตรงไปยังโทรศัพท์มือถือ และผู้บริโภคเองสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเงินที่มากเกิน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ในประเทศแถบละตินอเมริกา การนำเอา M-Commerce มาใช้ประโยชน์ยังมีอัตราส่วนที่ต่ำ โดยอุปสรรคสำคัญคือการขาดความไว้วางใจในหน่วยงาน ทัศนคติในเรื่องของเครือข่ายที่มีคุณภาพต่ำ รวมทั้งความรู้ทั่วไปในเรื่องของการใช้บริการ M-commerce ในตัวของผู้บริโภค ดังนั้นทุกๆฝ่ายทั้งภาครัฐและผู้ให้บริการต่างๆควรจะทำปรับปรุงกฎข้อบังคับ การให้ความรู้ คุณภาพของเครื่อข่าย อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการใช้บริการ M-commerce

View :1459

สพธอ. เผย มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ NPMS

July 30th, 2013 No comments

ปัจจุบัน มีธนาคารและผู้ประกอบการนำไปใช้งานจริง 18 ราย
โดยมีแผนยกระดับให้สอดคล้องในระดับอาเซียนและสากลต่อไป

(องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เผยผลสืบเนื่องภายหลังการประกาศของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 2 มกราคม 2556 ให้มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) เป็นมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.0001-2555) แล้วนั้น ทาง สพธอ. ได้ร่วมกับ ธปท. ผลักดันและส่งเสริมให้นำมาตรฐาน NPMS มาใช้เป็นแนวทางในการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกัน โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน และเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบัน มีธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบการที่นำมาตรฐาน NPMS ไปใช้งานจริง จำนวน 18 ราย ในบริการชำระเงินต่างๆ ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ และทาง สพธอ. มีโครงการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานมาตรฐาน NPMS เป็นวงกว้างต่อไป นอกจากนี้ ในอนาคต สพธอ. และ ธปท. มีแผนการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับให้มาตรฐาน NPMS สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล โดยคำนึงถึงบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการชำระเงินในประเทศไทยเป็นหลัก

รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า เนื่องจากในการทำธุรกรรมการชำระเงินของหน่วยงานภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินต่างๆ มีการกำหนดรูปแบบข้อความหรือข้อมูลการทำธุรกรรมที่แตกต่างกันตามความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงาน ทำให้ต้องมีการจัดการข้อมูลหลายรูปแบบและมีภาระงานเพิ่มขึ้น ดังนั้น มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับผู้ประกอบการ (National Payment Message Standard: NPMS) จึงกำหนดขึ้นเพื่อให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกัน โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกันที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 20022 ซึ่งจะช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน ลดความซ้ำซ้อน และเพิ่มความสะดวกให้กับการทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ภายหลังการประกาศของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 2 มกราคม 2556 ให้มาตรฐาน NPMS เป็นมาตรฐานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มธอ.0001-2555) แล้วนั้น ทาง สพธอ. ได้ร่วมกับ ธปท. ผลักดันและส่งเสริมให้นำมาตรฐาน NPMS มาใช้เป็นแนวทางในการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานของข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 4 ข้อความ ได้แก่ 1. ข้อความโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ข้อความหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ 3. ข้อความรายงานสถานะคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงิน และ 4. ข้อความแจ้งรายการโอนเงินหรือหักเงิน

ทั้งนี้ ข้อความทั้ง 4 สามารถนำไปใช้ในบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 6 ประเภท ประกอบด้วย 1. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีภายในธนาคาร 2. บริการออกเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ 3. บริการโอนเงินรายย่อยครั้งละหลายรายการ 4. บริการโอนเงินระหว่างบัญชีต่างธนาคารผ่านระบบบาทเนต 5. บริการโอนเงินระหว่างประเทศ และ 6. บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ นอกจากนี้ พบว่ามาตรฐาน NPMS สามารถสนับสนุนบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริการชำระเงินต่างๆ ที่มาตรฐาน NPMS รองรับ มีปริมาณในการทำธุรกรรมคิดเป็นร้อยละ 49 ของปริมาณการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 89 ของมูลค่าการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด (ข้อมูลจากสถิติการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2555 ของธนาคารแห่งประเทศไทย)

ในปี 2556 สพธอ. ได้มีการดำเนินโครงการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นประชาคมอาเซียน 2015 (e-Transactions Standards for ASEAN) เพื่อพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดการใช้งานมาตรฐาน NPMS เป็นวงกว้าง ซึ่งในปัจจุบันได้มีหน่วยงานที่ได้นำมาตรฐาน NPMS ไปใช้งานจริงรวมทั้งสิ้น 18 ราย ประกอบด้วย 1. ธ.กรุงเทพ 2. ธ. 3. ธ.กรุงไทย 4. ธ.ไทยพาณิชย์ 5. ธ.ทหารไทย 6. ธ.ซิตี้แบงก์ 7. ธ.ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 8. ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) 9. ธ.ซีไอเอ็มบี (ไทย) 10. ธ.กรุงศรีอยุธยา 11. ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 12. ธ.ดอยซ์แบงก์ 13. ธ.มิซูโฮ คอร์ปอเรต 14. กรมศุลกากร 15. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ จำนวน 3 ราย

