Archive

Posts Tagged ‘IBM’

ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ในไทย ด้วยยอดรายได้สูงสุดในไตรมาสสามปี 2555

January 2nd, 2013 No comments

ไอบีเอ็มรั้งตำแหน่งผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจในอาเซียน โดยยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดในแง่รายได้ จากผลวิจัยของไอดีซี
ไอบีเอ็มประเทศไทย ยังคงครองตำแหน่งผู้นำตลาดเซิร์ฟเวอร์ในเมืองไทยในแง่รายได้ ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 34% ทิ้งอันดับสอง 13.4 จุด

ความสำเร็จที่ต่อเนื่องของไอบีเอ็มเป็นผลมาจากการความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบ Smarter Computing โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายมากมายที่องค์กรต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ตั้งแต่จุดอ่อนด้านความปลอดภัยไปจนถึงการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านโซเชียลและโมบายล์

ไอบีเอ็มรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งในตลาดเมืองไทยในด้านส่วนแบ่งรายได้ในไตรมาสสามของปี 2555 สำหรับเซ็กเมนต์ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ดังต่อไปนี้:

➢ ตลาดไฮเอนด์ระดับองค์กรขนาดใหญ่ (เซิร์ฟเวอร์ราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 79.1%
➢ ตลาดเซิร์ฟเวอร์ RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 49.3%
➢ ส่วนแบ่งรายได้สำหรับโรงงานผลิตสำหรับยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่ x86 อยู่ที่ 57%

โจ ดับบลิวซี ชาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ตำแหน่งผู้นำตลาดของเรานับเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ Smarter Computing ซึ่งอาศัยความแข็งแกร่งของไอบีเอ็มในเทคโนโลยีหลักๆ เช่น บิ๊กดาต้า การผนวกรวมระบบวิเคราะห์ข้อมูล การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และคลาวด์คอมพิวติ้ง และที่ต่างจากคู่แข่งก็คือ ไอบีเอ็มนำเสนอโซลูชั่นที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ไปจนถึงโซลูชั่นที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพ และระบบที่ได้รับการอินทิเกรตโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้องค์กรทุกขนาดสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ และหวังว่าเราจะยังคงรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างต่อเนื่อง”

นอกจากในประเทศไทยแล้ว ไอบีเอ็มยังรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งในอาเซียน ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 34.2% สำหรับเซ็กเมนต์ของตลาดเซิร์ฟเวอร์ดังต่อไปนี้:

➢ ตลาดไฮเอนด์ระดับองค์กรขนาดใหญ่ (เซิร์ฟเวอร์ราคา 250,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 77.7%
➢ ตลาดเซิร์ฟเวอร์ RISC/EPIC ด้วยส่วนแบ่งรายได้ 54.7%
➢ ส่วนแบ่งรายได้สำหรับยูนิกซ์เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ใช่ x86 อยู่ที่ 57.8%

ที่มา: รายงานยอดขายเซิร์ฟเวอร์รายในเอเชีย-แปซิฟิกของไอดีซี, ไตรมาสสามของปี 2555

View :1373
Categories: Technology Tags: ,

ไอบีเอ็มเสริมทักษะการเรียนรู้แก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา

November 29th, 2012 No comments


จัดเวิร์กชอปให้ความรู้แก่เยาวชน ภายใต้โครงการเพื่อสังคม ฉลองครบรอบ 60 ปีไอบีเอ็ม ประเทศไทย พร้อมส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 29 พฤศจิกายน 2555: กลุ่มพนักงานของไอบีเอ็ม จัดเวิร์กชอปฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการตลาดและการสื่อสารแก่นักเรียนแก่

อาสาสมัคร 20 คนจากฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของไอบีเอ็มได้ทำงานร่วมกับคณาจารย์ของโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา ภายใต้เป้าหมาย 2 ประการคือ หนึ่ง เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมด้านการตลาด ความสำคัญของการตลาดสำหรับองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร และแนวทางในการส่งเสริมแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และสอง เพื่อให้นักเรียนสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับโครงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือโครงงานในอนาคต

เพื่อฉลองวาระครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งไอบีเอ็ม ประเทศไทย บริษัทฯ มีแผนที่จะสานต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจและสังคมของไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการดำเนินโครงการอาสาสมัคร Manager and Team Happy Volunteer Program ประจำปี 2555 โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนาถือเป็นกิจกรรมแรกภายใต้โครงการนี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้พนักงานอุทิศเวลา ความรู้ และความเชี่ยวชาญเพื่อบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่สังคม และในทางกลับกัน ก็จะเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะและความสมัครสมานสามัคคีในหมู่พนักงานของไอบีเอ็ม

ทีมงานของไอบีเอ็มได้ใช้ชุดกิจกรรมจาก On-Demand Community ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดหาทรัพยากรต่างๆ เช่น งานพรีเซนเทชั่น หรือชุดข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งจะช่วยให้อาสาสมัครจากไอบีเอ็มทั่วโลกสามารถให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาและหน่วยงานเพื่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ทีมงานดังกล่าวได้จัดฝึกอบรม 1 วันให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 28 คน ที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา ในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนาก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ยากจนในชนบทได้รับการศึกษาในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง มุ่งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเอง โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากโครงงาน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะของนักเรียนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งความสามารถในการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ รูปแบบการศึกษาดังกล่าวจะกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้นอกหลักสูตรและนอกห้องเรียนและพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ทางโรงเรียนเชื่อมั่นว่าแนวทางการศึกษานี้จะช่วยให้นักเรียนพร้อมที่จะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ในสาขาวิชาที่ตนเองถนัด รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน และสร้างประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

ในการฝึกอบรมเวิร์กชอปในครั้งนี้ มีการจัดกิจกรรมภาคสนาม เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ โดยทีมงานอาสาสมัครได้แนะนำให้นักเรียนได้เข้าใจพื้นฐานของกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานเพื่อสังคม จากนั้นมีการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยแต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายให้วางแผนและนำเสนอแผนการตลาดภายใต้ 2 หัวข้อตามที่เลือกไว้ นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำตลาดและสร้างแบรนด์สำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงวิธีการส่งเสริมหน่วยงานชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์

นายวรุตม์ ศิระวงศ์ประเสริฐ อาสาสมัครจากบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “นักเรียนที่โรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนามีความกระตือรือร้นและเปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำและช่วยพัฒนาสังคมในอนาคต จากการเรียนรู้เชิงทดลองในเรื่องการตลาดและการสร้างแบรนด์ เราหวังว่านักเรียนจะสามารถนำเอาหลักการที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากสังคมและภาคส่วนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม”

นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมมีชัยพัฒนา กล่าวว่า “การฝึกอบรมที่อาสาสมัครจากไอบีเอ็มจัดขึ้นนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ทั้งอาจารย์และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาโครงการเพื่อชุมชนที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงโครงการในอนาคต เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยแนวทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ นอกจากนี้ยังสอดรับกับจุดมุ่งหมายของเราในการเสริมความรู้นอกหลักสูตรให้แก่นักเรียนและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนให้ความสนใจเป็นพิเศษ”

View :1483

นิยมพานิช มั่นใจสตอเรจเซิร์ฟเวอร์ของไอบีเอ็ม ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ “สินค้าดี บริการเป็นเลิศ”

August 21st, 2012 No comments

ศูนย์จำหน่ายรถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มั่นใจเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์ไอบีเอ็มเพาเวอร์ซิสเต็มส์ และสตอเรจไอบีเอ็มสตอร์ไวซ์ วี 7000 เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ รองรับการขยายสาขาและแผนกระตุ้นการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยสร้างรายได้ขยายตัว 30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

นายภาณุพงศ์ ศักดาทร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท นิยมพานิช จำกัด ซึ่งขณะนี้มีฐานการดำเนินธุรกิจอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ได้ลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ เพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจและเพิ่มจำนวนสาขาและร้านตัวแทนต่างอำเภอจากทั้งหมด 82 แห่ง เป็น 94 แห่ง โดยความต้องการเร่งด่วนที่สุด คือ สตอเรจเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้น ช่วยให้เห็นข้อมูลแบบ real-time มีความเสถียรมากขึ้น รวมทั้งต้องประหยัดไฟและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

“จากการที่บริษัทฯ ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของไอบีเอ็มมานาน 8 ปี รู้สึกประทับใจและไว้วางใจในประสบการณ์บวกความเชี่ยวชาญของไอบีเอ็ม จึงตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีไอบีเอ็มพาวเวอร์ซิสเต็มส์ มาช่วยรันข้อมูล และใช้ไอบีเอ็มสตอร์ไวซ์ วี 7000 เป็นสตอเรจเซิร์ฟเวอร์ ทำให้การประมวลผลระบบ SAP ที่เก็บข้อมูลในการขาย ระบบบัญชีและการจัดสต็อก รวมถึงการขาย (Sales Record) มีความคล่องตัวขึ้น สามารถตัดและเช็คสต็อกได้แบบ real-time ทำให้ทราบรายละเอียดสินค้าในปัจจุบัน ว่ามีตัวไหนบ้าง จำนวนเท่าไหร่ สถานะเป็นอย่างไร ซึ่งส่งผลให้สามารถตัดสินใจบนฐานข้อมูลมีที่อยู่จริง ง่ายต่อการวางแผนการขาย คิดแคมเปญ และการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มในคลังสินค้า นอกจากนี้ ไอบีเอ็มสตอร์ไวซ์ วี 7000 ยังสามารถเรียกใช้หรือสำรองข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม ทำให้การจัดเก็บข้อมูลไม่เกิดความซ้ำซ้อน รวมถึง เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดไฟ ตอบโจทย์ของบริษัทฯด้านการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” นายภาณุพงศ์ กล่าว

นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มรู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยีชั้นนำเข้าเสริมความล้ำหน้าแก่ระบบไอทีที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสานต่อความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกของนิยมพานิช ความสำเร็จนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไอบีเอ็มที่ต้องการสร้างพันธมิตรและส่งเสริมให้ธุรกิจในภูมิภาคก้าวสู่ความเป็น Smart Business ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีชั้นยอด ประกอบกับการให้บริการที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า ซึ่งทั้งไอบีเอ็มพาวเวอร์ซิสเต็มส์ และไอบีเอ็มสตอร์ไวซ์ วี 7000 ล้วนตอบโจทย์ขององค์กรยุคใหม่ที่มีภาระและความท้าทายในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลในปัจจุบัน”

ไอบีเอ็มสตอร์ไวซ์ วี7000 เป็นสตอเรจที่มีสมรรถนะสูง มีระบบการใช้งานที่ง่าย ช่วยให้องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ สำรองข้อมูลและผลิตภาพด้านการบริหารจัดการ ด้วยซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมใช้งานอย่างครบครัน รวดเร็ว ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ของดิสก์ซิสเต็มขนาดกลาง (midrange) ที่ให้ความคุ้มค่าสูงสุด

ไอบีเอ็มพาวเวอร์ซิสเต็มส์ เป็นเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้ธุรกิจบริหารจัดการซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าสุดจากไอบีเอ็มที่โดดเด่นในด้านสมรรถนะการประมวลผล และสามารถบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์และทรัพยากรเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว

View :1287

ไอบีเอ็ม เปิดสำนักงานสาขาอีสเทิร์นซีบอร์ด ดันภาคตะวันออกเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในอาเซียน

July 21st, 2012 No comments

ขยายฐานทางธุรกิจ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันธุรกิจให้แก่ภูมิภาคตะวันออกของไทย

ไอบีเอ็มรุกตลาดภาคตะวันออก ประกาศเปิดสำนักงานใหม่ สาขาอีสเทิร์นซีบอร์ด ประจำภาคตะวันออกในจังหวัดชลบุรี พร้อมให้บริการด้านเทคโนโลยีอย่างครบวงจร สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลให้แก่ลูกค้าและคู่ค้า เสริมความแข็งแกร่งให้ภาคตะวันออกก้าวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มเล็งเห็นศักยภาพของภูมิภาคตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและมีส่วนสร้างผลผลิตเชิงเศรษฐกิจของประเทศถึง 2 ใน 3 ด้วยการผลิตและการส่งออกที่ครอบคลุมภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ประกอบกับวิสัยทัศน์ที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานใหม่ของไอบีเอ็มที่จังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นสำนักงานแห่งที่สามในประเทศไทย จะเป็นศูนย์กลางในการให้บริการของไอบีเอ็มในภาคตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งภูมิศาสตร์สำคัญของไอบีเอ็มในการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว การดูแลสุขภาพ การสื่อสารโทรคมนาคม ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความแตกต่างและยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจของตนเพื่อผลักดันให้ธุรกิจอุตสาหกรรมหลักและจังหวัดในภูมิภาคตะวันออกก้าวสู่ความเป็นเมืองธุรกิจคูุ่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
นอกจากการเข้ามาดำเนินธุรกิจในภาคตะวันออกอย่างเต็มรูปแบบแล้ว เราจะร่วมมือกับธุรกิจท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาทักษะของบุคคลากร ด้วยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญระดับโลกของบุคคลากรไอบีเอ็มและโครงการเพื่อสังคมต่างๆมาช่วยพัฒนาให้เมืองและภูมิภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่ทันสมัย ดึงดูดการลงทุน มีคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับพลเมือง และมีการเติบโตในทุกภาคส่วน วันนี้ไอบีเอ็มมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะผนึกกำลังกับพันธมิตร ลูกค้า คู่ค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนโดยรวมในภาคตะวันออก เพื่อสร้างความเจริญเติบโตและความสำเร็จให้แก่ภูมิภาคนี้อย่างยั่งยืน” นางพรรณสิรีกล่าว
ตลอดมาไอบีเอ็มพร้อมด้วยเครือข่ายคู่ค้าทางธุรกิจได้ช่วยให้ลูกค้าภาคตะวันออกในหลายๆ อุตสาหกรรม อาทิเช่น ท่าเรือพาณิชย์ ลอจิสติกส์ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพการบริการ และเพิ่มผลิตผลให้กับธุรกิจ
สำนักงานแห่งใหม่ในชลบุรีถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ไอบีเอ็มในการขยายธุรกิจสู่ในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องในตลาดสำคัญที่มีการเติบโตสูง และเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างความเติบโตในระดับโลกของบริษัท โดยไอบีเอ็มจะลงทุนในพื้นที่นั้นๆอบ่างครบวงจรซึ่งรวมถึง การสร้างสำนักงาน การจัดฝึกอบรม การจัดสรรบุคคลากรและการจ้างบุคลากรท้องถิ่น การสร้างทีมขายและการตลาด ตลอดจนทีมที่ดูแลกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ

หนึ่งในโครงการสำคัญของไอบีเอ็มในภาคตะวันออกคือโครงการ “สมาร์ทเตอร์ ซิตี้ส์ ชาเลนจ์” (Smarter Cities Challenge) ของไอบีเอ็มในปี 2555 ซึ่งจังหวัดชลบุรีได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 33 จังหวัดทั่วโลกที่ได้รับเงินช่วยเหลือ อันจะช่วยให้ชลบุรีสามารถพัฒนาแผนเชิงกลยุทธ์ของจังหวัดในการสำรวจแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจของเมือง โครงการมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ดำเนินการในระยะ 3 ปีเพื่อพัฒนาเมือง 100 เมืองในทั่วโลกนี้ ได้รับการเปิดตัวในปี 2554 โดยเป็นโครงการเพื่อสังคมที่มีมูลค่าสูงสุดของไอบีเอ็ม โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของไอบีเอ็มจะเข้ามาศึกษาและช่วยพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับเมืองใหญ่ทั่วโลก

View :1575

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจผู้บริหารฝ่ายการตลาดในอาเซียน 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่พร้อมรับมือกับการทำตลาดในยุคดิจิตอล

March 12th, 2012 No comments

ไอบีเอ็ม เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาด กว่า 1,700 คนจาก 64 ประเทศใน 19 กลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงผู้บริหารการตลาด 70 คนจากอาเซียน พบว่าส่วนใหญ่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องของการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า แต่ยังไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และยอมรับว่า ไม่สามารถเข้าถึงการแสดงความเห็นแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับแบรนด์ได้อย่างเพียงพอ โดยยังคงมุ่งเน้นการศึกษาตลาดในวิธีเดิม แทนที่จะทำเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าเพื่อกำหนดกลยุทธ์ และยังประสบปัญหาในการยืนยันเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการตลาด เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดความพร้อม ผู้บริหารฝ่ายการตลาดระบุถึงส่วนที่จะต้องปรับปรุงใน 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับลูกค้าซึ่งมีอำนาจต่อรองมากขึ้น การส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว และการตรวจวัดคุณประโยชน์และผลลัพธ์การดำเนินงาน

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดทั่วโลก (Global Chief Marketing Officer Study) ประจำปี 2011 ดำเนินการโดยไอบีเอ็ม ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2011 ไอบีเอ็มได้สัมภาษณ์ผู้บริหารฝ่ายการตลาดจำนวน 1,734 คนใน 19 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 64 ประเทศ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและปัญหาท้าทายที่บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมาจากองค์กรที่หลากหลาย ครอบคลุมแบรนด์ชั้นนำ 48 แบรนด์จาก 100 อันดับแบรนด์สูงสุดจากการจัดอันดับของอินเตอร์แบรนด์ประจำปี 2010 ไปจนถึงองค์กรชั้นนำในระดับท้องถิ่น

ทุกวันนี้ ลูกค้ามักจะแบ่งปันประสบการณ์กันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ ส่งผลให้ลูกค้ามีอำนาจควบคุมและมีอิทธิพลต่อแบรนด์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ขณะที่จุดศูนย์กลางของอำนาจเปลี่ยนจากองค์กรไปสู่ลูกค้า ทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางใหม่ๆ ด้านการตลาด รวมไปถึงเครื่องมือและทักษะต่างๆ เพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ผู้บริหารฝ่ายการตลาดตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับประสบปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า “จุดเปลี่ยนที่เป็นผลมาจากความแพร่หลายของโซเชียลมีเดียก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำตลาด โดยเฉพาะในส่วนของงานด้านลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ราว 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่สร้างขึ้นในปัจจุบันเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารฝ่ายการตลาดที่ใช้แหล่งข้อมูลเชิงลึกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถเพิ่มรายได้ ปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า และสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ได้อย่างแท้จริง”

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัญหาท้าทาย 4 ประการ ซึ่งผู้บริหารฝ่ายการตลาดจะต้องเผชิญ และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางสำหรับฝ่ายการตลาดในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าคือ 1. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของข้อมูล 2. โซเชียลมีเดีย 3. การเลือกช่องทางและอุปกรณ์ และ 4. ความเปลี่ยนแปลงในแง่ประชากรศาสตร์

เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดความพร้อม ผู้บริหารฝ่ายการตลาดระบุถึงส่วนที่จะต้องปรับปรุงใน 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับลูกค้าซึ่งมีอำนาจต่อรองมากขึ้น การส่งเสริมความสัมพันธ์ในระยะยาว และการตรวจวัดคุณประโยชน์และผลลัพธ์การดำเนินงาน

การให้ความสำคัญกับลูกค้าซึ่งมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
เหตุผลประการหนึ่งที่องค์กรส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าที่จำเป็นก็คือ องค์กรยังคงมุ่งเน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาด แทนที่จะพยายามเข้าใจตัวบุคคล แม้ว่าผู้บริหารฝ่ายการตลาดจะระบุว่าความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้าคือสิ่งสำคัญสูงสุด และตระหนักว่าข้อมูลแบบเรียลไทม์จะช่วยเสริมสร้างวิธีการแบบเดิมๆ ในการทำตลาดและการรวบรวมข้อมูลการตอบรับจากตลาด แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่กล่าวว่าตนเองยังคงพึ่งพาแนวทางแบบเก่าที่ใช้กันในศตวรรษที่ 20

