Archive

Posts Tagged ‘Intel’

Intel Drives In-Vehicle Innovation for the Internet of Things

February 13th, 2014 No comments

IVI_Shot_10

Technology is evolving so rapidly it has become an integral component of everyday life. Having uninterrupted connectivity is a must—even while driving. In fact, analysts predict that by 2016 in-vehicle connectivity and basic online content will become critical buying factors in consumers’ car-buying decisions in mature markets[1]. This dramatic convergence of technology in the car is quickly making it a key device in the (IoT) with the ability to both receive data and feed it to the cloud, to the traffic infrastructure, to other vehicles and more. As a result, automakers are increasingly turning to leading technology companies such as to explore new ways to inform, entertain and assist drivers to create a safer and more enjoyable driving experience.

Intel is Inside Your Car: Intel and Leading Automakers Enhance In-Vehicle Technologies
Intel is partnering with the automotive industry to apply its technology and expertise to the development of innovative applications, services and safety features, some of which already exist in today’s vehicles. With a mix of automotive, IT and consumer electronics expertise and research and development, Intel is helping automakers speed time-to-market, create new driving experiences, and more quickly adapt to changing consumer demand.
IVI_Shot_6
· Infiniti InTouch* Intel is powering the all-new Infiniti InTouch in-vehicle infotainment (IVI) system featured in the Infiniti Q50*. With Intel technology, the InTouch system has the processing performance to deliver a rich experience to the driver and passengers, such as high-end graphics on the touch-screen displays. The Infiniti InTouch system is the first system to feature the Intel logo on the start-up screen.
· BMW ConnectedDrive* Intel technology is used in BMW’s professional navigation system, part of BMW ConnectedDrive, for all its vehicle models, including the future iSeries models. With Intel technology, BMW ConnectedDrive has the processing performance to deliver a compelling experience to the driver and passengers, including a rich display screen interface and quicker response times when interacting with the applications, such as fast route calculation in complex navigation maps.
· Kia Motors Corporation* Intel is powering the in-vehicle infotainment (IVI) system available in the Kia K9 luxury sedan. The K9 IVI system is the first product deployment to be announced from the ongoing collaboration between Intel and Kia. It features dual independent displays, so drivers and passengers can enjoy desired content anywhere in the car.
· Jaguar Land Rover* Intel and Jaguar Land Rover are collaborating on research and product development for future IVI technologies. Additionally, there is a close, collaborative relationship between Intel Labs and Jaguar Land Rover’s research facility in Portland, Ore., that is facilitating joint research projects on next-generation digital vehicle prototypes with in-vehicle experiences that connect the car to devices and the cloud.
· Toyota Motor Company* Intel and Toyota are working together to define next-generation IVI systems that will enable new usage models for mobile device connectivity in the car. Through this collaboration, the companies will focus research on developing a user interaction methodology including touch, gesture and voice technologies as well as information management for the driver.

IVI_Shot_8
Investing in Future Experiences for Drivers
Intel is making significant investments in automotive engineering capabilities, ecosystem alignment and research to help automakers create new driving experiences that will inform, assist, and entertain drivers safely and efficiently. These investments help drive faster time-to-market and will enable tomorrow’s innovative in-vehicle experiences.

· Intel Labs Automotive Research
Seasoned ethnographers and anthropologists at Intel Labs are working on a variety of projects aimed at making roads safer and gaining knowledge about the safest and most intuitive way for drivers to interact with their vehicles. Advanced sensing, computation and interconnected data will have revolutionary changes on the way people travel with their cars and with each other. Research and technology developed across Intel Labs explores how to enable these new experiences, in which cars will know and adapt to their owners, ease the burden of driving and help people get to their destinations more safely.
· Automotive Innovation and Product Development Center Located in Karlsruhe, Germany, the Center serves as Intel’s global center of competence for the development of products and technologies for IVI and telematics solutions. At the Center, a team of experts in automotive hardware and software engineering is optimizing Intel technologies for applications and services as well as capabilities for consumer electronics integration, performance optimization and system design.
· Intel Capital $100 Million Connected Car Fund The Intel Capital Connected Car Fund aims to accelerate the seamless connection between the vehicle and consumer electronic devices as well as drive new in-vehicle applications, services and differentiated user experiences based on Intel technologies. Through the fund, Intel Capital is investing in hardware, software and services companies that are developing leading-edge ingredient technology and platform capabilities that support Intel’s focus areas in automotive. Investments and activities to date include companies with competencies in Advanced Driver Assistance Systems (ADAS), human-machine interface, telematics and cloud services.
· Open Source Development Intel is actively involved in the GENIVI Alliance, a non-profit industry alliance committed to driving the broad adoption of an IVI open source development platform. Intel is also an active contributor to Tizen IVI, an open platform designed specifically for the automotive market, alongside various automakers and automotive suppliers. The effort aims to accelerate open innovation, facilitate differentiation, and enable common frameworks to lower the cost of software integration and speed time to market of new services.