ในอนาคต สพธอ. และ ธปท. มีแผนการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับให้มาตรฐาน NPMS สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาคผ่านคณะทำงาน WCPSS (Working Committee on Payment and Settlement Systems) ซึ่งเป็นคณะทำงานระบบการชำระเงินในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับสากลผ่าน CGI Forum (Common Global Implementation) โดยคำนึงถึงบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการชำระเงินในประเทศไทยเป็นหลัก นอกจากนี้ สพธอ. จะร่วมกับ ธปท. ในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้มาตรฐาน NPMS ครอบคลุมการรับส่งข้อความระหว่างธนาคารพาณิชย์ ทำให้ระบบการชำระเงินของประเทศไทยเป็นแบบ Straight Through Processing ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการดำเนินการ (Operational risk) และลดต้นทุนของธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

View :1445

ธุรกิจ E-Commerce ปี’56…คาดเติบโตร้อยละ 25-30

July 2nd, 2013 No comments

ความก้าวหน้าของระบบไร้สาย 3G บนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ประกอบกับการซื้อขายออนไลน์ หรือ E-Commerce ผ่านอุปกรณ์ไอทีแบบเดิมอย่างคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อจำกัดในเรื่องของความสะดวกสบายในการพกพาและการใช้งาน ผลักดันให้การซื้อขายออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า “” กลายเป็นช่องทางใหม่ที่มาแรง และน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยหนุนการเติบโตของการซื้อขายออนไลน์ในระยะต่อจากนี้ไป ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจ E-Commerce ในปี 2556 น่าจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนสำคัญต่างๆ ดังนี้

การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz หนุนยุค E-Commerce บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีส่วนสร้างความพร้อมในด้านโครงข่ายการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง ซึ่งเมื่อประกอบกับความนิยมในอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีสมรรถนะสูงอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งในการผลักดันกิจกรรมการตลาดและการจับจ่ายสินค้าและบริการออนไลน์ให้เข้าสู่ยุค M-Commerce โดยนักการตลาดสามารถประยุกต์ใช้ช่องทางดังกล่าว ในการดึงดูดให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา

พฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมการทำกิจกรรมออนไลน์และความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัย พฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีความเคยชินกับการทำกิจกรรมต่างๆ ออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น การท่องอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยสามารถดูได้จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องของการใช้บริการด้านข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคโดยในปี 2555 มีการเติบโตของมูลค่าการใช้บริการด้านข้อมูลสูงถึงร้อยละ 44.1 คิดเป็นมูลค่า 50,800 ล้านบาท

สำหรับในปี 2556 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการใช้บริการด้านข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่น่าจะขยายตัวราวร้อยละ 39.7-47.5 คิดเป็นมูลค่า 70,900-74,800 ล้านบาท ทั้งนี้ ความนิยมในกิจกรรมออนไลน์ของผู้บริโภค ประกอบกับความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัยในการสั่งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งความเชื่อมั่นในตัวผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นในระบบการชำระเงิน และการเก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ก็น่าจะเป็นแรงผลักดันหนึ่งให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น

การสร้างช่องทางการตลาดและออกแคมเปญเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ต่างพัฒนาและเปิดตัวแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่อำนวยความสะดวกผู้บริโภคในการค้นหา ตรวจสอบข้อมูลโปรโมชั่น พร้อมทั้งชำระค่าสินค้าและบริการแบบครบวงจร นอกจากนี้ ในด้านการชำระเงินสำหรับบริการซื้อขายออนไลน์ สถาบันการเงินต่างๆ ได้พัฒนาระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการต่างๆ พร้อมทั้งออกโปรโมชั่นทางการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ โดยผู้บริโภคจะได้รับส่วนลดเมื่อชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาสนใจและจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการออนไลน์มากขึ้น

จากแนวโน้มและปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2556 มูลค่าตลาดธุรกิจ E-Commerce จะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 25 ถึง 30 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.32 ถึง 1.35 แสนล้านบาท โดยสินค้าที่น่าจะมีการจับจ่ายมากที่สุดยังคงเป็นกลุ่มสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากนัก อาทิ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า) เครื่องสำอาง และอาหารเสริม เป็นต้น

การประยุกต์ 3G กับ E-Commerce …ช่องทางการตลาดยุคใหม่ของผู้ประกอบการ

ระบบสื่อสารไร้สาย 3G บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากจะถูกใช้เป็นช่องทางสำหรับผู้ประกอบการในการให้บริการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์แล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถประยุกต์ใช้ความสามารถของอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการประกอบกิจกรรมเชิงธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยตัวอย่างการประยุกต์ใช้ที่มักพบเห็นในปัจจุบันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น เชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อทำการตลาด และสร้างฐานลูกค้า จากจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับระยะเวลาที่ผู้บริโภคอยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์แต่ละวันก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ 3 ชั่วโมง โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถกระทำได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะใช้ช่องทางดังกล่าวในการทำการตลาด อาทิ การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เป็นต้น

