Archive

Archive for January, 2012

เปิดตัวโครงการ SAS Curriculum Pathways บทเรียนออนไลน์การศึกษาแนวใหม่

January 31st, 2012 No comments

แซส ซอฟท์แวร์ ร่วมกับ สวทช. สสวท. โรงเรียนมหิดลฯ และสพฐ. เปิดตัวโครงการ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ () ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เผยเป็นบทเรียนออนไลน์ที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยเสริมทักษะการเรียน และการวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ มีโรงเรียนในประเทศไทยนำไปใช้แล้วกว่า 60 แห่ง

รศ. ดร. คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ (SAS Curriculum Pathways) ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการฯ ว่า ด้วยบริษัท แซส อินสติทิวท์ อิงค์ (SAS Institute, Inc.) เป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อการศึกษา ชื่อว่า แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ (SAS Curriculum Pathways) ผ่านเว็บไซต์ http://www.sascurriculumpathways.com/ มีความประสงค์ทูลเกล้าฯ ถวายบทเรียน แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ (SAS Curriculum Pathways) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานต่อยังโรงเรียนในประเทศไทยตามพระราชอัธยาศัยเมื่อปี 2553 โดยมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ร่วมศึกษาบทเรียนและดำเนินงานโครงการเพื่อใช้ในโรงเรียนในประเทศไทย

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดเผยว่า ภายหลังจากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์แล้ว เห็นว่าเป็นเนื้อหาบทเรียนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่งและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงรับสั่งว่า มีเนื้อหาที่วิเคราะห์ที่ดีมาก หากได้นำมาใช้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นหน่วยงานสวทช. สสวท. สพฐ. และบริษัท แซส จึงเล็งเห็นประโยชน์ของแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ที่มีวิชาสอดคล้องกับการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาไทย
จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริฯ โดยส่งเสริมให้โรงเรียนต่างๆ ได้รู้จักบทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ และเข้าใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งได้เริ่มดำเนินการในปี 2553 มีโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา 10 แห่งเข้าร่วมนำบทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ไปนำร่องใช้งานในระยะแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 65 โรงเรียน ในปี 2555 และคาดหวังว่าจะเพิ่มเป็น 195 โรงเรียนภายในอีก 2 ปี

“การนำบทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ มาใช้ในโรงเรียนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูและนักเรียนได้เข้าไปเรียนรู้เนื้อหาเพื่อเสริมบทเรียนที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน โดยครูสามารถได้แนวคิดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และกระตุ้นให้แสวงหาความรู้เพิ่มเติม สำหรับนักเรียนสามารถพัฒนาความคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคม และประวัติศาสตร์ และยังช่วยพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น และแม้ว่าบทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ จะเป็นสื่อที่ไม่ได้ผลิตขึ้นตรงตามหลักสูตรของประเทศไทย แต่ครูสามารถเลือกเฉพาะบทเรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทย และนักเรียนยังมีโอกาสได้รับประโยชน์จากการศึกษาความรู้อื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากบทเรียนในหลักสูตรอีกด้วย นอกจากนี้เพื่อให้ผู้ใช้บทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนแนวทางการใช้บทเรียนนี้ในวิชาต่างๆ ทางสวทช. จึงได้จัดเตรียมเครื่องมือ โซเชียล เน็ตเวิร์ค หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ เฟซบุ๊ค และ Ning.com ไว้เพื่อให้คณะครูอาจารย์ได้ร่วมกันแบ่งปันแนวทางการใช้บทเรียนนี้ในวิชาต่างๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งในขณะนี้มีโรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากโซเชียล เน็ตเวิร์ค เป็นเสมือนห้องเรียนออนไลน์ในการสื่อสารกันระหว่างครูกับนักเรียนอีกด้วย” ดร. ทวีศักดิ์ กล่าว

ด้านนายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท แซส อินสติทิวท์ อิงค์ (SAS Institute, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแซส ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ในปี 2551 เพื่อให้นักศึกษาและนักเรียนในสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง ใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมและประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน ได้ในทุกที่ทุกเวลาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ปัจจุบันมีครูจำนวน 70,000 คนและโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 18,000 แห่งนำไปใช้งานแล้ว

ทั้งนี้บทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อสังคม โดยมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกทีทุกเวลา และเตรียมความพร้อมของนักเรียนในการเข้าสู่การศึกษาในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย อีกทั้งเพื่อเข้าสู่สังคมฐานความรู้ทางออนไลน์

“จากความสำเร็จในการนำบทเรียนทางออนไลน์ไปใช้ในสหรัฐอเมริกา บริษัทฯ จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำบทเรียนดังกล่าวมาใช้ในโรงเรียนในประเทศไทย เพื่อเป็นการเสริมเนื้อหาหลักสูตรการศึกษาในประเทศไทยโดยได้ทูลเกล้าฯ ถวายบทเรียน แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ดังกล่าวแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานต่อยังโรงเรียนในประเทศไทยตามพระราชอัธยาศัย” นายทวีศักดิ์ กล่าว

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)เปิดเผยว่า หลังจากได้ศึกษาบทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ปรากฏว่า เป็นบทเรียนที่เข้าใจง่าย เนื่องจากมีภาพประกอบบทเรียนที่ใช้กราฟิกสวยงาม ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อในการเรียนรู้ นอกจากนั้นยังสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี โดยทางสสวท. ได้จัดทำคู่มือการใช้และการจัดอบรมให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากโรงเรียน ครู และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ

“คุณลักษณะของบทเรียนออนไลน์ แซส เคอริคูลัม พาธเวย์ ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้หลากหลาย ทั้งแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (Interactive) และแบบดั้งเดิม (Traditional) ที่มีการสอนแบบบรรยายและมีเอกสารให้อ่าน ได้จัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบทั้งแผนการเรียนการสอน กิจกรรมออนไลน์ แบบจำลอง และทรัพยากรในเว็บไซต์ที่เน้นการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะสำคัญในเนื้อหานั้นๆ สืบค้นง่าย ไม่ซับซ้อนมีคำแนะนำ ให้ปฏิบัติทุกขั้นตอน มีความยากง่ายหลายระดับ มีการออกแบบให้ครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Teaching Facilitator หรือ Coach) ให้แก่นักเรียน สามารถยืดหยุ่นในการนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความถนัด บริบทของห้องเรียน และดุลยพินิจของครูอีกด้วย” ผู้อำนวยการสสวท. สรุปความคืบหน้าการทำงานและจุดเด่นของบทเรียน

ผศ. ดร. ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ กล่าวว่า ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งว่า เนื้อหาวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ของบทเรียน แซส เคอริคูลัม พาธเวย์นั้นมีการวิเคราะห์ที่ดี และน่าจะเป็นประโยชน์หากมีการนำไปใช้ ดังนั้นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงได้สนองพระราชดำริโดยสนับสนุนนักวิชาการด้านสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ คือ อาจารย์วชิราวรรณ บุนนาค หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้มีส่วนร่วมในการศึกษานำร่องการใช้บทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ และวิเคราะห์ว่า จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ได้อย่างไร โดยเฉพาะกิจกรรมลักษณะ Inquiry หรือการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ตลอดจนได้ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การใช้งานให้แก่ครูในโรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในการประยุกต์ใช้บทเรียนแซส เคอริคูลัม พาธเวย์ และสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนตามบริบทโรงเรียนของตนได้ต่อไป

View :1852

ซอฟต์แวร์พาร์คเร่งผนึกกำลัง 3 พาร์ค ร่วมขยายความเข้มแข็งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่ระดับภูมิภาค เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ AEC 2015

January 31st, 2012 No comments

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ 3 เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ส่วนภูมิภาคใน 3 จังหวัดคือ อีสานซอฟต์แวร์พาร์ค ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต และโคราชซอฟต์แวร์พาร์ค ก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศไทย หรือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไอทีไทยสู่ระดับภูมิภาค เตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ASEAN Economic Community: AEC 2015)

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช. กล่าวว่า “สวทช. เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และไอทีเป็นอุตสาหกรรมฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจอื่นๆ และเป็นปัจจัยที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ และ สวทช. มีหน่วยงานที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอที 2 หน่วยงานด้วยกัน คือ NECTEC ซึ่งมีมุ่งเน้นการทำวิจัยด้านไอทีและอิเลคทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์พาร์ค มุ่งเน้นการส่งเสริมผู้ประกอบการและการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยเป็นพาร์คแห่งแรก และเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการซอฟต์แวร์พาร์คในไทย ทั้งนี้เพื่อขยายผลการดำเนินงานของซอฟต์แวร์พาร์ค จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรี หรือ AEC 2015 เพราะหากไม่เตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมให้ทั่วถึงส่วนภูมิภาคของประเทศ อาจจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในอนาคต”

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวว่า “การรวมกลุ่ม Thailand Software Park Alliances (TSPA) นั้น เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม ให้เกิดผลในภาพรวมต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์ค ออกสู่พาร์คต่างๆในภูมิภาค รวมถึงความร่วมมือในด้านอื่นๆ อาทิ 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่และบริษัทผู้เช่าในพาร์คต่างๆ 2. การส่งเสริมผู้ประกอบการ และการขยายตลาดซอฟต์แวร์ ผ่านกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างช่องทางในการทำธุรกิจและบุกตลาดในประเทศร่วมกัน 3. การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีศักยภาพในการออกตลาดต่างประเทศ และเตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และ 4. กิจกรรมส่งเสริมการใช้ไอทีในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น โดยกิจกรรมต่างๆ ของซอฟต์แวร์พาร์คที่มีอยู่เดิมจะพยายามขยายผลออกสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น ภายใต้ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน”

ผอ.ซอฟต์แวร์พาร์ค กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “พาร์คต่างๆ ทั้งที่ดำเนินงานโดยภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน แม้ว่าจะจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งเน้นที่ต่างกันในแต่ละแห่ง แต่ทุกพาร์คมีเป้าหมายร่วมเดียวกันคือการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผนึกกำลังร่วมมือกัน โดยใช้จุดแข็งของแต่ละแห่ง เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่าย และร่วมวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อเตรียมพร้อมรับมือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 อันจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีในด้านการตลาด การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างอิสระ ซึ่งหากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงบุคลากรไอทีไทยไม่เตรียมพร้อมรับมือ จะทำให้เกิดความเสียเปรียบจากการเปิด AEC 2015 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงในปัจจุบันนี้ Business Model ในการดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง โดยมีแนวโน้มว่ารูปแบบของซอฟต์แวร์จะเเปลี่ยนจาก Product เป็น Service มากขึ้น หากผู้ประกอบการไม่เตรียมตัวอาจจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจและขาดศักยภาพในการแข่งขันโดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยของ AEC 2015 เข้ามาร่วมด้วย

โดยในปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คเองในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จึงได้มุ่งเน้นแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ภายใต้หลักการตามที่คณะกรรมการบริหารของซอฟต์แวร์พาร์คได้ให้แนวทาง 3 ประการคือ 1. การดำเนินงานให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆที่มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความเป็นเอกภาพในการทำงาน อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 2. ผลักดัน Emerging Technology อาทิเช่น Cloud and Mobile Technology ให้เกิด Ecology ที่สมบูรณ์และมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่คาดว่าจะสร้างประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยได้เป็นอย่างดี 3. ผลักดันการรวมตัวของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในประเทศเพื่อขยายผลกิจกรรมออกสู่ภูมิภาค และร่วมวางแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ AEC 2015 รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมไปถึงการขยายผลความร่วมมือของเครือข่ายซอฟต์แวร์พาร์คในระดับเอเชีย โอเชียเนีย (Asia Oceania Software Park Alliance) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน”

ผศ.วันชัย สุ่มเล็ก ผอ.ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ E-Saan Software Park กล่าวว่า “บทบาทของอีสานซอฟต์แวร์พาร์คที่ผ่านมาคือ ช่วยสนับสนุนจังหวัดขอนแก่นในนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเผยแพร่ความรู้ให้กับบุคลากรทุกระดับ พัฒนานักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นผู้ประกอบการด้านไอทีโดยผ่านกระบวนการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Incubate) พัฒนาบัณฑิตของสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ในแต่ละปีสถาบันการศึกษาในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ได้ผลิตบุคคลากรด้านซอฟต์แวร์และไอทีจำนวนกว่า 1000 คน แต่ปริมาณงานทางด้านไอที รวมถึงบริษัทซอฟต์แวร์และไอทีในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียงยังมีไม่มากพอที่จะรองรับบุคคลากรที่สถาบันการศึกษาผลิตได้ ส่งผลนักศึกษาที่จบการศึกษาทางด้านไอทีเหล่านั้นต้องจากถิ่นฐานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯและปริมณฑลหรือเปลี่ยนไปทำงานในด้านอื่นที่ไม่ใช้ความรู้ด้านไอที สิ่งที่อีสานซอฟต์แวร์ปาร์ควางแผนที่จะดำเนินการต่อไป คือ ร่วมมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ฯ สถาบันการศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผ่านกระบวนการสหกิจศึกษาโดยคาดหวังว่านักศึกษาจะเข้าใจธุรกิจด้านนี้ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจมาก โดยจะนำจุดแข็งในเรื่องของการสร้างคน และมุ่งมั่นที่จะสร้างอีสานซอฟต์แวร์พาร์คให้เป็น “Thailand Local Outsourcing Center” เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และสร้างบุคลากรไอทีให้พร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของ AEC 2015”

นางปวันรัตน์ ปานรักษา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ““จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดขนาดใหญ่เป็นที่สองของประเทศไทย ที่มีแหล่งรายได้หลัก มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการขับเคลื่อนกิจการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ ดังนั้นจึงเกิดความต้องการซอฟต์แวร์ ตลอดจนแรงงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมาก แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดนครราชสีมายังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรดังกล่าว ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่สาคัญ 3 ประการ คือ 1. นักศึกษาทางด้าน ICT ที่จบมาจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการประกอบอาชีพทางด้าน ICT ไม่อยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน 2. ผู้ประกอบการ ICT ในพื้นที่มีจานวนน้อยเกินไป และมีขนาดเล็ก ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการของกิจการต่างๆที่มีในโคราชซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดใหญ่ และ 3. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างกิจการต่างๆ ที่มีความต้องการทางด้าน ICT กับผู้ประกอบการ ICT

สำหรับความร่วมมือในกลุ่ม Thailand Software Park Alliances ในครั้งนี้ จะทำให้เกิดกิจกรรมสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และการขยายฐานการตลาดของธุรกิจซอฟต์แวร์ออกสู่พื้นที่จังหวัดนครราชสีมามากขึ้น โดยกิจกรรมหลักของความร่วมมือจะเน้นไปในส่วนของการจับคู่ระหว่างธุรกิจผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ไอทีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง”

นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต หรือ Software Park Phuket กล่าวว่า “การรวมตัวของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศครั้งนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ที่แต่ละพาร์คซึ่งมีจุดแข็งแตกต่างกัน สามารถมารวมตัวและผนึกกำลังกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมเป้าหมาย และพร้อมรับมือกับ AEC 2015 ต่อไป

ผลการดำเนินงานของเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการโดยการจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนกว่า 100 โครงการ รวมถึงการให้การสนับสนุนการบ่มเพาะธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และ ICT จำนวน 22 ราย ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการสนับสนุนงานวิจัยให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้แล้วยังสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่อสังคม เช่น เป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างโอกาสในการทำงานของนักศึกษาผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงานและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้สูงวัยที่สนใจเทคโนโลยี เป็นต้น
ภายใต้ความร่วมมือและความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดภูเก็ต ผนวกกับจุดแข็งของการเป็นเมืองน่าอยู่ในสายตาของนานาชาติ ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ส่งเสริมให้ภูเก็ตมีโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมใหม่นี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมอุดมปัญญา ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตได้ในอนาคต
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ยังคงมุ่งมั่นและพร้อมที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น “Value Creation” ด้วยแนวคิด “Lifestyle, Inspiration, Creativity” ด้วยวิถีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม ผ่านการเชื่อมโยง สนับสนุนการสร้างและการพัฒนาสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เพื่อก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ เพื่อการเข้าถึงตลาดใหม่ในประชาคมโลก และเป็นฐานรากที่เข้มแข็งสู่การนำความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจของภูมิภาคและประเทศอย่างยั่งยืน”