View :1398

เดลล์ จัดงาน “IDentify Your Style by DELL”

October 17th, 2012 No comments


โชว์สุดยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีครบวงจรแบบหลากสไตล์ เพื่อสะท้อนความเป็นคุณ พร้อมตอกย้ำพัฒนาการด้านบริการผ่าน on-site Service เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น

เดลล์ ร่วมกับ อินเทล เนรมิตรงาน “IDentify Your Style by DELL” เผยโฉมนวัตกรรมสินค้าและเทคโนโลยีหลากสไตล์เสนอเป็นทางเลือกเพื่อเติมเต็มความต้องการ และสะท้อนความเป็นตัวตนของกลุ่มลูกค้าทุกไลฟ์สไตล์ ประกาศความพร้อมนำเสนอสินค้าอินเทรนด์สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นผ่านบริการคุณภาพ DELL On-site Service โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก 3 แขกรับเชิญคนพิเศษ มาร่วมนำเสนอความเป็นตัวตนผ่าน 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ เดลล์ ประกอบด้วย XPS โดยท็อป ณัฐเศรษฐ์ พูนทรัพย์มณี Vostro โดย กรณ์ ณรงค์เดช และ Inspiron โดย พลอย หอวัง

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดไอทีในเมืองไทย ณ ปัจจุบัน มีการเติบโตสูงขึ้น โดยในส่วนของตลาดรวมโน้ตบุ๊คส์ยังคงมีการเติบโตในอัตราที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของเดลล์เองก็ได้มีการแนะนำผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างสรรค์แคมเปญพิเศษเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มสู่กลุ่มเป้าหมาย โดยแต่ละรุ่นก็จะมีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว และที่สำคัญที่สุดคือการแนะนำนวัตกรรมใหม่ที่มีความบางเบาในแบบ “เดลล์ อัลตร้าบุ๊คส์” ซึ่งจากการเปิดตัวล่าสุดที่ผ่านมา สามารถสร้างยอดขายได้อย่างน่าจับตา และเชื่อว่าเทรนด์ดังกล่าวจะยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องและเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่ง เดลล์ คงจะนำเสนอสินค้ารุ่นใหม่ในกลุ่มนี้ เพื่อสร้างความคึกคักยิ่งขึ้นแก่ตลาด

“ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา เดลล์ สามารถสร้างอัตราการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นไป ตามเป้า” นายอโณทัยกล่าว “เราพยายามศึกษากระแสนิยมของโลกและกระแสนิยมภายในประเทศ เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์เข้ามานำเสนอได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นกระแส Light & Thin ในสไตล์ อัลตร้าบุ๊คส์ หรือแม้กระทั่งพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ BYOD และ Cloud เป็นต้น โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 55 นี้ เราวางแผนเปิดตัวสินค้าใหม่หลายรุ่นในกลุ่มของ XPS, Vostro และ Inspiron โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ www.dell.co.th”

ด้านกลยุทธ์ในการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจของเดลล์นั้น นายอโณทัย กล่าวเสริมในประเด็นดังกล่าวว่า “เดลล์ ได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย DELL Team โดยเพิ่มศักยภาพของทีมขายเพื่อมอบบริการที่มีคุณภาพสู่ลูกค้า ด้วยการจัดคอร์สฝึกอบรมแก่ทีมขายโดยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ทีมขายของเดลล์จะสามารถมอบคำแนะนำที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าทุกราย Business Partner โดยให้การสนับสนุนด้านกิจกรรมส่งเสริมการขายแก่ตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เพื่อให้ตลาดมีความคึกคักอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังมีการดีไซน์สื่อ ณ จุดขายให้มีความแปลกใหม่ เพื่อช่วยสร้างและกระตุ้นความสนใจแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง Consumer โดยเน้นที่จะสร้างความชัดเจนให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงรายละเอียดและสไตล์ของสินค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องการ”