ผู้บริหารฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามยังคงมุ่งเน้นแหล่งข้อมูลแบบเดิมๆ เป็นหลัก เช่น การวิจัยตลาด ข้อมูลเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และการวิเคราะห์แคมเปญด้านการขาย เพื่อทำการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ แน่นอนว่าแหล่งข้อมูลแบบเดิมๆ มีความสำคัญ แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีข้อเสียประการหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ ข้อมูลนี้แสดงถึงลักษณะของลูกค้าโดยรวม โดยแทบไม่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการหรือความจำเป็นของลูกค้าเลยแม้แต่น้อย

มีผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพียงไม่กี่คนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลดิจิตอลได้อย่างเต็มศักยภาพ แม้ว่าเกือบ 3 ใน 4 ของผู้บริหารฝ่ายการตลาด ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Customer Analytics) เพื่อกลั่นกรองข้อมูล แต่มีผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพียง 29 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ตรวจสอบติดตามบล็อกต่างๆ ขณะที่ 41 เปอร์เซ็นต์ ตรวจสอบคำวิจารณ์ของบุคคลที่สาม และ 46 เปอร์เซ็นต์ ตรวจสอบคำวิจารณ์ของลูกค้า เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ด้านการตลาด ทั้งนี้เพราะเครื่องมือ กระบวนการ และดัชนีชี้วัดที่ใช้อยู่ไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมเพื่อรวบรวมและประเมินข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

การที่ลูกค้าทุกกลุ่มปรับใช้โซเชียลมีเดียกันอย่างจริงจังและกว้างขวางย่อมหมายถึงโอกาสสำหรับนักการตลาดในการเพิ่มยอดรายได้ ขยายมูลค่าของแบรนด์ และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ซื้อ นักการตลาดที่สามารถกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากโซเชียลมีเดียได้อย่างเหมาะสมจะมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการคาดการณ์และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยีในอนาคต

การส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว

ผู้บริหารฝ่ายการตลาดที่ดำเนินการอย่างจริงจังจะสามารถกระชับความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับลูกค้าหลังการขาย พร้อมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ด้วยการสร้างคุณลักษณะขององค์กรผ่านการกระทำและคำพูดของพนักงาน 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายการตลาดในอาเซียน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าผู้บริหารทั่วโลก เล็งเห็นกว่าการเสริมสร้างความภักดีและการสนับสนุนของลูกค้าคือภารกิจสำคัญสำหรับการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิตอล

แม้ว่าจะเป็นภารกิจสำคัญ แต่ผู้บริหารฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นที่ธุรกรรมเป็นหลัก แทนที่จะสนใจข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างสัมพันธ์ในระยะยาวกับลูกค้า ผู้บริหารฝ่ายการตลาดในอาเซียน 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้ข้อมูลเพื่อแบ่งเซกเมนต์และเสนอขายสินค้า/บริการเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อโปรโมตแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก กระตุ้นความสนใจ และเสริมสร้างความภักดีและการสนับสนุนของลูกค้า

การตรวจวัดคุณประโยชน์และผลลัพธ์การดำเนินการ
ในอดีต ผู้บริหารฝ่ายการตลาดส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องจัดหาข้อมูลด้านการเงินที่หนักแน่นและชัดเจนเพื่อยืนยันถึงผลตอบแทนการลงทุน แต่เนื่องจากความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับแรงกดดันในการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถใช้งบประมาณด้านการตลาดอย่างสิ้นเปลืองอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดจึงต้องประเมินให้ได้ว่ากิจกรรมด้านการตลาดช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด ทั้งในส่วนของการลงทุนในด้านโฆษณา เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือกิจกรรมอื่นๆ

ที่จริงแล้ว 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารฝ่ายการตลาด เชื่อว่าผลตอบแทนจากค่าใช้จ่ายด้านการตลาดคือดัชนีที่สำคัญที่สุดในการชี้วัดความสำเร็จของฝ่ายการตลาดภายในปี 2015 แต่ผู้บริหารบางส่วน รู้สึกว่าตนเองยังไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการตลาด อย่างไรก็ดี ผู้บริหารฝ่ายการตลาดในอาเซียน ดูเหมือนว่าจะมีความพร้อมมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้บริหารทั่วโลก ดัชนีที่สำคัญอื่นๆ สำหรับการชี้วัดความสำเร็จด้านการตลาดได้แก่ ประสบการณ์ในแง่บวกของลูกค้า ความสามารถในการโน้มน้าวและดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆ และยอดขายโดยรวม

หากผู้บริหารฝ่ายการตลาดรับผิดชอบเรื่องผลตอบแทนด้านการตลาด ก็จะมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นต่อปัจจัย 4 พี (“Four Ps”) ซึ่งได้แก่ โปรโมชั่น (Promotion), ผลิตภัณฑ์ (Product), สถานที่ (Place) และราคา (Price) แต่ผลการศึกษาชี้ว่าในความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ผู้บริหารฝ่ายการตลาดกล่าวว่าตนเองมีอิทธิพลอย่างมากต่อกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น โฆษณา การสื่อสารภายนอกองค์กร และโครงการริเริ่มเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย แต่โดยรวมแล้ว ผู้บริหารเหล่านี้มีบทบาทน้อยกว่าในการจัดการอีก 3 พี นั่นคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา และการคัดเลือกช่องทางจัดจำหน่าย

# # #

หากต้องการดูผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดทั่วโลกประจำปี 2011 คลิกไปที่ http://ibm.com/cmostudy

หากต้องการร่วมสนทนาเกี่ยวกับผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดทั่วโลกประจำปี 2011 ติดตาม @IBMIBV, #IBMCMOStudy และ #cmosg บน Twitter หรือเข้าร่วมกับเราบน LinkedIn

หมายเหตุสำหรับสื่อมวลชนและบล็อกเกอร์: หากต้องการดูและดาวน์โหลดวิดีโอและภาพกราฟิกข้อมูลเกี่ยวกับผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดทั่วโลกประจำปี 2011 คลิกไปที่ http://www.thenewsmarket.com/ibm ภาพและวิดีโอทั้งหมดที่จัดหาให้มีความละเอียดและคุณภาพสตรีมมิ่งในระดับมาตรฐาน