View :2005

โซนี่มิวสิค ตั้งเป้าชิงแชร์ส่วนแบ่งตลาดคอนเทนต์บนแอนดรอยด์ 100%

January 30th, 2012 No comments

พร้อมเปิดตัวแอนดรอยด์มิวสิคสโตร์ รองรับการขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟน

โซนี่มิวสิค ตั้งเป้าชิงแชร์ส่วนแบ่งตลาดคอนเทนต์บนแอนดรอยด์ 100% พร้อมเปิดตัวแอนดรอยด์มิวสิคสโตร์ รองรับการขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟน ปี2012 ด้วยบริการ “ไอ-ฮัม มิวสิค”(i-hUMM Music) สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและรักในการฟังเพลง โดยจุดเด่นของบริการนี้อยู่ที่การเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่มีเพลงให้เลือกมากมายหลากหลายครบทุกอารมณ์ จากค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง โซนี่มิวสิค ทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าแอนดรอยด์สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่านทางแอนดรอยด์แอพพลิเคชั่น ด้วยอัตราค่าบริการที่มีให้เลือก 2 แบบ แบบแรกคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายในราคาเพียง 100 บาท/6เดือน หรือแบบที่สองคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายเพียง 150 บาท/ปี มั่นใจบริการดังกล่าวจะสามารถกินรวบฐานลูกค้าผู้ใช้แอนดรอยด์ในเมืองไทยได้เป็นอย่างดี

พอล มนัสถาวร ผู้อำนวยการกลุ่มงานดิจิตอล บริษัท โซนี่ มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนต์ โอเปอเรติ้ง(ประเทศไทย) จำกัด


นายพอล มนัสถาวร ผู้อำนวยการกลุ่มงานดิจิตอล บริษัท โซนี่ มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนต์ โอเปอเรติ้ง(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สืบเนื่องจากนโยบายของบริษัทฯในปีนี้ มุ่งเน้นที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นช่องทางใหม่ๆให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ของโซนี่มิวสิคได้มากยิ่งขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วทางโซนี่มิวสิคได้ชิมลางตลาด iOS ด้วยการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ใช้มือถือประเภท iOS ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น และได้รับกระแสตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ในปีนี้โซนี่มิวสิคจึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์(Android) โดยเห็นได้จากส่วนแบ่งทางการตลาดของสมาร์ทโฟนที่เป็นแอนดรอยด์ในปีที่ผ่านมามียอดคนใช้งานสูงถึง 46.3% รองลงมาคือระบบปฏิบัติการ iOS ที่มียอดคนใช้งานสูงถึง 30% โดยในปีนี้ระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ทาง โซนี่มิวสิค ได้เปิดตัวแอนดรอยด์มิวสิคสโตร์รูปแบบใหม่ล่าสุด ภายใต้ชื่อ “ไอ-ฮัม มิวสิค” (i-hUMM Music) เพื่อให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลดคอนเทนต์ประเภท เพลง MP3 , มิวสิควีดีโอ ทั้งไทยและต่างประเทศมาเก็บไว้ในมือถือได้อย่างง่ายดาย ด้วยขั้นตอนง่ายๆไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “ไอ-ฮัม มิวสิค” (i-hUMM Music) จาก “แอนดรอยด์ มาร์เก็ต” (Android Market) ลงมาไว้ในมือถือ จากนั้นก็ทำการสมัครเป็นสมาชิก โดยอัตราค่าบริการสำหรับสมาชิกแบบเหมาจ่าย 100 บาท/6เดือน และ 150 บาท/1ปี เพียงเท่านี้ก็สามารถทำการดาวน์โหลดคอนเทนต์จากสังกัดโซนี่มิวสิคได้ทันที

““ที่ผ่านมาโซนี่มิวสิคให้ความสำคัญในการที่จะพัฒนาช่องทางใหม่ๆเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ของโซนี่มิวสิคได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมองว่ายังไม่มีเจ้าของคอนเทนต์รายใดหันมาให้ความสำคัญกับตลาดกลุ่มนี้อย่างจริงจัง จึงมั่นใจว่าการเปิดตัวแอนดรอยด์มิวสิคสโตร์ในครั้งนี้จะส่งผลต่อภาพรวมของตลาดคอนเทนต์และตลาดดาต้าให้เติบโตขึ้นอีกด้วยเช่นกัน และ พิเศษสุดๆ…สำหรับลูกค้าโซนี่ อิริคสัน ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถใช้บริการดาวโหลดคอนเทนต์ต่างๆ อาทิ มิวสิควีดีโอ และเพลง MP3 ได้ฟรี!!!! ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2555 หรือสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง www.facebook.com/sonymusic ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายพอลกล่าวทิ้งท้าย

