Archive

Posts Tagged ‘เอคเซนเชอร์’

เอคเซนเชอร์ ตั้งกลุ่มธุรกิจ Accenture Digital เปิดตัวบริการดิจิตอลแบบครบวงจร

February 21st, 2014 No comments

กลุ่มธุรกิจ ผสานรวมบริการชั้นนำด้านการตลาดดิจิตอล
การวิเคราะห์ข้อมูล และโมบิลิตี้ ครอบคลุมหลากหลายภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ 19 กุมภาพันธ์ 2557 – (Accenture) ประกาศจัดตั้งกลุ่มธุรกิจ Accenture Digital ซึ่งผสานรวมทรัพยากรดิจิตอล ซอฟต์แวร์ และบริการของบริษัท โดยครอบคลุมทั้งในส่วนของการตลาดดิจิตอล โมบิลิตี้ และการวิเคราะห์ข้อมูล แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ลูกค้าปลดปล่อยพลังของระบบดิจิตอล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างสรรค์ธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ

Accenture Digital จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการทางด้านธุรกิจและเทคโนโลยีอย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนากลยุทธ์ดิจิตอล การนำเทคโนโลยีดิจิตอลไปใช้งาน ไปจนถึงการจัดการกระบวนการดิจิตอล ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญด้านระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ระบบโมบิลิตี้ (Mobility) และการตลาดดิจิตอล (Digital Marketing) ของเอคเซนเชอร์ รวมถึงหน่วยธุรกิจ Accenture Interactive ซึ่งเป็นผู้นำด้านการจัดหาบริการดิจิตอลให้แก่ผู้บริหารฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจ Accenture Digital จะช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เชื่อมต่อและอุปกรณ์พกพาที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน โดยกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกโดยใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ก้าวล้ำ และเสริมสร้างประสบการณ์และการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

“ดิจิตอลได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินธุรกิจของลูกค้าของเราอย่างมาก ตั้งแต่วิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ประชาชน และซัพพลายเออร์ ไปจนถึงแนวทางการบริหารจัดการบุคลากร” นาย

นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์

นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์

กล่าว “เพื่อให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว องค์กรธุรกิจทุกแห่งจะต้องรองรับและขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิตอล เราได้ลงทุนอย่างจริงจังใน Accenture Interactive รวมไปถึงระบบวิเคราะห์ข้อมูลและโมบิลิตี้ และตอนนี้เรากำลังเปิดตัวบริการดิจิตอลแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้ลูกค้าแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

กลุ่มธุรกิจ Accenture Digital ซึ่งรวมเอาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ 23,000 คน จะใช้ประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งของเอคเซนเชอร์ในเทคโนโลยีคลาวด์ การควบรวมระบบ และแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร รวมไปถึงเครือข่ายการให้บริการทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้าผสานรวมเทคโนโลยีดิจิตอลไว้ในทุกแง่มุมขององค์กร และปฏิรูปธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม

“ความสามารถของเราในการทำงานร่วมกันได้อย่างครอบคลุมในระบบดิจิตอลทั้งหมด บวกกับความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรม และการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก นับเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันที่สำคัญของเรา” นนทวัฒน์กล่าว “เราได้ผสานรวมบุคลากร ทักษะและความสามารถที่เหมาะสม เพื่อให้เอคเซนเชอร์เป็นบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอล”

ข้อมูลเกี่ยวกับเอคเซนเชอร์
เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษา บริการด้านเทคโนโลยี และบริการเอาต์ซอร์ส โดยมีบุคลากรราว 275,000 คนทำหน้าที่ให้บริการแก่ลูกค้าในกว่า 120 ประเทศทั่วโลก ด้วยการผสานรวมประสบการณ์ที่เหนือกว่า ความสามารถรอบด้านที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกสายงานธุรกิจ รวมถึงการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับบริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก เอคเซนเจอร์ทำงานร่วมกับลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริษัทมีรายได้สุทธิ 28.6 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2556 เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ www.accenture.com

