Archive

Archive for the ‘Technology’ Category

ซีเอ เทคโนโลยี จับมือFacebook เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก

March 15th, 2014 No comments

ซีเอ เทคโนโลยี จับมือFacebook เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลก
นวัตกรรมจากซีเอ เทคโนโลยีช่วยเพิ่มสมรรถนะการใช้พลังงานให้กับระบบไอทีที่รองรับการใช้งานมากที่สุดในโลก

ซีเอ เทคโนโลยีเผย Facebook, Inc. บริษัทโซเชี่ยลมีเดียชั้นนำของโลกได้เลือกใช้งานซอฟต์แวร์โซลูชั่น CA DCIM (CA Data Center Infrastructure Management) เพื่อรวมระบบดูแลติดตามการใช้พลังงานในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

ก่อนหน้านี้ ทาง Facebook ได้รีวิวซอฟต์แวร์ DCIM จากหลายบริษัท และทางซีเอ เทคโนโลยีก็ได้ผ่านการคัดเลือกและได้ผ่านการนำเสนอโปรเจกต์นำร่องในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีเนื้อที่กว่า 100,000 ตารางฟุต หลังจากนั้นทาง Facebook ก็ได้ทำงานร่วมกับซีเอ เทคโนโลยีเพื่อสร้างโซลูชั่นพิเศษขึ้นมาเพื่อรองรับระบบ DCIM ในการประหยัดพลังงานเพื่อรองรับทั้งการใช้งานในปัจจุบันและอนาคตของเฟซบุ๊ค ซึ่งเป็นผลมาจากนวัตกรรมเทคโนโลยี และขีดความสามารถของซีเอ เทคโนโลยีในการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว ปรับขยายระบบได้ต่อเนื่องตามต้องการ รวมทั้งกระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อปรับแต่งระบบให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

“การกิจของเราคือเชื่อมต่อโลกเข้าหากัน และโครงสร้างพื้นฐานระบบไอทีคือหัวใจของความสำเร็จของเรา ” ทอม เฟอร์ลอง รองประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลบริษัท Facebook กล่าว “เราจะเดินหน้าปรับปรุงศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ของเราต่อไปโดยมีเป้าหมายหลักที่จะรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานทั้งหมดมารวมไว้ในที่เดียวกัน”

“ในแต่ละวัน มีคนกว่า 728 รายใช้งาน Facebook และทุกรายต่างคาดหวังกับคุณภาพของงานบริการ ตลอดจนการพร้อมใช้งานที่สูงมากๆ ” เทอร์เรนส์ คลาก รองประธานอาวุโส ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลบริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว “งานของ Facebook กดดันการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไอทีสูงมากๆ และแทบจะไม่มีช่องว่างสำหรับข้อผิดพลาด หรือความไร้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในระบบ ผลก็คือ ทีมไอทีของ Facebook จำเป็นที่จะต้อง ติดตามข้อมูลของระบบพลังงานและการทำความเย็นทั้งหมดที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ทุกขณะ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาและค่าใช้จ่าย”

“ทีมไอทีของ Facebook สามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานทั้งหมดมารวมไว้ในระบบข้อมูล DCIM ทั้งหมดเพื่อให้ภาพรวมที่ชัดเจนครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมเข้ามาเพื่อใช้ตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายลงมาในขณะที่สามารถนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับลูกค้าผู้ใช้งาน และสร้างโอกาสในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ต่อไป”

ระบบ CA DCIM คือโซลูชั่นที่ใช้ติดตามดูแลระบบพลังงาน การทำความเย็น และตัวแปรแวดล้อมอื่นๆ ในของอาคารและระบบไอทีที่ใช้ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์รวมทั้งจัดการการใช้พื้นที่ และวงจรการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ http://www.ca.com/dcim

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี
ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com

View :2377
Categories: Internet, Technology Tags:

รายงาน Ericson Mobility Report ฉบับล่าสุดเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

March 15th, 2014 No comments

รายงาน ฉบับล่าสุดเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มและตัวเลขการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ทั่วโลกในปีพ.ศ. 2556 ที่เข้ามาส่งเสริมไลฟ์สไตล์วิถีชีวิตในแบบ Connected Lifestyle ที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกแห่งสังคมเครือข่าย (Networked Society) โดยอุปกรณ์ต่างๆรอบตัวเราต่างสมาร์ทขึ้นและสามารถเชื่อมต่อสื่อสารเข้าหากันอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยสามารถสรุปรายงานของ ได้ดังนี้

จำนวนเลขหมายผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกมีประมาณ6.7พันล้าน หรือมีอัตราส่วนจำนวนเลขหมายโทรศัพท์มือถือต่อประชากรโลก (Global Mobile Penetration) ทีประมาณ 92 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2555 จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยรวมเพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก

โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ. 2556 นั้นมีจำนวนเลขหมายผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 109 ล้าน แต่เนื่องจากความนิยมที่จะมีเลขหมายโทรศัพท์มือถือมากกว่าหนึ่งเลขหมายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจำนวนผู้ใช้และเข้าถึงโทรศัพท์มือถือจริงจึงถูกคาดการณ์ว่ามีอยู่ประมาณ 4.5 พันล้านคน จากจำนวนประชากรทั่วโลกที่มีอยู่ประมาณ 7พันล้านคน

และที่น่าสนใจก็คือจำนวนผู้ใช้โมบายบรอดแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ. 2556 นั้นมีผู้ใช้โมบายบรอดแบรนด์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 150 ล้าน ทำให้มีผู้ใช้โมบายบรอดแบรนด์ทั่วโลกกว่า 2.1 พันล้านรายสะท้อนจำนวนโมบายบรอดแบรนด์ทีเพิ่มขึ้นกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
มีผู้ใช้ WCDMA/HSPA ทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านคน และผู้ใช้ LTE/4G เพิ่มขึ้นประมาณ 40 ล้านคน ทำให้ยอดผู้ใช้ LTE/4G มีมากกว่า 200 ล้านทั่วโลก และยอดจำนวนผู้ใช้ GSM เพียงอย่างเดียวมีประมาณ 100 ล้านคนซึ่งแทบจะไม่มีจำนวนผู้ใช้ GSMอย่างเดียวที่เพิ่มขึ้นเลย
· ยอดขายโทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั่วโลกในปีพ.ศ. 2556 นั้นสูงถึง 1 พันล้านเครื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละกว่า 60 จากยอดขายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก โดยมีการคาดกาณ์ว่ามีผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนทั่วโลกอยูประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 2 พันเลขหมายจากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 6.7พันล้านทั่วโลก ซึ่งยังผู้ใช้งานอีกจำนวนมากที่ต้องการเข้าถึงโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