การทำการตลาดผ่านระบบระบุพิกัดสถานที่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยผู้บริโภคสามารถรับทราบถึงข้อมูลของร้านค้าในบริเวณที่ตนอยู่ รวมไปถึงโปรโมชั่นที่น่าสนใจ และสามารถเลือกเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ หรือหาเส้นทางไปยังร้านค้าดังกล่าวได้

อย่างไรก็ดี รูปแบบการดำเนินธุรกิจ E-Commerce ผ่านเครื่องมือต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่มักเป็นกลุ่มขนาดเล็กและส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น ทำให้เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจบางประเภทที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น อาทิ สินค้าแฟชั่นวัยรุ่น (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า) สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม (อาหารเสริม เครื่องสำอาง) แต่ถึงกระนั้น ด้วยเทคโนโลยีทางด้านไอทีที่ถูกพัฒนาให้มีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งยังมีราคาไม่สูงนัก ประกอบกับไลฟ์สไตล์ที่เป็นแบบสังคมเมืองและกระจายออกสู่ต่างจังหวัด (Urbanization) ก็น่าจะช่วยสนับสนุนให้ฐานลูกค้า E-Commerce ขยายตัวมากขึ้นในระยะข้างหน้า

การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการ E-Commerce

การทำธุรกิจบริการซื้อขายสินค้าและบริการออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จนั้น ยังมีข้อพึงคำนึงอยู่บางประการที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจ ดังนี้

การบริหารจัดการระบบส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ E-Commerce ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมระบบจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว ตรงเวลา และสามารถตรวจสอบสถานะได้โดยลูกค้า โดยผู้ประกอบการอาจร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการที่ให้บริการรับจัดส่งสินค้าตามบ้านซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบจัดส่งสินค้าอยู่ก่อนแล้ว

ระบบชำระเงินที่น่าเชื่อถือ นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกประการที่จะสร้างความไว้วางใจแก่ลูกค้าในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าออนไลน์ โดยทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการที่น่าจะสะดวกและลดขั้นตอนการพัฒนาระบบการชำระเงินเอง คือ การเลือกใช้ระบบที่พัฒนาโดยสถาบันการเงิน ซึ่งนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้งานง่าย ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการออนไลน์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ จำเป็นต้องเตรียมพัฒนาแอพพลิเคชั่นจากมุมมองการใช้งานของผู้บริโภค เช่น ความสะดวกในการค้นหารายละเอียดสินค้าและบริการ ข้อมูลเปรียบเทียบสินค้าและบริการเพื่อประกอบการตัดสินใจ และข้อมูลโปรโมชั่นที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาต้องใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน

กล่าวโดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจ E-Commerce ของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่สามารถใช้เป็นช่องทางเสริมในการทำรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการสร้างรายได้ผ่านช่องทางหลัก หรือในขณะเดียวกัน การเริ่มต้นทำธุรกิจผ่านช่องทาง E-Commerce น่าจะตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุน เนื่องจากมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการทำธุรกิจแบบมีหน้าร้าน
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอุปสรรคหรือปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ผู้บริโภคมักมีความกังวล ได้แก่ คุณภาพของสินค้าไม่ตรงกับที่ระบุ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความซื่อตรงของผู้ประกอบการ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการสามารถสร้างความเชื่อมั่นและขจัดข้อกังวลดังกล่าวไปได้ ก็น่าจะมีส่วนผลักดันให้ผู้บริโภคไว้วางใจ จนเกิดการบอกต่อ และหันมาสนใจใช้บริการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์มากขึ้น

View :1338

Social shopping surges globally

April 19th, 2013 No comments

Thais show love of social shopping with 65% of Thais recommending products on social media sites

Today Rakuten, the world’s third largest e-commerce marketplace and owner of Thailand marketplace Rakuten TARAD.com, releases insights from their E-commerce Index, an independent global survey into shopping trends. The E-commerce Index shows that consumer interest in social shopping is up around the world, with almost half of consumers (45%) actively recommending products on social media sites. Southeast Asian nations led the way in social shopping with those in Thailand (65%), Malaysia (67%) and Indonesia (78%) the most likely to share their recommendations among the countries surveyed.

However, despite the strong social sharing habits, each of these countries had the lowest average online spend with less than $300 per person across all nations. The research found that the average spend across all markets surveyed was $725 per person over 2012. The survey found large differences between countries, with the UK leading the way spending an average of $1,700, while at the other end of the spectrum Thais only spent around $243 per person in 2012.

E-Commerce Index: online spend per person

M1-1.4
Pawoot Pongvitayapanu, Managing Director and Founder, Rakuten Tarad.com, commented: “At Rakuten’s Tarad.com we have seen nearly 200 fold growth in traffic from social networks over the last 12 months, which is a trend highlighted by the research. Social is set to become increasingly important in the coming years. Research firm Gartner predicted earlier this year that 50 per cent of information on new customers will be based on social network identities, such as ‘login with Facebook’, by the end of 2015, which is up from less than 5 percent today. As an industry we need to build consumer confidence in social shopping platforms, as well as allowing shoppers to easily share content through these channels.”

Mobile vs. in-store vs. online
When it comes to shopping on mobile, Indonesians continue to be the most mobile shoppers, with 14 per cent of consumers reporting that they mostly shop online using a smartphone, tablet, or other mobile device. Thai shoppers are close behind with more than one in ten consumers (12%) regularly using a mobile device to make online purchases. Top Western markets were the UK (12%), the US (10%), and Spain (9%).