View :1472

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจ 3,000 ซีไอโอทั่วโลกเผยบทบาทที่เปลี่ยนไปของซีไอโอยุค2011 ชี้แนวโน้มบิสสิเนสอินเทลลิเจนซ์ โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา และคลาวด์คอมพิวติ้งมาแรง

September 7th, 2011 No comments

ไอบีเอ็มเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ)ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีซึ่งชี้ให้เห็นวิสัยทัศน์ของซีไอโอทั่วโลกที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ของซีอีโออย่างมีนัยสำคัญเป็นครั้งแรก บทบาทของซีไอโอและเทคโนโลยีในปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมและความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่องค์กร ผลการสำรวจยังเผย “4 พันธกิจของซีไอโอ” หรือบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในสี่รูปแบบของซีไอโอยุคปัจจุบันซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายทางธุรกิจขององค์กร พร้อมชี้แนวโน้มเทคโนโลยีที่ซีไอโอทั่วโลกให้ความสำคัญ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันผู้บริหารซีไอโอไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่กลับทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะคู่คิดและพันธมิตรขององค์กรสำหรับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ไอทีไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ใช้รองรับธุรกิจอีกต่อไป หากแต่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันและเป็นสิ่งที่ผสานรวมอยู่ในทุกแง่มุมขององค์กร จากผลสำรวจนี้ ซีไอโอที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือซีไอโอที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อการสนองเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

“เป้าหมายของผลสำรวจของไอบีเอ็มที่รวมเอาความคิดเห็นของซีไอโอกว่า 3,000 คนทั่วโลก และซีไอโอจากบริษัทชั้นนำถึง 40 คนในประเทศไทยครั้งนี้ คือการช่วยให้ซีไอโอตระหนักรู้และมุ่งเน้นบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร อันจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับผู้บริหารซีไอโอทั่วโลก และช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี” นางพรรณสิรีกล่าว

ปัจจุบัน ผู้บริหารระดับซีอีโอและซีไอโอให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลักที่ตรงกันในการบริหารองค์กร นั่นคือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้า การพัฒนาทักษะของบุคลากร และการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ ส่วนในเชิงเทคโนโลยี ผลการศึกษาของไอบีเอ็มบ่งชี้ถึงเทคโนโลยีที่ซีไอโอให้ความสำคัญ ดังนี้

บิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)
4 ใน 5 ของซีไอโอทั่วโลก รวมถึงซีไอโอ 86 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน มองว่าระบบบิสซิเนสอินเทลลิเจนซ์ (Business Intelligence) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) มีความสำคัญสูงสุดสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรต้องรับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเหนือภารกิจอื่นๆ ของซีไอโอ โดยซีไอโอถึง 57 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคอาเซียน พร้อมที่จะปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตและเสริมสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ซึ่งมากกว่าเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับผลการศึกษาของเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

โซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions)
ซีไอโอให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (Mobility Solutions) เพื่อก้าวให้ทันตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอุปกรณ์พกพามีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ดีขึ้น อีกทั้งจำนวนโมบายล์แอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจและโอกาสใหม่ๆ ในตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้บริหารซีไอโอเกือบ 3 ใน 4 รวมทั้ง 68% ของซีไอโอในภูมิภาคอาเซียน จึงมองว่าโซลูชันสำหรับอุปกรณ์พกพา เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพลิกเกมธุรกิจให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากนี้ ผลการสำรวจของไอบีเอ็มยังเปิดเผยถึงบทบาทหน้าที่ของซีไอโอในปัจจุบัน หรือ “4 พันธกิจของซีไอโอ” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดสี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไปตามความมุ่งหวังทางธุรกิจของแต่ละองค์กร พันธกิจที่แตกต่างกันของซีไอโอมิได้เป็นเครื่องชี้วัดผลกำไร ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จขององค์กร ในทางกลับกัน เป้าหมายและความจำเป็นทางธุรกิจเป็นเครื่องกำหนดพันธกิจที่แตกต่างของซีไอโอ

พันธกิจของซีไอโอ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
พันธกิจเพิ่มประสิทธิผล (Leverage) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการเพิ่มความคล่องตัวในระบบการปฎิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

พันธกิจเพิ่มขยาย (Expand) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่า บทบาทของไอทีคือการการปรับปรุงการจัดการระบบงานธุรกิจอย่างครบวงจรและเพิ่มการประสานงานภายในองค์กร องค์กรมุ่งหวังให้ใช้ไอทีเพื่อ re-engineer องค์กร ทำให้องค์กรทำงานได้เร็วขึ้น คล่องตัวสูงขึ้น และพร้อมที่จะเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับองค์กร

พันธกิจการปฏิรูป (Transform) คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีคือการนำไอทีโซลูชันเช่น CRM มาตอบโจทย์และเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจนั้นๆ ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า

พันธกิจผู้บุกเบิก (Pioneer)
คือพันธกิจหลักของซีไอโอในองค์กรที่มองว่าบทบาทของไอทีมีความสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด รวมถึงรูปแบบของธุรกิจเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร

จากผลการสำรวจ บริษัทที่มีผลประกอบการที่โดดเด่น คือบริษัทที่มีทีมผู้บริหารซีไอโอที่มุ่งเน้นพันธกิจทางด้านไอทีที่สอดคล้องกับธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องระบุและสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่หรือ “พันธกิจ” ของผู้บริหารซีไอโอและทีมงาน ซึ่งพันธกิจที่แตกต่างกันตามความต้องการทางธุรกิจของแต่ละองค์กรนี้ สามารถใช้เป็นกลไกหลักสำหรับการพิจจารณาลงทุนด้านไอที การลงทุนด้านการพัฒนาทักษะที่บุคคลากรฝ่ายไอทีจำเป็นต้องแสวงหาและพัฒนาเพิ่มเติม

เกี่ยวกับผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011

ผลการศึกษาซีไอโอประจำปี 2011 เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเกี่ยวกับผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็ม ( C-Suite Study Series) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสถาบันเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Institute for Business Value) ผลการศึกษาซีไอโอทั่วโลก ) ประจำปี 2011 ของไอบีเอ็มเป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวสำหรับผู้บริหารซีไอโอจากองค์กรทุกขนาดใน 71 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อ “The Essential CIO” โดยข้อมูลที่พบเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญมากขึ้นของซีไอโอในฐานะผู้นำด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโตให้กับธุรกิจ ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของไอบีเอ็ม โดยบริษัทฯ เคยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้องค์กรต่างๆ เล็งเห็นถึงความจำเป็นของตำแหน่งซีไอโอในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกของเทคโนโลยีระบบประมวลผลในเชิงธุรกิจ และยกระดับตำแหน่งดังกล่าวในช่วงหลายทศวรรษต่อมาเพื่อให้ซีไอโอมีบทบาทสำคัญในการประชุมของผู้บริหารระดับสูง