ปริมาณการใช้ดาต้าบนเครือข่ายมือถือทั่วโลกยังคงจะเติบโตอย่างต่อเนื่องและคาดว่าปริมาณดาต้าจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าตัวภายในปลายปีพ.ศ.2562 เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น จำนวนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและสมาร์ทดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น การเติบโตอย่างต่อเนื่องของคอนเทนท์ การใช้บริการวีดีโอที่สูงขึ้น รวมไปถึงความเร็วของเครือข่ายที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามการพัฒนาเทคโนโลยี HSPA และ LTE
ปริมาณการใช้วีดีโอบนเครือข่ายมือถือ ยังคงเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของปริมาณดาต้าบนเครือข่ายทั้งหมดทั่วโลก และคาดว่าจะยังเติบโตขึ้น มากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จนถึงปลายปีพ.ศ.2562 ในบางเครือข่ายมีการใช้งานวีดีโอมากถึง 2.6 GB ต่อคนต่อเดือนโดยเฉลี่ยอีกด้วย
รายงานจาก GSA (Global mobile Suppliers Association) วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พศ 2557 ได้ยืนยันว่าได้มีเครือข่าย LTE/4G เปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์แล้วกว่า 274 เครือข่ายใน 101 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีอัตราการขยายตัวมากกว่า 76%เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
และรายงานจาก GSA ก็ยืนยันว่า มี อุปกรณ์โทรศัพท์และสมาร์ทดีไวซ์ที่รองรับเครือข่าย LTE/4G มากว่า 1,371 อุปกรณ์ จากผู้ผลิต 132 รายทั่วโลกที่สามารถนำมาใช้ในย่านคลื่นความถี่ต่างๆ

View :1373

อีริคสันและฟิลลิปส์ร่วมผลักดันนวัตกรรม “ซีโร่ ไซต์ – Zero Site”เติมความอัจฉริยะให้ระบบเสาโคมไฟถนนกับเครือข่ายโมบายบรอดแบรนด์

March 4th, 2014 No comments

Zero site_02
อัตราการเติบโตของประชากรในเมืองที่มีอยู่ราว 7,500 คนต่อชั่วโมง และการรับส่งข้อมูลอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile data traffic) ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10 เท่าในปี พ.ศ. 2562 นั้นภาครัฐและหน่วยงานต่างๆต้องวางแผนการใช้พลังงานด้านไฟแสงสว่าง(lighting)อย่างยั่งยืน พร้อมๆไปกับการเพิ่มศักยภาพและพื้นที่ครอบคลุมของเครื่อข่ายโมบายบรอดแบรนด์ (mobile broadband capacity and coverage)ในตัวเมืองให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น

อีริคสันและฟิลลิปส์ได้ร่วมกันพัฒนาออกแบบเสาโคมไฟถนนที่สามารถส่งสัญญาณการเชื่อมต่อเครื่อข่ายโมบายบรอดแบรนด์ เพื่อแก้ปัญหา 2 เรื่องสำหรับเมืองในอนาคต คือ ระบบการใช้พลังงานแสงสว่างแบบ LED ที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงานพร้อมทั้งช่วยให้ผู้บริการเครือข่ายใช้เป็นสถานนีในการส่งสัญญาณโมบายบรอดแบรนด์เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและพื้นที่ครอบคลุมของเครื่อข่ายอีกด้วย
โดยทางอีริคสันได้ตั้งชื่อนวัตกรรมนี้ว่า “ซีโร่ ไซต์ – Zero Site”สะท้อนความหมายในกรณีที่ผู้บริการเครือข่ายไม่จำเป็นต้องสร้างสถานนีส่งสัญญาณ (base station)เพิ่มเลย โดยภายในเสาโคมไฟถนน “ซีโร่ ไซต์ – Zero Site” นี้จะมีอุปกรณ์ในการรับส่งสัญญาณโมบายบรอดแบรนด์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของผู้บริการเครือข่ายต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพและพื้นที่ครอบคลุมของเครื่อข่ายโดยในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้งและจำนวนสถานนีส่งสัญญาณในตัวเมืองไปพร้อมๆกันอีกด้วย

ไม่เพียงแค่ความสวยงามและความปลอดภัยในยามค่ำคืนจากแสงสว่างที่คนเมืองจะได้รับจากนวัตกรรม“ซีโร่ ไซต์ – Zero Site” เท่านั้น แต่คนเมืองจะได้รับประสพการณ์การใช้บริการอินเทอร์เนตโมบายบรอดแบรนด์ ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ผู้นำด้านนวัตกรรมแห่งแสงสว่างและอีริคสันร่วมกันเปิดตัวนวัตกรรมเสาโคมไฟถนนแบบ LED รูปแบบใหม่ที่สามารถส่งสัญญาณการเชื่อมต่อเครื่อข่ายโมบายบรอดแบรนด์ (connected LED street lighting model) โดยการร่วมมือกันในครั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหา 2 เรื่อง คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพื้นที่ครอบคลุมของเครือข่าย (network performance) ในพื้นที่ๆมีการใช้งานค่อนข้างสูง รวมทั้งการใช้พลังงานไฟฟ้าสาธารณะที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

ฟิลลิปส์และอีริคสันได้ผสมผสานประโยชน์จากระบบไฟแบบ LED เข้ากับบริการเชื่อมต่อเครือข่ายมือถือสำหรับการใช้งานในเมืองต่างๆ โดยภาครัฐหรือหน่วยราชการท้องถิ่นสามารถสร้างรายได้โดยเปิดให้บริการแบบ”lighting-as-a-service” โดยอาจจะให้ผู้บริการเครือข่ายต่างๆเข้ามาเช่าพื้นภายในเสาโคมไฟถนนเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานร่วมสำหรับเครือข่ายโมบายบรอดแบรนด์อีกด้วย

ฟิลลิปส์จะมีการนำเสนอถึงเสาโคมไฟถนนแบบ LED ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ด้านเทเลคอมจากอีริคสัน ทั้งนี้ผู้ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือที่ทำงานร่วมกับอีริคสันต่างสามารถเช่าพื้นที่ในโคมไฟถนนนี้ได้ โดยในส่วนของผู้ให้บริการด้านเครือข่ายสามารถที่จะปรับปรุงในเรื่องของการบริการด้านโมบายบรอดแบรนด์ รวมทั้งโมเดลนี้จะเร่งช่วงเวลาการคืนทุนให้กับการลงทุนในด้านของโครงสร้างพื้นฐานในเมืองและเป็นสร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐหรือหน่วยราชการท้องถิ่นอีกด้วย

โคมไฟถนน LED ของฟิลลิปส์ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มการประหยัดพลังงานสูงขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์เมื่อใช้ควบคู่ไปกับอุปกรณ์การควบคุมที่ดีเยี่ยม โดยอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยศึกษาใน 12 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของ The Climate Group และงานวิจัยดังกล่าวยังพบอีกว่าผู้คนในเมืองจะชอบหลอดไฟLEDสีขาว เพราะมันจะให้ความรู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับหลอดไฟสีส้ม

นาย ประธานและซีอีโอของบริษัทอีริคสัน กล่าวว่า “โซลูชั่นนี้เป็นการสะท้อนความสำเร็จในพาร์เนอร์ชิพ (partnership) ของทั้งสองผู้นำในอุตสกรรม ในการนำเอาความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีICT มาตอบสนองกับเมกาเทรนด์ของการใช้ชีวิตแบบในเมือง โดยจำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 7,500 คนต่อชั่วโมง แต่พื้นที่บนโลกของเรานั้นไม่ได้ขยายออกไปเลย และในขณะเดียวกัน ผลการวิจัยของอีริคสันคอนซูเมอร์แล็บยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตเป็น 1 ใน 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตในเมือง ดังนั้น โซลูชั่น “ซีโร่ ไซต์ – Zero Site” นี้จึงนับว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นในสังคมเครือข่าย (The Networked Society) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัวเราต่างเชื่อมต่อสื่อสารเข้าหากัน