Austria (46%) and Germany (46%) lead the way in preferring to stick with the bricks-and-mortar experience. However, the survey also found that consumers in Brazil and Taiwan prefer the shopping experience online to in-store (29% of Taiwanese and 26% of Brazilian respondents), while almost one in five Thai consumers (18%) recorded the same preference.

Pawoot added: “Whether online, on mobile, or in-store, consumers are coming to expect a high level of customer services and uniform brand experience across all available channels. It’s no longer enough to merely have a website that compliments you brick-and-mortar presence, they must ensure that they are offering shoppers all the information they require through their website or mobile offering as well.”

View :1411
Categories: E-Commerce Tags:

ลีฟวิ่งโซเชียล เอเชีย จับมือ TripAdvisor ให้ลูกค้าในไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เข้าถึงข้อมูลรีวิวการเดินทางได้ง่ายยิ่งขึ้น

December 24th, 2012 No comments

‘ลีฟวิ่งโซเชียล’ บริษัทออนไลน์ชั้นนำของโลกและผู้ถือหุ้น ‘เอ็นโซโก้’ ผู้นำเว็บไซต์ธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งของไทย จับมือกับ ™ เว็บไซต์ให้บริการค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อมอบบริการสุดพิเศษให้ลูกค้าลีฟวิ่งโซเชียลในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้เข้าถึงข้อมูลท่องเที่ยวจาก ได้สะดวกยิ่งกว่าที่เคย โดยรีวิวและการให้คะแนนสถานที่ท่องเที่ยวจากเว็บไซต์ จะปรากฏอยู่บนหน้าดีลหมวดหมู่ท่องเที่ยวของ ensogo.com (ประเทศไทย) livingsocial.co.id (อินโดนีเซีย) และ ensogo.com.ph (ฟิลิปปินส์) ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของลีฟวิ่งโซเชียลเข้าถึงข้อมูลอันมหาศาลและสามารถจัดการแผนการท่องเที่ยวจากประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวมากมายที่เคยไปเยือนที่พัก หรือ สถานที่ท่องเที่ยวบนเว็บไซต์ของลีฟวิ่งโซเชียลและ ได้ดียิ่งขึ้น

“วัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือในครั้งนี้ คือ การช่วยให้สมาชิกของเรามีข้อมูลที่ช่วยให้พวกเขาตัดสินใจเลือกซื้อดีลท่องเที่ยวได้ดียิ่งขึ้น โดยเราต้องการให้สมาชิกรู้สึกมั่นใจเมื่อเลือกเราเป็นช่องทางหลักสำหรับ การจองที่พักของเขา ความร่วมมือดังกล่าวยังจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับลีฟวิ่งโซเชียลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโซเชียลคอมเมิร์ซในฐานะผู้ให้บริการที่มอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และคุ้มค่า เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ TripAdvisor เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก ในทางกลับกัน สมาชิกก็สามารถแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวกับลีฟวิ่งโซเชียลบนเว็บไซต์ TripAdvisor เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน” มร. นาซาร์ มูซา ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจดีลท่องเที่ยว ลีฟวิ่งโซเชียล ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าว

“เมื่อไปกี่ปีที่ผ่านมานี้ การจองที่พัก หรือ แผนการเดินทางท่องเที่ยว เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากโดยโซเชียลมีเดียได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมทางด้านออนไลน์ของผู้บริโภค ความร่วมมือในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการป้อนข้อมูลจากผู้บริโภคสามารถช่วยกระตุ้นธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซโดยการส่งเสริมให้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาใช้บริการพันธมิตรธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น” มร. นาซาร์ มูซา กล่าวเสริม

ลีฟวิ่งโซเชียล นำเสนอประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวที่ไม่ซ้ำใครด้วยดีลในราคาสุดพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นที่พักสมัยใหม่ใจกลางกรุงโซล บรรยากาศสุดโรแมนติคกับวิลล่าหลากหลายสไตล์ในเมืองบาหลี เพลิดเพลินไปกับชายหาดอันสวยงามในประเทศไทย ไปจนถึงทริปแสนสนุกในมาเลเซียและฟิลิปปินส์

“เราตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับลีฟวิ่งโซเชียลซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชั้นนำ ที่จะนำรีวิวและการให้คะแนนที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวของ TripAdivisor ไปเป็นส่วนหนึ่งบนเว็บไซต์ เพื่อช่วยกระตุ้นความมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในกลุ่มลูกค้าออนไลน์” มร. แอรอน ฮุง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือทางธุรกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค TripAdvisor กล่าว

“ด้วยรีวิวกว่า 75 ล้านรีวิว และความคิดเห็นจากนักท่องเที่ยวกว่า 60* ล้านคนในแต่ละเดือน ทำให้ TripAdvisor เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกสามารถวางแผนและมีการเดินทางที่สมบูรณ์แบบได้ดั่งใจ” มร. แอรอน ฮุง กล่าวปิดท้าย

