Archive

Posts Tagged ‘ICT 2020’

ก.ไอซีที ชง (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้คณะกรรมการ กทสช.พิจารณา

September 19th, 2010 No comments

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิด เผยว่า กระทรวงไอซีที ได้นำเสนอ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่ง ชาติ (กทสช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาในวันนี้ (17 ก.ย.53) หลังจากที่กระทรวงฯ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)จัดทำร่างนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้การพัฒนาบรอดแบนด์ของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน มีความเป็นเอกภาพสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ และสามารถรองรับความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสมตามมติของคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553

“สาระ สำคัญของ (ร่าง) นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติที่กระทรวงฯ เสนอให้ กทสช. พิจารณา ก็คือ การกำหนดนโยบายหลักให้บริการบรอดแบนด์เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่นเดียวกับน้ำ ไฟฟ้า หรือถนนทางด่วนที่ต้องมีอย่างเพียงพอ ประชาชนมีโอกาสเลือกใช้บริการที่หลากหลายทั่วถึงเท่าเทียมกัน ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสแข่งขันอย่างเสมอภาค โดยมีอัตราค่าบริการพื้นฐานที่เหมาะสม โดยมีการให้บริการแบบ 24 x 7 ที่ระดับคุณภาพเชื่อถือได้ 99.99% ภายในปี 2558 พร้อมกันนี้ ยังมีนโยบายให้โครงข่ายบรอดแบนด์นั้นเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมให้เกิดการ พัฒนาทางด้านการศึกษา สาธารณสุข บริการของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ดี ขึ้น โดยมีการครอบคลุมอย่างทั่วถึง คือ ให้ประชากรไทยไม่ต่ำกว่า 80% จะต้องสามารถเข้าถึงบรอดแบนด์ได้ภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563” นายจุติ กล่าว

สำหรับ มาตรการที่วางไว้เพื่อผลักดันการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวนั้น กระทรวงฯ ได้กำหนดมาตรการไว้ทั้งสิ้น 8 ข้อ คือ 1.ลดการลงทุนซ้ำซ้อนด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน 2.กำหนดให้มีการร่วมกันใช้โครงสร้างพื้นฐานส่วนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อที่จะทำให้ประชาชนได้ใช้บริการบรอดแบนด์ในราคาที่เหมาะสมโดยรัฐต้อง เป็นผู้นำในโครงการประเภทนี้ 3.รัฐต้องมีนโยบายผลักดันและส่งเสริมตลาด ( market intervention) เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม โดยส่งเสริมการเข้าถึงตลาดแบบเปิด ( OPEN Access model) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด 4.เลิกการผูกขาดเชิงนโยบายของหน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของ คือ ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือข้อยกเว้นแก่หน่วยงานภาครัฐที่ต้องแข่งขันกับเอกชนบน พื้นฐานการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ขณะเดียวกันก็ต้องหาแนวทางอย่างจริงจังสำหรับการลงทุนกิจการโทรคมนาคมแบบรัฐ ร่วมมือกับเอกชน ( Public-Private Partnership) พร้อมไปกับการปกป้องสิทธิอันพึงได้ของพนักงานของหน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของอย่างเหมาะสม

5.ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับบริการบรอดแบนด์ 6.ส่งเสริมการใช้บรอดแบนด์เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนและรักษาสิ่งแวด ล้อม 7.ปกป้องภัยคุกคามและเตรียมการรับมือผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดตามมาจากการมี บริการ

บรอดแบนด์ อย่างแพร่หลาย โดยต้องทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงประโยชน์และภัยอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้ และ 8. กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เสนอ ร่าง นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติฉบับสมบูรณ์ แก่คณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอแนะการปรับปรุงนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ กำหนดตัวชี้วัดและวิธีประเมินผลที่จำเป็นสำหรับการติดตามความสำเร็จของ นโยบายฯ และประสานงานการดำเนินการที่จำเป็นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถ บรรลุเป้าหมายของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ

“ใน ส่วนของข้อเสนอที่กระทรวงฯ ต้องการให้ กทสช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ คือ การตั้งอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ ที่ประกอบด้วยภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการตามมาตรการภายใต้นโยบายทั้ง 8 ข้อ รวมทั้งนำร่างนโยบาย บรอดแบนด์แห่งชาติ เข้ารับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศเป็นนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกคณะกรรมการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ซ้ำซ้อนกับงานของคณะอนุกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้รวมงานที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียวอีกด้วย” นายจุติ กล่าว

นอก จากนี้ในการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ ครั้งนี้ กระทรวงฯ ยังมีการเสนอเรื่อง ร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ.2554 – 2563 ( ) ร่างแผนแม่บทไอซีทีอาเซียน ( ASEAN ICT Master Plan 2015) และร่างพระราชบัญญัติสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. เข้าสู่การพิจารณา เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปอีกด้วย