“ด้านงานบริการ DELL on-site Service ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเรา ณ ปัจจุบัน โดย เดลล์ยังคงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพด้านบริการเพื่อสร้างเป็นจุดขายหลักในสายตาผู้บริโภค ทั้งยังมีกลยุทธ์ด้าน CRM ผ่าน Yours DELL card ที่มอบสิทธิประโยชน์มากมายเอกสิทธิ์เฉพาะลูกค้า เดลล์ เพื่อสร้างความพึงพอใจอีกด้วย” นายอโณทัย กล่าวสรุป

View :1481
Categories: Technology Tags: , ,

เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….NForum: NForum: Beyond Speed & Connected World: What’s Next?

August 3rd, 2011 No comments

เสาร์นี้ บ่ายโมงครึ่งเป็นต้นไป เนชั่น จับมืออินเทล ชวนคอไอทีสนทนาเรื่องเทคโนโลยีในอนาคต….

• เทรนด์ของเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อตอบรับกับความต้องการใ​นการทำงานและไลฟสไตล์ของคนใ​นปัจจุบัน
• การพัฒนาของเทคโนโลยีและพีซ​ีในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาและทิศทางในอนาค​ต
• เทคโนโลยีล้ำสมัยของอินเทลท​ี่มีในปัจจุบัน
• แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีในอ​นาคต

ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่….

คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ร่วมงานกับอินเทลมาตั้งแต่ต้นปี 2539 ในตำแหน่งผู้จัดการ-อินเทลอาคิเทคเจอร์ ประจำสำนักงานประเทศไทย โดยรับผิดชอบการเผยแพร่กลยุทธ์และเทคโนโลยีของอินเทล ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจและผู้ใช้ทั่วไปโดยตรง ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการในปัจจุบัน

คุณพาที สารสิน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด
(ปริญญาตรี บริหารธุรกิจและวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก Clark University มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโท สื่อสารมวลชน (ภาพยนตร์และวิดีทัศน์) จาก มหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา)

คุณสมเถา สุจริตกุล
ใช้นามปากกาว่า SP ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายเป็นเอเซีย ผลงานของสมเถาเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ ผลงานที่สำคัญได้แก่ “มาริสาราตี” Jasmine Nights, Aquilard กับ Absent Thee From Felicity Awhile (ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล John W.Campbell และรางวัล Hugo), Starship&Haiku (ได้รับรางวัล Locus Award), เรื่องสั้น The Dust (ได้รับรางวัล Edmund Hamilton Memorial Award ในปี 2525), เรื่องสั้นชุด Inquestor เรื่องศูนย์การค้าในอวกาศ Mallworld, ชุด Aquiiad, นวนิยายเรื่อง Starship&Haiku, รวมเรื่องสั้นชุด Fire From The Wine-Dark Sea, นวนิยายเรื่อง The Darkling Wind (ติดอันดับ Locus Bestseller)

คุณสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ค้าส่งอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่ของไทย

ผู้ดำเนินรายการในงานนี้ก็ได้แก่ …..

1. วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง (@worawisut)
ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Marketing Hub’ คอลัมน์นิสต์ประจำ Bangkokbiznews.com และผู้ก่อตั้งเว็บ Appreview.in.th (@appreview)

2. ภิรดี พิทยาธิคุณ (@NuPink)
ทีมกองบรรณาธิการของเว็บ Thumbsup.in.th (@thumbsupTH)

ผู้สนใจสามารถเข้าไปลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเสวนาที่น่าสนใจครั้งนี้ได้ที่นี่

https://spreadsheets.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dDM3cmV0WTRmeEQxVHhRMGNrajdiVlE6MA

View :1877

อินเทลร่วมฉลองครบรอบ 30 ปีคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกสานต่อนวัตกรรมคอมพิวเตอร์จากปัจจุบันสู่อนาคต

July 29th, 2011 No comments


อินเทลร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่บริษัทมีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการไอทีตั้งแต่ยุคของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มเครื่องแรกไปจนถึงยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์และยุครุ่งเรืองของแท็บเบล็ต

