Archive

Archive for the ‘Science’ Category

สวทช.จับมือ กรมสรรพากร , สรอ. เปิด “ระบบ RDC Online” พลิกโฉมรับรองเอกชนทำวิจัยยกเว้นภาษี 200%

March 15th, 2014 No comments

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ กรมสรรพากร และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ( สรอ. ) จัดงานแถลง ข่าว “เปิดตัวระบบ RDC Online” ให้บริการยื่นขอรับรองโครงการวิจัยฯ ยกเว้นภาษี 200% ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตามผลพร้อมรองรับการ
เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) ทั้งนี้เพื่อเร่งส่งเสริมภาคเอกชนทำวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีให้สร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้เกิดเพิ่มมูลค่าเพิ่มและ การลงทุนของภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่าง ประเทศ
Info_RDC-Online_Create-outline-A4-12-03-57
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) กล่าวว่าเนื่องจากผู้ประกอบการภาคเอกชนมีความตื่นตัวของการทำงานวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยี มากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ในปีงบประมาณ 2554-56) มีมูลค่า โครงการที่ได้รับการพิจารณารับรองเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของมูลค่าโครงการที่ได้รับรองของปีงบ
ประมาณ 2552 การนี้ สวทช.ร่วมกับ กรมสรรพากร และ สรอ. จึงได้พัฒนาระบบสนับสนุนการ ดำเนินงานรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่เรียกว่า “ระบบ RDC Online” เพื่อนำมาให้บริการและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะทำให้เกิดความคล่องตัว มีความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะ สามารถติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานการขอรับรองโครงการของ ผู้ประกอบการภาค เอกชนได้ตามความต้องการทันที อีกทั้งตัวระบบได้ออกแบบให้มีส่วนช่วยป้องกันและการรักษาข้อมูล ความลับของ โครงการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือและมีมาตรฐานสากล

สำหรับการใช้บริการยื่นขอรับรองโครงการวิจัย ฯ ยกเว้นภาษี 200 % ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยเข้าไปใช้บริการได้ที่ https://www.rdconline.nstda.or.th ซึ่ง ระบบดังกล่าวจะช่วยร่นระยะเวลาในการพิจารณารับรองผลโครงการจากเดิมได้ ไม่น้อยกว่า 1-2 เดือน อย่างไรก็ตาม การนำระบบ RDC Online มาให้บริการจะสามารถเป็นแรงจูงใจ สร้างความมั่นใจในการบริการและความปลอดภัยข้อมูล และเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการยื่นขอรับรอง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ ผู้ประกอบการภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มมูลค่า การลงทุนและความเข้มข้นด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ในภาคเอกชนให้สร้างสรรค์นวัตกรรม อันจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียม สากลและเติบโต ได้อย่างยั่งยืนและตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นการ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่ม ขึ้นเป็น 1% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในประเทศไทยภายในปี 2559 คาดว่าเมื่อระบบ เริ่มเปิดใช้งานในปี 57 นี้แล้ว จะมีการขอใช้บริการไม่ต่ำกว่า 100 บริษัท กว่า 600 โครงการ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทขึ้นไป

View :1764
Categories: Science Tags:

“นาโนเทค” ผนึก พันธมิตร ขับเคลื่อนเวชสำอางไทย พร้อมแข่งขัน ตลาดอาเซียน

February 13th, 2014 No comments

P-ครีมและเจลมะขามป้อม (Large)

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ห้องเพชรชมพู ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเอมรัลด์ กรุงเทพฯ ถ.รัชดาภิเษก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ( ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ() จัดประชุมวิชาการ เรื่อง “Moving Forward to Skin Care Cosmetics Innovation” เพื่อขับเคลื่อนนัวตกรรมด้านเครื่องสำอางใหม่ๆ เข้าไปสู่กระบวนการผลิต รวมทั้งแลกเปลี่ยนรับรู้ระเบียบข้อบังคับด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในเวทีระดับอาเซียนโดย โดยมีผู้ประกอบการเครื่องสำอาง หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจร่วมฟังสัมมนากว่า 200 คน

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทค กล่าวเปิดงาน ว่า การขับเคลื่อนนัวตกรรมด้านเครื่องสำอาง ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกนั้น เป็นส่วนสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการด้านเวชสำอางและระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากประเทศไทยผลิตเครื่องสำอางปีละกว่า 200,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทย

ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่า ที่สำคัญอย่างยิ่งประชาชนและผู้บริโภคก็มีความกังวลว่า ทำอย่างไรจะทำให้ได้เครื่องสำอางที่ดี ปลอดภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดเครื่องสำอางจำเป็นต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น นวัตกรรมด้านนาโนเทคโนโลยีที่จะทำให้สารสกัดสมุนไพรที่ผสมในเครื่องสำอางต่างมีความคงตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น ดังนั้นนวัตกรร มสำหรับเครื่องสำอางจึงเป็นปัจจุยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบเครื่องสำอางไทยได้รับการยอมรับในนานาชาติมากขึ้น

“หากดูในตลาด จะมีนวัตกรรมเครื่องสำอางที่มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการต้องติดตามเทรนด์เครื่องสำอางของตลาดโลกให้ทัน เพื่อจะดูว่าความต้องการของตลาดโลกกับเทรนด์เครื่องสำอางที่ประเทศไทยผลิตนั้นตรงกัน” ผอ.ศูนย์นาโนเทค กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามผู้ที่เข้ารับฟังการประชุมวิชาการที่นาโนเทค ร่วมกับพันธมิตรจัดขึ้นครั้งนี้ ผู้ประกอบการจะได้รับทราบว่า กระบวนการในการดูแล ความคุม และทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอาง ตามที่สำนักการคณะกรรมการอาหารและยากำหนดนั้นเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะได้รับการรับรองด้านเครื่องสำอางอย่างถูกต้องและได้ตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการมีข้อระวังที่จะดูแลการผลิตและข้อกฎหมายต่างๆ ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น

ผอ.ศูนย์นาโนเทค กล่าวว่า ทั้งนี้ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องยอมรับว่าประเทสไทยมีจุดแข็งในด้านส่งออกเครื่องสำอางเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาค อาเซียน และมีโอกาสแข็งขันสูงมาในเรื่องเวชสำอาง ซึ่งคาดว่าในปี 2558 ประเทศไทยจะมีการเติบโตในด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอย่างมากและได้เปรียบในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียน จึงเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

View :1790
Categories: Science Tags:

TCELS ประกาศความสำเร็จ เดินหน้าจัดงาน “ ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition ” ต่อเนื่องทุกปี

August 16th, 2013 No comments

นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี () เปิดเผยว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องถึง 8 หน่วยงาน ร่วมกันจัดงาน “ 2013 ” ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 17 – 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย นักบริหาร, CEO, ผู้นำองค์กร นักวิชาการ และภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ ตลอดจนภาคประชาชนที่สนใจ มีการจับคู่ธุรกิจ ทั้งสิ้น 125 คู่ สัดส่วนในการเจรจาต่อยอดธุรกิจ 6:1 หรือประมาณ 21 คู่ ซึ่งค่าเฉลี่ยมีการลงทุน ประมาณ 30 ล้านบาท/ธุรกิจ ดังนั้น จากการจัดงานครั้งนี้ จึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ในระยะหลังจาก 1 ปี เป็นต้นไป ประมาณ 630 ล้านบาท และยังมีในส่วนของการประชุม Asia Bio Business Partnering 2013 จำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานจาก 7 ประเทศ ญี่ปุ่น 5 บริษัท สาธารณรัฐประชาชนจีน 13 เกาหลี 11 บริษัท ไทย 30 บริษัท สิงคโปร์ 1 บริษัท มาเลเซีย 1 บริษัท สหรัฐอเมริกา 2 บริษัท กิจกรรมหลักเป็นการเจรจาธุรกิจ การบรรยายสถานการด้านอุตสาหกรรมชีวภาพของแต่ละประเทศภาคีสมาชิก ศึกษาดูงานอุตสาหกรรมชีวภาพในประเทศไทย โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก Betagro และ Biotech ในการเข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน

จากกการดำเนินการครั้งนี้ ได้รับเสียงชื่นชมจากประเทศที่เข้าร่วมว่าประเทศไทยมีศักยภาพ เป็นอย่างสูงทั้งเรื่องอุตสาหกรรมชีวภาพและการเชื่อมต่อธุรกิจเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในปี2014 ประเทศจีนจะเป็นเจ้าภาพงาน Asia Bio Business Partnering 2014 ณ เมืองเสิ่นยาง มณฑลเหลียวหนิงต่อไป

“ จากความสำเร็จในครั้งนี้ทาง TCELS เตรียมเดินหน้าจัดงาน ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition ในปีถัดไป และจะจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกๆ ปี โดยคาดว่าในปีหน้า จะมีผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากใกล้ปีเป้าหมายสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเข้ามาทุกทีซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้ ปรับตัว และพัฒนาให้ก้าวทันนานาประเทศ เพื่อรองรับเขตการการค้าเสรี งาน ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ ” นายนเรศ กล่าว

สำหรับงาน “ ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition 2013 ” ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) ร่วมกับ 8 หน่วยงานหลักด้านชีววิทยาศาสตร์ของไทยอันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา , International Society for Pharmaceutical Engineering (ISPE) Thailand Affiliate, ASIA Bio BUSINESS PARTNERING( ABBP ), สมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย ร่วมกันจัดงานขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของไทย ทั้งนี้สำหรับท่านที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานในครั้งนี้ สามารถเข้าร่วมติดตามรายละเอียดต่างๆของงาน ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition ได้ที่ www.aseanlifesciences.org

View :1423

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556 สาระสำคัญต่างๆ ของ สทน.

August 16th, 2013 No comments

สทน.ได้จัดนิทรรศการเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของการเกษตร ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ในเรื่องของการเกษตรมากมาย เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรพบ เช่น ปัญหาโรคพืช ปัญหาแมลงวันผลไม้รบกวนผลผลิตจำพวกผลไม้ พืชให้ผลผลิตน้อย พืชไม่เจริญเติบโต ดูดซึมไม่ดี และพืชคาดการดูแล หากเกษตรกรหรือผู้ดูแลไม่สะดวกในการดูแล เป็นต้น สทน.จึงค้นคว้างานวิจัยทางการเกษตร จนสามารถนำเอาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ มาช่วยในการสร้างงานวิจัย ให้สามารถแก้ไขปัญหาที่ประสบเหล่านั้นได้ และได้ถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจง่ายในรูปแบบของนิทรรศการเรียนรู้และจับต้องได้ “นิวเคลียร์กับการเกษตร” ที่จะเกิดขึ้น ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปีนี้ ได้แก่

1. ไคโตซาน เราอาจจะทราบโดยทั่วไปว่า ไคโตซาน เป็นสารช่วยกระตุ้น การดูดซึมของพืชสกัดได้จากเปลือกกุ้ง เปลือกปูและแกนของหมึกทะเล ซึ่งมีจำหน่ายมากมายในท้องตลาด แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่พบทั่วไปนั้น มีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่มาก เป็นปัญหากับพืชตรงที่ พืชไม่สามารถดูดซึมนำไคโตซานนี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือยากกว่าที่พืชควรจะได้รับ สทน. จึงมีการนำเอาไคโตซานนี้มาทำการฉายรังสี เพื่อให้รังสีนั้นทำขนาดของโมเลกุลในไคโตซานปกตินี้ย่อยเล็กลง เมื่อพืชดูดซึมนำไปใช้ให้เป็นพลังกระตุ้นการดูดซึม ก็จะทำให้พืชนั้นใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงทำให้ไคโตซานของ สทน. ที่ผ่านการฉายรังสีนี้ พืชมีการตอบสนองได้ดีกว่า และพืชเจริญเติบโตได้ดีว่า ไคโตซานท้องตลาดมาก(มีของจริงให้เห็นและสัมผัส)

2. สารละลายไหม เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา สทน.ได้นำเอา เศษไหมแทบจะไร้มูลค่ามาสกัดเอาสารละลายโปรตีนไหมโดยผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้สะอาดปลอดเชื้อจุลินทรีย์มาผสมกับ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทางผิวพรรณมากมาย เช่น สบู่ไหม แชมพูสระผม ครีมนวด ครีมทาผิว ซึ่งช่วยให้ผิวพรรณของเรานั้นได้รับสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อผิวได้อย่างเต็มที่ ผิวพรรณจึงมีความเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น เป็นที่นิยมของคุณแม่บ้าน พ่อบ้านทั้งหลาย ในปีนี้ เรานำสารละลายไหมนี้ หมักบ่มจนได้ที่ เป็นสูตรเฉพาะของ สทน. มาแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร เพราะเนื่องจาก โปรตีนในไหมมีมาก และหลายชนิดมีความจำเป็นกับพืช เป็นที่ต้องการของพืชสูง เปรียบเสมือนเป็นฮอร์โมนบำรุงชั้นดี ที่ทำให้พืชเจริญงอกงามแข็งแรง ให้ผลผลิตดี ดก ใหญ่ สดอยู่ได้นานขึ้น เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้น ไม่เป็นอันตรายต่อพืชและผู้ใช้ เพราะไม่ใช่สารเคมี โดยใช้กับพืชต่างๆ หลากหลายชนิดเช่น มังคุด เงาะ เห็ด ข้าว มันสำปะหลัง กล้วยไม้ หรือแม้แต่สามารถนำมาผสมในอาหารสัตว์ได้อีกด้วย เช่น อาหารกุ้งแม่น้ำ อาหารจิ้งหรีด เป็นต้น(ผสมอาหารกุ้ง ทำให้กุ้งตัวโต น้ำหนักดี ราคาดี, ผสมในน้ำดื่มจิ้งหรีด ทำให้จิ้งหรีดตัวอวบโต มันอร่อย ขายดี)(มีของจริงให้เห็นและสัมผัส)

3. พอลิเมอร์อุ้มน้ำ ในยุคของความเร่งรีบ มีเวลาน้อยและจำกัด ต้องมีสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้ชีวิตของเรามากขึ้น เราจึงอาจจะไม่มีเวลาที่จะดูแลพืชที่เราปลูกเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไปพืชอันแสนรักอาจจะตายไปอย่างน่าเสียดาย สำหรับท่านที่ชอบปลูกต้นไม้เป็นงานอดิเรกนั้น คงมีความสุขกับการ