View :1571

ก.ไอซีที กำหนด 7 ยุทธศาสตร์หลักในกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อพัฒนาด้านไอซีทีของไทยในอีก 10 ปี

August 10th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า เนื่องจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544 – 2553 หรือ IT 2010 ของประเทศไทยจะสิ้นสุดระยะเวลาลงในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงฯ จึงได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย หรือ ขึ้น เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมมีความต่อเนื่องจากกรอบนโยบายเดิม โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคมของไทยในระยะเวลา 10 ปี ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำกรอบนโยบายไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำ แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงาน โดยกระทรวงฯ ได้เริ่มดำเนินการจัดทำร่างกรอบนโยบาย มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2553

ด้าน นางเมธินี เทพมณี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทฯ นั้น เริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อประเมินการพัฒนา ICT ของประเทศไทยกับเวทีโลก การวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน การรวบรวมข้อมูลแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การประเมินสถานภาพการพัฒนา และการมีการใช้เทคโนโลยี ICT ในประเทศ

พร้อมกันนี้ยังมีการจัดการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ( High-level Expert Roundtable) ในช่วงปลายปี 2552ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบและแนวโน้มของเทคโนโลยี ICT โดย แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มการเมืองการปกครอง กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มสังคม กลุ่มสื่อ กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม และประเด็นเรื่องเทคโนโลยีอุบัติใหม่ หลังจากนั้นในระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม 2553 จึงได้มีการจัดทำร่าง วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการขับเคลื่อนรายยุทธศาสตร์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องมาระดมความคิดเห็น เพื่อกำหนดมาตรการ แผนงาน และโครงการเร่งด่วนในยุทธศาสตร์แต่ละกลุ่ม ซึ่ง (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 นี้ ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

1.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอนาคต ” 2.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ” 3.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาทุนมนุษย์ ICT สำหรับปี 2020 ” 4.ยุทธศาสตร์ “ การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT” 5.ยุทธศาสตร์ ” ICT เพื่อการให้บริการของภาครัฐ ( Public Service)” 6.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อความเท่าเทียมทางสังคม ( Social Equality)” และ 7.ยุทธศาสตร์ “ICT เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ”

นอกจากนี้ ใน (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ยังมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศอีก 3 ประเด็น คือ 1. ประเด็น “ ด้านกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ” 2. ประเด็น “ การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย ICT: แนวทางการขับเคลื่อนภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020 ” และ 3. “ แนวทางการพัฒนา ICT เพื่อการบริการสุขภาพภายใต้กรอบนโยบาย ICT 2020″

“หลังจากใช้เวลากว่า 1 ปี คณะทำงานจัดทำกรอบนโยบายฯ ของกระทรวงฯ จึงได้ทำการ (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ใกล้แล้วเสร็จ และได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะขึ้นในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ 4 ภูมิภาค โดยในภาคเหนือจัดให้มีการประชุมที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคกลางจะจัดที่จังหวัดนครปฐม และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลาตามลำดับ ซึ่งการจัดประชุมฯ ดังกล่าวนี้นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)

กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ.2554-2563 โดยเฉพาะความคิดเห็นในภูมิภาคต่างๆ และนำข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเหล่านั้น มาใช้ในการปรับปรุงตัวร่าง และการจัดทำกรอบนโยบายฯ ฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยในระยะเวลา 10 ปี ให้เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณชน ทั่วประเทศด้วย” นางเมธินี กล่าว

View :2345
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างกรอบนโยบาย ICT 2020

August 7th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ต่อร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย ( ) ว่า ปัจจุบันสถานภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ที่ได้จากข้อมูลอ้างอิงของดัชนีหลักๆ ในระดับสากลที่นิยมใช้เป็นเครื่องวัดขีดความสามารถด้าน ICT ของประเทศนั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีสถานภาพด้าน ICT ที่ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย เช่น การจัดอันดับ The World Competitiveness Scoreboard ที่จัดทำโดย IMD ใน ปี 2010 ที่ประเมินคะแนนของแต่ละประเทศจากสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีด้วย พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 จากทั้งหมด 58 ประเทศ โดยอันดับไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 จากเดิมที่ในปี 2009 อยู่ลำดับที่ 3 และมาเลเซียอันดับที่ 10 จากเดิมอันดับที่ 18

