Home > Press/Release, Technology > 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ที่มีผลต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันในอนาคต

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ที่มีผลต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันในอนาคต

September 22nd, 2011 Leave a comment Go to comments

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามมองในปีนี้นั้น จะนำเสนอเทคโนโลยีใน 4 สาขาที่กำลังได้รับความสนใจ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านพลังงานสะอาด ด้านวัสดุศาสตร์ และด้าน IT โดยเทคโนโลยีที่นำเสนอในปีนี้นั้น จะมีบางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว และมีบางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทุกท่านจะต้องติดตาม รับรู้ และจับตามอง เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้ อาจมีผลต่อธุรกิจ และชีวิตประจำวันของท่านในอนาคต
10 เทคโนโลยีนี้ ได้แก่

ด้าน Health

10. อวัยวะซ่อมเสริมเติมสร้าง (Artificial Organ)
ศาสตร์แห่งการสร้างอวัยวะซ่อมเสริมเติมสร้างหรืออวัยวะเทียม (Artificial Organ) เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะช่วยให้มนุษย์มีอายุยืนมากขึ้น เพื่อสนับสนุนและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยและผู้พิการ

9. ระบบส่งยานำวิถีด้วยนาโน (Drug Delivery System หรือ DDS)
เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ยาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยสามารถนำส่งยานั้นไปสู่ต้นตอของโรคได้ดีขึ้น
ระบบที่เตรียมขึ้นเพื่อใช้เป็นพาหะในการนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเข้าสู้ร่างกาย โดยสามารถควบคุมการปลดปล่อย หรือเพื่อให้นำสู่เป้าหมายที่ต้องการได้เฉพาะเจาะจง โดยมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด รวมไปถึงสามารถติดตามผลของการรักษาได้อย่างต่อเนื่องด้วย

8. จิโนมิกส์ส่วนบุคคล (Personal Genomics)
เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ โดยใช้เทคนิคการหาลำดับเบสของสารพันธุกรรม (DNA Sequencing) ซึ่งสามารถพิจารณาความเสี่ยงของการเกิดโรค การแพ้ยา (Predictive medicine) และการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลได้ รวมไปถึงสามารถใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมในการพัฒนายาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลหรือกลุ่มประชากรได้ (Personalize medicine)

ด้าน Green Energy

7. ก้าวใหม่ของพลังงานชีวภาพ (Cellulosic biofuel)
การพัฒนาเอทานอลจากวัสดุเซลลูโลส เช่น เศษวัสดุการเกษตร พืช/ไม้โตเร็ว เป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์เรื่อง การขาดแคลนพลังงาน ปัญหาโลกร้อน และข้อขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงพืชอาหารเพื่อผลิตพลังงานในปัจจุบันได้

6. เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Solar Cell)
เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโร (High efficiency heterojunction solar cells) เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนที่มีประสิทธิภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงเมื่อเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอนทั่วไป ทำให้มีความเหมาะสมสำหรับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย

ด้าน Material

5. พลาสติกฐานชีวภาพ (Future Bio-based Plastics)
Bio-based Plastics หรือพลาสติกชีวภาพ จากแหล่งวัตถุดิบที่เป็น renewable resources ซึ่ง มีทั้งที่เป็นประเภทย่อยสลายได้ ย่อยสลายได้บางส่วน หรือ ย่อยสลายไม่ได้ แล้วแต่ประเภทและการใช้งาน โดยพลาสติกชีวภาพจะช่วยแก้ปัญหาของปริมาณวัตถุดิบจากปิโตรเลียมที่มีจำกัด และลดปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากกระบวนผลิตอีกด้วย

4. จีโอพอลิเมอร์ (Geopolymer)
เป็นวัสดุจำพวกอะลูมิโนซิลิเกต ที่มีสมบัติทางกลดีมาก ทนไฟ และทนทานต่อสารเคมี นอกจากนี้กระบวนการผลิต จีโอพอลิเมอร์ นั้นยุ่งยาก ใช้พลังงานต่ำ และยังเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้น จีโอพอลิเมอร์จึงเป็นวัสดุและเทคโนโลยีที่น่าจับตาและมีแนวโน้มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต

3. กราฟีน (graphene)
กราฟีน (graphene) คือวัสดุมหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติน่าทึ่งหลายอย่าง เช่น แข็งกว่าเหล็กกล้าและแม้แต่เพชร ยืดหยุ่นได้ถึงร้อยละ 20 นำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดงและยังโปร่งแสงอีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว จึงสามารถนำกราฟีนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น สามารถเป็นได้ทั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จอภาพที่ใช้งานด้วยการสัมผัส (touch screens) โทรศัพท์มือถือ และชิปคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เซ็นเซอร์ตรวจวัด และเป็นโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
ด้าน IT

2. จอแสดงภาพสามมิติ (3D Display)
จอภาพสามมิติในปัจจุบัน ใช้หลักการมองเห็นภาพแบบ Stereoscopy และ Parallax มาผสมผสานเข้ากับหน่วยแสดงจอแสดงผลแบบผลึกเหลว จอพลาสมาและฉากรับภาพ ซึ่งการเติบโตและการประยุกต์ใช้จอแสดงภาพ 3 มิติจะเกิดขึ้นเมื่อจอแสดงภาพ3 มิตินั้นเป็นแบบไม่ใส่แว่นหรืออุปกรณ์เสริมจากภายนอก

1. จากเว็บไซต์สู่เว็บเชิงความหมาย (Semantic Web)
เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตอันใกล้ คือ Web 3.0 หรือ Semantic Web ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีที่มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน เว็บไซต์อยู่ในรูป Read-Write-Relate นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถจัดการกับเว็บไซต์ของตนเองได้อย่างอิสระ (Read-Write-Execute)
สิ่งที่สำคัญของ Semantic Web คือ การเชื่อมโยงนั้นจะเป็นการเชื่อมโยงเนื้อหา ไม่ใช่รูปแบบหรือลิงค์ อย่างที่ผ่านมา โดยมีแนวคิดเบื้องหลังคือ ออนโทโลยี และแสดงผลบนมาตรฐานได้แก่ RDF (Resource Definition Framework) หรือ OWL (Ontology Web Language) นั่นเอง

View :1741

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.