View :2072

Thailand Mobile Expo 2012 คึกคักรับต้นปี ยอดเงินสะพัดทะลุเป้า

January 30th, 2012 No comments

เอ็ม วิชั่น ผนึกกำลังพันธมิตรโทรศัพท์มือถือกว่า 30 แบรนด์ชั้นนำ จัดงาน “” ครั้งที่ 12 มหกรรมโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ต้อนรับศักราชใหม่ เมื่อวันที่ 26-29 มกราคม ที่ผ่านมา

นาย โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด เปิดเผยถึงภาพรวมของการจัดงาน “Thailand Mobile Expo 2012” ด้วยจำนวนผู้เข้าชมงานใกล้เคียงจากครั้งที่ผ่านมาประมาณ 6.3 แสนคน ส่วนยอดเงินสะพัดภายในงานสูงถึง 1,600 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้กว่า 10% เนื่องจากผู้บริโภคสนใจเลือกซื้อสินค้าในกลุ่มแท็บเล็ตมากขึ้นถึง 50% เห็นได้จากสัดส่วนในการจำหน่าย ซึ่งได้รับกระแสจาก โครงการ “One Tablet PC Per Child” ของรัฐบาล ทำให้เกิดการตื่นตัวของสินค้ากลุ่มแท็บเล็ต ประกอบกับในช่วงนี้ สินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟน ยังไม่มีนวัตกรรมที่แปลกใหม่จากเดิมมากนัก ทำให้ผู้บริโภคหันไปให้ความสนใจแท็บเล็ตมากขึ้น อีกทั้งยังมีกิจกรรมให้ผู้บริโภคได้สัมผัส ทดลองและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ และสอนการใช้งานในเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือได้อย่างคุ้มค่าและตรงตามความต้องการได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของการจัดงาน อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นตลาด สร้างความคึกคักให้กับวงการมือถือได้อีกครั้งหนึ่ง

นาย โอภาส กล่าวต่อว่า ตลอดการจัดงานที่ผ่านมาในครั้งนี้ แนวโน้มของกลุ่มผู้เข้าชมงานมีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยกลุ่มวัยทำงานที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-35 ปี นั้นมีจำนวน 50% ของผู้เข้าชมงานทั้งหมด ส่วนกลุ่มนักเรียน-นักศึกษาอายุระหว่าง 18-25 ปี นั้นลดลงกว่า 10% เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในช่วงภาวะน้ำท่วม โดยเหตุปัจจัยที่ทำให้มีการเลือกซื้อสินค้าภายในงาน นอกจากโปรโมชั่นบัตรเครดิตและส่วนลดพิเศษต่างๆ แล้ว สินค้ากลุ่มแท็บเล็ตยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ราคาแท็บเล็ตมีราคาถูกตั้งแต่ 9,900 บาท ไปจนถึง 22,000 บาทส่วนทางด้านของตลาดสมาร์ทโฟนระดับ Hi-End นั้นอยู่ในช่วงราคาตั้งแต่ 15,000 – 18,900 บาท ยกเว้นกลุ่ม iPhone และ iPad ที่มีราคามากกว่า 20,000 บาท และสมาร์ทโฟนระดับ Mid-End ซึ่งมีราคาอยู่ในช่วง 8,900 – 14,900 บาท ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจ เพราะแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนที่มีจำหน่ายภายในงานหลายต่อหลายรุ่นนั้นมาพร้อมฟังก์ชั่นที่ครบครันในราคาที่เหมาะสม ซึ่งก็ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบันซึ่งมองไปที่ความคุ้มค่าในการใช้งานเป็นปัจจัยหลักสำหรับการเลือกซื้อ อีกทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนเครือข่าย 3G ก็มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกระตุ้นให้เกิดความต้องการเปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่เป็นสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งานได้ โดยแอนดรอยด์ก็ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนที่มาแรงเหมือนเช่นเคย ด้วยยอดจำหน่ายสูงถึง 90% ของโทรศัพท์มือถือทั้งหมดที่จำหน่ายภายในงาน

แล้วพบกันใหม่ที่งาน “Thailand Mobile Expo 2012 Showcase” ครั้งที่ 13 มหกรรมโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4 – 7 ตุลาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. เป็นต้นไป

View :1723

ก.ไอซีที เดินหน้าสร้างความรู้ “ระบบการบริหารจัดการข้อมูลในสภาวะวิกฤติ”

January 30th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ “ระบบการบริหารจัดการข้อมูลในสภาวะวิกฤติ และวิสัยทัศน์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” ว่า ในการบริหารจัดการสาธารณภัยนั้น มีเป้าหมายเพื่อการหลีกเลี่ยง ลด หรือบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งด้านชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งการที่จะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการปัจจัยสำคัญต่างๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการข้อมูล และเครือข่ายข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และความน่าเชื่อถือในการประมวลผลข้อมูล เพื่อการแจ้งเตือนล่วงหน้า และการบูรณาการ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ

“จากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้จัดทำระบบการบริหารจัดการข้อมูลในสภาวะวิกฤติขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยทั้งในระดับชาติ และในระดับท้องถิ่น ตลอดจนศักยภาพด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติในระยะต่างๆ พร้อมทั้งได้จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ระบบงานดังกล่าว รวมถึงการนำเสนอข้อมูลทิศทาง นโยบาย และวิสัยทัศน์ของกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการพิบัติภัย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในแนวทางการทำงานของหน่วยงานในสังกัด ตลอดจนส่งเสริมประสิทธิภาพความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ทำให้หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องในภารกิจดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ต้องเรียนรู้ ศึกษา พัฒนา และปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การทำงานได้อย่างสมบูรณ์ สามารถบริหารจัดการข้อมูล แจ้งเตือนภัย ควบคุม สั่งการ และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านพิบัติภัยในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ เชื่อถือได้ทั้งในยามปกติ และในสภาวะวิกฤติ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ทำการศึกษา ออกแบบ และจัดทำต้นแบบ เพื่อใช้เป็นช่องทางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการพิบัติภัย

ดังนั้น เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบงานดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จึงได้จัดการสัมมนาฯ ขึ้น เพื่อนำเสนอภาพรวม และรูปแบบของระบบงาน ตลอดจนวิธีการในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างองค์กรภาคต่างๆ รวมทั้งนำเสนอทาง นโยบาย และแนวทางการทำงานของกระทรวงฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งทางด้านความคิด และความร่วมมือในการบริหารจัดการข้อมูลพิบัติภัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เห็นถึงความชัดเจนในแนวทางการทำงานของหน่วยงานในสังกัด ตลอดจนช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มศักยภาพในระบบการบริหารจัดการ การปฏิบัติการ และการตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ทั้งระบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล แม่นยำ ทั่วถึง มีเสถียรภาพมั่นคง และเชื่อถือได้

View :1570

ก.ไอซีที ร่วมมือ มสธ. พัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT

January 30th, 2012 No comments

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT ระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช () ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีบทบาทสำคัญยิ่งกับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมความพร้อมของประชาชนและชุมชนให้มีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเครื่องมือที่จะพัฒนาคนในภาคส่วนต่างๆ อย่างเท่าเทียม ที่กระทรวงฯ มีอยู่ นั่นคือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่พร้อมจะให้หน่วยงาน ภาคส่วน และภาคีร่วมกันใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการให้เกิดขึ้นกับชุมชน

“ในอนาคต ICT จะกลายเป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมของการพัฒนาในทุกๆ เรื่อง รวมถึงการดำรงชีวิตตาม วิถีเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทยไว้เป็นแนวทาง ในการดำรงชีวิต การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ การทดลองเปลี่ยนแปลง และการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง จึงมีความสำคัญในการน้อมนำมาสู่การปฏิบัติในชีวิตจริง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ดังนั้น กระทรวงไอซีที และ มสธ. จึงได้จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนและวางแนวทางการใช้ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เป็นเครื่องมือของชุมชนพอเพียง” นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการฯ นั้น กระทรวงฯ จะร่วมกับ มสธ. และหน่วยงานภาคีพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ICT อย่างน้อย 4 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรการสร้างความรู้ ความเข้าใจและภูมิคุ้มกัน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 2.หลักสูตรสำหรับผู้นำสตรีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว 3.หลักสูตรสำหรับผู้นำเยาวชนในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ และ 4.หลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้การเรียนรู้ผ่านการศึกษาทางไกล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุนชน ซึ่งปี 2555 นี้ จะดำเนินการในชุมชนนำร่อง จำนวน 840 แห่ง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในปี 2554 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2555 ก่อนจะขยายผลไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่พสกนิกรอย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามความร่วมมือกับ มสธ. ครั้งนี้ เป็นการขยายพันธมิตรเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมและการสร้างประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่มีอยู่ ทั่วประเทศ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในปี 2555 นี้ กระทรวงฯ มีเป้าหมายที่จะร่วมกับ มสธ.ในการคัดสรรชุมชนที่มีศักยภาพ มีความพร้อม และต้องการที่จะเป็นชุมชนนำร่องจำนวน 840 ชุมชน และส่งเสริมให้ชุมชนเหล่านั้นได้ใช้สื่อและหลักสูตรออนไลน์ที่จะพัฒนาขึ้น โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาผลักดันในเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ รวมถึงการติดตามแก้ไขปัญหาในเชิงเทคนิค เพื่อให้ชุมชนได้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนได้ทุกเมื่อ และเกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

View :1549

ซอฟต์แวร์พาร์ค/สวทช.เร่งสร้างมาตรฐานผู้ประกอบการซอฟต์แวร์

January 29th, 2012 No comments

เพื่อวางรากฐานและยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างมีศักยภาพพร้อมก้าวสู่การแข่งขันในเวทีระดับโลกอย่างมั่นใจ พร้อมประกาศผลผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐาน ® จากวงการซอฟต์แวร์โลก

แถลงข่าวผลการดำเนินการโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟแวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รุ่นที่ 2 ( II) และการแสดงความยินดีมอบโล่เกียรติคุณให้กับบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration หรือ CMMI® โดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า

“เนื่องจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกทำให้บริษัทข้ามชาติ และ ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ หันมามุ่งเน้นธุรกิจและกิจกรรมที่เป็น Core Business เป็นหลัก และเน้นการ Outsource งานในส่วนของ IT ออกไปมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาด IT Outsourcing ทั้งในและต่างประเทศโตขึ้น มาตรฐานการผลิตซอฟต์แวร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน ซึ่งในการเข้าไปรับงาน Outsource ทั้งตลาดภายในประเทศและเวทีโลก โดยเกณฑ์การคัดเลือก Supplier ที่สำคัญ ก็คือ CMMI®

ซึ่งหลายประเทศที่ต้องการมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นใน Global Outsourcing Market ที่กำลังโตขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ภาครัฐในประเทศต่างๆเร่งผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ให้ได้รับมาตรฐาน CMMI® มากขึ้น ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมและการประเมินตั้งแต่ 70%-100% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น เวียดนาม ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีบริษัทที่ผ่าน CMMI® มากกว่า 100 ราย ภายใน 4 ปี และมาเลเซีย ตั้งเป้าให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกรวมเป็น 100 ราย