ในขณะที่เรากำลังฉลองช่วงเวลาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอยู่นี้ การทำความเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีอิทธิพลสูงเพียงใดต่อชีวิตประจำวันในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมานั้นนับเป็นสิ่งที่ยากทีเดียว ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส และราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลงมากอย่างที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ ไมโครโปรเซสเซอร์ของอินเทลกลายมาเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจให้สูงขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรังสรรค์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคทั่วโลกอย่างมากอีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นของ “สิ่งเร้นลับหลังม่านดำ”

ก่อนที่จะเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปี 2524 ผู้สนใจคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มที่มีความสนใจในเทคโนโลยี ผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่สนใจนำไปใช้ในกิจกรรมอดิเรกของตน และกระหายที่จะเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการใช้งาน องค์ประกอบต่างๆ และพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา แต่หลังจากนั้นไอบีเอ็มได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวคิดดังกล่าว โดยการสร้างมาตรฐานสากลขึ้นมาในวงการอุตสาหกรรม และผลักดันการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ออกมาปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานทั่วโลกในวงกว้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนจึงเริ่มเปลี่ยนมุมมองความคิดโดยมองว่า คอมพิวเตอร์คือเครื่องมือชนิดหนึ่งและไม่ใช่ของเล่นอีกต่อไป
ไอบีเอ็มเปิดตัวพีซีเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2524 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของยุคแห่งการหลบซ่อนอยู่ในเงามืดของคอมพิวเตอร์ และก้าวสู่ยุคของการพัฒนาอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกของไอบีเอ็มใช้ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น อินเทล 8086 เป็น “สมอง” ภายในคอมพิวเตอร์

การแปรสภาพของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง
ระบบประมวลผลผ่านการแปรสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก นับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก
ผู้ที่อายุน้อยกว่า 45 ปีอาจไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรกเป็นอย่างไร จอภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นจอโมโนโครมที่แสดงตัวอักษรและตัวเลขสีเขียวเรืองแสงออกมา แม้ว่าในช่วงแรกๆ มีการจำหน่ายจอสีด้วยเช่นกัน แต่จอสีมีการใช้ในแวดวงที่จำกัดและมีราคาค่อนข้างสูงมาก ในยุคนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่คล่องตัวมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการแสดงผลแบบกราฟฟิกและไม่มีเมาส์สำหรับใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ในยุคปัจจุบันอาจนึกไม่ถึง ในขณะที่ผู้บริโภคในปัจจุบันสามารถซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ชั้นยอดอย่าง อินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ทั้งสามรุ่น คือ อินเทล คอร์ ไอ5 ไอ7 และ ไอ3 ทีมีพลังสมรรถนะในการประมวลผลที่ดีเยี่ยมกว่าสมัยก่อนมาก รวมทั้งยังประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ อีกมากมาย (ขึ้นอยู่กับรุ่นของโปรเซสเซอร์) อาทิ ® Quick Sync, ® Wireless Display 2.0, ® Turbo Boost Technology 2.0 และเทคโนโลยีรุ่นล่าสุดอื่นๆ อีกหลากหลาย

ในปัจจุบัน เราสามารถเพลิดเพลินกับภาพกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง สร้างวิดีโอหรือภาพยนตร์ได้อย่างง่ายดาย ดาวน์โหลดข้อมูลได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง

เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีราคาราวๆ 3,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 91,000 บาท) หรือราคาสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยในขณะนั้นประมาณ 10 เท่า ปัจจุบันราคาคอมพิวเตอร์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.75 เท่าของเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทย และในอนาคตราคาอาจจะยิ่งถูกลงเรื่อยๆ

ในยุคนั้นคอมพิวเตอร์จำนวน 10,000 เครื่อง ถือเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาลแล้ว จอห์น มาร์คอฟ นักเขียนของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ผู้เขียนบทความชื่อ “มองย้อนหลังพีซีเครื่องแรกของฉัน” ที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 เล่าว่า ไอบีเอ็มคาดว่าจะจำหน่ายคอมพิวเตอร์ได้ 240,000 เครื่องภายในเวลา 5 ปี แต่ปรากฏว่าไอบีเอ็มได้รับยอดสั่งซื้อจำนวนนี้ภายในเดือนแรกเท่านั้น ปัจจุบันมีการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์กว่าหนึ่งล้านเครื่องต่อวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเวลาไม่นานในช่วงชีวิตของเรา

เครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็มรุ่นแรก และ “เครื่องเลียนแบบ” ที่ปรากฏตามมาในช่วงต้นปี 2525 ถูกผู้คนมองว่าเป็นแค่ “เครื่องพิมพ์ดีดที่มีจอเรืองแสง” หรือ “เครื่องคิดเลขชั้นดีกว่าปกติ” เท่านั้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างจำกัด แต่ในปัจจุบัน คุณสมบัติต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ได้ขยายขอบเขตออกไปถึงระดับที่ผู้คนในยุคก่อนหน้านี้ไม่เคยจินตนาการว่าจะทำได้มาก่อน คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นโทรศัพท์ ไปรษณีย์ โรงภาพยนตร์ คลังจัดเก็บข้อมูล และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตของเราไปแล้ว

วันนี้และอนาคต

กอร์ดอน มัวร์ ผู้ก่อตั้งอินเทลตั้งข้อสังเกตเอาไว้ในปี 2508 ว่า ความจุของโปรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่เพิ่มเป็นทวีคูณภายในช่วงเวลาสั้นๆ คำพูดดังกล่าวต่อมาได้กลายเป็น “กฎของมัวร์” และแนวโน้มดังกล่าวยังคงเป็นจริงมาจนถึงทุกวันนี้ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสำหรับผู้บริโภคมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคยใช้ในการส่งคนไปดวงจันทร์เสียอีก และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ก็มิได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้นหลังจากผ่านไปแล้ว 30 ปี

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ความก้าวหน้าในสามทศวรรษที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการปฏิวัติวิธีการที่ผู้คนสื่อสาร ทำงาน ศึกษาและเรียนรู้ ตลอดจนแสวงหาความสุขใส่ตัว ในขณะที่วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ของอินเทลจะยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการจัดการงานต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ผู้คนในช่วงหนึ่งหรือสองปีก่อนหน้านี้คาดไม่ถึงว่าจะทำได้”

ปัจจุบันระบบประมวลผลมีการแปลงสภาพต่างไปจากเดิมอย่างมาก จากยุคที่เป็นแค่เครื่องพิมพ์ดีดซึ่งมีจอเรืองแสง ไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับพีซีได้ สมาร์ทโฟน กระทั่งมาถึงยุคของแท็บเบล็ต คอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และยังคงทวีความแข็งแกร่งไปทั่วโลก วิสัยทัศน์ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้คือ การนำรูปแบบการใช้งานแนวใหม่มาใช้ ซึ่งมาในรูปของคอมพิวเตอร์แบบพกพารุ่นใหม่อย่าง นั่นเอง คอมพิวเตอร์ชนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพและคุณสมบัติต่างๆ ของโน้ตบุ๊กที่มีอยู่ในปัจจุบันไปผสมผสานกับคุณสมบัติต่างๆ ของแท็บเบล็ต เพื่อให้มีรูปแบบการใช้งานที่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยดีไซน์ของเครื่องที่บางมาก (บางไม่ถึง 20 มม.) น้ำหนักเบาและดูเรียบหรู ในราคาทั่วไปที่ต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 29,900 บาท) นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคแต่ละรายสามารถเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน หรือขณะอยู่บนท้องถนนก็ตาม


นอกจากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะใช้เป็นระบบประมวลผลข้อมูล เพื่อความบันเทิง หรือใช้ระบบสื่อสารก็ตาม โดยใช้เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการอย่าง Wi-Di (Wireless Display) ซึ่งจะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีได้ และสมาชิกในบ้านทุกคนสามารถหันมาใช้เวลาอันมีค่าร่วมกันได้มากขึ้น ใน “ยุคแห่งการเติบโตของคอมพิวเตอร์” คอมพิวเตอร์ที่บ้านจะได้รับการใช้งานมากขึ้น และผู้บริโภคจะกลายเป็นศูนย์กลางเพื่อกำหนดประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดาว่าจะมีอะไรรอเราอยู่ที่ปลายนิ้วในอนาคตอันใกล้นี้

เมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ อินเทลคาดหวังว่าการก้าวกระโดดของประสิทธิภาพในครั้งต่อไปจะทำให้ระบบประมวลผลก้าวไปสู่ยุคใหม่อีกครั้ง ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับคำสั่งที่เป็นเสียงพูดและตอบสนองได้ในทันทีเป็นต้น

เราได้เดินทางมาไกลมาก นับตั้งแต่ยุคที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาที่ผู้คนต้องปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์และความต้องการต่างๆ ของผู้คนได้กลายเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับเทคโนโลยีไปแล้ว ระบบประมวลผลส่วนบุคคลได้กลายมามีความเป็นส่วนบุคคลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