เห็นพืชได้เจริญเติบโตงอกงามดี ออกดอกสวยๆ ออกผลงามๆให้ได้ชื่นชม แต่ก็อาจจะไม่ดีแน่หากต้องไปอยู่ที่อื่นไกลๆ นานๆ แล้วไม่มีเวลาพอที่จะดูแลพืชเหล่านี้ สทน. จึงคิดค้นพอลิเมอร์อุ้มน้ำนี้ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลต้นไม้ กล่าวคือ พอลิเมอร์นี้ผลิตจากมันสำปะหลังที่ได้จากธรรมชาติ แล้วนำมาฉายรังสีเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาบนสายโซ่ของแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจะทำให้ตัวมันเองอุ้มน้ำได้ดี ถึง 500 เท่า เปรียบเสมือนเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเอาไว้ เมื่อผสมคลุกเคล้าเข้ากับดินแล้ว พอลิเมอร์อุ้มน้ำนี้ จะทำหน้าที่ให้ดินมีความชื้นได้นานแม้ไม่รดน้ำให้กับดินหรือพืชเป็นระยะเวลานับเดือน แล้วพืชก็สามารถอยู่เพราะมีความชิ้นตากพอลิเมอร์ที่ผสมกับดินนี้และด้วยคุณสมบัติของพอลิเมอร์อุ้มน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นยังสลายไปกับดินได้ เมื่อมันละลายเสื่อมสภาพลง ไม่เป็นอันตรายต่อพืชและดินอีกด้วย(มีของจริงให้เห็น สัมผัสและสามารถร่วมกิจกรรมเพื่อนำต้นไม้พอลิเมอร์กลับบ้านได้)

4. แมลงวันผลไม้ เกษตรกรผู้ค้าผลไม้ไทยมีปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตน้อย มีผลกระทบทางการส่งออกผลไม้ไทยไปต่างประเทศ ส่วนหนึ่งมากจากการที่ เกษตรกรปลูกผลไม้นั้นถูกรบกวนจากแมลงวันผลไม้ จนทำให้ผลผลิตตกต่ำลง สทน. จึงมีงานวิจัย การทำหมันแมลงวันผลไม้โดยการฉายรังสีขึ้น เพื่อกำจัดต้นตอของเจ้าตัวร้ายที่ทำให้ผลผลิตของผลไม้ไทยลดลง วิธีง่ายๆ โดยการดักจับแมลงวันผลไม้ตามธรรมชาติมาคัดสายพันธ์ที่มีมาก มีการแพร่ระบาดสูง แล้วทำการเพาะเลี้ยงเพื่อสังเกตพฤติกรรม เมื่อได้แล้ว เราจึงเลี้ยงเพื่อนำเอาดักแด้ของมันมาฉายรังสีแกมมาเพียงแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งทำให้มันเป็นหมัน แล้วทำการรอฟักออกจากดักแด้ ซึ่งช่วงระหว่างรอนี้ เราจะทำการย้ายดักแด้เหล่านี้ ไปไว้ในพื้นที่สวนผลไม้ โดยคำนวณสัดส่วนของพื้นที่ ต่อแมลงวันผลไม้เป็นล้านตัว แล้วเมื่อแมลงวันผลไม้เหล่านี้ฟักเป็นตัว มันจะบินไปจับคู่กับแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติ แต่ไม่สามารถที่จะฟักไข่ได้ ผลไม้ของเกษตรกรก็ไม่เน่าเสีย สามารถที่จะเพิ่มผลิตผลได้มากตามที่ตลาดต้องการ และวิธีนี้ยังทำให้เกษตรกรไม่ใช้ยาฆ่าแมลงอีกด้วย โดยได้ทำสำเร็จไปแล้วในหลายพื้นที่ของประเทศ เช่น นครนายก จันทบุรี แพร่ เป็นต้น(มีของจริงให้เห็นและสัมผัส)

จากงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ สทน. ได้ทำการช่วยเหลือเกษตรกรไทยให้มีความกินดีอยู่ดีมีสุข รายได้เพิ่มพูน ผลผลิตมีคุณภาพยิ่งขึ้น เกษตรกรไทยก็ยิ้มได้ สนใจขอเชิญที่งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการ ไบเทค บางนา วันนี้ถึง 21 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00 น. – 20.00 น.

View :1548

TCELS ร่วมเครือข่ายพันธมิตร จัดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาศาสตร์ “ASEAN Life Sciences and Exhibition 2013” เป็นครั้งแรก

June 29th, 2013 No comments

พร้อมเชิญนักลงทุนยักษ์ใหญ่ที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ชีววิทยาศาสตร์ระดับโลก “ สตีฟ เบอริล ” มาบรรยายเติมเต็มด้วยทีมวิทยากรชั้นนำจากทั่วโลกอีกมากมาย ด้านภาครัฐและเอกชนยกขบวนนวัตกรรมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาแสดงในงาน ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ ม.นเรศวร ชูเซรั่มยางพาราสูตรใหม่ คืนความอ่อนวัยผิวหน้าและรอบดวงตาอย่างได้ผล พร้อมแจกทดลองใช้ฟรีในงาน 10,000 ขวด
Asean Life Sciences Logo
โรงแรมเอส 31 กรุงเทพ / ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี () ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย และ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาศาสตร์ “ 2013 ” เป็นครั้งแรกของภูมิภาค ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างความมั่นใจให้กับอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า จะมีโอกาสและอนาคตที่ดี ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ได้แก่ ยา เครื่องมือแพทย์ วัคซีน ยาชีววัตถุ ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้า ขณะเดียวกัน ก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการจัดเตรียมแผนงานสำหรับการปรับปรุงกฎระเบียบ ให้สอดคล้องกันในกลุ่มประเทศอาเซียน และส่งเสริมการจับคู่และร่วมมือกันระหว่างกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ในกลุ่มประเทศภาคีอาเซียนและประเทศอื่นๆ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือทางธุรกิจทางด้านนี้ต่อไปในอนาคต

นายนเรศ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ เราได้ประธานบริษัทร่วมลงทุนที่ประสบผลสำเร็จด้านชีววิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมไบโอเทคระดับโลก และยังเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์แนวโน้มชีววิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่าง สตีฟ เบอริล ( Steven Burril ) มาปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ Global Business Trend for Life Sciences ” นับเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะได้อัพเดทเรื่องราวความก้าวหน้า และแนวโน้มของธุรกิจใน ชีววิทยาศาสตร์โลกในมุมมองของกูรูโดยตรง นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรในระดับแนวหน้าของโลก อีกมากมาย ทั้งจาก FDA สหรัฐอเมริกา ภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ฯลฯ ขณะเดียวกันภายในงาน ยังมีการนำเสนอผลงานและนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ จากภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ จัดเสวนา และบรรยายตลอดทั้ง 3 วัน โดยไฮไลต์ของงานคือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ เซรั่ม จากน้ำยางพาราสูตรใหม่ล่าสุดที่สามารถคืนความอ่อนเยาว์ให้กับผิวหน้า พร้อมประสิทธิภาพในการช่วยทำให้ริ้วรอยรอบดวงตาลดเลือน เห็นผลชัดเจนใน 2 เดือนโดยผลงานดังกล่าวเป็นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากการสนับสนุนของ TCELS ซึ่งจะแจกให้ทดลองใช้ในงาน 10,000 ขวดด้วย