นาย ฟรานย์ วานน์ ฮอสเทินน์ ประธานและซีอีโอของบริษัทฟิลลิปส์ กล่าวว่า “โมเดลโคมไฟถนนแบบ LED เป็นอีกตัวอย่างนวัตกรรมของเราในการนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหลอดไฟที่ให้ประโยชน์มากกว่าแสงสว่างอีกด้วย โดยเราสามารถให้บริการแบบ”lighting-as-a-service” ที่ช่วยให้ ภาครัฐหรือหน่วยราชการท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของผู้คนในเมืองทั้งด้านความปลอดภัยของชุมชนจากแสงสว่างในยามค่ำคืนและเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อ เครือข่ายมือถือต่างๆ ภายใต้ข้อจำกัดในงบประมาณต่างๆอีดด้วย

การที่จะรองรับกับความต้องการศักยภาพและพื้นที่ครอบคลุมของเครื่อข่าย ผู้ให้บริการเครือข่ายต่างจำต้องปรับปรุงพร้อมทั้งเพิ่มจำนวนของสถานนีหรือ cell site ให้มากขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้งานอันหนาแน่นโดยนวัตกรรม“ซีโร่ ไซต์ – Zero Site” ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีระดับโลกของอีริคสัน จะช่วยให้ผู้ให้บริการได้รับประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในขยายและเพิ่มจำนวนสถานนีโมบายบรอดแบรนด์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและนี่ถือเป็นวิวัฒนาการอันสำคัญสำหรับการวางเครือข่าย(heterogeneous network)

นาย บัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า นวัตกรรม“ซีโร่ ไซต์ – Zero Site” นี้จะช่วยแก้ไขการหาสถานที่หรือสิทธิแห่งทาง (Right of Way) สำหรับผู้ให้บริการเครื่อข่ายในการติดตั้งสถานนีต่างๆในที่ชุมชน และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างสร้างรายได้ให้กับภาครัฐหรือหน่วยราชการท้องถิ่นจากค่าเช่าพื้นที่ไปพร้อมๆกับการให้บริการสาธรณะกับผู้คนในเมืองได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

View :1362

สวทช.ภาค เหนือ จัดงานประชุมประจำปี 57 ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา “ คิดค้นเครื่องหยอดเมล็ดข้าวนาน้ำตม” พร้อมโชว์งานวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น สู่อาเซียน

March 4th, 2014 No comments

DSC_5529

เมื่อวัน ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ จ.เชียงใหม่ สวทช.ภาคเหนือ จัดงานประชุมจำปี 2557 “ช่วยกันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” ตอบ โจทย์และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคเหนือ วิสาหกิจชุมชน ที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มสามารถแข่งขันตลาดในประเทศและต่างประเทศ ภายในงานได้ประกาศผลผญาดีศรีล้านนา ประจำปี 2557 นาย ประเทือง ศรีสุข เกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำนาแบบดั้งเดิมสร้างนวัตกรรม “ การทำนาหยอด” ในการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในการทำนาดำและปัญหาต้นทุน เมล็ดพันธุ์

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่า สวทช.ภาค เหนือ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จัดงานประชุมประจำปี 2557 ด้วยแนวคิดหลัก “ช่วยกันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” ซึ่งตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ก่อตั้ง สวทช.ภาคเหนือ ได้ดำเนินงานเชิงรุกร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในเขตภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน มาร่วมทางสู่สังคมฐานความรู้ด้วยกัน โดยได้นำโจทย์หรือปัญหาผลกระทบของท้องถิ่นเป็นที่ตั้ง และนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาบูรณาการในการปัญหาต่างๆ ซึ่งแนวคิดและการปฏิบัติแบบพันธมิตรบูรณาการร่วมกันนั้นเป็นต้น แบบที่ดี สู่การพัฒนาภูมิภาคให้เกิดประโยชน์สูงสุดและประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจและ สังคมที่ชัดเจน จึงก่อให้เกิดความเชื่อมั่นและให้ความสำคัญที่จะนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องในภูมิภาค

ในปีนี้ สวทช.ภาคเหนือ ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 18 มีแผนดำเนินงานด้านถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาครัฐ ซึ่งดูแล พื้นที่ 17 จังหวัด ภาคเหนือ มีความพร้อมที่จะขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ วงกว้างขึ้น โดยปรับกลไกการส่งมอบใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น การร่วมทุนกับภาคการศึกษาเพื่อขยายขอบเขตงานวิจัยในประเด็นที่เกิดผลกระทบ ที่ตรงกับเป้าหมาย เพิ่มกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีมุ่งเป้าหมายให้มีส่วนร่วม สร้างวิทยากรชุมชนมืออาชีพ และ ขยายบริการภาคอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมวงจรเศรษฐกิจที่มีคุณค่าต่อ ท้องถิ่นและตลาดโลก

สำหรับจุด เด่นในงานประชุมวิชาการ สวทช.ภาคเหนือ “ นางปิยะฉัตร ใคร์วานิช เบอร์ทัน ” ผู้อำนวยการ สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า สวทช. ภาคเหนือ จัดการประชุมประจำปี 2557 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประชาสัมพันธ์ บทบาท หน้าที่ และการบริการของหน่วยงาน เพื่อต่อยอดเชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐบาลเอกชนและภาค การศึกษา ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในพื้นที่ภาคเหนือ รวมถึงการแสดงผลงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ที่ได้ให้การสนับสนุนแก่นักวิจัย ชุมชน และภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนในภาคเหนือ ซึ่งครั้งนี้จัดภายใต้ชื่องาน “ช่วย กันคิด ร่วมกันทำ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ท้องถิ่น” โดยประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน หลัก ได้แก่ การมอบรางวัลผญาดีศรีล้านนา เพื่อเป็นการยกย่องคุณงามความดี เป็นขวัญและกำลังใจ ให้กับบุคคลต้นแบบผู้นำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปเครื่องมือในการสืบ สานส่งต่อคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น การบรรยายพิเศษ “บทบาทของ สวทช. ในการเชื่อมโยงกับพันธมิตร นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การพัฒนาและสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ ในท้องถิ่น” การ เสวนา “ เปิดตะกร้าเทคโนโลยี เทคโนโลยีพร้อมเชื่อมโยงกับพันธมิตรสู่การใช้งานจริง”

