Archive

Archive for November, 2012

กระทรวงไอซีที ผนึกกลุ่มทรู ขยายบริการ “ICT Free WiFi by TRUE” สู่จังหวัดนครราชสีมา

November 30th, 2012 No comments

หนุนโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษา เพิ่มโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วไทย

กรุงเทพฯ 30 พฤศจิกายน 2555: โดย นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงไอซีที ร่วมกับ โดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโมบายล์ และนายเจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจทรูออนไลน์ ขานรับนโยบาย SMART THAILAND ประกาศความร่วมมือเปิดให้บริการ ขยายสู่ต่างจังหวัด ประเดิมนครราชสีมาเป็นที่แรก พร้อมเดินหน้าปักหมุดทั่วไทย สนับสนุนโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ให้นักเรียนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT Free WiFi by TrueMove H โดยมี ดร. วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าบ้านให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมติณสูลานนท์ ศาลาว่าการจังหวัดนครราชสีมา

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า “โครงการ ICT Free WiFi เป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของรัฐบาล ที่ต้องการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งวันนี้ คนเมืองในจังหวัดนครราชสีมาจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงแบบไร้สายได้อย่างทั่วถึง อันจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการพัฒนาจังหวัดทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาของนักเรียนในจังหวัดที่จะสามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น ณ จุดที่ให้บริการ ICT Free WiFi by TrueMove H เสริมประโยชน์โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา หรือ Tablet ที่กระทรวง ICT ได้ดำเนินการแจกจ่ายให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมาไปแล้ว ทั้งนี้ มั่นใจว่า โครงการ ICT Free WiFi ที่ได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มทรู ที่ให้การสนับสนุนร่วมเปิดพื้นที่ให้บริการ ICT Free WiFi by TRUE ครอบคลุมมากถึง 50,000 จุดทั่วประเทศ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยยกระดับการศึกษาและส่งเสริมให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ด้วยตนเองแม้อยู่นอกห้องเรียน อันเป็นการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในประเทศ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนด้วย”

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “กลุ่มทรู ชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ที่รัฐบาลโดยกระทรวงไอซีที ได้ให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีสื่อสาร โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย ในโครงการ ICT Free WiFi อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ให้กับประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่ต่างจังหวัด จะสามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมคนในเมืองใหญ่ กลุ่มทรู ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ WiFi ที่มีโครงข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงยินดีและมีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับกระทรวงไอซีที อำนวยความสะดวกให้ชาวจังหวัดนครราชสีมาสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านเครือข่าย WiFi by TrueMove H ได้ทุกเวลา ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์ ICT Free WiFi by TrueMove H ในอำเภอเมือง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมั่นใจว่าจะร่วมสร้างประโยชน์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับเยาวชน รวมทั้งมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้านอย่างแน่นอน

ดร. วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะเจ้าบ้าน ขอขอบคุณกระทรวงไอซีที และกลุ่มทรู ที่เลือกจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดลำดับต้นๆ ในการเปิดให้บริการ ICT Free WiFi by TRUE ช่วยให้เด็กนักเรียนที่ได้รับแท็บเล็ตจากโครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ได้รับประโยชน์สูงสุด เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ผ่านเครือข่ายคุณภาพ ทุกจุดที่มีบริการ นอกจากนี้ยังเอื้อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอีกด้วย เพราะจังหวัดนครราชสีมามียุทธศาสตร์ที่ตั้งเป็นประตูสู่ภาคอีสาน การมีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงให้บริการ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และประชาชนในจังหวัดได้เป็นอย่างมาก”

ด้วยความพร้อมของกลุ่มทรูทั้งทางด้านการให้บริการ และศักยภาพของโครงข่ายที่มีคุณภาพ และครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ จึงสามารถให้บริการ ICT Free WiFi by TRUE โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านฮอตสปอต WiFi by TrueMove H จำนวน 50,000 จุดทั่วประเทศ ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 Mbps ยิ่งไปกว่านั้น ทรูมูฟ เอช ได้สร้าง SSID ชื่อ ICT Free WiFi by TRUE เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจเข้าใช้บริการได้ทันที โดยสามารถลงทะเบียนรับ Username และ Password เมื่อเลือกโครงข่าย ICT WiFi by TRUE เพื่อใช้งานได้วันละ 30 นาที รวม 15 ชั่วโมงต่อเดือน และสามารถลงทะเบียนใหม่เพื่อต่ออายุการใช้งานได้ทุกๆ 3 เดือน และใช้งานได้ทุกที่ที่มีสัญลักษณ์

View :1831

ไอบีเอ็มเสริมทักษะการเรียนรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา

November 29th, 2012 No comments


จัดเวิร์กชอปให้ความรู้แก่เยาวชน ภายใต้โครงการเพื่อสังคม ฉลองครบรอบ 60 ปีไอบีเอ็ม ประเทศไทย พร้อมส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 29 พฤศจิกายน 2555: กลุ่มพนักงานของไอบีเอ็ม จัดเวิร์กชอปฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการตลาดและการสื่อสารแก่นักเรียนแก่

อาสาสมัคร 20 คนจากฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับคณาจารย์ของโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา ภายใต้เป้าหมาย 2 ประการคือ หนึ่ง เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมด้านการตลาด ความสำคัญของการตลาดสำหรับองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร และแนวทางในการส่งเสริมแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และสอง เพื่อให้นักเรียนสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับโครงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือโครงงานในอนาคต

เพื่อฉลองวาระครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งไอบีเอ็ม ประเทศไทย บริษัทฯ มีแผนที่จะสานต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจและสังคมของไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการดำเนินโครงการอาสาสมัคร Manager and Team Happy Volunteer Program ประจำปี 2555 โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนาถือเป็นกิจกรรมแรกภายใต้โครงการนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานอุทิศเวลา ความรู้ และความเชี่ยวชาญเพื่อบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่สังคม และในทางกลับกัน ก็จะเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะและความสมัครสมานสามัคคีในหมู่พนักงานของไอบีเอ็ม

ทีมงานของไอบีเอ็มได้ใช้ชุดกิจกรรมจาก On-Demand Community ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดหาทรัพยากรต่างๆ เช่น งานพรีเซนเทชั่น หรือชุดข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งจะช่วยให้อาสาสมัครจากไอบีเอ็มทั่วโลกสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาและหน่วยงานเพื่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ทีมงานดังกล่าวได้จัดฝึกอบรม 1 วันให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 28 คน ที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา ในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนาก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ยากจนในชนบทได้รับการศึกษาในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง มุ่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเอง โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากโครงงาน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะของนักเรียนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความสามารถในการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ รูปแบบการศึกษาดังกล่าวจะกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้นอกหลักสูตรและนอกห้องเรียนและพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ทางโรงเรียนเชื่อมั่นว่าแนวทางการศึกษานี้จะช่วยให้นักเรียนพร้อมที่จะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ในสาขาวิชาที่ตนเองถนัด รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน และสร้างประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

ในการฝึกอบรมเวิร์กชอปในครั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมภาคสนาม เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ โดยทีมงานอาสาสมัครได้แนะนำให้นักเรียนได้เข้าใจพื้นฐานของกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานเพื่อสังคม จากนั้นมีการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้วางแผนและนำเสนอแผนการตลาดภายใต้ 2 หัวข้อตามที่เลือกไว้ นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำตลาดและสร้างแบรนด์สำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงวิธีการส่งเสริมหน่วยงานชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์

นายวรุตม์ ศิระวงศ์ประเสริฐ อาสาสมัครจากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “นักเรียนที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนามีความกระตือรือร้นและเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำและช่วยพัฒนาสังคมในอนาคต จากการเรียนรู้เชิงทดลองในเรื่องการตลาดและการสร้างแบรนด์ เราหวังว่านักเรียนจะสามารถนำเอาหลักการที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากสังคมและภาคส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม”

นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา กล่าวว่า “การฝึกอบรมที่อาสาสมัครจากไอบีเอ็มจัดขึ้นนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ทั้งอาจารย์และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาโครงการเพื่อชุมชนที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงโครงการในอนาคต เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยแนวทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ นอกจากนี้ยังสอดรับกับจุดมุ่งหมายของเราในการเสริมความรู้นอกหลักสูตรให้แก่นักเรียนและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนให้ความสนใจเป็นพิเศษ”

View :1481

เอไอเอส ควงแขน CMG ปล่อยแคมเปญเด็ด มัดใจขาช้อป ช่วง High Season มอบสิทธิพิเศษส่วนลดสูงสุด 30% กับ 50 แบรนด์ดัง

November 29th, 2012 No comments

29 พฤศจิกายน 2555 : เอไอเอสขอเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า เดินหน้าตอกย้ำผู้นำด้านการดูแลลูกค้า ชูหัวใจสำคัญ คือการมอบความสุขและประสบการณ์เชิงบวกที่มากยิ่งกว่าในทุกช่วงเวลาการใช้ชีวิต เผย! จัดเต็มสิทธิพิเศษตอบทุกไลฟ์สไตล์ในทุกเทศกาลสำคัญ ล่าสุด ควงแขน “” พาร์ทเนอร์ ชั้นนำ จัดบิ๊กแคมเปญ “The New Best You – ชีวิตใหม่ในแบบคุณ” ชวนลูกค้าเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ กับส่วนลดสูงสุด 30% กับ 50 แบรนด์ดัง 300 สาขา พร้อมรับความพิเศษเพิ่มขึ้นอีกต่อ กับตุ๊กตาน้องอุ่นใจ Limited Edition เพื่อเป็นของขวัญแทนคำขอบคุณแด่ลูกค้า

คุณวิลาสินี พุทธิการันต์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริหารลูกค้าและการบริการ เปิดเผยว่า “เป้าหมายสำคัญในการให้บริการของเอไอเอส นอกเหนือจากการสร้างความพึงพอใจในการใช้งานเครือข่ายที่เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพแล้ว เรายังมุ่งสร้างความสุขและความอุ่นใจตลอดทุกช่วงเวลาการใช้ชีวิตให้กับลูกค้า ผ่านการดูแลในทุกมิติของงานบริการแบบครบวงจรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอีกหนึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่การส่งมอบประสบการณ์เชิงบวกที่มากยิ่งกว่า ให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงความพิเศษเหนือใคร ผ่านโปรแกรมสิทธิพิเศษ ที่เอไอเอสได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากกว่า 7,000 ร้านค้าทั่วประเทศ มอบให้กับลูกค้าเอไอเอสมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในแกนของการช้อปปิ้ง ถือเป็นสิทธิพิเศษที่สร้างความคุ้มค่าและสีสันในการชีวิตให้กับลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเอไอเอสได้ขยายความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในทุกรูปแบบ ทั้งในกลุ่มศูนย์การค้าชั้นนำ คอมมูนิตี้มอลล์สุดฮิป ตลอดจนสินค้าแบรนด์ดังประเภทต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มียอดการเข้าร่วมรับสิทธิ์มากกว่า 1.2 ล้านครั้งต่อปี หรือราว 1 แสนครั้งต่อเดือน
ไม่เพียงเท่านี้ เอไอเอสยังตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบความพิเศษให้กับลูกค้าในเทศกาลแห่งความสุขมาโดยตลอด ล่าสุด จึงได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำอย่าง CMG หรือบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าแบรนด์ดังระดับโลก สร้างสรรค์แคมเปญสุดเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อลูกค้าเอไอเอส ภายใต้ธีม “The New Best You – ชีวิตใหม่ในแบบคุณ” มอบสิทธิพิเศษส่วนลดสูงสุด 30% กับ 50 สินค้าแฟชั่น แบรนด์ดังในเครือ CMG กว่า 300 สาขาที่ร่วมโครงการ ทั้งเสื้อผ้า เครื่องสำอาง สกินแคร์ ฯ พร้อมทั้งมอบความสุขอีกต่อให้กับขาช้อป เมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ 3,000 บาท รับฟรีทันที ตุ๊กตาน้องอุ่นใจคอลเลคชั่นพิเศษ The New Best You นอกจากนี้ ยังเชิญชวนเหล่าขาช้อปร่วมสนุกกับแคมเปญผ่านทางเฟซบุ๊ค เมื่อซื้อสินค้าตั้งแต่ 5,000 บาท แล้วนำเลขใบเสร็จดังกล่าว มาลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรม (1 ใบเสร็จ/1 สิทธิ์) ผ่านhttp://www.facebook.com/ais.privilege หรือ http://www.facebook.com/cmgBUZZ.Fanpage เพื่อลุ้นรับตุ๊กตาน้องอุ่นใจ The New Best You พร้อมหูฟัง United Colors of Benetton

“เหล่านี้ เพื่อเป็นของขวัญตอบแทนลูกค้า ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ ซึ่งเอไอเอสหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสร้างรอยยิ้มและความสุขสดชื่นให้กับลูกค้าทุกท่าน”

คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป (ซีเอ็มจี) กล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานและสดใส ซึ่งลูกค้ามีความตื่นตัวสูงในการจับจ่ายหรือช้อปปิ้งสินค้าใหม่ๆ จึงเป็นช่วง High Season ที่ตลาดจะคึกคักเป็นอย่างมาก CMG ในฐานะผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายสินค้าแฟชั่นชั้นนำของประเทศไทย ต้องการสร้างความแตกต่างและสร้างสรรค์แคมเปญใหม่ๆ จึงได้ร่วมกับเอไอเอส จัดบิ๊กแคมเปญ “The New Best You – ชีวิตใหม่ในแบบคุณ” มอบสิทธิพิเศษให้กับเหล่านักช้อปลูกค้าเอไอเอส

ทั้งนี้ CMG ได้ขนพาเหรดสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมระดับโลกกว่า 50 แบรนด์ มาร่วมรายการ อาทิ เสื้อผ้า แบรนด์ Topshop, Topman, G2000, Agnes b., Furla, Benetton, Casualist, Wrangler, Frence Conection, Miss Sixty, Energie, John Henry,The Oddyssee, Lee Cooper, Nautica, H.E .by Mango, Lee, izzue, b+ab, 5CM, Wallis, Miss Selfridge, Dorothy Perkin, S’fare, นาฬิกา G-Shock, เครื่องสำอางและน้ำหอม Clarins, Jurlique, H2O+, Payot, Elizabeth Arden, รองเท้า Hush Puppies, Cushe Shoes, Puppet โดยความร่วมมือระหว่าง CMG และ เอไอเอส นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของ 2 ขั้วธุรกิจ ที่ร่วมรังสรรสิทธิพิเศษที่ดีที่สุด เพื่อแทนคำขอบคุณแด่ลูกค้าในช่วงเวลาแห่งความสุขของเทศกาลปีใหม่อย่างแท้จริง”

View :1456
Categories: Technology Tags: ,

รายงานเรื่อง Ericsson Mobility Report แสดงถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดสมาร์ทโฟน และปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว

November 29th, 2012 No comments

· ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนโทรศัพท์ที่ขายได้ในไตรมาสที่สามของปี 2012 เป็นสมาร์ทโฟน และอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือสมาร์ทโฟนน่าจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย

· ระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2011 และ ปี 2012 ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว และน่าจะเพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าระหว่างปี 2012 และ ปี 2018 โดยมีวีดีโอเป็นแรงผลักดันหลัก

· จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6,600 ล้านคนภายในปี 2012 และ 9,300 ล้านคนในปี 2018

· มีจำนวนผู้ใช้ LTE เพิ่มขึ้น 13 ล้านคน ในไตรมาสที่สามของปี 2012 และจำนวนผู้ใช้ LTE ทั้งหมดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,600 ล้านคนภายในปี 2018

รายงานล่าสุดของอีริคสัน เรื่อง หรือที่เคยรู้จักกันในนาม Ericsson Traffic and Market Report เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปีนี้ (ค.ศ. 2012) ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของมือถือที่ขายได้เป็นสมาร์ทโฟน และมีการใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือ (data traffic) เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตรายปีแบบทบต้น (compound annual growth rate, CAGR) ระหว่างปี 2012 และ 2018 จะอยู่ที่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวีดีโอเป็นตัวผลักดันหลัก

จากการศึกษาวิจัยของอีริคสันพบว่า ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ทบนมือถือส่วนใหญ่ คือ การใช้เพื่อรับชมวีดีโอออนไลน์ ซึ่งคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการใช้งานบนมือถือสมาร์ทโฟนทั้งหมด และ 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการใช้งานบนแท็บเล็ต ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพของเครือข่ายในทุกที่ทุกเวลา

คุณ Douglas Gilstrap รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายกลยุทธแห่งอีริคสัน กล่าวว่า “ความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตกันอย่างกว้างขวาง และด้วยอุปกรณ์เหล่านี้เองที่ทำให้เราเปลี่ยนวิธีการใช้งานอินเตอร์เน็ท ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบัน ผ่านอุปกรณ์พกพาที่มักมีอยู่ใกล้ๆมือเสมอ ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การบันเทิง และโซเชียลเน็ทเวิร์คต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา”

มีการคาดการณ์ไว้ว่า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จะอยู่ที่ประมาณ 6,600 ล้านคนภายในปี 2012 และ 9,300 ล้านคน ภายในปี 2018 โดยตัวเลขนี้มิได้รวมถึงจำนวนการใช้งานแบบ machine-to-machine (M2M) ด้วย โดยในไตรมาสที่สามที่ผ่านมา ประเทศจีนเพียงประเทศเดียวมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึง 40 ล้านคน คิดเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด และมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในประเทศอื่นๆด้วย เช่น บราซิล (9 ล้าน), อินโดนีเซีย (7 ล้าน), และฟิลิปปินส์ (5 ล้าน) โดยรวมแล้วมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกประมาณ 91 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในไตรมาสที่สามของปี 2012 หรือคิดเป็นจำนวน 6,400 ล้านคน โดยมีการเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน และ 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว

ภายในกลางปี 2012 เครือข่าย LTE น่าจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ ที่มีประชากรทั้งหมดประมาณ 455 ล้านคนทั่วโลก และภายในห้าปีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของโลกน่าจะมีโอกาสได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี LTE นี้ด้วย

ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เทคโนโลยี LTE ถือได้ว่ามีการพัฒนารวดเร็วที่สุด ทั้งในเรื่องของการสร้างและขยายเครือข่าย ในขณะนี้ได้มีการสร้างเครือข่าย LTE แล้วในหลายพื้นที่ และมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 55 ล้านคนภายปี 2012 เป็น 1,600 ล้านคนตามการคาดการณ์ ภายในปี 2018 ส่วนเครือข่าย WCDMA/HSPA ที่ขณะนี้มีพื้นที่ครอบคลุมจำนวนประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งไปกว่า LTE โดยเพิ่มขึ้นถึง 65 ล้านคนในไตรมาสที่สามของปีนี้ เมื่อเทียบกับ 13 ล้านคนสำหรับ LTE

View :1480

กสทช.ประวิทย์ย้ำเหตุผล ทำไมบริษัทต้องลดราคาค่าบริการอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์

November 29th, 2012 No comments

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ชี้ชัดผู้ให้บริการซึ่งได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อให้บริการ 3 G ควรลดค่าบริการให้ถูกลงกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนประกอบการลดลงจากสาเหตุอย่างน้อย 5 ประการ

สำหรับเหตุผลประการแรกคือ การให้บริการ 3G ครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตแล้ว ทำให้บริษัทไม่ต้องส่งส่วนแบ่งรายได้ให้กับหน่วยงานของรัฐ เช่น กสท. และทีโอที อีกต่อไป เพียงแต่จ่ายแค่ค่าธรรมเนียมรายปีประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากเดิมที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในระบบสัมปทาน 20-30 เปอร์เซ็นต์ อีกประการคือค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือค่าไอซี ซึ่งที่ผ่านมา ให้บริษัทกำหนดราคากันเอง และมีการกำหนดไว้ที่ 1 บาท แต่มีการคิดค่าโทรภายในเครือข่ายเพียง 25 สตางค์ ดังนั้นสำหรับการให้บริการ 3G ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจึงควรลดลงเหลือเพียง 50 สตางค์ ซึ่งหมายถึงจะทำให้ต้นทุนลดลงอีกร้อยละ 50
“ค่าไอซีลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐก็ไม่ต้องจ่ายอีก 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อต้นทุนลดลงเห็นๆ ค่าบริการก็ต้องลดลงด้วย ซึ่งผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์ แต่ถ้าต้นทุนลดแล้วค่าบริการไม่ลด บริษัทก็ได้กำไรเต็มๆ ดังนั้นค่าบริการจึงควรลดลงทันทีไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์“ กสทช.ประวิทย์ กล่าว

กสทช.ประวิทย์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังมีแนวทางเพิ่มเติมที่จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถลดต้นทุนลงได้อีกและทำให้บริการได้ดีหรือดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งขณะนี้ กสทช.กำหนดให้มีการจัดทำประกาศเพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ คือ 1. การกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องกันโครงข่ายไว้ร้อยละ 10 เพื่อเป็นผู้ขายส่งบริการให้รายย่อย โดยพื้นที่โครงข่ายร้อยละ 10 นี้ผู้ชนะการประมูลไม่ต้องทำการตลาดเอง แต่สนับสนุนให้เกิดรายย่อยและให้รายย่อยเป็นผู้ทำการตลาดให้ 2. การสนับสนุนให้มีการใช้บริการข้ามเครือข่ายภายในประเทศ หรือโรมมิ่ง ( Roaming) ภายในประเทศ เช่น ในพื้นที่ห่างไกล หากเครือข่ายที่ใช้บริการไม่มีสัญญาณ แต่มีสัญญาณของเครือข่ายอื่นก็สามารถโรมมิ่งกันได้ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้งานได้ครอบคลุมทุกพื้นที่

“กรณีเจ้าที่ 1 ไม่มีสัญญาณ แต่เจ้าที่ 2 มีสัญญาณ เราก็สามารถโรมมิ่งและจ่ายค่าบริการผ่านเจ้าแรกได้ เป็นการลดต้นทุนการให้บริการ ไม่ต้องรอให้ต้องขยายบริการให้เต็มพื้นที่กันทุกเครือข่าย ซึ่งมาตรการนี้ระบบ 2G เมืองไทยยังไม่เคยมี มีกรณีที่โรมมิ่งระหว่างคลื่น 900 ของเอไอเอส กับคลื่น 1800 ของดีพีซี แต่ก็เป็นการโรมมิ่งเจ้าเดียวกัน ในขณะที่ระบบ 3G ที่วางแผนไว้นั้น ทั้ง 3 เจ้าโรมมิ่งกันได้หมด เช่น พื้นที่นี้ยังไม่ได้ตั้งเสาก็ไปขอโรมมิ่งกับเจ้าที่มีโครงข่ายแล้ว ก็จะทำให้เข้าถึงบริการได้เท่าเทียมกัน” กสทช.ประวิทย์กล่าว

ส่วนแนวทางที่ 3 ซึ่งจะทำให้เป็นการลดต้นทุนของบริษัทคือ การใช้โครงข่ายร่วมกัน หรือ Infrastructure Sharing จากการที่ปัจจุบันในพื้นที่เดียวกันจะพบเสาสัญญาณของผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย เพราะที่ผ่านมาต่างคนต่างลงทุน แต่ในระบบ 3G ทุกบริษัทสามารถใช้เสาส่งสัญญาณร่วมกันได้ มาตรการนี้ได้ประโยชน์ทั้งลดต้นทุนของผู้ประกอบการและลดปัญหาความไม่พอใจของประชาชนกับเสาสัญญาณ

“การตั้งเสาเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ หลายกรณีมีการก่อสร้างโครงเหล็กปล่อยคลื่นอยู่ข้างบ้าน ประชาชนก็เกิดข้อสงสัย อีกอย่างเสาพวกนี้มีสายล่อฟ้าอยู่ ชาวบ้านก็จะบอกว่า ฟ้ามันผ่าบ่อยขึ้น เดือดร้อน หากมีการแชร์เสาสัญญาณ ปัญหาก็จะน้อยลง รวมถึงยังลดต้นทุนได้ ขณะนี้ทั้ง 3 บริษัทต้องเช่าพื้นที่เอกชนเพื่อตั้งเสา หากเป็นการแชร์ใช้ร่วมกันจาก 3 เสาเหลือเสาเดียว จาก 5-6 ล้านบาทก็เหลือ 1-2 ล้านบาท และตัวส่งสัญญาณก็ใช้ร่วมกันได้ ยกตัวอย่างไฟเบอร์ออฟติก ของเอไอเอสก็เดินทั่วทุกภาค ดีแทคก็เดินทั่วทุกภาค ของทรูมูฟก็เดินทั่วทุกภาค เช่นกรณีดีแทควันดีคืนดีไฟเบอร์ออฟติกขาด หรือมีเส้นสำรองก็ขาดอีก แต่ถ้ามีการแชร์ใช้ ก็ไม่ต้องลงทุนไฟเบอร์ออฟติกใหม่ เป็นหลักการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งในต่างประเทศจะใช้โครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงเหล็กและสายส่งร่วมกัน” กสทช.ประวิทย์กล่าว

กสทช.ประวิทย์กล่าวสรุปว่า กติกาเหล่านี้เป็นการชี้ทิศว่า นโยบาย กสทช. ต้องการให้ต้นทุนประกอบการลดลง ซึ่งถ้าไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เมื่อต้นทุนลดแล้ว ค่าบริการก็ต้องลดลงด้วย ทั้งนี้ ทั้งมาตรการสนับสนุนรายย่อย การทำให้เกิดโรมมิ่ง และการแชร์โครงข่าย ได้มีการยกร่างประกาศและรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้ว น่าจะออกเป็นประกาศที่มีผลบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางสำนักงาน กสทช. ยังไม่ได้สรุปตัวร่างสุดท้ายมาเสนอบอร์ด ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องเร่งติดตามต่อไป

View :1486
Categories: 3G Tags:

ก.ไอซีที เดินสายจัดสัมมนา AEC and MICT Smart Thailand เผยแพร่ความรู้การเปิดตลาดการค้าบริการสาขา ICT ในกรอบอาเซียน แก่ผู้สนใจทั่วประเทศ

November 29th, 2012 No comments

นายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ร่วมมือกับ บริษัท ไบรอัน เคฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการจัดประชุมสัมมนา “ and ” ภายใต้โครงการสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่ความรู้ต่อข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทยในกรอบอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน และประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสาขาการบริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ให้แก่ผู้ที่สนใจทั้งจากภาครัฐและเอกชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งขณะนี้ได้จัดไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ณ จังหวัดชลบุรี ส่วนครั้งที่ 3 จะจัดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งสุดท้ายวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กรุงเทพมหานคร

ภายในงานสัมมนาฯ ทุกครั้งจะมีการเสวนาในหัวข้อ “ การเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยในกรอบอาเซียน : ประเทศไทยพร้อมหรือไม่” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะการเปิดตลาดการค้าบริการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ พร้อมทั้งมีการบรรยายให้ความรู้ในประเด็นดังกล่าวด้วย ซึ่งสาระสำคัญของการบรรยายนั้น สรุปความหมายของการค้าบริการที่สามารถเกิดขึ้นได้ 4 รูปแบบ (Mode of Supply) ได้แก่ 1) การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) เป็นการบริการจากพรมแดนของประเทศสมาชิกหนึ่งไปสู่พรมแดนของประเทศสมาชิกอื่นที่เป็นลูกค้า โดยผู้ให้บริการไม่ต้องปรากฏตัวอยู่ในพรมแดนของประเทศลูกค้า 2) การบริโภคในต่างประเทศ (Consumption Abroad) เป็นการให้บริการที่เกิดขึ้นในพรมแดนของประเทศผู้ให้บริการ โดยอาศัยการเคลื่อนย้ายของผู้บริโภคเป็นเงื่อนไขสำคัญ 3) การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ (Commercial Presence) เป็นการเข้าไปลงทุนตั้งนิติบุคคลประเภทต่างๆ เพื่อให้บริการในประเทศลูกค้า เช่น การจัดตั้งสาขา ตัวแทน หรือบริษัท และ 4) การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Persons) เป็นการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพหรือวิชาชีพในสาขาบริการด้านต่างๆ เป็นการชั่วคราวในประเทศลูกค้า ทั้งนี้ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีส่วนสำคัญในการอำนวยความสะดวกของการค้าสินค้าและบริการระหว่างภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบและวิธีการทำธุรกรรมทางการค้าเปลี่ยนแปลงไป โดยในส่วนของการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยกระตุ้นให้ภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบ

“สำหรับกระทรวงไอซีที เป็นผู้ดูแลสาขาบริการโทรคมนาคม บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งกระทรวงฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ กรอบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (พ.ศ. 2554-2563) หรือ ICT 2020 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 และนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ นอกจากนี้กระทรวงฯ ยังได้มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานกำกับดูแล ได้แก่การจัดทำแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมภายในสำนักงานฯ และได้จัดทำเว็บไซต์ http://asean.nbtc.go.th รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับการดำเนินโครงการศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และศึกษาผลกระทบเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 ต่อไป” นายไชยยันต์ฯ กล่าว

View :1397

อีริคสันรายงานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อและช้อบปิ้ง

November 27th, 2012 No comments


• “in-line shopping” (อินไลน์ช้อบปิ้ง) ได้กลายเป็น คำนิยามใหม่ที่สะท้อนพฤติกรรมการช้อบปิ้งของผุ้บริโภค ที่จะเลือกดูสินค้าของจริงในร้านค้า (in-store shopping) ควบคู่ไปกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์โดยตรง (online shopping)
• 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา ใช้โทรศัพท์ของพวกเขาในการจ่ายเงินซื้อของเล็กๆน้อยๆ ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้า หรือใช้ดาวน์โหลดคูปองต่างๆ
• ผู้ขายสินค้าจะได้รับประโยชน์ หากเข้าใจผู้บริโภค ที่ต้องการซื้อสินค้าให้ได้ในทันทีที่อยากได้ และสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งในร้านค้าจริงและบนช่องทางออนไลน์ควบคู่กันอย่างมีประสิทธิภาพ
• ผลการสำรวจที่กล่าวมาข้างต้นรวมทั้งข้อสังเกตอื่นๆ อยู่ในรายงานพฤติกรรมผู้บริโภค เรื่อง “In-Line Shopping” (อินไลน์ช้อบปิ้ง) ที่ร่วมกันเขียนโดย Copenhagen Institute for Futures Studies และ Ericsson ConsumerLab

โลกแห่งสังคมเครือข่าย (Networked Society) ในยุคปัจจุบัน ทำให้เราสามารถเลือกที่สลับปรับเปลี่ยนระหว่างโลกออฟไลน์ (โลกปัจจุบัน) กับโลกออนไลน์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ และอีกไม่นานเราคงอาจจะไม่สามารถแยกโลกออนไลน์ ออกจากโลกออฟไลน์ได้อย่างเด็ดขาด เพราะคนในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ตลอดเวลา โดยเกือบสี่สิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกล้วนเข้าสู่โลกออนไลน์ก่อนที่จะลุกขึ้นจากเตียงด้วยซ้ำ และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ mobile applications นั้นเองก็มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกซื้อและช้อบปิ้งอีกด้วย

ลักษณะเช่นนี้ได้มีการกล่าวถึงไว้ ในรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เรื่อง “In-Line Shopping” ที่ร่วมกันเขียนโดย Copenhagen Institute for Futures Studies และ Ericsson ConsumerLab โดยรายงานนี้ได้ใช้ข้อมูลจากผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 2012 และแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคนิยมใช้สมาร์ทโฟนระหว่างการเลือกซื้อของ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยสี่ในสิบของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา ใช้โทรศัพท์ของพวกเขาในการจ่ายเงินเล็กๆน้อยๆ, ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้า, หรือใช้ดาวน์โหลดคูปองต่างๆ เป็นต้น

รายงานนี้ยังชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยให้คำนิยามว่า “in-line shopping” ซึ่งหมายถึง การที่ผู้บริโภคนิยมใช้ทั้งการเลือกซื้อของบนอินเตอร์เน็ท (online shopping) และการเข้าไปดูของที่ร้านจริงๆ (in-store shopping) ควบคู่กันไป หรือในอีกแง่หนึ่ง หมายถึง การที่ผู้บริโภคมักต้องการเห็น, สัมผัส, ลองสินค้า, เปรียบเทียบราคา, เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้านั้น และรวมไปถึงการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าโดยไม่ต้องต่อแถวรอ
คุณ ไมเคิล บีเยอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Ericsson ConsumerLab กล่าวว่า “ผู้บริโภคล้วนต้องเลือกซื้อของหลากชนิด เป็นประจำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ดังนั้น Application ที่จะช่วยให้การช็อปปิ้งกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายย่อมจะเป็นที่ต้องการ และในลักษณะเช่นเดียวกัน ที่ผู้คนต้องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้แบบทุกที่ทุกเวลา พวกเขาก็ควรจะสามารถซื้อของได้ในทันทีที่ต้องการหรือมีความจำเป็นด้วย ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าต่างๆ ควรทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคดังที่ได้กล่าวมา และปรับตัวให้ทัน เพื่อความสำเร็จในอนาคตต่อไป”

โดยรวมแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน มักมีความสนใจในการเลือกซื้อของแบบออนไลน์ มากกว่าผู้ที่ไม่มี และพบว่าจากแปดในสิบสองประเภทสินค้าที่ได้มีการสำรวจ ผู้บริโภคนิยมใช้ทั้งการเข้าไปดูสินค้าจริงในร้าน (in-store shopping) ควบคู่ไปกับการใช้ช่องทางออนไลน์ (online shopping) มากกว่าที่จะตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว

รายงานฉบับสมบูรณ์ ของ (In-Line Shopping consumer insight report):
www.ericsson.com/res/docs/2012/consumerlab/in-line-shopping.pdf

เกี่ยวกับ Ericsson ConsumerLab
Ericsson ConsumerLab เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การนำเสนอหลักของเราคือการเข้าใจอย่างถ่องแท้ เรามีประสบการณ์ด้านการวิจัยผู้บริโภคมากกว่า 15 ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาคุณค่าและพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงวิธีที่พวกเขาดำเนินการและคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการด้าน ICT เราให้ข้อมูลการเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้บริโภคเพื่อกำหนดกลยุทธ์ การตลาดและการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มบริษัทอีริคสัน ความรู้ของเราช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการพัฒนาบริการที่สร้างรายได้ที่น่าดึงดูดใจได้
บริษัทอีริคสันเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลกสำหรับบรรดาผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม บริษัทอีริคสันเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือในระบบ 2G, 3G และ 4G และจัดหาการสนับสนุนสำหรับเครือข่ายต่างๆโดยมีผู้สมัครสมาชิกกว่า 2 พันล้านรายและอยู่ในแนวหน้าด้านการบริการการจัดการ (managed services) ผลงานของบริษัทประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายของระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบเคลื่อนที่ การบริการโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์ โซลูชันด้านบรอดแบนด์และมัลติมีเดียสำหรับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่าย วิสาหกิจและอุตสาหกรรมมีเดีย บริษัทโซนีอิริคสันและเอสที-อีริคสันซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนเป็นบริษัทที่จัดหาอุปกรณ์มือถือส่วนบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ครบถ้วนสำหรับผู้บริโภค

บริษัทอีริคสันกำลังทำให้วิสัยทัศน์ในการเป็น “ผู้ผลักดันหลักในโลกที่มีการสื่อสารทั้งหมด” ของบริษัทก้าวไกลโดยผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยีและโซลูชันทางธุรกิจที่ยั่งยืน บริษัทอีริคสันมีการปฏิบัติการใน 180 ประเทศ มีพนักงานมากกว่า 80,000 คนมีรายรับ 206.5 พันล้านโครน (27.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2552 ก่อตั้งในปี 2419 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน บริษัทอีริคสันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ OMX ในสตอกโฮล์มและ NASDAQ นิวยอร์ก

View :1557

WeChat เปิดตัว Exact-Scenario Official Account รายแรกในประเทศไทย

November 27th, 2012 No comments

เพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารให้เอ็กแซ็กท์และซิเนริโอเชื่อมต่อกับแฟนคลับ พัฒนายอดการใช้งาน ในตลาดดิจิตอล

“เทนเซ็นต์” (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก โดยบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ประกอบด้วยการแชตผ่านระบบ, เว็บพอร์ทัล, เกมส์, บริการสังคมออนไลน์มัลติมีเดียและการให้บริการเว็บไซต์แบบไร้สาย) และ “สนุก ออนไลน์” จับมือ “เอ็กแซ็กท์และซิเนริโอ” เปิดตัว Official Account รายแรกในประเทศไทยบน WeChat

Official Account” จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อระหว่างเอ็กแซ็กท์และซิเนริโอกับแฟนคลับได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าเป็นแอพพลิเคชั่นชั้นนำแบบมัลติมีเดียสำหรับแชตบนสมาร์ทโฟน

ปัจจุบัน WeChat ซึ่งพัฒนาโดยเทนเซ็นต์ เป็นโซเชียลแอพพลิเคชั่นที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีบัญชีผู้ใช้งานมากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก WeChat ให้ความยืดหยุ่นในการติดต่อสื่อสารผ่านมัลติมีเดีย และสามารถส่งข้อความอักษร, ส่งข้อความเสียงเพียงกดปุ่มค้างไว้, สื่อสารผ่านวิดีโอ, กระจายข้อความถึงผู้ใช้งานได้หลายคนทั้งแบ่งปันรูปภาพหรือวิดีโอ, แสดงตำแหน่งที่ตั้งและแลกเปลี่ยนรายละเอียดผู้ติดต่อได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนั้น WeChat ยังให้บริการด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยการแบ่งปันข้อมูลผ่านหน้าโซเชียลและฟังก์ชั่นที่ใช้ตำแหน่งที่ตั้งเป็นจุดเชี่อมต่อ (ฟังก์ชั่น ‘Shake’, ‘Look Around’ และ ‘Drift Bottle’) เพื่อสนทนาและหาเพื่อนใหม่ใน WeChat ทั้งจากในพื้นที่ใกล้เคียงและทั่วโลก WeChat รองรับได้หลายภาษาและสามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มของ iPhone, Android, Windows Phone และ Symbian ข้อมูลเพิ่มเติมของ WeChat เยี่ยมชมได้ที่ www.wechatapp.com

นายพอชู เหยิง รองประธาน กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท เทนเซ็นต์ จำกัด เปิดเผยว่า “เทนเซ็นต์และสนุก ออนไลน์ ผู้ทำตลาด WeChat อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ได้จับมือกับ “เอ็กแซ็กท์และซิเนริโอ” เปิดตัว Official Account รายแรกในประเทศไทย สำหรับบริษัท เอ็กแซ็กท์และซิเนริโอ ในชื่อ “Exact-Scenario Official Account” บน WeChat เพื่อที่จะให้ผู้ใช้งาน WeChat ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของศิลปินและผลงานต่างๆ ของเอ็กแซ็กท์และซิเนริโออย่างใกล้ชิดได้บนสมาร์ทโฟน เรามองเห็นว่าการเปิดตลาด Official Account นี้ ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เราและคู่ค้าของเราติดต่อสื่อสารกับลูกค้าของเราผ่านแพลตฟอร์มบนมือถือได้ดียิ่งขึ้น”

“ด้วยฟังก์ชั่นที่ครบครันทั้งบริการการส่งข้อความ ภาพ เสียงและโซเชียลฟีเจอร์ต่างๆ Exact-Scenario Official Account จะพร้อมส่งตรงข้อมูล การอัพเดทความเคลื่อนไหวต่างๆ ของศิลปินค่ายเอ็กแซ็กท์ ทั้งดาราและนักร้อง พร้อมทั้งแชร์เรื่องย่อละครโทรทัศน์ ละครเวที ภาพทีเซอร์ ภาพเบื้องหน้าและเบื้องหลังต่างๆ ที่คัดสรรมาลง Official Account ของ WeChat โดยเฉพาะ ส่งตรงให้ผู้ติดตาม Exact-Scenario Official Account ได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างเต็มที่” นายเหยิงกล่าวเสริม

นายถกลเกียรติ วีรวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด กล่าวว่า “เอ็กแซ็กท์รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเทนเซ็นต์และสนุก ออนไลน์ ผู้นำตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ โดยเรารู้สึกเป็นเกียรติมากที่เทนเซ็นต์เลือกเอ็กแซ็กท์และซิเนริโอเพื่อเปิดตลาด Official Account รายแรกในประเทศไทยบน WeChat แชตแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ทุกอุตสาหกรรมต่างให้ความสำคัญและปรับตัวให้เข้ากับยุคโมบิลิตี้ เราจึงมองเห็นว่า การขยายตลาดธุรกิจบันเทิงสู่แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน คือก้าวสำคัญและเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการเปิดโลกข้อมูลข่าวสารธุรกิจบันเทิงสู่สื่อดิจิตอล เรามั่นใจว่าการขยายช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน WeChat แชตแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน จะเป็นทางเลือกใหม่ในการประชาสัมพันธ์ผลงานของเรา และสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารสู่ผู้ใช้งาน และช่วยขยายกลุ่มแฟนคลับของ “เอ็กแซ็กท์” ได้อย่างดีเยี่ยม ผู้ใช้งานก็จะสามารถรับความบันเทิงได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและตอบสนองไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันและอนาคต”

นายกฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านธุรกิจเนื้อหาและบริการ บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด เปิดเผยว่า “สนุก! รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือของการเปิด Official Account รายแรกในประเทศไทยบน WeChat ร่วมกับเอ็กแซ็กท์และซิเนริโอ โดยการเปิด Official Account รายแรกนี้ ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของเรา เราเชื่อมั่นว่าการเปิดตัว Official Account นี้ ผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันใจ ตอบสนองไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันได้อย่างลงตัว และจะสามารถช่วยขยายฐานผู้ใช้งาน WeChat ด้วย Official Account ได้ สำหรับปีนี้คาดว่าจะมียอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนกว่า 15 ล้านเลขหมาย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่าน WeChat แล้ว สำหรับสนุก! เอง เรายังจะช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความบันเทิง ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของเอ็กแซ็กท์และซิเนริโอบนหน้าเว็บไซต์สนุกดอทคอมอีกช่องทางหนึ่งด้วย เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการขยายฐานกลุ่มผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทดีไวซ์ในประเทศไทยให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น”

View :1421

ทรูออนไลน์ เผยผลประกอบการไตรมาส 3 รายได้พุ่งกว่า 7 พันล้านบาท

November 27th, 2012 No comments

อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต นำลิ่ว สร้างรายได้สูงสุด ด้วยโครงข่ายครอบคลุมกว่า 40 จังหวัด ยอดลูกค้าทะลุ 1.5 ล้านราย
พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ “Speed Boost” เพื่อประสบการณ์ใช้งานเหนือความคาดหมาย

27 พฤศจิกายน 2555: ผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอันดับ 1
ของไทย โชว์ตัวเลขผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ยอดเยี่ยม เป็นผลมาจากการขยายบริการ อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต อย่างต่อเนื่อง จนครอบคลุมพื้นที่กว่า 40 จังหวัด ยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์เพิ่มเป็น 1.5 ล้านราย ส่งผลให้รายได้เติบโตกว่า 7 พันล้านบาท มั่นใจภายในปีนี้จะสามารถเพิ่มลูกค้าได้ถึง 250,000 รายและขยายโครงข่ายได้ครบ 53 จังหวัดทั่วประเทศ ตามเป้าหมายที่วางไว้ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ “Speed Boost” เป็นครั้งแรกสำหรับอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิ้ล เพื่อประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่มีใครให้ได้ในประเทศไทย

นายเจริญ ลิ่มกังวาฬมงคล ผู้อำนวยการบริหาร ธุรกิจทรูออนไลน์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ กับความเร็ว 10-200 Mbps. ยังคงเป็นบริการเด่นที่สร้างรายได้สูงสุดให้กลุ่มธุรกิจทรูออนไลน์ ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงถึง 1.5 ล้านรายในไตรมาส 3 ซึ่งส่งผลให้ รายได้รวมจากการให้บริการของกลุ่มธุรกิจทรูออนไลน์เพิ่มสูงถึงกว่า 7 พันล้านบาท และในไตรมาส 4 นี้ ทรูออนไลน์ตั้งเป้าขยายโครงข่ายบริการให้ครอบคลุมถึง 53 จังหวัด ด้วยเทคโนโลยี DOCSIS และ DSL พร้อมเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ โดยการคัดสรรแพ็กเกจที่เพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งานมากขึ้น รวมถึงบริการเสริมใหม่ๆ ตลอดจนการเพิ่มช่องทางการขายในต่างจังหวัด การทำการตลาดแบบ Localized Marketing อย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาบริการหลังการขายให้ดียิ่งขึ้น โดยมั่นใจว่ากลยุทธ์การตลาดดังกล่าว จะช่วยผลักดันให้ทรูออนไลน์ สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือ มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นสุทธิทั้งปี 250,000 ราย ภายในปีนี้อย่างแน่นอน และในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ อัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ยังได้เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ “Speed Boost” เป็นครั้งแรกสำหรับอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิ้ล เพื่อประสบการณ์ใหม่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ไม่มีใครให้ได้ในประเทศไทย ให้ผู้ใช้งานได้รับความเร็วเพิ่มทุกครั้งที่คลิก สามารถดาวน์โหลดเร็วขึ้น เล่นเกมส์ และดูวิดีโอสตรีมมิ่งได้รวดเร็วและไม่สะดุด

นายนนท์ อิงคุทานนท์ ผู้จัดการทั่วไป บริการบรอดแบนด์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประสบความสำเร็จของอัลตร้า ไฮ-สปีด อินเทอร์เน็ต จากทรูออนไลน์ ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายโครงข่ายเข้าถึงประชาชน 3.4 ล้านครัวเรือนในกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงการทำโปรโมชั่นให้เข้ากับตลาดต่างจังหวัดในแต่ละพื้นที่แบบ Localized Marketing และการให้ความสำคัญในการดูแลฐานลูกค้าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดตัวเพ็กเกจ “เซ็ตสุดคุ้ม 15-200 Mbps” ผ่านโครงข่ายเทคโนโลยี DOCSIS 3.0 ซึ่งเป็นบริการคอนเวอร์เจนซ์แบบ Triple Play เต็มรูปแบบ ที่ไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถให้บริการในลักษณะเดียวกันได้ ที่ให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่มีความคุ้มค่าพร้อมกันถึง 3 บริการ คือ อินเทอร์เน็ตคุณภาพสูง โทรศัพท์บ้านยุคใหม่แบบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน และรับชมรายการคุณภาพจากทรูวิชั่นส์ ด้วยโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่ากับบริการที่มีคุณภาพแล้ว ทำให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการของทรูออนไลน์อย่างไม่ลังเล

“ทรูออนไลน์จะยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์คนทุกกลุ่ม ให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างทัดเทียมกัน และที่สำคัญคือเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ” นายเจริญ กล่าวสรุป

View :1524

ธอมัสไอเดียระบุเทรนด์ดิจิตอลคอมเมิร์ซปีหน้ามาแรง แนะนักการตลาดไทยเตรียมกลยุทธ์ครบทุกดิจิตอลแพลตฟอร์มรับมือคู่แข่งข้ามชาติ

November 26th, 2012 No comments

อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล CEO บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด

ธอมัสไอเดีย อินเตอร์แอคทีฟเอเยนซี่ชั้นนำของไทย ชี้เทรนด์ดิจิตอลคอมเมิร์ซปีหน้ามาแรง แนะนักการตลาดไทยควรเร่งสร้างระบบสู่ผู้บริโภคทั่วโลกผ่านออนไลน์ และจัดกลยุทธ์ให้พร้อมเพื่อรับมือคู่แข่งข้ามชาติหลังมือถือไทยเข้าสู่ยุค 3 จีและเปิดเสรีอาเซียน เผยความสำคัญของดิจิตอลแพลตฟอร์มเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคสู่ยุคดิจิตอล รวมถึงงบการตลาดออนไลน์ปีหน้าโดยประมาณเป็น 5-10% ของงบการตลาด คาดส่งผลกระทบมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์เป็น 3 % ของมูลค่าสื่อโดยรวม

น.ส. อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล CEO บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด เผยว่าสาเหตุที่ปีหน้า 2013 จะเป็นปีที่การแข่งขันดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งจะข้ามขั้นสู่ยุคดิจิตอลคอมเมิร์ซที่สร้างรายได้ตอบโจทย์นักการตลาดมากขึ้นว่า “เป้าหมายสูงสุดของผู้ประกอบการและนักการตลาด คือ การสร้างรายได้และจำนวนลูกค้าที่ภักดีในแบรนด์ที่เพิ่มมากขึ้น ปรากฎการณ์ Digital Disruption เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของสินค้าและบริการ เราได้เห็นตัวอย่างของแบรนด์และสินค้าระดับโลกหลายรายที่ต้องปิดตัวเพราะก้าวไม่ทันกระแสดิจิตอล รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและภาครัฐที่ต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้ทันเช่นกัน”

เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน () องค์กรในประเทศไทยต้องเริ่มใช้กลยุทธ์ดิจิตอลเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจไปยังประเทศใกล้เคียง โดยต้องเตรียมความพร้อมของพนักงาน คู่ค้าตลอดจนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางดิจิตอล การเตรียมความพร้อมด้านดิจิตอลเริ่มต้นจากความเข้าใจและการกำหนดแผนกลยุทธ์ทางด้านดิจิตอลอย่างชัดเจน ซึ่งอาจประกอบด้วยสามขั้นตอน ได้แก่

1. Local Takeoff เป็นขั้นตอนสำคัญที่องค์กรต้องเริ่มดำเนินงานผ่านทางดิจิตอล โดยมองจากกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคเป็นหลัก โดยต้องเริ่มศึกษาและกำหนดกลยุทธ์ดิจิตอลที่เหมาะสมกับองค์กร การใช้ดิจิตอลแบรนด์ดิ้งเพื่อขยายภาพลักษณ์ขององค์กรและแบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดเตรียมทีมงานอีบิสสิเนส เพื่อดำเนินงานด้านการค้าผ่านออนไลน์ รวมถึงการสื่อสารการตลาด และเปิดช่องทางการใช้ดิจิตอลคอมเมิร์ซ

2. Regional Reach เป็นการขยายผลของกลยุทธ์ดิจิตอลในประเทศออกสู่ประเทศเป้าหมายในภูมิภาค

3. Regional Integration เป็นการอินทริเกรทเอาผลการดำเนินงานในแต่ละประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ และการสื่อสารการตลาด

หากมองในแง่ของนักการตลาด จากเดิมที่เราสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา อาจจะไม่เพียงพอแล้วในวันพรุ่งนี้ หลายๆ องค์กรเริ่มตระหนักและลงทุนกับการสร้างธุรกิจในรูปแบบของดิจิตอลคอมเมิร์ซและพร้อมใช้งานทันทีเมื่อระบบเชื่อมโยงการทำงานภายในองค์กรพร้อม เพราะนวัตกรรมออนไลน์นี้จะกลายเป็นสำนักงานขายที่สำคัญในการซื้อขายไม่น้อยไปกว่าช่องทางออฟไลน์เลย และมีคู่แข่งที่พร้อมจะเข้ามาชิงตลาดและลูกค้าของเราไปได้โดยง่ายด้วย

นักบริหารและผู้ประกอบการทั้งหลายควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตลาดที่ต้องพึ่งดิจิตอลคอมเมิร์ซเป็นสำคัญ ทั้งนี้ อุไรพร ในฐานะที่คลุกคลีวงการออนไลน์มาร์เก็ตติ้งมามากกว่า 10 ปี ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเทรนด์การตลาดออนไลน์ในยุคดิจิตอลคอมเมิร์ซที่เด่นๆ และมาแรงมาให้ทราบ เพื่อให้นักการตลาดได้รับมือกับความเข้มข้นในปีหน้า ดังนี้

1) เชื่อมประสบการณ์ผู้ซื้อผ่านมือถือด้วยแอพ

IN-STORE MOBILE APP FOR SHOPPER EXPERIENCE INTEGRATION

แอพมือถือสำหรับต่อยอดประสบการณ์ผู้ซื้อในร้านค้า

มือถือทำให้กระบวนการซื้อขายปิดได้ทันทีเพียงปลายนิ้ว “คลิก” เทรนด์ที่จะมาให้เห็นกันมากขึ้น คือการเชื่อมโยงเอาประสบการณ์ในขณะที่ผู้บริโภคเดินเลือกซื้อสินค้า กับการเข้าหาข้อมูลทางมือถือเพื่อจับจ่ายใช้สอยพร้อมๆ กัน กลยุทธ์การใช้แอพพลิเคชั่น “In-Store App” จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้นักการตลาดต้องก้าวให้ทัน โดยเฉพาะร้านค้าปลีกที่พยายามต่อสู้ไม่ให้ร้านค้าตนเองเป็นแค่โชว์รูมสินค้า และต้องการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างกว่าร้านค้าออนไลน์ เพื่อดึงดูดลูกค้า

2) ร้านค้าออนไลน์ตัวเร่งหลักในการขยายธุรกิจ

E-STORE SPEEDS BUSINESS GROWTH

การลงทุนสร้างช้อปออนไลน์ ให้ความรวดเร็วและเปิดโอกาสทางการขายสร้างรายได้ก้อนใหม่

ด้วยพฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไปและระบบโลจิสติคส์ที่มีศักยภาพมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการเปิดร้านค้าแบบรวดเร็วบนพื้นที่ออนไลน์ที่ไร้พรมแดน ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับแบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคใน Untapped Markets เราจะได้เห็นแบรนด์ชั้นนำ ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีก ประกาศขยายการค้าขายในประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วย E-Store มากกว่าการเปิดร้านค้าจริง ร้านค้าออนไลน์จะเป็นร้านค้าสาขาที่ใหญ่ที่สุดของหลายๆ แบรนด์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการสร้างแพลตฟอร์มดิจิตัลคอมเมิร์ซที่มีประสิทธิภาพและสามารถขยายตัวได้ รวมทั้งการบริหารจัดการสินค้าและวางกลยุทธ์ในการขาย

3) โปรโมชั่นเฉพาะตัวผ่านมือถือ

PERSONALIZED PROMOTION IN CONSUMER’S POCKET

กระตุ้นการขายด้วยเทคโนโลยีออนไลน์ ยื่นข้อเสนอที่โดนใจลูกค้าแบบตัวต่อตัว

การทำงานของออนไลน์แพลตฟอร์มทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางการตลาดได้อย่างคาดไม่ถึง เพราะเทคโนโลยีอินเตอร์แอคทีฟในแต่ละแพลตฟอร์มและ e-CRM มีฐานข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มเป้าหมาย เป็นตัวช่วยให้นักการตลาดวิเคราะห์ได้ลึกถึงความต้องการในใจของผู้บริโภคแต่ละคนได้ในทันที การสร้างกลไกอัตโนมัติที่ทำให้ระบบค้นหาสินค้าและนำเสนอโปรโมชั่นที่เร้าใจกว่า ผ่านรูปแบบของ Passbook ของแอปเปิ้ล, อีคูปองต่างๆ การสะสมคะแนนออนไลน์ รวมถึงความง่ายของระบบจ่ายเงินผ่าน Mobile Payment นอกจากจะทำให้การตัดสินใจซื้อเกิดเร็วแล้ว ยังช่วยให้นักการตลาดวางแผนจัดการทั้งระบบปฏิบัติการออนไลน์และออฟไลน์คู่ขนานกันได้สะดวกยิ่งขึ้น

4) ต่อยอดโซเชียลมีเดียไปโซเชียลคอมเมิร์ซ

FROM SOCIAL MARKETING TO SOCIAL COMMERCE

โซเชียลคอมเมิร์ซเป้าหมายที่ใหญ่กว่าการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

ที่ผ่านมาเราได้ใช้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเพื่อสร้าง Brand Awareness ให้เกิดและค้นหาจนเจอแฟนพันธุ์แท้ตามช่องทางออนไลน์ต่างๆ ขั้นตอนต่อไปคือกลยุทธ์สำคัญสู่การเป็นโซเชียลคอมเมิร์ซที่ช่วยให้เรา “ขาย” ได้จริงๆ ความพิเศษของโซเชียลคอมเมิร์ซ คือ การเน้น People-Centric มากกว่า Product-Centric เทรนด์ของโซเชียลไซต์ที่ใช้ Curator มาเป็นผู้คัดสรรสินค้าให้แฟนพันธุ์แท้แบบ Recommended Marketing เป็นกระแสใหม่ในโลกออนไลน์ ที่ทำให้เกิดโซเชียลคอมเมิร์ซได้อย่างแท้จริง

5) สมาร์ทโฟนจุดเปลี่ยนสื่อโฆษณา

MOBILE ADVERTISING – THE SMARTPHONE POWER

เมื่อโฆษณายุคดิจิตอล พุ่งตรงเข้าสู่มือกลุ่มเป้าหมายผ่านสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต

สมาร์ทโฟนเปิดช่องทางการตลาดใหม่ให้กับธุรกิจ ด้วยจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน (มากกว่า 10 ล้านคนในไทย) และการเปิดใช้ระบบ 3G จะทำให้การใช้ Device ใหม่เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น จนนักการตลาดให้ความสนใจและมองหาโอกาสในการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มนี้ ถึงแม้วันนี้รูปแบบของการโฆษณาผ่านมือถือยังเป็นขั้นเริ่มต้น สื่อก็ได้เริ่มวางแนวทางในการให้บริการและการขายอย่างจริงจัง สมาร์ทโฟนช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกมากให้กับค่ายมือถือและสื่อโฆษณารูปแบบใหม่อย่างน่าจับตามอง Mobile Advertising จึงกลายเป็นคำตอบสำหรับโจทย์หลักของนักโฆษณาทั้งหลาย ทำให้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตมีบทบาทมากขึ้น และบรรดานักโฆษณาทั้งหลายต้องปรับตัวให้พร้อมสร้างเทคโนโลยีโฆษณาดิจิตอลใหม่ๆ ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์ม การออกแบบเนื้อหาในพื้นที่หน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกัน

6) กลยุทธ์ดิจิตอลเชื่อมต่อทุกช่องทางออนไลน์เพื่อชนะใจลูกค้า

DIGITAL STRATEGY: INTEGRATION TO WIN THEM ALL

ไม่ใช่แค่วางกลยุทธ์ของแต่ละดิจิตอลแพลตฟอร์มแต่ต้องวางกลยุทธ์ดิจิตอล Digital Strategy เป็นภาพใหญ่

ถึงวันนี้องค์กรต่างได้ทดลองดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งในหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดด้วย E-mail, Search, Blogger, หรือโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ยังคงมีข้อข้องใจว่าไม่สามารถ Integrate การสื่อสารผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดความต่อเนื่องในการสื่อสารระหว่างแบรนด์ต่อผู้ติดตาม หรือระหว่างสมาชิกในสังคมออนไลน์ที่แบรนด์ได้สร้างขึ้น เป็นความท้าทายของนักการตลาดที่ต้องวางกลยุทธ์ดิจิตอลเป็น Umbrella Strategy ให้ได้ เพื่อให้การต่อเชื่อมกลยุทธ์ในดิจิตอลแพลตฟอร์มอื่นๆ สอดประสานกันอย่างลงตัวในการ Execution

“ข้อแนะนำสำหรับนักการตลาด อำนาจและอิสระของผู้บริโภคในการเลือกผ่านช่องทางดิจิตอลมีมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลแลกปลี่ยนข่าวสารและช้อปปิ้งข้ามโลกเกิดขึ้นในเสี้ยววินาที ทำให้เกิดข้อเรียกร้องให้แบรนด์ของตัวเองมีสินค้าและบริการที่ต้องการด้วย ถ้าแบรนด์หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ตอบสนองไม่ทันก็อาจสูญเสียลูกค้าได้โดยง่าย ดังนั้น จำเป็นมากที่องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายในการให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ดิจิตอลมากขึ้น พัฒนาศักยภาพของทีมวางแผนและทีมปฏิบัติการ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับส่วนงานขาย ขนส่ง บริการ ฯลฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ โดยมีดิจิตอลคอมเมิร์ซช่วยขับเคลื่อนยอดขายจากผู้ซื้อที่มีอยู่ทั่วโลก” อุไรพรเสริมท้าย

สำหรับธอมัสไอเดีย ในปีหน้าจะเน้นการให้บริการด้านกลยุทธ์ดิจิตอลที่ครบวงจร ครอบคลุมทุกดิจิตอลแพลตฟอร์ม อาทิ วางกลยุทธ์ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งพร้อมดำเนินการพัฒนาและบริหารแคมเปญออนไลน์ การวางกลยุทธ์ดิจิตอลมีเดีย การบริหารและวิเคราะห์โซเชียลมีเดียพร้อมต่อยอดเต็มรูปแบบ รวมถึงวางกลยุทธ์ดิจิตอลคอมเมิร์ซพร้อมการสร้างสรรค์ระบบอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ และระบบ e-CRM ดูแลฐานข้อมูลลูกค้า ต่อเชื่อมกับเว็บไซต์ โมบายและ แอพพลิเคชั่น

View :1849