Home > Press/Release > ม.อ. ภูเก็ต ร่วมกับซิป้า และไอบีเอ็ม ประกาศผลผู้ชนะจากโครงการ “การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ประเทศไทย 2553

ม.อ. ภูเก็ต ร่วมกับซิป้า และไอบีเอ็ม ประกาศผลผู้ชนะจากโครงการ “การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ประเทศไทย 2553

ม.อ. ภูเก็ต ร่วมกับซิป้า และไอบีเอ็ม ประกาศผลผู้ชนะจากโครงการ “การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ประเทศไทย 2553 ()”

กรุงเทพ – 12 ตุลาคม 2553 – ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต (ม.อ.ภูเก็ต) ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ประกาศผลผู้ชนะจากการแข่งขันโครงการจัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ประเทศไทย 2553 (ACM-ICPC Thailand National Contest 2010) ระดับประเทศ ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ที่ ม.อ.ภูเก็ต และได้ดำเนินการจัดการแข่งขันเมื่อเร็วๆ นี้

การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC ประเทศไทย 2553 (ACM-ICPC Thailand National Contest 2010) จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านจำนวนและความสามารถ และกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มากขึ้น การแข่งขันในการเขียนโปรแกรม (Programming contest) ระดับประเทศ การแข่งขันในครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงเพราะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากกว่า 200 คนจากทั่วประเทศ

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันดังกล่าว ได้แก่ ทีม CU Nibiru จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ร่วมทีมในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ นายภัทร สุขประเสริฐ, นายศรัณย์ เลิศประดิษฐ์, นายพูนลาภ เมฆรักษากิจ สำหรับผู้ที่ดูแลทีมนี้ คือ ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ และ ผศ.ดร.พิษณุ คนองชัยยศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม CU Star 11 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ร่วมทีมในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ นายรวิพล ศุขโชติ, นายวุฒิไกร เสรีวัฒนวุฒิ, นายพุฒิ ไทยภูมิ สำหรับผู้ที่ดูแลทีมนี้ คือ ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ และ ผศ.ดร.พิษณุ คนองชัยยศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม Optimus จาก มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งมีผู้ร่วมทีมในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ นายพีระศักดิ์ รัตนมณี, นายวรรธนัย วัชราทักษิณ, นายธนพล จินดาพิทักษ์ และนายศาณศรัณย์ สุขวงศ์วิวัฒน์ ซึ่งเป็นตัวสำรองในการแข่งขันของทีม Optimus สำหรับผู้ที่ดูแลทีมนี้ คือ อาจารย์สุธน แซ่ว่องและดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 คือ ทีม CU Star 17 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีผู้ร่วมทีมในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ นายศิระ ทรงพลโรจนกุล, นายเสรีรัฐ สิงหสุต, นายฉายวิช ปราการพิลาศ สำหรับผู้ที่ดูแลทีม คือ ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 คือ ทีม ZeptoSoft of MSU จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคราม ซึ่งมีผู้ร่วมทีมในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ นายประพจน์ ธรรมศิรารักษ์, นายอธิพงศ์ คำสีลา, นายธีรพงศ์ ขัตติยะวงศ์ สำหรับผู้ที่ดูแลทีม คือ อาจารย์ พรทิวา ปะวะระ สำหรับ 5 อันดับ นี้ SIPA ยังได้ทุนสนับสนุนในการไปแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเซีย ที่ประเทศเวียดนาม เป็นจำนวน 125,000 บาท (5 ทีมรวมกัน)

เกี่ยวกับการสนับสนุนโครงการ ACM-ICPC (ACM International Collegiate Programming Contest) ของไอบีเอ็ม
การจัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมในระดับอุดมศึกษา ACM-ICPC (ACM International Collegiate Programming Contest) เป็นหนึ่งในการจัดการแข่งขันทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและมีการจัดแข่งสม่ำเสมอทุกปี โดยขั้นตอนการแข่งขันดังกล่าวจะมีการเพื่อคัดตัวทีมผู้ชนะตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ไปจนถึงรอบตัดสินรอบสุดท้ายในระดับโลก โดยไอบีเอ็มได้เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันดังกล่าวอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา โดยการสนับสนุนดังกล่าวเป็นถือเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนการศึกษาและมาตรฐานเทคโนโลยีแบบเปิดของไอบีเอ็ม

View :1465

Related Posts

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.
You must be logged in to post a comment.