# # #
เกี่ยวกับเอ็นโซโก้ บริษัทในเครือลีฟวิ่งโซเชียล
หรือที่รู้จักกันในนาม www.ensogo.com ผู้นำเว็บไซต์ธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เป็นแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ขนาดใหญ่ซึ่งรวมประสบการณ์ไลฟ์สไตล์สุดคุ้มของดีลผลิตภัณฑ์และบริการชั้นนำทั่วประเทศ อาทิ ร้านอาหารชื่อดัง ที่พักจากโรงแรมและรีสอร์ตต่างๆ สปา สินค้า และอีกมากมาย มาจำหน่ายในราคาลดสูงสุดถึง 90% ให้สมาชิกได้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ โดยเอ็นโซโก้มีสมาชิกชาวไทยเกือบสองล้านรายในปัจจุบัน บริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มประกอบธุรกิจ ด้วยการหักรายได้ส่วนหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของลูกค้าและคู่ค้าของบริษัท นำไปช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง บริษัทมุ่งมั่นส่งมอบความสุขและความประหยัดเพื่อเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้กับเหล่าสมาชิก และยังช่วยให้ธุรกิจต่างๆ มีช่องทางในการแนะนำและโปรโมทผลิตภัณฑ์ บริการ และแบรนด์ของตนผ่านสื่อการตลาดทางอินเตอร์เน็ตอันทรงพลังได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งในการเป็นธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆ ด้าน

ปัจจุบัน บริษัทอยู่ในเครือข่ายธุรกิจของลีฟวิ่งโซเชียล บริษัทออนไลน์ชั้นนำของโลกที่ช่วยให้ผู้คนค้นพบสุดยอดประสบการณ์ที่หลากหลายในเมืองของตนเอง ลีฟวิ่งโซเชียล มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี และดำเนินธุรกิจอยู่ในเมืองหลายร้อยเมืองใน 6 ทวีปทั่วโลก คลิกชมข้อมูลบริษัทเพิ่มเติมได้ที่ www.ensogo.com

เกี่ยวกับ TripAdvisor®
TripAdvisor® เป็นไซต์ท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก* ซึ่งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยววางแผน และมีการเดินทางที่สมบูรณ์แบบ TripAdvisor นำเสนอคำแนะนำที่เชื่อถือได้จากนักท่องเที่ยวตัวจริงและตัวเลือกในการท่องเที่ยวมากมาย ตลอดจนตัวช่วยในการวางแผนการเดินทางอีกมากมาย ที่เชื่อมโยงไปยังเครื่องมือการจองได้ทันทีและราบรื่น ไซต์ต่างๆ ในเครือ TripAdvisor รวมกันเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้เข้าชมไม่ซ้ำกันกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน* และรีวิวรวมถึงความคิดเห็นกว่า 75 ล้านเรื่อง เว็บไซต์นี้ดำเนินการใน 30ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศจีน ภายใต้ชื่อว่า daodao.com นอกจากนี้ TripAdvisor ยังรวมถึง TripAdvisor for Business ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงผู้เข้าชม TripAdvisor นับล้านๆ รายในแต่ละเดือน

View :1437

กสิกรไทยชู “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” ยึดหัวหาดอันดับ 1 ของดิจิตอล แบงกิ้ง

December 21st, 2012 No comments


ธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจดิจิตอล แบงกิ้ง () วางยุทธศาสตร์การให้บริการด้วยแนวคิด “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” (Lifestyle ) ปูพรมด้วยกิจกรรมและแผนสื่อสารการตลาดที่เจาะลึกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยใช้เครือข่ายออนไลน์ทุกช่องทาง ตั้งเป้าหมายปีหน้าเติบโตกว่า 40% และมีฐานลูกค้าเพิ่มเป็น 6.5 ล้านคน

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทย เป็น “ไลฟ์สไตล์ แบงกิ้ง” (Lifestyle Banking) ที่ต้องการตอบสนองกับทุกไลฟ์สไตล์ โดยธนาคารฯ เป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจดิจิตอล แบงกิ้ง และได้วางยุทธศาสตร์ของการให้บริการดิจิตอล แบงกกิ้ง ให้เป็น “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” (Lifestyle Digital Banking) ตอบรับกับยุคสมัยที่ผู้คนใช้ชีวิตไม่หยุดนิ่ง (On-the-Go) และอุปกรณ์ อิเลคทรอนิกส์ทั้งโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก ได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญของการใช้ชีวิต โดยนอกเหนือ จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการขั้นพื้นฐาน เช่น การโอน จ่าย เติมเงิน ธนาคารฯ ยังมุ่งเน้นการนำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ พร้อมด้วยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่เจาะเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า พร้อมทั้งตอกย้ำความปลอดภัยของการใช้บริการ ตลอดจนสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้กับลูกค้าและร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นของธนาคารฯ”