View :1513

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเลือกไอบีเอ็มวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีก้าวสู่การเป็นธนาคารชั้นนำระดับอาเซียน

September 5th, 2011 No comments

มั่นใจเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตร วางโครงสร้างพื้นฐานไอที ติดตั้งไอบีเอ็ม เพาเวอร์7 ซิสเต็มส์ และ ไอบีเอ็ม ไอ ( POWER7 systems with i) เครื่องแรกในไทย พร้อมด้วยสตอเรจ DS8800 และไอบีเอ็ม ซิสเต็มส์เอ็กซ์ ( System X) ระบบหลักของธนาคารที่ให้ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง ภายใต้โครงการ 1 Platform เพื่อสร้างระบบ Core Banking มาตรฐานหนึ่งเดียวสำหรับธุรกิจของซีไอเอ็มบีในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มซีไอเอ็มบี เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารระดับอาเซียน

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยได้ลงนามในสัญญากับบริษัท ไอบีเอ็ม ให้เป็นผู้วางรากฐานไอทีระบบ Core Banking ในโครงการ 1 Platform ซึ่งมีขนาดใหญ่และครอบคลุมขอบเขตงานหลายด้าน การติดตั้งระบบดังกล่าว จะดำเนินการทีละประเทศ โดยเริ่มจากประเทศไทยที่ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นประเทศแรก ตามด้วยมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ตามลำดับ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายในปี 2558 สะท้อนความมุ่งมั่นของกลุ่มซีไอเอ็มบีในการวางกรอบการดำเนินงานภายใต้ระบบเดียวกันจนเป็นธนาคารระดับภูมิภาคที่มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างแท้จริง

สำหรับโครงการ 1 Platform คือการติดตั้งและพัฒนาระบบปฏิบัติการหลัก (Core Banking System) ซึ่งเป็นระบบที่อยู่เบื้องหลังการให้บริการ โดยจัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเงินฝาก สินเชื่อ รวมทั้งบริการโอนเงิน และรับชำระเงิน ของธนาคาร เพื่อปรับการทำงานและการบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ระบบเดียวกัน ของเครือข่ายซีไอเอ็มบีทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งก็คือ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
นายสุภัค กล่าวว่า โครงการ 1 Platform ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท และใช้เวลาดำเนินโครงการ 5 ปี ซึ่งเป็นการดำเนินงานครั้งใหญ่ระดับภูมิภาคของกลุ่มที่มีขนาดลงทุนรวมทั้งสิ้นถึงกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน โครงการ Transformation ยังประกอบด้วยส่วนอื่นๆที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ระบบการจัดการและรายงานทางการเงิน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลครบวงจร ระบบการบริหารงานขายส่วนหน้า (Front-end) ใหม่ทั้งระบบ และระบบ Transaction Banking ระดับภูมิภาค

“การเข้าซื้อกิจการต่างๆของกลุ่มซีไอเอ็มบีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เครือข่ายในแต่ละประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ต่างมีระบบ Core Banking และการดำเนินงานหลังบ้านที่แตกต่างกัน การสร้างระบบการดำเนินงานและระบบไอทีให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาคจะช่วยเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุนการดำเนินงาน ปรับปรุงผลกำไรจากการดำเนินงาน เพิ่มศักยภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเพราะทำงานบนระบบ Core Banking ใหม่ที่ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งโครงการ 1 Platform และโครงการ Transformation อื่นๆ จะส่งผลชัดเจนในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยกำลังดำเนินการตามยุทศาสตร์ของการก้าวเป็นธนาคารชั้นนำระดับอาเซียน” นายสุภัค กล่าว

ทางด้านนางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารรายแรกที่ติดตั้ง IBM Power Systems ซึ่งเป็นระบบเพาเวอร์7 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ ไอบีเอ็ม ไอ ด้วยประสิทธิภาพพลังการประมวลผลของระบบที่เป็นเลิศของเพาเวอร์ 7 ที่มีพัฒนาการนวัตกรรมล้ำหน้า ที่ให้เสถียรภาพสูง ทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา พร้อมด้วยคุณสมบัติทางด้าน EnergyScale ในเพาเวอร์ 7 ชิพที่ประกอบในแผงวงจรของฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ และระบบซอฟต์แวร์ ที่ให้พลังงานและการจัดการเกี่ยวกับความร้อนของระบบอย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยลดโลกร้อน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานได้เป็นอย่างมาก และ IBM Storage DS8800 ที่มีการจัดการในการเก็บข้อมูลที่ดี รวมทั้ง IBM System X ซึ่งเป็น Blade HX 5 เครื่องแรกที่ติดตั้งในประเทศไทย ที่รวมเซิร์ฟเวอร์หลายตัวไว้ในที่เดียวกัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและพื้นที่ในการจัดติดตั้งระบบ และที่สำคัญยังเป็นเพาเวอร์ในตระกูล Energy Star ที่มีคุณสมบัติเด่นในการประหยัดพลังงาน

“ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับโครงการ 1 Platform ให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นระบบธนาคารที่มีผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไอบีเอ็มพร้อมในการสนับสนุนธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยทุกด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและมุ่งสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ เรายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งช่วยสร้างรายได้และนวัตกรรมใหม่ๆให้แก่ลูกค้า ซึ่งทำให้ธุรกิจของลูกค้าธนาคารประสบความสำเร็จมากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างวางใจเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยดีเสมอมา” นางพรรณสิรี กล่าว

View :1436

ธนาคารแห่งประเทศไทยวางใจไอบีเอ็ม ร่วมพัฒนาระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

July 4th, 2011 No comments


พร้อมรองรับการเชื่อมโยงบริการด้านการเงินระดับภูมิภาคและระดับสากล

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ในโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Bank of Thailand – Electronic Financial Services : BOT-EFS) เพื่อเสริมประสิทธิภาพและศักยภาพของเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของ ธปท. ที่ พร้อมสนับสนุนการเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน และตลาดการเงินภายในปี 2558