Accenture Interactive
Accenture Interactive เป็นหน่วยธุรกิจที่ช่วยให้แบรนด์ชั้นนำทั่วโลกสามารถผลักดันประสิทธิภาพด้านการตลาดที่เหนือกว่า โดยครอบคลุมประสบการณ์ของลูกค้าในหลากหลายช่องทาง Accenture Interactive ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ Accenture Digital นำเสนอโซลูชั่นด้านการตลาดและการปฏิรูปดิจิตอลแบบครบวงจร ติดตามทางทวิตเตอร์ได้ที่ @AccentureSocial หรือเยี่ยมชม www.accenture.com/interactive

Accenture Mobility
Accenture Mobility ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Accenture Digital ทำหน้าที่วางแผน ดำเนินการ และจัดการโซลูชั่นโมบิลิตี้สำหรับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่กลยุทธ์โมบิลิตี้ในองค์กร ไปจนถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ โดยอาศัยความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค Accenture Mobility ช่วยให้ลูกค้าสามารถขยายธุรกิจและจัดการการปฏิรูปได้อย่างเหมาะสม ด้วยการปรับใช้เครื่องมือสำหรับธุรกิจดิจิตอล ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.accenture.com/mobility

Accenture Analytics
Accenture Analytics ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Accenture Digital นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่กว้างขวาง เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงผลประกอบการ ด้วยประสบการณ์อย่างกว้างขวางในเชิงอุตสาหกรรม ฟังก์ชั่นการทำงาน ธุรกิจ และเทคโนโลยี Accenture Analytics ได้พัฒนานวัตกรรมบริการด้านการให้คำปรึกษาและบริการเอาต์ซอร์สสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุนในระบบวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามทางทวิตเตอร์ได้ที่ @ISpeakAnalytics และเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.accenture.com/analytics

View :1635

เอคเซนเชอร์เผยวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปี 2556 “ดิจิตอล” ตัวแปรขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่

August 15th, 2013 No comments

กรุงเทพฯ 14 สิงหาคม 2556 – (มีชื่อย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า ACN) จัดทำรายงานการวิจัยใหม่เรื่อง “วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีแห่งปี 2556” (The Accenture Technology Vision 2013) เพื่อศึกษาเจาะลึกถึงอนาคตของเทคโนโลยีไอทีระดับองค์กร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการทำธุรกิจ โดยจากการศึกษาดังกล่าวพบว่า การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ผนวกกับโมบายล์ คอมพิวติ้ง ระบบด้านการวิเคราะห์ และระบบคลาวด์จะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของธุรกิจต่างๆ โดยบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่โลกแห่งดิจิตอลจะมีความพร้อมมากขึ้นในการใช้โอกาสทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งในตลาดได้อย่างดี

ผลการวิจัยดังกล่าวยังชี้ว่า จากการที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ เกือบทุกด้าน ส่งผลให้ธุรกิจทุกประเภทเป็นธุรกิจแบบดิจิตอล ซึ่งผู้บริหารระดับสูงทุกตำแหน่ง นอกเหนือจากประธานเจ้าหน้าที่ด้านสารสนเทศ ต้องสามารถเข้าใจ นำไปปรับใช้ และสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรของตนได้ดียิ่งขึ้น

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์

นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์


นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เอคเซนเชอร์ กล่าวว่า “องค์กรต่างๆ พร้อมด้วยผู้นำขององค์กรนั้นๆ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์และบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และขับเคลื่อนการเติบโตและขีดความสามารถในการสร้างผลกำไรขององค์กร ซึ่งรายงานการวิจัยเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีฉบับล่าสุดของเอคเซนเชอร์พบว่าเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพียงแต่ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจบทบาทและความสำคัญของสิ่งเหล่านี้เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในยุคดิจิตอล อาทิ โมบิลิตี้คลาวด์”

7 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคต
ผลการศึกษาดังกล่าวนำเสนอ 7 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในยุคดิจิตอล

· ยกระดับสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่กับลูกค้าในยุคดิจิตอล
เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจลูกค้าได้ดีกว่าที่เคยมีมา แต่หลายองค์กรยังไม่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แน่นแฟ้นและลึกซึ้ง และเพิ่มความภักดีของลูกค้าอย่างเต็มที่ ซึ่งเทคโนโลยีโมบายล์คอมพิวติ้ง เครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ค และบริการที่ออกแบบหรือนำเสนอตรงตามความต้องการและลักษณะการทำงานของลูกค้านั้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถติดต่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันบริษัทหลายรายกลับมองว่าช่องทางเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางการติดต่อสื่อสารหรือการทำธุรกรรมมากกว่าเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

นายนนทวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาและยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าไม่ให้เป็นเพียงการติดต่อทำธุรกรรมโดยทั่วๆ ไป แต่เป็นการสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มลูกค้าแบบเฉพาะตัวที่มีความแน่นแฟ้น โดยการใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงลึกและช่องทางดิจิตอลต่างๆในการเข้าถึงข้อมูล จะทำให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์มิติใหม่นี้จะทำให้บริษัทไทยต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ รวมทั้งปรับกลยุทธ์การเจาะตลาดใหม่ เพื่อดำเนินการแบบของไอทีและฝ่ายธุรกิจต่างๆ”

· วางแผนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ เพื่อข้อมูลที่ “ใช่”
ซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบให้มีฟังก์ชั่นเฉพาะเพื่อรองรับข้อมูลที่สนับสนุนฟังก์ชั่นนั้นๆ องค์กรจึงมักพบว่า ข้อมูลที่ตนมีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ เนื่องจากไม่มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่ธุรกิจต้องการตั้งแต่เริ่มแรกที่ออกแบบแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ดังนั้น องค์กรยุคใหม่ต้องมีกลยุทธ์สำคัญในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกซึ่งเป็นข้อมูลที่ธุรกิจของตนต้องการอย่างแท้จริง โดยเริ่มจากการการวางแผนและออกแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อได้ข้อมูล “ที่ถูกต้อง” และให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นเสมือนสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนผลสัมฤทธิ์ในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรมีมีแต้มต่อเหนือคู่แข่ง

· นำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว (Data Velocity)
นอกจากความหลากหลาย (variety) และปริมาณอันมหาศาล (volume) ของข้อมูลแล้ว ความเร็ว (velocity) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บริษัทต่างๆ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยรูปแบบการทำงานได้ทุกที่ (mobility) และการบริโภคไอทีกันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดการคาดหวังของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วฉับไวและการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูง เทคโนโลยี in-memory computing การวิเคราะห์ข้อมูลสุดล้ำ ระบบดาต้าเวอร์ช่วลไลเซชั่น ระบบการสอบถามข้อมูล (streaming data querying) ทำให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจและดำเนินการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางและองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลเชิงลึกที่สามารถสร้างแต้มต่อในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทักษะในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละองค์กรจึงเป็นตัวแปรสำคัญในการนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วฉับไวก่อนที่จะสูญเสียโอกาสดีๆ ไป

· ใช้ ‘โซเชียล’ ในการทำงานภายในองค์กร
ความนิยมอย่างแพร่หลายของโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ สไกป์ และกูเกิล พลัส ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารของผู้คนปัจจุบัน การนำกลไกแบบ ‘โซเชียล’ ที่พนักงานมีความคุ้นเคยและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว มาใช้ในกระบวนการทำงานและสื่อสารภายในองค์กร จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานได้มากขึ้น ดังนั้น การประสานงานในการทำงานอย่างราบรื่นจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้โซเชียลมีเดียของพนักงาน แต่ต้องเกิดจากการขับเคลื่อนให้งานและกระบวนการต่างๆเป็นไปในรูปแบบ ‘โซเชียล’ ยิ่งขึ้น