View :2117

SYNEX โชว์ผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล $Billion Revenue in Y2010 ของ Intel ได้เป็นรายแรก

May 26th, 2011 No comments

เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มบริษัทซินเน็ค หรือ Synnex Apac Group ซึ่งประกอบไปด้วย ซินเน็คในประเทศ ไต้หวัน ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คว้ารางวัล $1Billion Revenue in Y2010 ของอินเทล หรือรางวัลจากการทำยอดขาย CPU (Central Processing Unit) ได้ถึง $ 1 Billion (หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท)     โดยซินเน็คถือเป็นผู้จัดจำหน่ายรายแรกที่สามารถทำยอดขายจนสามารถคว้ารางวัลประเภทนี้ ในปี 2010 ได้ สำหรับรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลจาก Mr. Steve Dallman รองประธานและผู้จัดการทั่วไป อินเทล รีเซลเลอร์ ชาแนล ออกาไนเซชั่น กลุ่มการขายและการตลาด บริษัท อินเทล

ในส่วนของประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก คุณเอกรัศมิ์ อวยศิลประเสริฐ (ที่ 2 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนมอบรางวัลดังกล่าวให้แก่คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน      

View :1746
Categories: Press/Release Tags: ,

อินเทลผนึกพันธมิตร เปิดตัวแคมเปญการตลาดล่าสุด “ทุกคอ ใจเดียวกัน”

September 1st, 2010 No comments

กระตุ้นตลาดไอทีและผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึงคนไทยทั่วประเทศ

อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับพันธมิตร ตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ดังระดับโลก (MNCs) เปิดตัวแคมเปญทางการตลาดล่าสุด “ทุกคอ ใจเดียวกัน” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้ชาวไทยมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพในราคาที่สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ภายใต้โครงการนี้ อินเทลและพันธมิตรจะร่วมกันจัดกิจกรรมการตลาดต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้กลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง โดยอินเทล และตัวแทนจำหน่ายจะเริ่มจากกลุ่มพนักงานในภาคอุตสาหกรรม ด้วยข้อเสนอสุดพิเศษ คอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท้อปที่ใช้อินเทล™ คอร์™ ไอทรี โปรเซสเซอร์ ในราคาเริ่มต้นที่ 16,900 บาท สำหรับในส่วนของโน้ตบุ๊ก พันธมิตรผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการนี้ เบื้องต้นประกอบด้วย เอเซอร์ เดลล์ ซัมซุง และโซนี่ ซึ่งแต่ละรายจะมีการจัดกิจกรรมและโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อผลักดันโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงทุกภาคทั่วประเทศไทย

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หลังจากอินเทลประสบความสำเร็จจากโครงการ “คอมพิวเตอร์เพื่อครอบครัว” (My Family ) และโครงการ “คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน” (Community eCenter) ที่จัดขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในปีนี้เราต้องการต่อยอดให้คนไทยในกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับโอกาส สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น อินเทลและพันธมิตรจึงได้ร่วมมือกันผลักดันโครงการ ‘ทุกคอ ใจเดียวกัน’ ให้เกิดขึ้น สำหรับอินเทลแล้ว เราไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะการผลิตเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่เรายังมองไกลไปถึงประโยชน์ที่คนไทยทุกคนจะได้รับจากการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ของสมาชิกในครอบครัวให้ดีขึ้นกว่าเดิม”

นายเอกรัศมิ์ กล่าวเสริมว่า “อินเทลเชื่อว่า การส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และการผลักดันเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตยิ่งขึ้นนั้น เราจำเป็นต้องเร่งสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและมั่นคง ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ สิ่งที่สำคัญคือความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงโลกที่เราอาศัยอยู่ในอนาคตอีกด้วย”

โครงการ “ทุกคอ ใจเดียวกัน” ซึ่งเริ่มแล้วตั้งแต่บัดนี้ จะเริ่มต้นด้วยกิจกรรมโร้ดโชว์เพื่อสาธิตประสิทธิภาพการทำงานของพีซีและโน้ตบุ๊กที่ใช้อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ ไปตามนิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เชียงใหม่ ลำพูน โคราช ขอนแก่น อุบลราชธานี พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนั้น อินเทลยังจะมีการสาธิตถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในช่วงกิจกรรมโร้ดโชว์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เห็นประโยชน์และเสริมสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย

นายสนธิญา หนูจีนเส้ง ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นอกเหนือจากกิจกรรมโร้ดโชว์ที่อินเทลจัดขึ้นแล้ว เรายังได้รับความร่วมมือจากร้านค้ามากกว่า 150 แห่งทั่วประเทศ ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มพนักงานตามโรงงานต่างๆ ในจังหวัดของตนอีกด้วย ซึ่งเราคาดว่าการจัดโร้ดโชว์ในครั้งนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสได้พบปะกับพนักงานตามโรงงานต่างๆ ได้มากกว่า 100,000 คนภายในสิ้นปีนี้ จากพนักงานโรงงานทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ โดยคอมพิวเตอร์ภายใต้โครงการที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับพนักงานโรงงาน คือ คอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท้อปซึ่งใช้ อินเทล คอร์ ไอทรี โปรเซสเซอร์ ในราคาเริ่มต้นที่ 16,900 บาท โดยในส่วนของโน้ตบุ๊กก็จะเป็นความร่วมมือของแต่ละร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการกับเรา”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ “ทุกคอใจเดียวกัน” ดูได้ที่ www..com/th* และwww.3yearswarranty.com**

View :1452
Categories: Press/Release Tags: ,

เดลล์ร่วมมือกับอินเทล จัดกิจกรรม Blogger Day By Dell & Intel

July 28th, 2010 No comments

นายอโนทัย เวทยากร ผู้จัดการประจำประเทศไทย และนายกฤตวิทย์ กฤตยเรืองโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มคอนซูมเมอร์ ประจำภาคพื้นเอเชียใต้ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยคุณสหัสา อินทร์ไทยวงศ์ MNC Account Manager บริษัท อินเทล ไมโครอิเลกทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรม By & ซึ่งเป็นการรวมเหล่าบล็อกเกอร์จากเว็บต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมสัมผัสนวัตกรรมใหม่จากเดลล์และอินเทล เมื่อเร็วๆ นี้

View :2176
Categories: Press/Release Tags: , ,

อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม กลับมาอีกครั้ง 13-15 ก.ย. ที่ซานฟรานซิสโก

July 23rd, 2010 No comments

พอล โอเทลลินี ซีอีโออินเทล เตรียมแสดงวิสัยทัศน์ในวันเปิดงาน

ซานฟรานซิสโก 23 กรกฏาคม 2553 – งานสัมมนาด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น จะกลับมาจัดขึ้นที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 13-15 กันยายน ศกนี้ ในโอกาสครบรอบปีที่ 13 ของการจัดงาน อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) อินเทลจะแสดงวิสัยทัศน์โดยเน้นไปที่ทิศทางเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ ของอินเทลที่จะเปิดตัวในปีหน้าเป็นต้นไป ทั้งในกลุ่มของเอ็นเตอร์ไพรซ์ โมบิลิตี้ เอ็มเบ็ดเด็ดและการสื่อสาร ซอฟต์แวร์ การผลิต และการวิจัย

ผู้บริหารหลายท่านจากอินเทล ต่างเตรียมตัวเพื่อเปิดเผยถึงกลยุทธ์หลักๆ ในหัวขัอที่ล้วนแต่น่าสนใจทั้งสิ้นตลอดทั้งสามวันของการจัดงาน ซึ่งจะมีขึ้นที่มอสโคน เซ็นเตอร์ เวสต์ (Moscone Center West) โดยในวันแรก พอล โอเทลลินี ซีอีโอและประธานบริษัทอินเทล จะขึ้นกล่าวเปิดงานบนเวทีโดยการนำเสนอถึงมุมมองที่มีต่อ “Computing Continumm” ในปัจจุบันซึ่งมีอินเทลเป็นผู้ผลักดัน ตามด้วย เดวิด เพิร์ลมัตเตอร์ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของอินเทล ที่จะมาเจาะลึกถึงเรื่องที่พอล โอเทลลินิ ได้กล่าวไปตอนต้น