ในการประชุมครั้งนี้ ยังประกอบไปด้วย 3 งานย่อย ประกอบด้วย 1. การประชุมในหัวข้อ กฎระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในระดับนานาชาติโดยมี อย.ร่วมเป็นเจ้าภาพ 2. การประชุม International Society for Pharmaceutical Engineering หรือ ISPE ซึ่งทางสมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม ( ประเทศไทย ) ร่วมเป็นเจ้าภาพ และ 3. การประชุม ASIA Bio Business Partnering หรือ ABBP เป็นความร่วมมือในรูปของภาคีเครือข่าย 4 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย บวกกับประเทศออสเตรเลียอีก 1 ประเทศ เพื่อพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ในเอเชียให้เติบโตเพิ่มมูลค่าธุรกิจระหว่างประเทศ ถือเป็นการประชุมนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตลอดจนการประชุมเสวนาเทคโนโลยีนวัตกรรม เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ สารสกัดทางธรรมชาติเพื่อบำบัดรักษา เป็นต้น โดย TCELS เป็นผู้สนับสนุนทุกรายการ

ดร.ภญ.ยุพดี จาวรุ่งฤทธิ์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานยาหน่วยงาน สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) กล่าวว่า อย. เป็นผู้ร่วมจัดงานในครั้งนี้ ในฐานะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องของการควบคุม คุณภาพและมาตรฐาน ด้านยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อยกระดับให้เป็นมาตรฐานสากล ทั้งในระดับอาเซียน เอเปค จนถึงระดับโลก การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้แทน อย.ของกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา อาเซียน รวมถึงประเทศไทยที่จะมาอัพเดทความก้าวหน้าเกี่ยวกับ การพัฒนามาตรฐานการผลิตในระดับโลก เพื่อเตรียมความพร้อมกลุ่มประเทศอาเซียน

ด้าน ภญ.โศรดา หวังเมธีกุล นายกสมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ในฐานะประธาน ISPE ( Thailand ) กล่าวว่า การจัดการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมวิชาการครบรอบ 10 ปี ของ ISPE เพื่อให้สมาชิก ISPE และสมาชิกสมาคมฯ ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปได้ทราบถึงเทคโนโลยีใหม่ และมาตรฐานสากลในการผลิตยา และควบคุมคุณภาพ โดยจะมีวิทยากรจากหลายประเทศทั่วโลกมาให้ความรู้โดยตรงตลอดการประชุมทั้ง 3 วัน

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการประชุมวิชาการในครั้งนี้ สามารถลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งได้ที่www.aseanlifesciences.org หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-644-5499

View :1968

สวทช. นำ“สารน้ำใส” ปรับสภาพน้ำคูเมืองเชียงใหม่ รับสงกรานต์

April 10th, 2013 No comments

กระทรวงวิทย์ ผุดเทคโนโลยี nCA แก้ปัญหาน้ำเน่า จับมือ เทศบาลนครเชียงใหม่-สถาบันศึกษาภาคเหนือ ลุยปรับสภาพน้ำรอบคูเมืองเชียงใหม่กว่า 8 กม. ยืนยันใสสะอาดปลอดภัยพร้อมใช้เล่นสงกรานต์ เตรียมถ่ายทอดความรู้ให้เทศบาลนครเชียงใหม่ ขยายผลแก้ปัญหาแหล่งน้ำอื่น


นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ขณะนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบให้ สวทช. โดย เอ็มเทค เร่งหามาตรการปรับสภาพน้ำคูเมืองต่างๆให้ใสสะอาด เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องคุณภาพน้ำ โดยเริ่มจากการปรับสภาพน้ำคูเมืองที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นที่แรก เนื่องจากเชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวและใช้น้ำจากคูเมืองเล่นสงกรานต์กันเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงวันที่ 18-31 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา เอ็มเทค/สวทช. ได้นำผลงานนวัตกรรมสารจับตะกอน nCLEAR สกัดจากธรรมชาติ และเครื่องเพิ่มออกซิเจนแบบประหยัด เข้าไปช่วยฟื้นฟูน้ำให้ใสสะอาด รับเทศกาลมหาสงกรานต์เชียงใหม่

ด้านนายชาตรี เชื้อมโนชาญ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เอ็มเทค สวทช. ได้มาทำงานร่วมกับทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อปรับสภาพน้ำบริเวณคูเมืองให้ใสสะอาด ซึ่งก่อนหน้านั้น น้ำในคูเมืองประสบปัญหา น้ำขุ่นดำ ส่งกลิ่นเหม็น คาดว่าเกิดจากการปล่อยน้ำเสียของสถานประกอบการร้านอาหารรอบคูเมือง ทำให้เชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เสียภาพลักษณ์ ซึ่งหลังจากที่ทางกระทรวงวิทย์ฯ โดย เอ็มเทค สวทช. ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ และสถาบันการศึกษาในภาคเหนือ จัดทำโครงการปรับสภาพน้ำคูเมืองเชียงใหม่ให้ใสสะอาดและออกซิเจนสูง รับเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556 โดยใช้ระบบ nCA (เอ็น-ค่า) ทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ 20 บ่อ รอบคูเมืองทั้งหมด เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร เห็นได้ชัดว่าน้ำใสขึ้นเมื่อมองจากผิวน้ำ ภายใน 1 วัน ทางเทศบาลพอใจในผลที่ได้ จึงต้องการให้ทีมงานทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำอื่น ทำให้เทศบาลฯมั่นใจว่าคุณภาพน้ำจะใสสะอาดและปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้แน่นอน”

ขณะที่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การปรับสภาพน้ำในคูเมืองเชียงใหม่ ใช้ระบบ nCA โดยใช้สาร nCLEAR หรือ “สารน้ำใส”ความเข้มข้น 10 % ปริมาตร 1,000 ลิตร ร่วมกับการเติมอากาศด้วย nAIR เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ได้ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่ง“สารน้ำใส” ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติและผงถ่าน สามารถจับตะกอนในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จึงปลอดภัยในการนำไปใช้งานไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และน้ำที่ได้หลังจากการใช้ “สารน้ำใส” เมื่อตกตะกอนและกรองตะกอนออก จะเป็นน้ำใส ไม่มีกลิ่นเหม็น และหากต้องการนำไปใช้อุปโภคหรือบริโภค แนะนำให้ผ่านการต้ม หรือผสมสารคลอรีนเจือจางก่อน “การรักษาสภาพแหล่งน้ำให้ใส สะอาด เป็นสิ่งสำคัญ ทาง เอ็มเทค มีแนวทางที่จะถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี nCA แก่เทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม และมีแผนที่จะขยายผลเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแหล่งน้ำแม่ข่า ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของจ.เชียงใหม่ ต่อไป” ดร.ทวีศักดิ์ กล่าว

View :2379
Categories: Science Tags:

สวทช. ประกาศผล 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2555

January 2nd, 2013 No comments

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวถึง การจัดอันดับ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 ว่า เป็นกิจกรรมที่ /วท. จัดขึ้นมากว่า 19 ปีแล้ว เพื่อสร้างกระแสความนิยมและส่งเสริมความเข้าใจข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกลุ่มเยาวชนและสังคมไทย โดยในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป กว่า 3,000 คน ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 48.1 เพศหญิงร้อยละ 51.9 อายุระหว่าง 20-25 ปี