ทั้งนี้ ภายในงานได้จัดแสดงผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่งานด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี อาทิ จุลินทรีย์ย่อยสลายฟางข้าว , ซังข้าวโพด , ระบบกำจัดฝุ่นเตาเผาขยะแบบไฟฟ้าสถิต , ระบบเฝ้าสังเกตสิ่งแวดล้อมและเตือนภัยพิบัติ สำหรับท้องถิ่น และงานที่สวทช.ภาค เหนือ ให้การสนับสนุน ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ 12 ปี iTAP กับ 12 เทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จจากการนำ ไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช เทคโนโลยีนาโนสำหรับสิ่งทอ ระบบบำบัดน้ำเสีย และบำบัดกลิ่นและควัน และ อีก 22 เทคโนโลยีจากงานวิจัยที่พร้อม เชื่อมโยงกับพันธมิตรสู่การใช้งานจริง การแสดงผลงานค่าย วิทยาศาสตร์ สวทช.ภาคเหนือในปีที่ผ่าน มาและเปิดตัวค่ายวิทยาศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2557 นี้

นายประเทือง ศรีสุข ผู้ได้รับรางวัลผญาดีศรีล้านนา เกษตรกรทุ่งรวงทอง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ บอกวว่า มีแนวคิดที่จะนำภูมิปัญญาการทำนา มาพัฒนาต่อยอดจากการทำนาดำแบบดั้งเดิม เป็น “การ ทำนาหยอด” เพื่อแก้ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานในการทำนาดำและต้น ทุนเมล็ดพันธุ์ จาก ที่ทำนา และมีประสบการณ์ด้านเครื่องจักรกล จึงคิดประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว สำหรับการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม จะประหยัดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และใช้ปุ๋ยในปริมาณลดลงกว่า 30 – 40เปอร์เซ็นต์ จากการทำนาหว่าน ปกติ ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำนาลดลง และเพิ่มผลผลิต นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรดังกล่าวแล้ว ยังมีการพัฒนากลไกของรถเครื่องหยอดข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ รถมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์หลากหลายมากขึ้น ได้ดัดแปลงส่วนประกอบของรถ ปรับเป็นเครื่องพ่นปุ๋ยน้ำ หรือ ฮอร์โมนให้กับพืชได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม นายประเทือง ฯ นักคิดค้น และนักพัฒนาด้านเครื่องจักรกลเกษตร ถือเป็นต้นแบบเกษตรกรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านการพัฒนา เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ได้เองอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างสู่ เกษตรกรทำนาในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย

View :1814

กรมอนามัย ยูนิเซฟ และดีแทค ร่วมผลักดัน SMS *1515 ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็ก

February 26th, 2014 No comments

dtac DoH UNICEF-2
และดีแทคร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “*1515 SMS ครอบครัวผูกพัน” เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดูแลเด็กให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง

การลงนามดังกล่าวจัดขึ้นภายในงานสัมมนาวิชาการอนามัยแม่และเด็ก ในวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2557 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ทั้งสามองค์กรได้เปิดตัวโครงการ SMS *1515 ซึ่งเป็นบริการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 2 ปี ให้พ่อแม่ผู้ปกครองผ่านข้อความ SMS ทุกวันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยข้อมูลเหล่านี้ ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัยแม่และเด็กได้คัดเลือกให้เหมาะสมกับการพัฒนาในแต่ละช่วงอายุ และครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลาย เช่น สุขภาพเด็ก โภชนาการ อาการเจ็บป่วยที่พบบ่อย การป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก และการส่งเสริมพัฒนาเด็กตั้งแต่ 0-2 ปี

นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบัน พัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ล่าช้าของเด็กปฐมวัยยังเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย โดยกรมอนามัยได้สำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย (อายุ 0-5 ปี) เมื่อปี 2553 พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าถึงร้อยละ 30 สูงกว่าค่าเฉลี่ยขององค์การอนามัยโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15-20 นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าในด้านภาษาและด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กร้อยละ 19 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ซึ่งพัฒนาการทั้งสองด้านถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก

“น่าชื่นชมที่กรมอนามัย และยูนิเซฟ ได้ร่วมดำเนินงานโครงการ SMS ครอบครัวผูกพัน ซึ่งเป็นโครงการที่สามารถช่วยสนับสนุนการทำงานของภาครัฐในการพัฒนาสุขภาพแม่และเด็กได้เป็นอย่างดี และสามารถบูรณาการไปกับโครงการฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ โดยการสื่อสารให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์เร็ว ได้รับความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองและบุตร ดังนั้นการมีช่องทางสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กในประเทศไทย” นายแพทย์พรเทพกล่าว

ปัจจุบันกรมอนามัยได้ออกนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรี และส่งเสริมการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ตัวอย่างเช่น นโยบายฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ์ การสร้างพ่อแม่คุณภาพผ่านโรงเรียนพ่อแม่ การใช้กระบวนการกิน กอด เล่น เล่า ให้เด็กได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดและได้กินอาหารตามวัย ซึ่งนโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ

นายพิชัย ราชภัณฑารี ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรนานาชาติจะสามารถดึงความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาเพื่อสร้างการบริการที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ประเทศไทยยังเผชิญอยู่ได้”

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคมีความยินดีที่ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญทางธุรกิจของดีแทคเข้ามาใช้ในการให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านพัฒนาการของเด็ก เพราะโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและทั่วถึงที่สุด”

ดีแทคและเทเลนอร์ ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนยูนิเซฟทั้งด้านการเงิน และโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการอยู่รอด และการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน โดยในปี 2556 ได้มอบเงินจำนวน 1.3 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยเรื่องการจดทะเบียนเกิด นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เทเลนอร์กรุ๊ป และยูนิเซฟ ยังได้มีการลงนามเป็นพันธมิตรระดับโลกเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิเด็ก เป็นจำนวนเงินประมาณ 18.56 ล้านบาท (580,000 ดอลล่าร์สหรัฐ) ตลอดระยะเวลาห้าปีต่อจากนี้

“หลังจากนี้ ดีแทคจะร่วมกับกรมอนามัย และยูนิเซฟ ในการประชาสัมพันธ์ *1515 SMS ครอบครัวผูกพัน เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครรับบริการผ่านการประชุม การอบรม และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะจัดขึ้นโดยกรมอนามัย และภาคีอื่นๆ ในอนาคต” นายจอนกล่าวเพิ่มเติม

หญิงตั้งครรรภ์และพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสมัครใช้บริการนี้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรับข้อความสำหรับทุกเครือข่ายตลอดโครงการ ผู้ใช้เครือข่ายดีแทคกด *1515 แล้วโทรออก ส่วนผู้ที่ใช้เครือข่ายอื่น โทร. 02-202-8900 (มีค่าใช้จ่ายตามโปรโมชั่นเฉพาะตอนสมัคร)

View :1324

อีริคสัน เปิดตัว ‘Future TV Anywhere’ เพื่อประสบการณ์ใหม่ในการรับชมโทรทัศน์

February 26th, 2014 No comments

· อีริคสันกำหนดนิยามแห่งการรับชมโทรทัศน์ยุคใหม่ ด้วยนวัตกรรมแห่งเทคโนโลยีล่าสุด

· ด้วยการควบรวมบริการ Pay TV คุณภาพเยี่ยม พร้อมคอนเทนท์ที่หลากหลาย เข้ากับบริการจาก OTT ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ตรงใจ (personalization) สามารถโต้ตอบได้ (interactivity) และรับชมได้บนหน้าจอหลากหลายขนาด

· Future TV Anywhere จากอีริคสัน เป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ ที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อประสบการณ์ในการรับชมโทรทัศน์ยุคใหม่ ที่ราบรื่น และรวดเร็วแบบเว็บ

