Home > Press/Release, Science, Technology > รมว.วิทย์ฯ ลงพื้นที่จัดโซนนิ่ง (Zoning) ปลูกข้าวพร้อมแจกจ่ายพันธุ์ “หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” ให้แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ อยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

รมว.วิทย์ฯ ลงพื้นที่จัดโซนนิ่ง (Zoning) ปลูกข้าวพร้อมแจกจ่ายพันธุ์ “หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” ให้แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ อยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงพื้นที่แจกจ่ายพันธุ์ข้าวหอม “หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน” พร้อมร่วมหว่านข้าวกับเกษตรผู้ประสพอุทกภัยน้ำท่วม อ.ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดย โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สังกัด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำกัด ภายใต้โครงการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในระดับชุมชน

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อุทกภัยในประเทศไทย ปี 2554 เป็นอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้น มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 12.61 ล้านไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวถูกน้ำท่วมและได้รับผลกระทบเกือบ 10 ล้านไร่ โดยเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล็งเห็นความสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย โดยได้จัดทำโครงการช่วยเหลือทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรของไทยที่ประสบอุทกภัย เช่น โครงการแผนฟื้นฟูโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่นาปรัง โดยในระยะแรก จะรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีจากเครือข่ายเกษตรกร เพื่อกระจายให้กับเกษตรกรในเขตภาคกลางที่ประสบอุทกภัยปลูก เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา จ.นครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกในฤดูนาปี 2555 ต่อไป และในระยะยาว จะเน้นส่งเสริมชุมชนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้ปลูกเอง และนำไปสู่ธุรกิจการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และเพื่อความยั่งยืนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำรองสำหรับรองรับภัยธรรมชาติ

จากข้อมูล พื้นที่ จ.อยุธยา พบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูการทำนาปรังทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะใช้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในงานบริหารทรัพยากร เช่น การจัดทำ Zoning พื้นที่ปลูกข้าวที่เหมาะสมในการปลูกข้าวนาปีและข้าวนาปรัง การบริหารจัดการน้ำ และประยุกต์ใช้แบบจำลอง เพื่อคาดการณ์ระยะเวลาที่ควรปลูก-เก็บเกี่ยวล่วงหน้า รวมถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคแมลง เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เป็นการลดความเสี่ยงหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร เป็นต้น

จากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรที่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก ไร่นามากกว่าหลายล้านไร่เกิดความเสียหาย เมื่อข้าวไม่ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังย่อมส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิต ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มอบหมายให้

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ไบโอเทค/สวทช. มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพปรับปรุงพันธุ์ข้าว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ข้าว IR57514 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนน้ำท่วมฉับพลันกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมชลสิทธิ์ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถทนอยู่ในน้ำได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ มีผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1000 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะกับพื้นที่ ภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย เช่น พื้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมเป็นประจำทุกปี

ปัจจุบัน ไบโอเทค/ สวทช. ประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย โรค และแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน, สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้, สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้ และ ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่ง สวทช. ได้นำสายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ดังกล่าวไปเผยแพร่ ส่งเสริมให้เกษตรกรในหลาย ๆ พื้นที่แล้ว ได้แก่ จ.สกลนคร อุบลราชธานี น่าน เชียงราย นครพนม ลำปาง ชัยภูมิ นครพนม สุพรรณบุรี นครปฐม ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร พิจิตร เฉพาะพันธุ์หอมชลสิทธิ์นี้ ได้มีการเผยแพร่ไป ที่เกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมที่พิจิตร ตั้งแต่ปี 2551 แต่ได้มาส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่สหกรณ์การเกษตรผักไห่เป็นแห่งแรก

ด้าน ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วท กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ แก่เกษตรกร อ.ผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตนยังมีกำหนดการที่จะไปร่วมปักป้ายเพื่อตรวจวัดระดับปริมาณท่วมสูงสุดในเขตพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เห็นความชัดเจนของระดับที่ท่วมในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด พร้อมทั้งเสนอที่จะสนับสนุนงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำและเป็นโมเดลในปีต่อไปอีกด้วย”

View :1678

Related Posts

Categories: Press/Release, Science, Technology Tags:
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.