โดยในปี 2009 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีจุดอ่อนสำคัญในเรื่องโครงสร้างทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ซึ่งหากพิจารณาจากดัชนี Networked Readiness Index ที่ จัดทำในปี 2009 – 2010 อันเป็นตัวชี้วัดด้านความพร้อมใช้ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการพัฒนาและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ ก็พบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 47 จาก 133 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับเดียวกับปี 2008-2009 ขณะที่สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ในอันดับที่ 4 เช่นเดียวกับมาเลเซียที่เลื่อนลำดับจากที่ 28 ในปี 2008-2009 มาเป็นอันดับที่ 27 ในปี 2009-2010 ส่วนด้านอุตสาหกรรม ICT ซึ่งพิจารณาจากดัชนี IT industry competitiveness ที่จัดทำโดย EIU ใน ปี 2009 พบว่า ไทยอยู่ในอันดับที่ 49 จาก 66 ประเทศที่มีการจัดอันดับ ขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 9 และ 42 ตามลำดับ ดัชนีตัวชี้วัดดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพการใช้ ICT ของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันแล้ว ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอีกมากพอสมควร

นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทย ยังพบว่าผลการสำรวจการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยยังไม่เต็มศักยภาพเท่าที่ควร ซึ่งผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ายังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี ICT ที่ ยังไม่ทั่วถึงในภาคส่วนต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในต่างจังหวัด ในภาคการศึกษา ที่ยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนน้อย รวมทั้งในภาคการเกษตร ที่แทบไม่มีการนำเอา ICT ไปใช้เพิ่มผลิตภาพผลิตผล ขณะที่ในภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กก็ยังมีการนำเอา ICT ไปใช้น้อย และในส่วนของอุตสาหกรรม ICT แม้ บางส่วนจะเริ่มมีการพัฒนาแต่ยังเป็นระยะเริ่มต้น ทั้งที่ ประเทศไทยมีความสามารถที่จะพัฒนาให้ได้ดีกว่านี้อีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการวิจัยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ ICT

“สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ย้ำเตือนให้ตระหนักว่าการเร่งพัฒนา ICT ถือเป็นภารกิจจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกๆ ภาคส่วนไม่ว่ารัฐหรือเอกชนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถด้าน ICT ของ ประเทศอย่างเร่งด่วน จริงจัง และต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่มาของการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.2554-2563 หรือ ICT 2020 ฉบับนี้ ทั้งนี้ เป้าหมายของการพัฒนานั้นไม่ใช่เพียงเพื่อจะ ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่อันดับที่ดีขึ้นทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านเท่า นั้น แต่ยังมีเป้าหมายหลักที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของชาวไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยโดยมี ICT เป็นเครื่องมือ” นายวิบูลย์ทัต กล่าว

สำหรับ (ร่าง) กรอบนโยบาย ICT 2020 ฉบับนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีเนื้อหาหลักประกอบด้วยยุทธศาสตร์สำคัญที่ครอบคลุมบริบททางสังคมและ เศรษฐกิจของไทยในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า รวมทั้งยังให้ความสำคัญกับประเด็นใหม่ๆ ที่สอดรับกับกระแสและสภาวการณ์ของโลก เช่น ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านสังคมการเมือง ด้านการศึกษา และด้านสุขภาพ รวมถึงการใช้จุดแข็งและโอกาสของประเทศไทยที่มีอยู่ให้ได้ผลดีมากที่สุดใน เชิงยุทธศาสตร์

อย่าง ไรก็ตาม (ร่าง) กรอบนโยบายนี้ ยังไม่ใช่ฉบับสมบูรณ์ เนื่องจากต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาค ส่วนต่างๆ ด้วย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ ขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อจะนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงเพิ่มเติมในกรอบนโยบาย ICT 2020 แล้วจึงนำเสนอต่อคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบแนวทางระยะยาวในการดำเนินการด้านการพัฒนา ICT ของประเทศต่อไป

“กระทรวงฯ หวังว่ายุทธศาสตร์และมาตรการในร่างกรอบนโยบายฉบับนี้ จะเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมีความชัดเจน และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพื่อให้ส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกได้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการใช้กรอบนโยบายในปี พ.ศ.2563” นายวิบูลย์ทัต กล่าว

View :1886
Categories: Press/Release Tags: ,

ก.ไอซีที เร่งระดมความคิดเห็นร่างกรอบนโยบาย ICT 2020

August 7th, 2010 No comments

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ “ร่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 – 2563 ของประเทศไทย ( ) ” ณ ห้องจูปิเตอร์ 4 – 7 ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานคร และภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ แล้วจึงนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับปรุงเพิ่มเติมในกรอบนโยบาย ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) และคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อกรอบนโยบาย เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบแนวทางระยะยาวในการดำเนินการด้านการพัฒนา ICT ของประเทศต่อไป

View :1613
Categories: Press/Release Tags: