Archive

Archive for the ‘Enterprise/ Business’ Category

แอลจีแต่งตั้ง “มร. ยอน โฮ (ไมเคิล) เจิง” เป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่ประจำประเทศไทย

February 13th, 2012 No comments

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ประกาศแต่งตั้ง มร.ยอน โฮ (ไมเคิล) เจิง ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ของบริษัท จำกัด


ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานถึง 25 ปี ผนวกกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่กว้างไกล มร.เจิง เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของแอลจี ทั้งในภูมิภาคยุโรปและสำนักงานใหญ่ ประเทศเกาหลี ล่าสุดก่อนเข้ารับตำแหน่งที่แอลจี ประเทศไทย มร. เจิง ได้ดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์จอมอนิเตอร์โซลูชั่นทั่วโลก

ภายใต้การดำเนินงานของ มร. เจิง แอลจี ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นผู้นำใน 3 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้วยการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพื่อสามารถสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ก้าวล้ำ และตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด, ด้านที่สองคือ การทำตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย โดยผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการตลาดที่แตกต่างและต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดียิ่งต่อพันธมิตรธุรกิจและลูกค้า ด้านที่สามคือ ความเป็นผู้นำในด้านการบริหารจัดการในทุกส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการซัพพลายเชน และการให้บริการหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ

“แอลจีได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาดในหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นผู้นำในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้บริโภคต่อไป” มร. เจิง กล่าว

“ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับทีมงานที่มีความสามารถหลากหลายของแอลจี ประเทศไทย และ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันสร้างแอลจีให้เติบโตต่อไปอย่างแข็งแกร่ง พร้อมการพัฒนาเพื่อสังคมไทยอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต” มร. เจิง กล่าวสรุป

View :1612

เอชพี อัดงบกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เติมพลัง เพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ SMBs สร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัย

July 21st, 2011 No comments

เอชพี เอาใจลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก เปิดตัวโซลูชั่นใหม่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมขยายโปรแกรมส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ช่วยลูกค้า SMBs (small and midsize businesses) สร้างการเติบโต ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และปกป้องทรัพย์สินขององค์กร

เอชพีคาดการณ์ว่าตลาดธุรกิจ SMBs มีมูลค่าสูงถึง 234,000 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด(1) ซึ่งธุรกิจ SMBs จะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ ได้แก่ การควบคุมค่าใช้จ่าย การจัดการประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน และการขอสินเชื่อต่างๆ ดังนั้น เอชพีจึงสร้างสรรค์โซลูชั่นและโปรแกรมต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้ากลุ่มนี้ให้สามารถจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัยได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เอชพียังขยายการลงทุนทางด้านการพัฒนาความรู้ให้แก่ธุรกิจ SMBsโดยสร้างศูนย์ฝึกอบรมใหม่รวม 40 แห่งภายใต้โปรแกรมเสริมสร้างความรู้สำหรับผู้ประกอบการ หรือ HP Learning Initiative for Entrepreneurs ) เพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดย่อม (microenterprises) และธุรกิจ SMBs ให้มีช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยเอชพีมีศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าวในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รวมทั้งสิ้น 63 แห่งในประเทศต่างๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย และเกาหลี ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เอชพีได้ขยายการลงทุนในโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการรวมเป็นจำนวนเงินกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่ง และมีการสร้างธุรกิจใหม่ๆ อีกประมาณ 6,500 ราย

พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้วยการทำคอลลาบอเรชั่น

เอชพี นำเสนอเทคโนโลยีหลากหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจ SMBs ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และมีการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน โซลูชั่นใหม่ของเอชพีมีคุณสมบัติเด่นดังนี้

· เพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานด้วยเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant ML110 G7 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ระดับเริ่มต้นที่ใช้งานและบริหารจัดการง่าย ทั้งยังสนับสนุนแอพพลิเคชั่นออฟฟิศระดับพื้นฐาน ได้แก่ การส่งข้อมูลผ่านเว็บ (Web messaging) การจัดทำฐานข้อมูลขนาดเล็ก การจัดทำไฟล์และพิมพ์ข้อมูล และแอพพลิเคชั่นเฉพาะด้านต่างๆ

· ปรับขยายประสิทธิภาพการทำงานด้วยเซิร์ฟเวอร์ HP ProLiant DL120 G7 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์แบบแร็กระดับเริ่มต้นแต่ประสิทธิภาพสูง สนับสนุนแอพพลิเคชั่นหลากหลายประเภท อาทิ แอพพลิเคชั่นระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที การส่งข้อมูลผ่านเว็บ (Web messaging) การจัดทำไฟล์และพิมพ์ข้อมูล แอพพลิเคชั่นขนาดเล็กสำหรับการใช้งานกับอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเชื่อมต่อเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ

· เพิ่มความสะดวกในการบริหารจัดการด้วยอุปกรณ์สวิตช์ HP V1810-48G ซึ่งสามารถบริหารจัดการผ่านเว็บ โดยรองรับถึง 48 พอร์ต จึงสามารถผนวกรวมกับระบบเครือข่ายต่างๆ ที่ใช้อยู่เดิมได้อย่างง่ายดาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ตามต้องการ รองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

· ประหยัดไฟ เนื่องจากใช้อุปกรณ์สวิตช์ HP V1410 unmanaged Fast Ethernet switch series แบบมาตรฐานและติดตั้งได้ง่าย มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน IEEE รองรับความต้องการอุปกรณ์เครือข่ายระดับเริ่มต้นของธุรกิจ SMBs

· เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล HP P2000 G3 Modular Smart Array (MSA) ซึ่งเป็นหนึ่งในโซลูชั่นจัดเก็บข้อมูลระดับเริ่มต้นรายแรกในวงการไอที สนับสนุนการทำงานร่วมกับ VMware API for Array Integration และ VMware VCenter ส่งเสริมลูกค้าระดับ SMBs ให้มีประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่าระดับองค์กร ทั้งยังมีความสามารถในการบริหารจัดการร่วมกับ VMware ได้อีกด้วย นอกจากนี้ โซลูชั่น HP Insight Control Storage Module Manager for VMware vCenter ยังสนับสนุนการบริหารจัดการและการติดตามผล
การทำงานของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายในอุปกรณ์เสมือนหรือเวอร์ช่วลแบบ vCenter console ได้เป็นอย่างดี

เพิ่มการปกป้อง ลดความเสียหายทางธุรกิจ

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของปริมาณข้อมูลและอีเมล์ทำให้ธุรกิจ SMBs ต้องเผชิญความเสี่ยงและมีความซับซ้อนในการทำงานเพิ่มขึ้น และยังอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกู้ระบบที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ โซลูชั่นใหม่ของเอชพีช่วยแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจSMBs ดังนี้

· ประหยัดค่าบริหารจัดการสูงถึงร้อยละ 30 และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยผนวกรวมเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ ด้วยโซลูชั่น HP Branch Office Consolidation ทำให้เกิดเป็นโซลูชั่นสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้จัดทำแผนธุรกิจได้อย่างกระชับและชัดเจน ทั้งยังมีซอฟต์แวร์การบริหารจัดการเพื่อช่วยธุรกิจ SMBs ยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทำงานง่ายขึ้นและเป็นไปโดยอัตโนมัติ ตลอดจนมีการประสานงานร่วมกันอย่างกลมกลืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความเสี่ยงในการทำงาน และสนับสนุนการทำงานของสำนักงานสาขาต่างๆ (2)

· ประหยัดเวลาในการสำรองข้อมูลถึงร้อยละ 90 และลดเวลาที่ใช้ในการกู้คืนระบบอีกร้อยละ 87 (3) โดยใช้โซลูชั่น HP Business Risk Mitigation ซึ่งเป็นโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร โดยสามารถตั้งค่าระบบสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่าย ทั้งยังสนับสนุนซอฟต์แวร์การจัดการที่ใช้ในเครื่องพีซี พรินเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อปกป้องและรักษาความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลที่มีความพร้อมในการใช้งานสูง ตลอดจนกู้คืนระบบล่มที่เกิดขึ้นนอกสถานที่ได้เป็นอย่างดี

· ลดความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลสำคัญด้วยโซลูชั่น ซึ่งจะทำหน้าที่แบ็กอัพไฟล์ข้อมูลบนเครื่องพีซีของพนักงานอย่างมีเสถียรภาพ สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อีกครั้งอย่างรวดเร็วในกรณีเกิดไฟดับ ไฟล์ขัดข้อง หรือเครื่องพีซีหายหรือถูกขโมย

สร้างช่องทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างการเติบโตในอนาคต

การมีข้อมูลและความรู้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจจะช่วยสร้างแต้มต่อในการแข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับธุรกิจขนาดกลางส่วนใหญ่นั้น การดำเนินการดังกล่าวมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น เอชพีจึงได้เพิ่มโซลูชั่นอัจฉริยะทางธุรกิจ (business intelligence solutions) ไว้ในพอร์ทโฟลิโอ HP AppSystem เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการจัดการข้อมูลมากมายเกี่ยวกับลูกค้าสามารถทำได้อย่างง่ายๆ โดยประกอบด้วยโซลูชั่นดังนี้

· โซลูชั่น HP Business Decision Appliance สามารถวิเคราะห์แหล่งข้อมูลทั้งที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเปิดให้บริการแก่ธุรกิจขนาดกลาง โดยเป็นการผนวกรวมแพลทฟอร์มเอชพีและไมโครซอฟท์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อจัดส่งข้อมูลให้แก่สมาชิกในองค์กรทุกคน

· โซลูชั่น HP Business Data Warehouse Appliance เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลาง ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่มีการตั้งค่าระบบและติดตั้งล่วงหน้าในแพลทฟอร์มแบบเดี่ยว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้องค์กรขนาดกลางมีช่องทางใหม่ๆ ในการเพิ่มรายได้และความภักดีของลูกค้า

View :1637

โรงพยาบาลศิครินทร์ มั่นใจ เลือกใช้ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลจาก ไอซอฟท์

July 20th, 2011 No comments

 

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและโรงพยาบาลชั้นนำของไทย จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการติดตั้งระบบบริหารจัดการโรงพยาล iSOFT’s Hospital Information System ( ) กับ บริษัท ไอซอฟท์ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นระยะเวลา 5 ปี ในการติดตั้งระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกเต็มรูปแบบ (Electronic Medical Record: EMR) เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยให้กับคนไข้ของโรงพยาบาล

ภายใต้แผนขยายคุณภาพงานบริการและความปลอดภัยตามมาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากลของ Joint Commission International หรือ JCI โรงพยาบาลศิครินทร์จำเป็นต้องได้รับการติดตั้งระบบบริหารจัดการโรงพยาลที่มีคุณภาพและวัดผลได้เพื่อพัฒนางานด้านการสื่อสารและเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการทั้งโรงพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการรอรับการรักษาและค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย

ด้วยความสามารถของระบบการบริการและการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยในทั้งหมด 215 เตียง ตลอดจนความต้องการด้านการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอกกว่า 2,800 คนต่อวัน โรงพยาบาลศิครินทร์จึงตัดสินใจเลือกใช้ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลจากทางไอซอฟท์เพื่อแทนที่ระบบบริหารงานข้อมูลที่มีอยู่เดิมซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและการรองรับระบบต่างๆ ในอนาคต บวกกับระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลจากทางไอซอฟท์ยังสนับสนุนงานที่เร่งด่วนของผู้เชี่ยวชาญในการรักษา ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ทางโรงพยาบาลสามารถพัฒนางานด้านข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุรศักดิ์ สุตมาส ผู้อำนวยการบริหารโรงพยาบาลศิครินทร์เปิดเผยว่า “เราได้พิจารณาผู้ให้บริการจากหลายๆ ระบบ และพบว่าระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลจากทาง ไอซอฟท์ HIS นั้นเหมาะสมที่สุดที่จะตอบสนองต่อความต้องการของเราในการที่จะก้าวไปข้างหน้าในฐานะโรงพยาบาลชั้นนำที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของเราในการที่จะพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลฯ และด้วยโซลูชั่นจากทางไอซอฟท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และมีความเชี่ยวชาญในการบริหารงานจากประเทศต่างๆ จะทำให้เราสามารถขยายการดำเนินงานของเราไปได้อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง”

โรงพยาบาลศิครินทร์ได้รับรางวัล “The Best Under a Billion” จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอบส์ (Fobes Magazine) ให้เป็น 1 ใน 200 บริษัทที่ดีที่สุดในเอเชียที่มียอดขายไม่เกิน 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

นายเจมส์ ไรซ์ กรรมการผู้จัดการ ไอซอฟท์เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การได้รับความไว้วางใจจากทางโรงพยาบาลศิครินทร์ในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือกันครั้งสำคัญของทางไอซอฟท์และยังเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของเราในประเทศไทย ซึ่งหลังจากนี้เราจะเข้าไปร่วมทำงานกับทางทีมงานของโรงพยาบาลศิครินทร์อย่างใกล้ชิดในการปรับปรุงระบบบริหารงานผู้ป่วยต่างๆ ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล ไอซอฟท์ HISจะได้รับการติดตั้งในทุกๆ แผนกของโรงพยาบาลฯ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการผู้ป่วย ประสิทธิภาพในด้านคลินิค และผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งการติดตั้งในทุกๆ กระบวนการทำงานทั้งหมดนั้นนั้นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้จากในทุกๆ จุดของโรงพยาบาล เพื่อความรวดเร็วในการจัดการ ตลอดจนการวินิฉัยโรคที่แม่นยำ และคุณภาพการบริการที่ดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อยู่ภายใต้แผนการพัฒนาความปลอดภัยของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการได้รับมาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากลจาก Joint Commission International หรือ JCI

 

View :2272

ตลท.จับมือบล.บัวหลวง เปิดบริการ “Bualuang iProgram Trade” ครั้งแรกในไทย

July 14th, 2011 No comments

ตลาดหลักทรัพย์ฯ และหลักทรัพย์บัวหลวง ตอกย้ำความเป็นผู้นำสร้างนวัตกรรมการลงทุนใหม่สำหรับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง เปิดตัว “” พลิกโฉมวงการค้าหลักทรัพย์ เชื่อมั่นตอบโจทย์นักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เปิดตัวนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ Bualuang iProgramTrade ซึ่งเป็นบริการส่งคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติ (Program Trading) สำหรับนักลงทุนบุคคลครั้งแรกในประเทศไทย โดยนำจุดเด่นของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมาเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ผ่านการส่งคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติตามรูปแบบกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละราย ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจลงทุนมีความแม่นยำ ถูกต้อง รวดเร็ว มีวินัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด

“ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทเป็นอย่างมากในโลกการลงทุน เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลที่เที่ยงตรง การวิเคราะห์ที่แม่นยำ และการตัดสินใจที่ทันเวลา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผิดพลาดไม่ได้ หลักทรัพย์บัวหลวงจึงได้พัฒนา Bualuang iProgramTrade เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการแก่นักลงทุนบุคคล ส่งผลให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดแก่นักลงทุน ทั้งนี้ Bualuang iProgramTrade เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการในการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น โดยลูกค้าเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์การลงทุนและตัวแปรต่างๆ ภายใต้การดูแลโดยทีมที่ปรึกษาการลงทุนผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด โดยการจัดเตรียมชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์เพื่อให้ระบบทำการคำนวณและจับสัญญาณการลงทุน ตลอดจนส่งคำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ ช่วยให้นักลงทุนประหยัดเวลาในการนั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุนสำหรับลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง” นายพิเชษฐ กล่าว