· ขับเคลื่อนการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นระบบเครือข่ายด้วยซอฟท์แวร์
ปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของระบบแอพพลิชั่น เครือข่าย และช่องทางการสื่อสารต่างๆ ส่งผลให้การควบคุมการไหลเวียนของข้อมูลเป็นสิ่งหนึ่งที่ท้าทายที่สุดของฝ่ายไอทีในองค์กร การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นหรือระบบเสมือนของเครื่องเซิร์ฟเวอร์อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านอื่นๆ ทำให้การทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นแต่อย่างใด โซลูชั่น software-defined networking หรือ SDN เป็นโซลูชั่นการจัดการเครือข่ายโดยใช้ซอฟท์แวร์แทนระบบฮาร์ดแวร์ เพื่อให้องค์กรต่างๆมีความคล่องตัวในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งยังสามารถตั้งค่าการต่อเชื่อมของระบบต่างๆ ได้ใหม่โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนคุณสมบัติตามปกติที่มีอยู่เดิม ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถดูแลและบริหารการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผนวกรวมบริการคลาวด์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้านระบบเครือข่ายได้เพิ่มขึ้น

· มาตรการรุกและตั้งรับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ยุคใหม่
แม้ว่าเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยจะมีพัฒนาการที่ล้ำหน้าอย่างมาก แต่การป้องกันธุรกิจในยุคดิจิตอลยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง จุดเกิดภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้แพร่ขยายลุกลามสู่อุปกรณ์ที่มีหลากหลายขึ้น ผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้น และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายกว้างขึ้น ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพที่สุดจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุกที่เป็นมากกว่าการป้องกัน ฝ่ายไอทีไม่เพียงต้องอัพเดทความรู้เรื่องระบบรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ แต่จะต้องรู้เท่าทันและรู้จักกับผู้คุกคาม พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการป้องกันขององค์กรให้สอดคล้องกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้องค์กรต้องใช้สถาปัตยกรรมระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีที่มีความยืดหยุ่น และมีมาตรการป้องกัน”เชิงรุก” เพื่อจัดการและรับมือกับการคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

· เพิ่มคุณค่าแก่ธุรกิจด้วยเทคโนโลยีคลาวด์
เทคโนโลยีคลาวด์มาพร้อมกับคุณประโยชน์อันมหาศาล และพร้อมช่วยเหลือบริษัทต่างๆ พัฒนาธุรกิจของตนให้แตกต่างและโดดเด่นจากคู่แข่ง สามารถนำสินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น และตอบสนองโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ในขณะนี้ จึงถึงเวลาที่ธุรกิจต่างๆ ต้องถามตนเองแล้วว่า “เราควรใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างไร?” มากกว่า “ทำไมเราจึงต้องใช้เทคโนโลยีคลาวด์?” องค์กรหลายแห่งได้ติดตั้งเทคโนโลยีคลาวด์บนระบบไอทีแบบเดิมและนำไปใช้กับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแบบ “ไฮบริด” ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวนั้น องค์กรดังกล่าวต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจนและสามารถเข้าถึงทักษะ สถาปัตยกรรม การกำกับดูแล และการรักษาความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่อยู่ในระบบคลาวด์

“ปัจจุบัน ความท้าทายที่แท้จริงของธุรกิจไทยในยุคดิจิตอล คือ การสร้างโมเดลธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและสามารถรองรับสภาพแวดล้อมที่ใช้ซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นเป็นแรงขับเคลื่อนได้อย่างราบรื่น และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จดังกล่าว องค์กรต่างๆ ต้องนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดระเบียบและมีปริมาณมหาศาล เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมดและสามารถนำมาใช้ ขับเคลื่อนธุรกิจของตนให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใช้โอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างเต็มที่ เพิ่มความภักดีของลูกค้า และสร้างผลสัมฤทธิ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น” นนทวัฒน์ กล่าวปิดท้าย

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เอคเซนเชอร์ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมขององค์กรธุรกิจทั้งหมด และนำข้อมูลที่ได้มาใช้กำหนดเทรนด์ไอทีใหม่ๆ ที่มีส่งผลกระทบต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานการวิจัยเรื่องเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2556 สามารถเข้าไปดูได้ที่www.accenture.com/technologyvision

View :1315