และจากผลสำรวจของบริษัทซอฟต์แวร์ในโครงการ SPI@ease Phase 1 พบว่าการสื่อสารภายในองค์กรและกับลูกค้าดีขึ้นมาก การประมาณการ (Estimate) แม่นยำมากขึ้น สามารถส่งมอบงานได้ตรงตามกำหนดเวลามากขึ้น ได้รับความเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก ยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น และลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การรับงานจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าโครงการ SPI@ease Phase 1 เป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทย สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถพัฒนาสายสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าให้ดีขึ้น พร้อมสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทาง สวทช.โดยซอฟต์แวร์พารค์ จึงเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์ จึงเปิดโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์ในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นรุ่นที่ 2 (SPI@ease II) หลังจากที่เปิดโครงการฯ รุ่นที่ 1 (SPI@ease I) เมื่อ 3 ปีที่แล้วประสบความสำเร็จและมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม โครงการฯ จำนวน 26 บริษัท และผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 23 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 5 จำนวน 1 บริษัท

s Level 3 จำนวน 13 บริษัท

s Level 2 จำนวน 9 บริษัท

และโครงการฯ SPI@ease II (ยังไม่สิ้นสุดโครงการฯ) มีบริษัทซอฟต์แวร์เข้าร่วม จำนวน 22 บริษัท ผ่านการรับรองมาตรฐาน CMMI® จำนวน 6 บริษัท แบ่งเป็น

s Level 3 จำนวน 3 บริษัท

s Level 2 จำนวน 3 บริษัท

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรากำลังเป็นที่จับตามมองในวงการซอฟต์แวร์โลกจากการประกาศผลอย่างเป็นทางการล่าสุดจาก Software Engineering Institute (SEI) เมื่อเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทที่ผ่านการประเมิน CMMI® จัดเป็นอันดับ 2 ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งสิ้น 71 บริษัท และการที่ประเทศไทยจะปรากฏในแผนที่ซอฟต์แวร์โลกได้นั้น การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากภาครัฐในการขยายผลและต่อยอดโครงการ SPI@ease ใน Phase 2 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างรากฐานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับประเทศ พร้อมที่จะก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลกอย่างมั่นใจ”

นอกจาก CMMI® จะสร้างความน่าเชื่อถือในระดับประเทศ และบริษัทเองแล้วนั้น จากรายงานการสำรวจถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® ล่าสุดประจำปี 2008 โดย DACs หรือ Data Analysis Center for Software, ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับจากการทำ CMMI® อย่างเป็น รูปธรรมมีดังต่อไปนี้

r ผลตอบแทนการลงทุน หรือ ROI เพิ่มขึ้น 3 เท่า

r ประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มขึ้น 39%

r ค่าใช้จ่ายในโครงการ ลดลง 30%

r Cycle Time ลดลง 38%

r ค่าความเบี่ยงเบนจากแผนการดำเนินงานลดลง 40%

r ลดการทำงานซ้ำซ้อน หรือ Rework ลงถึง 60%

r ลดจำนวนความผิดพลาด หรือ Defect ลง 50%

เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา Gartner ประกาศผลการจัดอันดับ Top 30 Countries for Offshore Services และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ติดอันดับ โดย Gartner ได้คัดเลือกและจัดอันดับจาก 72 ประเทศทั่วโลก โดยส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนและผลักดันบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอย่างจริงจังในเรื่องมาตรฐานการผลิตและคุณภาพซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโต เข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยปักธงในเวทีซอฟต์แวร์ระดับสากล และ เริ่มมีส่วนแบ่งในตลาด Outsource เพิ่มขึ้น

View :1606
Categories: Software Tags: ,

ก.ไอซีที เดินหน้าป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมให้เยาวชน

January 29th, 2012 No comments

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในงานสัมมนาเรื่อง “การป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน” ภายใต้ โครงการจัดการดูแลและเฝ้าระวังภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม ว่า ปัจจุบันเยาวชนไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน สถานศึกษา และร้านอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยใช้ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร สร้างความบันเทิง และเสริมสร้างความรู้ อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น อาจเป็นช่องทางให้เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้รับทราบข่าวสาร ข้อมูล และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อันอาจทำให้เยาวชนนำไปเป็นแบบอย่างในทางเสื่อมเสีย ทั้งในการแสดงออก การกระทำและการดำเนินชีวิต เช่น ภาพลามกอนาจาร พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ การชักชวนให้เล่นพนัน การติดยาเสพติด การใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนหรือเยาวชน เป็นต้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าในปัจจุบันผู้กระทำความผิดในกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการสัมมนาเรื่อง “การป้องกันภัยแฝงจากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และเกมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน” ภายใต้โครงการจัดการดูแลและเฝ้าระวังภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรับทราบข้อมูลและเกิดการเรียนรู้ถึงภัยจากเว็บไซต์ และเกม ที่ไม่เหมาะสมต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมประชาชน สถาบันครอบครัว และสถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศ ให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