นางสุชาดา กิระกุล รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า “เนื่องจากความต้องการใช้บริการด้านการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริการชำระเงิน มีการขยายตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ ซึ่งมีประชากรรวมกันราว 580 ล้านคน กำลังเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปิดเสรีตลาดสินค้าและบริการต่างๆ ทำให้ขนาดของตลาดใหญ่ขึ้น ตลาดเงินตลาดทุนมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ธปท. จึงต้องเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยโครงการปรับปรุงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ไทย ได้ประโยชน์เต็มที่จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และพร้อมรับการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยให้ความไว้วางใจในความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของไอบีเอ็ม ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเซอร์วิส คาดว่าเมื่อการปรับปรุงเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้แล้วเสร็จตามแผนการดำเนินงานของธนาคารฯ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และศักยภาพในการให้บริการแก่สมาชิกสถาบันการเงินในประเทศได้มากขึ้น ยกระดับมาตรฐานความก้าวหน้าทางด้านการเงินของประเทศสู่สากล และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในโลกต่อไปได้

ภายใต้แผนการดำเนินงานการเสริมสร้างและพัฒนาระบบการเงินของไทยไปสู่การเป็น Smart Banking ไอบีเอ็มรับหน้าที่จัดหาเทคโนโลยีและวางระบบการชำระเงินให้เป็น Smart Payment ยกระดับสู่มาตรฐานระดับโลกและขยายขีดความสามารถรองรับความต้องการในอนาคต โดยในระยะแรกจะเป็นการปรับปรุงระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ซึ่งเป็นแกนกลางที่เกี่ยวข้องกับการชำระแต่ละรายการผ่านบัญชีของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดอยู่กับธนาคารกลาง โดยจะตัดเงินจากบัญชีของธนาคารผู้ส่งไปยังธนาคารผู้รับทันที ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ระบบ RTGS แล้วหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (Fedwire) สวิสเซอร์แลนด์ (SIC – Swiss Interbank Clearing) สิงคโปร์ (MEPS – MAS Electronic Payment System) ออสเตรเลีย (RITS – Reserve Bank of Information and Transfer System) เป็นต้น ส่วนของประเทศไทยใช้ชื่อว่า BAHTNET – Bank of Thailand Automated High-value Transfer Network

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไว้วางใจให้ไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรทางด้านไอทีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ในโครงการนี้ ทีมที่ปรึกษาด้านธุรกิจของไอบีเอ็ม ( Global Business Consulting) ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์อย่างดี ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ได้คอยให้คำปรึกษา และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่ดูแลงานทางด้านไอทีของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และร่วมกับธนาคารในการวางแผนงานระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างรอบด้าน รวมถึงการเลือกระบบไอทีที่สามารถรองรับวิสัยทัศน์ การให้บริการระดับมาตรฐานโลก และสามารถขยายความสามารถของระบบต่อไปในอนาคต ในส่วนของเทคโนโลยีไอทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเลือกใช้ ฮาร์ดแวร์ไอบีเอ็มเพาเวอร์ซิสเต็มส์ เพาเวอร์ 7 AIX (Unix based ) ที่มีความสามารถของระบบที่เหนือชั้น มีเสถียรภาพของเทคโนโลยีการใช้ทรัพยากรแบบเสมือน มีศักยภาพในการควบรวมระบบที่แข็งแกร่ง และซอฟต์แวร์ของไอบีเอ็มซึ่งรวมถึงซอฟต์แวร์สำคัญๆ เช่น WebSphere Message Broker ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานของ SOA framework ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว IBM Rational Team Concert (RTC) เป็นเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน และซอฟต์แวร์Tivoli ช่วยให้มองเห็นการทำงานทั้งหมด ควบคุมการทำงานของทรัพยากรไอที มีกระบวนการควบคุมการทำงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอที รวมถึงบริการด้านไอทีที่ ช่วยด้านการติดตั้งใช้งาน เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของระบบไอทีที่เกี่ยวข้อง ให้ระบบมีเสถียรภาพและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวอีกด้วย

ด้วยทีมที่ปรึกษาและการให้บริการระบบที่เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย และแข็งแกร่งของไอบีเอ็มดังกล่าว ช่วยให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับประโยชน์และมั่นใจได้อย่างเต็มที่ในการจัดเตรียมทรัพยากรด้านไอทีให้มีความพร้อมเสนอบริการสู่สมาชิกสถาบันการเงินได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของการประมวลผลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและความสามารถรอบด้าน ในส่วนของซอฟต์แวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ ช่วยลดต้นทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน  สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับสมาชิกสถาบันการเงินของไทยได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งาน ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เพิ่มความเป็นระเบียบแบบแผนในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพิ่มความถูกต้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา มีระบบควบคุมและจัดการกระบวนการพัฒนาอัตโนมัติ ปรับปรุงการมองเห็นภาพรวมของโครงการด้วยข้อมูลในแง่มุมต่างๆของโครงการ

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในโอกาสที่ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีในปีนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจาก ธปท. ซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศที่ได้รับความเชื่อถือในระดับนานาชาติ ให้เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพื่อรองรับขอบข่ายการให้บริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยความเป็นผู้นำในด้านการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจร รวมถึงระบบบริการด้านการเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำสมัยและปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้ทางไอบีเอ็มพร้อมสนับสนุน ธปท. ในทุกด้านในการพัฒนาระบบการเงินของประเทศก้าวไปสู่ยุคใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต”

View :2050

ไอบีเอ็มจัดงาน Finance Forum ไขความลับการบริหารจัดการด้านการเงินด้วยซอฟต์แวร์ Business Analytics

June 8th, 2011 No comments


บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด นำโดย นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ขวาสุด) จัดงาน ไอบีเอ็ม ไฟแนนซ์ ฟอรั่ม 2011 เสนอกลยุทธ์การวางแผนบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์ ซึ่งไม่เพียงช่วยในการตัดสินใจด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ  หากแต่ยังรวมไปถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมการปฎิบัติตามกฏภายในขององค์กร ให้กับผู้บริหารในสายการเงินทุกองค์กร โดยมี มร. ปิแอร์ กิโยม (Pierre Guillaume) กองบรรณาธิการหนังสือขายดี FUTURE READY How to Master Business Forecasting มาร่วมเป็นวิทยากร

View :1466

ไอบีเอ็มเปิดตัว POWER7 ยิ่งใหญ่ด้วยแรงบันดาลใจจาก เทคโนโลยีวัตสัน

May 11th, 2011 No comments

เบลดและเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่รองรับแอพพลิเคชั่น
ที่ใช้ทรัพยากรมากที่สุดในโลก
 
 