“แนวทางหลักการดำเนินงานด้านดิจิตอล แบงกิ้ง ของธนาคาร ประกอบด้วย 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ SO (Social Media) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการตลาดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น การเปิดตัวแคมเปญ “New Possibility Happens พร้อมสนับสนุนทุกความฝันด้วยพลังของโลกดิจิตอล” ที่มีกิจกรรมการตลาดเต็มรูปแบบ, LO (Localized Marketing) ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมการตลาดต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ เช่น การให้เช็คอิน (Check-in) และทำโปรโมชั่นกับพันธมิตรต่างๆ, MO (Mobile) การให้บริการผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น การให้บริการ “K-Merchant on Mobile” ร่วมกับนกแอร์ เปิดให้จองตั๋วและรูดบัตรฯ จ่ายค่าโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา และ CO (Commerce) คือ การนำเสนอบริการซื้อขายออนไลน์ ในรูปแบบ Everywhere Commerce ซึ่งสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น ร่วมกับเครื่องสำอางคลีนิกข์ ให้บริการในการรับชำระเงินด้วยระบบ K-Payment Gateway ซึ่งเป็นระบบรับชำระเงินค้าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทางอินเทอร์เน็ตกสิกรไทย”

ล่าสุด ธนาคารฯ ได้เปิดตัวแคมเปญ “New Possibility Happens Digital Banking พร้อมสนับสนุนทุกความฝันด้วยพลังของโลกดิจิตอล” ด้วยแผนการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจร ด้วยงบประมาณกว่า 40 ล้านบาท เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเดินหน้าทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยมีบริการดิจิตอล แบงกิ้ง ของธนาคารฯ เป็นส่วนสนับสนุนในการเดินตามทุกความฝัน ครอบคลุมทั้งภาพยนตร์โฆษณาเต็มรูปแบบในชื่อชุด “ศึกแม่มดขาว” ที่จะออกเผยแพร่ทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ พร้อมกันนี้ ยังได้ออกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้กล้าทำตามความฝัน ถ่ายทอดเรื่องราวโดยนักเขียนชื่อดัง 3 ท่าน 3 สไตล์ ได้แก่ คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ คุณแพรกานต์ นิรันดร และคุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล ซึ่งหนังสือดังกล่าวจะเผยแพร่บนโลกออนไลน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้ฟรีผ่าน _Live Facebook นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญ “อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพียงใช้ Digital Banking” ให้ลูกค้าที่ใช้บริการทำธุรกรรมหรือชำระเงินผ่านบริการดิจิตอลแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ได้สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลใหญ่ อาทิ รับแพ็คเกจท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น รับค่าบริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือแบบรายเดือนหรือแบบเติมเงินฟรี 1 ปี รวมทั้งแคมเปญทางการตลาด อื่นๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้าดิจิตอลแบงกิ้งของธนาคารอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ค www.facebook.com/kbanklive หรือทางเว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทย www.kasikornbank.com ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้บริการดิจิตอล แบงกิ้ง 8 ล้านราย โดยธนาคารกสิกรไทย มีฐานลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 4.6 ล้านบัญชี คิดเป็น 60% จากจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้บริการ มีสัดส่วนการทำรายการธุรกรรมการเงินประมาณ 50% ของธุรกรรมการเงินออนไลน์ และมีส่วนแบ่งการตลาดของยอดซื้อขายออนไลน์กว่า 70% รวมทั้งช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ KBank_Live ในเฟซบุ๊ค มีจำนวนสมาชิกเป็นอันดับ 1 ของธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย ด้วยจำนวนสมาชิกกว่า 340,000 ราย

นายปกรณ์ กล่าวตอนท้ายว่า ยุทธศาสตร์เชิงรุกดังกล่าว จะตอกย้ำศักยภาพความเป็นผู้นำด้านบริการดิจิตอล แบงกิ้ง ทำให้ ธนาคารฯ เป็น “ไลฟ์สไตล์ แบงกิ้ง” (Lifestyle Banking) ที่ให้บริการเจาะเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของทุกกลุ่มเป้าหมายได้ในทุกที่ ทุกเวลา และมั่นใจว่า ในปีหน้าฐานลูกค้าที่ใช้บริการดิจิตอล แบงกิ้ง จะเติบโตเพิ่มอีก 40% ทำให้มีลูกค้าเพิ่มเป็น 6.5 ล้านราย

ข้อมูล “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้นำอันดับ 1 บนโลกดิจิตอล แบงกิ้ง (Digital Banking) ข้อมูลจากธนาคารแห่ง ประเทศไทย ระบุว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้บริการดิจิตอล แบงกิ้ง จำนวน 8 ล้านบัญชี ธนาคารกสิกรไทยมีฐานลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 4.6 ล้านบัญชี คิดเป็น 60%

ความสำเร็จของดิจิตอล แบงกิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย
• พ.ศ. 2545 เปิดให้บริการ K-Cyber Banking ซึ่งเป็นบริการทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต โดยธนาคาร กสิกรไทยถือเป็นธนาคารแรกๆ ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต แบงกิ้ง (Internet Banking)
• พ.ศ. 2548 ธนาคารกสิกรไทยนำเสนอบริการ K-mAlert แจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของการทำธุรกรรมผ่าน sms บนมือถือ
• พ.ศ. 2551 ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ DTAC เปิดตัว ATM SIM ธนาคารบนมือถือเต็มรูปแบบในระบบ SIM ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
• พ.ศ. 2552 เปิดตัว K-Mobile Banking Plus สำหรับการทำธุรกรรมผ่านมือถือได้ ทุกเครื่อง ทุกค่าย นอกจากนี้ยังเปิดให้บริการระบบชำระเงิน e-commerce และ World’s First Mobile Commerce หรือระบบชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตมือถือ ซึ่งถือเป็นรายแรกของโลก
• พ.ศ. 2555 ธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารรายแรกในประเทศไทยและทวีปเอเชีย ที่เปิดเว็บไซต์ search engine รวมข้อมูลรอบด้านการเงินและไลฟ์สไตล์ในชื่อ askKBank
• พ.ศ. 2556 ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นนำเสนอบริการดิจิตอล แบงกิ้ง ด้วยแนวคิดการเป็น “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” (Lifestyle Digital Banking)