สำหรับการบรรยายในวันที่สอง ซึ่งจะเน้นไปที่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของ อินเทล™ อะตอม™ โปรเซสเซอร์ จะมีสองผู้บริหารจากอินเทลมาร่วมบรรยาย ประกอบด้วย ดั๊ก เดวิส รองประธานและผู้จัดการทั่วไป อินเทล เอ็มเบ็ดเด็ด แอนด์ คอมมูนิเคชั่น กรุ๊ป และ เรอเน่ เจมส์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป อินเทล ซอฟต์แวร์แอนด์ โซลูชั่น กรุ๊ป

ส่วนการบรรยายในวันที่สาม (15 กันยายน) ซึ่งจะเป็นวันสุดท้ายของงาน จัสติน แรทเนอร์ รองประธานและผู้อำนวยการ อินเทล แล็บ ซึ่งเป็นประธานบริษัทด้านเทคโนโลยี และพนักงานอาวุโสของอินเทลด้วย จะขึ้นกล่าวบรรยายโดยเน้นแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในงานไอดีเอฟครั้งนี้ ยังประกอบด้วยการจัดแสดงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งมีการแสดงและสาธิตนวัตกรรมล่าสุดจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของวงการ หัวข้อการบรรยายน่ารู้ในช่วง Insight กับประเด็นต่างๆ ก็มีการนำกลับมาจัดในงานนี้ด้วยเช่นกัน โดยมี โทมัส เพียซซา อดีตพนักงานอินเทล และ โอเฟอร์ คาห์น หัวหน้าวิศวกรอาวุโสของอินเทล มาร่วมสนทนาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมอินเทลที่ใช้ชื่อรหัสว่า “แซนดี้ บริดจ์” ในช่วง Technology Insight ของแรก (13 กันยายน) ซี่งรวมถึง ช่วง Industry Insight ในวันแรก ซึ่งจะมี ไดแอน ไบรอัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของอินเทล มาร่วมสนทนากับวิทยากรท่านอื่นๆ เกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายที่โลกไอทีกำลังเผชิญอยู่ ส่วนในช่วง Technology Insight ของวันที่สองนั้น จะมีการสนทนาซึ่งเน้นในเรื่องของซอฟต์แวร์

ตลอดสามวันของการจัดงาน จะมีการบรรยายกลุ่มย่อยหลากหลายหัวข้อให้ผู้ร่วมงานเลือกเข้าฟังตามความสนใจ เช่น “แซนดี้ บริดจ์” คลาวด์ คอมพิวติ้ง อีโค-เทคโนโลยี อินเทล อะตอม และ อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ รุ่นต่างๆ, ไอทีสำหรับทางการแพทย์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Embedded solutions, ® Solid-State Drive Technology, PCI Express, SuperSpeed USB*, Unified Extensible Firmware Interface* และ visual computing

ในช่วงบรรยายกลุ่มย่อยหัวข้อ “Intel Fellows: Live and Uncensored” ผู้ชมจะสามารถตั้งคำถามอะไรก็ได้ กับผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคโนโลยีของอินเทล โดยจะเป็นการตอบคำถามโดยไม่ปิดบัง

มาร์ก เออร์สัน ผู้จัดการที่ดูแลการจัดงาน ไอดีเอฟ ทั่วโลก กล่าวว่า “ผมเชื่อว่า คุณจะต้องการเข้าร่วมงานไอดีเอฟแน่ๆ เพราะงานไอดีเอฟคือจุดเริ่มต้นของอนาคต และเป็นงานที่เปิดโอกาสให้คุณได้ร่วมงานกับเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงการเดียวกัน ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงได้แลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนาคตทั้งสิ้น งานประชุมไอดีเอฟในแต่ละวันจะอัดแน่นไปด้วยข้อมูลด้านเทคโนโลยีที่สำคัญและแง่มุมความรู้ใหม่ๆ ที่จะได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง”

ผู้สนับสนุนระดับโกลด์ของงานไอดีเอฟ ประกอบด้วย ซิสโก ซิสเต็มส์ ซิตริกซิสเต็มส์ อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชัน แรมบัส ซัมซุง ซูเปอร์ไมโคร และ วิน ริเวอร์ ส่วนผู้สนับสนุนระดับซิลเวอร์ ประกอบด้วย ดีทีเอส อิงก์ ไฮนิกซ์ เซมิคอนดักเตอร์ อิงก์ เลอโนโว กรุ๊ป ลิมิเต็ด ไซแมนเทค และ วีเอ็ม แวร์

ผู้สนใจร่วมงานไอดีเอฟ สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงานได้ที่ www.intel.com/

View :1575