ไอบีเอ็ม เปิดตัวระบบ POWER7® ซึ่งได้รับการปรับแต่งสำหรับเวิร์กโหลด รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพ Power 750 เป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นเดียวกันกับที่ใช้ในระบบวัตสัน () ซึ่งชนะการแข่งขันตอบปัญหาในเกมโชว์ Jeopardy! ด้วยสมรรถนะการประมวลผลที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด เบลด Power รุ่นใหม่ และเซิร์ฟเวอร์ Power รุ่นอัพเกรด ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการจัดการแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ใช้ทรัพยากรระบบมากที่สุดในโลก เช่น แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการจัดการด้านการแพทย์ บริการด้านการเงิน การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการประมวลผลทรานแซคชั่นและข้อมูลจำนวนมหาศาลพร้อมๆ กัน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวในแบบเรียลไทม์ POWER7 จะช่วยให้ลูกค้าสามารถทำเวอร์ช่วลไลซ์และผนวกรวมเซิร์ฟเวอร์ได้ในระดับที่สูงมาก ซึ่งจะปรับปรุงระดับราคาต่อประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และลดขนาดพื้นที่ตั้งวางในดาต้าเซ็นเตอร์

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ผลการวิจัยตลาดแสดงให้เห็นว่ามีลูกค้าจำนวนมากขึ้นที่เลือกใช้ Power Systems.TM เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจ  ข้อมูลจากไอดีซีชี้ว่า ไอบีเอ็มสามารถขยายความเป็นผู้นำในเซิร์ฟเวอร์ UNIX® ในช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2553 โดยครองส่วนแบ่งตลาดทางด้านรายได้สูงถึง 53.9 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 5.9 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าคู่แข่งอันดับที่ 2 มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
 
กลยุทธ์ของเราให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เพราะมีลูกค้าหันมาใช้ Power Systems กันมากขึ้น การเปิดตัวระบบ Power รุ่นใหม่ในวันนี้แสดงให้เห็นถึงการลงทุนอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็มในการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับเวิร์กโหลด  เพียงสองเดือนหลังจากที่เราสาธิตการทำงานของระบบ Watson ซึ่งเป็นแนวโน้มถึงอนาคตของระบบประมวลผล พร้อมความสามารถที่ก้าวล้ำด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการเรียนรู้ นั่นแสดงว่าเพียงในระยะเวลาอันสั้นไอบีเอ็มก็สามารถพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ Power ตอบโจทย์แนวโน้มความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว”
 
 

 
ผลิตภัณฑ์ Power Systems รุ่นใหม่ได้แก่:
 
* IBM BladeCenter® PS703 รุ่น 16 คอร์ แบบ single-wide และ IBM BladeCenter PS704 รุ่น 32 คอร์ แบบ double-wide ซึ่งช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกใหม่นอกเหนือจากการติดตั้งเครื่องจำนวนมากไว้บนแร็ค  ทั้งนี้ รุ่น PS704 มีประสิทธิภาพสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ด้วยจำนวนคอร์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่า แต่ใช้พื้นที่ตั้งวางและระดับพลังงานเท่ากับเบลด POWER7 รุ่นก่อนหน้า เบลด POWER7 รุ่นใหม่สนับสนุนการผนวกรวมเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากโดยประหยัดพลังงานได้มากกว่า
* IBM Power 750 Express รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับที่ใช้ขับเคลื่อน Watson ได้รับการปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูลที่ท้าทายมากที่สุด โดย Power 750 ได้รับการอัพเกรดด้วยออปชั่นมากมาย รวมถึงโปรเซสเซอร์ POWER7 ที่ให้สมรรถนะการทำงานสูงกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ 32 คอร์ เช่น เซิร์ฟเวอร์ SPARC T3-2 ของออราเคิล และสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับ Integrity BL890c i2 ของเอชพี
* ส่วน IBM Power 755 รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นคลัสเตอร์โหนดประมวลผลแบบประสิทธิภาพสูงที่ประกอบด้วยคอร์ POWER7 จำนวน 32 คอร์ และโปรเซสเซอร์ที่รวดเร็วกว่า
 
นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้เปิดตัวอุปกรณ์ Systems Director Management Console ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบดาต้าเซ็นเตอร์สามารถควบคุมทั้งเซิร์ฟเวอร์และเบลด Power โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบครบวงจรสำหรับการจัดการทรัพยากรระบบแบบฟิสิคอลและเวอร์ช่วลไลซ์
พร้อมกันนี้ ไอบีเอ็มได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่ม Intelligent Cluster ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประมวลผลประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน รวมถึงแพลตฟอร์ม BladeCenter หรือ iDataPlex ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มต่างๆ เช่น สถาบันการเงิน และบริษัทสำรวจแหล่งพลังงาน สามารถสร้างระบบ HPC ที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการระบายความร้อนได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์  ผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่ม Intelligent Cluster ได้แก่
 
* แพลตฟอร์มใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุด Intel Xeon E7
* โซลูชั่น 10Gb Ethernet ใหม่ที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเวิร์กโหลด HPC โดยลดความล่าช้าของระบบได้ถึง 11 เท่า
* โซลูชั่น InfiniBand ใหม่สำหรับ Intelligent Cluster ซึ่งประกอบด้วยอีเธอร์เน็ตเกตเวย์แบบในตัว จึงไม่จำเป็นต้องใช้สวิตช์อีเธอร์เน็ตแยกต่างหากเพื่อปรับปรุงเวิร์กโหลดต่างๆ เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
Watson เป็นระบบของไอบีเอ็มที่ร่วมตอบปัญหาในเกมโชว์ Jeopardy! และสามารถเอาชนะแชมเปี้ยน Jeopardy! ได้สำเร็จ  ระบบดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Power Systems ของไอบีเอ็ม  Watson นับเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงมุมมองเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากเดิมที่มองว่าคอมพิวเตอร์เป็น “เครื่องคำนวณ” แต่จากนี้เป็นต้นไป คอมพิวเตอร์จะเป็น “อุปกรณ์ที่สามารถเรียนรู้ได้”  คณะนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้สร้างระบบ Watson โดยใช้เทคโนโลยี IBM POWER7 ภายใต้ความพยายามในการสร้างสรรค์ระบบประมวลผลรุ่นอนาคต  ด้วยการเปิดตัวระบบ Watson นับเป็นครั้งแรกที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ภาษามนุษย์และความซับซ้อนอื่นๆ ทางภาษา ซึ่งคนเราสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าไม่สามารถเข้าใจภาษาดังกล่าวได้
 
ในโลกธุรกิจ Power Systems ของไอบีเอ็มประกอบด้วยเทคโนโลยีขั้นสุดยอดที่สามารถรองรับแอพพลิเคชั่นและบริการใหม่ๆ ได้อย่างกว้างขวาง  นอกจากนั้น ระบบดังกล่าวยังช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการแอพพลิเคชั่นและบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทางด้านเวอร์ช่วลไลเซชั่น การประหยัดพลังงาน การใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และระดับราคา ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า

View :1367
Categories: Press/Release Tags: ,