พร้อมกันนี้ ยังมีจุดประสงค์เพื่อแจกจ่ายชุดโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษา ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการ การใช้งานอินเทอร์เน็ต การป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเยาวชน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 20 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งกระทรวงฯ ได้เชิญผู้แทนจากสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ตัวแทนหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป กว่า 500 ท่าน เข้าร่วมการสัมมนา

“การสัมมนาในครั้งนี้ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการป้องกันภัยแฝงจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน รวมทั้งยังเป็นการเผยแพร่โปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์ ที่กระทรวงฯ ได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ปกครองและโรงเรียนใช้ในการดูแลและปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสามารถควบคุมและจัดการเวลาการเล่นอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการใช้งานคอมพิวเตอร์ของเยาวชน โดยโปรแกรมเฮ้าส์คีปเปอร์นี้ได้พัฒนาให้เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งแจกจ่ายฟรีสำหรับทุกคน เพื่อใช้ปกป้องเยาวชนไทยจากภัยแฝงที่มาพร้อมกับการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี” นางจีราวรรณ กล่าว

View :1597

ก.ไอซีที จัดอบรมคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิด

January 27th, 2012 No comments

นายชัยโรจน์ จิรพัฒนเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงการอบรมในหลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิด ว่า ปัจจุบันข้อมูลเชิงพื้นที่ () ซึ่งหมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงวัตถุต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลก และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่แสดงอยู่ในรูปของตำแหน่งโดยกำหนดเป็นพิกัด (Coordinate) ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาในลักษณะที่เป็นข้อมูลจะเรียกว่า “” นั้น ได้มีกระบวนการจัดทำและผลิตที่ก้าวหน้าไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำและผลิตข้อมูลดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่จำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีความต้องการที่จะนำไปใช้งานในการจัดการเชิงพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปีด้วย

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้มีการจัดทำโครงการศึกษาและพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดด้านภูมิสารสนเทศทั้งระบบขึ้น เพื่อลดภาระการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในการจัดซื้อชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านภูมิสารสนเทศประเภทต่างๆ จากต่างประเทศในราคาที่ค่อนข้างสูง โดยการพัฒนาชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดดังกล่าวจะทำให้ได้ชุดคำสั่งที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหา รวมทั้งมีศักยภาพที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชุดคำสั่งที่จัดซื้อมาในราคาแพง

และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดที่พัฒนาขึ้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการอบรม 4 หลักสูตรเพื่อให้ครอบคลุมเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ คือ 1.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์รหัสเปิด (Desktop GIS) 2.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์รหัสเปิดด้านการจัดทำระบบให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web-based GIS) 3.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด (Remote Sensing) และ 4.หลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศรหัสเปิด (Photogrammetry)

“การจัดอบรมทั้ง 4 หลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การประยุกต์ใช้ชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการจัดการเชิงพื้นที่รหัสเปิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ ให้แก่กลุ่มผู้ใช้งานในทุกภาคส่วนได้รับทราบ รวมทั้งเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คำสั่งฯ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน พร้อมกันนี้ยังเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้ารับการอบรมฯ ทั้งหมดประมาณ 103 หน่วยงาน ซึ่งได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ 61 แห่ง หน่วยงานภาคเอกชน 18 แห่ง และสถาบัน การศึกษา 24 แห่ง

ส่วนการอบรมฯ ในครั้งนี้เป็นการอบรมในหลักสูตรชุดคำสั่งประยุกต์ด้านการประมวลผลข้อมูล จากภาพถ่ายดาวเทียมรหัสเปิด รุ่นที่ 3 จำนวน 30 คน ซึ่งใช้เวลาอบรมให้ความรู้ 4 วัน และผู้ที่ผ่านการอบรมทั้งหมดจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้อีกด้วย” นายชัยโรจน์ กล่าว

View :1569

ก.ไอซีที ระดมความคิดเห็นพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ

January 26th, 2012 No comments

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมระดมความคิดเห็น (Focus Group) ครั้งที่ 5 ตามกฎกระทรวงมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ภายใต้ โครงการพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการทุกประเภท ว่า กระทรวงฯ มีนโยบายในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมได้รับ การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านไอซีทีและมีโอกาสเข้าถึงไอซีทีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มคนพิการที่ขาดโอกาส และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่รอบตัวในปัจจุบัน โดยกระทรวงฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีความเชื่อมั่นว่ากลุ่มคนเหล่านี้ จะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน หากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนทั้งในด้านความสะดวก เครื่องมือหรืออุปกรณ์เฉพาะทาง ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ด้านไอซีทีสำหรับคนพิการทุกประเภทได้อย่างทั่วถึง

ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนา ICT และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการทุกประเภท เพื่อศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลความต้องการทางด้านการบริการ หรือข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลความต้องการของคนพิการแต่ละประเภท เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวทางเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะทางด้านกิจกรรม และวิธีการปฏิบัติของกระทรวงฯ ตลอดจนเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการและสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการทุกประเภทได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

โดยในการดำเนินโครงการดังกล่าว ต้องมีการจัดเวทีสำหรับระดมความคิดเห็นซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร สำหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะ ตามกฎกระทรวงมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 จำนวน 10 ครั้ง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คนพิการและหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านคนพิการ สถาบันการศึกษาของรัฐ/เอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น เข้าร่วมครั้งละประมาณ 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความต้องการต่างๆ จากบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านคนพิการเหล่านั้น ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 5 ที่กระทรวงฯ จัดขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดแนวทางเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการอย่างแท้จริง

View :1609