นวัตกรรมแห่งเทคโนโลยียุคใหม่ ได้ทำให้การรับชมรายการทีวีและมีเดียประเภทต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างมาก และถึงแม้โลกของเราจะเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ประสบการณ์ในการรับชมรายการทีวีในปัจจุบัน ยังขาดความเป็นเอกภาพและไม่เป็นที่พึงพอใจในบางกรณี ผู้บริโภคมักใช้บริการวีดีโอจากหลายแห่ง เพื่อค้นหาคอนเทนท์ที่ถูกใจ และเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อการรับชมไปมา ด้วยความสามารถในการรับชมคอนเทนท์ที่แตกต่างกัน ผู้ให้บริการด้านสื่อโทรทัศน์จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องก้าวให้เท่าทันเทคโนโลยี รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพของตนอย่างรวดเร็ว ในยุคแห่งสังคมเครือข่าย (Networked Society) ภายในปี ค.ศ. 2020 จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 50 พันล้านเครื่อง และ 15 พันล้านเครื่องในจำนวนนี้ จะสามารถให้บริการสื่อวีดีโอแก่ผู้ใช้ได้ อีริคสันได้เล็งเห็นถึงความท้าทายในธุรกิจนี้ จึงต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และอีโคซิสเต็มของทีวีแห่งยุคอนาคต – อนาคตที่เราสามารถรับชมโทรทัศน์ได้ ทุกสถานที่ บนทุกอุปกรณ์ ด้วยประสบการณ์ในการรับชม ที่พัฒนาตามความต้องการของผู้บริโภคได้

เพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจดังกล่าว อีริคสันได้เปิดตัว Future TV Anywhere เพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่บนเว็บ เข้ามาสู่กลุ่มผู้ให้บริการโทรทัศน์ เพื่อสร้างบริการที่เปี่ยมคุณภาพ พร้อมคอนเทนท์ที่หลากหลายจาก Pay TV ร่วมกับความสามารถในการโต้ตอบและการแสดงผลบนหน้าจอหลายประเภท จากกลุ่มผู้ริเริ่มในบริการวีดีโอแบบ Over the Top (OTT)

อีริคสันเป็นผู้สร้างแพล็ตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบ สำหรับผู้ให้บริการ Pay TV บนพื้นฐานของเทคโนโลยีเว็บและคลาวด์ (Cloud) ทั้งหมด โดยซอฟต์แวร์ใหม่ในรูปแบบของเซอร์วิสแพล็ตฟอร์มนี้ จะทำให้ผู้ให้บริการทีวีสามารถตอบสนองต่อตลาดได้อย่างทันท่วงที พร้อมสร้างสรรค์บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังสามารถบริหารจัดการโหลดมหาศาล ที่มาพร้อมกับรายการถ่ายทอดสดได้ นอกจากนั้นแล้ว ระบบยังให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ให้บริการ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนครั้งใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

คามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย

คามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย


นาง คามิลล่า วอลเทียร์ ประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การรับชมบริการ Pay TV บนอินเตอร์เน็ตเว็บไซด์ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ด้านธุรกิจทีวีและมีเดียของอีริคสัน ซึ่งจะเอื้อให้ผู้บริการ Pay TV ต่างสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการนำเสนอคอนเทนท์ที่หลากหลายสู่ลูกค้าได้สะดวกรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ไม่จำกัดว่าจะต้องมี Set Top Box หรือ อุปกรณ์เพิ่มเติม อันจะนำมาซึ่งชัยชนะในตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก และอีริคสันยังสามารถช่วยเหลือลูกค้าในกลุ่มผู้ให้บริการโทรทัศน์และสื่อได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ด้วยการเสนอประสบการณ์ในการรับชม ผ่าน TV Anywhere คุณภาพเยี่ยม พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้จากบริการที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก”

อีริคสันได้ลงทุนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื้องเพื่อขยายความเป็นผู้นำในธุรกิจโทรทัศน์และสื่อ ผ่านการซื้อสินทรัพย์จาก Mediaroom และการเข้าซื้อ Azuki Systems ซึ่งมีการประกาศอย่างเป็นทางการไปเมื่อไม่นานมานี้ การลงทุนดังกล่าว ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ของอีริคสัน สู่ Future TV Anywhere อย่างเป็นรูปธรรม โดยรวมแล้ว อีริคสันประสบความสำเร็จในตลาดธุรกิจโทรทัศน์เป็นอย่างดี โดยมีแพล็ตฟอร์ม IPTV ที่ถูกนำไปใช้มากที่สุดในโลก ร่วมกับประสบการณ์กว่าหลายทศวรรษในเทคโนโลยีวีดีโอ นอกจากนั้นแล้ว อีริคสันยังมีพอร์ตโฟลิโอด้านโทรทัศน์และสื่อที่ไม่มีผู้เทียบเคียงได้ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้า และแพล็ตฟอร์มสำหรับนำส่งคอนเทนท์ที่สมบูรณ์แบบ เป็นต้น

อีริคสันจะทำการจัดแสดงโซลูชั่นตามวิสัยทัศน์ Future TV Anywhere ในงาน เพื่อสาธิตให้เห็นถึงความสามารถ และยูเซอร์อินเตอร์เฟสของระบบ

ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน อีริคสันได้นำสุดยอดระดับโลก ทั้งในด้านเทคโนโลยี ความสามารถในการให้บริการ และนวัตกรรมล่าสุด ไปจัดแสดงในงาน Mobile World Congress 2014 เราเชื่อว่า ทุกสิ่งที่จะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อ จะได้รับการเชื่อมต่อนั้น เราจะเป็นผู้นำทาง ด้วยโซลูชั่นที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนา เพื่อประโยชน์สำหรับ โมบิลิตี้ บรอดแบนด์ และคลาวด์ อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างอีโคซิสเต็มที่ดี และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และเราจะเป็นผู้นำทางของคุณในสังคมเครือข่าย

View :1426

อีริคสัน ผลักดันการเปลี่ยนแปลงข้ามอุตสาหกรรมนานาชนิด ในงาน Mobile World Congress 2014

February 26th, 2014 No comments

Ericsson_MWC_Barcelona

· ที่งาน ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประธานบริษัทและซีอีโอของอีริคสัน นาย ได้กล่าวถึงโอกาสในการเติบโตสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย และคาดการณ์ถึงโลกอนาคต ที่การสื่อสารข้อมูลจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก การพัฒนาสมรรถนะของเครือข่ายให้ดีเลิศ จึงมีความจำเป็นอย่างสูง

· นาย เวสท์เบิร์ก สรุปถึงความสามารถใหม่ๆของอีริคสัน เพื่อช่วยสนับสนุนลูกค้าในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกใหม่ ครอบคลุมทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการ

· โชลูชั่น เรดิโอ ด็อต ซิสเต็ม (Ericsson Radio Dot System) ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำ ทั้งจากยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอัฟริกา

· ความเปลี่ยนแปลงข้ามอุตสาหกรรมนานาชนิด จะผลักดันให้เกิดการร่วมมือกันและนวัตกรรมรูปแบบใหม่