ด้าน ดร. ภากร ปีตธวัชชัย รองผู้จัดการ สายงานการตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า  Bualuang iProgramTrade เป็นผลจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศผ่อนผันเกณฑ์อนุญาตให้นักลงทุนบุคคลสามารถใช้การจัดชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ได้โดยอัตโนมัติ (Program Trading) ผ่านช่องทาง Internet Trading เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และคาดว่าจะส่งผลให้ธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ฯ คึกคักมากขึ้นอีกด้วย
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจว่าบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนา Program Trading อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งเสริมให้การซื้อขายสำหรับกลุ่มนักลงทุนบุคคลมีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการซื้อขายใหม่ ทั้งระบบซื้อขายตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ ระบบเผยแพร่ข้อมูล และระบบงานกำกับดูแลการซื้อขาย โดยจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้งานสำหรับการซื้อขายตราสารทุนใน ปี 2555 และตลาดอนุพันธ์ ในปี 2556

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของเงื่อนไขในการสร้าง Program Trading สำหรับนักลงทุนบุคคล โดยให้บริษัทหลักทรัพย์กำหนดหลักการอย่างเหมาะสม ในเรื่องคุณสมบัติของลูกค้า ความรู้ความเข้าใจ และประวัติการซื้อขายของลูกค้า รวมทั้งระบบการทำงานของ Program Trading จะต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบการซื้อขายหรือสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวม ” ดร.ภากร กล่าว
นายบรรณรงค์ พิชญากร กรรมการผู้จัดการ กิจการค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า Bualuang iProgramTrade เป็นระบบการซื้อขายผ่านชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนในหลักทรัพย์ โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน  และมีความพร้อมในการกำหนดแผนการบริหารเงินลงทุนที่ชัดเจนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารเงินลงทุนได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ

“ตัวอย่างหนึ่งของการนำ Bualuang iProgramTrade มาใช้ คือระบบสามารถแปลงการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมาเป็นชุดคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยใช้เวลาในการส่งคำสั่งเพียงเสี้ยววินาทีหลังจากเกิดสัญญาณซื้อขายตามกลยุทธ์ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนแล้ว การใช้โปรแกรมคำสั่งคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนและมีการบริหารจัดการอย่างมีแบบแผน โดยตัดปัจจัยเรื่องอารมณ์ส่วนบุคคลออกไป และยังได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมที่ปรึกษาการลงทุนและเจ้าหน้าที่การตลาดผู้ดูแลบัญชี ที่สำคัญคือหลักทรัพย์บัวหลวงไม่มีพอร์ตการลงทุนแบบเก็งกำไร นักลงทุนจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการลงทุนเพื่อแข่งกับลูกค้า” นายบรรณรงค์ กล่าว

Bualuang iProgramTrade เป็นบริการพิเศษสำหรับลูกค้ารายใหญ่ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักลงทุน เจ้าหน้าที่การตลาด และทีมที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการ วัตถุประสงค์ และระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ โดยทีมที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคลมีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่นักลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการวิเคราะห์ผลการลงทุนที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์การลงทุนที่วางแผนไว้นั้นเหมาะสมกับสไตล์การลงทุนของนักลงทุนแต่ละราย และยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนทีมวิศวกรทางการเงินมีหน้าที่เขียนชุดคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติตามกลยุทธ์การลงทุนที่กำหนดขึ้น โดยนักลงทุนสามารถติดตามผลการลงทุนแบบทันทีผ่าน E-mail ระบบอินเตอร์เน็ต และรายงานผลการลงทุนทุกสิ้นเดือนเพื่อให้นักลงทุนทราบถึงผลการลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ

View :3053

ทริดี้ เปิดวิสัยทัศน์ระดมความคิด มองทิศทาง แนวโน้มอนาคตของโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ กับนักวิชาการภาคการศึกษากว่า 30 มหาวิทยาลัย

July 5th, 2011 No comments

สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ จัดประชุมระดมความคิด ครั้งที่ 2 หาทิศทางและแนวโน้มในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ข้อคิดเห็น และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศในอนาคต โดยการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้ม  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง  โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง    รวมถึงรับทราบถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในด้านดังกล่าว

โดยการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ถือเป็นการรวมกลุ่มจากภาคการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 มหาวิทยาลัย ที่ต้องการหาทางออก ปฏิรูปสื่อในประเทศ ให้เกิดการกระจายในระดับมหภาคอย่างเสรีและมีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง

ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ ทริดี้ กล่าวว่า การประชุมระดมความคิดเรื่อง “Road map for Broadcasting and Telecommunications Research & Development ครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทริดี้และสำนักงาน กสทช. มุ่งตรงที่จะได้ทราบถึงทิศทางและแนวโน้มการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม   ตลอดจนประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  เพื่อเป็นแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของ  และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน กสทช.  ตามขอบเขตในภารกิจและการส่งเสริมและสนับสนุนตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553    โดยกิจกรรมในครั้งนี้  ได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น   ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมืออระหว่าง ทริดี้  สำนักงาน กสทช.  กับสถาบันการศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมา  และยังมุ่งต่อยอดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคตด้วย

ดร.สุพจน์ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเผยภารกิจในการดำเนินงานของทริดี้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม  และการพัฒนาบุคลากรที่ผ่านมา รวมไปถึงทิศทางและแนวโน้มในอนาคต  พร้อมแผนการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากร   และทราบถึงความพร้อมของสถาบันการศึกษาภายใต้ขอบเขต พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นการรองรับการแข่งขัน AEC ที่จะมีขึ้นในปี 2015 ซึ่งในครั้งนี้จะมีนักวิจัย รวมถึงผลงานวิจัยในเทคโนโลยีในด้านที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น และสามารถต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพร่ภาพ การกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ สามารถช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นอีกด้วย

“ในการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทริดี้เชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้เกิดแผนและแนวทางการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพร่ภาพกระจายเสียง โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแผนการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพของประเทศ   และในอนาคตเชื่อว่าภาคอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์จะเติบโตไปอีกมาก  ซึ่งประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังในส่วนของงานวิจัย บุคลากร และการมองหาทิศทางของผลิตภัณฑ์ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาคือภาคการศึกษาที่จะสามารถช่วยให้เกิดบุคลากรคุณภาพ เกิดการใช้ในประเทศ ตลอดจนการส่งออกในต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว”  ดร.สุพจน์ กล่าวสรุป

มุมมองของภาคการศึกษา “ความคิดเห็นของกลุ่มนักวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งนี้ มองถึงความสำคัญของการปฎิรูปในอนาคตที่ชัดเจนและจริงจัง สู่ภาคประชาชนอย่าง “รู้ทันสื่อ” โดยโครงของสื่อในอนาคต กลุ่มนักวิชาการมองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมในอนาคตหากเกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และหากจะเกิดการพัฒนาในประเทศต้องมองถึงการวางโครงสร้างที่แข็งแรง ตลอดจนการร่วมมือกันอย่างมีศักยภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษาเอง โดยทั้งหมดต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา และยังมองถึงส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคจากสื่ออีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนจะเกิดการก่อกวนหรือสร้างปัญหาจากสื่อได้

งานวิจัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญหากที่ผ่านมามีแต่การวางโครงการนำเสนอวิจัย แต่ไม่มีการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติงานหรือต่อยอด ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งมี ทริดี้ที่สนับสนุนให้นำงานวิจัยไปดำเนินงานต่อยอด แต่ในอนาคตหากเกิดการดำเนินงานในด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ที่เสรีมากขึ้น ต้องช่วยกันในหลายภาคส่วนให้นำผลงานต่าง ๆ ไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งหากสามารถนำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ไปปฏิงานได้จริง ไม่เพียงแต่ผลงานจะสะท้อนถึงทิศทางในอนาคต แต่จะเกิดการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เกิดการจ้างงาน และภาครัฐเองต้องมองหาตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ (ภาคการศึกษา-สนับสนุน วิจัยผลงาน พัฒนาผลงาน, ภาครัฐ-สนับสนุนเงินทุน หาช่องทางตลาด ตลอดจนผลักดันให้เกิดมูงค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างมาตรฐานของผลงานที่พัฒนาขึ้นมา, ภาคเอกชน-สนับสนุนการใช้ผลงาน อุปกรณ์ และผลักดันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ) หากมองในตลาดปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์ต้องเริ่มที่ พัฒนาความรู้ผลงาน ต่อยอด ใช้เอง และส่งขายตามลำดับ กอปรกับความร่วมมือจากนักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิศวะโทรคมนาคม นักวิจัย และลงพื้นที่พัฒนาให้ความรู้ในระดับท้องถิ่น และก้าวสู่การพัฒนาในระดับประเทศในอนาคต

หมายเหตุ :     มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ.2553 มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในสำนักงาน กสทช. เรียกว่า “กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1)    ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชนตามมาตรา 51

(2)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

(3)    ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

(4)    สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

(5)    สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

View :2130

ธนาคารแห่งประเทศไทยวางใจไอบีเอ็ม ร่วมพัฒนาระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

July 4th, 2011 No comments


พร้อมรองรับการเชื่อมโยงบริการด้านการเงินระดับภูมิภาคและระดับสากล

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ในโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Bank of Thailand – Electronic Financial Services : BOT-EFS) เพื่อเสริมประสิทธิภาพและศักยภาพของเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของ ธปท. ที่ พร้อมสนับสนุนการเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน และตลาดการเงินภายในปี 2558

นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า “เนื่องจากความต้องการใช้บริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริการชำระเงิน มีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ ซึ่งมีประชากรรวมกันราว 580 ล้านคน กำลังเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีตลาดสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ตลาดเงินตลาดทุนมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ธปท. จึงต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ไทย ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และพร้อมรับการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยให้ความไว้วางใจในความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของไอบีเอ็ม ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิส คาดว่าเมื่อการปรับปรุงเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานของธนาคารฯ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และศักยภาพในการให้บริการแก่สมาชิกสถาบันการเงินในประเทศได้มากขึ้น ยกระดับมาตรฐานความก้าวหน้าทางด้านการเงินของประเทศสู่สากล และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในโลกต่อไปได้

ภายใต้แผนการดำเนินงานการเสริมสร้างและพัฒนาระบบการเงินของไทยไปสู่การเป็น Smart Banking ไอบีเอ็มรับหน้าที่จัดหาเทคโนโลยีและวางระบบการชำระเงินให้เป็น Smart Payment ยกระดับสู่มาตรฐานระดับโลกและขยายขีดความสามารถรองรับความต้องการในอนาคต โดยในระยะแรกจะเป็นการปรับปรุงระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ซึ่งเป็นแกนกลางที่เกี่ยวข้องกับการชำระแต่ละรายการผ่านบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดอยู่กับธนาคารกลาง โดยจะตัดเงินจากบัญชีของธนาคารผู้ส่งไปยังธนาคารผู้รับทันที ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ระบบ RTGS แล้วหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (Fedwire) สวิสเซอร์แลนด์ (SIC – Swiss Interbank Clearing) สิงคโปร์ (MEPS – MAS Electronic Payment System) ออสเตรเลีย (RITS – Reserve Bank of Information and Transfer System) เป็นต้น ส่วนของประเทศไทยใช้ชื่อว่า BAHTNET – Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไว้วางใจให้ไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางด้านไอทีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ในโครงการนี้ ทีมที่ปรึกษาด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Global Business Consulting) ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์อย่างดี ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ได้คอยให้คำปรึกษา และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่ดูแลงานทางด้านไอทีของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และร่วมกับธนาคารในการวางแผนงานระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างรอบด้าน รวมถึงการเลือกระบบไอทีที่สามารถรองรับวิสัยทัศน์ การให้บริการระดับมาตรฐานโลก และสามารถขยายความสามารถของระบบต่อไปในอนาคต ในส่วนของเทคโนโลยีไอทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้ ฮาร์ดแวร์ไอบีเอ็มเพาเวอร์ซิสเต็มส์ เพาเวอร์ 7 AIX Server (Unix based server) ที่มีความสามารถของระบบที่เหนือชั้น มีเสถียรภาพของเทคโนโลยีการใช้ทรัพยากรแบบเสมือน มีศักยภาพในการควบรวมระบบที่แข็งแกร่ง และซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็มซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์สำคัญๆ เช่น WebSphere Message Broker ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานของ SOA framework ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว Rational Team Concert (RTC) เป็นเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน และซอฟต์แวร์Tivoli ช่วยให้มองเห็นการทำงานทั้งหมด ควบคุมการทำงานของทรัพยากรไอที มีกระบวนการควบคุมการทำงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอที รวมถึงบริการด้านไอทีที่ ช่วยด้านการติดตั้งใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอทีที่เกี่ยวข้อง ให้ระบบมีเสถียรภาพและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวอีกด้วย

ด้วยทีมที่ปรึกษาและการให้บริการระบบที่เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย และแข็งแกร่งของไอบีเอ็มดังกล่าว ช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์และมั่นใจได้อย่างเต็มที่ในการจัดเตรียมทรัพยากรด้านไอทีให้มีความพร้อมเสนอบริการสู่สมาชิกสถาบันการเงินได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของการประมวลผลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและความสามารถรอบด้าน ในส่วนของซอฟต์แวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ ช่วยลดต้นทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน  สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิกสถาบันการเงินของไทยได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มความเป็นระเบียบแบบแผนในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพิ่มความถูกต้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา มีระบบควบคุมและจัดการกระบวนการพัฒนาอัตโนมัติ ปรับปรุงการมองเห็นภาพรวมของโครงการด้วยข้อมูลในแง่มุมต่างๆของโครงการ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจาก ธปท. ซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศที่ได้รับความเชื่อถือในระดับนานาชาติ ให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับขอบข่ายการให้บริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยความเป็นผู้นำในด้านการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจร รวมถึงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำสมัยและปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้ทางไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุน ธปท. ในทุกด้านในการพัฒนาระบบการเงินของประเทศก้าวไปสู่ยุคใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต”

View :2049

เอชพีเผยการเจาะระบบผ่านเว็บไซต์ คือภัยคุกคามอันดับหนึ่ง ในการประกอบอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์

June 18th, 2011 No comments

เอชพี เผยรายงาน เรื่องปัจจัยเสี่ยงด้าน การรักษาความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ในปี 2553 ( ) ซึ่งระบุว่า อาชญากรรมบนโลกไซเบอร์มีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกรุกระบบศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้องค์กรต้อง สูญเสียเงินและข้อมูล เป็น อย่างมาก

ในขณะที่มีรายงานด้านการโจมตี บนโลกไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้น แต่จำนวนช่องโหว่ที่ถูกค้นพบยังคงเป็น อัตราที่อยู่ในระดับทรงตัว แต่ก็ยังนับเป็นตัวเลขที่สูงทีเดียว ทั้งนี้ รายงาน ดังกล่าวเผยว่า อาชญากร ในโลกไซเบอร์ ส่วนใหญ่ จะเน้นโจมตีไปที่ ช่องโหว่ของระบบ รักษาความปลอดภัยที่ เป็นที่รู้จักและ ได้ปิดรูรั่วของระบบ (patched) แล้ว ขณะที่ อาชญากรที่มีความเชี่ยวชาญสูง มักจะเลือกโจมตีไปที่
ช่องโหว่ใหม่ๆ ก่อนที่ผู้ให้บริการจะจัดทำเครื่องมือแก้ไขและป้องกันต่างๆ ได้ทันท่วงที

เพื่อตอบโต้การโจมตีจากอาชญากรทั้งสองประเภท ภาครัฐและธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงได้โดยยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย เช่น การปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ และ หากมี การนำข้อมูลจากรายงานผลการวิจัยเรื่อง Zero Day initiative ของหน่วยธุรกิจ HP Digital Vaccine Labs (DVLabs) มาใช้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรนั้นๆ

ทั้งนี้ รายงานเรื่อง ปัจจัยเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ในปี 2553 ( 2010 Top Cyber Security Risks Report) ใหม่ดังกล่าวเป็นการขยายผลการศึกษาจากรายงาน ที่เอชพีจัดทำไปเมื่อ กลางปี 2553 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ เผยแพร่ ข้อมูลสำคัญแก่องค์กรต่างๆ สำหรับนำไปใช้ในการวางนโยบาย การรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องสินทรัพย์ด้านไอทีของตน นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังช่วยพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับพอร์ทโฟลิโอระบบโครงสร้างแบบผนวกของเอชพี (HP Converged Infrastructure) ให้ทันสมัย โดยผนวกรวมเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมด้านไอทีให้มีการทำงานที่ง่ายดาย ทั้งยังมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวยิ่งขึ้น และ สามารถ ปรับขยายระบบได้มากขึ้น ตลอดจนมีต้นทุนใน
การเป็นเจ้าของทั้งหมดลดลง

รายงานดังกล่าวบ่งชี้ว่า เครื่องมือสำเร็จรูปในการเจาะระบบผ่านเว็บไซต์ ( web exploit toolkits) มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ   และที่สำคัญ มีการซื้อขาย   “แพคเกจ” การโจมตีเช่นนี้ผ่าน ระบบออนไลน์ ทำให้นัก โจมตีทั้งหลาย สามารถเข้าถึงระบบไอทีระดับองค์กรพร้อมทั้งขโมยข้อมูลสำคัญต่างๆ ไปได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ รายงาน ชิ้นนี้ยังระบุอีกว่า การเจาะระบบผ่านเว็บไซต์ ถูกเลือกนำไปใช้เป็นอาวุธในการจู่โจม เนื่องจากใช้งานง่าย และ มี โอกาสสำเร็จสูง

จากข้อมูลของระบบ HP Weblnspcect ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ HP Fortify พบว่า แอพพลิเคชั่นที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตมีช่องโหว่สูงถึงครึ่งหนึ่งของช่องโหว่ด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งหมด ทั้งยังคงแพร่ระบาดเข้าทำลายองค์กรต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีโปรแกรมเสริม ( plug-in ) ของระบบการจัดการคอนเท้นท์ ที่จัดทำโดยผู้ให้บริการอื่นเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดช่องโหว่ของแอพพลิเคชั่นที่ ทำงาน บนอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในฟอรั่มการอภิปรายระบบออนไลน์และบล็อก-โฮสติ้ง อาทิ โปรแกรม WordPress, Joomla และ Drupal เป็นหนึ่งในระบบที่ถูกโจมตีบ่อยที่สุด

มร. ไมค์ ดอสซิน ผู้จัดการฝ่าย   Advanced Security Intelligence แผนก HP DVLabs กล่าวว่า “จากการศึกษาของเอชพี พบว่า แทนที่ นัก โจมตี ระบบ จะเสียเวลาไปกับการค้นหาช่องโหว่ใหม่ๆ พวกเขาจะ ให้ความสำคัญกับ การบุกรุกเข้าโจมตีช่องโหว่ที่ยังไม่มีการแก้ไขในปัจจุบัน ได้แก่ เว็บ แอพพลิเคชั่น โซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ และอินเทอร์เฟซ แบบ เว็บ 2.0 แต่ด้วยโซลูชั่นรักษา ความปลอดภัยที่โดดเด่นของเอชพี ได้แก่ HP TippingPoint, Arcsight และ Fortify พร้อมด้วย ประสบการณ์อันเชี่ยวชาญทางด้านระบบบริหารจัดการวงจรแอพพลิเคชั่นและระบบการจัดการสารสนเทศของเอชพี สามารถ ช่วยลูกค้า ป้องกันการคุกคามของโปรแกรมโจรกรรมข้อมูลล่าสุดต่างๆ ที่ทำให้ธุรกิจของลูกค้าไม่สามารถก้าวเดินหน้าได้อย่างราบรื่น”

ระเบียบวิธีการวิจัย

HP DVLabs คือ องค์กรวิจัยชั้นนำที่ศึกษาและวิเคราะห์ช่องโหว่หรือจุดอ่อนของโปรแกรมหรือระบบไอทีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ลูกค้าจัดทำมาตรการป้องกันล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเจาะช่องโหว่หรือการจู่โจมที่ยังไม่มี การแก้ไข (zero day attacks) ทั้งนี้ HP DVLabs ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมย้อนกลับ ( reverse engineering) และระบบวิเคราะห์ระดับ วิกฤติ (critical analysis) ชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะนำไปใช้กับโซลูชั่นป้องกันการบุกรุกของลูกค้าได้โดยอัตโนมัติผ่านบริการ Digital Vaccine ® ของเอชพี นอกจากนี้ เอชพี ทำการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวม ได้จากการติดตั้งอุปกรณ์ IPS เพื่อตรวจจับความผิดปกติบนอินเตอร์เน็ตทั่วโลกเป็นจำนวนนับพันตัว เพื่อใช้เป็น ฟิลเตอร์ป้องกันการบุกรุกใน โซลูชั่น ป้องกันการบุก – รุก HP TippingPoint Intrusion Prevention Systems (HP TippingPoint IPS)

ทั้งนี้ รายงานเรื่องปัจจัยเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยของโลก ไซเบอร์ในปี 2553 ( 2010 Top Cyber Security Risks Report) ใช้แหล่งข้อมูลสนับสนุน ดังนี้

·          โปรแกรมซอฟ ต์ แวร์ HP Weblnspect ซึ่งใช้สำหรับทดสอบและประเมินผลประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่นบนอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ที่มีความซับซ้อนอย่างมาก

·          โครงการวิจัยเรื่อง the Zero Day initiative ที่จัดทำโดย HP DVLabs โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระบบรักษ า ความปลอดภัย โดยระบุจุดอ่อนของซอฟ ต์ แวร์ที่ก่อให้เกิดการบุกรุกบนโลกไซเบอร์ และ การละเมิดระบบการรักษาความปลอดภัย

·      ระบบ OpenSource Vulnerability Database ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลแบบเปิดและอิสระจัดทำโดยและเพื่อประโยชน์ของชุมชน หรือคอมมูนิตี้เพื่อ ป้องกันช่องโหว่ในการรักษาความปลอดภัย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย ด้านเครือข่ายของ   เอชพี สามารถ สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.hp.com/go/networking

ระบบรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร (Enterprise security) เป็นองค์ประกอบที่มีความจำเป็นต่อองค์กรแบบ Instant-On Enterprise ทั้งนี้ ในโลกที่มี การเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง แนวคิดแบบ Instant-On Enterprise คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้อย่างตรงจุดและโดยทันที

View :2342

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรุกคืบครั้งใหญ่ สร้างระบบห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์หวังเชื่อมระบบซื้อขายสินค้าอุตสาหกรรมผ่านโลกออนไลน์

June 15th, 2011 No comments

ปีแรกเน้นจับคู่ทางธุรกิจดึงโรงงานกับเอสเอ็มอีมาเจอกัน คาดลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้อื้อ ประเดิมอุตฯรองเท้าและเครื่องนุ่งห่มนำร่อง

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ของกสอ. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้สร้างระบบ e-supply chain หรือระบบห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาต่อยอดจากระบบ e-market place หรือระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการพัฒนาการซื้อขายสินค้าอุตสาหกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือ B2B ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

จุดมุ่งหมายหลักของระบบ e-supply chain ของกสอ.แตกต่างจากการสร้างระบบ e-market place เดิมที่มุ่งเน้นแต่การโชว์สินค้าเพื่อขาย หรือเป็นเพียงแค่แคตตาล็อคสินค้า แต่ในระบบใหม่จะมีการเพิ่มเติมแอพพลิเคชันและกลายเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย และต้องการให้เกิดการทำ Business Matching หรือการจับคู่ทางธุรกิจ เพื่อเป็นห่วงโซ่ข้อแรก ทำให้โรงงานต่างๆ สามารถเข้าถึงการซื้อวัตถุดิบจาก SMEs ขนาดเล็กได้โดยตรง

ที่ผ่านมาเป้าหมายการซื้อขายผ่านระบบ B2B ในโครงการ ECIT มีการปรับเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยในปีนี้อยู่ที่ 100 ล้านบาท และมีอุตสาหกรรมเข้าร่วมกว่า 4,000 ราย แม้ยอดการขายจะไม่มากเพราะต้องการเน้นให้ผู้ซื้อขายทำธุรกรรมผ่านระบบปกติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือโครงการ ECIT มีฐานข้อมูลที่ผ่านระบบออนไลน์ขนาดใหญ่เกิดขึ้น เป็นฐานข้อมูลที่มีตัวตนจริง และผ่านการคัดกรอง รวมถึงมีการซื้อขายเกิดขึ้นจริงในช่วงที่ผ่านมา สร้างประโยชน์สำหรับการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมประเทศไทยในอนาคต นั่นคือการเกิดของระบบ e-Supply Chain

“ผู้ประกอบการทั้งโรงงานและธุรกิจ SMEs ที่เข้ามานำเสนอสินค้าวัตถุดิบผ่านระบบ e-supply chain ของกสอ. จะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องเข้ามาสร้าง หน้าร้านให้ลูกค้าที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมทั้งหลายได้รู้จักผ่าน Template หรือเว็บไซต์แม่แบบของกสอ. ซึ่งจะมีระบบเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์สมาคม และเชื่อมผ่านระบบ Social network ยอดนิยมอีกด้วย เพียงแต่เข้ามาแก้ไขข้อมูลทั้งในส่วนของบริษัท สินค้า ราคา และคัดเลือกสินค้าจากผู้ผลิตที่ต้องการ ห่วงโซ่ข้อแรกของอุปทานก็จะเกิดขึ้นและจะเชื่อมโยงไปสู่โซ่ข้อต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด” ดร.พสุกล่าว

เป้าหมายของระบบ e-supply chain ในปีนี้จะเริ่มทดลองกับอุตสาหกรรมสองประเภทคือ อุตสาหกรรมรองเท้ากับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยทำงานผ่านส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย โดยมีสมาชิกของสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ( ATSME) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายย่อยที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศเข้ามาเชื่อมต่อให้ครบทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งจะทำให้มีสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า 5,000 ราย ซึ่งในปีแรกจะยังไม่มุ่งหวังเรื่องยอดขาย แต่มุ่งหวังให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ และสร้างเครื่องมือทางโปรแกรมเพื่อทำให้ความต้องการของทั้งสองฝ่ายตรงกันก่อน

การเชื่อมโยงแบบนี้จะมีประโยชน์กับฐานข้อมูลใหญ่ของประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากหลายครั้งที่ข้อมูลของแต่ละส่วนไม่ตรงกันทำให้การกำหนดนโยบายทางภาคอุตสาหกรรมที่จะเข้าไปส่งเสริม หรือแก้ไขปัญหาทำได้ยาก รวมถึงการค้นหาข้อมูลเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ประสบปัญหาเช่นกัน แต่เมื่อมีการจัดระบบทั้งหมดก็จะทำให้เกิดรากฐานใหญ่ทั้งระบบต่อไป อีกทั้งในอนาคตยังนำระบบทั้งหมดเชื่อมโยงกับโปรแกรมบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร หรือ Enterprise Resource Planning ( ERP ) ผ่านระบบ Cloud Computing ที่ ECIT สนับสนุนให้ SME ดำเนินการก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้นเพียงแค่นำฐานข้อมูลของระบบ e-Supply Chain มาปรับแต่งให้ตรงกับฐานข้อมูลของ SME ที่ใช้งานผ่าน ERP ก็จะทำให้ข้อมูลภายในของ SME เชื่อมโยงกับระบบ e-Supply Chain ในทันทีด้วยความถูกต้องแม่นยำ และเป็นระบบมากที่สุด

ศ.ดร ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ทำวิจัยระบบ e-supply chain ต่อยอดจากระบบ e-market place เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จนสามารถสร้างเป็นโซลูชันที่ช่วยเหลือทางด้านการซื้อขายในภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ตั้งแต่การเพิ่มระบบ E-Catalog to Bill of Materials (BOM) คือระบบที่สามารถจำแนกชิ้นส่วนย่อย จากสินค้าที่ขายสู่ลูกค้า ว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนย่อยกี่ชิ้น ซื้อกับซัพพลายเออร์ใครบ้าง ต้องใช้ของเมื่อไร ต่อด้วยระบบ E-Procurement คือระบบที่ทำหน้าที่ต่อจาก BOM ในการจัดตารางการจัดซื้ออย่างเป็นระบบ ให้ได้มาซึ่งชิ้นส่วนย่อยทุกชิ้นที่ต้องการ มี E-Logistics คือระบบที่สามารถตรวจสอบระยะทางระหว่าง บริษัทกับซัพพลายเออร์แต่ละราย ผ่านระบบแผนที่ออนไลน์ ซึ่งจะสามารถคำนวนต้นทุนการขนส่งได้อย่างละเอียด และมีส่วนในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมด้วย

นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมระบบ Green Industry คือระบบที่บริษัทในเครือข่าย e-Supply chain สามารถทำการแลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ เครื่องจักรมือสอง เครื่องมือมือสองและเศษของเสียจากการผลิต ที่จะทำให้เกิดการลดต้นทุนในการซื้อของใหม่และยังสนับสนุนให้มีการรักษ์โลกมากขึ้นด้วย

ภาพที่จะปรากฏชัดในยุคต่อไปคือว่า ผู้ผลิตตัวจริง หรือเจ้าของสินค้าจะก้าวเข้ามาทำธุรกิจบนเว็บมากขึ้น รูปแบบของ e-Business จะเข้ามาแทนที่ e-Commerce ส่งผลให้องค์กรที่เข้าสู่ระบบนี้จะเข้าถึงซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการสร้างเครือข่าย ให้ครอบคลุมในรูปของกิจกรรมของ e-Business จากเฉพาะกิจกรรมการเชื่อมต่อเครือข่ายเฉพาะภายในบริษัท เป็นการเชื่อมต่อกับองค์กรภายนอกอย่างสมบูรณ์แบบ

นายครรชิต   จันทนพรชัย    นายกสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย ( ATFIP) เปิดเผยว่า สมาคมจะนำกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า เข้าสู่ระบบ e-supply chain ของโดยจะมีการจัดสัมมนาชี้แจง และอบรมให้อย่างเร่งด่วน จากนั้นจะเชื่อมโยงผู้ผลิตกลุ่มอื่นๆ และทำการคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพด้านการผลิตและจำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิตวัตถุดิบ เข้าสู่ระบบ e-supply chain โดยคาดว่า e-supply chain นี้จะสามารถทำให้ผู้ผลิตรองเท้าหาสินค้ามาผลิต รวมทั้งเลือกสินค้าทดแทน หรือสินค้าที่ใช้ข้ามกลุ่มได้ง่าย สามารถที่จะเลือกซื้อสินค้าผ่านร้านค้าและผู้ผลิตโดยตรง

ระบบ e-supply chain   จะลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสื่อสาร และสร้างความสะดวกทางการค้าให้กับอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นอย่างดี เนื่องจากมีอุตสาหกรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน   ผลประโยชน์ทั้งทางตรงหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ หนัง ผ้า พื้นรองเท้า ส้นรองเท้า เป็นต้น การซื้อขายระหว่างกันได้หลากหลายทำให้เกิดการพัฒนาภัณฑ์ เกิดการแลกเปลี่ยนการการจำหน่าย และช่วยสร้างความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมากขึ้น การนำเสนอสินค้าตัวอย่าง การผลิตสินค้า รวมไปถึงการส่งมอบสินค้าได้เร็วขึ้น ( Lead Time Reducing)

นอกจากนั้นยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบเทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อม ( Green Technologies) ให้กับอุตสาหกรรมรองเท้า ในด้านการบริหารจัดการสินค้าและวัตถุดิบคงคลัง ลดปริมาณคงเหลือสินค้าคงคลัง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุมจม และเพิ่มรายได้ให้กับอุตสาหกรรมรองเท้า ส่งเสริมนโยบาย 3 R (Reduce ,Reuse and Recycle)

จากข้อมูลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ผลิตโรงงานรองเท้าในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ   2,251 ราย จำแนก เป็นโรงงานขนาดเล็ก 1,484 ราย โรงงานขนาดกลาง   742 ราย และที่เหลือเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีแรงงานมากกว่า 2,000 คน จำนวน    25 ราย มีโรงงานที่ผลิตรองเท้าหนัง รองเท้าแตะ และชิ้นส่วนประกอบรองเท้า ประมาณ 1,758 ราย ที่มีการใช้วัตถุดิบ หนัง หนังฟอก หนังเทียม ประมาณ 213,111,120 ฟุตต่อปี เหลือใช้คงคลัง ประมาณ40,691,120 ฟุตต่อปี คิดเป็นมูลค่าของต้นทุนจมถึง 762,958,605 บาท นอกจากนี้มีการใช้ชิ้นส่วนประกอบรองเท้า ประเภทพื้นและส้นประมาณ   98,375,616 คู่ต่อปี และปริมาณเหลือใช้คงคลังเฉลี่ยต่อปี 9,090,816 คู่ ต้นทุนจมที่ในระบบคิดเป็นมูลค่า 525,247,146 บาท

ดังนั้นหากนำเอา ระบบ e-supply chain มาใช้กับอุตสาหกรรม จะการใช้วัตถุดิบเหลือใช้คงคลังของผู้ผลิตรองเท้าซึ่งมีการใช้อยู่เพียง 5 % เท่านั้น เพิ่มขึ้นเป็น 20% ถึง 30%   ซึ่งเท่ากับว่า นอกจากจากจะลดต้นทุนจมให้กับผู้ประกอบการผลิตรองเท้าที่มีวัตถุดิบเหลือใช้เกินความจำเป็นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังซื้อวัตถุดิบหลากหลาย เข้ามาเลือกซื้อวัตถุดิบจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางที่มีวัตถุดิบเหลือได้ในราคาที่ถูกลง ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากผลของการใช้ e-supply chain ที่นำมาใช้บริหารจัดการวัตถุดิบเหลือใช้ในระหว่างอุตสาหกรรม ( Dead Stock Recycle) เพียง 5% ของทั้งหมดจะทำให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมรองเท้าและประเทศ   ต้นทุนจมที่เกิดจากการนำวัตถุดิบหนังคงเหลือใช้กลับมาใช้จะลดลงประมาณ 38,147,930 บาท , และที่เกิดจากการนำพื้นรองเท้าคงเหลือกลับมาใช้ประมาณอีกประมาณ 26,262,357 บาท สรุปรวมลดต้นทุนจมให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมถึง 64,410,287 บาท และยังทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในค่าขนส่งที่แฝงอยู่ในราคาขายถึง 1,288,205 บาทต่อปี ได้ด้วย

นอกจากนี้ e-supply chain จะก่อให้เกิดผลดีทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมคือ ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงการค้าข้ามอุตสาหกรรม Cross Section Industry เช่น การสั่งซื้อรองเท้า ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการค้าได้อย่างมาก

นายสุกิจ คงปิยาจารย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า จากที่ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าในแบบต่างๆ ได้เข้าไปอยู่ในระบบ e-market place ของทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ขณะที่โรงงานขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะมีฝ่ายจัดซื้อทั้งในและต่างประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงรู้จักแหล่งของวัตถุดิบ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเหล่านี้ดีอยู่แล้ว และรูปแบบการซื้อขายปกติทางผู้ผลิตวัตถุดิบจะเข้ามานำเสนอทางออกของปัญหาในการผลิต เพื่อทำให้โรงงานเครื่องนุ่งห่มเลือกสินค้านั้นๆ มาทดแทนสินค้าเก่า ทำให้ระบบ e-supply chain ปกติที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเข้ามาสู่ระบบได้ค่อนข้างยาก

ระบบ e-supply chain ของทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเป็นการอุดช่องว่าง เหล่านี้ โดยจะทำให้โรงงานเครื่องนุ่งห่มทั้งหลายได้เห็นกลุ่มซัพพลายเออร์กลุ่มใหม่ ซึ่งต่อไปทางสมาคมจะร่วมกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดกิจกรรมเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบได้มาร่วมกิจกรรมกับทางเจ้าของโรงงานที่เป็นสมาชิกสมาคม เพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์เรียนรู้ปัญหา และพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นก็จะใช้ระบบนี้เชื่อมโยงในการซื้อขายในที่สุด

ส่วนเรื่องของ dead stock management นั้น ทางสมาคมได้หารือกับทางม.พระนครเหนือแล้ว โดยเฉพาะความกังวลของระบบเดิมๆ ที่เป็นอยู่คือ ระบบส่วนใหญ่มักไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่ทันท่วงที เกิดปัญหาการ update ข้อมูลไม่ทัน ทำให้สินค้า dead stock ที่แจ้งยังไม่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เมื่อผู้ซื้อต้องการสินค้ากลับไม่มีสินค้าอยู่จริง ดังนั้นระบบของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะมีความยืดหยุ่นและจะเน้นสร้าง Trust หรือความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้อย่างสูงสุด รวมถึงการชี้แจงข้อมูลของสินค้า dead stock อย่างละเอียด เช่น เป็นสินค้าเกรดเอ หรือบี ต้องไม่ทำให้เกิดความสงสัยถึงคุณภาพของสินค้ากลุ่มนี้ได้

นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ( ATSME) เปิดเผยว่าสมาชิกของสมาคม ATSME ที่เข้าร่วมกับโครงการนี้มีอยู่กว่า 7,000 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ 5 ภาค และ 11 เขตศูนย์ภาค เป็นฐานในการสนับสนุนและส่งมอบผลิตภัณฑ์ต้นน้ำไปสู่อุตสาหกรรมหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาระบบ e-market place ถือเป็นจุดเริ่มแรกของเปิดตลาดสู่ภาคอุตสาหกรรม

เมื่อกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมผลักดันให้เกิดระบบ e-supply chain เกิดขึ้น ยิ่งจะทำให้กลุ่มลูกค้าของโรงงาน SMEs มีเว็บแอพพลิเคชันทางด้านกระบวนการทำงานรองรับ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย กลาย เป็นช่องทางในการสื่อสารการตลาดมากกว่า 1 ทาง คือ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถสื่อสารกันได้ด้วยข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ต่อไปนี้ระบบเว็บของสมาชิกสมาคมจะถูกจัดรวมกลุ่ม และมองเห็นกลุ่มผู้ซื้อที่ชัดเจน และสร้าง site reference ให้กับธุรกิจในทันที ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการผลิต การตลาด ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก สร้างความร่วมมือทางธุรกิจที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และเกิดการรวมกลุ่มในลักษณะคลัสเตอร์ย่อยๆ ในห่วงโซ่อุปทานได้ เป็นการรวมกลุ่มที่ทำให้สามารถแบ่งปันทรัพยากร ( Share Resource ) ระหว่างกันได้ในกรณีที่เกิดปัญหาในกระบวนการ เช่น ด้านการจัดหาวัตถุดิบ และ/หรือสั่งซื้อวัตถุดิบมาเกินความต้องการใช้งาน

View :9392

ไอดีซีเผยตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรใหญ่ของไทยฟื้นตัวในปี 2553 และคาดว่าจะเติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้

June 13th, 2011 No comments

13 มิถุนายน 2554 กรุงเทพมหานคร – รายงานการศึกษาตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ประจำปี 2553 ของไอดีซี ระบุว่าตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยในปี 2553 เติบโตขึ้นจากปี 2552 ถึง 13.7% ถือว่าเป็นระดับที่สูงเมื่อเทียบกับการเติบโตของตลาดในปี 2552 เทียบกับ 2551 ซึ่งตลาดเติบโตในเชิงลบถึง -20.6% โดยไอดีซีคาดการณ์ว่ามูลค่ารวมของตลาดประเทศไทยจะประมาณ 187 ล้านเหรียญสหรัฐได้ในปี 2558 นั่นหมายความว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ระดับ 12.5%
 