ผลที่ได้จากการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า การรับทราบเกี่ยวกับข่าวสารของประชาชนในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและสนใจข่าวสารการเมืองมากกว่าข่าววิทยาศาสตร์ เนื่องจากข่าวการเมืองดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน อีกทั้งเป็นกระแสสังคม ซึ่งตรงกันข้ามกับข่าววิทยาศาสตร์ที่มีผู้สนใจน้อยกว่า เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจได้ยาก เป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่มที่จะสนใจ และเป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว จึงได้รับความสนใจน้อยกว่าข่าวทั่วไป

อนึ่ง ข่าวที่ประชาคมวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปีที่ผ่านมาคือ การค้นพบ Higgs boson particle ที่ CERN ซึ่งได้มีการประกาศต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา กลับไม่ได้รับการโหวตให้เป็น 1 ใน 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่อย่างใด

ดังนั้น การพัฒนาความสามารถและการสร้าง “นักวิชาชีพ” ด้าน “การสื่อสารวิทยาศาสตร์” เพื่อทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ให้เกิดความรู้สึกว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว และเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงมีความสำคัญเป็นประการต้นๆ สำหรับการสร้างบุคลากรมาร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศต่อไป

โดยผลการสำรวจข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจ 10 อันดับแรก มีดังนี้

อันดับที่ 1 “นาซาใช้ไทยวิจัยโลกร้อน (โครงการวิจัยชั้นบรรยากาศ)”

เนื่องจากชั้นบรรยากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีละอองแขวนลอย (Aerosol) ที่มาจากหลายแหล่ง เช่น เกลือทะเล การเผาไหม้ป่า และพื้นที่เกษตร การเผาไหม้น้ำมันและเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ จากละอองดินทราย ซึ่งปริมาณเข้มข้นของละอองเหล่านี้แปรปรวนอย่างมากตามพื้นที่และฤดูกาล ละอองดังกล่าวจะส่งผลต่อทัศนวิสัย เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางอากาศและสุขภาพ มีทั้งกลุ่มที่เร่งการก่อตัวของเมฆและฝน เช่น ละอองเกลือ และกลุ่มที่สลายเมฆและลดการเกิดฝน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิด ปริมาณ และกระบวนการพัดพาแนวราบและแนวดิ่งจะช่วยการพยากรณ์อากาศโดยเฉพาะการเกิดฝนแม่นยำมากขึ้นนอกจากนี้ ยังทำให้รูปแบบจำลองคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกเนื่องจากสภาวะโลกร้อนในอนาคตมีความเคลื่อนสูง เพราะละอองส่งผลให้ความเข้มของแสงอาทิตย์ที่กระทบพื้นโลกลดลง

โครงการดังกล่าวจะใช้อากาศยานประเภทต่างๆ เก็บข้อมูลชนิด ปริมาณ การพัดพาในบรรยากาศ ผลของละอองต่อการเกิดเมฆและฝนในภูมิภาค โดยเป็นอากาศยานของนาซา 3 ลำ ของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตร 1 ลำ ซึ่งจะเก็บตัวอย่างอากาศและตรวจวัตถุทางอุตุนิยมวิทยาในชั้นบรรยากาศชั้นบนถึงระดับ 20 กิโลเมตร ซึ่งบอลลูนตรวจสภาพอากาศของไทยไม่สามารถทำได้ และจะมีนักวิจัยไทยจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยประโยชน์ต่อประเทศไทยคือ

ได้ข้อมูลเพื่อการปรับแก้สีภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชต (ธีออส) และดาวเทียมเชิงแสงอื่นๆ ที่ได้รับการตำหนิว่าสีที่ถ่ายได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความผิดเพี้ยนไม่กลมกลืน ซึ่งความเข้าใจเชิงสถานที่และเวลาเกิดเมฆ จะช่วยให้วางแผนการถ่ายภาพได้แม่นยำมากขึ้น

อันดับที่ 2 การสร้างมูลค่าเปลือกไข่ ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

สวทช. โดยนักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ () ได้ศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาผลิตไบโอดีเซล โดยแปรสภาพเปลือกไข่ มาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เปรียบเทียบกับตัวเร่งปฎิกิริยาแบบของเหลว เช่น โซดาไฟ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งที่ได้จากเปลือกไข่ หรือผลิตภัณฑ์ อีโค-คาทาล (Eco Catal) ทำให้กระบวนการผลิตไบโอ ดีเซลมีขั้นตอนที่สั้นลง อีกทั้งยังได้กลีเซอรีนและไบโอดีเซลที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างน้ำและไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียในกระบวนการผลิตไบโอ ดีเซลแบบทั่วไป ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวพร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้กับอุตสาหกรรมผลิตไบโอ ดีเซล เป็นทางเลือกที่คุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาจากเปลือกไข่เป็นวัตถุดิบที่หาได้ในประเทศ โดยไม่ต้องนำเข้าเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปของเหลว งานวิจัยดังกล่าวยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจโรงฟักไข่ไม่ต้องเสียเงินในการ กำจัดเปลือกไข่เหลือทิ้งด้วยการฝังกลบกว่า 60,000 ตัน ต่อปี จึงเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

อันดับที่ 3 นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศที่เหยียบดวงจันทร์คนแรกสิ้นชีพ

นีล อัลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เป็นนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา ผู้เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลก โดยการนำยานอวกาศอพอลโล 11 จอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ มีการถ่ายทอดสดให้ผู้คนทั่วโลกเฝ้าติดตามชมกว่า 500 ล้านคน ยานอพอลโล 11 ถือเป็นเที่ยวบินอวกาศเที่ยวสุดท้ายของอาร์มสตรอง เพราะหนึ่งปีหลังจากนั้น อาร์มสตรอง ผันตัวเองเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาวิศวกรรมการบินอวกาศ ในมหาวิทยาลัยซินซินนาติ และใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชนใดๆ ทั้งสิ้น
วันที่ 25 ส.ค. 2555 นีล อาร์มสตรองได้เสียชีวิตที่เมืองซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ (Cincinnati, Ohio) ด้วยโรคแทรกซ้อนจากการทำบายพาสเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจอุดตัน ขณะอายุได้ 82 ปี

อันดับที่ 4 เนคเทคเปิดตัวสมองกลเตือนภัยดินโคลนถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ผ่าน SMS

สวทช. โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นำร่องติดตั้งระบบเตือนภัยสมองกลฝังตัว “Landslide Landing System” ใน 243 หมู่บ้าน 22 อำเภอพื้นที่เสี่ยงน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มใน จ. เชียงใหม่ ซึ่งระบบเตือนภัย ประกอบด้วย สถานีตรวจวัดระยะไกลทำงานด้วยพลังงานจากเซลแสงอาทิตย์ โดยมีอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับสถานี คือ เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นอากาศ โดยระบบจะส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องแม่ข่ายทุก 5 นาที ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เอไอเอส ข้อมูลทั้งหมดจะถูกประมวลและนำไปสู่การแจ้งเตือนภัยผ่านระบบ SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอ (ทั้งนี้ การส่ง SMS สามารถตั้งได้เป็นนาที หรือชั่วโมง เช่น ฤดูร้อน ไม่มีฝนตกอาจจะตั้งเวลาที่จะส่งข้อมูลให้ห่างขึ้น เพื่อประหยัดพลังงาน) โดยในกรณีสภาพอากาศปิด (ไม่มีแสงแดด) อุปกรณ์จะทำงานได้ต่อเนื่องไปอีก 15-20 วัน

อันดับ 5 nCA น้ำใส หายเหม็น ออกซิเจนสูง

นวัตกรรมแก้ปัญหาน้ำท่วมขังและเน่าเสีย ให้กลายเป็นน้ำดี ด้วยการใช้สารน้ำใส (nCLEAR) ในช่วงมหาอุทกภัย ปี 2554 พัฒนาโดยทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. โดยสารน้ำใส (nCLEAR) ผลิตขึ้นจากสารสกัดธรรมชาติและผงถ่าน ไม่มีอะลูมิเนียมหรือโลหะหนักผสมอยู่ สามารถจับตะกอนในน้ำได้รวดเร็ว และย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากทิ้งให้ตกตะกอน น้ำจะใส ไม่มีกลิ่น และเมื่อต้มฆ่าเชื้อสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ นอกจากนั้น สารน้ำใส (nCLEAR) ยังสามารถใช้ร่วมกับเครื่องเติมออกซิเจนในน้ำ (nAIR) ทำให้น้ำที่เน่าเสีย ใสสะอาดและมีออกซิเจนมากขึ้น โดย สวทช. ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสารน้ำใส (nCLEAR) แล้วในชื่อ nCA หรือเอ็นค่า กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา

อันดับที่ 6 ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ “ข้าวเหนียวข้าวก่ำ”

“ข้าวโพดพันธุ์ ใหม่” “ข้าวเหนียวข้าวก่ำ” หรือ “ข้าวโพดข้าวเหนียว” เป็นข้าวพื้นบ้านทางล้านนา และภาคอีสานของไทย มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือ มีสีม่วงดำทั้งลำต้นและเมล็ด รสชาติ กลิ่นหอม มีทั้งความมัน ความเหนียว สามารถปลูกได้ดีในทุกสภาพ ให้ผลผลิตสูง และอุดมไปด้วยมีสารฟีนอลิกและสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมแฟนซี สีม่วง 111 ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นโดยฝีมือนักวิจัยของไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยเป็นพันธุ์ข้าวโพดสีม่วง นำมาผสมกับสายพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียว สกัดสายพันธุ์แท้จากคู่ผสมจนได้สายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง และคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมออกมาได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีม่วง 111 และพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวแฟนซี สีขาวม่วง 212 โดยใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ 6-7 ปี

อันดับที่ 7 ใช้แสงซินโครตรอนติดตาม วิเคราะห์ “ติ้วขน-สนสามใบ”สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง

เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศ แม้ปัจจุบันการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดจะมีประสิทธิภาพสูงแต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา และการดื้อยา จึงได้มีการศึกษาสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและลดการดื้อยา มาใช้เสริมยาเคมีบำบัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

จากการศึกษาพืชสมุนไพรหลายชนิด พบว่า สารสกัดจากกิ่งของพืช 2 ชนิด คือ ติ้วขนและสนสามใบ ให้สารออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีศักยภาพทำให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ สลายตัวจากการทำลายตัวเองจากภายใน หรือเรียกว่า การตั้งโปรแกรมทำลายตัวเอง (Apoptosis) ซึ่งกระบวนการนี้ เป็นผลดีอย่างมากต่อการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากมีเพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้นที่ตายลงไป ไม่มีผลต่อการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ข้างเคียง ร่างกายจึงไม่เกิดการอักเสบขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงต่อการใช้ยา และเพื่อให้ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แท้จริงของพืชสมุนไพรทั้งสองชนิดนี้ คณะผู้วิจัย ซึ่งประกอบด้วย ภญ.รศ.ดร.นาถธิดา วีระปรียากูร อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ รศ.ดร.สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์ อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ น.ส.ศศิภาวรรณ มาชะนา นักศึกษาปริญญาเอกภายใต้โครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ ดร.วราภรณ์ ตัณฑนุช และ ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ใช้เทคนิคจุลทรรศน์อินฟราเรด จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เพื่อตรวจวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกที่เกิดขึ้นภายในเซลล์มะเร็ง ซึ่งสารสกัดสมุนไพร ทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้เซลล์มะเร็งตายและมีกลไกการออกฤทธิ์ของพืชทั้งสองชนิด แตกต่างจากการรักษาโดยใช้ยาเมลฟาเลนหรือยาเคมีมาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

การใช้แสงซินโครตรอน ถือเป็นเทคนิคใหม่ในการวิจัยที่จะต้องวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลระดับเซลล์ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วขึ้น โดยมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ จะนำไปสู่การนำพืชสมุนไพรไปใช้ประโยชน์จริงในอนาคต และจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาและพัฒนาหาสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็งจากพืชสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ต่อไป ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลสุขภาพ ของประชาชนชาวไทย และยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชดั้งเดิมอีกด้วย

อันดับที่ 8 ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์

ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือสุริยุปราคา โดยที่ดาวศุกร์จะเคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และโลก เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน เมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นจุดกลมเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่พิเศษและหาชมได้ยาก เนื่องจากจะเกิดขึ้นเพียง 4 ครั้งในรอบ 243 ปี โดยมีรอบการเกิดปรากฏการณ์เป็นคู่ แต่ละคู่จะห่างกัน 121.5 (+/- 8) ปี (และแต่ละครั้งใน 1 คู่นั้นจะเกิดห่างกัน 8 ปี) หากครั้งแรกของคู่แรกเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่หลัง 129.5 ปี ครั้งแรกของคู่หลังจากห่างจากครั้งแรกของรอบถัดไป 113.5 ปี ซึ่งการสังเกตการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ยังเป็นการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์อย่างแม่นยำ ซึ่งจะเห็นได้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่มีการกล่าวถึงการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดังกล่าวมานานนับหลายศตวรรษ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 จะเป็นอีกวาระหนึ่งที่คนไทยจะได้เห็นปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เหนือฟ้าเมืองไทย ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่ผู้ที่มีชีวิต ณ ปัจจุบันจะมีโอกาสได้เห็น เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช 2660 หรืออีกกว่าหนึ่งศตวรรษ

อันดับที่ 9 ซูปเปอร์มูน ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบ 6 ปี

วันที่ 6 พฤษภาคม 2555 เวลาประมาณ 03:34 น. (เวลาในประเทศไทย 10:34 น.) ดวงจันทร์ได้โคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะห่าง 356,953 กิโลเมตร และเนื่องจากเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงพอดี ผู้คนบนโลกจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 2-3%
ซูเปอร์มูน เป็นปรากฏการณ์จันทร์เพ็ญ หรือจันทร์ดับซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้าใกล้โลกของดวงจันทร์ ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์แตกต่างกันไปแต่ละเดือนอยู่ระหว่าง 354,000 และ 410,000 กิโลเมตร เนื่องจากวงโคจรรูปวงรีของดวงจันทร์ และปรากฏการณ์ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เฉพาะดวงจันทร์เข้ามาใกล้โลกพอดีกับวันพระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเข้ามาใกล้ที่สุดในรอบปีอีกด้วย โดยระยะห่างของการเข้าใกล้ของดวงจันทร์ จะมีความแตกต่างกันราวร้อยละ 3 ทั้งนี้เป็นเพราะวงโคจรของดวงจันทร์ไม่ได้เป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์ ผลจากการที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง แต่จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโลก เช่น เหตุแผ่นดินไหวรุนแรง หรือกระแสน้ำที่ไหลอย่างผิดปกติ โดยกระแสน้ำทะเลซึ่งปกติมีการขึ้นและลง ในช่วงหลังเหตุการณ์ดังกล่าว กระแสน้ำจะมีแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เท่านั้น

อันดับที่ 10 นาซาค้นพบ “กรวด”ร่องรอยการกัดเซาะของธารน้ำบนดาวอังคาร

นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซา เปิดการแถลงข่าวที่ห้องปฏิบัติการวิจัยการขับเคลื่อนยานอวกาศ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ว่ายานคิวริออซิตีที่ลงจอดบนดาวอังคารตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2555 ได้ค้นพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า บนดาวอังคารเคยมีธารน้ำมาก่อน โดยขนาดและรูปร่างของกรวดที่ถูกธารน้ำกัดเซาะนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นธารน้ำลึกและกระแสน้ำเชี่ยว โดยภาพและข้อมูลที่ได้มาจากยานสำรวจคิวริออสซิตี้ สะท้อนให้เห็นว่าครั้งหนึ่งดาวอังคารที่แห้งแล้ง เคยมีสภาพอากาศอบอุ่นและมีความชื้นมากกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังมีความพยายามในการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของหินกรวดมนที่ค้นพบ เนื่องจากจะช่วยเปิดเผยลักษณะเฉพาะของน้ำที่เคยมีอยู่บนดาวอังคาร ซึ่งจะเป็นสภาพสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลาที่น้ำอยู่บนดาวอังคาร เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแหล่งน้ำบนดาวอังคารให้มากขึ้นกว่านี้ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารหรือไม่

View :1840

ก.วิทย์แถลง 5 ยุทธศาสตร์นาโนเทคโนโลยี หวังเป็นผู้นำการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีของอาเซียน ตั้งเป้าผลักดันงบ S&T เป็น 1% ของ GDP

November 21st, 2012 No comments

21 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา : นายวรวัจน์ เอื้อภิญญกุล รัฐนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ “เมทัลเล็กซ์ นาโน ฟอรัม 2012 ภายใต้แนวคิด “The New Cutting-Edge of High Precision Manufacturing Industries” พร้อมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “From Plan to Practice: Nanotechnology for the Benefits of Thailand and Mankind” ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2555 โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำนาโนเทคโนโลยีมาปรับใช้ กับอุตสาหกรรมโลหะการ ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยนวัตกรรมใหม่ และกรณีศึกษาที่มีผลกระทบต่อวงการอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นาโนเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในด้านกิจกรรม เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีโลหะการ และการดำเนินงานของ METALEX สอดคล้องกับนโยบายการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาความรู้ความก้าวหน้า ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโนของประเทศไทยเพื่อให้สอดคล้องกับ การผลักดันการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของไทยให้สามารถตอบสนองต่อความ เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก โดยเฉพาะการเป็นผู้นำใน Asean Economic Community (AEC 2015) โดยประเทศไทยเป็น ผู้นำในเรื่องอุตสาหกรรมการผลิตแบบโลหะการ และในปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีกำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเครื่องจักร เครื่องกลที่มีความแม่นยำสูงมาก (High-Precision machinery) การพัฒนาและใช้วัสดุชนิดใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติสูงขึ้น (new functional nanomaterials)

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วท. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการที่จะส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งในอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร เพื่อให้สังคมในระดับรากหญ้าอยู่ดีกินดี โดยมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนขับเคลื่อนที่สำคัญให้กับ สังคมและเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ นาโนเทคโนโลยีก็เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับความ นิยมอย่างกว้างขวาง และเข้าไปแทรกซึมอยู่ในทุกๆ ศาสตร์ เช่น การเกษตร โภชนาการ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ อาทิ ผ้าไหมกันน้ำและแบคทีเรีย,ระบบการจัดส่งสำหรับวิตามินและเครื่องสำ อางค์,บรรจุภัณฑ์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาผักผลไม้ เป็นต้น ซึ่งจากความสำคัญดังกล่าว จึงทำให้มีการจัดทำนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (2012-2121) ที่ผ่านการอนุมัติจากมติครม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการแข่งขันระดับชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโลยี ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เน้นใน 5 ยุทธศาสตร์หลัก อันได้แก่ 1.คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ทาง การแพทย์และสาธารณสุข 2.การพัฒนาวัสดุ และผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรและการผลิต 3.ความมั่นคง ด้านพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนาโนเทคโนโลยี และ 5.ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ

นอกจากนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เตรียมที่จะผลักดันงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อทำวิจัยและพัฒนา เป็น 1% ของ GDP ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 120 พัน ล้านบาท ในอีกไม่กี่ข้างหน้านี้ โดยต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ผ่านกลไกของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวง การคลัง ในการสร้างแรงจูงใจลดดอกเบี้ยและลดหย่อนภาษี 300% ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายในงานวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ผ่านกลไกนี้ อย่างทั่วถึง นายวรวัจน์ฯ กล่าว

View :1428

ก.วิทย์ฯ ติดปีกเศรษฐกิจไทยสู่ AEC จัดงาน NSTDA Investors’ Day 2012 โชว์นวัตกรรมเด่นแห่งปี

September 12th, 2012 No comments

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ () กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงาน NSTDA Investors’ Day ประจำปี 2555 ในวันพฤหัสบดี ที่ 20 กันยายน 2555 เวลา 08.00-16.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC” ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มนักธุรกิจเป้าหมายมีโอกาสเข้าถึงผลงานของนักวิจัยไทยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และสื่อถึงความสำคัญของการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประธานในการแถลงข่าวครั้งนี้เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีนโยบายเร่งด่วนที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ โดยเฉพาะการเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดันผลงานเหล่านั้นให้เป็นที่จับต้องได้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีออกสู่ภาคเอกชน เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เช่นสาขาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการลดภาวะโลกร้อน ฯลฯ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนที่จะมาถึงในอีก 3 ปีข้างหน้า

“เราต้องเร่งสร้างผลงานวิจัยเพื่อนำออกสู่อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เราคิดขึ้นมาได้ หรือจะเป็นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว แต่ยังไม่ลงตัว หรือไม่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือไม่สามารถผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ เราก็สามารถเอามาต่อยอดให้ทันสมัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยให้ตอบรับกับกระแสสังคม” ดร. ปลอดประสพฯ กล่าว

ดร. ปลอดประสพฯ ยังระบุอีกว่าการตอบรับจากภาคเอกชนจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีและเป็นตัวกระตุ้นให้นักวิจัยเกิดความภูมิใจและเข้าใจความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อันจะนำไปสู่การปรับกระบวนความคิดในการคิดค้นงานวิจัยที่สามารถนำออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้นและมีต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งจะเป็นการเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

ด้าน ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. ได้เปิดเผยถึงภาพรวมของการจัดงาน NSTDA Investors’ Day ว่า สวทช. ได้จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกปี และจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในปีนี้ โดยมีเจ้าภาพร่วม หน่วยงานพันธมิตร และผู้สนับสนุนการจัดงานซึ่งประกอบด้วย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)

ดร. ทวีศักดิ์ฯ ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน NSTDA Investors’ Day ว่างานนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุน โดยจุดเด่นภายในงานปีนี้ได้แก่ การเปิดให้มีการเจรจาธุรกิจแบบ One on One Matching เพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในเชิงพาณิชย์ และกิจกรรมนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่อนักลงทุนในช่วง Investment Pitching โดยเฉพาะการนำเสนอ 5 ผลงานเด่นจาก สวทช. ที่มีศักยภาพพร้อมสำหรับการลงทุนในปีนี้ซึ่งได้แก่ แผ่นแปะรักษาสิว (Q ACNES) ตัวเร่งปฏิกิริยาของแข็งจากเปลือกไข่เพื่อการผลิตไบโอดีเซล (Eco–Catal) เครื่องมือตรวจวินิจฉัยใส้เดือนฝอย (F4-KIT) (From Farm to Fine Fork KIT ) ชุดทดสอบออกซิเจนละลายน้ำแบบพกพา (DO-DEE) และเครื่องวัดและวิเคราะห์ขนาดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ (DustDETEC)

สำหรับผลงานที่น่าสนใจจากหน่วยงานพันธมิตรอื่นๆ ได้แก่ ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร เทคโนโลยีการผลิตโลหะกึ่งของแข็งด้วยการปล่อยฟองแก๊ส คลังแอนติบอดี้มนุษย์ และครีมนวดสลายเซลลูไลท์ เป็นต้น นอกจากนี้ภายในงานยังมีโซนการจัดแสดงนิทรรศการผลงานเทคโนโลยีต่างๆ อีกกว่า 27 ผลงาน เพื่อให้นักลงทุนได้เลือกสรร หากสนใจสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับนักวิจัยได้ ณ บูธนั้นๆ รวมทั้งโซนของการจัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีของ สวทช. ทั้งนี้ภายในงานยังสามารถร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ความสำคัญของตลาดทุนกับการขับเคลื่อนธุรกิจเทคโนโลยีของไทย” และ “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ (10 Technologies to Watch)” รวมทั้งการเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ “ธุรกิจมั่งคั่งด้วยเทคโนโลยี รับมือเปิดเสรีทางการค้า” และ “นักวิจัยคิด นักธุรกิจลงทุน หนุนเศรษฐกิจไทยสู่ AEC”

อนึ่งงาน NSTDA Investors’ Day ปีแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2553 ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจเทคโนโลยี ของดีสำหรับนักลงทุน” ปีที่สองจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2554 ภายใต้แนวคิด “ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน” โดยมีกลุ่มนักลงทุนและนักธุรกิจให้ความสนใจและมีกระแสตอบรับเพิ่มมากขึ้นทุกปี

View :1571

กระทรวงวิทย์ฯ ทุ่มกว่า 300 ล้าน ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี หวังเป็นผู้นำด้านสินค้านาโนในอีก 10 ปีข้างหน้า

August 29th, 2012 No comments

29 สิงหาคม 2555 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือการจัดตั้งและดำเนินงาน ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี และร่วมปาฐกถาเรื่อง“นโยบาย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดยพิธีลงนามดังกล่าว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ()โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ/ ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้ง 8 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี จัดตั้ง”โครงการศูนย์ ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี”เพื่อสนับสนุน กลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางในการทำวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี ที่มีหัวข้อวิจัยสอดคล้องกับแผนที่นำทางด้านเทคโนโลยี (Technology Road Map : TRM) หรือการวิจัยแบบมุ่งเป้าของศูนย์ โดยเป็นการสร้างกลุ่มวิจัยที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง สามารถ นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของ ประเทศได้ในลักษณะ พันธมิตรระหว่างศูนย์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัย เป็นโครงการในระยะเวลา 5 ปี งบประมาณขั้นต้นในเฟสแรก 300 ล้านบาท

ดร.ปลอดประสพฯ รมว.วท. กล่าวว่า “โครงการ จัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโน เทคโนโลยี การดำเนินการครั้งนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการผนึก กำลังความร่วมมือของหน่วยงานที่ทำ งานด้านนาโนเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศ ซึ่งทุกท่านคง ตระหนักดีว่า ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูง เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอย่างมากสำหรับภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรม และเป็นปัจจัยสำคัญอย่าง หนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทยได้นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม สิ่ง ทอ อาหารและการเกษตร เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ พราะฉะนั้นความร่วมมือของ 9 หน่วยงานเพื่อการทำงานวิจัยและพัฒนา ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการทำงานวิจัยและ พัฒนาที่ถูกต้อง และมีความสอดคล้องกับนโยบายการ พัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำงานการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีไปในทิศ ทางเดียวกัน และอีกทั้งให้เกิดความสอดคล้องของการดำเนิน งานตามแผนที่กำหนดไว้ ในอีก 10 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ดังนั้น คาดหวังว่าโครงการนี้ นอกจากงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังถือว่าเป็นจุดเริ่มของความร่วมมือของหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อภาคการศึกษา และยังจะมีโอกาสขยายผลความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ภาคเอกชน,ภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ อันจะทำให้เกิดความสำเร็จอย่างรวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ในหลายมิติ และหวังว่าโครงการนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานาโนเทคโนโลยีของชาติ สร้างสรรงานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง นำมาพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก”

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเสริมว่า “สวทช.โดยศูนย์นาโน เทคในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีจึงจัดทำโครงการ ศูนย์ร่วมวิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยีร่วมกับสถาบันการ ศึกษา โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นสถาบันภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการผลิตผลงานและบุคลากรด้านนาโนเทคโนโลยีบน พื้นฐานของแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนานาโน เทคโนโลยีเพื่อนำประโยชน์มา สู่ประเทศไทย เล็งเห็นว่า ในแต่ละมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนญในการดำเนินงานวิจัยที่ หลากหลาย การสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มวิจัยเพื่อให้มีเป้าหมาย และทิศทางของงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้ของประเทศ

ซึ่งโครงการจัดตั้งศูนย์ร่วม วิจัยเครือข่ายพันธมิตรความเป็นเลิศด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งสวทช.โดยศูนย์นาโนเทคร่วมดำเนินการกับศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ทั้ง 8 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ การวินิจฉัย และรักษามะเร็ง,ด้าน อาหารและการเกษตร,ด้านระบบนำส่งยา,ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน,ด้านวัสดุนาโนเพื่อสมบัติเฉพาะทางขั้นสูง,ด้านวัสดุและระบบอัจฉริยะ,ด้าน วัสดุนาโนไฮบริดสำหรับพลังงานทางเลือก,ด้าน นาโนเทคโลยีสีเขียว และด้านอุปกรณ์นาโนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้กรอบความร่วมมือมีระยะเวลา 5 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมดกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิจัยขนาด ใหญ่ที่มีผลงานวิจัยพื้นฐานเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบปรับประยุกต์ที่ตอบสนองภาคการผลิตของประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพสูงสุดทางงานวิจัยและพัฒนาต่อการพัฒนาศักยภาพและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป”

สวทช.เองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมายและมุ่ง มั่นพัฒนางานวิจัยให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิง เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถรับมือกับสภาพปัญหาได้ทันเหตุการณ์ ทั้ง ในแง่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆไปล่วงหน้า และการสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการบริการวิจัยให้เอกชน การรับจ้างทดสอบ หรือแม้กระทั่งการร่วมลงทุนตั้งบริษัทกับเอกชน เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และโดยอาศัยองค์ความรู้และงานวิจัย ต่างๆที่ สวทช.ได้ริเริ่มดำเนินการไว้ และการทำงานที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักๆ ในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

View :1694