วันเปิดงาน Mobile World Congress 2014 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน อีริคสันประกาศยืนยันถึงความเป็นผู้นำทั้งทางในด้านเทคโนโลยีและบริการ บนโลกที่มีการสื่อสารข้อมูลเป็นศูนย์กลาง และนับวันยิ่งขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น

ประธานบริษัทและซีอีโอ – คุณฮานส์ เวสท์เบิร์ก ได้สรุปภาพรวมของปี 2013 โดยกล่าวถึงปริมาณโทรศัพท์มือถือที่ถูกส่งออกไปสู่ท้องตลาดทั้งหมดว่า มากกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ เป็นสมาร์ทโฟน และจำนวนผู้ใช้ LTE ที่มีมากถึง 200 ล้านคน คุณเวสท์เบิร์ก ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ยุคแรกแห่งสังคมเครือข่ายได้มาถึงแล้ว เราใช้สมาร์ทโฟน ทั้งในการทำงาน ใช้ชีวิต และให้ความบันเทิงแก่ตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทุกวัน อันเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะของเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และความเป็นผู้นำของเรา – ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยีจนถึงปัจจุบัน, จากระบบฟิกซ์ไลน์ มาถึงระบบไร้สาย สู่ LTE Advanced และอนาคตสู่ 5G – ล้วนมีส่วนช่วยส่งเสริม ให้เราสามารถส่งต่อความสำเร็จนั้น ไปสู่ลูกค้าของเราอีกด้วย”

จากการวัดค่าที่ได้มาเมื่อไม่นานนี้ พบว่า ปริมาณทราฟฟิคที่เกิดจากมือถือสมาร์ทโฟน LTE ทั้งหมดนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งถูกส่งผ่านเครือข่ายของอีริคสัน และบริษัทยังได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่ง ในด้านส่วนแบ่งตลาด LTE ในเมืองชั้นนำ 100 แห่งแรกของโลก

นอกจากนี้แล้ว ฐานะความเป็นที่หนึ่งของบริษัทในธุรกิจด้านบริการ ยังจะขยายตัวเพิ่มยิ่งขึ้น ด้วยการเปิดตัวของบริการ Telecom Cloud Transformation ซึ่งประกอบไปด้วย บริการด้านการให้คำปรึกษาและการควบรวมระบบสำหรับผู้ให้บริการ ในปัจจุบันยอดขาย 43 เปอร์เซ็นต์ ของอีริคสัน มาจากธุรกิจด้านบริการ แน่นอนว่า ธุรกิจนี้ย่อมมีบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทเอง

ฮานส์ เวสท์เบิร์ก ประธานบริษัทและซีอีโอ อีริคสัน

ฮานส์ เวสท์เบิร์ก ประธานบริษัทและซีอีโอ อีริคสัน


ในขณะที่โลก กำลังให้น้ำหนักความสำคัญกับการสื่อสารข้อมูลมากยิ่งขึ้น เครือข่ายก็กำลังก้าวเข้าสู่การควบรวม ระหว่างไอทีและโทรคมนาคม หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า อีริคสันให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีด้านไอพี เครือข่าย และบริการชั้นนำ ได้แก่ การประกาศด้านความร่วมมือทางกลยุทธ์ กับผู้ให้บริการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลผ่านใยแก้ว – ซีน่า (Ciena) ระบบโมบายล์และฟิกซ์ไลน์ ต่างต้องการทรานสปอร์ตเน็ตเวิร์คคุณภาพสูง ซึ่งการควบรวมทางเทคโนโลยีระหว่างไอพีและสายไฟเบอร์ใยแก้ว จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจะสร้างโอกาสในการเติบโตให้แก่อีริคสัน ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตฟอลิโอ จากการควบรวมระหว่างเทคโนโลยีด้านไฟเบอร์ใยแก้วของซีน่า เข้ากับเทคโนโลยีด้านไอพีและเอสดีเอ็นของอีริคสัน

ในช่วงปี 2013 อีริคสันได้เปิดตัวสินค้าที่มีความโดดเด่น สำหรับการสร้างพื้นที่ครอบคลุมภายในอาคาร (indoor coverage) คือ อีริคสัน เรดิโอ ด็อต ซิสเต็ม (Ericsson Radio Dot System) ซึ่งได้รับการรับรองเป็นอย่างดี จากกลุ่มลูกค้า ผูให้บริการเครือข่ายชั้นนำต่างๆเช่น เอทีแอนด์ที (AT&T) และ เวอร์ไรซอน (Verizon) นาย เวสท์เบิร์ก ยังได้กล่าวถึงชื่อของลูกค้าเพิ่มเติม ที่มีความมุ่งมั่นในการทดสอบ เรดิโอ ด็อต ซิสเต็ม ในตลาดของพวกเขา ได้แก่ เอ็มทีเอ็น (MTN), สิงเทล (SingTel), ซอฟท์แบงก์ (Softbank), สวิสคอม (Swisscom), เทลสตรา (Telstra) และโวดาโฟน (Vodafone)

นาย เวสท์เบิร์ก ได้พูดถึงกลยุทธ์ที่สำคัญและการเปิดตัวสินค้าและบริการในปีนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนลูกค้าในสามด้าน คือ วิวัฒนาการของเครือข่าย, OSS/BSS และการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการ และการสร้างนวัตกรรมรวมถึงการเติบโตของรายได้

บนเวที แขกคนสำคัญได้ผลัดกันพูดถึงข้อตกลงทางธุรกิจในแต่ละประเภท โดยซีทีโอของเวอร์ไรซอน – นาย โทนี เมโลน ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของเครือข่าย โดยอธิบายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับ LTE Broadcast และอภิปรายถึงความสำคัญในการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมภายในอาคาร ด้วยโซลูชั่นอย่าง อีริคสัน เรดิโอ ด็อต ซิสเต็ม

ในด้านนวัตกรรมและการเติบโตของรายได้ นาย เวสท์เบิร์ก ได้แถลงบนเวทีร่วมกับซีอีโอของบริษัทฟิลลิปส์ เพื่อประกาศถึงโครงการ Zero Site ซึ่งเป็นนวัตกรรมของเสาไฟ LED ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลชุมชนเมือง สามารถเปิดเป็นพื้นที่ให้เช่า สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายในการติดตั้งอุปกรณ์โมบายล์บรอดแบนด์

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอุตสาหกรรมโดยรวม และสำหรับอีริคสัน คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการเติบโตของตลาดที่เกี่ยวข้องกับระบบ OSS/BSS ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถสร้างและเปิดตัวแอพพลิเคชั่นใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (จากเดือน เป็นวัน เป็นชั่วโมง) และให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ อันเป็นประโยชน์ต่อโอเปอร์เรเตอร์ ในการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีสำหรับลูกค้า จากการเสริมความแข็งแกร่งในด้านนี้ ความเป็นผู้นำของอีริคสันก็ได้รับการยืนยันอีกครั้ง จากการประกาศถึงข้อตกลงกับโอเปอร์เรเตอร์ในฝั่งอเมริกาเหนือ – เซนจูรี่ลิงค์ (CenturyLink) ด้วยบริการ Service Agility จากอีริคสัน เซนจูรี่ลิงค์จะสามารถเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานของลูกค้าได้ ด้วยการบูรณาการด้านโพรดักส์, การเปลี่ยนแปลงระบบ และการปรับปรุงเครือข่ายให้มีโครงสร้างที่เรียบง่ายยิ่งขึ้น