แคมเปญ “New Possibility Happens KBank Digital Banking พร้อมสนับสนุนทุกความฝันด้วยพลังของโลกดิจิตอล”

• ธนาคารกสิกรไทยได้วางยุทธศาสตร์เชิงรุกของการให้บริการดิจิตอล แบงกิ้ง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำและสร้างความแตกต่างของการให้บริการ ภายใต้แนวคิด “New Possibility Happens KBank Digital Banking พร้อมสนับสนุนทุกความฝันด้วยพลังของโลกดิจิตอล” โดยนำเอาความแข็งแกร่งของบริการดิจิตอล แบงกิ้ง เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์ดิจิตอล ชู “ไลฟ์สไตล์ ดิจิตอล แบงกิ้ง” ผนึกความแข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์และบริการด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกด้านธุรกรรมการเงินอย่างครบวงจรตลอด 24 ชม. ได้ทุกที่ทุกเวลา

• แผนการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจรของแคมเปญ “New Possibility Happens” มีงบประมาณ กว่า 40 ล้านบาท เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเดินหน้าทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยมีบริการดิจิตอล แบงกิ้ง ของธนาคารฯ เป็นส่วนสนับสนุนในการเดินตามทุกความฝัน ครอบคลุมทั้ง
- ภาพยนตร์โฆษณาเต็มรูปแบบในชื่อชุด “ศึกแม่มดขาว” ออกเผยแพร่ทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้กล้าทำตามความฝัน ถ่ายทอดเรื่องราวโดยนักเขียนชื่อดัง 3 ท่าน 3 สไตล์ ได้แก่ คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ คุณแพรกานต์ นิรันดร และคุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล ซึ่งหนังสือดังกล่าวจะเผยแพร่บนโลกออนไลน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้ฟรีผ่าน KBank_Live Facebook
- แคมเปญ “อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพียงใช้ KBank Digital Banking” ให้ลูกค้าที่ใช้บริการทำธุรกรรมหรือชำระเงินผ่านบริการดิจิตอลแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ได้สิทธิ์ลุ้นรับรางวัลใหญ่ อาทิ รับแพ็คเกจท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น รับค่าบริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือแบบรายเดือนหรือแบบเติมเงินฟรี 1 ปี รวมทั้งแคมเปญทางการตลาด อื่นๆ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ลูกค้าดิจิตอลแบงกิ้งของธนาคารอย่างต่อเนื่อง

View :2417

CAT e-auction ครองตลาดประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 40 %

December 18th, 2012 No comments

พร้อมเผยผลสำรวจกรมบัญชีกลางนำลิ่วความพึงพอใจ แถมช่วยเซฟงบประมาณรัฐแล้วกว่า 2.5 หมื่นล้าน แผนปี 2556เตรียมเกาะกระแสเศรษฐกิจไทยโตต่อ โดยชูจุดเก่ง e-auctionออนไลน์พร้อมเพิ่มห้องประมูลรองรับ เล็งบุกตลาดหน่วยงานภูมิภาคหวังดันส่วนแบ่งตลาดขึ้น 50%

(14 ธันวาคม 2555 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ )
ดร.อโณทัย คล้ามไพบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ากสท ได้เริ่มเปิดบริการ จากนโยบายรัฐบาลที่ให้หน่วยงานรัฐใช้ระบบ e-auction ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7ปี โดยภาพรวมตั้งแต่ปี 2551-2555 กสท ได้ให้บริการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ CAT e-auctionแล้วมากกว่า 50,000 โครงการ สามารถช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณกว่า 25,000 ล้านบาท

ทั้งนี้บริการ CAT e-auctionของ กสท ได้รับการยอมรับอย่างสูงในตลาดกลุ่มองค์กรภาครัฐและกลุ่มผู้ค้า และยังได้รับการประเมินความพึงพอใจในอันดับสูงสุดจากการสำรวจของกรมบัญชีกลางที่ได้ประเมินผลการดำเนินงานผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ปี 2553โดยการให้บริการตลาดกลางด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ CAT e-auctionได้รับการประเมินว่ามีจำนวนครั้งการประมูล มูลค่าการประมูล และรายได้ค่าบริการการประมูลสูงสุด รวมทั้งผู้ค้าเห็นว่ามีระดับความโปร่งใสและเป็นกลางสูงสุด ฯลฯ
“จุดแข็งของบริการส่วนหนึ่งคือเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่มากกว่านั้นคือกระบวนการดำเนินงานและระบบ ของCAT e-auction ที่ให้ความสะดวกความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และยุติธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำ e-auction เรามีเจ้าหน้าที่ให้การแนะนำดูแลโดยตลอดทุกขั้นตอนจึงช่วยให้การประมูลทุกโครงการดำเนินได้อย่างราบรื่น ถูกต้องและปลอดภัย เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในบริการ”
ดร.อโณทัย กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันบริการ CAT e-auction ของ กสท มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 40% ซึ่งเกือบทั้งหมดของลูกค้าคือหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลาง สำหรับปีหน้า CAT e-auction ได้ตั้งเป้าหมายการเป็นผู้นำตลาดต่อไป โดยกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะเน้นทำประชาสัมพันธ์มากขึ้นตลอดจนพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีแผนการขยายตลาดไปยังลูกค้ากลุ่มภูมิภาคมากขึ้น ด้วยการจัดกิจกรรมลงพื้นที่ในกลุ่มข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อย่างต่อเนื่อง