แอชวาร์ยา คาปูร์ นักวิเคราะห์กลุ่มตลาดซอฟต์แวร์ประจำประเทศไทยของไอดีซีเผยว่า “อุปสงค์สำหรับแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่นั้นเริ่มแสดงถึงแนวโน้มที่เป็นบวกตั้งแต่ต้นปี 2553 แล้ว และยังคงรักษาแน้วโน้มนั้นได้ตลอดปี สถานการณ์ด้านการส่งออกที่ดีขึ้นทำให้การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น และการลงทุนในภาคนี้เองที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่โตขึ้น”
 
ในปีที่ผ่านมานั้น ตลาดในส่วนของแอพพลิเคชั่นบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) นั้นฟื้นตัวขึ้นเป็นอย่างมาก ตามด้วยตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) และตลาดแอพพลิเคชั่นด้านห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ (Product Supply Chain) ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นเพราะองค์กรขนาดใหญ่ได้จัดสรรงบประมาณมาลงทุนในส่วนของระบบปฏิบัติการหลักมากขึ้น
 
“ไอดีซีพบว่าตลาดซอฟต์แวร์บริหารสินทรัพย์ขององค์กร (EAM) ภายใต้ส่วนของ ERP นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตได้ให้ความสำคัญกับระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการดูแลรักษาสินทรัพย์ต่างๆ เช่นเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ในส่วนของการทำกระบวนการขายแบบอัตโนมัติก็ได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งสะท้อนผ่านการเติบโตของตลาดซอฟต์แวร์ CRM นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีก็มีส่วนกระตุ้นตลาดซอฟต์แวร์บริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ ที่ช่วยในการวางแผนจัดการสินค้าคงคลังและการสั่งซื้อของลูกค้าอีกด้วย” แอชวาร์ยา กล่าวเสริม
 
ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยถือได้ว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 3 ในบรรดาตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งตามหลังตลาดสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 15% ไอดีซียังพบว่าประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเติบโตของตลาดอยู่ในระดับสูงที่สุดประเทศหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้นับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศก็ตาม
 
การฟื้นตัวของตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านทำให้มูลค่าของตลาดรวมของประเทศแถบนี้ในปี 2553 สูงกว่ามูลค่าของตลาดก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2552 เสียด้วยซ้ำ โดยตลาด ERM เป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุดและยังมีส่วนแบ่งในตลาดรวมของแอปฟลิเคชันระดับองค์กรในภูมิภาคย่อยนี้สูงที่สุดอีกด้วย
 
ซิว-ชุน ลิว ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ของไอดีซี ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “การเติบโตอย่างเห็นได้ชัดของมูลค่าตลาดแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่แสดงถึงอุปสงค์จากองค์กรใหญ่ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และนั่นทำให้ตลาดในภูมิภาคนี้ยังคงเติบโตขึ้นไปได้อีกในอนาคต ไอดีซีคาดว่าระดับการเติบโตที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่องค์กรใหญ่ๆ เริ่มจัดสรรงบประมาณไปที่การปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานหลักมากขึ้น และในขณะเดียวกันยังขยายสาขาทั้งในประเทศและไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น”
 
และในปี 2554 นี้ ไอดีซีเชื่อว่าแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตประมาณ 14.5% ซึ่งตลาด CRM ยังคงเติบโตในอัตราสูงที่สุด เช่นเดียวกับตลาดของประเทศไทยที่ CRM จะเติบโตขึ้นจนทำให้ตลาดรวมขยายขึ้นประมาณ 15.4%

View :3375

ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ ชี้ผู้ผลิตไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าควรประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนอย่างไร

June 8th, 2011 No comments

ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ เปิดเผยผลสำรวจการปรับตัวเข้าสู่การผลิตแบบลีน(Lean Manufacturing) ว่ามีผู้ผลิตในประเทศไทยเกือบ 20% เท่านั้น   ที่ได้มีการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนในขั้นสูงแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และ สินค้าอิเล็คทรอนิคส์ แต่อย่างไรก็ตาม 70%บริษัทผู้เข้าร่วมการสำรวจนั้นได้มีการเริ่มวางแผนหรืออยู่ในขั้นเริ่มต้นของการประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนแล้ว โดยรายละเอียดทั้งหมดของการสำรวจนี้อยู่ในรายงานที่มีชื่อว่า “Driving Operations Excellence: Lean Adoption in Thailand”

ดร. วิลเลียม ลี ซึ่งเป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายวิจัยของ ไอดีซี แมนูแฟคเจอริ่ง อินไซด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า “ผู้ผลิตในประเทศไทยให้ความสำคัญไปที่การสร้างความเป็นเลิศทางด้านการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของตนเองในสภาวการณ์ที่ต้นทุนและความเข้มข้นของการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การนำปรัชญาการผลิตแบบลีนมาปรับใช้คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิผลและพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต แต่ก็เห็นได้ชัดว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีแผนพัฒนาและบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างชัดเจน”

การสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตในประเทศไทยประมาณ 90% ได้ยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การปรับใช้ระบบการผลิตแบบลีนเป็นไปได้ยากในขณะนี้คือการที่พนักงานในองค์กรนั้นไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยดร. ลีได้แนะนำว่า “สิ่งที่จำเป็นมากในการปรับใช้การผลิตแบบลีนคือการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การต่อต้านนั้นเป็นเหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลากรในองค์กรเห็นว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากไม่ได้รับการเห็นชอบหรือยอมรับจากบุคคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง การสั่งการใดๆ จากผู้บริหารก็อาจจะเห็นผลแค่ในระยะสั้นเท่านั้น เครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรที่ดีคือการใช้เทคนิคการทำแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) ซึ่งเป็นการทำให้แผนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นนามธรรมถูกสื่อออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม หากได้มีการวางแผนและสื่อสารให้พนักงานได้ทราบถึงขั้นตอนและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่างมีระบบแล้ว พนักงานในองค์กรก็จะพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ มากขึ้น”

ยิ่งไปกว่านั้นผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ยังชี้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนสำคัญในการสร้างช่องทางการเข้าถึง การแสดงผลการวิเคราะห์ และ การรายงานข้อมูล รวมทั้งยังช่วยในการจัดตารางการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการควบคุมคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มองเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก การควบคุมประสิทธิภาพใช้งานเครื่องมือ และการดูแลกิจกรรมการผลิตต่างๆ ซึ่งนี่แสดงให้เห็นว่าระดับการหลอมรวมข้อมูลภายในองค์กรของผู้ผลิตในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

“ไอทีมีส่วนสำคัญในการสร้างการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) ในองค์กรที่เป็นลีน” ดร. ลีกล่าวเสริม “ผู้ผลิตควรปรับใช้เครื่องมือและแอพพลิเคชันทางด้านไอทีที่เกี่ยวข้องกับลีน เพื่อเพิ่มการส่งผ่านข้อมูลและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร อันจะนำไปสู่การช่วยสร้างการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตแบบลีนและเชื่อมโยงขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในที่สุด”

ปัจจุบันผู้ผลิตในประเทศไทยยังคงต้องพบกับอุปสรรคในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตแบบลีนมากมาย ซึ่งการที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ให้ได้นั้น ต้องอาศัยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้อีกประการก็คือการฝึกอบรม และการสนับสนุนซึ่งกันและกันของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานนั่นเอง

ไอดีซีเชื่อว่า การผลิตแบบลีนที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดคลื่นการพัฒนาด้านการปฏิบัติงานระลอกใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่การผลิตแบบลีนตามแบบฉบับดั้งเดิมนั้นได้เดินทางมาถึงจุดๆ หนึ่งที่ปริมาณข้อมูลและความซับซ้อนของการทำงานได้เพิ่มมากขึ้นจนต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการแล้ว

View :1991