นาย เวสท์เบิร์ก กล่าวถึงแนวโน้มใหม่ห้าประการสำหรับปี 2014: (1) ดิจิตอลไลฟ์สไตล์จะเป็นตัวผลักดันดีมานด์, (2) ไอซีทีเปลี่ยนอุตสาหกรรม, (3) ข้อมูลขนาดใหญ่จะก่อให้เกิดโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่, (4) ประสบการณ์ในการใช้งานของลูกค้าคอสิ่งสำคัญ, และ (5) สมรรถนะของเครือข่ายที่ดีกว่าจะนำมาซึ่งชัยชนะ

นาย เวสท์เบิร์ก ยังคาดการณ์ด้วยว่าโมบายล์วีดีโอทราฟฟิคจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และโอกาสที่โลกจะมีโมบายล์ดาต้าทรูพุตอย่างน้อย 1 Mbps ซึ่งจะทำให้มี app coverage ที่อาจจะเพียงพอในปี 2014ในบางพื้นที่ แต่คงจะไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานในอนาคตเพราะเราต้องการพัฒนา app coverage อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อวิถีชิวิต และวิถีในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป”

นาย โยฮัน วีเบิร์คฮ หัวหน้า Business Unit Networks ของอีริคสัน จะอภิปรายในหัวข้อเรื่อง กลยุทธ์ด้านคลื่นความถี่, โครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนขนาดได้ (scalable architecture), ความตระหนักถึงบริการ, เซลล์ขนาดเล็กที่มีการทำงานแบบเชื่อมโยงกัน และซอฟต์แวร์ล่าสุด ในงาน GSMA วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลน่า นาย วีเบิร์คฮ จะอธิบายถึงเหตุผล ว่าทำไมเรา (ทั้งจากมุมของผู้ใช้และผู้ให้บริการเครือข่าย) จึงควรเปลี่ยนคำถามแบบเดิมที่ว่า “มี coverage หรือไม่” ไปเป็น “มี coverage ที่เหมาะสม สำหรับแอ็พที่เราชอบใช้ หรือไม่” มากกว่า เขากล่าวว่า: “มากกว่าหนึ่งพันล้านอุปกรณ์พกพา ถูกเพิ่มเข้ามาในเครือข่ายโทรคมนาคมและเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ในช่วงปี 2012 ในขณะเดียวกัน จำนวนแอ็พที่ถูกดาวน์โหลดจากสองค่ายยักษ์ใหญ่ พุ่งขึ้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นความท้าทายของโอเปอร์เรเตอร์จึงมิใช่หยุดแค่เพียง ความสามารถในการรองรับการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ต้องเข้าใจความต้องการที่แตกต่างอีกด้วย”

ซีทีโอของอีริคสัน – คนาย อัลฟ์ อีวัลด์ซัน จะปรากฏตัวบนเวทีอภิปรายในช่วงคืนวันจันทร์ เกี่ยวกับบทบาทของอีริคสัน ในฐานะผู้ก่อตั้ง อินเตอร์เน็ต ด็อต ออค (internet dot org) เพื่อนำอินเตอร์เน็ตสู่ 3.5 ล้านคนบนโลกใบนี้ ที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้งาน ในขณะที่ซีเอ็มโอของบริษัท – คุณอรุณ บิคเชสวารัน จะพูดถึงอนาคตของบริการด้านวอยซ์ด้วย ในวันพุธ

ในงาน Mobile World Congress 2014 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทสสเปนนี้ อีริคสันจะทำการแสดงเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ความสามารถในการให้บริการมืออาชีพ และนวัตกรรมใหม่ๆ เราเชื่อว่าทุกสิ่งที่จะได้รับประโยชน์จากการเชื่อมต่อ จะได้รับการเชื่อมโยงนั้น และเราจะเป็นผู้นำทาง ด้วยโซลูชั่นที่พร้อมผลักดันให้เกิดการพัฒนา ด้านโมบิลิตี้ บรอดแบนด์ และคลาวด์ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับอีโคซิสเต็มส์ และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงข้ามอุตสาหกรรมนานาชนิด เราคือผู้นำทางของคุณสู่สังคมเครือข่าย

View :1371

แสนสิริ ปรับดีไซน์เว็บไซต์ www.sansiri.com

February 13th, 2014 No comments

บริษัท จำกัด (มหาชน) ปรับดีไซน์เว็บไซต์ www.sansiri.com พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพด้านการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการที่อยู่อาศัยและข้อมูลทั่วไปของบริษัท
Screen shot sansiri
เพื่อรองรับความต้องการของผู้ที่ต้องการหาที่อยู่อาศัยใหม่และผู้ลงทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเกือบ 2,000,000 (สองล้าน) รายหรือใช้บริการกว่า 19,000,000 (สิบเก้าล้าน) หน้า Pageviews ต่อปี รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการตลาดและการขายโปรดักส์ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้เพิ่มฟังก์ชั่นการให้บริการที่โดดเด่น ได้แก่ การค้นหาบ้านได้จากทำเลที่ตั้งหรือ Based on User’s Location ที่สามารถตรวจจับตำแหน่งของผู้ใช้งานเพื่อแนะนำโครงการใกล้เคียงตามลำดับได้อย่างชาญฉลาด รวมถึง Smart Search สะดวกรวดเร็วกับระบบค้นหาที่สามารถแนะนำผลลัพธ์ได้ (Item Suggestion)
Sansiri Web1
นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีใหม่ในการออกแบบเว็บไซต์คือ Responsive Design ซึ่งจะรองรับการแสดงผลอย่างสวยงามผ่านทุกขนาดหน้าจอ ทั้งจอคอมพิวเตอร์สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต นับเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ได้สมบูรณ์และ Full Screen Images ที่ออกแบบเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้สนใจโครงการด้วยภาพความละเอียดสูงและการแสดงผลแบบเต็มจอ โดยเริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

View :1784
Categories: Technology Tags:

Microsoft Board names Satya Nadella as CEO

February 13th, 2014 No comments

Satya Nadella, Microsoft's CEO

, Microsoft’s CEO


Bill Gates steps up to new role as Technology Advisor; John Thompson assumes role as Chairman of Board of Directors

Microsoft Corp. recently announced that its Board of Directors has appointed Satya Nadella as Chief Executive Officer and member of the Board of Directors effective immediately. Nadella previously held the position of Executive Vice President of Microsoft’s Cloud and Enterprise group.

“During this time of transformation, there is no better person to lead Microsoft than Satya Nadella,” said Bill Gates, Microsoft’s Founder and Member of the Board of Directors. “Satya is a proven leader with hard-core engineering skills, business vision and the ability to bring people together. His vision for how technology will be used and experienced around the world is exactly what Microsoft needs as the company enters its next chapter of expanded product innovation and growth.”