“ในการขยายตลาดจะมุ่งเน้นให้ข้อมูลแก่ อบจ. อบต.ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความโปร่งใสของระบบซึ่งสามารถช่วยให้กระบวนการประมูลเสร็จสิ้นเร็วขึ้นได้ นอกจากนี้ CAT e-auction ซึ่งมีจำนวนห้องประมูล 1,600 ห้องทั่วประเทศครอบคลุมทุกจังหวัด และในระดับอำเภอใหญ่ๆ ทั่วประเทศยังสามารถจัดประมูลทางไกลออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ กสท ซึ่งเพิ่มความสะดวกให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมายังสถานที่ประมูลสามารถร่วมประมูลได้จากทั่วประเทศ โดยการที่ กสท เป็นเจ้าของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถดูแลความปลอดภัยของข้อมูล อีกทั้งเชื่อถือได้ในความโปร่งใสของกระบวนการดำเนินงาน”

ด้านซอฟท์แวร์ของ CAT e-auction ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง โดยล่าสุด CAT e-auctionได้อัพเกรดซอฟต์แวร์ใหม่ ให้สอดคล้องกับระเบียบใหม่ของกรมบัญชีกลางเรื่องหลักเกณฑ์การเสนอลดราคาขั้นต่ำ (Minimum Bid) ที่กำหนดให้การเคาะราคาในแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ0.2ของการประกวดราคาสูงสุด ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2555ที่ผ่านมา รวมถึงก่อนหน้านี้ได้มีการปรับปรุงจากแบบ Static Pricing ที่มีการจำกัดเวลามาเป็น Dynamic Pricing ที่ผู้เข้าประมูลจะเสนอตัวเลขได้เรื่อยๆโดยไม่จำกัดเวลา ส่งผลให้ได้ราคาที่ประหยัดงบประมาณมากขึ้น

ดร.อโณทัย กล่าวว่า กสท มีรายได้รวมจากกลุ่มธุรกิจ e-Business ในปีนี้กว่า 300 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากบริการ CAT e-auction ประมาณ150 ล้านบาท ส่วนที่เหลือมาจากบริการประชุมออนไลน์(CAT conference) บริการตามสอบข้อมูลสินค้าเกษตร (CAT e-smart farm) บริการ IPTV (CAT e- entertainment) และบริการนิทรรศการออนไลน์ (CAT e-exhibition) ในปีหน้าตั้งเป้ารายได้กลุ่ม e-Businessเติบโตขึ้น10-20 % โดยเน้นที่บริการ CAT e-auction ซึ่งหวังจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 40%เป็น 50 % ทั้งนี้จากการประเมินสถานการณ์คาดว่าเป็นไปได้แน่นอน เพราะCAT e-auction มีรายได้โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 100-150 ล้านบาท ที่ผ่านมาปี 2554 เหตุการณ์น้ำท่วมทำให้รายได้ตกไป ขณะที่ปี 2555 กลับขึ้นมาสูงขึ้น และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2556

“ปีหน้าเชื่อว่าประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ จึงหมายถึงโครงการประมูลอีกจำนวนมาก ซึ่ง กสท มีความพร้อมรองรับด้วยห้องประมูลทั้งส่วนกลางและภูมิภาค โดยในส่วนกลางนอกจากห้องประมูลที่ กสท หลักสี่แล้ว ได้วางแผนปรับปรุงและเพิ่มห้องประมูลในพื้นที่ชั้น 3 ของ CAT Tower บางรักที่ขณะนี้ใช้งานอยู่ประมาณกว่า 30 ห้องซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีหน้า นอกจากนั้นจะเป็นห้องประมูลที่ตั้งอยู่ในสำนักงานสาขาทั่วประเทศเพื่อให้บริการ CAT e-auction ในส่วนภูมิภาคอย่างทั่วถึง”

ดร.อโณทัย กล่าวเพิ่มเติมว่าห้องประมูล CAT e-auction จะต้องมีการปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุด และดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงการเช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากบริษัทเพื่อให้เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่มีระบบทันสมัยมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยในส่วนนี้จะใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ทั้งนี้ความพร้อมของบริการ CAT e-auctionถือเป็นหนึ่งในแผนกลยุทธ์ด้านการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมของ กสท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจและประชาชน เตรียมความพร้อมและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งในอนาคตอันใกล้จะเห็นการขยายตัวการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น

View :1577