Since joining the company in 1992, Nadella has spearheaded major strategy and technical shifts across the company’s portfolio of products and services, most notably the company’s move to the cloud and the development of one of the largest cloud infrastructures in the world supporting Bing, Xbox, Office and other services. During his tenure overseeing Microsoft’s Server and Tools Business, the division outperformed the market and took share from competitors.

“Microsoft is one of those rare companies to have truly revolutionized the world through technology, and I couldn’t be more honored to have been chosen to lead the company,” Nadella said. “The opportunity ahead for Microsoft is vast, but to seize it, we must focus clearly, move faster and continue to transform. A big part of my job is to accelerate our ability to bring innovative products to our customers more quickly.”

“Having worked with him for more than 20 years, I know that Satya is the right leader at the right time for Microsoft,” said Steve Ballmer, who announced on Aug. 23, 2013 that he would retire once a successor was named. “I’ve had the distinct privilege of working with the most talented employees and senior leadership team in the industry, and I know their passion and hunger for greatness will only grow stronger under Satya’s leadership.”

Microsoft also announced that Bill Gates, previously Chairman of the Board of Directors, will assume a new role on the Board as Founder and Technology Advisor, and will devote more time to the company, supporting Nadella in shaping technology and product direction. John Thompson, lead independent director for the Board of Directors, will assume the role of Chairman of the Board of Directors and remain an independent director on the Board.

“Satya is clearly the best person to lead Microsoft, and he has the unanimous support of our Board,” Thompson said. “The Board took the thoughtful approach that our shareholders, customers, partners and employees expected and deserved.”

With the addition of Nadella, Microsoft’s Board of Directors consists of Ballmer; Dina Dublon, former Chief Financial Officer of JPMorgan Chase; Gates; Maria M. Klawe, President of Harvey Mudd College; Stephen J. Luczo, Chairman and Chief Executive Officer of Seagate Technology PLC; David F. Marquardt, General Partner at August Capital; Nadella; Charles H. Noski, former Vice Chairman of Bank of America Corp.; Dr. Helmut Panke, former Chairman of the Board of Management at BMW Bayerische Motoren Werke AG; and John W. Thompson, Chief Executive Officer of Virtual Instruments. Seven of the 10 board members are independent of Microsoft, which is consistent with the requirement in the company’s governance guidelines that a substantial majority be independent.

You can find additional information, including more background on Satya and his career, photos, and short video statements from Satya, Bill Gates, Steve Ballmer, and board chair John Thompson at www.microsoft.com/ceo.

View :1454

Intel Drives In-Vehicle Innovation for the Internet of Things

February 13th, 2014 No comments

IVI_Shot_10

Technology is evolving so rapidly it has become an integral component of everyday life. Having uninterrupted connectivity is a must—even while driving. In fact, analysts predict that by 2016 in-vehicle connectivity and basic online content will become critical buying factors in consumers’ car-buying decisions in mature markets[1]. This dramatic convergence of technology in the car is quickly making it a key device in the (IoT) with the ability to both receive data and feed it to the cloud, to the traffic infrastructure, to other vehicles and more. As a result, automakers are increasingly turning to leading technology companies such as to explore new ways to inform, entertain and assist drivers to create a safer and more enjoyable driving experience.

Intel is Inside Your Car: Intel and Leading Automakers Enhance In-Vehicle Technologies
Intel is partnering with the automotive industry to apply its technology and expertise to the development of innovative applications, services and safety features, some of which already exist in today’s vehicles. With a mix of automotive, IT and consumer electronics expertise and research and development, Intel is helping automakers speed time-to-market, create new driving experiences, and more quickly adapt to changing consumer demand.
IVI_Shot_6
· Infiniti InTouch* Intel is powering the all-new Infiniti InTouch in-vehicle infotainment (IVI) system featured in the Infiniti Q50*. With Intel technology, the InTouch system has the processing performance to deliver a rich experience to the driver and passengers, such as high-end graphics on the touch-screen displays. The Infiniti InTouch system is the first system to feature the Intel logo on the start-up screen.
· BMW ConnectedDrive* Intel technology is used in BMW’s professional navigation system, part of BMW ConnectedDrive, for all its vehicle models, including the future iSeries models. With Intel technology, BMW ConnectedDrive has the processing performance to deliver a compelling experience to the driver and passengers, including a rich display screen interface and quicker response times when interacting with the applications, such as fast route calculation in complex navigation maps.
· Kia Motors Corporation* Intel is powering the in-vehicle infotainment (IVI) system available in the Kia K9 luxury sedan. The K9 IVI system is the first product deployment to be announced from the ongoing collaboration between Intel and Kia. It features dual independent displays, so drivers and passengers can enjoy desired content anywhere in the car.
· Jaguar Land Rover* Intel and Jaguar Land Rover are collaborating on research and product development for future IVI technologies. Additionally, there is a close, collaborative relationship between Intel Labs and Jaguar Land Rover’s research facility in Portland, Ore., that is facilitating joint research projects on next-generation digital vehicle prototypes with in-vehicle experiences that connect the car to devices and the cloud.
· Toyota Motor Company* Intel and Toyota are working together to define next-generation IVI systems that will enable new usage models for mobile device connectivity in the car. Through this collaboration, the companies will focus research on developing a user interaction methodology including touch, gesture and voice technologies as well as information management for the driver.

IVI_Shot_8
Investing in Future Experiences for Drivers
Intel is making significant investments in automotive engineering capabilities, ecosystem alignment and research to help automakers create new driving experiences that will inform, assist, and entertain drivers safely and efficiently. These investments help drive faster time-to-market and will enable tomorrow’s innovative in-vehicle experiences.

· Intel Labs Automotive Research
Seasoned ethnographers and anthropologists at Intel Labs are working on a variety of projects aimed at making roads safer and gaining knowledge about the safest and most intuitive way for drivers to interact with their vehicles. Advanced sensing, computation and interconnected data will have revolutionary changes on the way people travel with their cars and with each other. Research and technology developed across Intel Labs explores how to enable these new experiences, in which cars will know and adapt to their owners, ease the burden of driving and help people get to their destinations more safely.
· Automotive Innovation and Product Development Center Located in Karlsruhe, Germany, the Center serves as Intel’s global center of competence for the development of products and technologies for IVI and telematics solutions. At the Center, a team of experts in automotive hardware and software engineering is optimizing Intel technologies for applications and services as well as capabilities for consumer electronics integration, performance optimization and system design.
· Intel Capital $100 Million Connected Car Fund The Intel Capital Connected Car Fund aims to accelerate the seamless connection between the vehicle and consumer electronic devices as well as drive new in-vehicle applications, services and differentiated user experiences based on Intel technologies. Through the fund, Intel Capital is investing in hardware, software and services companies that are developing leading-edge ingredient technology and platform capabilities that support Intel’s focus areas in automotive. Investments and activities to date include companies with competencies in Advanced Driver Assistance Systems (ADAS), human-machine interface, telematics and cloud services.
· Open Source Development Intel is actively involved in the GENIVI Alliance, a non-profit industry alliance committed to driving the broad adoption of an IVI open source development platform. Intel is also an active contributor to Tizen IVI, an open platform designed specifically for the automotive market, alongside various automakers and automotive suppliers. The effort aims to accelerate open innovation, facilitate differentiation, and enable common frameworks to lower the cost of software integration and speed time to market of new services.

View :1398